รีวิวหนังสือ “ไอเดียนวัตกรรมในห้องสมุดประชาชนสุดเจ๋ง”

รีวิวหนังสือ “ไอเดียนวัตกรรมในห้องสมุดประชาชนสุดเจ๋ง”

นานๆ ทีจะมีเวลามานั่งอ่านและรีวิวหนังสือ วันนี้ขอเลือกหนังสือเรื่อง “Innovation in Public Libraries” หรือ “นวัตกรรมในห้องสมุดประชาชน” (คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องเบาๆ นะครับ) และบรรณารักษ์น่าจะหยิบแนวคิดไปใช้ได้บ้าง

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Innovation in Public Libraries: Learning from International Library Practice
ผู้แต่ง : Kirstie Nicholson
ISBN : 9780081012765
ปีพิมพ์ : 2017
จำนวนหน้า : 158 หน้า

Read more
3 ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุด แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่น่าสนใจ

3 ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุด แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่น่าสนใจ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการรวมกลุ่มบรรณารักษ์และคนทำงานห้องสมุดเป็นสมาคม หรือที่หลายๆ คนจะรู้จักในนาม ALA และภายในสมาคมใหญ่ก็มีการแบ่งสายตามความสนใจอย่างชัดเจน ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกลุ่มๆ หนึ่ง นั่นคือ Library and Information Technology Association หรือย่อว่า LITA ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับใช้กับวงการห้องสมุด อีกทั้งสายงานนี้จะทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติจากทั่วโลกด้วย

ในงานประชุม ALA เมื่อต้นปี 2019 ได้มี session หนึ่ง รวมผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุดจำนวน 3 ท่านมาพูดในงานนี้ ซึ่งได้กล่าวถึง Application, อุปกรณ์, ซอฟท์แวร์ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยีที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้ได้

Read more
สรุปความรู้ที่ได้จากการไปฟังสัมมนางาน “เทคโนโลยีห้องสมุดดิจิทัล 4.0”

สรุปความรู้ที่ได้จากการไปฟังสัมมนางาน “เทคโนโลยีห้องสมุดดิจิทัล 4.0”

ไม่ได้เขียนบล็อกมานานมาก วันนี้จึงขอเล่าเรื่องราวที่ได้ไปบรรยายและฟังวิทยากรคนอื่นบรรยายมาให้เพื่อนๆ อ่าน

โครงการสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมห้องสมุดดิจิทัล 4.0
ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-Library)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วันที่ 25 มกราคม 2561

ทั้งนี้ในส่วนสไลด์ของผมที่บรรยาย ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่

อ่านสรุปเรื่องราวได้เลยครับ

Read more

แนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries

แนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries

วันนี้มีโอกาสได้อ่านเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับห้องสมุดมากเป็นพิเศษ
(เพราะต้องเตรียมบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงเดือนธันวาคมนี้)
เว็บไซต์หนึ่งที่น่าสนใจและผมอ่านประจำ คือ http://www.techsoupforlibraries.org/

5-library-technology-topics-from-techsoup-for-libraries

ซึ่งหัวข้อที่ผมขอหยิบมาเขียนและเล่า คือ Your Top 5 Library Technology Topics โดย Ariel Gilbert-Knight
เขาพูดถึง Topic ที่น่าสนใจของรายการ Webinar ใน TechSoup for Libraries 5 เรื่องที่ต้องตามดู
ซึ่งหากใครสนใจผมขอนำ link วีดีโอทั้ง 5 ลงไว้ให้ตามดูด้วยนะครับ

Read more

6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

ช่วงนี้หลายๆ ห้องสมุดคงกำลังพิจารณาที่จะบอกรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eResources) เพื่อให้บริการห้องสมุดดิจิทัล หรือ ห้องสมุดออนไลน์ ซึ่งก็มีทั้งที่บอกรับแบบเป็นฐานข้อมูลหรือเป็นการบอกรับรายเล่ม…. (ราคาก็มีทั้งแพงลงมาจนถึงแบบฟรี)

