17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ

เรื่องชวนปวดหัวที่ว่านี้ ผมว่าเพื่อนๆ บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า “เรื่องแค่นี้เอง” ไม่เห็นมันจะน่าปวดหัวตรงไหนเลเอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านแล้ว ลองดูนะครับว่าถ้าเพื่อนๆ อยุ่ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง 17 เรื่องนี้ เพื่อนๆ จะทำอย่างไร

anigif_enhanced-buzz-6606-1376527348-7

17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ

1. เมื่อมีคนมาถามคุณว่า “หนังสืออะไรที่คุณชื่นชอบมาที่สุด” และขอให้หยิบมาให้เขาหน่อย
(บางทีหนังสือที่ผมชอบที่สุด ผมอาจจะไม่ได้ซื้อเก็บไว้ก็ได้จริงมั้ยครับ)

2. เมื่อใครบางคนมารบกวนคุณในขณะที่กำลังอ่านหนังสือเพลินๆ
(บางครั้งอาจจะทำให้ต้องย้อนกลับมาอ่านใหม่ตั้งแต่ต้น)

3. เมื่อหนังสือที่อ่าน ถูกำออกมาเป็นภาพยนตร์ แล้วไม่ตรงกับที่เคยอ่าน
(อันนี้เจอบ่อยมากครับ แอบเจ็บใจเล็กๆ เวลาเล่าให้เพื่อนฟังแล้วออกมาไม่ตรงกับที่เล่า)

4. เมื่อตัวอักษรในหนังสือปะปนอยู่ในรูปภาพจนอ่านไม่รู้เรื่อง
(เรื่องนี้ก็จริงนะ บางครั้งเราเสียสมาธิกับการอ่านเพราะรูปภาพนี่แหละ)

5. เมื่อคุณจะเล่าเรื่องอะไรก็ตามให้กับคนที่เขาไม่ชอบอ่านเรื่องๆ นั้น
(เล่าให้คนที่ไม่รู้เรื่องฟัง ประเด็นคือ จบ)

6. เมื่อคุณลืมกินหรือนอนเพราะมัวแต่ติดกับการอ่านหนังสือที่ชอบ
(หนังสือที่ชอบอ่านไปอ่านมารู้ตัวอีกทีเช้าแล้ว….)

7. เมื่อตัวละครที่คุณชอบตาย…  เมื่อคุณคิดว่าเดี๋ยวตัวละคที่ชอบตัวนั้นจะฟื้น มันก็ไม่ฟื้น
(อันนี้ออกแนวเสียความรู้สึกเล็กๆ)

8. เมื่อหนังสือที่คุณชอบถูกวิจารณ์อย่างไม่เข้าท่า
(มาวิจารณ์อะไรนักหนา)

9. เมื่อผู้เขียนหยุดเขียนเรื่อง (ทั้งๆ ที่จะต้องมีภาคต่อ)
(อ่านแล้วค้างคา แบบเซ็งมาหลายเรื่องแล้ว)

10. บางมีคนมาสปอยตอนจบให้เราฟัง
(บ้านเราเยอะนะเรื่องนี้)

11. เมื่อคุณเดินเข้าร้านหนังสือ
(นักอ่านตัวจริงจะต้องเสียเงินมากมาย อิอิ)

12. เมื่อคุณให้คนอื่นยืมหนังสือไปแล้ว เขาคืนกลับมาด้วยสภาพที่ไม่เหมือนเดิม
(บรรณารักษ์ชวนคิดนะ)

13. (ต่อจากข้อเมื่อกี้) ให้ยืมไปแล้ว ไม่ได้คืนกลับมา
(อันนี้เสียความรู้สึกอย่างหนัก)

14. เมื่อคุณอ่านเรื่องจบแล้ว ต้องรอภาคต่ออีกเป็นปี
(จะให้รอทำไมนานๆ)

15. เมื่อหนังสือทำให้คุณร้องไห้ในที่สาธารณะ แล้วคนรอบข้างคิดว่าคุณบ้าน
(แอบบว่าอินเนอร์มันออกมา คนอื่นไม่เข้าใจอ่ะ)

16. เมื่อเรื่องที่อ่านคลุมเครือไม่ชัดเจน หาที่อ้างอิงก็ไม่ได้
(ต้องรีบหาที่มาทั้งที)

17. เมื่อมีคนพูดว่าคุณอ่านเยอะเกินไป
(ก็เรื่องของฉัน….)

เอาเป็นว่าเรื่องน่าปวดหัวทั้ง 17 เรื่องนี้ ผมว่าเพื่อนๆ ทำความเข้าใจได้ง่ายเลย
เพราะเพื่อนๆ คงเป็นนักอ่านกันจริงๆ ใช่มั้ยครับ….

