หนังสือดีๆ ยังมีอีกมากในห้องสมุดแต่ผู้ใช้หาไม่เจอ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพื่อนผม ฝากเอามาลงในเว็บนะครับ
(ขอขอบคุณเพื่อนพิชญ์ที่แสนน่ารักที่อุตส่าห์เขียนเรื่องดีๆ)

just-for-fun

ซอร์ไอเซค นิวตัน ลีโอนาโด ดาร์วินชี และอัจฉริยะอื่นๆ ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน
นั่นคือ ความสามารถหลายๆ ด้าน และความคิดอันเป็นเอกลักษณ์
การได้อ่านชีวประวัติ (อย่างละเอียด) ของคนเหล่านี้
จะทำให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ๆ แบบที่คุณคิดไม่ถึงว่า มีคนคิดแบบนี้อยู่ด้วย

ชื่อ Linus Torvalds (ไลนุส ไม่ใช่ ลีนุก ทอร์วอลด์)
อาจจะไม่คุ้นกับคนส่วนใหญ่ แม้แต่คนที่เรียกตัวเองว่าคนไอที
บางคนเรียกเขาว่า hacker อันดับหนึ่งของโลกผู้เป็นศาสดาของ programmer
ส่วน Microsoft เรียกเขาว่า ปีศาจ

คุณอาจจะรู้จักผลงานเขาที่ชื่อว่า ลินุกซ์ หรือไม่ ? ไม่เป็นไร
เอาเป็นว่ามันเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ windows
และทำให้มีคนที่คิดทำอะไรดีๆ ออกมาฟรีๆ ให้คนอื่นใช้กัน
ถ้าคุณรัก firefox รู้ไว้ว่า ถ้าไม่มีเขา มันเป็นแค่ โปรแกรมที่ไม่มีคนใช้แล้วเท่านั้น

ผมไปเจอหนังสือที่แปลโดย eS_U ชื่อหนังสือ ?just for fun LINUS TORVALDS”
ที่ห้องสมุดวิทยาลัย ที่มีสาขาคอมพิวเตอร์ ซื้อมาตั้งแต่ปี 46 กลับกลายเป็นว่าผมเป็นคนแรกที่ยืมในปี 50
และท่าทางจะป็นคนแรกที่หยิบมันออกมาจากชั้นหนังสือ
หนังสือที่ดีอย่างนี้ สาบสูญไปกับระบบ LC ที่ผมไม่เคยทำความเข้าใจกับมันได้ซะที่

ถ้าคุณไม่สนใจ IT ก็ไม่เป็นไร ถ้าคุณสนุกกับหนังสืออ่านเล่น
ที่บอกว่าเป็นหนังสือชีวประวัติอย่างของโน้ตอุดม / บอย / น้าเนค
หรือหนังสือเฉพาะกิจอย่าง Lidia here am I

ผมว่าหนังสือเล่มนี้ (just for fun LINUS TORVALDS) ดีกว่านั้น
มันหนาถึง 374หน้านะครับ แต่ก็อ่านเพลินๆ คืนเดียวจบ เหมือนกินต้มยำอร่อยๆ
ถ้าชอบแนวปรัญญาความคิดใหม่ๆ หนังสือเล่มนี้มีให้คุณได้ขบคิด

ผมคัดลอกเอาเนื้อเรื่องบางส่วนมาให้ลองอ่านเล่นดูนะครับ

“ตอนเด็กผมหน้าเกลียดมาก บอกกันตรงๆ อย่างนี้เลย
และผมหวังว่าวันหนึ่งเมื่อฮอลลีวู้ดสร้างหนังเกี่ยวกับลินุกซ์ขึ้นมา
พวกเขาคงจะหาพระเอกที่หน้าหาเหมือน ทอม ครูซ มาเล่น
แม้ในความเป็นจริงมันจะเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกันเลยก็ตาม
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับ ผมไม่ถึงขนาดคนค่อมแห่งนอตเตอร์ดามหรอก
ลองนึกภาพตามดีกว่า นึกถึงเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่มีฟันหน้าใหญ่มาก
(ทุกคนที่ดูรูปผมตอนเด็กจะเห็นว่าหน้าผมดูคล้ายตัวบีเวอร์ไม่น้อย)
นึกถึงการแต่งตัวที่เชยระเบิด และนึกถึงจมูกที่ใหญ่ผิดปกติ
อันเป็นเอกลักษณ์ของตระกูลทอร์วอลด์ นั่นละครับ ตัวผมในวัยเด็ก”

