Infographic เทรนด์ในการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Reading)

วันนี้เจอภาพ Infographic นึงรู้สึกว่ามันน่าสนใจเลยเอามาฝากเพื่อนๆ กัน Infographic นี้ได้พูดถึงแนวโน้มและพฤติกรรมของการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบภาพรวม เช่น ทำไมถึงอ่าน อุปกรณ์อ่านที่เป็นที่นิยม ฯลฯ

เอาเป็นว่าไปชมภาพ Infographic กันก่อนเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะ

สรุปข้อคิดและเนื้อเรื่องจาก Infographic นี้
การสำรวจข้อมูลครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างคือชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
– เพศชายกับเพศหญิงมีสัดส่วนในการอ่าน E-book ใกล้เคียงกัน ช่วงอายุที่อ่านมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 18-49 ปี และมีรายได้มากกว่า 50,000 เหรียญต่อปี
– เหตุผลในการอ่านหลักๆ คือ เพื่อการเรียนรู้, เพื่อหลบหนีความเป็นจริง และเพื่อความเป็นเทิง
– ในช่วงเวลาหนึ่งปี อัตราในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย หนังสือประเภทสิ่งพิมพ์จำนวน  15 เล่ม และ E-book จำนวน 24 เล่ม
– อัตราของการซื้อหนังสือคนที่อ่าน E-book จะซื้อหนังสือมากกว่านักอ่านปกติ
– E-Reader ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ Kindle Fire
– แต่เมื่อเทียบ Kindle Fire กับ iPad คนใช้ iPad มากว่าหลายเท่า

ประเด็นสุดท้ายน่าสนใจมากๆ ครับ คือ “เหตุผล 4 ประการที่ไม่ซื้อ E-Reader”
1. ไม่จำเป็นหรือต้องการแค่ 1 (บางคนใช้ tablet ซึ่งแทนกันได้)
2. ไม่สามารถใช้ได้แค่คนๆ หนึ่ง (ไม่อยากใช้งานร่วมกับคนอื่น)
3. มีอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น Tablet Notebook PC
4. ชอบหนังสือประเภทสิ่งพิมพ์มากกว่า

เอาหล่ะครับก็ขอฝากเรื่องราวดีๆ ไว้เพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน

“ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเพียงใด คนก็ยังคงต้องการแสวงหาความรู้มากขึ้นไปด้วย และการอ่านก็ช่วยให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน รูปแบบของหนังสือจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่คนเราก็ยังไม่ทิ้งหนังสือที่เป็นเล่มอยู่ดี”

ที่มา http://infographiclabs.com/news/e-reading-trends/

Workshop : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมมาฝาก นั่นคือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “การผลิตสื่อทางวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)” ที่จัดโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
สถานที่จัดงาน : ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 30 – 31 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรมนี้น่าสนใจมากๆ โดยฌแพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หรือแม้แต่ห้องสมุดในโรงเรียนเองก็น่าสนใจนะครับ เพราะการอบรมครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ เราสามารถนำมาสอนอาจารย์หรือครูที่สนใจอยากผลิต E-book ที่ห้องสมุดของเราได้อีก

หัวข้อที่น่าสนใจ
– มาตรฐานสื่อดิจิทัล
– การใช้งาน e-Book
– แนะนำการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแบบ Open source
– การติดตั้งโปรแกรมในการสร้าง e-Book
– การใช้งานโปรแกรมสําหรับสร้าง e-Book


เมื่อจบจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตร ซึ่งเพื่อนๆ สามารถนำไปใช้เป็นใบเบิกทาง และแสดงถึงความสามารถในการใช้งานโปรแกรมการสร้าง E-book ได้


ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้

สมัครภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,600 บาท
หลังจาก วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,800 บาท

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและสมัครที่ http://www.library.kku.ac.th/conference2012/