ที่มาของเรื่องนี้ 17 Problems Only Book Lovers Will Understand
 ปล. อยากให้ดูรูปประกอบมากๆ ตลกดี

11 ชั้นหนังสือน่าคิด ที่ทำจากของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

วันนี้เจอเรื่องขำๆ ขอแชร์ให้เพื่อนๆ ดูเป็นไอเดีย เผื่อที่บ้านใครมีของที่ไม่ได้ใช้แล้วอาจจะเอามาลองประดิษฐ์เป็นชั้นหนังสือเก๋ๆ กันบ้าง บางอย่างเราอาจจะนึกไม่ถึงเลยก็ได้ [ดูแล้วต้องบอกเลยว่าคิดได้ไงเนี้ย]

Presentation1

11 ชั้นหนังสือน่าคิด ที่ทำจากของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

1. เอารถจากัวร์มาทำเป็นชั้นหนังสือ

jaguar-bookshelf-motart

2. เอาเรือมาทำเป็นชั้นหนังสือ

boat-bookcase

3. เอาเปียโนมาทำเป็นชั้นหนังสือ

21-brillant-objects-made-from-recycled-materials-16

 

4. เอาตัวต่อ Lego มาทำเป็นชั้นหนังสือ

lego-bookshelf

 

ชมภาพทั้งหมดได้ที่นี่เลยครับ

[nggallery id=66]

หวังว่าเพื่อนๆ คงได้ไอเดียดีๆ ไปลองใช้ดูนะครับ

 

ที่มาของเรื่องนี้ : 11 Ingenious Bookshelves Made From Unusual Repurposed Items

10 ขั้นตอนสู่การก้าวเป็นผู้นำของห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่

บทความนี้มาจากบทความ เรื่อง Leadership Qualities for Future Library Leaders : Carol’s 10 Steps to Being a Great Library Leader โดย คุณ Carol A. Brey-Casiano ซึ่งเป็น Director of Libraries ของ El Paso Public Library

Presentation1

10 ขั้นตอนสู่การก้าวเป็นผู้นำของห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่

ขั้นที่ 1 หาที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดและไว้ใจได้ หรือ ไม่ก็เป็นที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดและไว้ใจได้ซะเองเลย 
ขั้นที่ 2 เรียนรู้วิธีการและการทำงานของผู้ตามคุณเป็นสิ่งแรก
ขั้นที่ 3 เป็นคนที่จะทำให้วิสัยทัศน์ขององค์กรประสบผลสำเร็จ (นั่นคือคุณต้องรู้จักและเข้าใจวิสัยทัศน์ของห้องสมุดที่คุณดูแลเสียก่อน)
ขั้นที่ 4 เป็นผู้ให้บริการที่ดี
ขั้นที่ 5 ยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นให้ได้
ขั้นที่ 6 ดูแลทุกสิ่งอย่างด้วยตัวเอง
ขั้นที่ 7 มองโลกในแง่ดี
ขั้นที่ 8 พยามยามรักษาตำแหล่งและภาวะความเป็นผู้นำของคุณ ไม่ปัดความรับผิดชอบ
ขั้นที่ 9 เรียนรู้และกระตุ้นให้ผู้ตามมีประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น
ขั้นที่ 10 อย่าทำตัวซีเรียสตลอดเวลา มีอารมณ์ขันได้บ้างแต่พองาม

ขั้นตอนทั้ง 10 นี้จะช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถของคุณให้กลายเป็นผู้นำในห้องสมุดได้ดี
อยากให้ทุกท่านลองนำไปคิดและลองปฏิบัติกันดูนะครับ

50 ก้าว สู่การเป็น ผู้นำ ที่ทุกคนยอมรับอย่างจริงใจ

ข้อคิดดีๆ จากการอ่านหนังสือ “50 ก้าว สู่การเป็น ผู้นำ ที่ทุกคนยอมรับอย่างจริงใจ” เมื่อวันก่อนของผม คือ
ก้าวแรก “ผู้นำ” มาก่อน “ตำแหน่ง”
บางทีคนเราสามารถเป็นผู้นำได้โดยไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สูงเสมอไปก็ตาม
ขอเพียงแค่มีคนยอมรับ และคุณมีการเตรียมพร้อมตัวเองที่ดี
สักวันหนึ่งคุณก็จะขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งของผู้นำได้โดยคุณเองอาจไม่รู้ตัว

ปล. นอกจากวงการห้องสมุดแล้ว ผมเชื่อว่า 10 ขั้นตอนดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้ในทุกอาชีพ ทุกตำแหน่ง ทุกเพศ และทุกวัย

เอกสารบทความฉบับเต็มเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://www.library.illinois.edu/mortenson/book/10_brey-cassiano.pdf

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิลสู่การประยุกต์ในห้องสมุด

เมื่อวันก่อนที่ผมแนะนำหนังสือ “ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)” ซึ่งหนังสือเล่มนี้อย่างที่ผมบอกอ่ะครับว่ามีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย วันนี้ผมจึงขอนำเสนอสักเรื่องที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่ามันเข้ากับงานห้องสมุดและบรรณารักษ์


โดยตัวอย่างที่ผมยกมานี้ เป็นเพียงบทหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีชื่อว่า “ทำตามการให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล” อยู่ในภาคที่สอง

มองในมุมที่ “แอปเปิล” เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจดังนั้นเรื่องการให้บริการลูกค้ามีความสำคัญมากๆ ซึ่งการที่ห้องสมุดอยู่ในฐานะของการให้บริการความรู้นั้น ผมก็มองว่าถ้าเราเน้นการให้บริการแบบเชิงรุกและเน้นผู้ใช้บริการ มันก็จะทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดประทับใจเช่นกัน (บทความนี้ผมว่าบรรณารักษ์ที่อยู่ในฝ่ายบริการและเคาน์เตอร์ควรอ่านมากๆ)

