พาชมอาคารใหม่ของหอสมุดแห่งชาติฉบับนายบรรณารักษ์พาเที่ยว

วันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปเที่ยวและเยี่ยมชมอาคารใหม่ของหอสมุดแห่งชาติมา
จึงอยากแชร์ความคิดเห็นและนำเสนอรูปภาพภายในอาคารใหม่ของหอสมุดแห่งชาติให้เพื่อนๆ ได้เห็น

เพื่อนๆ หลายๆ คนคงทราบว่าเมื่อไม่นานมานี้หอสมุดแห่งชาติได้มีการเปิดตัวอาคารใหม่ที่ได้จัดสร้างจนเสร็จและถยอยย้ายของ (หนังสือวิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย หนังสือหายาก เอกสารโบราณ) มาไว้ที่นี่จนเสร็จ

การเดินทางมาที่นี่ผมยังคงใช้รถเมล์โดยสารสาย 9 เช่นเคย (วงเวียนใหญ่ – หน้าหอสมุดแห่งชาติ)

หอสมุดแห่งชาติด้านหน้าเมื่อเรามองเขาไป เราก็ยังคงเห็นอาคารเดิมอ่ะครับ (อาคารใหม่อยู่หลังอาคารเก่า)
เมื่อผ่านประตู รปภ. ก่อนเข้าไปในอาคารเก่า ผมก็สะดุดกับป้ายที่อยู่ที่โต๊ะของพี่ รปภ. มีข้อความสรุปง่ายๆ ว่า

หอสมุดแห่งชาติเป็นสถานที่ราชการ ไม่อนุญาตให้คนที่แต่งกายไม่สุภาพเข้ามาใช้บริการ……” (อันนี้เดี๋ยวผมขอยกยอดไว้เขียนวิจารณ์คราวหน้านะ)

เข้ามาดูที่ตึกใหม่กันดีกว่า หลักๆ แล้วแต่ละชั้นมีอะไรบ้าง

ชั้นที่ 1 บรรณารักษ์ในส่วนงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (งาน ISBN, CIP) + ห้องสมุดวชิรญาณ พื้นที่ลานเอนกประสงค์
ชั้นที่ 2 ห้องวิทยานิพนธ์และงานวิจัย
ชั้นที่ 3 ห้องบริการหนังสือหายาก
ชั้นที่ 4 ห้องจัดเก็บเอกสารโบราณ ตู้พระธรรม

หลักๆ ในวันนั้นผมลองเดินตรวจสอบจากชั้น 1 (ลานอเนกประสงค์) และ ชั้น 2 นะครับ (ชั้นอื่นๆ ในวันเสาร์อาทิตย์ไม่เปิดบริการอ่ะครับ)

การเดินทางเข้าไปที่อาคารใหม่ของหอสมุดแห่งชาติมีหลายวิธีครับ เช่น
– เดินอ้อมอาคารเดิมไปทางห้องสมุดดนตรี
– เดินอ้อมอาคารเดิมไปทางหอจดหมายเหตุ
– ทางเชื่อมจากอาคารเดิม ชั้น 1
– ทางเชื่อมจากอาคารเดิม ชั้น 2

ชั้น 1 วันอาทิตย์นี่แบบว่าอย่างเงียบเลย อาจเพราะว่าปิดไฟในลานอเนกประสงค์จึงทำให้มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะแก่การนั่งเล่นละมั้ง เดินอยู่คนเดียวแบบว่าน่ากลัวมากๆ เลย แม้ว่าจะเป็นอาคารใหม่ก็เถอะแต่ดูเงียบมากๆ

ชั้น 2 เป็นห้องวิทยานิพนธ์และงานวิจัย แต่ถ้าเพื่อนๆ ต้องการจะค้นวิทยานิพนธ์ เพื่อนๆ ก็ควรปฏิบัติดังนี้

“ค้นคว้าวิทยานิพนธ์และรายงานวิจัย โปรดค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ หรือชั้น 2 อาคารเดิม และจดเลขหมู่หนังสือหรือรหัสเลขและปีพ.ศ. ก่อนเข้าใช้บริการชั้น 2 อาคารใหม่”

ข้อความที่ผมนำมาลงนี้เป็นข้อความที่มาจากคำแนะนำที่ทางหอสมุดแห่งชาตินำมาติดไว้ที่ชั้น 1 และหน้าประตูห้องวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของอาคารใหม่ด้วย