ขอฝากประโยคนี้ไว้ทิ้งท้ายข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้แล้วกัน
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อสองถึงสามปีที่แล้วสิ่งที่ทำให้บรรณารักษ์หวั่นๆ คงหนีไม่พ้น “Google” บัดนี้ความหวั่นๆ ของบรรณารักษ์เปลี่ยนไปเมื่อโลกกำลังพูดถึง E-book การจะขจัดความหวาดหวั่นนี้ได้คงต้องเริ่มจากการที่ห้องสมุดสร้าง Content และสร้าง E-Book ขึ้นมาเองให้ได้ และลองนำมาประยุกต์กับงานให้บริการดู สิ่งที่คงจะเป็นเพียงการจุดประกายเรื่องทิศทางของห้องสมุดในอนาคต

Infographic พฤติกรรมที่น่าสนใจของกลุ่มนักอ่าน Ebook

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูล Infographic ที่น่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับ Ebook นะครับ Infographic นี้นำเสนอเรื่องพฤติกรรมที่น่าสนใจของบรรดาผู้ที่ใช้ Ebook และ Ereader ซึ่งสำรวจข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา

เราไปชม Infographic นี้กันนี้

สรุปข้อมูลจาก Infographic ตัวนี้แบบคร่าวๆ นะครับ

– จำนวนคนที่อ่าน E-book มีมากขึ้น
– คนที่อ่าน E-books ส่วนหนึ่งก็ยังคงอ่านหนังสือที่เป็นฉบับพิมพ์ด้วย
– การเป็นเจ้าของ E-reader ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น
– คนอ่าน E-book ส่วนใหญ่ใช้ Ipad ในการอ่าน
– เหตุผลหลักของการอ่าน E-book คือ ความพอใจในอุปกรณ์การอ่าน
– นักอ่าน E-book นิยมการซื้อหนังสือ E-book มาอ่านมากกว่าการยืม E-book จากห้องสมุด


ประเด็นของ Infographic ชิ้นนี้ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การเปรียบเทียบการใช้งานตามวัตถุประสงค์ด้วย (ระหว่างหนังสือตัวเล่มกับ E-Book)

1. อ่านหนังสือในระหว่างการเดินทาง นิยม E-Book
2. อ่านหนังสือที่มีตัวเลือกเยอะๆ นิยม E-Book
3. การอ่านหนังสือกับเด็ก นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
4. หนังสือที่อยากจะแชร์ให้คนอื่นได้อ่าน นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
5. อ่านหนังสือก่อนนอน นิยม E-Book (คะแนนออกมาสู้สีมาก)
6. หนังสือที่ต้องการอ่านแบบเร็วๆ นิยม E-Book

เอาเป็นว่าที่สุดแล้ว Ebook และ หนังสือแบบตัวเล่มก็ยังคงต่างมีจุดดีและจุดด้อยต่างกัน ที่สำคัญเลือกให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของเราน่าจะดีกว่านะครับ

กระแสของ Ebook และ Ereader เริ่มมีบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้น จนผมเองยังต้องย้ำและนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้มากขึ้นไปด้วย เพื่อให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์รวมไปถึงวงการศึกษาในเมืองไทยเตรียมรับมือและเตรียมพร้อมเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ของเรา

พวกเราพร้อมหรือยังที่จะเตรียมให้บริการและพัฒนางานบริการของเรา

credit : http://www.onlineuniversities.com/e-book-nation

Infographic พฤติกรรมการอ่านของคนอเมริกาเปลี่ยนไปแค่ไหน

วันนี้เจอภาพ Infographic ที่น่าสนใจภาพนึง เกี่ยวกับวงการหนังสือด้วย ผมเลยขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ดูสักนิดนึง ภาพๆ นี้ คือ “ภาพที่แสดงให้เห็นถึงความนิยมและจำนวนที่เพิ่มขึ้นของคนอเมริกันที่อ่านหนังสือด้วย E-Reader”

เราไปดูภาพนี้พร้อมๆ กันเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับภาพนี้

คำอธิบายเพิ่มเติมในภาพนี้
– E-Reader = อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Kindle, Ipad, Nook
– ชาวอเมริกา 1 ใน 6 คนใช้ E-Reader และมีแผนจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันใช้แต่ยังไม่ได้ซื้อ)
– อัตราการใช้ E-Reader ในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 8%
– จำนวนการซื้อในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 12%
– จำนวนการอ่านหนังสือจาก E-Reader มีมากกว่าการอ่านหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– จำนวนการซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มีมากกว่าการซื้อหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– หนังสือนวนิยายเป็นหนังสือที่คนอ่านเยอะมาก ซึ่งหนังสือในกลุ่มนิยายลึกลับ สอบสวน ปริศนา เป็นหนังสือที่มีคนให้ความสนใจเยอะที่สุด
– หนังสือในกลุ่มสารคดี ผู้อ่านนิยมเรื่องชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา มากทื่สุด

ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นของอเมริกานะครับ ไม่ใช่ประเทศไทย
จริงๆ ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า ในเมืองไทยจะมีอัตราการอ่านเป็นอย่างไร
จะให้ดีถ้ามีคนนำภาพการอ่านของไทยมาเปลี่ยนเป็น Infographic ก็คงดีไม่น้อย

ที่มาของภาพนี้ http://www.livescience.com/16535-readers-kindle-popularity-infographic.html

เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้เจอประเด็นนึงในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook “ข้อดีและข้อเสียของ E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง ?” ซึ่งประเด็นนี้ผมจะเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแต่ไม่มีเวลา วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องนี้ออกเป็นสองประเด็นแล้วกัน

ประเด็นที่ผมจะนำเสนอ มาจากบทความ 2 เรื่อง ดังนี้
1. 5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks (http://www.readwriteweb.com/archives/5_ways_that_paper_books_are_better_than_ebooks.php)
2. 5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ (http://www.readwriteweb.com/archives/5_ways_that_ebooks_are_better_than_paper_books.php)

เรามาดูกันที่ละเรื่องเลยดีกว่านะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks

1. Feel หรือ ความรู้สึก – เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากอยู่แล้วว่าหนังสือแบบกระดาษยังคงให้ความรู้สึกที่ดีต่อการอ่านมากกว่า การได้จับกระดาษ พลิกกระดาษไปทีละหน้าเป็นเรื่องที่ ebooks ยังหาความรู้สึกมาแทนไม่ได้

2. Packaging หรือ รูปลักษณะของตัวเล่มหนังสือ – นอกจากในเรื่องของตัวเล่มแล้วยังรวมถึงสิ่งที่มากับหนังสือ เช่น ภาพประกอบหนังสือด้วย การที่รูปบางรูปไปอยู่ใน ebooks มันทำให้ไม่สะดวกต่อการดูเพราะหน้าจอของ ebooks มันเล็กกว่าหนังสือบางเล่ม แม้ว่า ebooks จะมีฟังค์ชั่นในการขยายรูปภาพ แต่ก็ไม่ชัดเจนเท่ากับการดูภาพฉบับจริง นอกจากนี้ปกหนังสือก็เป็นจุดดึงดูดให้คนสนใจหนังสือมากกว่าด้วย หากปกหนังสือในอีบุ๊คหลายๆ รุ่นยังไม่มีภาพที่เป็นสีเลย ทำให้จุดนี้หนังสือแบบเดิมก็ยังคงดีกว่า ebooks

3. Sharing หรือการแบ่งปัน – ในแง่นี้หมายถึงการให้เพื่อนยืมไปอ่าน การนำหนังสือไปบริจาคต่อให้คนอื่น ถ้าเป็น ebooks มันจะมีการติดสิทธิ์จำพวก DRM ซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวกหรือบางเล่มไม่สามารถนำไปให้คนอื่นอ่านต่อได้ ลิขสิทธิ์ของ ebooks จะมีแค่เจ้าของเพียงคนเดียว แต่หนังสือหากเราอ่านจบแล้วยังส่งต่อให้ใครก็ได้ยืมอ่านต่อ

4. Keeping หรือ การเก็บ – จากเรื่องของ DRM ในข้อเมื่อกี้แล้วสิ่งที่น่าคิดอีก คือ ในอนาคต ebooks อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปมากกว่านี้ สมมุติว่าเราซื้อ ebooks ในปีนี้ เวลาผ่านไปอีก 10 ปีเราอยากจะอ่านเล่มนี้อีก เราอาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ เปลี่ยนโปรแกรมอ่านใหม่ ซึ่งมันก็ไม่เหมาะเลย (ยกตัวอย่างไฟล์โปรแกรมที่เราเคยเล่นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ลองเอาโปรแกรมนั้นมาลองเล่นดูสิครับ) แต่มุมมองกลับกันถ้าเป็นหนังสือ อีกสิบปีเราอยากอ่านก็หยิบหนังสือเล่มเดิมออกมาไม่ต้องเปลี่ยนปกใหม่เรก็อ่านได้ครับ 5555

