6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

ช่วงนี้หลายๆ ห้องสมุดคงกำลังพิจารณาที่จะบอกรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eResources) เพื่อให้บริการห้องสมุดดิจิทัล หรือ ห้องสมุดออนไลน์ ซึ่งก็มีทั้งที่บอกรับแบบเป็นฐานข้อมูลหรือเป็นการบอกรับรายเล่ม…. (ราคาก็มีทั้งแพงลงมาจนถึงแบบฟรี)

วิธีการบอกรับ ผมคงไม่ลงรายละเอียดแล้วกันครับ เพราะอย่างที่บอกไปว่ามีหลากหลายแบบ
แต่สิ่งที่ผมสนใจ คือ เมื่อมีแล้วเราก็อยากให้มันถูกใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด (ถูกต้องมั้ยครับ) Read more

BiblioTech ห้องสมุดแห่งแรกที่ไม่มีหนังสือเลยสักเล่ม

มีคนเคยถามผมว่า “ในอนาคตอันใกล้นี้ห้องสมุดอาจจะไม่ต้องมีหนังสือสักเล่มในห้องสมุดก็ได้จริงหรือเปล่า” ซึ่งผมเองก็ตอบไปว่า “มันก็อาจจะเป็นไปได้แต่คงต้องใช้เวลานานหน่อย บางทีอาจไม่ทันในรุ่นของผมก็ได้ห้องสมุดดิจิตอลในหลายๆ ประเทศบางทีก็ยังคงต้องให้บริการหนังสือตัวเล่มอยู่บ้างเนื่องจากเรื่องลิขสิทธิ์ของหนังสือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน

มาวันนี้ได้อ่านข่าว “The First Bookless Public Library: Texas to Have BiblioTech” ของสำนักข่าว ABC News

ภาพการออกแบบแนวคิด (Conceptual Design) ของ Bibliotech

ทำเอาผมอึ้งไปชั่วครู่เลยก็ว่าได้ “มันเกิดขึ้นจริงๆ หรือนี่” “มันเป็นไปแล้วนะ” “มันกำลังจะเป็นจริง” คำอุทานของผม มันพูดออกมามากมายในสมองของผม

ห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จะไม่มีหนังสือเลยสักเล่ม ชื่อว่า “BiblioTech” ซึ่งตั้งอยู่ที่ Bexar County รัฐ Texas และที่สำคัญห้องสมุดแห่งแรกนี้จะเปิดในปี 2013 ด้วย

แรงบันดาลใจและแนวความคิดของการมีห้องสมุดแห่งนี้มาจากการอ่านหนังสือชีวประวัติของ Steve Jobs” ของท่านผู้พิพากษา Nelson Wolff

ภาพอาคารที่จะใช้ก่อสร้าง “BiblioTech”

แผนที่ตั้งของห้องสมุด

พื้นที่ทั้งหมดของห้องสมุดแห่งนี้ ประมาณ 4,989 ตารางฟุต เป็นห้องสมุดที่เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อดิจิตอลต่างๆ เช่น เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) คอมพิวเตอร์ หนังสือที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 10,000 ชื่อเรื่อง

การให้บริการยืมคืนหนังสือผ่านอุปกรณ์ E-reader ของผู้ใช้บริการก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่านี่แหละครับ ห้องสมุดแห่งปัจจุบันที่มีกลิ่นไอความเป็นอนาคต
เมืองไทยเองผมว่าถ้าอยากทำแบบนี้ต้องเริ่มศึกษาจากกรณีตัวอย่างให้มากกว่านี้
และนอกจากศึกษาแล้วต้องลองจัดทำต้นแบบกันดูบ้าง ไม่งั้นงานนี้เมืองไทยคงต้องบอกว่า “อีกนาน”

ข้อมูลอ้างอิงและภาพประกอบจาก
– http://abcnews.go.com/Technology/bookless-public-library-texas-home-bibliotech/story?id=18213091
– http://www.mysanantonio.com/news/local_news/article/Bexar-set-to-turn-the-page-on-idea-of-books-in-4184940.php#photo-4012897
– http://news.cnet.com/8301-1023_3-57563800-93/first-all-digital-library-in-the-u.s-will-look-like-an-apple-store/
– http://sourcefednews.com/the-first-library-without-any-books/

