Flowchart คำแนะนำเบื้องต้นในการเริ่มใช้ Ebooks

วันนี้เจอ Flowchart นึงน่าสนใจมาก เป็น Flowchart ที่แนะนำเบื้องต้นสำหรับคนอยากใช้ Ebooks
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ Ebooks มีอะไรบ้างและต้องคิดในเรื่องใดบ้าง ลองดูได้จาก Flowchart นี้

จากรูป Flowchart ผมขอสรุปคำแนะนำในการเริ่มต้นกับ Ebooks ดังนี้

1. เลือกอุปกรณ์ที่คุณจะใช้สำหรับอ่าน Ebooks ซึ่งมีให้เลือก ดังนี้
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX
– เครื่อง? Ipad
– เครื่อง? Nook
– โทรศัพท์ Iphone
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC
– เครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือ โทรศัพท์แบบอื่นๆ (เช่น Android phone)


2. เลือกโปรแกรมที่ใช้สำหรับการอ่าน Ebooks (ต้องเลือกตามอุปกรณ์ที่คุณจะใช้ในข้อที่ 1) เช่น

-? เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX ต้องใช้โปรแกรม Kindle เท่านั้น
– เครื่อง Ipad สามารถใช้โปรแกรมหลายตัวได้ เช่น iBooks, Calibre, Kindle app, Kobo app, B&N ereader, Goodreader ฯลฯ
– เครื่อง Nook ต้องใช้โปรแกรม B&N eReader เท่านั้น
– โทรศัพท์ Iphone สามารถใช้โปรแกรมได้หลายตัวเช่นเดียวกับ Ipad บางโปรแกรมใช้ตัวเดียวกันได้ บางโปรแกรมก็ใช้ได้แค่บน Iphone เช่น BookShelf, Stanza, Borders, Libris
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Adobe Digital Editions, Kobobooks, Mobipocket Reader, Stanza, Kindle for PC, Borders
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC ก็เช่นเดียวกัน มีโปรแกรมให้เลือกใช้เพียบ เช่น eReader, Calibre, Stanza Desktop, Adobe Digital Editions
– ส่วนเครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือโทรศัพท์อื่นๆ สามารถหาโปรแกรมดูได้ตามรุ่น


3. ไฟล์ของ Ebooks ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ (อันนี้ก็ต้องเลือกตามอุปกรณ์และโปรแกรมด้วย) เช่น

-? ไฟล์ที่ใช้กับ Kindle และ Kindle App คือ AZW
– ไฟล์ที่ใช้กับเครื่องอ่าน Ebook reader ต่างๆ คือ ePub หรือ ePub+DRM(มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้)
– ไฟล์ที่เป็นสากลของโปรแกรม Ebooks คือ PDF
– นอกนั้นจะเป็นไฟล์ที่อุปกรณ์จะเป็นตัวกำหนด เช่น PalmDOC, Mobipocket ฯลฯ ต้องเลือกให้ถูกตามเครื่องและโปรแกรมเอง


4. หาซื้อ Ebooks ได้ที่ไหน ไปดูตามอุปกรณ์กันเลยนะครับ เช่น

– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> Amazon.com
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/ebooks/index.asp
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

5. หากต้องการความช่วยเหลือในการใช้ Ebooks จะหาคำตอบได้จากไหน
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> http://www.amazon.com/gp/help/customer/display.html?nodeId=200127470
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/nook/support/?cds2Pid=30195
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปของ Flowchart ที่ผมนำมาลงให้เพื่อนๆ ดู
โลกของ Ebooks ยังไม่สิ้นสุดแค่ใน Flowchart ที่นำมาลงนะครับ
ความเป็นจริงแล้วยังมีอีกมากมาย ซึ่งต้องศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

เอาเป็นว่าสำหรับการเริ่มต้นเรื่อง Ebooks ผมว่า Flowchart นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเหมือนกัน
เพื่อนๆ หล่ะครับคิดยังไงกับการใช้ Ebooks และพร้อมที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่อง Ebooks กันหรือยัง

