วีดีโองานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์

คลิปวีดีโอที่ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวันที่อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ส่งมาถึงมือผมเรียบร้อย
วันนี้ผมจึงขอนำขึ้นมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน สำหรับผู้ที่ไม่ได้มาอบรมคลิปวีดีโอนี้เป็นโอกาสของคุณแล้ว

แอบเสียดายนิดๆ ที่ผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปในวันนั้น
เลยไม่ได้เก็บภาพบรรยากาศในวันนั้นมาให้เพื่อนๆ ดูเลย
มีก็เพียงวีดีโอที่ได้จากเครือข่ายจิตอาสาก็เท่านั้นเอง

virtual-library

การอบรมในวันนั้นใช้เวลาไป 3 ชั่วโมงก่าๆ แต่คลิปนี้มีความยาว 30 นาที
ซึ่งใน 30 นาทีที่ท่านกำลังจะได้ชมนั้น ผมว่ามันอัดข้อมูลในวันนั้นได้ครบถ้วนเลยทีเดียว

ไปชมวีดีโองานวันนั้นเลยครับ (ผมแบ่งเป็น 4 ตอนนะครับ)

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 1

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5H592XIFeAY[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 2

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=kHFjshCWIRc[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 3

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=r9opbOzw58Q[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 4

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2O3Qg5tDpLI[/youtube]

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้รับความรู้มากน้อยเพียงใด ก็อย่าลืมเอามาเล่าให้ฟังกันบ้าง
ใครที่นำไปลองใช้ก็ส่งความคิดเห็นมาด้วยเช่นกันนะครับ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณช่างกล้อง (ไม่รู้จักชื่ออ่ะ ก็เลยไม่ลงชื่อให้นะ)
และเครือข่ายจิตอาสาที่ได้จัดงานอบรมดีๆ แบบนี้ให้คนไทยได้รู้จักคำว่ารักการอ่านมากขึ้น

ปล. วีดีโอนี้เป็นของเครือข่ายจิตอาสานะครับ

My Library in Google VS Librarything VS Shelfari VS Goodreads

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีงานอบรม “การจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว
ซึ่งผมเองก็อยู่ในฐานะของผู้บรรยายเช่นกัน วันนี้ผมจึงขอสรุปข้อมูลและนำสไลด์มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
เรื่องที่ผมบรรยาย คือ เรื่อง “ชั้นหนังสือออนไลน์ ที่คุณก็สามารถสร้างได้”

bookshelf

ก่อนที่ผมจะสรุปข้อมูลการบรรยาย ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้ชม slide ของผมกันก่อน

แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้

สไลด์ของผมดูได้ที่ http://www.slideshare.net/projectlib/ss-2980074

เรื่องที่ผมบรรยายเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้งานชั้นหนังสือออนไลน์ที่อยู่บนเว็บไซต์ต่างๆ
ซึ่งผมได้นำเว็บไซต์ชั้นหนังสือออนไลน์มา demo การใช้งานและเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย

เว็บไซต์ชั้นหนังสือทั้ง 4 ที่ผมนำมาบรรยาย ประกอบด้วย
1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search – http://books.google.co.th
2. Librarything – http://www.librarything.com
3. Shelfari – http://www.shelfari.com
4. Goodreads – http://www.goodreads.com

แต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีและข้อด้อยของมันเอาเป็นว่าผมขอสรุปให้อ่านคร่าวๆ ดังนี้

—————————————————————————————————

1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search http://books.google.co.th

ข้อดีของห้องสมุดของฉัน @ Google book search
– ค้นหาข้อมูลหนังสือได้ง่ายด้วย ISBN (Search by ISBN, OK)
– สืบค้นได้ค่อนข้างเร็ว (Fast for search)
– แสดงผลได้ทั้งแบบรายละเอียดและภาพปกหนังสือ (Detail List and Cover view)
– สามารถดูตัวอย่างเนื้อหาของหนังสือได้ (Example Chapter)
– เชื่อมโยงกับร้านจำหน่ายหนังสือต่างๆ เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร้านซีเอ็ด ร้านนายอินทร์ ฯลฯ (Link to Library and bookstore)
– ส่งออกรายการหนังสือด้วยมาตรฐาน RSS (Export data to RSS)


ข้อด้อยของห้องสมุดของฉัน @ Google book search

– ต้องใช้ Account ของ Google เท่านั้น (Use Google Account)
– ดึงข้อมูลหนังสือได้ด้วย ISBN เพียงอย่างเดียว (Import your book by ISBN only)
– Import ข้อมูลหนังสือส่วนตัวเข้าไปในระบบไม่ได้ (people can’t import book to google)
– ไม่ค่อยมีใคร Review หนังสือ (No user review)