ห้องสมุดดิจิทัล คือ 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ

วันนี้เจอบทความดีๆ ที่มีเรื่องห้องสมุดอยู่ในนั้น ผมก็เลยขอเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังต่อนะครับ
บทความนี้มาจาก “10 Technologies That Will Transform Your Life” จากเว็บไซต์ http://www.livescience.com

10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ มีดังนี้
อันดับที่ 10 Digital Libraries (ห้องสมุดดิจิทัล)
อันดับที่ 9 Gene Therapy and/or Stem Cells (เซลล์ต้นกำเนิด)
อันดับที่ 8 Pervasive Wireless Internet (อินเทอร์ไร้สาย)
อันดับที่ 7 Mobile Robots (หุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมได้)
อันดับที่ 6 Cheaper Solar Cells (เครื่องเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)
อันดับที่ 5 Location-Based Computing (เทคโนโลยีการระบุพื้นที่)
อันดับที่ 4 Desktop 3-D Printing (การพิมพ์ภาพแบบสามมิติ)
อันดับที่ 3 Moore’s Law Upheld (กฎของมัวร์ในเรื่องประสิทธิภาพและขนาดของชิป)
อันดับที่ 2 Therapeutic Cloning (การโคลนนิ่ง)
อันดับที่ 1 The Hydrogen Economy (พลังงานน้ำ, พลังงานทดแทน)


เป็นยังไงกันบ้างครับ 1 ใน 10 ของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ คือห้องสมุดดิจิทัล (อันดับที่ 10)
นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของเราชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์เลยก็ว่าได้นะครับ

เมื่อเรารู้ว่าห้องสมุดดิจิทัลสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนแล้ว
พวกเราในฐานะคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์ขอสัญญาว่าจะพัฒนาวิชาชีพนี้ต่อไป
เพื่อให้ห้องสมุดตอบสนองการใช้ชีวิตของคนในสังคมต่อไป

Flowchart คำแนะนำเบื้องต้นในการเริ่มใช้ Ebooks

วันนี้เจอ Flowchart นึงน่าสนใจมาก เป็น Flowchart ที่แนะนำเบื้องต้นสำหรับคนอยากใช้ Ebooks
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ Ebooks มีอะไรบ้างและต้องคิดในเรื่องใดบ้าง ลองดูได้จาก Flowchart นี้

จากรูป Flowchart ผมขอสรุปคำแนะนำในการเริ่มต้นกับ Ebooks ดังนี้

1. เลือกอุปกรณ์ที่คุณจะใช้สำหรับอ่าน Ebooks ซึ่งมีให้เลือก ดังนี้
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX
– เครื่อง? Ipad
– เครื่อง? Nook
– โทรศัพท์ Iphone
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC
– เครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือ โทรศัพท์แบบอื่นๆ (เช่น Android phone)


2. เลือกโปรแกรมที่ใช้สำหรับการอ่าน Ebooks (ต้องเลือกตามอุปกรณ์ที่คุณจะใช้ในข้อที่ 1) เช่น

-? เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX ต้องใช้โปรแกรม Kindle เท่านั้น
– เครื่อง Ipad สามารถใช้โปรแกรมหลายตัวได้ เช่น iBooks, Calibre, Kindle app, Kobo app, B&N ereader, Goodreader ฯลฯ
– เครื่อง Nook ต้องใช้โปรแกรม B&N eReader เท่านั้น
– โทรศัพท์ Iphone สามารถใช้โปรแกรมได้หลายตัวเช่นเดียวกับ Ipad บางโปรแกรมใช้ตัวเดียวกันได้ บางโปรแกรมก็ใช้ได้แค่บน Iphone เช่น BookShelf, Stanza, Borders, Libris
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Adobe Digital Editions, Kobobooks, Mobipocket Reader, Stanza, Kindle for PC, Borders
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC ก็เช่นเดียวกัน มีโปรแกรมให้เลือกใช้เพียบ เช่น eReader, Calibre, Stanza Desktop, Adobe Digital Editions
– ส่วนเครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือโทรศัพท์อื่นๆ สามารถหาโปรแกรมดูได้ตามรุ่น


