แนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries

แนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries

วันนี้มีโอกาสได้อ่านเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับห้องสมุดมากเป็นพิเศษ
(เพราะต้องเตรียมบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงเดือนธันวาคมนี้)
เว็บไซต์หนึ่งที่น่าสนใจและผมอ่านประจำ คือ http://www.techsoupforlibraries.org/

5-library-technology-topics-from-techsoup-for-libraries

ซึ่งหัวข้อที่ผมขอหยิบมาเขียนและเล่า คือ Your Top 5 Library Technology Topics โดย Ariel Gilbert-Knight
เขาพูดถึง Topic ที่น่าสนใจของรายการ Webinar ใน TechSoup for Libraries 5 เรื่องที่ต้องตามดู
ซึ่งหากใครสนใจผมขอนำ link วีดีโอทั้ง 5 ลงไว้ให้ตามดูด้วยนะครับ

Read more

สรุปการบรรยาย : สงครามข้อมูลในยุค Social Media

สรุปการบรรยาย : สงครามข้อมูลในยุค Social Media

การบรรยายหัวข้อสุดท้ายของงานประชุมวิชาการสมาคมห้องสมุดประจำปี 2558
หัวข้อ “สงครามข้อมูลในยุค Social Media” โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ

DSC00610

—————————————————

Read more

Pinterest กับการหาไอเดียตกแต่งห้องสมุดในเทศกาลคริสต์มาส

Pinterest กับการหาไอเดียตกแต่งห้องสมุดในเทศกาลคริสต์มาส

เดือนสุดท้ายของปี หากผมไม่เขียนเรื่องนี้ก็คงแปลกๆ นะครับ
วันนี้ผมขอแนะนำวิธีการหาไอเดียเพื่อการตกแต่งห้องสมุดในบรรยากาศเทศกาลคริสต์มาส
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีมุมมองใหม่ๆ และได้ไอเดียเก๋ๆ ไว้สร้างบรรยากาศในห้องสมุด

Read more

รู้จักใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

มีหน่วยงานหนึ่งต้องการให้ผมไปบรรยาย โดยไม่ได้กำหนดหัวข้อมาให้เลย รู้แค่ว่าต้องการอบรมให้กับผู้ใช้บริการและบรรณารักษ์ในห้องสมุด โดยเน้น “สื่อสังคมออนไลน์ + ประชาคมอาเซียน + ความคิดสร้างสรรค์” เอาหล่ะผมเลยขอร่างคอร์สอบรมแบบสั้นๆ ให้สักเรื่อง ซึ่งผมขอตั้งชื่อว่า “รู้จักใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” ลองมาอ่านกันว่าคอร์สนี้จะสนุกแค่ไหน

ปล. คอร์สที่ผมเขียนในวันนี้วิทยากรท่านอื่นๆ ที่ผ่านมาหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ อนุญาตให้ลอกได้ครับ

ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตรนี้
ชื่อหลักสูตร : รู้จักใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
เวลาในการอบรม : 6 ชั่วโมง
วิทยากร : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์


หัวข้อที่ใช้ในการอบรม

– แนะนำข้อมูลประชาคมอาเซียนเบื้องต้น
– คำสำคัญ (Keyword) ที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
– เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
– ความน่าเชื่อถือของข้อมูล “ประชาคมอาเซียน” ใน วิกิพีเดีย
– “ประชาคมอาเซียน” ในเครือข่ายสังคมออนไลน์
– การใช้ Youtube เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าประชาคมอาเซียน
– ปักหมุด “ASEAN” ใน Pinterest
– การนำเสนอ ข้อมูลที่เกี่ยวกับอาเซียน ใน Slideshare
– พกพาข้อมูล ASEAN ไปไหนมาไหนด้วย APP

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นหัวข้อที่ผมเขียนไว้คร่าวๆ
เอาไว้หลังบรรยายจะเอาสไลด์มาให้ชมนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอเขียนเท่านี้แล้วกัน อิอิ

ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)

วันก่อนมีโอกาสไปบรรยายเรื่อง “ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” ที่อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK park Yala) เลยอยากเอามาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่าน