ไม่ต้องแปลกใจครับ ว่าเพราะอะไร เอาเป็นว่าลองดูรูปนี้ครับ แล้วจะเข้าใจ

(ตึกใหม่แต่ระบบไอทียังไม่พร้อมครับ)

ภายในห้องวิทยานิพนธ์เข้าไปแล้วบรรยากาศดีกว่าอาคารเดิมเยอะมาก โต๊ะเก้าอี้เยอะมากๆ เลย ณ เวลาที่ผมเข้าไปนี้มีผู้ใช้บริการ 3 คน บวกบรรณารักษ์อีก 2 คน สรุปว่าห้องนั้นมีแค่ 6 คน (รวมผมด้วย) ห้องใหญ่บรรยากาศดี จริงๆ อยากให้มีการใช้เยอะๆ นะ จะได้คุ้มค่าไฟหน่อย แต่คงต้องค่อยเป็นค่อยไปอ่ะครับ

การใช้บริการห้องวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1. สืบค้นวิทยานิพนธ์ที่ต้องการ (ที่อาคารใหม่นี้จะเก็บวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ปี 2547 ขึ้นมาจนถึงปัจจุบันเท่านั้น หากต้องการฉบับเก่ากว่านี้ต้องไปที่หอสมุดแห่งชาติ เขตลาดกะบัง เฉลิมพระเกียรติ)
2. กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการ (ใส่ชื่อ-นามสกุลผู้ที่ขอยืม, เลขหมู่และปีของหนังสือ)
3. รอบรรณารักษ์ไปหยิบ
4. แลกบัตรประชาชนหรือใบขับขี่ไว้ที่เคาน์เตอร์
5. นำไปใช้ได้เลย
6. นำมาคืนที่เคาน์เตอร์เพื่อแลกบัตรคืน

หนังสือวิทยานิพนธ์ที่จัดเก็บที่นี่มีการลงเลขหมู่ในลักษณะนี้
ตัวอย่าง 054/51 = หนังสือวิทยานิพนธ์ปี 2551 เล่มที่ 54

เอาหล่ะครับวันนี้ก็ขอ Review เท่านี้ก่อนแล้วกันครับ เนื่องจากเวลามีจำกัดมาก
วันหลังจะกลับมา Review แบบละเอียดอีกทีนึงแล้วกัน เอาเป็นว่าก็ขอชื่นชมในส่วนดีและขอติเพื่อปรับปรุงในส่วนที่ต้องเสริม

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับอาคารใหม่ของหอสมุดแห่งชาติ

“เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงนามอนุมัติ ให้ก่อสร้างอาคารใหม่หอสมุดแห่งชาติด้วยงบประมาณ จำนวน 438,000,000 บาท (สี่ร้อยสามสิบแปดล้านบาท) และวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2552 และเปิดให้ใช้บริเวณอาคารใหม่ในวันที่ 3 ตุลาคม 2554”

ชมภาพบรรยากาศอาคารใหม่ของหอสมุดแห่งชาติทั้งหมด

[nggallery id=51]

10 อันดับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (วัดจากจำนวนหนังสือ)

วันนี้ขอต่อเรื่องห้องสมุดกับความเป็นที่สุดในโลกกันต่อนะครับ
เมื่อวานได้เขียนถึงหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกไปแล้ว
วันนี้ขอนำเสนอห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก 10 อันดับบ้างดีกว่า

ที่บอกว่าใหญ่ที่สุดในโลกอันนี้เขาวัดจากการมีจำนวนหนังสือนะครับ
หนังสือมากที่สุดในโลกทั้ง 10 อันดับนี้บางแห่งก็ไม่ใช่หอสมุดแห่งชาติด้วย
ห้องสมุดสถาบันก็สามารถครอง 1 ใน 10 อันดับนี้ได้ด้วย เราไปดูกันเลยดีกว่า