3. ไฟล์ของ Ebooks ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ (อันนี้ก็ต้องเลือกตามอุปกรณ์และโปรแกรมด้วย) เช่น

-? ไฟล์ที่ใช้กับ Kindle และ Kindle App คือ AZW
– ไฟล์ที่ใช้กับเครื่องอ่าน Ebook reader ต่างๆ คือ ePub หรือ ePub+DRM(มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้)
– ไฟล์ที่เป็นสากลของโปรแกรม Ebooks คือ PDF
– นอกนั้นจะเป็นไฟล์ที่อุปกรณ์จะเป็นตัวกำหนด เช่น PalmDOC, Mobipocket ฯลฯ ต้องเลือกให้ถูกตามเครื่องและโปรแกรมเอง


4. หาซื้อ Ebooks ได้ที่ไหน ไปดูตามอุปกรณ์กันเลยนะครับ เช่น

– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> Amazon.com
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/ebooks/index.asp
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

5. หากต้องการความช่วยเหลือในการใช้ Ebooks จะหาคำตอบได้จากไหน
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> http://www.amazon.com/gp/help/customer/display.html?nodeId=200127470
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/nook/support/?cds2Pid=30195
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปของ Flowchart ที่ผมนำมาลงให้เพื่อนๆ ดู
โลกของ Ebooks ยังไม่สิ้นสุดแค่ใน Flowchart ที่นำมาลงนะครับ
ความเป็นจริงแล้วยังมีอีกมากมาย ซึ่งต้องศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

เอาเป็นว่าสำหรับการเริ่มต้นเรื่อง Ebooks ผมว่า Flowchart นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเหมือนกัน
เพื่อนๆ หล่ะครับคิดยังไงกับการใช้ Ebooks และพร้อมที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่อง Ebooks กันหรือยัง

ที่มาของภาพนี้มาจาก http://bookbee.net/bee-ginners-guide-2/

(ผมเข้ามาอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมแล้วนะครับ)

งานประชุมวิชาการ “ห้องสมุดดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต” (แก้ไข)

ช่วงนี้กระแสของห้องสมุดดิจิตอลกำลังมาแรง และถูกไถ่ถามหนาหูขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลทำได้สะดวกขึ้น
วันนี้ผมจึงขอแนะนำงานประชุมวิชาการงานหนึ่งที่น่าสนใจ และพูดถึงทิศทางของห้องสมุดดิจิตอล

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่อการประชุมวิชาการ : ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
จัดวันที่ : 5 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ชื่องานนี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกันนะครับ ประมาณว่าให้ข้อมูลปัจจุบันและทิศทางในอนาคต
แต่ประเด็นที่ผมจับตาดูอยู่คือ เป็นงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งแน่นอนครับว่ามีศักยภาพในการจัดทำและพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิตอล

เอาเป็นว่าไปดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ก่อนดีกว่าครับ

– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
– IT สำหรับห้องสมุดระบบดิจิตอล
– มาตรฐานการแปลงภาพเป็นดิจิตอล
– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจดีครับ แต่การเข้าฟังต้องมีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
คือถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดก็ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็ 350 บาท
ซึ่งผมว่าก็คุ้มค่าในการเข้าฟังนะครับ ยังไงก็สมัครเข้าไปฟังกันดู

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูที่เอกสารที่นี่เลยครับ “เอกสารประชาสัมพันธ์งานนี้

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วว่าด้วยเรื่องห้องสมุดดิจิทัล

หลายคำถามที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัลที่หลายๆ คนอยากรู้
วันนี้ผมจึงถึงโอกาสนำประวัติศาสตร์ของห้องสมุดดิจิทัลมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังสักหน่อยดีกว่า

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2448 แวนเนวอร์ บุช (Vannevar Bush) ริเริ่มแนวความคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิลม์ โดยเรียกว่า ?เมมเมคซ์ (Memex)? ที่ช่วยดูข้อมูลได้จากศูนย์รวมข้อมูล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เจซีอาร์ ลิคไลเดอร์ (JCR Licklider) อดีตผู้อำนวยการอาร์ปา (พ.ศ. 2505-2506) ได้เขียนแนวความคิดเรื่อง ?ห้องสมุดแห่งอนาคต? ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดแนวความคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับ ?ห้องสมุดดิจิทัล?

และหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2513 เทด เนลสัน (Ted Nelson) ได้พัฒนาเมมเมคซ์เป็น ?ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)? ซึ่งหมายถึง เครือข่ายข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ รูปภาพและเสียง ที่สามารถเรียกดูได้จากคอมพิวเตอร์

แล้วปี พ.ศ. 2537 คาเรน ดราเบนสทูตท์ (Karen Drabenstoott) ให้คำจำกัดความว่า? ต้องใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลห้องสมุดดิจิทัลหลายห้องสมุดเชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้เข้าใช้จากจุดใดก็ได้ สารสนเทศอยู่ในรูปแบบดิจิทัล

ในปี พ.ศ. 2538 ดับบริว ซาฟฟาดี (W. Saffady) ระบุในบทความชื่อ ?หลักการห้องสมุดดิจิทัล? ว่าเป็นห้องสมุดที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลให้สามารถดูได้โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ

หลังจากนั้น 1 ปี พ.ศ. 2539 ซี แอล บอร์กแมน (C L Borgman) ให้คำจำกัดความในหนังสือชื่อ ?การเข้าถึงสารสนเทศ ห้องสมุดดิจิทัล? ว่าคือแหล่งสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ค้นหา และใช้สารสนเทศ เป็นแหล่งเก็บและค้นคว้าข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

1 ปีให้หลัง พ.ศ. 2540 ริชาร์ด แอทคินสัน (Richard Atkinson) อธิการบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ตั้งห้องสมุดดิจิทัลเป็น ?ห้องสมุดไร้กำแพง (Library Without Walls)? เชื่อมโยงห้องสมุด 10 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มีบริการห้องสมุดครบถ้วนทุกประการ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ นับตั้งแต่มีแนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิล์ม จนถึงวันนี้ 105 ปี แล้วนะครับ
ผมเองตกใจมาก และไม่คิดว่าห้องสมุดดิจิทัลจะเกิดมานานขนาดนี้
และผมเชื่อว่าวงการห้องสมุดของเรายังต้องพัฒนาต่อไปอีก ในอนาคตเป็นแน่

ที่มาของข้อมูล เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง ?บริการห้องสมุดสุดขอบฟ้า? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย? ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี? ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลา 8.30-10.45 น.

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

True Corp. กำลังต้องการคนมาช่วยทำ Digital Library

วันนี้มีงานมาแนะนำอีกแล้วครับ ซึ่งงานในวันนี้ที่จะแนะนำขอบอกว่าน่าสนใจมากๆ ครับ
ซึ่งทางฝ่าย HR ของ TRUE ได้ส่งมาให้ผมช่วยลงประชาสัมพันธ์ เอาเป็นว่าลองอ่านข้อมูลก่อนนะครับ

truecorp

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้ (ขอ Copy จาก Mail มาเลยดีกว่า)

“บริษัท True กำลังต้องการหาคนมาช่วยทำ Digital Library โดยมีรายละเอียดของตำแหน่งงานตามนี้
หลักๆ ก็คือ งานบริการให้แก่ลูกค้าของ ทรู ที่จะเข้าไปใช้บริการในส่วนของ Digital Content ที่ร้านใหม่ของเราซึ่งอยู่ในย่านสยามแสควร์”

เอาเป็นว่าแค่อ่านรายละเอียดของเมล์นี้แล้ว ผมรู้สึกสนใจเกี่ยวกับ project นี้มากๆ
แถมชื่อตำแหน่งก็ดูน่าสนใจและดึงดูดชวนให้อยากทำงานเลยก็ว่าได้

เราลองไปดูคุณสมบัติและภาระงานของตำแหน่งนี้กันก่อนดีกว่า

ชื่อตำแหน่ง : True Digital Library Specialist

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้? :
– Masters in any fields
– Knowledge of and/or experience with all aspects of digital content including acquisitions, cataloging and metadata control, collection management, document-delivery, electronic resources and reference.
– A strong focus in digital content is required as is a keen interest and desire to work with the often dynamic and changing special digital library environment.
– Experience with national and international music, web design and programming.
– Teamwork and leadership capabilities are required, along with strong interpersonal and communication skills.
– Must have the ability to take initiative and to be self directed and motivated.
– Able to demonstrate their project management, analytical, and problem solving skills, with an aptitude for complex and detailed work.
– Strong service orientation to customers and to co-workers is a must.

ภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ : Primary tasks
1. Provide expertise and leadership in the creation and maintenance of metadata for digital content acquired by True.
2. Help to develop, refine, and implement policies, procedures, workflows, and metadata standards for the True Digital Library; manage digitization projects; and participate in the overall management.
3. Provide descriptive, technical, and structural metadata for digital content.
4. Evaluate and maintain quality control of Digital Content operations.
5. Maintain documentation on Digital Content best practices.
6. Analyze metadata needs and provide estimated metadata costs and timeline for proposed projects.
7. Design, implement, and manage project workflows.
8. Collaborate with other Institution and Libraries staff in selection of digital projects and content.
9. Promote and report on Digital Content local, regional, and national communities.
10. Attracts potential customers by answering product and service questions; suggesting information about other products and services.
11. Recommends potential products or services to management by collecting customer information and analyzing customer needs.
12. Opens customer accounts by recording account information. Maintains customer records by updating account information.
13. Contributes to team effort by accomplishing related results as needed.

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาระงานในตำแหน่งนี้
หลักๆ ก็คือดูแล Digital Content ต่างๆ ของ True เช่น Music Movie ฯลฯ
โดยการจัดระบบของสื่อต่างๆ เหล่านี้ก็คงต้องใช้ Meta Data เข้ามาควบคุมในเรื่องการจัดระบบ
รวมไปถึงงานวางระบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดทำ จัดหา และพัฒนา Digital Content ด้วย

เอาเป็นว่านี่อาจจะเป็นโมเดลใหม่ของการจัดการระบบห้องสมุดดิจิตอลเลยก็ว่าได้ครับ

หากเพื่อนๆ สนใจงานตำแหน่งนี้ ให้ส่ง resume ไปที่ chitsana_wan@truecorp.co.th ได้เลยนะครับ
แล้วก็แจ้งว่ารู้ข่าวจาก Libraryhub นะครับ

ขอบให้เพื่อนๆ โชคดีกันนะครับ

ปล. แอบเสียดายนะครับ อยากสมัครด้วยแต่ผมยังมีงานที่ต้องทำให้เสร็จก่อน
เอาไว้จบโครงการนี้แล้วเดี๋ยวผมจะไปสมัครด้วยคนนะ อิอิ

สรุปสไลด์การบริหารจัดการห้องสมุดดิจิตอล

วันนี้ว่างๆ ไม่มีอะไรทำเลยขอขุดสไลด์เก่าๆ มานั่งอ่านและทำความเข้าใจ
ซึ่งจริงๆ แล้วสไลด์เหล่านี้ก็มีความรู้ดีๆ และแง่คิดดีๆ แฝงไว้เยอะมาก

สไลด์ที่ผมอ่าน มีชื่อเรื่องว่า ?นโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการจัดการห้องสมุดดิจิตอล?
ซึ่งเป็นสไลด์ของรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ครับ

slide-digital-library

โดยเนื้อหาในสไลด์ได้มีการพูดถึงเรื่องแนวโน้มของสังคมที่เปลี่ยนจาก
ยุคอุตสาหกรรมไปเป็นยุคสารสนเทศว่ามีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น
ในยุคของอุตสาหกรรมมีการใช้ข้อมูลแบบตัวใครตัวมัน
ส่วนในยุคสารสนเทศจะเน้นการใช้ข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล

ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ในยุคสารสนเทศจะทำให้เกิดกฎระเบียบใหม่ / พฤติกรรมใหม่ / รูปแบบความสัมพันธ์แบบใหม่
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้ครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นมานะครับ
คลื่นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ บทบาทของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นที่เชื่อมโยงและเป็นชุมชนความรู้ขนาดใหญ่