หรือ

“แล้วทำไมสังคมถึงวิวัฒนาการได้ละ? อะไรคือแรงผลักดันที่สำคัญ?
เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจริงหรือ?
จริงหรือที่การผลิตเครื่องจักรไอน้ำทำให้ยุโรปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
แล้วหลังจากนั้นสังคมมนุษย์ก็วิวัตนาการโดยอาศัยโนเกียและโทรศัพท์มือถืออื่นๆ
จนกลายเป็นสังคมแห่งการสือสารไป?
ดูเหมือนนักปรัชญาทั้งหลายจะพอใจกับคำอธิบายนี้ จึงพากันไปสนใจแต่ประเด็นที่เทคโนโลยีมีผลต่อสังคม
แต่ผมในฐานะนักเทคโนโลยีกลับรู้ดีว่าเทคโนโลยีไม่ได้ส่งผลต่ออะไรเลย
สังคมต่างหากที่มีผลต่อเทคโนโลยี ไม่ใช่ทางกลับกัน
เทคโนโลยีเป็นเพียงตีกรอบว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง
และเราจะทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นโดยเปลืองเงินน้อยที่สุดได้ยังไง
เทคโนโลยีก็เหมือนบรรดาเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีนั่นแหละ
คือมันไม่มีความคิดเป็นของตนเอง มันมีหน้าที่แค่ทำงานไปตามที่คุณใช้มัน
ส่วนแรงจูงใจของการทำงานนั้นเป็นความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์โดยแท้
ทุกวันนี้เราติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นไม่ใช่เพราะเรามีอุปกรณ์
แต่เพราะมนุษย์เราชอบการพูดคุยกันอยู่แล้ว เราจึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งถ้าอุปกรณ์ไม่พร้อม
เราก็จะสร้างมันขึ้นมา เพราะอย่างนี้โนเกียถึงได้เกิด”

เป็นอย่างไรกันบ้างครับนี่เป็นเพียงเนื้อเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อ่านแล้วก็ชวนให้ติดตามเหลือเกิน
สรุปประเด็นที่อยากจะบอกเกี่ยวกับเรื่องการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ
จนทำให้หนังสือดีๆ เหล่านี้ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ กว่าจะได้อ่านก็ช้าไปนานแล้ว

ดังนั้นนี่คงเป็น Case study อย่างหนึ่งที่น่าศึกษามาก
เพราะว่า คุณลองคิดสิครับว่าในห้องสมุดยังมีหนังสือดีๆ แบบนี้ให้อ่านอยู่
แต่ผู้ใช้หาไม่เจอ แล้วอย่างนี้มันน่าคิดมั้ยครับ

สุดท้ายขอขอบใจเพื่อนพิชญ์อีกทีนะครับ แล้วส่งเรื่องเล่ามาให้อ่านบ้างนะครับ

ปล. ปรัชญาเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าหนังสือดีๆ ยังมีอยู่ในห้องสมุดอีกเยอะครับ

ไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ผมใช้ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรครับ
คืออ่านหนังสืออะไรก็ได้แล้วเก็บเอาไอเดียที่น่าสนใจมาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟัง

roomtoread

หนังสือที่ผมอ่านก็คือ “ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก” รวมไปถึงการเปิดเว็บไซต์ http://www.roomtoread.org เพื่อเก็บข้อมูล
หัวข้อที่ผมนำมาเสนอเพื่อนร่วมงานในวันนั้น คือ “ข้อคิดและไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read”