วิธีการบอกรับ ผมคงไม่ลงรายละเอียดแล้วกันครับ เพราะอย่างที่บอกไปว่ามีหลากหลายแบบ
แต่สิ่งที่ผมสนใจ คือ เมื่อมีแล้วเราก็อยากให้มันถูกใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด (ถูกต้องมั้ยครับ) Read more

ผลสำรวจ : ผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการทั้งหนังสือและเทคโนโลยี

วันนี้ผมขอนำเสนอรายงานฉบับนึงที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้บริการในห้องสมุด รายงานฉบับนี้จัดทำโดย Pew Research Center ซึ่งชี้ให้เห็นว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยีแบบฟรีมีความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุด พอๆ กับหนังสือแบบฉบับพิมพ์และบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

Library Services in the Digital Age

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “Library Services in the Digital Age” ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://libraries.pewinternet.org/files/legacy-pdf/PIP_Library%20services_Report.pdf

การสำรวจข้อมูลเริ่มต้นในช่วงวันที่ 15 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2555 สำรวจผ่านโทรศัพท์มือถือ
และผู้ที่ให้ทุนในการสำรวจข้อมูลครั้งนี้ คือ มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation)

สรุปข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลผู้ใช้บริการเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีกับห้องสมุด
1. ผู้ใช้บริการใช้บริการอะไรบ้าง…

– บริการตอบคำถามจากบรรณารักษ์ออนไลน์
– เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในห้องสมุด
– ลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ
– เมื่อต้องการเดินทางมาห้องสมุดจะใช้ GPS นำทางมาได้
– ใช้บริการเครื่องยืมคืนหนังสือ / เครื่องเช่าหนังสืออัตโนมัติ ตามจุดที่ให้บริการต่างๆ ในชุมชน
– อ่าน review หนังสือ และดูหนังสือแนะนำที่เหมาะกับตัวเอง (Amazon)

2. ผู้ที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (53%) ไปห้องสมุดหรือเข้าเว็บไซต์ห้องสมุดหรือใช้ app ห้องสมุดเพื่อ…

– 73% ค้นหาข้อมูลหนังสือและสื่อ
– 73% ยืมหนังสือฉบับพิมพ์
– 54% ค้นหาข้อมูลงานวิจัยหรือค้นหาข้อมูลในเรื่องที่ตนเองสนใจ
– 50% ขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์
– 49% นั่ง อ่าน และเรียนในห้องสมุด
– 46% ใช้ฐานข้อมูลงานวิจัย
– 41% เข้าร่วมหรือพาเด็กๆ มาร่วมกิจกรรม การอบรม และงานอีเวนท์
– 40% ยืม DVD ภาพยนตร์
– 31% อ่านและยืมนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์
– 23% มาประชุมกลุ่ม
– 21% เข้าร่วมกิจกรรมผู้ใหญ่
– 17% ยืมหรือดาวน์โหลดหนังสือเสียง
– 16% ยืม CD เพลง

จากข้อมูลรายงานฉบับนี้ทำให้เราได้เห็นว่าความสำคัญของห้องสมุดที่เป็นสถานที่ และการเข้าถึงห้องสมุดจากภายนอกด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้นหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานเพื่อการพัฒนาห้องสมุดในปีต่อไปได้นะครับ

ยังไงก็อย่าลืมไปดาวน์โหลดมาอ่านกันนะ

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “Library Services in the Digital Age” ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://libraries.pewinternet.org/files/legacy-pdf/PIP_Library%20services_Report.pdf

BiblioTech ห้องสมุดแห่งแรกที่ไม่มีหนังสือเลยสักเล่ม

มีคนเคยถามผมว่า “ในอนาคตอันใกล้นี้ห้องสมุดอาจจะไม่ต้องมีหนังสือสักเล่มในห้องสมุดก็ได้จริงหรือเปล่า” ซึ่งผมเองก็ตอบไปว่า “มันก็อาจจะเป็นไปได้แต่คงต้องใช้เวลานานหน่อย บางทีอาจไม่ทันในรุ่นของผมก็ได้ห้องสมุดดิจิตอลในหลายๆ ประเทศบางทีก็ยังคงต้องให้บริการหนังสือตัวเล่มอยู่บ้างเนื่องจากเรื่องลิขสิทธิ์ของหนังสือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน

มาวันนี้ได้อ่านข่าว “The First Bookless Public Library: Texas to Have BiblioTech” ของสำนักข่าว ABC News

ภาพการออกแบบแนวคิด (Conceptual Design) ของ Bibliotech

ทำเอาผมอึ้งไปชั่วครู่เลยก็ว่าได้ “มันเกิดขึ้นจริงๆ หรือนี่” “มันเป็นไปแล้วนะ” “มันกำลังจะเป็นจริง” คำอุทานของผม มันพูดออกมามากมายในสมองของผม

ห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จะไม่มีหนังสือเลยสักเล่ม ชื่อว่า “BiblioTech” ซึ่งตั้งอยู่ที่ Bexar County รัฐ Texas และที่สำคัญห้องสมุดแห่งแรกนี้จะเปิดในปี 2013 ด้วย

แรงบันดาลใจและแนวความคิดของการมีห้องสมุดแห่งนี้มาจากการอ่านหนังสือชีวประวัติของ Steve Jobs” ของท่านผู้พิพากษา Nelson Wolff

ภาพอาคารที่จะใช้ก่อสร้าง “BiblioTech”

แผนที่ตั้งของห้องสมุด

พื้นที่ทั้งหมดของห้องสมุดแห่งนี้ ประมาณ 4,989 ตารางฟุต เป็นห้องสมุดที่เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อดิจิตอลต่างๆ เช่น เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) คอมพิวเตอร์ หนังสือที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 10,000 ชื่อเรื่อง

การให้บริการยืมคืนหนังสือผ่านอุปกรณ์ E-reader ของผู้ใช้บริการก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่านี่แหละครับ ห้องสมุดแห่งปัจจุบันที่มีกลิ่นไอความเป็นอนาคต
เมืองไทยเองผมว่าถ้าอยากทำแบบนี้ต้องเริ่มศึกษาจากกรณีตัวอย่างให้มากกว่านี้
และนอกจากศึกษาแล้วต้องลองจัดทำต้นแบบกันดูบ้าง ไม่งั้นงานนี้เมืองไทยคงต้องบอกว่า “อีกนาน”

ข้อมูลอ้างอิงและภาพประกอบจาก
– http://abcnews.go.com/Technology/bookless-public-library-texas-home-bibliotech/story?id=18213091
– http://www.mysanantonio.com/news/local_news/article/Bexar-set-to-turn-the-page-on-idea-of-books-in-4184940.php#photo-4012897
– http://news.cnet.com/8301-1023_3-57563800-93/first-all-digital-library-in-the-u.s-will-look-like-an-apple-store/
– http://sourcefednews.com/the-first-library-without-any-books/

กรณีศึกษา : การพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีน

จากวันก่อนที่ผมพูดถึงหนังสือเรื่อง “Digital Library Futures” ผมรู้สึกสนใจเกี่ยวกับบทความที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มากมาย วันนี้ผมขอยกตัวอย่างมาสักบทหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องกรณีศึกษาความสำเร็จของการดำเนินการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลของประเทศจีน

ชื่อบทความต้นฉบับ : To make a better digital library – some collaborative efforts in China
แปลเป็นภาษาไทย : การทำให้ห้องสมุดดิจิทัลดีขึ้น : ความพยายามในการสร้างความร่วมมือในประเทศจีน

ผมขอเก็บประเด็นต่างๆ จากบทความนี้มาเล่าให้ฟังนิดหน่อยแล้วกันครับ

เริ่มจากเรื่องของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลระดับประเทศของจีน ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยงานระดับสูงของจีนก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญมานานพอสมควรแล้วโดยจัดตั้งหน่วยงานต้นแบบและพัฒนามาจนถึงห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีนเลยทีเดียว

ประวัติความเป็นมาแบบย่อๆ มีดังนี้
– 1997 เริ่มจัดตั้งโครงการห้องสมุดดิจิทัลจีนต้นแบบขึ้น
– 1998 มีการจัดตั้ง CALIS (China Academic Library & Information System)
– 1999 มีการจัดตั้ง NSDL (National Science Digital Library)
– 2000 มีการจัดตั้ง NSTL (National Science and Technology Library)
– 2001 มีการจัดตั้งห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีน (National Digital Library of China)