10 อันดับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 Library of Congress ก่อตั้งเมื่อ 1800 มีหนังสือจำนวน 29 ล้านเล่ม
อันดับที่ 2 National Library of China ก่อตั้งเมื่อ 1909? มีหนังสือจำนวน 22 ล้านเล่ม
อันดับที่ 3 Library of the Russian Academy of Sciences ก่อตั้งเมื่อ? 1714 มีหนังสือจำนวน 20 ล้านเล่ม
อันดับที่ 4 National Library of Canada ก่อตั้งเมื่อ 1953? มีหนังสือจำนวน 18.8 ล้านเล่ม
อันดับที่ 5 Deutsche Biblothek ก่อตั้งเมื่อ? 1990 มีหนังสือจำนวน 18.5 ล้านเล่ม
อันดับที่ 6 British Library ก่อตั้งเมื่อ? 1753 มีหนังสือจำนวน 16 ล้านเล่ม
อันดับที่ 7 Institute for Scientific Information on Social Sciences of the Russian Academy of Sciences ก่อตั้งเมื่อ? 1969 มีหนังสือจำนวน 13.5 ล้านเล่ม
อันดับที่ 8 Harvard University Library ก่อตั้งเมื่อ? 1638 มีหนังสือจำนวน 13.1 ล้านเล่ม
อันดับที่ 9 Vernadsky National Scientific Library of Ukraine ก่อตั้งเมื่อ? 1919 มีหนังสือจำนวน 13 ล้านเล่ม
อันดับที่ 10 New York Public Library ก่อตั้งเมื่อ 1895 มีหนังสือจำนวน 11 ล้านเล่ม

เอาเป็นว่าก็สุดยอดกันไปเลยใช่มั้ยหล่ะครับ เรื่องจำนวนหนังสือแบบเป๊ะๆ อันนี้ผมไม่อยากจะเชื่อตัวเลขสักเท่าไหร่
เนื่องจากในเมืองไทยเองที่ผมเคยไปเยี่ยมห้องสมุดหลายที่ก็มักจะเอาตัวเลขจากฐานข้อมูล แต่หนังสือเล่มจริงๆ มักมีไม่ถึง
จริงๆ ผมอยากรู้จังว่า 1-10 อันดับห้องสมุดในเมืองไทยที่สุดที่สุดมีที่ไหนบ้างจังเลย
ไว้ว่างๆ จะมาเขียนและหาข้อมูลเล่นๆ กันนะ

ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ http://www.watchmojo.com/top_10/lists/knowledge/libraries/libraries_largest.htm

10 อันดับหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

รู้หรือไม่ครับว่าหอสมุดแห่งชาติของประเทศไหนเก่าแก่ที่สุด
วันนี้ผมไปเจอคำตอบเหล่านี้มาเลยขอนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ รู้กันสักหน่อย

10 อันดับหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 – National Library of the Czech Republic ก่อตั้งในปี 1366
อันดับที่ 2 – National Library of Austria ก่อตั้งในปี 1368
อันดับที่ 3 – National Library of Italy ก่อตั้งในปี? 1468
อันดับที่ 4 – National Library of France ก่อตั้งในปี 1480
อันดับที่ 5 – National Library of Malta ก่อตั้งในปี? 1555
อันดับที่ 6 – Munich, Germany ก่อตั้งในปี 1958
อันดับที่ 7 – National Library of Belgium ก่อตั้งในปี 1559
อันดับที่ 8 – Zagreb National and University Library ก่อตั้งในปี 1606
อันดับที่ 9 – National Library of Finland ก่อตั้งในปี 1640
อันดับที่ 10 – National Library of Denmark ก่อตั้งในปี 1653

ปล. ข้อมูลที่ได้มานี้บอกเพียงแค่ว่าเก่าแก่ที่สุดในโลกนะครับ
จริงๆ แล้วผมอยากรู้ต่อว่า หอสมุดเหล่านี้ยังคงอาคารเดิมบ้างหรือปล่าว
หรือว่าย้ายไปแล้วสร้างใหม่หมดแล้ว อันนี้เดี๋ยววันมีโอกาสจะหาคำตอบมานำเสนอนะครับ

จริงๆ แล้วผมลองเช็คข้อมูลบางส่วนในวิกิพีเดียแล้วนะครับ แต่รู้สึกว่าหอสมุดแห่งชาติบางแห่งในนี้ มีปีที่ก่อตั้งคาดเคลื่อน
ดังนั้นผมจึงต้องบอกเพื่อนๆ ก่อนว่าอย่าเพิ่งเชื่อข้อมูลนี้ทั้งหมดนะครับ แล้วผมจะลองค้นหาข้อมูลมาลงแก้ให้วันหลังนะ

ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ http://www.watchmojo.com/top_10/lists/knowledge/libraries/libraries_oldest_national.htm