ลองอ่านสิ่งที่ผมสรุปเกี่ยวกับโครงการนี้ได้เลยครับ

โครงการ Room for Read ก่อตั้งโดย John wood (ในปี 2000) (John wood อดีตผู้บริหารในไมโครซอฟต์)

โครงการ Room for Read โครงการนี้ทำอะไรบ้าง
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังเป็นฉากๆ แล้วกันนะครับ

โครงการ Room to Read ทำอะไรบ้าง
1. บริจาคหนังสือ ทุนทรัพย์ ให้ห้องสมุดและโรงเรียน
2. สร้างห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และโรงเรียน
3. ให้ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง

หลายๆ คนอาจจะงงว่าทำไมให้ทุนแค่เด็กผู้หญิง ผมขออธิบายง่ายๆ ว่า
เมื่อให้ทุนเด็กผู้ชายแล้ว เด็กผู้ชายก็มักจะเก็บความรู้ไว้กับตัวเองไม่สอนคนอื่น
แต่ถ้าให้เด็กผู้หญิงในอนาคตถ้าพวกเขามีลูกเขาก็จะสอนให้ลูกรักการเรียนได้ครับ

โครงการนี้ดำเนินการในประเทศเนปาล, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, อินเดีย, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้

ผลงานของโครงการ Room to read 2007
– โรงเรียน 155 แห่ง
– ห้องสมุด 1600 แห่ง
– ศูนย์คอมพิวเตอร์ 38 แห่ง
– ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง 4036 คน
– ตีพิมพ์หนังสือ 82 ชื่อเรื่อง


ปรัชญาที่ได้จากการศึกษาโครงการ Room to read

– ทำให้ผู้ที่อยู่ในชมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ แล้วพวกเขาก็จะรู้สึกรักและต้องดูแลมัน (ร่วมลงทุน)
– ถ้าเราไม่รู้จักองค์กรของเราอย่างถ่องแท้ เราก็จะไม่สามารถนำเสนอโครงการสู่สังคมได้
– พยายามนำเสนอความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอให้ทุกคนรับทราบ
– จงคิดการใหญ่ตั้งแต่วันแรกเริ่ม
– การเฝ้าติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เราเข้าใจ การทำงานขององค์กรได้อย่างถ่องแท้ (เป็นการตอกย้ำเจตนา)
– ?นั่นละคือสิ่งที่ผมอยากฟัง เราต้องการคนที่ไม่กลัวงานหนัก ในวงการคนทำงานเพื่อสังคม ผมว่ามีพวกที่ทำงานเช้าชามเย็นชามมากเกินไป?
– เด็กมักถูกชักจูงจากสิ่งที่ผิดได้ง่าย การให้ความรู้ที่ถูก มีคุณธรรม จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
– เงินทองสามารถซื้อความสุขได้เพียงร่างกาย แต่การให้สามารถสร้างความสุขได้ทั้งจิตใจ

นับว่าจากการศึกษาครั้งนี้ถือว่าผมได้ไอเดียที่สำคัญหลายอย่างเลย
บางทีถ้าเพื่อนๆ มีเวลาผมก็ขอแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเรื่อง ?ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก? ดูนะครับ

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติส่งท้ายปี 52 (มหกรรมหนังสือระดับชาติ)

อีกเพียงแค่หนึ่งอาทิตย์เท่านั้นนะครับ งานหนังสืองานใหญ่อีกงานก็จะเริ่มอีกครั้งแล้ว
นั่นก็คืองานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 2552 หรือที่หลายๆ คนชอบเรียกว่างานสัปดาห์หนังสือปลายปี

bookexpo

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้
ชื่องานภาษาไทย : งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 14
ชื่องานภาษาอังกฤษ : BookExpoThailand 2009
วันที่จัดงาน : 15-25 ตุลาคม 2552
เวลาในการจัดงาน : 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ในงานนี้บรรณารักษ์หลายๆ คนโดยเฉพาะบรรณารักษ์ที่ดูแลเรื่องการจัดซื้อหนังสือคงไม่พลาด
เพราะว่าจะได้คัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดอย่างจุใจ ด้วยหนังสือที่มีจำนวนมากมายและลดราคาด้วย