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล (APPLE) มีดังนี้
A – Approach – เข้าไปหาลูกค้าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นในแบบส่วนตัว
P – Probe – สอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างสุภาพ
P – Present – นำเสนอทางแก้ปัญหาให้ลูกค้านำกลับไปใช้ที่บ้านในวันนี้
L – Listen – รับฟังและแก้ไขปัญหาตลอดจนความกังวลของลูกค้า
E – End – จบด้วยการร่ำลาอาลัยและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่

เพื่อนๆ เคยเจอประโยคเล่านี้หรือไม่
“โอกาสหน้าเชิญใหม่นะครับ / ค่ะ” “รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มหรือเปล่าครับ / ค่ะ”
ประโยคส่งท้ายและเชื้อเชิญลูกค้าให้กลับมา สิ่งนี้แหละที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง

“แอปเปิล” นำเสนอมาบางข้อห้องสมุดก็ทำอยู่แล้ว เอาเป็นว่าลองมาดูกันดีกว่าครับว่าถ้าจะนำมาใช้ จะใช้อย่างไรดี

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล (APPLE) สู่การประยุกต์ใช้ในห้องสมุด

ข้อที่ 1 เข้าไปหาลูกค้าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นในแบบส่วนตัว
การสร้างความประทับใจให้ผู้ใช้บริการเมื่อแรกพบเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยเบื้องต้นแล้วรอยยิ้มถือว่าสำคัญมากๆ เมื่อผู้ใช้เดินเข้ามาในห้องสมุดการทักทายผู้ใช้บริการ เช่น “สวัสดีครับ ห้องสมุดยินดีให้บริการ” “ห้องสมุดยินดีต้อนรับครับ” คำทักทายแบบเป็นกันเองจะทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ไม่เครียดและสามารถพูดคุยและตอบคำถามได้ทุกเรื่อง ลองคิดนะครับ “ถ้าเราเป็นผู้ใช้บริการแล้วเดินเข้ามาที่ห้องสมุดเจอบรรณารักษ์ทำหน้ายักษ์ใส่เราจะกล้าถามอะไรมั้ย” เอาเป็นว่าการสร้างความประทับใจเบื้องต้นของผมที่จะแนะนำคือ “รอยยิ้ม” ครับ

ข้อที่ 2 สอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างสุภาพ
ผู้ใช้บริการบางท่านเมื่อเข้ามาที่ห้องสมุดเขาอาจจะต้องการความรู้หรือคำตอบอะไรสักอย่าง การทีบรรณารักษ์เป็นคนเปิดคำถามถามผู้ใช้บริการ ผมว่ามันก็สมควรนะครับ ผู้ใช้บริการบางท่านเป็นคนขี้อาย (ผมก็เป็นนะไม่กล้าเดินมาถามบรรณารักษ์) บรรณารักษ์ที่ต้อนรับจากข้อที่ 1 เมื่อยิ้มแล้วลองถามผู้ใช้บริการดูว่า “ต้องการมาค้นเรื่องอะไรครับ” “อยากทราบเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือปล่าว” ผู้ใช้ก็จะบอกความต้องการกับเราเอง อันนี้ผมว่าน่าสนใจดีครับ

ข้อที่ 3 นำเสนอทางแก้ปัญหาให้ลูกค้านำกลับไปใช้ที่บ้านในวันนี้
ถ้าผู้ใช้บริการถามถึงสิ่งที่ไม่มีในห้องสมุด บรรณารักษ์สามารถหาข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงให้ผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่น ผู้ใช้บริการต้องการงานวิจัยจากต่างประเทศแล้วห้องสมุดของเราไม่มี และพอจะรู้ว่าในฐานข้อมูล สกอ. ก็สามารถแนะนำหรือแนะให้ไปค้นที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ได้ สรุปง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์ห้ามตอบว่าไม่รู้หรือไม่ทราบเด็ดขาด แม้แต่เรื่องที่ไม่รู้จริงๆ ก็ต้องค้นคำตอบจากอินเทอร์เน็ตหรือบอกกับผู้ใช้ว่าจะหาคำตอบมาให้ในโอกาสหน้า

ข้อที่ 4 รับฟังและแก้ไขปัญหาตลอดจนความกังวลของลูกค้า
ผู้ใช้บางท่านอาจจะไม่รู้จริงๆ ว่าต้องการหนังสืออะไร เช่น พ่อแม่มือใหม่อาจต้องการคำแนะนำในเรื่องการเลี้ยงลูก บรรณารักษ์ควรจะรับฟังปัญหาและสามารถแนะนำหนังสือที่มีในห้องสมุด หรือแนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมให้กับพ่อแม่มือใหม่เหล่านั้นได้ ข้อนี้ต้องบอกตรงๆ ครับว่า บรรณารักษ์ยุคใหม่ไม่ใช่แค่คนค้นหนังสือตามที่ผู้ใช้ต้องการแล้ว แต่ต้องสามารถเลือกหนังสือที่เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้