มาหอสมุดแห่งชาติควรจะพกบัตรมาเยอะๆ

เมื่อวานก็เป็นอีกหนึ่งวันที่ผมมาใช้บริการที่หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งแน่นอนครับถ้าไม่มีอะไรผมก็คงไม่เขียนบล็อกหรอก
แน่นอนครับ เกริ่นมาซะขนาดนี้แล้ว….มันมีเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมอีกแล้วครับท่าน
จริงๆ ผมก็เคยพูดไปแล้วในเรื่อง “เรื่องอึ้งๆ ณ ?มุมโน้ตบุ๊ค? ในหอสมุดแห่งชาติ” เกี่ยวกับการแลกบัตรในหอสมุดแห่งชาติ

national-library-thailand

ประเด็นไหนบ้างที่ต้องแลกบัตรในหอสมุดแห่งชาติ
1. ยืมหนังสือออกจากห้องบริการเพื่อถ่ายเอกสาร
2. ขอใช้มุมบริการโน้ตบุ๊ค

เอาเป็นว่าวันนี้ผมมาใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ แบบว่าต้องใช้หนังสือจากหลายๆ ห้องบริการ
เช่น หนังสือในหมวดบรรณารักษ์ ห้อง 213 และนิตยสารจากชั้น 1 เอาเป็นว่าใช้ไปแล้ว 2 ใบ
นอกจากนี้ผมยังต้องใช้บริการโน้ตบุ๊คที่ผมนำมาเองอีก และแน่นอนว่าต้องใช้ไปอีก 1 ใบ

หมายเหตุสักนิด บัตรที่จะใช้ได้ต้องเป็นบัตรที่มีรูปถ่ายเท่านั้น

สรุปวันนี้ผมใช้บัตรเพื่อแลกกับบริการต่างๆ ในหอสมุดแห่งชาติจำนวน 3 ใบ ประกอบด้วย
– บัตรประชาชน
– ใบขับขี่
– บัตรสมาชิกห้องสมุดซอยพระนาง

เอาเป็นว่าเหนื่อยใจ จริงๆ ต้องใช้บัตรเยอะแบบนี้ ลองคิดดูนะครับว่าถ้าผมไม่รู้ธรรมเนียมของหอสมุดแห่งชาติ
ผมคงโวยวายกับบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของแต่ละห้องไปเรียบร้อยแล้ว

เอาเป็นว่าก็ขอฝากไว้นะครับสำหรับคนที่จะมาใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ
ถ้าต้องการข้อมูลและบริการที่เยอะหน่อยก็ควรพกบัตรที่มีรูปมาหอสมุดแห่งชาติเยอะๆ นะครับ

เรื่องอึ้งๆ ณ “มุมโน้ตบุ๊ค” ในหอสมุดแห่งชาติ

หากเพื่อนๆ มีโน้ตบุ๊คแล้วจำเป็นต้องไปทำงานในห้องสมุด เพื่อนๆ เคยเจออะไรแปลกๆ บ้างหรือปล่าว
วันนี้ผมจะมาขอเล่าเรื่องแปลกๆ เรื่องนึงที่ผมเพิ่งจะเจอมากับตัวเองวันนี้ ณ หอสมุดแห่งชาติ

notebook-corner

เรื่องมันมีอยู่ว่า…

วันอาทิตย์อันแสนสุขที่ผมอยากจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องห้องสมุดประชาชน
เพื่อใช้อ่านประกอบและสร้างแรงบันดาลใจในงานห้องสมุดที่ผมกำลังทำอยู่
ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะไปค้นหาข้อมูลที่ “หอสมุดแห่งชาติ”

และเมื่อผมเดินทางไปถึง “หอสมุดแห่งชาติ”
ผมก็ประทับใจในเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยมากที่อนุญาตให้ผมนำโน้ตบุ๊คและกระเป๋าเข้าไปด้วย

ด้วยความชำนาญในการหาข้อมูลของผม (มาบ่อยเลยรู้ว่าต้องให้ห้องไหน)
ผมจึงได้เข้าไปในห้อง 213 (ห้องที่เก็บหนังสือคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ปรัชญา)
แล้วก็ค้นหาหนังสือที่ผมต้องการซึ่งได้มาจำนวน 4 เล่ม

แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะกล่าว เพราะว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊ค
แต่สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี่คือประเด็นของเรื่องๆ นี้…

ผมต้องการใช้คอมพิวเตอร์ของผมในการพิมพ์งาน และจดโน้ตบทสรุปของหนังสือ
ผมจึงสอบถามบรรณารักษ์ในห้อง 213 ว่า