ไปชมสไลด์ที่ใช้บรรยายกันก่อน

[slideshare id=13954579&doc=libraryworkisfunbysocialmedia-120813010522-phpapp01]

เนื้อหาการบรรยายโดยสรุปมีดังนี้

จุดเริ่มต้นของสื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์คงหนีไม่พ้นเรื่องเว็บ 2.0 ซึ่งความหมายและจุดเด่นของเว็บ 2.0 คือ เป็นยุคใหม่ของการพัฒนาเว็บไซต์ และมีรูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ใช้เว็บ” มากกว่า “ผู้พัฒนา” หรือ “เจ้าของเว็บไซต์” นอกจากนี้ยังเน้นแนวคิดการพัฒนาเว็บที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกัน การผสานความร่วมมือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ซอฟต์แวร์ และเนื้อหาเว็บ

จากความหมายและจุดเด่นข้างต้นของ “เว็บ 2.0” จะพบว่า”ผู้ใช้บริการมีความสำคัญอย่างมากต่อเว็บไซต์” และสิ่งที่ตามมา คือ “สังคมแห่งการแบ่งปันข้อมูล” โลกของการแบ่งปัน โลกของเว็บ 2.0 ทำให้เกิดเครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งปันมากมาย เช่น

– ใครชอบแชร์เรื่องที่เขียนก็เน้น Blog
– ใครชอบแชร์รูปภาพก็ใช้บริการ Flickr
– ใครชอบแชร์วีดีโอก็ใช้บริการ Youtube
– ใครชอบแชร์เอกสารก็ใช้บริการ Scribd
– ใครชอบแชร์ไฟล์นำเสนอก็ใช้บริการ Slideshare

กรณีศึกษาสื่อสังคมออนไลน์ที่ควรนำมาใช้ : แนะนำวิธีใช้งานและการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้สำหรับงานห้องสมุด ดังนี้ Blog, Facebook, Pinterest, Social cam และ Twitter ซึ่งเมื่อห้องสมุดหรือบรรณารักษ์นำมาใช้แล้วก็ควรจัดทำแผนและกำหนดทิศทางในการใช้งาน รวมถึงประเมินและวัดผลสัมฤทธิ์ของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ด้วย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล เช่น
Facebook Insight
Google Analytic

เอาเป็นว่าเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เมื่อใช้ให้ถูกจุด มีเป้าหมาย กลยุทย์ และการวัดผลที่ชัดเจน จะทำให้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานขึ้นมากกว่าเดิม

นี่ก็เป็นบทสรุปของสไลด์เรื่อง “ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” ครับ

ภาพบรรยากาศในช่วงที่บรรยาย

[nggallery id=60]

สรุปการบรรยาย : มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 มิถุนายน 2555) ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในงาน “การอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK” เรื่อง “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” วันนี้จึงขอแชร์เรื่องดังกล่าวให้เพื่อนๆ อ่าน

ก่อนอื่นมาดูสไลด์ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายนี้กันก่อน

สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์”

เรื่องของสื่อดิจิทัล กับ สื่อออนไลน์ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนมากๆ เพราะเมื่อข่าวสาร ข้อมูล และความรู้อยู่บนโลกออนไลน์แล้ว จริงๆ มันก็คือสื่อดิจิทัลนั่นแหละ ซึ่งสื่อออนไลน์มันก็มีหลายประเภท เช่น
– เว็บไซต์
– ฐานข้อมูล
– เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
– ไฟล์เสียง
-ไฟล์วีดีโอ

และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราก็จะพบว่า สื่อดิจิทัลมากมายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย

ตัวอย่างสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เช่น  E-Book ในอดีตเป็นเอกสารที่พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ .txt .doc วันเวลาผ่านไปจากไฟล์เอกสารธรรมดาก็ถูกแปลงสภาพเป็นไฟล์ PDF จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นไฟล์ Flash และนอกจากจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการนำสื่อวีดีโอและเสียงมาประกอบกับหนังสือด้วย ซึ่งนับเวลาการเปลี่ยนแปลงได้ไม่กี่ปีเท่านั้น