หลังจากที่มีการจัดตั้งห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีนขึ้นมาแล้ว ทางการจีนก็ได้ทำความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริการในการจัดทำโครงการห้องสมุดดิจิทัลร่วมกันด้วย หรือที่เรียกว่า โครงการ CADAL (China-US Million Book Digital Library project)

ในช่วงเริ่มต้นของโครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล ก็ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาเช่นกัน โดยหลักๆ แล้ว จะเป็นเรื่องของการทำ Digitisation ซึ่งข้อมูลบางอย่างมีความซ้ำซ้อนกันจนทำให้เกิดปัญหา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของลิขสิทธิ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีก

สิ่งที่ต้องคิดเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในคลังข้อมูลของห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ นั่นคือ “มาตรฐานข้อมูล” ทางการจีนจึงได้รวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อการพัฒนาโครงสร้างข้อมูลและชุดข้อมูลกลางขึ้น แล้วจัดตั้งเป็นคณะกรรมการกลางซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานดังนี้
– NLC (National Library of China)
– NCIRSP (National Cutural Information Resources Sharing Project)
– CALIS (China Academic Library & Information System)
– Shanghai Library
– NSL (National Science Library)
– Library of Party School of the Central Committee of C.P.C
– Library of National Defense University
– Zhejiang University Library

การประชุมเพื่อการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลและการให้บริการในจีน ดำเนินการมาแล้ว 7 ครั้ง

บทสรุปของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีน
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนควรมีการกำกับจากหน่วยงานระดับสูงในจีน
– โครงการห้องสมุดดิจิทัลเน้นการแบ่งปันความรู้และความร่วมมือกันสร้างความรู้
– โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติควรเปิดกว้าง (ไม่ใช่แค่สร้างโปรแกรม แต่ต้องพัฒนาโปรแกรมอื่นๆ ให้รองรับด้วย)
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนเน้นการสร้างชุมชนและความร่วมมือ

เอาเป็นว่าบทความนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเช่นกันครับ
บทความอื่นๆ จะเป็นอย่างไรไว้ผมจะสรุปมาให้อ่านอีกนะครับ

อ่านอะไรดี : “Digital Library Futures” อนาคตห้องสมุดดิจิทัล

สวัสดีเรื่องแรกของบล็อก Libraryhub ปี 2555 ก่อนอื่นคงต้องสวัสดีปีใหม่เพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์สักหน่อย และขออวยพรให้ทุกๆ ท่านพบแต่ความสุขและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานทุกคน

เอาหล่ะมาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า วันนี้ผมจะมาแนะนำหนังสือเล่มหนึ่งที่อ่านแล้วรู้สึกว่าได้สาระค่อนข้างดีเล่มหนึ่ง เป็เรื่องที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัล หรือทิศทางของห้องสมุดในยุคไซเบอร์เลยก็ว่าได้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัยเกี่ยวกับ “อนาคตของห้องสมุดดิจิทัล” ซึ่งเน้นในเรื่องของสิ่งที่ผู้ใช้คาดหวังและการปรับกลยุทธ์ของห้องสมุดดิจิทัล

ปล. หนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่มนะครับ

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Digital Library Futures : User perspectives and Institutional strategies
บรรณาธิการโดย : Ingeborg Verheul, Anna Maria Tammaro and Steve Witt
สำนักพิมพ์ : IFLA Publication
ISBN : 9783110232189
จำนวนหน้า : 150 หน้า


ข้อมูลทั่วไปจากเว็บไซต์ของ IFLA

http://www.ifla.org/publications/ifla-publications-series-146

เอาหล่ะครับ อย่างที่เกริ่นไว้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมงานวิจัยและงานวิชาการที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัล
ดังนั้นเนื้อหาที่อยู่ในแต่ละเรื่องของหนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่เนื้อหาที่เรียงร้อยกัน (เลือกอ่านแต่เรื่องที่สนใจได้ ไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม)