นอกจากนี้ในงานยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย
ซึ่งผมเชื่อว่าหากบรรณารักษ์หรือคนที่ทำงานด้านห้องสมุดมาดู
ก็อาจจะได้ไอเดียเล็กๆ น้อยๆ กลับไปพัฒนาและจัดกิจกรรมที่ห้องสมุดของตัวเองได้

กิจกรรมพิเศษที่จัดในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้ เช่น
– โครงการประกวด “สุดยอดแนวคิดสร้างนิสัยรักการอ่าน”
– โครงการประกวดให้หนังสือเป็นของขวัญ Book for Gift Smart Idea ครั้งที่ 2
– โครงการทอฝันปันหนังสือให้น้อง ครั้งที่ 17

ในการจัดนิทรรศการในงานนี้ก็มีมากมาย เช่น
– นิทรรศการและกิจกรรม ?ห้องสมุดหนังสือใหม่ ปี 2552?
– กิจกรรม Bookstart ของลูก สำเร็จได้ด้วย Heartstart ของพ่อแม่
– กิจกรรมจากร้านภูฟ้า
– ต้นไม้แห่งความสุข (Book Christmas)
– เมื่อยนักพักเท้า (บริการนวดเท้าแผนโบราณ)
– คิดถึงของขวัญ คิดถึงหนังสือ (Book for Gift)

แค่เห็นชื่อกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้ผมยิ่งอยากไปงานนี้เร็วๆ เหลือเกิน
เอาเป็นว่าถ้าผมได้ไปร่วมงานในครั้งนี้แล้ว ผมจะเก็บภาพบรรยากาศในงานมาฝากทุกๆ คนเลยครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่วางแผนที่จะมางานนี้ผมขอแนะนำว่าใช้รถไฟฟ้าใต้จะทำให้คุณไม่ต้องเครียดเรื่องการหาที่จอดรถนะครับ
เพราะอย่างที่รู้ๆ รถเยอะมากๆ รถติดทางเข้า แถมเข้ามาก็อาจจะไม่มีที่จอดอีก ดังนั้นรถไฟฟ้าใต้ดินดีที่สุดครับ

หากเพื่อนๆ อยากได้ข้อมูล หรือรายละเอียดกิจกรรมมากกว่านี้ผมแนะนำให้เข้าเว็บไซต์ทางการของงานนี้
เว็บไซต์ทางการของงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 14 : http://thailandbookfair.pubat.or.th/bookexpo/

ปรัชญา Google สู่การให้บริการในห้องสมุด

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อคิดดีๆ ที่ผมได้จากการอ่านหนังสือของ google ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานบริการของห้องสมุด
ตอนแรกผมก็ไม่คิดว่าในหนังสือเล่มนี้จะมีปรัชญาที่ล้ำลึกได้ขนาดนี้ เอาเป็นว่าไปอ่านกันก่อนดีกว่า

book-google

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เจาะตำนาน รวยฟ้าผ่า google
ผู้แต่ง : สุขนิตย์ เทพอนันต์, พงษ์ระพี เตชพาพงษ์
ISBN : 978-974-7048-14-8
จำนวน : 164 หน้า
ราคา : 165 บาท
สำนักพิมพ์ : บริษัท มายด์ คอนเน็กชันส์ จำกัด

เนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท มีดังนี้
บทที่ 1 – ฟ้าส่งยาฮูมาเกิดไฉนส่งกูเกิลมาเกิดด้วยเล่า
บทที่ 2 – เล็กพริกขี้หนู
บทที่ 3 – จะหารายได้หรือจะกินแกลบ
บทที่ 4 – ไม่คลิกไม่ต้อจ่าย
บทที่ 5 – เงามืดโตตามตัว
บทที่ 6 – ถึงเวลาเป็นบริษัทมหาชน
บทที่ 7 – บุกตลาดต่างประเทศ
บทที่ 8 – เกมผูกมิตรแข่งศัตรู
บทที่ 9 – ทำนายอนาคตกูเกิล