ในสไลด์ที่ผมจะแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์ในโลกของ 2.0 ที่เราสามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาเท่านั้น (ตัวอย่างแค่เล็กน้อยเท่านั้น) ได้แก่

http://www.flipsnack.com = สร้าง E-book ง่ายๆ ด้วย Flipsnack เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ PDF ที่ต้องการจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปบนเว็บไซต์นี้ คุณก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ Flip Book ที่สวยงามแบบง่ายๆ ได้เลยทีเดียว

http://issuu.com = สร้างและค้นหา E-book แบบง่ายๆ ด้วย ISSUU นอกจากจะสร้าง E-book ได้แล้วเรายังสามารถหา E-book ที่น่าสนใจอ่านได้อีก ตัวอย่างที่ผมแนะนำคือ หนังสือแบบเรียนมานะมานีที่เราเคยเรียนกันในอดีตก็อยู่บนเว็บไซต์นี้เช่นกัน

http://paper.li/ = หนังสือพิมพ์ข่าวสารในแบบฉบับของเรา Paper.li หนังสือพิมพ์ที่รวบรวมข่าวสารที่เราสนใจ และแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่าน….

http://youtubemp3.tv/ = แปลงวีดีโอบน Youtube ให้กลายเป็น MP3 คลิบวีดีโอไหนที่มีสาระน่ารู้และน่าสนใจ แล้วเราอยากเก็บไว้มาฟังคนเดียว ก็สามารถแปลงออกมาให้เป็นไฟล์ MP3 ได้

http://www.oxytube.com/ = เก็บวีดีโอบน Youtube มาไว้ในเครื่องของเราดีกว่า

http://www.uppsite.com/ = เปลี่ยนบล็อกของคุณให้กลายเป็น APP บนมือถือ

http://www.makebeliefscomix.com/Comix/ = สร้างการ์ตูนง่ายๆ ด้วย Makebeliefscomix (อันนี้ผมย้ำเยอะหน่อยเพราะว่าน่าสนใจมากๆ เหมาะแก่การนำไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หรือแม้กระทั่งจัดเป็นคอร์สอบรมแก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย)

และก่อนจะจบการบรรยายผมก็ย้ำถึงความสำคัญของโลกออนไลน์อีกครั้งว่า โลกแห่งสื่อสังคมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้เราก็จะเจอหนทางและแนวทางที่จะนำมาใช้งานได้อีก

นี่ก็เป็นเพียงบทสรุปของการบรรยายของผมครับ

สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด

ช่วงเดือนที่ผ่านมามีบรรยายเยอะมากๆ เอาเป็นว่าจะเอามาสรุปให้อ่านทีละตอนแล้วกันนะครับ
วันนี้ขอคิวของการไปบรรยายที่จังหวัดร้อยเอ็ดก่อนแล้วกัน ในหัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชน

การบรรยายเรื่องนี้ผมใช้เวลาครึ่งวันบ่ายครับ เพราะช่วงเช้าหัวหน้าผมบรรยายไปแล้ว
(เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่ ณ ห้องสมุดร้อยเอ็ด“)

เริ่มจากไปดูสไลด์ที่ผมใช้บรรยายก่อนดีกว่า
Social media in library at roiet

เอาหล่ะครับมาอ่านบทสรุปของผมต่อแล้วกัน

การบรรยายเริ่มจากการเกริ่นเส้นทางจากบรรณารักษ์ในแบบเดิมๆ ไปสู่การเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
และเกริ่นถึงหัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้ คือ
– ทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ทุกคนควรรู้….
– ทำความรู้จักสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
– กรณีศึกษาการใช้บล็อกสำหรับห้องสมุด
– กรณีศึกษาการใช้ Facebook สำหรับงานห้องสมุด
– แนวโน้มการก้าวสู่การเป็นห้องสมุดยุคใหม่ในโลก

บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องมีความรู้ด้านวิชาชีพ (บรรณารักษศาสตร์) และมีความรู้ด้านไอที ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์

การทำงานในห้องสมุดให้ราบรื่น จำเป็นที่จะต้องเห็นภาพรวม
และเครื่องมือที่จะช่วยให้เราเห็นภาพคือ Library Work Flow ตัวอย่างดังภาพ

ทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้เรื่องไอที – ไอทีเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานของเรามากมาย เช่น งานบริหารห้องสมุด, งานจัดซื้อจัดหา, งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ, งานบริการต่างๆ, ระบบห้องสมุด

ไอทีสำหรับบรรณารักษ์ ผมย้ำแค่ 3 ประเด็น คือ ต้องรู้จัก เข้าใจ และเอาไปใช้ให้ถูก

ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

ประเด็นไอทีในข้อ 1-7 ยังเป็นเรื่องที่ทุกคนได้ใช้กันอยู่แล้วเพียงแต่ต้องฝึกฝนกันมากๆ แต่ในข้อที่ 8 อยากให้เรียนรู้กันมากๆ นั่นคือ เรื่องเว็บ 2.0 นั่นเอง

เว็บ 2.0 มีลักษณะดังนี้ (สรุปประเด็นตามสไลด์)
– ยุคใหม่ของการพัฒนาเว็บไซต์
– รูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ใช้เว็บ” มากกว่า “ผู้พัฒนา” หรือ “เจ้าของเว็บไซต์”
– แนวคิดการพัฒนาเว็บที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกัน การผสานความร่วมมือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ซอฟต์แวร์ และเนื้อหาเว็บ
– การปรับเว็บไซต์จากการให้ข้อมูลเพียงทางเดียว เป็นการให้บริการและข้อมูลที่ “ผู้ใช้” เข้าถึงได้ง่ายและร่วมสร้าง แก้ไข


จาก “เว็บ 2.0” สู่ “ห้องสมุด 2.0” ซึ่งสิ่งที่เหมือนกัน คือ ให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการ รับฟังผู้ใช้บริการ …..

ในอดีตช่องทางที่จะทำให้คนทั่วไปรู้จักห้องสมุดบนโลกออนไลน์ มีเพียงวิธีเดียว คือ “เว็บไซต์ห้องสมุด” แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือออนไลน์มากมายให้เลือกใช้ ที่สำคัญ คือ “ฟรี”

สังคมที่เต็มไปด้วยการแบ่งปันความรู้ – เครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งปันความรู้

ใครชอบแชร์เรื่องที่เขียนก็เน้น Blog
ใครชอบแชร์รูปภาพก็ใช้บริการ Flickr
ใครชอบแชร์วีดีโอก็ใช้บริการ Youtube
ใครชอบแชร์เอกสารก็ใช้บริการ Scribd
ใครชอบแชร์ไฟล์นำเสนอก็ใช้บริการ Slideshare

กรณีศึกษาสื่อสังคมออนไลน์แบบต่างๆ เช่น Blog Facebook twitter

ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (Trend : Library in the Future)
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.


นี่ก็เป็นการสรุปการบรรยายให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ เอาเป็นว่าขอจบแต่เพียงเท่านี้หล่ะกันครับ

ผมขอฝากเอกสารชิ้นนึงให้อ่าน เป็นบทความที่ผมเขียนลงวารสารโดมทัศน์ของธรรมศาสตร์
อยากให้อ่านเพราะว่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
อ่านได้ที่ “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

กิจกรรม workshop : สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

วันนี้นายห้องสมุดขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด (Facebook for library service) ซึ่งจัดโดย ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทยฯ (ผมอยู่ในฐานะวิทยากรด้วย)

รายละเอียดเบื้องต้นในการบรรยาย
ชื่องานภาษาไทย : สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Facebook for library service
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วันและเวลาที่จัด : วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2555 เวลา 9.00-16.00 น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

กิจกรรมนี้ผมถูกทาบทามจากคุณรุ้งทิพย์ให้เป็นวิทยากรมานานพอควรแล้ว
โอกาสดีที่ผมเพิ่งจะบรรยายเรื่องนี้ไปเมื่อไม่นานมานี่เอง
(อ่านเรื่อง “Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน“)
ประจวบกับมีโอกาสได้เจอคุณรุ้งทิพย์หลายงาน ก็เลยตอบตกลงว่าจะบรรยายให้ในหัวข้อนี้

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้
– เสวนา / แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook)
– การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด
– ฝึกปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

เรื่อง Facebook กับงานห้องสมุดมีอะไรมากมายกว่าที่คุณคิดนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวัดผลความสำเร็จของการมี  Facebook ห้องสมุด
หรือการต่อยอดในการนำ facebook มาใช้กับกิจกรรมของห้องสมุดด้านต่างๆ

ดาวน์โหลดเอกสาร โครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด ที่นี่

แต่ถ้าไม่อยากดาวน์โหลด กรุณาอ่านรายละเอียดโครงการต่อด้านล่างนี้ (ขออนุญาติ copy มาลงแบบเต็มๆ)

โครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด (Facebook for library service)
จัดโดย ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทย ฯ

…………………………….