ข้อที่ 5 จบด้วยการร่ำลาอาลัยและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่
เมื่อทักทายแล้วก็ต้องมีการบอกลาประโยคบอกลาผู้ใช้บริการและเชิญชวนให้เขากลับมาใช้บริการใหม่ อาจจะเหมือนว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ผมว่ามันเป็นการใส่ใจรายละเอียดที่ผู้ใช้บริการก็ต้องการเช่นกัน

สรุปขั้นตอนจากเรื่องนี้ (การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิลสู่การประยุกต์ในห้องสมุด)
ทักทายต้อนรับ – ถามความต้องการ – แนะนำหนังสือให้ผู้ใช้ – แก้ปัญหาให้ผู้ใช้ – อำลาและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่

เอาเป็นว่าบางข้อผมว่าเพื่อนๆ ก็ทำอยู่แล้ว ดังนั้นเราก็ลองเอามาปรับและเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับบริบทของห้องสมุดดูแล้วกันนะครับ

นายห้องสมุดชวนอ่าน ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)

วันสบายๆ วันนี้ นายห้องสมุดขอแนะนำหนังสือสักเล่มแล้วกัน นั่นคือหนังสือ “ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)” แบบว่าหนังสือเล่มนี้อ่านแล้วรู้สึกดีมากๆ เพราะมีแง่คิดที่ผมว่าคนทำงานด้านบริการควรเก็บมาคิดหลายเรื่อง เอาเป็นว่าลองอ่านบล็อกเรื่องนี้ก่อนแล้วกัน

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)
ผู้เขียน : Carmine Gallo
ผู้แปล : ศรชัย จาติกวาณิช
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล
ปีพิมพ์ : 2555
จำนวนหน้า : 304 หน้า
ISBN : 9786167060392
ราคา : 239 บาท

ในยุคนี้หากพูดถึง “แอปเปิล” ผมเชื่อว่าน้อยคนจะบอกว่าไม่รู้จัก
Mac, Iphone, Ipad, IPOD ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าชื่อดังของ “แอปเปิล”
การที่บริษัทแอปเปิลเติบโตและเป็นที่รู้จักของโลก นั่นแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของบริษัทแห่งนี้

สิ่งหนึ่งที่ผมชื่นชม “แอปเปิล” ไม่ใช่แค่เพียงสินค้าที่เขาจำหน่ายเท่านั้น
แต่ความคิดของ “แอปเปิล” ในแง่ต่างๆ ที่ผมชอบ ไม่ว่าจะเป็นแง่คิดตอนที่แอปเปิลทำ ipod
หรือแม้กระทั่งแง่คิดของการออกแบบร้านของ “แอปเปิล” หรือที่เราเรียกว่า “Apple Store

หนังสือเล่มนี้มีเรื่องอะไรบ้างที่น่าสนใจ (สารบัญ) หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาคใหญ่ๆ คือ

ภาค 1 จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าภายในของคุณ
– ฝันไปให้ไกลกว่าเดิม
– จ้างมายิ้ม
– บ่มเพาะพนักงานที่ไม่กลัว
– สร้างความไว้วางใจ
– จัดให้มีระบบข้อมูลป้อนกลับ
– พัฒนาพนักงานหลายมือ
– มอบอำนาจให้พนักงานของคุณ

ภาค 2 ให้บริการลูกค้าภายนอก
– ทำตามการให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล
– ตั้งนาฬิกาในตัวลูกค้าของคุณใหม่
– ขายประโยชน์
– ปลดปล่อยอัจฉริยะภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวลูกค้า
– สร้างสรรค์ช่วงว้าว
– ฝึกฝนสคริปต์
– ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีเสมอต้นเสมอปลาย

ภาค 3 จัดเวที
– กำจัดความรกรุงรัง
– ใส่ใจในรายละเอียดของแบบ
– ออกแบบประสบการณ์ที่สัมผัสได้หลายมิติ
– สรุป: จิตวิญญาณของแอปเปิล

แค่เห็นสารบัญผมว่าหลายๆ คนก็เริ่มสนใจแล้วใช่มั้ยหล่ะครับ เอาเป็นว่าก็ลองไปหาอ่านได้ที่ร้านหนังสือใกล้บ้านหรือไม่ก็ห้องสมุดกันดูนะครับ (ถ้าไม่มีในห้องสมุดก็เสนอรายชื่อนี้ให้ห้องสมุดซื้อให้ได้นะ)

ปล. หนังสือเล่มนี้ตั้งใจซื้อมาเพื่อแจกเป็นรางวัลให้กับคนที่เล่นกิจกรรมบน
Facebook เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย

บรรณารักษ์ขอบอก : การเดินทางของหนังสือ 1 เล่มในห้องสมุด

นานๆ ทีจะเอาเรื่องราวการทำงานส่วนตัวมาเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้เลยขอเอาเรื่องราวแบบเบาๆ ที่อ่านได้ทั้งคนที่ทำงานบรรณารักษ์ คนทำงานห้องสมุด คนที่สนใจด้านห้องสมุด และคนทั่วๆ ไปในฐานะคนใช้บริการห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าอ่านได้ทุกคน

กว่าหนังสือ 1 เล่มจะเข้ามาที่ห้องสมุด ขึ้นไปอยู่บนชั้นหนังสือ และถูกนำออกจากห้องสมุด เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