จากสิ่งที่ได้กล่าวมาทำให้มีการออกแบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่ๆ
ทำให้เกิด ห้องสมุดเสมือนจริง, ห้องสมุดดิจิตอล และอื่นๆ
อาจารย์ยืน ยังได้ให้นิยามของห้องสมุดเสมือนจริงว่า

1. ห้องสมุดจะให้บริการได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา
2. การให้บริการสื่อดิจิตอลจะเพิ่มมากขึ้น
3. ข้อมูล สารสนเทศ และควารู้จะมีความหลากหลายและอยู่บนเครือข่าย
4. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริการ
5. การบริการเสมือนจริงโดยการนำเว็บ 2.0 เข้ามาใช้เพื่อพัฒนางานต่างๆ
6. มีการสร้างความร่วมมือเพื่อแบ่งปันข้อมูลและสร้างสังคมความรู้

หลังจากนั้นอาจารย์ยืนได้กล่าวถึงเทคโนโลยีของเว็บ 2.0
และได้ยกคำพูของ Bill Gates ที่พูดว่า ?อนาคตการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทำได้จากทุกที่?

——————————————————————————–

สรุปอีกทีนะครับ(ความคิดของผม)
ดูจากนิยามแล้วมันคล้ายๆ กับ นิยามของ Library 2.0 นะครับ
เช่นเอาเว็บ 2.0 มาประยุกต์ใช้และอีกอย่างจุดประสงค์ผมว่ามันก็คล้ายๆ กัน
คือ ?ทำอย่างไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด?
อีกเรื่องที่ผมชอบคือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นเราควรจะเริ่มจากสังคมวิชาชีพของตัวเองให้มั่นคงก่อน แล้วค่อยๆ สร้างสังคมอื่นๆ ต่อไป?

สำหรับสไลด์ชุดนี้โหลดได้ที่ http://tla.or.th/004.ppt

สรุปงาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”

ผมขอนำบทสรุปจากงานสัมนนา “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
มาให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ เผื่อว่าอาจจะเกิดไอเดียดีๆ ขึ้นบ้าง

picture-001

งาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
จัดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้า

บทสรุปของงานมีดังนี้

การบรรยาย เรื่อง จาก Web 2.0 สู่ Library 2.0 เพื่อชุมชนนักสารสนเทศและผู้ใช้บริการ
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

picture-013

เกริ่นนำ
– เมื่อผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น บรรณารักษ์จึงจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจทางเลือกเหล่านั้น
– web2.0 คือแนวความคิดใหม่สำหรับ www ที่จะให้ผู้ใช้สามารถเขียน เปลี่ยนแปลง เผยแพร่ เนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้
– หลักการแห่ง web2.0 แบ่งออกเป็น conversation, community, participation, experience, sharing

โลกเปลี่ยนไปแล้วจริงหรือ?
– ในปี 2007 มีคนสืบค้นด้วย google เฉลี่ยเดือนละ 27 ร้อยล้านครั้ง ในประเทศไทยมีการใช้ google เพื่อสืบค้นถึง 96.88% แล้วก่อนหน้านี้หล่ะใช้เครื่องมืออะไรในการค้น
– การส่ง SMS ทั่วโลกมีจำนวนมากกว่าประชากรบนโลกรวมกัน
– ปัจจุบันมีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษจำนวน 540,000 คำ แต่ในสมัย Shakespeare มีคำศัพท์เพียงแค่ 1 ใน 5 ของจำนวนนั้น
– ใน 1 วันมีหนังสือออกใหม่จำนวน 3,000 เล่มต่อวัน
– หนังสือพิมพ์ newyork times 1 สัปดาห์มารวมกัน จะได้คลังความรู้ที่มากกว่าความรู้ของคนในยุคที่ 18 ตั้งแต่เรียนจนตาย
– ความรู้และข่าวสารจะมีการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทุก 2 ปี ดังนั้น คนที่เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อเรียนปี 2 ขึ้น ปี 3 ความรู้ที่เรียนมาก็จะเริ่มไม่ทันสมัย
– การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเมื่อ 40 ปีก่อนใช้โทรเลข เมื่อ20 ปีก่อนใช้โทรเลข,โทรศัพท์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วใช้อีเมล์ แล้วทุกวันนี้หล่ะ????
– สำรวจคนอเมริกาแต่งงาน 8 คู่จะต้องมี 1 คู่ที่เจอกันด้วยระบบ online
ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโลกเปลี่ยนไป?