—————————————————————————————————

2. Librarything – http://www.librarything.com

ข้อดีของ Librarything
– สมัครสมาชิกง่ายมาก (Simple join up to member)
– มีระบบการจัดการข้อมูลส่วนตัวที่ดี (Good profile management system)
– ระบบแสดงผลสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม เช่น การโชว์ข้อมูล (Customize your page)
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– ข้อมูลถูกดึงมาจากหลายๆ ที่ (Many database sync)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Librarything
– ฟรีแค่ 200 เล่ม ถ้าเกินต้องเสียเงิน
– การแสดงผลในหน้าข้อมูลส่วนตัว มีข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นเพียบ (Gen profile system)
– ไม่มีข้อมูลตัวอย่างให้ดู

—————————————————————————————————

3. Shelfari – http://www.shelfari.com

ข้อดีของ Shelfari
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– User Review และ Amazon Review แยกกันอย่างชัดเจน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Shelfari
– ต้องใช้โปรแกรม flash เพื่อการแสดงผล
– เชื่อมโยงการซื้อขายกับ Amazon เจ้าเดียว
– Import หนังสือเข้าระบบ ค่อนข้างซับซ้อน เมนูหายาก และต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ดูแลระบบ
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

4. Goodreads – http://www.goodreads.com

ข้อดีของ Goodreads
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– การแสดงผลสวยงามและดูง่ายต่อการใช้งาน
– สมัครสมาชิกง่ายมากๆ (คล้ายๆ Librarything)
– เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย เช่น ห้องสมุด ร้านหนังสือ
– จัดเก็บหนังสือ วีดีโอ รูปภาพ และ ebook ได้
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– คนไทยเล่นค่อนข้างเยอะ ทำให้มีหนังสือภาษาไทยเยอะ
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ
Goodreads
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

เอาเป็นว่าจากการที่ลองเล่นเว็บไซต์ทั้ง 4 แต่ละที่มีข้อดีและข้อด้อย
แต่สำหรับผมค่อนข้างลำเอียงให้คะแนน Goodreads เยอะกว่าที่อื่นๆ
เนื่องจากมีหนังสือภาษาไทยค่อนข้างเยอะ ไม่เชื่อเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูที่
http://www.goodreads.com/shelf/show/thai

นอกจากที่ผมจะบรรยายเนื้อหาในสไลด์นี้แล้ว บังเอิญว่ามีเพื่อนๆ เรียกร้องให้ demo อีกเว็บไซต์นึง
นั่นก็คือ เว็บไซต์อ่านอะไร (http://www.arnarai.in.th/) ของ น้อง @thangman22

ซึ่งผมได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดประสงค์ทั่วไปของเว็บไซต์นี้
และลองเล่นเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ที่เข้าร่วมการอบรมได้ดู
ตั้งแต่สมัครสมาชิก เพิ่มรายการหนังสือ ใส่รูป และวิจารณ์หนังสือ

การอบรมในครั้งนี้ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวีดีโอไว้ด้วย
เอาเป็นว่าหากวีดีโอตัดเสร็จเมื่อไหร่ผมจะขอนำมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ

Alexandria โปรแกรมฟรีที่ช่วยจัดการหนังสือในบ้านของคุณ

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์
และมีโอกาสได้ฟังพี่เก่ง (@kengggg) และพี่อาท (@bact) บรรยายเรื่องโปรแกรม Alexandria
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมาก ใช้เพื่อการจัดการหนังสือในบ้านได้เป็นอย่างดี (ห้องสมุดในบ้าน) อิอิ

alexandria

เลยขอนำเรื่องของเมื่อวานมาสรุป + เพิ่มเติมข้อมูลโปรแกรมนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

โปรแกรม Alexandria เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับจัดการ collection หนังสือในบ้านของคุณให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังช่วยจัดการเรื่องการยืมหนังสือจากบุคคลอื่นๆ ที่ต้องการยืมหนังสือจากคุณอีกด้วย

โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ต้องติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบ GNOME
(โดยทั่วไปจะพบ GNOME ใน LINUX หากจะลงใน window ก็ทำได้แต่มีความซับซ้อนหน่อย)

โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาบนพื้นฐานของ Ruby และเป็นโปรแกรมที่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้อีก
ซึ่งมีบางแห่งนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาให้เชื่อมกับเครื่องอ่านบาร์โค้ต รวมไปถึงการสแกนผ่าน webcam ด้วย

alexandria-barcode

หลักการคร่าวๆ ของโปรแกรมนี้ คือ
– เพิ่มหนังสือลงในระบบ (ดึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ หรือคีย์เองก็ได้)
– กรอกข้อมูลรายละเอียดของหนังสือ
– จัดกลุ่มหนังสือเป็น Collection ต่างๆ

เพียงแค่นี้เท่านั้นเองเราก็สามารถมีระบบห้องสมุดส่วนตัวที่บ้านได้แล้ว

คุณสมบัติของโปรแกรมนี้ เช่น
– โชว์ภาพปกหนังสือ
– ดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใหญ่ๆ ได้
– ระบบที่รองรับการยืม (เป็นระบบที่ช่วยเตือนความจำ)
– ระบบจดบันทึกหรือโน้ตข้อความสำคัญของหนังสือได้
– มีระบบดึงคำสำคัญมาสร้างเป็นหมวดหมู่พิเศษได้ (Smart Librarian)

alexandria-book-add

แหล่งข้อมูลของหนังสือที่โปรแกรม สามารถไปดึงมาได้ เช่น
– Amazon
– Proxis
– AdLibris
– Livraria Siciliano
– DeaStore
– Spanish Ministry of Culture
– US Library of Congress
– British Library
– WorldCat

เสียดายที่ยังไม่มีแหล่งข้อมูลของเมืองไทยเลย
ถ้ามีโอกาสผมคงจะไปลองคุยกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ดูให้ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้ไม่ต้องมาคีย์ข้อมูลเองทุกเล่ม


เรื่องมาตรฐานข้อมูลของดปรแกรมตัวนี้ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ
แบบว่ารองรับเกือบทุกมาตรฐาน เช่น Z39.50, YAML, XHTML และอื่นๆ
ครับ

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเพิ่มเติมก็ลองเข้าไปดูที่ http://alexandria.rubyforge.org

สำหรับคู่มือการติดตั้งและเอกสารแนะนำโปรแกรม พี่อาท (@bact)ได้จัดทำเป็นเอกสารไว้
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://opendream.co.th/blog/2010/01/24-jan-training-my-private-library-easy

ปล. รูปทั้งหมดจาก http://alexandria.rubyforge.org

ตามหาห้องสมุดในฝันในร้านหนังสือ

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับว่า “ห้องสมุด” อะไรจะไปอยู่ในร้านหนังสือ
“ห้องสมุดในฝัน” ที่ผมหมายถึง นั่นคือ ชื่อหนังสือ ของอาจารย์น้ำทิพย์ครับ

book-in-library

รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : ห้องสมุดในฝัน
ผู้แต่ง : น้ำทิพย์ วิภาวิน
ISBN : 9789748816395
ปีพิมพ์ : 2550
ราคา : 139 บาท

เรื่องที่ผมจะเขียนนี้คงไม่ใช่การแนะนำหนังสือหรอกนะครับ
แต่ผมจะเล่าเรื่องการหาซื้อหนังสือหมวดหมู่บรรณารักษ์ในร้านหนังสือต่างหาก

เรื่องมันมีอยู่ว่า…

วันก่อนผมไปเดินเล่นที่ร้านหนังสือมา แล้วดันอยากอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับบรรณารักษ์
แต่ไม่รู้ว่าปกติในร้านหนังสือ เขาจะเอาหมวดของบรรณารักษ์ไปไว้กับหมวดอะไร
(ปกติรู้แต่ในห้องสมุด หมวดบรรณารักษ์จะอยู่ที่ 020 หรือไม่ก็ Z)

อ๋อ ลืมบอกไปก่อนเข้าร้านหนังสือ ผมได้เข้าไปดูในเว็บของร้านหนังสือนี้แล้ว
และเห็นชื่อหนังสือ “ห้องสมุดในฝัน” ว่ามีในร้านหนังสือแห่งนี้

จนปัญญาจริงๆ ครับ ไม่รู้ว่าจะหายังไงดี สุดท้ายก็ถามที่เคาน์เตอร์ชำระเงิน
พนักงานก็บอกว่าให้ลองไปหาที่ชั้นนวนิยายดู หรือไม่ก็เรื่องสั้นก็ได้

แบบว่าผมอึ้งไปชั่วขณะ นึกว่าเขาจัดหนังสือผิด
แล้วผมก็ลองเดินไปหาตามที่เขาแนะนำ ไล่หาไปสักระยะก็ยังไม่เจอ
เดินมาถามอีกที พนักงานบอกว่า “หนังสือหมด” เออเอาเข้าไปในเว็บบอกว่ามีแต่ที่ร้านหมด