ผู้บริหารบางคน ผู้ใช้บริการบางคน คิดง่ายๆ ว่า การทำห้องสมุดเป็นเรื่องง่าย แค่ซื้อหนังสือแล้วเอาไปวางไว้บนชั้นก็เป็นห้องสมุดได้แล้ว วันนี้เรามาลองคิดกันใหม่นะครับ

ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าผมขอแยกหนังสือออกเป็น
1. หนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อมาใหม่
2. หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ในโอกาสต่างๆ
3. หนังสือที่ห้องสมุดขออภินันทนาการจากหน่วยงานอื่นๆ
4. หนังสือที่ได้รับบริจาคจากคน/หน่วยงานอื่นๆ

หนังสือทั้ง 4 แบบมีเส้นทางการเดินทางต่างกัน เดี๋ยวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ
(ผมขอเล่าเป็นภาพแล้วกันนะครับ)

1. หนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อมาใหม่


1.1 กระบวนการจัดซื้อจัดหา
– กำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือที่ห้องสมุดต้องการ (อาจทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ)
– รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ต้องการจัดซื้อ + ตรวจสอบรายชื่อหนังสือซ้ำกับห้องสมุด
– ดำเนินการสั่งซื้อ กระบวนการส่งของ กระบวนการตรวจรับ
1.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
1.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
1.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
1.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

2. หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ในโอกาสต่างๆ


2.1 กระบวนการจัดทำเนื้อหาและจัดพิมพ์
– กำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือ ตั้งโครงร่างของเนื้อหา (อาจทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ)
– เขียนเนื้อหา เรียบเรียงข้อมูล ใส่ภาพประกอบ
– ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
– ออกแบบและจัดหน้า วาง lay out ออกแบบกราฟิค
– พิสูจน์อักษร ตรวจเรื่องสี
– จัดพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ
2.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
2.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– นำเข้าภาพหน้าปกจากไฟล์อิเล็คทรอนิคส์
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
2.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
– นำเล่มที่สมบูรณ์มาเปลี่ยน (หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์สามารถเก็บในชั้นปิดได้กรณีมีจำนวนมาก)
– ซ่อมแซม (กรณีที่หนังสือมีจำนวนจำกัด)
2.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

3. หนังสือที่ห้องสมุดขออภินันทนาการจากหน่วยงานอื่นๆ


3.1 กระบวนการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่ต้องการขอรับหนังสืออภินันทนาการ
– รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ต้องการขอรับอภินันทนาการ
– ทำหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานเจ้าของหนังสือ
– เมื่อได้รับหนังสืออภินันทนาการแล้วต้องทำหนังสือขอบคุณตอบกลับ
3.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
3.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
3.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
3.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

4. หนังสือที่ได้รับบริจาคจากคน/หน่วยงานอื่นๆ


4.1 กระบวนการลงทะเบียนหนังสือรับบริจาค
– กรอกข้อมูลผู้บริจาคหนังสือพร้อมรายชื่อหนังสือที่ได้รับบริจาค
4.2 กระบวนการคัดสรรหนังสือ
– คัดเลือกหนังสือที่เหมาะสมกับห้องสมุดเพื่อดำเนินการต่อไป หนังสือที่ไม่เหมาะสมก็เก็บไว้เพื่อรอจำหน่ายออกภายหลัง
– คัดเลือกหนังสือที่ต้องซ่อมแซมเพื่อดำเนินการซ่อมแซมต่อไป
4.3 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
4.4 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
4.5 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
4.6 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพแบบกว้างๆ นะครับ ผมเชื่อว่าห้องสมุดบางแห่งก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้ หรือบางห้องสมุดอาจจะมีวิธีการจัดการที่ดีกว่านี้ เอาเป็นว่าก็เอามาแชร์กันอ่านบ้างนะครับ และพร้อมรับฟังความเห็นและวิธีการของทุกท่านเช่นกัน ร่วมกันแชร์แนวทางเพื่อการพัฒนาห้องสมุดที่ยั่งยืนนะครับ

อ่านอะไรดี : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่

วันศุกร์ วันสบายๆ แบบนี้ผมขอแนะนำหนังสือสักเล่มดีกว่า (จริงๆ ต้องบอกว่าโปรโมทหนังสือของหน่วยงานตัวเองมากกว่านะ) หนังสือเล่มนี้แค่เห็นชื่อเรื่องก็ต้องบอกว่าสะดุดตาพอสมควรแล้ว นั่นคือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่”

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
จัดพิมพ์โดย : โครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
ปีพิมพ์ : 2554
จำนวนหน้า : 192 หน้า
ISBN : 9786162024672

ชื่อหน่วยงานและโครงการหวังว่าเพื่อนๆ คงคุ้นเคยกันนะครับ เพราะเวลาผมไปบรรยายที่ไหนก็ตามผมก็จะกล่าวถึงหน่วยงานนี้ “ศูนย์ความรู้กินได้” ซึ่งเป็นการพัฒนาต้นแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีนั่นเอง