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน รองประธาน และ กรรมการฝ่ายวิชาการ

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วนำไปสู่ระบบเครือข่ายทางสังคม (Social network) ในรูปแบบ online และที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ Facebook ห้องสมุดในฐานะผู้ให้บริการและส่งเสริมการใช้และการรู้สารสนเทศ  ควรสนใจติดตามศึกษา และนำเครือข่ายทางสังคมเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการของห้องสมุดเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม    ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จึงได้ร่วมมือกับชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา  (ชบอ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ   จัดกิจกรรมเสวน และฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะแก่ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดที่ได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook เพื่อให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะความรู้ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook
2. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ประยุกต์ใช้เพื่อการบริการห้องสมุด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

วัน – เวลา วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม  2555  เวลา 9.00 – 16.00 น.

สถานที่ ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี อาคารปิยชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กรรมการ/สมาชิกชมรม และผู้สนใจ จำนวน  20  คน

วิทยากร คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์    จาก LibraryHub

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook
2. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ประยุกต์ใช้เพื่อการบริการห้องสมุด
3. ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

หน่วยงานสนับสนุน บริษัท Mercuri Data

งานนี้ต้องขอย้ำอีกครั้งว่า ฟรี ตลอดงานครับ
ลงทะเบียนฟรี อบรมฟรีแบบนี้ ต้องรีบสมัครกันมาหน่อยนะครับ
เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนมาได้เลยนะครับ
รับจำนวนจำกัด ที่ รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน. rungtipho@live.com โทร. 086-5284042

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อก  socialnetworkinglibrarian แล้วเจอบล็อกเรื่องนึงที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องคำทำนายเกี่ยวกับ Social Media ที่จะเกิดในวงการห้องสมุดปี 2012

เรื่องของ Social Media ไม่ใช่เรื่องแฟชั่นอีกต่อไปแล้วนะครับ
เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะวงการไหนๆ ก็ให้ความสำคัญกับมัน และใช้กันอย่างแพร่หลาย
ไม่พ้นวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์เช่นกัน เราจะต้องทำความรู้จักกับมันและใช้มันให้เป็น

ต้นฉบับเรื่องนี้ คือ Top 10 Social Media and Libraries Predictions for 2012

ผมขอแปลแบบสรุปๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกันนะครับ

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012
1. จำนวนของเว็บไซต์ห้องสมุดที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์สื่อสารไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ tablet ฯลฯ
2. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Youtube เพื่อใช้วีดีโอทำการตลาดให้ห้องสมุดและเพื่อการศึกษา
3. ห้องสมุดจะสื่อ Social media มากกว่าการเป็นแค่สื่อประชาสัมพันธ์
4. Google+ จะได้รับความนิยมมากขึ้นและห้องสมุดหลายๆ แห่งจะเข้าไปสร้าง page บน Google+ ด้วย นอกเหนือจากการสร้าง page บน facebook
5. ห้องสมุดจำนวนมากจะค้นหาวิธีเพื่อสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app)
6. ผู้ให้บริการด้านฐานข้อมูลจะสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app) และห้องสมุดก็นำ app เหล่านี้ไปให้ผู้ใช้บริการใช้ต่อไป
7. เว็บไซต์วิจารณ์หนังสือ (Review book) เช่น Goodreads และ librarything จะถูกใช้จากวงการห้องสมุดมากขึ้น
8. ห้องสมุดจะนำโปรแกรมจำพวก Opensource มาใช้มากขึ้น
9. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้เกมส์ออนไลน์เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและการศึกษา
10. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Google app มากกว่าแค่การใช้บริการอีเมล์