5. Second hand book หรือ หนังสือมือสอง -? เรื่องนี้ก็ไม่พ้น DRM เช่นกัน หากเราอ่านหนังสือเล่มเดิมๆ จนเบื่อแล้ว ถ้าเป็นหนังสือเราก็เอาไปขายต่อเป็นหนังสือมือสองได้ แต่ ebooks ไม่สามารถขายได้เนื่องจากมันจะผูกกับสิทธิ์เจ้าของเพียงคนเดียว

เป็นไงบ้างครับ แบบนี้ยืนยันได้แล้วหรือยังว่าหนังสือย่อมดีกว่า ebooks
แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจจนกว่าเพื่อนๆ จะอ่านบทความที่สองนี้นะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ

1. Social Highlighting หรือ ช่วยกันเน้นข้อความที่น่าสนใจ – ฟังค์ชั่นนี้เป็นจุดเด่นของการอ่านหนังสือบน ebooks ความสามารถในการแบ่งปันหรือการอ่านหนังสือร่วมกัน (แต่ละคนต้องซื้อหนังสือหรือดาวน์โหลดเล่มเดียวกันมาเท่านั้นนะ) เมื่อเจอข้อความเด็ดๆ หรือน่าอ่านเราก็จะเน้นข้อความนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ ที่อ่านเล่มเดียวกันได้เห็นทำให้การอ่านสนุกมากยิ่งขึ้น ลองมองภาพนะว่าหากเราไปยืมหนังสือห้องสมุดมาอ่านแล้วเราทำ highlight ลงไป คงโดนด่าแน่นอน

2. Notes หรือ จดบันทึก – ฟังค์ชั่นนี้จะคล้ายๆ กับเมื่อกี้ แต่เน้นการเติมข้อมูลลงไปด้วย บางคนอ่านแล้วก็สรุปใจความสำคัญลงไปใน ebooks เผื่อในอนาคตกลับมาอ่านใหม่จะได้จำได้ นอกจากนี้ยังใช้บันทึกเพื่อเตือนความจำในหนังสือได้

3. Look up of word หรือ ค้นหาคำในหนังสือ – หากหยิบหนังสือแบบเดิมมาอ่านการที่เราจะต้องหาคำที่เราอยากอ่านในหนังสือทำได้โดยการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่มแล้วก็จดมันออกมา แต่ใน ebooks มีฟังค์ชั่นในการค้นหาคำซึ่งมันสะดวกมากกว่าการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่ม

4. Social network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ – เมื่อเราเจอประโยคเด็ดๆ ในหนังสือบางทีเราก็อยากจะแชร์สิ่งนั้นไปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเหมือนกัน ตอนนี้ ebooks device หลายรุ่นก็ทำฟีเจอร์เพื่อให้เครื่อง ebooks ต่ออินเทอร์เน็ตแล้วส่งข้อความผ่าน twitter หรือ facebook ได้แล้ว เช่น? Kindle 2.5

5. Search หรือ การค้นหา – ฟีเจอร์เพิ่มเติมที่น่าสนใจของการอ่าน ebooks คือเราสามารถนำข้อความใน ebooks ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน search engine ได้ด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่มากกว่าการอ่านหนังสือได้ด้วย

โดยรวมๆ แล้วจุดเด่นของ ebooks จะเน้นไปในแนวทางของสังคมออนไลน์มากขึ้น การอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน การพบปะกับคนที่ชอบหนังสือในแนวเดียวกัน รวมถึงการเรียนรู้ที่มากกว่าแค่การอ่านหนังสือด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นจุดเด่นของหนังสือและ ebooks ใครชอบอะไรก็เลือกแบบนั้นแล้วกัน
ยังไงซะ การอ่านก็มีประโยชน์อยู่แล้ว รักการอ่านมากๆ ทำให้มีความรู้และเกิดไอเดียมากๆ ครับ