จากการทำงานพัฒนาระบบห้องสมุดของผม 2 ปีกว่าๆ ทีมงานของเราพยายามถอดความรู้จากประสบการณ์และบทเรียนที่เราได้รู้จากการทำงานต่างๆ และได้รวบรวมเพื่อที่จะจัดพิมพ์ออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และนำไปลองใช้ดู

เนื้อหาในเล่มนี้แบ่งออกเป็น 6 บทหลักๆ คือ
– บานประตูใหม่ เพื่อเข้าถึงความรู้ (เกริ่นความสำคัญของการมีห้องสมุด)
– ศูนย์ความรู้กินได้ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย (ภาพรวมของโครงการและรางวัลห้องสมุดระดับประเทศ)
– การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (พูดเรื่องการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานของอาคารห้องสมุด)
– ปรุง “ความรู้” ให้ “กินได้” (พูดเรื่ององค์ความรู้และการเลือกองค์ความรู้ไปใส่ในห้องสมุด)
– สร้างเครือข่ายผู้ใช้ห้องสมุด เครือข่ายผู้สนับสนุน (การใช้สื่อสังคมออนไลน์และบทบาทของเครือข่ายห้องสมุด)
– การบริหารและพัฒนาบุคลากรในห้องสมุด (พูดเรื่องการพัฒนาบรรณารักษ์ในรูปแบบต่างๆ)

นอกจากนี้ยังมีส่วนภาคผนวกที่จะเพิ่มความรู้เกี่ยวกับ “การสร้างห้องสมุด” และ “ห้องสมุด 2.0” ด้วย

เอาเป็นว่าเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ผมต้องขอบอกเลยครับว่า เน้นข้อมูลที่เพื่อนๆ สามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งนั้น ตัวอย่างกิจกรรมดีๆ การเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดแบบถูกใจผู้ใช้บริการ หัวข้อการประเมินผลกิจกรรมต่างๆ และนวัตกรรมการบริการห้องสมุดแบบใหม่ๆ

หนังสือเล่มนี้ต้องขอบอกตามตรงว่ามีจำนวนจำกัดมากๆ
ดังนั้นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 นี้จะมีให้แค่บางหน่วยงานเท่านั้น
แต่รับรองว่ายังคงมีการพิมพ์เพิ่มอีกแน่นอน ซึ่งเมื่อไหร่นั้นจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

ส่วนใครที่อยากได้จริงๆ วันนี้ผมมีมาแจก 5 เล่ม แต่ต้องร่วมกิจกรรมอะไรสักอย่างนะครับ
นั่นก็คือ เขียนบทความจำนวน 1 หน้ากระดาษ A4 ในเรื่องใดก็ได้ต่อไปนี้ (เลือกแค่ 1 เรื่องนะครับ)
“ห้องสมุดในยุคใหม่ในสายตาของท่านจะมีลักษณะอย่างไร”
“แนวทางในการเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดให้ตรงใจผู้ใช้บริการ”
“บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องพัฒนาทักษะและมีความสามารถด้านใด”

เขียนเสร็จแล้วให้ส่งมาที่ dcy_4430323@hotmail.com หรือ maykin@okmd.or.th ส่งได้ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 นะครับ ทางทีมงานจะคัดเลือกบทความที่น่าสนใจและนำมาลงในเว็บไซต์ www.kindaiproject.net และลงบทความของท่านในวันที่ 1-5 มิถุนายน 2555 บทความใดได้ลงจะได้รับหนังสือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” คนละ 1 เล่มครับ

กรุณาใส่ชื่อจริงนามสกุลจริง หน่วยงานของท่าน ที่อยู่และเบอร์ติดต่อเพื่อประสานงานการจัดส่งหนังสือมาด้วยนะครับ

กิจกรรมแจกหนังสือจะมีเป็นระยะนะครับ

งานเสวนา “หนังสือเก่า เล่าเรื่อง มรดกภูมิปัญญาไทย”

มีข่าวฝากประชาสัมพันธ์มาให้เพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้เข้าร่วมครับ เป็นงานเสวนาที่ผมอ่านแล้วก็ยังรู้สึกว่าน่าสนใจดี เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหนังสือเก่าและหนังสือหายากครับ ชื่องานเสวนานี้คือ “หนังสือเก่า เล่าเรื่อง มรดกภูมิปัญญาไทย”


รายละเอียดงานเสวนาเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : หนังสือเก่า    เล่าเรื่อง   มรดกภูมิปัญญาไทย
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันศุกร์ที่  15  มิถุนายน พ.ศ. 2555    เวลา  8.30 – 17.00 น.
จัดโดย : ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในงานนี้เพื่อนๆ จะได้พบกับผู้ที่อยู่ในวงการหนังสือเก่า หรือ หนังสือหายากมากมาย ซึ่งพวกเขาจะมาเล่าให้ฟังถึงคุณค่าและความสำคัญของหนังเก่าที่มีต่อชุมชนและสังคมไทย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– มรดกภูมิปัญญาในกรมพระจันทบุรีนฤนาถ
– เล่าเรื่อง ลีลาของ “ฉันท์”
– เสน่ห์หนังสือเก่า
– หนังสือเก่า ความรัก ความผูกพัน กับคนสำคัญ