สุดท้ายก็เปลี่ยนร้านไปดูที่ร้านหนังสืออื่น ปัญหาที่ผมพบเหมือนกันทุกร้าน คือ
– ไม่รู้ว่าหนังสือหมวดบรรณารักษ์ หรือห้องสมุด วางรวมกับหมวดอะไร
– พนักงานทุกคนเข้าใจว่า “ห้องสมุดในฝัน” คือ นวนิยาย
– คนขายและพนักงานทำหน้างงใส่เหมือนกัน และคำตอบสุดท้าย คือ “หมด”

เรื่องนี้ผมคงต้องปรึกษาเจ้าของร้านหนังสือหลายๆ ร้านแล้วหล่ะครับ
ว่าจะแก้ไขยังไงดี เช่น ระบุหมวดของบรรณารักษ์ ในร้านหนังสือเลยดีมั้ย
(แต่คิดในอีกแง่นึง คือ หนังสือในหมวดบรรณารักษ์มีค่อนข้างน้อย)

เอาเป็นว่าขอแนะนำสำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการอ่านหนังสือที่อยู่ในหมวดบรรณารักษ์หรือห้องสมุด
ให้เพื่อนๆ เดินไปหาที่ศูนย์หนังสือจุฬาแล้วกันนะครับ หรือไม่ก็เปิดเว็บไซต์แล้วสั่งซื้อออนไลน์น่าจะง่ายกว่า

ปล. สุดท้ายแล้วผมก็ได้หนังสือ “ห้องสมุดในฝัน” ด้วยการสั่งซื้อออนไลน์ครับ
เนื่องจากราคาถูกกว่า และได้รับของถึงบ้านเลย อิอิ

เว็บไซต์ศูนย์หนังสือจุฬาฯ – http://www.chulabook.com/

เว็บไซต์ซีเอ็ดยูเคชั่น – http://www.se-ed.com/

หาหนังสืออ่านเล่นใน Google books search ดีกว่า

เรื่องนี้เขียนมานานแล้ว แต่อยากให้อ่านกันอีกสักรอบครับ
เกี่ยวกับการสืบค้นหนังสือโดยเฉพาะพวก text book ในเว็บไซต์ Google Books Search

textbook

ทำไมผมต้องแนะนำให้ใช้ Google Books Search หรอ….สาเหตุก็มาจาก :-
ข้อจำกัดของการใช้ Web OPAC ที่สืบค้นได้แต่ให้ข้อมูลเพียงแค่รายการบรรณานุกรมของหนังสือเท่านั้น
แต่ไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องเดินทางมายืมหนังสือที่ห้องสมุด
แต่ลองคิดสิครับว่าถ้าห้องสมุดปิด เพื่อนๆ จะอ่านเนื้อเรืองของหนังสือเล่มนั้นได้ที่ไหน

และนี่คือที่มาของการสืบค้นหนังสือบนโลกออนไลน์

ปัจจุบัน Search Engine ที่มีผู้ใช้งานในลำดับต้นๆ ของโลก ทุกคนคงจะนึกถึง Google
เวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรก็ตามเราก็จะเริ่มที่หน้าของ Google แล้วพิมพ์คำที่เราต้องการค้น เช่น ระบบสารสนเทศ
ผลของการสืบค้นจากการใช้ Search Engine จะมีสารสนเทศจำนวนมากถูกค้นออกมา
เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถได้เนื้อหาและข้อมูลในทันที แต่เราจะเชื่อถือข้อมูลได้มากเพียงไรขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูล
รวมถึงเราจะนำข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตไปอ้างอิงประกอบได้หรือไม่
แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่เราสืบค้นมีใครเป็นผู้แต่งที่แท้จริง

googlebooks

Google Book Search – http://books.google.com/
เป็นบริการใหม่ของ Google ที่ให้บริการในการสืบค้นหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งผลจาก การสืบค้นปรากฎว่าได้สารสนเทศแบบเต็ม (Full-text Search)
ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานวิจัยอาจารย์ นักศึกษา สามารถค้นหนังสือและอ่านหนังสือได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านถานที่และเวลา

ยกตัวอย่างจาก นาย ก. เช่นเดิมที่ค้นหนังสือสารสนเทศในตอนเที่ยงคืนของวันอาทิตย์
หากนาย ก. ใช้บริการ Google Books Search ในตอนนั้น นาย ก. ก็จะได้ข้อมูลในทันที ไม่ต้องรอมาที่ห้องสมุด

