การบรรยายหัวข้อสุดท้ายของงานประชุมวิชาการสมาคมห้องสมุดประจำปี 2558
หัวข้อ “สงครามข้อมูลในยุค Social Media” โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ
—————————————————
ห้องสมุดสำหรับคนรักห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือ
การบรรยายหัวข้อสุดท้ายของงานประชุมวิชาการสมาคมห้องสมุดประจำปี 2558
หัวข้อ “สงครามข้อมูลในยุค Social Media” โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ
—————————————————
หัวข้อที่สองของวันสุดท้าย “ความเสี่ยงในโลกออนไลน์”
โดยคุณชัยชนะ มิตรสัมพันธ์ (รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)
———————————————————————————————— Read more
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 มิถุนายน 2555) ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในงาน “การอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK” เรื่อง “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” วันนี้จึงขอแชร์เรื่องดังกล่าวให้เพื่อนๆ อ่าน
ก่อนอื่นมาดูสไลด์ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายนี้กันก่อน
สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์”
เรื่องของสื่อดิจิทัล กับ สื่อออนไลน์ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนมากๆ เพราะเมื่อข่าวสาร ข้อมูล และความรู้อยู่บนโลกออนไลน์แล้ว จริงๆ มันก็คือสื่อดิจิทัลนั่นแหละ ซึ่งสื่อออนไลน์มันก็มีหลายประเภท เช่น
– เว็บไซต์
– ฐานข้อมูล
– เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
– ไฟล์เสียง
-ไฟล์วีดีโอ
และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราก็จะพบว่า สื่อดิจิทัลมากมายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย
ตัวอย่างสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เช่น E-Book ในอดีตเป็นเอกสารที่พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ .txt .doc วันเวลาผ่านไปจากไฟล์เอกสารธรรมดาก็ถูกแปลงสภาพเป็นไฟล์ PDF จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นไฟล์ Flash และนอกจากจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการนำสื่อวีดีโอและเสียงมาประกอบกับหนังสือด้วย ซึ่งนับเวลาการเปลี่ยนแปลงได้ไม่กี่ปีเท่านั้น
ในสไลด์ที่ผมจะแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์ในโลกของ 2.0 ที่เราสามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาเท่านั้น (ตัวอย่างแค่เล็กน้อยเท่านั้น) ได้แก่
– http://www.flipsnack.com = สร้าง E-book ง่ายๆ ด้วย Flipsnack เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ PDF ที่ต้องการจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปบนเว็บไซต์นี้ คุณก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ Flip Book ที่สวยงามแบบง่ายๆ ได้เลยทีเดียว
– http://issuu.com = สร้างและค้นหา E-book แบบง่ายๆ ด้วย ISSUU นอกจากจะสร้าง E-book ได้แล้วเรายังสามารถหา E-book ที่น่าสนใจอ่านได้อีก ตัวอย่างที่ผมแนะนำคือ หนังสือแบบเรียนมานะมานีที่เราเคยเรียนกันในอดีตก็อยู่บนเว็บไซต์นี้เช่นกัน
– http://paper.li/ = หนังสือพิมพ์ข่าวสารในแบบฉบับของเรา Paper.li หนังสือพิมพ์ที่รวบรวมข่าวสารที่เราสนใจ และแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่าน….
– http://youtubemp3.tv/ = แปลงวีดีโอบน Youtube ให้กลายเป็น MP3 คลิบวีดีโอไหนที่มีสาระน่ารู้และน่าสนใจ แล้วเราอยากเก็บไว้มาฟังคนเดียว ก็สามารถแปลงออกมาให้เป็นไฟล์ MP3 ได้
– http://www.oxytube.com/ = เก็บวีดีโอบน Youtube มาไว้ในเครื่องของเราดีกว่า
– http://www.uppsite.com/ = เปลี่ยนบล็อกของคุณให้กลายเป็น APP บนมือถือ
– http://www.makebeliefscomix.com/Comix/ = สร้างการ์ตูนง่ายๆ ด้วย Makebeliefscomix (อันนี้ผมย้ำเยอะหน่อยเพราะว่าน่าสนใจมากๆ เหมาะแก่การนำไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หรือแม้กระทั่งจัดเป็นคอร์สอบรมแก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย)
และก่อนจะจบการบรรยายผมก็ย้ำถึงความสำคัญของโลกออนไลน์อีกครั้งว่า โลกแห่งสื่อสังคมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้เราก็จะเจอหนทางและแนวทางที่จะนำมาใช้งานได้อีก
นี่ก็เป็นเพียงบทสรุปของการบรรยายของผมครับ
หายไป 1 ปีกว่าๆ ในที่สุดงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ (งาน Libcamp) ก็กลับมา
ครั้งนี้พิเศษหน่อยตรงที่เป็นการจัดงาน Libcamp ในต่างจังหวัดครั้งแรกของเมืองไทย
ซึ่งผมใช้คำว่างานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)
ขอรำลึกความหลังของงาน Libcamp สักเล็กน้อย เผื่อหลายคนจะยังไม่รู้จักงานนี้
งาน LibCamp คือ งานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของวงการห้องสมุดครั้งแรกของเมืองไทย เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจงานด้านห้องสมุด บรรณารักษ์ศาสตร์ และการจัดการความรู้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน
ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับงาน Libcampbkk ผมสรุปไว้ให้อ่านที่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampbkk-to-libcampubon.html
เข้าเรื่องเลยดีกว่า งานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)
จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ธีมของงานนี้ คือ “การใช้สื่อท้องถิ่นและสื่อออนไลน์ในงานห้องสมุด”
หัวข้อที่น่าสนใจในงาน LibcampUbon#1
– กรณีศึกษาความสำเร็จของห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
– ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดผ่านสื่อในท้องถิ่น
– กรณีศึกษา : Facebook กับงานห้องสมุด
– กรณีศึกษา : การทำบล็อกห้องสมุด
– คำแนะนำในการสร้างเว็บความรู้ของท้องถิ่น
ร่างโครงการงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)อ่านได้ที่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampubon1-proposal.html
งานนี้ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ฟรีเช่นเคย ใครสนใจก็ส่งเมล์มาหาผมได้นะครับ
สำหรับใครที่ต้องการจดหมายเชิญก็ส่งเมล์มาหาผมได้เช่นกัน เดี๋ยวจะให้เจ้าหน้าที่ส่งหนังสือเชิญไปให้
งานนี้ใครมาไม่ได้ (เพราะว่าไกล) ผมแนะนำให้ติดตามได้ผ่าน twitter #libcampubon
เข้าไปที่ http://twitter.com/#!/search/libcampubon1
เพราะว่าเราจะมีเจ้าหน้าที่คอยอัพเดทข้อมูลและสรุปงานสัมมนาตลอดทั้งวัน
เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน ต้องขอตัวไปเตรียมความพร้อมงานนี้เหมือนกัน
สำหรับคนกรุงเทพยังไม่ต้องน้อยใจ ปีนี้ผมสัญญาว่ามีงาน libcamp ในกรุงเทพเช่นเคยแน่ๆ
ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่เร็วๆ นี้
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ส่งเมล์มาถามได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com