Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันนี้ได้รับเกียรติให้ไปบรรยายที่สำนักงานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เรื่อง “การใช้ Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน” เลยอยากเอามาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่าน

รายละเอียดเบื้องต้นในการบรรยาย
ชื่อการบรรยาย : Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
หน่วยงานที่จัด : สำนักงานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 9.00-12.00 น.

สไลด์ที่ผมใช้ในการบรรยาย

หัวข้อที่ผมในบรรยายในวันนี้ประกอบด้วย
– ทำไมต้องเป็น Facebook Fanpage
– ตัวอย่าง Facebook Fanpage วงการห้องสมุด
– เริ่มต้นสมัคร Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทย
– การใช้งาน Facebook Fanpage ให้ประสบความสำเร็จ

ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ ผมอยากให้ทุกๆ คนได้รู้จักและเข้าใจว่าทำไมเราต้องใช้ Facebook กันก่อน
เริ่มจากความหมายของ Facebook โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า Facebook คือ เว็บไซต์ในกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์เว็บหนึ่งที่ให้บริการแบ่งปันเรื่องราว แสดงความคิดเห็น แบ่งปันรูปภาพ แบ่งปันวีดีโอ แบ่งปันข้อมูลในเรื่องที่สนใจ ให้กลับกลุ่มเพื่อนๆ ของเรา นอกจากนี้ยังใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อนที่รู้จักกัน และเพื่อนใหม่ที่เราอยากรู้จักในโลกออนไลน์ด้วย

จากนั้นผมได้นำสถิติของ Facebook ในช่วงต้นปี 2010 และ ปลายปี 2010 มาให้ดูว่า
จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นมากกว่า 200 ล้านคนภายในปีเดียวกัน นอกจากนี้ยังนำข้อมูลของประเทศที่มีการใช้ Facebook 10 อันดับ มาให้ชม และตั้งข้อสังเกตให้คิดเล่นๆ นิดหน่อย

รูปแบบการใช้ Facebook ในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. Profile
2. Group
3. Page

แต่ละแบบใช้งานและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ในวงการห้องสมุดเมืองไทยก็มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ Facebook กันผิดประเภทหลายแห่ง
ส่วนใหญ่มักจะสมัครใช้ Facebook ในแบบ Profile จำนวนมากเนื่องจากสมัครง่าย
แต่หลายๆ คนลืมคิดถึงข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว จำนวนสมาชิก การวัดผลการใช้งาน…

ดังนั้นข้อสรุปแล้ว ผมจึงนำเสนอให้ ห้องสมุดใช้แบบ Page จะดีกว่า เพราะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้เล่น Facebook) จำนวนสมาชิกที่ไม่จำกัด และการวัดผลที่ชัดเจน

ก่อนที่จะมี Facebook Fanpage ของห้องสมุด จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
– Page Name (ชื่อของหน้า) อันนี้สำคัญมากเพราะตั้งแต่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แนวทางในการเลือกชื่อของหน้า คือ เลือกชื่อที่ทำให้คนอื่นเข้าใจ ชื่อหน่วยงาน ชื่อโครงการ ชื่อที่ทำให้อื่นรู้ว่าเป็นเรา
– Profile Image (รูปแทนหน้าเพจ) แนวทางในการเลือกรูปภาพ คือ เลือกภาพที่ดึงดูดใจผู้ใช้บริการ ภาพที่ใช้แทนหน้าของเรา ย้ำชื่อของเราลงในภาพด้วยก็ดี
– Page Info (ข้อมูลทั่วไป) ลงข้อมูลของหน้าของเรา การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับเราต้องชัดเจน

ตัวอย่าง Facebook Fanpage ในวงการห้องสมุดที่น่าสนใจ
– Tkpark อุทยานการเรียนรู้ (http://www.facebook.com/tkparkclub)
– Thailand Creative & Design Center (TCDC) (http://www.facebook.com/tcdc.thailand)
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ความรู้กินได้ (http://www.facebook.com/Ubonpubliclibrary)
– เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย (http://www.facebook.com/THLibrary)
– Thammasat University Libraries (http://www.facebook.com/pages/Thammasat-University-Libraries/100107346702609)

หลังจากที่เล่าเรื่องเชิงทฤษฎีและเห็นชมตัวอย่างหน้า Facebook Fanpage เสร็จ ก็เริ่มเข้าสู่การ Workshop กันได้

Step By Step กันเลยนะครับ ผมขอแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

1. การสมัครใช้งาน Facebook Fanpage
– เมื่อ login Facebook แล้ว ให้เข้าไปที่ http://www.facebook.com/pages/create.php
– เลือกหมวดหมู่ของหน้า Facebook Fanpage ในกรณีของโครงการสารานุกรมไทย เลือก “องค์กรไม่แสวงหากำไร”
– ใส่ชื่อของหน้า (Page Name) แล้วกดเริ่มกันเลย
– ได้หน้าเพจแล้วครับ
– ใส่รูปภาพของหน้ากันต่อเลยครับ
– เชิญชวนเพื่อนเข้ามากด Like
– ใส่รายละเอียดของหน้าให้เรียบร้อย
– จากนั้นก็ใช้ได้แล้วครับ

2. การปรับแต่ง Facebook Fanpage เบื้องต้น

– การตั้งค่าของคุณ
– จัดการสิทธิ์
– ข้อมูลเบื้องต้น
– รูปประจำตัว
– คุณสมบัติ
– เครื่องมือ
– จัดการผู้ดูแล
– แอพ
– โทรศัพท์มือถือ
– เจาะลึก
– วิธีใช้
– การเปลี่ยนชื่อ URL ให้สั้นลง