ห้องสมุดในฝัน (ตามความคิดของดร.ทวีศักดิ์)
– เปิดบริการตลอดเวลา
– สะอาด เรียบร้อย
– หาหนังสือง่าย
– เงียบ บรรยากาศดี
– เดินทางสะดวก
– ใช้บริการจากที่บ้านหรือที่ทำงานได้
– google+website = ห้องสมุดแห่งโลก

ห้องสมุดไทยในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ประเภทของห้องสมุด (เฉพาะ ประชาชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย)
– การลงทุนสำหรับห้องสมุด – จำนวนหนังสือ จำนวนผู้ใช้
– การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในห้องสมุด ต้องคำนึงเรื่องงบประมาณ การใช้ประโยชน์ ปรับแต่งได้แค่ไหน
– บางที่ซื้อระบบมาแล้ว แต่ไม่สามารถจัดการระบบได้เพราะขาดบุคลากร
– ระบบบริหารจัดการในห้องสมุดมีความเหมาะสมแค่ไหน
– ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
– ห้องสมุดบางที่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ห้องสมุด 2.x คืออะไร
– ห้องสมุด2.0 = (ทรัพยากรสารสนเทศ+คน+ความไว้วางใจ) * การมีส่วนร่วม
– ก่อนเริ่ม ห้องสมุด2.0 ห้องสมุดต้องปรับรูปแบบให้มีลักษณะที่เป็น e-library ก่อน
– จะก้าวไปสู่ห้องสมุด 2.x => รักการเรียนรู้, รักการแบ่งปัน, มีใจสร้างสรรค์, รักการพัฒนา, รักในงานบริการ
– รักการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากเพื่อนๆ ในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อนำมาศึกษาและเปรียบเทียบกับงานของเรา
– การเลือกโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ในวงการห้องสมุด เช่น koha, phpmylibrary, openbiblio ?
– รักการแบ่งปัน และมีใจสร้างสรรค์ เครื่องมือที่น่าสนใจในการแบ่งปันคือ wiki Blog

บทสรุปของการก้าวสู่ห้องสมุด 2.x
– เปิดใจให้กับการเปลี่ยนแปลง
– เลือกใช้เทคโนโลยีให้เป็น
– สร้างชุมชนห้องสมุด เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้บริการ

????????????????????????????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค web 2.0
โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

image22

เกริ่นนำ
– Chris Anderson บก. Wired Magazine เป็นผู้เขียนทฤษฎี long tail คนแรก
– การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ไกลจากเขา แต่การเขียนบล็อกผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเขา
– long tail เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด คือ สินค้าที่ได้รับความนิยม (hits) มักเป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สินค้าที่มีคนรู้จักน้อยก็ยังมีอยู่อีกมาก และถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มารวมกันก็จะเห็นว่ายังมีสินค้าอีกมากมาย
– สินค้าที่มีความนิยมมีจำนวน 20% แต่สินค้าที่ไม่นิยมหากนำมารวมกันก็จะได้ถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาวิธีที่จะนำสินค้าที่ไม่นิยมออกมาแสดงให้คนอื่นๆ ได้เห็น

ตัวอย่างของ Long tail
– Netflix, Amazon จำหน่ายสินค้าแบบ Physical Goods แต่นำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Netflix, Amazon ใช้ concept ที่ว่า ?Customers who bought this also bought that??
– Itune, Rhapsody จำหน่ายสินค้าแบบ Digital Goods และนำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Itune, Rhapsody ใช้ concept ที่ว่า ?When you lower prices, people tend to buy more?

ทฤษฎี Long tail กับงานห้องสมุด
– Tom Storey เคยสัมภาษณ์ Chris Anderson ลงในจดหมายข่าวของ OCLC
– Lorcan Dempsey ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Long tail ในหนังสือ D-Lib Magazine
– Paul Genoni เขียนเรื่อง Long tail ที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
– Lori Bowen Ayre เน้นเรื่อง Log tai ไปในแนวว่า Library Delivery 2.0

กฎของ Ranganathan นักคณิตศาสตร์ และบรรณารักษ์อาวุโส (บิดาของวงการห้องสมุด)
– Books are for use
– Every reader has his or her book
– Every book has its reader
– Save the time of the reader
– The library is a growing organism

????????????????????????????????????????????????