แต่อย่างไรก็ตาม Google Books Search ยังมีข้อจำกัดหนึ่งสำหรับคนไทยคือ
ยังไม่สามารถสืบค้นหนังสือฉบับภาษาไทยได้ ดังนั้นหนังสือที่ค้นได้จะอยู่ในภาษาอื่นๆ เท่านั้น
คนไทยคงต้องรอกันอีกสักระยะมั้งครับถึงจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์

แต่ถ้าอนาคต Google ทำให้สามารถค้นหนังสือภาษาไทยได้ถึงต่อนั้น
Google คงเป็นหนึ่งในคู่แข่งของห้องสมุดแน่ๆ อีกไม่นานต้องรอดูกันไป

ปล. มีบทความนึงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่อง Full-text Searching in Books
เป็นบทความที่พูดถึง Google Books Search และ Live Search Books

วันนี้ผมขอแนะนำเพียงเล็กน้อยไว้วันหลังผมจะมา demo
และสอนเทคนิคการสืบค้นอย่างสมบูรณืแล้วกันนะครับ

การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ (NLM Classification)

การจัดหมวดหมู่หนังสือตามมาตรฐานของห้องสมุดมีอยู่หลายรูปแบบ
แล้วแต่ว่าเพื่อนๆ จะเอาไปปรับใช้ให้เข้ากับห้องสมุดของเพื่อนๆ เอง
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอการจัดหมวดหมู่ทางการแพทย์ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ

nlm

การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม NLM
หรือชื่อเต็มๆ คือ National Library of Medicine นั่นเอง

ประวัติของการจัดหมวดหมู่แบบ NLM
เกิดจาก Army Medical Library ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดในปี 1944
ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่หนังสือโดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข (ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแอลซี)
และได้เสนอแนะให้ห้องสมุดทางการแพทย์มีการจัดหมวดหมู่ในลักษณะดังกล่าว
จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ขึ้น

ซึ่งทำให้ได้แม่แบบในการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ฉบับแรกขึ้น ในปี 1948
โดยพัฒนามาจากการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีนั่นเอง

การปรับปรุงหมวดหมู่ต่างๆ ใน NLM Classification ก็มีการปรับปรุงมาโดยตลอด
เนื่องจากในวงการแพทย์ก็มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดเช่นเดียวกับด้านเทคโนโลยี

ในปี 2002 ก็มีการจัดทำเว็บไซต์และตีพิมพ์ข้อมูลของการจัดหมวดหมู่ทางการแพทย์ขึ้น
ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.nlm.nih.gov/class/index.html

การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ โดยทั่วไปจะใช้ตัวอักษรหลัก 2 ตัว คือ Q และ W

โดยแต่ละตัวอักษรสามารถแบ่งหมวดย่อยลงไปอีกระดับได้ ซึ่งเหมือนกับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซี เช่น
หมวดหลัก Q – Preclinical Sciences (วิชาว่าด้วยสุขภาวะเบื้องต้น)
หมวดย่อย QS – Human Anatomy กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
หมวดย่อย QT – Physiology สรีรวิทยา
หมวดย่อย QU – Biochemistry ชีวเคมี
หมวดย่อย QV – Pharmacology เภสัชวิทยา

หมวดหลัก W – Medicine and Related Subjects (การแพทย์และเรื่องที่เกี่ยวข้อง)
หมวดย่อย WA – Public Health สาธารณสุขศาสตร์
หมวดย่อย WB – Practice of Medicine แพทยศาสตร์
หมวดย่อย WC – Communicable Diseases โรคติดต่อ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างแค่บางหมวดหมู่เท่านั้น หากจะดูหมวดแบบเต็มๆ ลองเข้าไปดูที่
http://wwwcf.nlm.nih.gov/class/OutlineofNLMClassificationSchedule.html

หลังจากที่ได้หมวดหมู่แล้ว หลังจากนี้ก็ต้องใช้การเปิดตารางดัชนี
เพื่อกำหนดเลขอารบิค 1 – 999 เพื่อให้ได้หมวดหมู่และรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ

เช่น หากต้องการพจนานุกรมเกี่ยวกับโรคติดต่อ ก็ต้องไปดูเลขเฉพาะของหมวดนั้นๆ ลงไปอีก
ซึ่งจะได้ หมวดโรคติดต่อ + พจนานุกรม = WC + 13
ดังนั้น พจนานุกรมเกี่ยวกับโรคติดต่อ = WC13