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับแนวโน้มในปีนี้

จากข้อมูลข้างต้นเพื่อนๆ จะสังเกตว่าเรื่องของ Facebook เริ่มไม่ค่อยมีการพูดถึงแล้ว เนื่องจากมันเข้ามาอยู่กับวงการห้องสมุดในต่างประเทศนานพอสมควรแล้ว ปีนี้เรื่อง google+ กำลังมาจึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษหน่อย และเรื่อง ebook เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าไม่นิยม แต่มันได้รับความนิยมจนคงที่แล้ว ตอนนี้เรื่อง Review book กำลังน่าสนใจเช่นกัน

เอาเป็นว่าปี 2012 จะเป็นอย่างไร เพื่อนๆ ต้องจับตาดูกันต่อไปนะ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ อยากอ่านเรื่องเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://socialnetworkinglibrarian.com/2011/12/29/top-10-social-media-and-libraries-predictions-for-2012/

แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อกของกลุ่ม Social Network Librarian มาพบบทความที่น่าสนใจ
โดยบทความเรื่องนี้จะชี้ว่า Social Media กับงานห้องสมุดในปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร

ต้นฉบับเรื่องนี้ชื่อเรื่องว่า “Social Media and Library Trends for 2011” จากบล็อก socialnetworkinglibrarian

เมื่อปีก่อนผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Trend ด้านเทคโนโลยีของห้องสมุดในปี 2010 มาแล้ว
ลองอ่านดูที่ “ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า” ซึ่งประกอบด้วย
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.

ในปี 2011 บล็อก socialnetworkinglibrarian ก็ได้บอกว่า Trend ในปี 2011 มีดังนี้
1. Mobile applications
2. QR Codes
3. Google Applications
4. Twitter
5. Virtual reference
6. Collaboration between librarians
7. Teaching social media classes
8. Using social media for library promotion

จะสังเกตได้ว่า บางอย่างยังคงเดิม เช่น Mobile applications, Google Applications, Collaboration, Teaching social media classes และ library promotion ซึ่งแนวโน้มของสิ่งเหล่านี้มันก็บ่งบอกว่าเทคโนโลยียังคงปรับตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน ปีที่แล้วเราอาจจะพูดเรื่องการสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ห้องสมุดในแบบที่ใช้ในมือถือ ปีนี้ผมมองในส่วนของเรื่องโปรแกรมห้องสมุดที่หลายๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เอาเป็นว่าก็เป็นสิ่งที่น่าติดตาม

ส่วนตัวใหม่ๆ ที่เข้ามาในปีนี้ เช่น QR Codes, Twitter, Virtual reference จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ใหม่ในวงการไอทีหรอกครับ แต่ปีที่ผ่านมาจากการประชุมหลายๆ งานที่จัดได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปีก่อนเราพูดกันในภาพรวมของ social network โดยเฉพาะ Facebook มาปีนี้ Twitter มาแรงเหมือนกัน ห้องสมุดก็ต้องตามสิ่งเหล่านี้ให้ทันด้วย

ผมขอแสดงความคิดเห็นอีกเรื่องนึงคือ E-book readers ซึ่งจริงๆ ผมก็ยังมองว่ามันเป็น trend อยู่
เนื่องจากราคาที่ถูกลงจนสามารถหาซื้อมาใช้ได้แล้ว แต่ข้อจำกัดอยู่ที่หนังสือภาษาไทยอาจจะยังมีไม่มาก
ผมก็ฝากบรรดาสำนักพิมพ์ในไทยด้วยนะครับว่า ถ้าสำนักพิมพ์ต่างๆ ออกหนังสือมาทั้งสองแบบ (ตัวเล่ม + E-book)

เป็นไงกันบ้างครับกับ Trend ด้าน Social Media ในวงการห้องสมุด
เพื่อนๆ คงเห็นภาพกว้างแล้วแหละ ลองแสดงความคิดเห็นมากันหน่อยครับว่าเพื่อนๆ เห็นต่างจากนี้อีกมั้ย
แล้วมี trend ไหนอีกบ้างที่ห้องสมุดของพวกเราต้องมองตาม…