หนังสือเล่มนี้เมื่อผมอ่านไปครึ่งเล่มก็เจอกับปรัชญาหนึ่งที่น่าสนใจ
ปรัชญานี้ผู้ก่อตั้งกูเกิล (Larry Page และ Surgrey Brin)ใช้สอนและบอกพนักงานอยู่เสมอ
ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีอยู่หลายข้อนะครับ แต่ผมขอยกตัวอย่างสัก 6 ข้อมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วนำไปลองปฏิบัติกันดูนะครับ

ตัวอย่างปรัชญา
1. คิดถึงผู้ใช้บริการก่อนแล้วอย่างอื่นจะตามมาเอง
(Focus on the user and all else will follow)

2. จะทำอะไรก็ทำให้เก่งไปซักเรื่องหนึ่งจะดีกว่า
(It?s best to do one thing really, really well)

3. เร็วดีกว่าช้า
(Fast is better than slow)

4. ประชาธิปไตยต้องดีที่สุด
(Democracy on the web works)

5. จริงจังได้โดยไม่ต้องใส่สูท
(You can be serious without a suit)

6. ยอดเยี่ยมแล้วยังไม่พอ
(Great just isn?t good enough)

ตัวอย่างการนำไปใช้ในห้องสมุด
1. เวลาบรรณารักษ์ให้บริการ เราต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้มากกว่าความต้องการของเรา

2. งานของบรรณารักษ์ที่ผมเน้นจริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องเก่งตามปรัชญาหรอกครับ
ขอแค่รู้จักและทำงานเป็นก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะเก่งสักเรื่องผมขอเก่งเรื่องการบริการผู้ใช้แล้วกัน

3. ส่วนการบริการที่รวดเร็วย่อมดีกว่าการบริการที่ช้าเพราะอย่าลืมว่าสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันสูง
เราต้องคำนึงถึงผู้ใช้ที่ต้องการความรวดเร็วในการบริการ ไม่ใช่รอแล้วรออีก

4. การเคารพการตัดสินใจของผู้ใช้ในการประเมินห้องสมุดเพื่อปรับปรุงบริการต่างๆ
เราดูเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็อย่าลืมพิจารณาเสียงส่วนน้อยด้วย เพราะบางครั้งเสียงส่วนน้อยอาจจะทำให้เราเกิดบริการแบบใหม่ก็ได้

5. การทำงานผมอยากเน้นว่านอกจากการทำงานด้วยความจริงจังกับหน้าที่ของตนแล้ว
สิ่งที่ผมอยากเสริมคือเรื่องของความจริงใจ โดยเริ่มจากเพื่อนร่วมงาน และผู้ใช้บริการ
หากเรามีทั้งความจริงจังและความจริงใจแล้ว เราจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้นๆ

6. การที่เราได้รับคำชมมากๆ ไม่ได้หมายความว่าเราจะบริการเพียงเท่านี้
แต่เราต้องพัฒนาการบริการให้ผู้ใช้ดีขึ้นไป เพราะว่าคำชมจะอยู่ได้ไม่นานถ้าเราไม่พัฒนางานต่อไป
เช่นปีนี้ห้องสมุดทันสมัยขึ้น พอปีหน้าผู้ใช้บริการมากขึ้นก็เริ่มมีเสียงว่าไม่พอใช้
ดังนั้นเราต้องมีการปรับปรุงและพัฒนางานบริการด้านต่างๆ ให้ดีไปเรื่อยๆ ไม่มีคำว่าพอ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับปรัชญาและข้อคิดดีๆ จาก google
จริงๆ มีอีกหลายข้อนะครับที่น่าสนใจ เอาไว้ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟังใหม่
ยังไงถ้าเพื่อนๆ คิดอะไรได้ดีกว่าแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยนะครับ
เราจะได้ร่วมกันพัฒนาวิชาชีพไปด้วย