Libraryhub : “ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าผมจะใช้โน้ตบุ๊คของผมเพื่อพิมพ์งานในห้องนี้ได้มั้ย”
บรรณารักษ์ 213 : “ไม่ได้หรอกนะค่ะ ถ้าจะใช้ต้องไปที่ห้อง 204 – 205 ค่ะ”
Libraryhub : “ทำไมหล่ะครับ ผมไม่ได้ใช้ปลั๊กไฟของที่นี่นะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “อ๋อ ห้องนั่นเขามี “มุมโน้ตบุ๊ค” อยู่นะค่ะ”
Libraryhub : “แล้วหนังสือของผมพวกนี้หล่ะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “คุณก็ทิ้งบัตรประชาชนของคุณไว้ที่ห้องนี้ด้วยสิค่ะ”

เอาเป็นว่านี่เป็นบทสนทนาสั้นๆ ที่ผมคุยกับบรรณารักษ์นะครับ
ซึ่งโอเคผมก็คงต้องปฏิบัติเหมือนคนอื่นๆ แหละครับ คือ ต้องยอมทำตาม

จากนั้นผมก็ทิ้งบัตรประชาชนเพื่อยืมหนังสือ แล้วถือโน้ตบุ๊คไปที่ห้องใหญ่ (204-205)

พอถึงห้องกลาง(204-205) ผมก็เห็น “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่บรรณารักษ์ห้อง 213 บอก
ผมก็เดินไปเพื่อที่จะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” นั้น แต่บรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์กลางก็เรียกผมอีก

บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง :
“เดี๋ยวๆ คุณจะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” ใช่มั้ย”
Libraryhub : “อ๋อ ใช่ครับ ผมเอาโน้ตบุ๊คมา และต้องการใช้พิมพ์งาน บรรณารักษ์ห้อง 213 บอกให้ผมมาใช้ห้องนี้”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ งั้นคุณก็กรอกแบบฟอร์มนี้ก่อนใช้นะครับ”
Libraryhub : “โอเคครับ งั้นกรอกแบบฟอร์มก่อนแล้วกัน”

ในระหว่างที่ผมกรอกแบบฟอร์มผมก็ถามพี่ๆ บรรณารักษ์ที่นั่งตรงกลางเคาน์เตอร์ว่า
Libraryhub : “พี่ครับขอถามอะไรนิดนึงนะครับ เกี่ยวกับการใช้บริการโน้ตบุ๊ตในหอสมุดแห่งชาติ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ได้ครับ มีอะไรหรอครับ”
Libraryhub : “คือ ผมแปลกใจว่าทำไมต้องเล่นได้ที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” อย่างเดียวหรอครับ เพราะว่าผมเองก็ไม่ได้ต้องการใช้ปลั๊กนี่ครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “อ๋อ คือทางส่วนกลาง เขาจัดไว้ให้นะครับ”
Libraryhub : “แล้วทำไมต้องเป็นตรงนี้ด้วยหรือครับ หรือว่ามีสัญญาณ Wifi ตรงนี้หรอครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ปล่าวครับ ไม่มีสัญญาณให้เล่นอินเทอร์เน็ตหรอกครับ แต่ส่วนกลางให้เล่นได้เฉพาะ “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่เขาจัดเท่านั้นครับ”
Libraryhub : “สรุปคือไม่ได้มีความพิเศษอย่างอื่นเลย นอกจากมีปลั๊กไฟใช่มั้ยครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ”

เมื่อจบบทสนทนาผมก็กรอกแบบฟอร์มขอใช้งานเสร็จพอดี ผมจึงถามต่อไปว่าล

Libraryhub : “กรอกเสร็จแล้วครับ งั้นผมขอไปใช้โน้ตบุ๊คของผมก่อนนะครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ยังไม่ได้ครับ ต้องแลกบัตรไว้ที่เคาน์เตอร์ด้วยครับ”
Libraryhub : “อ้าว เมื่อกี้ผมเอาบัตรไปใช้ยืมหนังสือจากห้อง 213 มาแล้วนี่ครับ ผมจะใช้บัตรใบไหนอีก”
(เนื่องจากผมมากับเพื่อน บรรณารักษ์ก็เห็น)
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “งั้นใช้บัตรของเพื่อนอีกคนก็ได้นะครับ”

สุดท้ายผมก็เลยต้องใช้บัตรของเพื่อนเพื่อแลกกับการใช้โน้ตบุ๊คในหอสมุดแห่งชาติ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ได้อ่านแล้วรู้สึกยังไงกับเรื่องนี้ครับ
ผมอึ้งแทบจะทำอะไรไม่ถูกเลย แบบว่าตกใจมากๆ

“มุมโน้ตบุ๊ค” ที่หอสมุดแห่งชาติเป็น คือ โต๊ะรวมที่นั่งเล่นโน้ตบุ๊คได้พร้อมกัน 6 เครื่อง
แถมด้วยปลั๊กที่ใช้สำหรับชาร์จแบตของโน้ตบุ๊คได้อย่างเดียว ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายด้วย
ในความคิดเห็นของผม มันก็ไม่ต่างอะไรจากที่นั่งอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติหรอกนะ
เพียงแค่ที่นั่งที่ต้องกรอกแบบฟอร์ม และใช้บัตรแลกเพื่อใช้งาน

แล้วตกลงเขาเรียกว่า “มุมโน้ตบุ๊ค” เพื่ออะไร…..