และถ้าอยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ ก็จะต้องมีเลขผู้แต่ง และปีพิมพ์ของหนังสือเล่มนั้นด้วย

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเรื่องราวการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์
มันก็มีความซับซ้อนไม่ต่างจากการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบอื่นๆ เช่นกัน

รู้รึยังครับการงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆ

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 2

วันนี้ผมขอสรุปหนังสือเรื่อง “Planning the modern public library building” ต่อเลยนะครับ
ซึ่งวันนี้ผมจะพูดในบทที่สอง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

planning-public-library-part-2

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 2 : Before Sizing Your Building
เป็นบทที่ว่าด้วยการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

ในบทนี้จะเน้นในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแนวคิดของห้องสมุดสองแบบคือ
– ห้องสมุดสถานศึกษา – ต้องดูจาก need, collection, equipment
– ห้องสมุดสาธารณะ – ต้องดูจาก collection, need, equipment

เท่าที่อ่านมาจะสรุปได้ว่า

?ห้องสมุดสถานศึกษาจะเลือกเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนก่อน
แล้วค่อยตัดสิ่งใจในการเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศทีหลัง
เมื่อได้รูปแบบแล้วจึงจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อรองรับการให้บริการนั้นๆ?


?ห้องสมุดสาธารณะไม่จำเป็นต้องเลือกที่เนื้อหาเพราะว่า ผู้ใช้บริการคือคนทั่วไป
แต่สิ่งที่สำคัญในการให้บริการคือ การเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศมากกว่า?

ส่วนในเรื่องของการกำหนดขนาดอาคารห้องสมุด และสถานที่กันดีกว่า
โดยเพื่อนๆ จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ซะก่อน จึงจะกำหนดขนาดของห้องสมุดได้
– กลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุดเป็นใคร มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน
– คุณให้คำจำกัดความของคำว่า ?บริการที่ดี? ว่าอะไร
– ทรัพยากรสารสนเทศมีรูปแบบใดบ้าง
– งบประมาณที่ใช้สร้าง และต่อเติมมีมากน้อยเพียงใด
– ระบุที่นั่งสำหรับให้บริการไว้เท่าไหร่ และจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีจำนวนเท่าไหร่
– เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในห้องสมุดมีอะไรบ้าง เช่น โทรทัศน์ เคาน์เตอร์ ฯลฯ
– ให้บริการคอมพิวเตอร์มากน้อยเพียงใด มีแบบไร้สายหรือไม่
– มี partnership ที่จะช่วยในการพัฒนาห้องสมุดหรือเปล่า
– แผนการในการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในอนาคต
– การประมาณการจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น

ถ้าเพื่อนๆ ตอบได้หมดนี่เลย จะช่วยให้สถาปนิกที่รับงานออกแบบเข้าใจรูปแบบงานมากขึ้นครับ
และจะช่วยให้เรากำหนดขนาดได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

บทสรุป สิ่งที่มีผลต่อการกำหนดขนาดพื้นที่ของอาคารห้องสมุด ได้แก่
– Service, Collection, Tasks, Technology (การบริการทั่วไปของห้องสมุด)
– Human being work (การทำงานของคนในห้องสมุด)
– Facility in the library (สาธารณูปโภคต่างๆ ในห้องสมุด)
?.

ครับ บทนี้ก็จบเพียงเท่านี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะคำนวณขนาดของห้องสมุดตัวเองได้แล้วนะครับ
?คุณคิดว่าพื้นที่ที่มีอยู่ในห้องสมุดตอนนี้ใช้งานคุ้มค่าแล้วหรือยัง?

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 1

วันนี้ผมขอสรุปข้อมูลจากหนังสือที่ผมกำลังอ่านในช่วงนี้นะครับ
ชื่อเรื่องว่า ?Planning the modern public library building?
ซึ่งเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการสร้างห้องสมุดประชาชนสมัยใหม่

planning-public-library-part-1

รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

พอได้อ่านแล้วก็ไม่อยากเก็บความรู้ไว้คนเดียวอ่ะครับ
ผมก็เลยขอทำสรุปหัวข้อสำคัญๆ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นกัน
ครั้นจะอ่านวันเดียวก็คงไม่จบ ผมก็เลยค่อยๆ ถยอยอ่านไปที่ละบทก็แล้วกัน