ปล. จริงๆ แล้วปรัชญาของ google ก็สามารถประยุกต์ได้ทุกสาขาวิชาชีพนะครับ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน

การอบรมหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

วันนี้ผมขอแนะนำหลักสูตรสำหรับผู้ที่รักในสิ่งพิมพ์หรือหนังสือนะครับ
หลักสูตรนี้ คือ หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

book-binding

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้
ชื่อการอบรม : หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ
วันและเวลาที่จัดการอบรม : 19 – 20 ตุลาคม 2552
สถานที่จัดการอบรม : สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ผู้จัดงานอบรม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

บางคนอาจจะบอกว่าการเย็บเล่มหนังสือเป็นเรื่องง่าย
แต่คุณรู้มั้ยว่าการเย็บเล่มหนังสือให้ใช้งานได้นานๆ เป็นอย่างไร
ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง ต้องเย็บด้วยอะไร …..

วิธีการเย็บเล่ม และการซ่อมบำรุงหนังสือ ถือว่าเป็นงานทุกคนควรจะรู้ ไม่ใช่เพียงแต่บรรณารักษ์นะครับ
การที่เรารู้เรื่องการเย็บเล่ม และซ่อมบำรุงหนังสือ บางทีเราอาจจะออกมาทำธุรกิจทางด้านนี้ก็ได้นะครับ

การอบรมครั้งนี้นอกจากทฤษฎีที่เพื่อนๆ จะได้รู้แล้ว
ยังมีการฝึกปฏิบัติในการซ่อมหนังสือ และเย็บเล่มหนังสือจริงๆ ด้วย

สำหรับหัวข้อในการอบรม ประกอบด้วย
– หลักการและวิธีการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– การบริหารจัดการ? วัสดุและอุปกรณ์ซ่อมหนังสืออย่างเป็นระบบ
– เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– วิธีเข้าเล่มทำปก และซ่อมหนังสือ

การอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 2,500 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 2,800 บาทครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถโหลดใบสมัครได้ที่
ใบสมัครหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
http://www.tla.or.th

เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone

วันนี้มีโอกาสได้เดินเข้าไปในร้านหนังสือของ B2S ที่เซ็นทรัลเวิลด์
เดินๆ อยู่ตาของผมก็ไปหยุดอยู่กับหนังสือเล่มนึง
หนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่องคุ้นๆ มาก และเข้ากับวงการห้องสมุด
ผมจึงต้องขอเอามาเขียนแนะนำสักหน่อยดีกว่า

greenstone

หนังสือที่ผมจะแนะนำวันนี้เป็นหนังสือที่แนะนำการใช้โปรแกรม “Greenstone”

ข้อมูลหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone
ผู้เขียน : สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์, บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
ISBN : 9789745988125
ราคา : 200 บาท


โปรแกรม “Greenstone”
คือ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างคลังสื่อดิจิทัล หรือ ห้องสมุดดิจิทัล นั่นเอง
หนังสือเล่มนี้อาจจะจัดได้ว่าเป็น หนังสือที่เกี่ยวกับ Opensource ของห้องสมุดเล่มแรก (หรือปล่าว) ในเมืองไทย

เราลองไปดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้กันดีกว่า
– ห้องสมุดดิจิทัล Greenstone
– การติดตั้ง Greenstone
– สำรวจ Greenstone Digital Library
– Greenstone Librarian Interface ผู้ช่วยสำหรับบรรณารักษ์
– หลักการออกแบบพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล
– เริ่มสร้างคลังสื่อดิจิทัล
– เพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นเอกสาร
– รู้จักกับเมทาดาทา
– ดับลินคอร์เมทาดาทา
– Collection เอกสาร HTML
ฯลฯ