เมื่อผมใช้งานโน้ตบุ๊คเสร็จแล้ว ผมจึงเดินไปรับบัตรประชาชนของเพื่อนคืนจากเคาน์เตอร์
แล้วสอบถามถึงแบบฟอร์มการขอใช้บริการ “มุมโน้ตบุ๊ค” ว่าผมจะขอตัวอย่างแบบฟอร์มหน่อยได้มั้ย
ซึ่งได้คำตอบว่า “มันเป็นความลับของหอสมุดแห่งชาติ ไม่สามารถให้ได้”
เออ เอาเข้าไปดิ แค่แบบฟอร์มก็ยังถือว่าเป็นความลับเลย

สุดท้ายนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมุมโน้ตบุ๊ตของหอสมุดแห่งชาติ
เอาเป็นว่าใครพอรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊คนี้ ก็ช่วยแถลงให้ผมทราบทีเถอะครับว่า
“ตกลงมันเกิดอะไรขึ้นกับหอสมุดแห่งชาติและมุมโน้ตบุ๊ค”

พาชมหอสมุดดนตรีฯ รัชกาลที่ 9

สถานที่ที่ผมจะพาเพื่อนๆ เข้าชมวันนี้ ผมอยากจะบอกว่าเป็นสถานที่ๆ พิเศษมากๆ
สถานที่แห่งนี้ คือ หอสมุดดนตรีพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ครับ
เป็นห้องสมุดดนตรีที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

musiclibrary

ข้อมูลทั่วไปของหอสมุด
สถานที่ : หอสมุดดนตรีพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ที่อยู่ : ภายในหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : 0-2282-8045 โทรสาร : 0-2282-8033
เว็บไซต์ : http://www.kingramamusic.org

ห้องสมุดแห่งนี้ เป็นห้องสมุดที่รวบรวมงานทางด้านดนตรีไว้มากมาย
เช่น เอกสารเกี่ยวกับเพลง โน้ตเพลง วีดีโอ แผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง ฯลฯ

Collection ที่ผมชอบมากๆ คือ การรวมโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์
แถมด้วย? Collection เพลงพระราชนิพนธ์ที่มีมากมายให้เราได้ฟังด้วย

music-library2

สิ่งที่ผมประทับใจอีกอย่าง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการฟังเพลง
และการค้นคว้าบทเพลงผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์นับว่าเจ๋งไปเลยยยยย

librarymusic

เฟอร์นิเจอร์ด้านในห้องสมุดดนตรีถือว่า สามารถดึงดูดใจให้ผมใช้บริการได้เลยทีเดียว
ด้วยสีสันที่สะดุดตา และความสบายที่ได้สัมผัส ทำให้ผมลืมไปเลยว่าอยู่ในห้องสมุด

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ที่ลองไปสัมผัสให้ได้นะครับ
ที่นี่ให้บริการในวันจันทร์ ถึง วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.30 น.

รวมภาพบรรยายกาศภายในหอสมุดดนตรีฯ รัชกาลที่ 9

[nggallery id=6]

หอสมุดแห่งชาติกับภาพลักษณ์ใหม่ๆ

นำเที่ยวห้องสมุดวันนี้ ผมขอนำเสนอ “หอสมุดแห่งชาติ”
ล่าสุดที่ผมได้ไปเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติ ทำเอาผมประหลาดใจในหลายๆ ส่วน
ผมจึงอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพลักษณ์ใหม่ๆ ของหอสมุดแห่งชาติบ้าง

nlt-banner

ข้อมูลทั่วไปของหอสมุดแห่งชาติ
สถานที่ : หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
ที่อยู่ : ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : 0-2281-5212 โทรสาร : 0-2281-5449
เว็บไซต์ : http://www.nlt.go.th