Workshop เรื่อง โปรแกรมสำเร็จรูป WordPress : โดนใจผู้ใช้ได้ดั่งใจบรรณารักษ์
โดยคุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ศุนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

image04

– แนะนำ wordpress.com และ wordpress.org
– วิธีการใช้งาน wordpress.org
– วิธีการสมัคร wordpress.com
– แนะนำเมนูต่างๆ ใน wordpress.com
– การเขียนเรื่องใน wordpress.com
– การปรับแต่งรูปแบบใน wordpress.com

????????????????????????

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้ไอเดียกันเยอะหรือปล่าว
เอาเป็นว่าถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองถามผมได้นะครับ
ผมยินดีจะตอบเพื่อช่วยให้วงการบรรณารักษ์ของเราพัฒนา

เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone

วันนี้มีโอกาสได้เดินเข้าไปในร้านหนังสือของ B2S ที่เซ็นทรัลเวิลด์
เดินๆ อยู่ตาของผมก็ไปหยุดอยู่กับหนังสือเล่มนึง
หนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่องคุ้นๆ มาก และเข้ากับวงการห้องสมุด
ผมจึงต้องขอเอามาเขียนแนะนำสักหน่อยดีกว่า

greenstone

หนังสือที่ผมจะแนะนำวันนี้เป็นหนังสือที่แนะนำการใช้โปรแกรม “Greenstone”

ข้อมูลหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone
ผู้เขียน : สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์, บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
ISBN : 9789745988125
ราคา : 200 บาท


โปรแกรม “Greenstone”
คือ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างคลังสื่อดิจิทัล หรือ ห้องสมุดดิจิทัล นั่นเอง
หนังสือเล่มนี้อาจจะจัดได้ว่าเป็น หนังสือที่เกี่ยวกับ Opensource ของห้องสมุดเล่มแรก (หรือปล่าว) ในเมืองไทย

เราลองไปดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้กันดีกว่า
– ห้องสมุดดิจิทัล Greenstone
– การติดตั้ง Greenstone
– สำรวจ Greenstone Digital Library
– Greenstone Librarian Interface ผู้ช่วยสำหรับบรรณารักษ์
– หลักการออกแบบพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล
– เริ่มสร้างคลังสื่อดิจิทัล
– เพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นเอกสาร
– รู้จักกับเมทาดาทา
– ดับลินคอร์เมทาดาทา
– Collection เอกสาร HTML
ฯลฯ

พอได้ดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็ขอแยะประเด็นหลักๆ ของหนังสือเล่มนี้ออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
1. เกี่ยวกับโปรแกรม Greenstone : แนะนำการติดตั้ง และการใช้งาน
2. เกี่ยวกับหลักการทั่วไปของห้องสมุดดิจิทัล
3. เกี่ยวกับข้อมูล เมทาดาทา (Meta data)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับหนังสือเล่มนี้ ผมว่าค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับห้องสมุดหลายๆ ที่เลยนะครับ
นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่อยากสร้างห้องสมุดดิจิทัลเองอีกด้วย

อย่างกรณีผมเอง ผมก็อยากสร้างคลังเอกสารดิจิทัลของผมเองเหมือนกัน
ข้อมูลต่างๆ ไฟล์งานต่างๆ ที่ผมเก็บไว้ตั้งแต่ตอนเรียน
ผมก็อยากนำออกมาเสนอให้เพื่อนๆ ได้ดู ได้อ่านเหมือนกัน

สงสัยผมต้องซื้อหนังสือเล่มนี้ก่อนนะครับ แล้วทำความรู้จักกับโปรแกรมนี้มากๆ
แล้วถึงตอนนั้นอาจจะมีห้องสมุดดิจิทัล Libraryhub ก็ได้นะ อิอิ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ ลองเข้าไปดูที่
http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9789745988125&AspxAutoDetectCookieSupport=1