พอได้ดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็ขอแยะประเด็นหลักๆ ของหนังสือเล่มนี้ออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
1. เกี่ยวกับโปรแกรม Greenstone : แนะนำการติดตั้ง และการใช้งาน
2. เกี่ยวกับหลักการทั่วไปของห้องสมุดดิจิทัล
3. เกี่ยวกับข้อมูล เมทาดาทา (Meta data)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับหนังสือเล่มนี้ ผมว่าค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับห้องสมุดหลายๆ ที่เลยนะครับ
นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่อยากสร้างห้องสมุดดิจิทัลเองอีกด้วย

อย่างกรณีผมเอง ผมก็อยากสร้างคลังเอกสารดิจิทัลของผมเองเหมือนกัน
ข้อมูลต่างๆ ไฟล์งานต่างๆ ที่ผมเก็บไว้ตั้งแต่ตอนเรียน
ผมก็อยากนำออกมาเสนอให้เพื่อนๆ ได้ดู ได้อ่านเหมือนกัน

สงสัยผมต้องซื้อหนังสือเล่มนี้ก่อนนะครับ แล้วทำความรู้จักกับโปรแกรมนี้มากๆ
แล้วถึงตอนนั้นอาจจะมีห้องสมุดดิจิทัล Libraryhub ก็ได้นะ อิอิ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ ลองเข้าไปดูที่
http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9789745988125&AspxAutoDetectCookieSupport=1

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับ Library 2.0

ช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า Library2.0 หรือ ห้องสมุด 2.0 บ่อยขึ้นนะครับ
แล้วเพื่อนๆ อยากหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้อ่านบ้างมั้ย วันนี้ผมมีเล่มนึงมาแนะนำครับ

librarybook Read more

ห้องสมุดมารวยจัดกิจกรรมเสวนาเปิดตัวหนังสือ

กิจกรรมที่น่าสนใจของห้องสมุดมารวยกิจกรรมนี้ ผมขอนำมาเล่าใหม่
เพื่อนำเสนอรายละเอียด และกรณีศึกษาสำหรับการจัดกิจกรรมในห้องสมุด

image0012

ข้อมูลของกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ?กฎแห่งความโชคดี? กับ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี
จัดในวันที่ : 29 มีนาคม 2552 เวลา 17.00 – 18.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดมารวย@Esplanade

งานเสวนาเปิดตัวหนังสือครั้งนี้ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี มาเองเลยนะ
นับว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ฟังคนเก่งๆ พูด
อย่างน้อยก็ถือซะว่าเป็นการรับฟังไอเดีย และประสบการณ์จากคนเก่งแล้วกันนะ

เราไปดูข้อมูลหนังสือของคุณบัณฑิต อึ้งรังษีกัน

book

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : กฎแห่งความโชคดี
ชื่อผู้เขียน : บัณฑิต อึ้งรังษี
ISBN : 9789745192577
สำนักพิมพ์ : อินสไปร์มิวสิค

ในโปสเตอร์ของกิจกรรมนี้ มีข้อความที่น่าสนใจ เช่น
– วิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้จะผ่านพ้นไปเช่นไร
– โชคชะตาจะมีส่วนช่วยเราได้หรือไม่
– ความโชคดี ไม่ได้มาหาคุณแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
– โชคก็มีกฎ หากคุณทำตามกฎนั้น คุณจะโชคดี

งานเสวนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ (ฟรีๆๆๆๆๆ)
งานเสวนาดีๆ แบบนี้ จริงๆ ผมอยากให้ห้องสมุดหลายๆ ที่ได้มาดู
อย่างน้อยก็เพื่อเป็นไอเดียในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดของท่าน

ถ้าท่านได้มาดูงานนี้แล้ว ผมเชื่อว่าไอเดียในการจัดกิจกรรมของห้องสมุด
ท่านจะคิดได้รอบด้านกว่านี้แน่นอนครับ