บุคคลที่ให้เกียรติมาถ่ายทอดเรื่องราว เช่น
– รองศาสตราจารย์อัมพร ทีขะระ (ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดหนังสือหายาก)
– รองศาสตราจารย์ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (ผู้อำนวยการหอประวัติจุฬาฯ)
– รองศาสตราจารย์คึกเดช กันตามระ (นักวิชาการ/นักเขียน)
– คุณอเนก นาวิกมูล (นักวิชาการ/นักเขียน/เจ้าของบ้านพิพิธภัณฑ์)
– นางสุกัญญา ชลศึกษ์ (ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์)
– นางชมัยภร แสงกระจ่าง (นักเขียน อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย)
– นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ (นักเขียน)

เป็นยังไงกันบ้างครับทั้งหัวข้อและวิทยากรทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่น่าสนใจนะครับ

ดังนั้นถ้าใครไม่ติดธุระหรือสนใจก็เข้าร่วมงานนี้ได้นะครับ เพียงแค่ดาวน์โหลดแบบตอบรับด้านล่างนี้
คลิ๊กที่นี่เลย “แบบฟอร์มตอบรับเข้าร่วมงาน

เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้วก็สำรองที่นั่งโดยส่งแบบตอบรับไปที่ Benja.r@car.chula.ac.th หรือ  Anurak.m@car.chula.ac.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “ศูนย์มรดกภูมิปัญญา  โทร.  0-2218-2934

ข้อความประชาสัมพันธ์ของงานนี้ (เพื่อนๆ สามารถ copy และ ส่งต่อไปให้เพื่อนๆ คนอื่นได้นะครับ)

ศูนย์วิทยทรัพยากร   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ขอเชิญชวนคนรักหนังสือเก่า     ผู้ชื่นชอบงานเขียน  และผู้รักการอ่านทั้งหลาย    ร่วมงานเสวนาเรื่อง   หนังสือเก่า    เล่าเรื่อง    มรดกภูมิปัญญาไทย         เนื่องในโอกาสวันกิติยากร    เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระจันทบุรีนฤนาถ   ที่ทรงมีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ในวันศุกร์ที่  ๑๕  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕    เวลา  ๘.๓o – ๑๗.oo  น.   ณ  ห้องประชุมชั้น  ๗   ศูนย์วิทยทรัพยากร      โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างองค์ความรู้ทางมรดกภูมิปัญญา  เผยแพร่เรื่องราวของหนังสือหายากให้สาธารณชนได้ตระหนักในคุณค่า  ความรู้   และความสำคัญของหนังสือเก่าที่มีต่อชุมชน  สังคม   และประเทศชาติ     ผ่านเรื่องเล่า    บันทึกความทรงจำและความรู้สึกที่งดงามของบุคคลต่างๆ   ประกอบด้วยการบรรยายเรื่อง  มรดกภูมิปัญญาในกรมพระจันทบุรี นฤนาถ   โดย   รองศาสตราจารย์อัมพร  ทีขะระ    รองศาสตราจารย์ฉลอง   สุนทราวาณิชย์     และ คุณธงชัย  ลิขิตพรสวรรค์    เล่าเรื่องลีลาของ “ ฉันท์ ”  โดย  รองศาสตราจารย์คึกเดช  กันตามระ     ฟังสบายๆ กับเรื่อง  เสน่ห์หนังสือเก่า  โดย  คุณเอนก  นาวิกมูล    ในภาคบ่ายพบกับการเสวนาเรื่อง  หนังสือเก่า  ความรัก  ความผูกพัน  กับคนสำคัญ  โดย   ศิลปินแห่งชาติ  นางสุกัญญา  ชลศึกษ์   (กฤษณา  อโศกสิน)  นางชมัยภร   แสงกระจ่าง   และนายแพทย์พงศกร  จินดาวัฒนะ    พร้อมเปิดบ้านเยี่ยมชมห้องกรมพระจันทบุรีนฤนาถ    ศูนย์มรดกภูมิปัญญา  จุฬาฯ  การบริการหนังสือหายาก  และหนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์

อ่านอะไรดี : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน

ช่วงนี้มีคนพูดเรื่องห้องสมุดกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เยอะมาก และคำถามนึงที่เพื่อนๆ ถามมาเยอะ คือ “บรรณารักษ์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง” ผมก็แนะนำไปหลายๆ อย่างแต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องย้ำ คือ ภาษาอังกฤษ และวันนี้ผมขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับ “ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์”


ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : English for Public Librarians
จัดพิมพ์โดย : โครงการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปีพิมพ์ : 2552
จำนวนหน้า : 406 หน้า
ISBN : 9786115050086

โจทย์การพัฒนาบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนให้มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นโจทย์ที่ท้าทายผมมาก
ดังนั้นผมจึงต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสอนภาษาอังกฤษ การฝึกอบรมด้านภาษา ฯลฯ
ซึ่งการค้นพบหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมากๆ ครับ จึงต้องเอามาเขียนลงบล็อกให้ได้

หนังสือเล่มนี้อย่างที่ข้อมูลเบื้องต้นบอกว่าเป็นของ มสธ. นั่นแหละครับ
ผมจึงตามไปที่ มสธ. และถามหาหนังสือเล่มนี้ ซึ่งรู้มาว่า มีหนังสือเล่มนี้อยู่จริง แต่ไม่มีจำหน่าย
ดังนั้นผมจึงต้องเสาะหามาให้ได้เพื่อนำมาศึกษา ซึ่งต้องขอขอบคุณอาจารย์น้ำทิพย์มากๆ ที่กรุณาให้ผมนำมาศึกษา

ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
หน่วยที่ 1 Welcoming Visitors
หน่วยที่ 2 Reading for Professional Development
หน่วยที่ 3 Writing for Professional Development

ในแต่ละส่วนเน้นทักษะที่ไม่เหมือนกัน เช่น

หน่วยที่ 1 ที่เกี่ยวกับการต้อนรับผู้ใช้บริการ จะเป็นบทที่เน้นการสนทนา (พูด) เป็นหลัก ซึ่งในบทนี้ที่ผมชอบมากๆ คือ มีสคริปส์ให้อ่านด้วย ประมาณว่าถ้ามีผู้ใช้บริการเข้ามาที่ห้องสมุด สามารถอ่านบทสคริปส์ตามนี้ได้เลยทีเดียว ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
1.1 การกล่าวต้อนรับผู้ใช้บริการ
1.2 การนำชมห้องสมุดในส่วนต่างๆ
1.3 คำถามจำพวก FAQ และการกล่าวขอบคุณและอำลาผู้เยี่ยมชม

หน่วยที่ 2 เน้นทักษะการอ่านเป็นหลัก ซึ่งบรรณารักษ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ หรือการอ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
2.1 การอ่านข้อมูลสารสนเทศ เช่น ข่าว เว็บไซต์ห้องสมุด
2.2 การอ่านที่เกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น catalog
2.3 การอ่านที่เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ

หน่วยที่ 3 เน้นทักษะการเขียนเป็นหลัก ซึ่งการเขียนเป็นเรื่องหนึ่งที่เราจะใช้สื่อสารกับผู้ใช้บริการหรือการติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายห้องสมุดอื่นๆ ในต่างประเทศด้วย ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
3.1 การติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมาย เอกสารต่างๆ
3.2 การติดต่อผ่าน E-mail
3.3 การเขียนแบบฟอร์มต่างๆ

เอาเป็นว่าน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองหามาอ่านกันบ้างแล้วกัน

หนังสือเล่มนี้หายากมากครับ เพราะทำออกมาจำกัด แต่ในช่วงนั้นได้ยินว่ามีหลายห้องสมุดได้รับและเข้าอบรมเรื่องนี้กันไปแล้ว คำแนะนำของผมง่ายๆ คือ หยิบออกมาทบทวนกันบ้างนะครับ ส่วนใครที่ยังไม่มีหนังสือเล่มนี้ ขอให้รอสักครู่ ผมจะนำมาเล่าให้อ่านในบล็อกเรื่อยๆ แล้วกันครับ

ปล. หนังสือเล่มนี้ต้องขอขอบคุณ อาจารย์น้ำทิพย์ วิภาวิน ที่กรุณาให้ผมยืมอ่านและนำมาถ่ายเอกสารครับ

ไอเดียห้องสมุดเคลื่อนที่สไตล์ “รถถังหนังสือ”

เพื่อนๆ คงเคยเห็นห้องสมุดเคลื่อนที่ในเมืองไทยในรูปแบบที่เป็นรถบัสมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กศน หรือ กทม ก็มีห้องสมุดเคลื่อนที่ที่ใช้รถบัสมาทำ วันนี้ผมมีแบบแปลกๆ มาให้ดูอีกแบบ นั่นคือ “รถถังหนังสือ”
จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่รถถังที่ทหารเข้าใช้กันหรอกนะครับ แต่เป็นเพียงรถที่ตกแต่งคล้ายๆ รถถังต่างหาก
รถถังหนังสือที่เพื่อนๆ ได้เห็นนี้ มีอยู่จริง ที่ประเทศอาร์เจนติน่า นะครับ

เจ้าของรถคันนี้คือ คุณ Raul Lemesoff ได้นำรถ Ford Falcon ปี 1979 มาตกแต่งให้เหมือนรถถัง
โดยถ้าสังเกตที่ตัวของรถจะพบว่าเกราะที่ใช้ตกแต่งพื้นผิวของรถถังเป็นหนังสือ ซึ่งมีจำนวน 900 เล่มทีเดียว

Concept ของรถถังคันนี้ คือ “Weapon of Mass Instruction” อาวุธของการสอนแบบมวลชน
“contribution to peace through literature”  นำเสนอความสันติสุขผ่านวรรณกรรม


ลองฟังบทสัมภาษณ์ของเจ้าของรถคันนี้กันครับ
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=yFi27PQ2bxo[/youtube]
นับว่าเป็นไอเดียที่ดีเลยใช้ปล่าวครับ อิอิ ผมชอบไอเดียเขาจริงๆ เลย
แต่เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเป็นห่วงหนังสือที่อยู่บนตัวรถแน่ๆ
เพราะว่าต้องเจอทั้งแดด ความชื้น และบางทีอาจจะเจอฝน
น่าสงสารหนังสือเหล่านั้นเหมือนกันนะครับ
แต่เอาเถอะครับ มองให้มันเป็นศิลปะ ก็คงช่วยให้หายเครียดบ้าง