3. การใช้งานและรู้จักเครื่องมือที่ดีของ Facebook Fanpage

– การใช้งาน Page Insight (ดูสถิติการเข้าใช้งานของผู้ใช้บริการ)
– การโพสข้อความ รูปภาพ ลิ้งค์ วีดีโอ แบบสอบถาม

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ Facebook Fanpage
1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ อยากปล่อยให้ข่าวไม่อัพเดทเกิน 1 เดือน
2. หากผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ขอต่ออายุการยืมหนังสือ ห้องสมุดไม่ควรปฏิเสธ
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการด้วย อย่าเงียบหายหรือละเลย พยายามตอบและให้บริการด้วยความเร็ว
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลงในเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของห้องสมุด
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการในห้องสมุดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์บ้าง
6. การจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกครั้งควรนำมาลงในเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการติดตามข่าวสารของห้องสมุด

เอาหล่ะครับนี่ก็เป็นเพียงสาระตามสไลด์ที่ผมได้บรรยายและ workshop กับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ

จริงๆ แล้วไม่เชิงว่าเป็นการบรรยายหรอกครับ แต่เป็นการลงมือทำไปพร้อมๆ กับการบรรยายเลยมากกว่า เพราะว่าผลสำเร็จของการบรรยายในวันนี้ ก็คือ “สำนักงานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ก็มี Facebook Fanpage ไว้ใช้

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากรู้ว่า Facebook Fanpage ของโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นอย่างไร
ก็ลองชมกันได้ที่ http://www.facebook.com/saranukromthai
ตั้งแต่การอบรมจนถึงตอนนี้ (ช่วงที่กำลังเขียนบล็อก 22.00) มีแฟนเพจ 53 คนคร้าบบบบ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็เข้าไปช่วยกันกด Like หน้านี้กันด้วยนะครับ
http://www.facebook.com/saranukromthai
ขอฝากไว้ให้ชมและรับความรู้กันมากๆ ครับ

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันนี้ผมขอแนะนำโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
จริงๆ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้จักหรอก อาศัยแต่การค้นหาข้อมูลบนเว็บแล้วนำมาเรียบเรียงให้อ่านแล้วกันนะ

encyclopedia-library-thai

ข่าวการเปิดโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ทำให้ผมรู้จักโครงการนี้มากขึ้น

พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ซึ่งเป็นประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ได้กล่าวข้อความบทหนึ่งในงานเปิดตัวห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ว่า

“การหาความรู้ไม่ใช่มีแต่ในห้องเรียน แต่นักเรียนยังสามารถหาความรู้ได้จากห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดสารานุกรมไทยฯนั้น จะหาความรู้ได้ทั้งเรื่องฟ้าร้อง สึนามิ หรือโรคภัยต่าง ๆ ซึ่งการที่เยาวชนไทยรู้จักหาความรู้จากห้องสมุด จะเป็นการปลูกฝังพื้นฐานให้เยาวชนได้ศึกษาหาความรู้จนกระทั่งเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ และควรใช้ห้องสมุดให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่”

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน จะดำเนินการ 10 แห่ง ดังนี้
– หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม จังหวัดกรุงเทพฯ
– โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
– โรงเรียนโยธินบูรณะ จังหวัดเพชรบุรี
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์
– โรงเรียนในจังหวัดตรัง 2 แห่ง
– โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย
– โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพฯ อีก 2 แห่ง

โดยมี collection หลักๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ ก็ก็คือหนังสือสารานุกรมทุกฉบับ
ไม่ว่าจะเป็นสารานุกรมแบบธรรมดา หรือ สารานุกรมฉบับส่งเสริมความรู้

นอกจากจะดำเนินพัฒนาด้านสถานที่แล้ว โครงการนี้ยังได้จัดสร้างรถตู้ห้องสมุดสารานุกรมไทยฯ อีก 1 คัน
เพื่อนำหนังสือสารานุกรมไทยฯ ไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทยอีกด้วย

—————————————-
ขอประชาสัมพันธ์อีกรอบนะครับ (เพื่อนผมฝากมา @gnret)

ประกาศห้องสมุดประชาชนนครสวรรค์

ห้องสมุดประชาชนฯ จะหยุดให้บริการเป็นเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2553 โดยปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่าง ห้องสมุดใหม่ โดยการสนับสนุนจากสโมสรไลออนส์ในจังหวัดนครสวรรค์ 4 สโมสร คือ นครสวรรค์ สี่แควนครสวรรค์ เมืองพระบางนครสวรรค์ ปากน้ำโพนครสวรรค์

และเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น ห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ (ตึกปรีดา)

ในเร็วๆ นี้ กับรูปโฉมใหม่ โอ่งโถง สะอาด สงบ และ งามตา
—————————————-

เป็นไงกันบ้างครับ โครงการที่มีประโยชน์แบบนี้ผมก็ขอประชาสัมพันธ์เต็มร้อยเลยนะครับ

สำหรับรายละเอียดของโครงการ หากเพื่อนๆ มีข้อมูลเพิ่มเติม
หรือผูที่ดำเนินการในส่วนนี้ได้ผ่านมาเห็นบล็อกนี้ ผมก็ขอให้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้ผมด้วย
อยากจะช่วยประชาสัมพันธ์จริงๆ ครับ ส่งมาได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com