การนำชมหอสมุดแห่งชาติของผม ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า
ผมเข้าชมหอสมุดแห่งชาติในวันอังคาร ดังนั้นจำนวนคนจึงไม่ค่อยมาก
และข้อจำกัดด้านเวลา ที่ผมมีเวลาในการเข้าชมเพียงแค่ 2 ชั่วโมง
ดังนั้นอาจจะเข้าชมได้ไม่ครบ แต่ผมจะนำเสนอข้อมูลเท่าที่ผมได้เห็นนะครับ

ไปดูในส่วนต่างๆ กันเลยดีกว่าครับ

เริ่มจากเมื่อเดินเข้าประตูหน้า แล้วมาที่ตึกใหญ่
แต่เดิมหน้าหน้าตึกใหญ่เป็นเพียงสวนต้นไม้หน้าตึก
แต่เดี๋ยวนี้มีการสร้างอาคารเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอาคารแบบ 1 ชั้น

อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารใหญ่
อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารใหญ่

อาคารที่สร้างเพิ่มขึ้นมาด้านหน้าตึกใหญ่ ภายในมี
– ร้านกาแฟ
– ร้านอาหาร
– ร้านขายขนม ของว่าง
– ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่
– ร้านจำหน่ายหนังสือ

นับว่าเป็นอาคารที่เพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้บริการได้มากเลยนะครับ
มีกาแฟให้ดื่ม หิวข้าวก็กินข้าได้ แถมมีหนังสือจำหน่ายอีก
ครบแบบนี้ผมต้องยกนิ้วให้เลยครับ

ในส่วนต่อมาภายในอาคารใหญ่ของหอสมุดแห่งชาติ

จุดแรกที่ทุกคนจะต้องพบก็คือ ทางเข้าและทางออกของอาคาร ซึ่งจะประกอบด้วย
– ห้องฝากของ (เพื่อนๆ ต้องนำกระเป๋ามาฝากไว้ที่นี่เท่านั้น)
– จุดตรวจของ รปภ. (จุดนี้จะช่วยตรวจของๆ ผู้ใช้บริการตอนออกมาครับ)

แต่ ณ จุดทางเข้าก็ยังคงมีป้ายประกาศ และกฎการเข้าใช้ห้องสมุดติดอยู่นะครับ

จุดต่อมานั่นคือ ห้องโถงใหญ่ บริเวณชั้น 1
แต่เดิมจะใช้ในการแสดงนิทรรศการ (แต่ส่วนใหญ่ผมจะพบกับห้องโล่งๆ มากกว่า)
แต่เดี๋ยวนี้มีเคาน์เตอร์กลาง ซึ่งใช้เป็นส่วนของประชาสัมพันธ์ และจุดบริการตอบคำถาม

nlt2
เคาน์เตอร์กลาง และจุดประชาสัมพันธ์

ในชั้นหนึ่งผมเพิ่งสังเกตเห็นห้องนิทรรศการใหม่ของหอสมุดแห่งชาติ
ซึ่งออกแบบเป็นประตูเลื่อนเพื่อเข้าไปดูนิทรรศการด้านใน
แต่ในระหว่างการเยี่ยมชม ห้องนี้ยังถูกปิดล็อคอยู่ยังไม่สามารถเข้าไปดูได้
ผมเลยขอถ่ายรูปจากด้านนอกเข้าไปก็แล้วกัน

ห้องนิทรรศการ อยู่ชั้น 1 อาคารใหญ่
ห้องนิทรรศการ อยู่ชั้น 1 อาคารใหญ่

จากนั้นผมก็ได้ชมวีดีโอแนะนำหอสมุดแห่งชาติ
ที่น่าตกใจคือ วีดีโอที่แนะนำยังเป็นแบบ เทปวีดีโออยู่เลย
คุณภาพของภาพและเสียงยังไม่ค่อยดีนัก แต่คิดว่าอีกหน่อยเขาคงจะปรับปรุงนะ

หลังจากการชมวีดีโอเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มเดินชมห้องบริการต่างๆ ดังนี้
– ห้องสืบค้นอินเทอร์เน็ต และบัตรรายการ (ชั้น 1)
– ห้องวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ (ชั้น 1)
– ห้องวิทยานิพนธ์และงานวิจัย (ชั้น 5)
– ห้องเอกสารโบราณ (ชั้น 4)
– ห้องบริการอ่านหนังสือ (ชั้น 2)