แนะนำหนังสือเรื่อง การจัดการห้องสมุด

เปลี่ยนบรรยากาศการเล่าเรื่องมาเป็นการแนะนำหนังสือบ้างดีกว่า
หนังสือที่ผมจะขอแนะนำในวันนี้เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้บริหารห้องสมุด

library-management

Read more

งานสัปดาห์หนังสือกลางปี 2552 ที่ไม่ควรพลาด

งานสัปดาห์หนังสือที่ยิ่งใหญ่กลางปีกำลังจะมาแล้ว
นั่นคือ งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 7

book-fair

ข้อมูลทั่วไป
ชื่องานภาษาไทย : งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 7
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Book Festival for Young People 2009
วันที่จัดงาน : วันที่ 8 – 12 กรกฎาคม 2552
สถานที่ : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

งานนี้เป็นงานสัปดาห์หนังสือที่ผมแนะนำอีกงานหนึ่ง
ถึงแม้ว่าชื่องานจะเน้นไปในทางของหนังสือเด็ก
แต่ผมอยากจะบอกว่ารายละเอียดของกิจกรรม และนิทรรศการต่างๆ ที่จัด ไม่ได้เด็กอย่างที่คิดเลย

หนึ่งในโครงการที่ผมให้ความสนใจ คือ โครงการประกวดเล่าเรื่อง ?หนังสือคือแรงบันดาลใจ?
นี่แค่ชื่อโครงการ ก็ทำให้ผมขนลุกได้แล้วนะครับ
ผมเชื่อว่าหลายๆ คนมีหนังสือในดวงใจอยู่แล้ว และหนังสือเล่มนั้นเองอาจจะเป็นแรงใจของคนหลายๆ คน
กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในโครงการการรักการอ่านที่น่าจัดมากมาย
(หลายๆ องค์กรสามารถนำไปใช้ก็ได้นะครับ)

เรื่องราวของโครงการประกวดเล่าเรื่อง ?หนังสือคือแรงบันดาลใจ?
เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อได้ที่
http://www.thailandbookfair.com/bookfestival2009/images/project/project_bookfestival_2009.pdf

ภายในงานนี้ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ 3 โซนใหญ่ด้วยกัน คือ
– บริเวณโซนซี 1 ?กำเนิดจักรวาลความรู้?
– โซนเอเทรียม ?จากโลกล้านปีถึงอนาคต?
– โซนพลาซ่า ?หนังสือ : ประตูสู่จักรวาล?

ตัวอย่างกิจกรรมการสัมมนาที่จัดขึ้นในงานนี้
– ?เคล็ด (ไม่) ลับ ทำสื่อให้โดนใจเด็ก?
– เปิดตัวหนังสือ ชุด อีสปคำกลอน
– การใช้สื่อช่วยสอนในการสร้างคลังศัพท์ภาษาอังกฤษ
– Read Rally พลิกโฉมบันทึกรักการอ่าน
– ?ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2?
– ?เพาะพันธุ์นักอ่าน ขยายพันธุ์นักเขียน? ครั้งที่ 3
– การใช้นิทานเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี
– KM ภูมิปัญญาสร้างสรรค์การจัดทำนวัตกรรมการศึกษา และการพัฒนาผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู
– ?สร้างโลกความรู้ด้วยความสนุก? กับ สำนักพิมพ์ E.Q.Plus สัมมนาเชิงปฏิบัติการ
– ?เสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้กับเด็กวัยประถม?
– ?7 อุปนิสัยเด็กดีมีความสุขสร้างทัศนคติในมุมบวกเพื่อพัฒนาการเป็นผู้นำ?
– สู่โลกจินตนาการและความสุข กับ Thomas & Friends

เป็นยังไงกันบ้างครับกิจกรรมต่างๆ และโครงการการรักการอ่านแบบนี้
พอจะเป็นไอเดียให้เพื่อนๆ นำไปจัดกิจกรมในหน่วยงานของท่านได้หรือปล่าวครับ

สุดท้ายนี้ก็เชิญชวนให้ลองไปงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้กันนะครับ
แล้วผมจะเก็บบรรยากาศมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกที ว่างานนี้มีอะไรที่น่าสนใจแค่ไหน

สำหรับเว็บไซต์ของงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 7 – http://www.thailandbookfair.com/bookfestival2009/