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
1. ส่วนที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (User Experience)
2. ส่วนที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาที่อยู่ในห้องสมุดดิจิทัล (Content)
3. ส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรและกลยุทธ์ (Strategies for Institutions)

ในแต่ละส่วนก็จะประกอบไปด้วยบทความต่างๆ ดังนี้
1. ส่วนที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (User Experience)
– The Virtual Scholar : the Hard and Evidential Truth
– Who are the Users of Digital Libraries, What do they Expect and want?
– A Content Analysis on the Use of Methods in Online User Research


2. ส่วนที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาที่อยู่ในห้องสมุดดิจิทัล (Content)

– A Pianist’s Use of the Digitised Version of the Edvard Grieg Collection
– When is a Library NOT a Library?

3. ส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรและกลยุทธ์ (Strategies for Institutions)
– To Make a Better Digital Library – Some Collaborative Efforts in China
– Strategies for Institutions : Responding to the Digital Challenge
– Strategies for Institutions : Responding to the Digital Challenge : the World Digital Library Perspective
– Digital Library Futures : Pressures on the Publisher-Librarian Relation in the Era of Digital Change

นอกจากส่วนเนื้อหาแล้วยังมีส่วนที่สรุปข้อมูลทั้งหมดและประวัติของผู้เขียน (วิทยากร) ด้วย
ซึ่งทำให้เราได้เห็น background ของผู้เขียน (วิทยากร) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการห้องสมุดดิจิทัลมาก่อน

เอาเป็นว่าผมเองก็อ่านไปได้บางส่วน (คงไม่ได้อ่านทั้งเล่มแหละ) แต่เลือกเรื่องที่อยากจะอ่านไว้แล้ว
ไว้ถ้ามีเวลาว่างจะเอาบางเรื่องมาเขียนเป็นบล็อกเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านอีกทีแล้วกันครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อน เดี๋ยวจะเอาหนังสือในกลุ่ม “ห้องสมุดดิจิทัล” ที่ผมอ่านมาแนะนำอีก ไว้เจอกันคราวหน้าครับ…

ปล. หนังสือเล่มนี้ผมไม่ได้ซื้อมานะครับ แต่ยืมมาจาก TKpark ใครสนใจก็ลองมาหยิบยืมจากที่นี่แล้วกัน

ห้องสมุดดิจิทัล คือ 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ

วันนี้เจอบทความดีๆ ที่มีเรื่องห้องสมุดอยู่ในนั้น ผมก็เลยขอเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังต่อนะครับ
บทความนี้มาจาก “10 Technologies That Will Transform Your Life” จากเว็บไซต์ http://www.livescience.com

10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ มีดังนี้
อันดับที่ 10 Digital Libraries (ห้องสมุดดิจิทัล)
อันดับที่ 9 Gene Therapy and/or Stem Cells (เซลล์ต้นกำเนิด)
อันดับที่ 8 Pervasive Wireless Internet (อินเทอร์ไร้สาย)
อันดับที่ 7 Mobile Robots (หุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมได้)
อันดับที่ 6 Cheaper Solar Cells (เครื่องเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)
อันดับที่ 5 Location-Based Computing (เทคโนโลยีการระบุพื้นที่)
อันดับที่ 4 Desktop 3-D Printing (การพิมพ์ภาพแบบสามมิติ)
อันดับที่ 3 Moore’s Law Upheld (กฎของมัวร์ในเรื่องประสิทธิภาพและขนาดของชิป)
อันดับที่ 2 Therapeutic Cloning (การโคลนนิ่ง)
อันดับที่ 1 The Hydrogen Economy (พลังงานน้ำ, พลังงานทดแทน)


เป็นยังไงกันบ้างครับ 1 ใน 10 ของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ คือห้องสมุดดิจิทัล (อันดับที่ 10)
นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของเราชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์เลยก็ว่าได้นะครับ

เมื่อเรารู้ว่าห้องสมุดดิจิทัลสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนแล้ว
พวกเราในฐานะคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์ขอสัญญาว่าจะพัฒนาวิชาชีพนี้ต่อไป
เพื่อให้ห้องสมุดตอบสนองการใช้ชีวิตของคนในสังคมต่อไป