nlt4

แต่ละจุดมีไอเดียการบริการที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง เช่น
– หอสมุดแห่งชาติให้บริการ wifi และปลั๊กไฟสำหรับโน้ตบุ๊ค
– บัครรายการ (บัตรสืบค้นหนังสือ) ยังคงมีการอัพเดทเรื่อยๆ คู่กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่หอสมุดแห่งชาติใช้ คือ Horizon
– หอสมุดแห่งชาติไม่มีการรับสมัครสมาชิก ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทุกคนไม่จำกัด
– ไม่อนุญาติให้ยืมหนังสือออกจากหอสมุดแห่งชาติ
– การจัดหนังสือในห้องวารสารยังคงใช้การเรียงตามตัวอักษรเป็นหลัก
– การแบ่งห้องบริการต่างๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ยังคงยึดหลักตามการแบ่งหมวดหมู่
– หอสมุดแห่งชาติรวบรวมงานวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ มากมาย
– วิทยานิพนธ์และงานวิจัย ปี 2546-ปัจจุบันถูกจัดเก็บที่นี่ ส่วนที่เก่ากว่านั้นจะอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติลาดกระบัง
– การจัดหมวดหมู่ที่นี่ใช้แบบดิวอี้ และแถบสี เพื่อง่ายต่อการคัดแยกและจัดเก็บ

nlt5

Hilight ของการเยี่ยมชมครั้งนี้อยู่ที่ ชั้น 2 ในห้องอ่านหนังสือ
พอเข้ามาถึงก็ต้องประหลาดใจ เมื่อภาพหอสมุดแห่งชาติแต่เดิมของผมถูกลบออกจากสมอง

แต่เดิมที่ผมมาใช้ห้องสมุดในชั้นสองจะมีการแบ่งออกเป็นสองห้องโดยการกั้นกระจก
ในส่วนโถงกลางของชั้นสองคือบริเวณร้านถ่ายเอกสารที่คอยให้บริการผู้ใช้

แต่สิ่งใหม่ๆ ที่ผมเห็นคือ เคาน์เตอร์กลางที่อยู่ตรงหน้าผมที่จะคอยบริการทั้งสองห้อง
นอกจากนี้ยังมีการเล่นสีสันในห้องสมุดใหม่ เช่น สีเหลือง สีชมพู แบบว่าเอาใจวัยรุ่นมากๆ
จากการกั้นห้องทั้งสองแบบเดิม กลายเป็น การรวมกันของห้อง แล้วแยกเป็นโซนดี

nlt6

ด้านหลังเคาน์เตอร์กลางมีมุมหนังสือพิเศษมากๆๆๆๆๆๆๆ
นั่นคือ Window on Dynamic Korea
เรียกง่ายๆ ว่ามุมหนังสือเกาหลี….. ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
แบบว่ามีหนังสือภาษาเกาหลี หนังสือสอนภาษาเกาหลี หนังสือวัฒนธรรมและประเพณีเกาหลี ฯลฯ
นับว่าเป็นมุมที่สร้างสีสันอีกมุมหนึ่งให้ห้องสมุดเลยก็ว่าได้

nlt7

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาพลักษณ์ด้านสถานที่และบริการที่เปลี่ยนไป
หวังว่าคงพอที่จะดึงดูดคนมาเข้าอสมุดแห่งชาติได้บ้างนะครับ
การพัฒนาและปรับเปลี่ยนหอสมุดแห่งชาติยังคงต้องดำเนินการต่อไป
เพื่อการบริการและภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น

สำหรับเวลาเปิด-ปิดทำการของหอสมุดแห่งชาติ
เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 18.30
ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ เปิด 9.00 – 17.00
วันหยุดก็ตามวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดชดเชย และวันหยุดพิเศษอื่นๆ

ถ้าว่างๆ ก็ลองมาเที่ยวที่นี่กันดูนะครับ

ปล. หากมีเวลามากกว่านี้ผมคงจะสำรวจทุกซอกทุกมุมได้ทั่วเลยนะครับ
เอาเป็นว่าไว้โอกาสหน้าก็แล้วกันนะครับ

รวมภาพบรรยายกาศภายในหอสมุดแห่งชาติ

[nggallery id=5]

วันเปิดทำการหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี ถือว่า เป็นวันฉัตรมงคล
แต่หากเราย้อนกลับไปวันที่ 5 พฤษภาคม 2509
เราจะพบว่ามีเหตุการณ์อีกเหตุการณ์นึง นั่นคือ
การเปิดทำการ ของหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี นั่นเอง

nlt-begin

ในขณะนั้นหอสมุดแห่งชาติเป็นเพียงอาคารทรงไทย 5 ชั้น ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ 17 ไร่
แต่ตอนมาได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มเติมจนกลายเป็นหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน

Read more