เริ่มจากวันนี้ผมจะสรุปบทที่ 1 ให้อ่านนะครับ

Chapter 1 : Early planning for a new library
เป็นบทที่ว่าด้วยสิ่งที่เราควรรู้ก่อนการวางแผนที่จะสร้างอาคารห้องสมุดใหม่
ปัญหาทั่วไป ข้อจำกัด การสร้างทีมงาน การหาที่ปรึกษา ฯลฯ

Problem with the existing building
– Demographic Changes (เน้นสภาพชุมชนทั่วไปในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)
– Collection (ดูความหลากหลายของทรัพยากรสารสนเทศ, การจำแนกชั้นหนังสือ, การเลือกชั้นหนังสือ)
– Seating Capacity (ความจุของที่นั่งที่จะรองรับผู้ใช้บริการของห้องสมุด)
– Library as a place
– Physical Problem in the building (สภาพทางกายภาพของห้องสมุด เช่น แสง อากาศ ฯลฯ)
– Site (สถานที่ตั้งของห้องสมุด การจราจร ที่จอดรถ ฯลฯ)
– Standard or guidelines (มาตรฐานในการจัดห้องสมุด)

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ Building team คือ พยายามอย่าให้เกิดความขัดแย้งกันภายใน
หากเกิดความขัดแย้งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น การเห็นอกเห็นใจกัน, การหาคนกลางมาไกล่เกลี่ย, หัวหน้าตัดสินชี้ขาด
จะเลือกวิธีไหนก็ได้แล้วแต่สถานการณ์ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

ห้องสมุดที่เราต้องการสร้างเราต้องคิดเผื่ออะไรบ้าง
– forecasting collection growth จำนวนทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
– forecasting seating requirement พยากรณ์จำนวนที่นั่งที่สามารถจุได้
– forecasting technology growth อัตราการเพิ่มเทคโนโลยีในห้องสมุด
– forecasting staff need ควมต้องการของคนที่ทำงาน
– forecasting new programs (ในที่นี้ program หมายถึง การบริการแบบใหม่ๆ)
– forecasting discontinuing program

นอกจากนี้ในบทนี้ยังมีการสอนเทคนิคการเลือกที่ปรึกษาของโครงการ
และคุณสมบัติทั่วไปของสถาปนิกในการสร้างอาคารห้องสมุด

บทที่ 1 สาระสำคัญทั่วไปยังเป็นเพียงแค่สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนการออกแบบวางแผนเท่านั้น
เอาไว้ตอนต่อไปผมจะนำมาสรุปให้อ่านอีกเรื่อยๆนะครับ วันนี้ขอตัวก่อนนะคร้าบ?

ขอแนะนำสำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ผมขอแนะนำ google book search นะครับ เพราะเขาสแกนไว้ให้เราอ่านประมาณ 300 หน้า
ลองไปอ่านที่ http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

หนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions

ด้วยความที่ว่าวันนี้เป็นวันที่สบายๆ ผมเลยไปเดินหาหนังสืออ่านเล่นที่ kinokuniya มา
แล้วใช้บริการค้นหาหนังสือของร้าน kinokuniya ด้วยคำสำคัญ (Keyword) ว่า Library
ซึ่งทำให้ผมเจอหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย
ผมจึงขอหยิบตัวอย่างหนังสือเกี่ยวกับวงบรรณารักษ์มาแนะนำเพื่อนๆ แล้วกันนะครับ

ภาพประกอบจาก Amazon
ภาพประกอบจาก Amazon

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions
ผู้แต่ง : Greer, Roger C. | Grover, Robert J. | Fowler, Susan G.
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited
ISBN : 1591584868
ราคา : $60.00

โดยอ่านคร่าวๆ แล้วเป็นการแนะนำเรื่องของการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดและนักสารสนเทศมากมาย
เช่นวิธีการสร้างและผลิตองค์ความรู้ต่างๆ รวมไปถึงความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญควรจะมี เป็นต้น

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย
Chapter 1: Introduction: Purpose And Objectives Of This Book
Chapter 2: Creation, Diffusion and Utilization of Knowledge
Chapter 3: The Role of Professionals as Change Agents
Chapter 4: The Science Supporting the Information Professions
Chapter 5: Information Transfer in the Information Professions
Chapter 6: The Cycle of Professional Service
Chapter 7: The Information Infrastructure
Chapter 8: The Processes and Functions of Information Professionals
Chapter 9: The Infrastructure of the Information Professions
Chapter 10: Trends and Issues

พอกลับมาถึงบ้านผมก็รีบค้นหาข้อมูลหนังสือเล่มนี้ทันทีเลยครับ (Google book search) เพื่ออ่านเล็กน้อย
นับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจ และให้แง่คิดเรื่องการทำงานได้ดีทีเดียวครับ
หากเพื่อนๆ อยากอ่านตัวอย่างหนังสือเล่มนี้ก็อ่านได้ที่
http://books.google.com/books?id=zlm2hJ7H0wIC&printsec=frontcover&dq=Introduction+to+the+Library+and+Information+Professions#v=onepage&q=&f=false

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองสอบถามได้ที่ร้าน kinokuniya นะครับ เผื่อว่าเขาจะดำเนินการสั่งซื้อให้
เอาเป็นว่าวันนี้ขอแนะนำไว้แค่นี้ก่อน วันหน้าจะหาหนังสือเรื่องอื่นๆ มาแนะนำอีกครับ

ข้อมูลหนังสือ http://lu.com/showbook.cfm?isbn=9781591584865

แนะนำมูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)

วันนี้ผมจะมาแนะนำองค์กรที่ให้การสนับสนุนห้องสมุดแห่งหนึ่ง องค์กรนี้มีชื่อว่า “มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย”
แน่นอนครับมันต้องเกี่ยวกับเรื่องของการจัดหาหนังสือให้ห้องสมุดแน่ๆ

bookforthai

องค์กรนี้จะทำให้ห้องสมุดของคุณประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับหนังสือ text book ได้ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากงค์กรนี้เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและทำเพื่อห้องสมุดต่างๆ ในประเทศไทย
โดยองค์กรนี้จะได้รับบริจาคหนังสือจากต่างประเทศปีละ 4-6 ครั้ง (แต่ละครั้งก็จำนวนมาก)
ห้องสมุดต่างๆ สามารถมาขอรับหนังสือ text book จากต่างประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ขั้นตอนในการขอรับหนังสือจากที่นี่ก็แสนจะง่าย คือ
ทำหนังสือรับบริจาคหนังสือของสถาบันของท่านแล้วนำมายื่นที่มูลนิธิได้เลย
เสร็จแล้วก็เลือกหนังสือจากที่นี่ได้เลย แล้วทางเจ้าหน้าที่ของที่นี่จะให้เขียนสมุดผู้รับบริจาค
และนับจำนวนหนังสือ แล้วเพื่อนๆ ก็ขนหนังสือกลับได้เลย
แต่อย่าลืมส่งจดหมายขอบคุณพร้อมกับแจ้งรายชื่อหนังสือที่รับไปด้วยนะ
อ๋อ ลืมบอกไปนิดนึง เรื่องการขนหนังสือทางเราต้องจัดการเรื่องรถขนหนังสือเองนะครับ
ทางมูลนิธิไม่มีบริการส่งของด้วย

แต่สำหรับห้องสมุดที่อยู่ต่างจังหวัดก็สามารถที่จะขอทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับหนังสือได้ด้วยนะครับ

มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)
สนับสนุนโครงการโดย
– กลุ่มบริษัทแสงโสม
– ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– บจ. ท่าเรือประจวบ
– บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
– บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์
– สหวิริยาสตีลอินดัสตรี
– บจ. หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์
– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
– สโมสรโรตารีกรุงเทพใต้
– Annika Linden Foundation
– The Asia Foundation

ที่อยู่ของมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยนะครับ
มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย ชั้น 2 อาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขาสภากาชาดไทย 1873 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2652-3301, โทรสาร 0-2652-3302 มือถือ 0-5063-9535

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีข้อสงสัยให้ติดต่อ คุณอมร ไทรย้อย ดูนะครับ พี่เขาใจดีมากเลยครับ

ห้องสมุดของผมไปรับหนังสือมาหลายครั้งแล้วและได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
ยังไงก็ขอขอบคุณมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยอีกครั้งนะครับ

เพื่อนๆ ที่อยากจะขอรับบริจาคหนังสือผมขอแนะนำว่าลองโทรไปคุยกับพี่เขาดูก่อนนะครับ
จะได้รู้ว่ามีหนังสือใหม่เข้ามาหรือยัง กลัวไปแล้วเสียเที่ยวครับ อิอิ

เห็นมั้ยว่ายังมีองค์กรดีๆ ที่สนับสนุนห้องสมุดอยู่นะครับ เพียงแต่บางคนอาจจะยังไม่รู้เท่านั้นเอง
เอาเป็นว่าใครอยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการขอทุนเดินทางมารับบริจาคหนังสือก็ลองโทรไปถามพี่เขาเองนะครับ

ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://library.tu.ac.th/pridi2/BooksforThailandFoundation/history.htm