ที่มาของภาพนี้มาจาก http://bookbee.net/bee-ginners-guide-2/

(ผมเข้ามาอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมแล้วนะครับ)

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วว่าด้วยเรื่องห้องสมุดดิจิทัล

หลายคำถามที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัลที่หลายๆ คนอยากรู้
วันนี้ผมจึงถึงโอกาสนำประวัติศาสตร์ของห้องสมุดดิจิทัลมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังสักหน่อยดีกว่า

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2448 แวนเนวอร์ บุช (Vannevar Bush) ริเริ่มแนวความคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิลม์ โดยเรียกว่า ?เมมเมคซ์ (Memex)? ที่ช่วยดูข้อมูลได้จากศูนย์รวมข้อมูล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เจซีอาร์ ลิคไลเดอร์ (JCR Licklider) อดีตผู้อำนวยการอาร์ปา (พ.ศ. 2505-2506) ได้เขียนแนวความคิดเรื่อง ?ห้องสมุดแห่งอนาคต? ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดแนวความคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับ ?ห้องสมุดดิจิทัล?

และหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2513 เทด เนลสัน (Ted Nelson) ได้พัฒนาเมมเมคซ์เป็น ?ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)? ซึ่งหมายถึง เครือข่ายข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ รูปภาพและเสียง ที่สามารถเรียกดูได้จากคอมพิวเตอร์

แล้วปี พ.ศ. 2537 คาเรน ดราเบนสทูตท์ (Karen Drabenstoott) ให้คำจำกัดความว่า? ต้องใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลห้องสมุดดิจิทัลหลายห้องสมุดเชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้เข้าใช้จากจุดใดก็ได้ สารสนเทศอยู่ในรูปแบบดิจิทัล

ในปี พ.ศ. 2538 ดับบริว ซาฟฟาดี (W. Saffady) ระบุในบทความชื่อ ?หลักการห้องสมุดดิจิทัล? ว่าเป็นห้องสมุดที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลให้สามารถดูได้โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ

หลังจากนั้น 1 ปี พ.ศ. 2539 ซี แอล บอร์กแมน (C L Borgman) ให้คำจำกัดความในหนังสือชื่อ ?การเข้าถึงสารสนเทศ ห้องสมุดดิจิทัล? ว่าคือแหล่งสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ค้นหา และใช้สารสนเทศ เป็นแหล่งเก็บและค้นคว้าข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

1 ปีให้หลัง พ.ศ. 2540 ริชาร์ด แอทคินสัน (Richard Atkinson) อธิการบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ตั้งห้องสมุดดิจิทัลเป็น ?ห้องสมุดไร้กำแพง (Library Without Walls)? เชื่อมโยงห้องสมุด 10 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มีบริการห้องสมุดครบถ้วนทุกประการ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ นับตั้งแต่มีแนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิล์ม จนถึงวันนี้ 105 ปี แล้วนะครับ
ผมเองตกใจมาก และไม่คิดว่าห้องสมุดดิจิทัลจะเกิดมานานขนาดนี้
และผมเชื่อว่าวงการห้องสมุดของเรายังต้องพัฒนาต่อไปอีก ในอนาคตเป็นแน่

ที่มาของข้อมูล เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง ?บริการห้องสมุดสุดขอบฟ้า? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย? ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี? ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลา 8.30-10.45 น.

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

ความหลังจากงานสัมมนาโปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล Greenstone เมื่อสามปีที่แล้ว

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรม Greenstone Digital Library อีกสักครั้งดีกว่า
จริงๆ ผมเคยแนะนำหนังสือการใช้งานโปรแกรม Greenstone ไปแล้ว (เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone)

greenstone-library

ข้อมูลของโปรแกรม Greenstone Digital Library นี้ ผมได้นำมาจากสไลด์งานสัมมนาเมื่อสามปีที่แล้วนะครับ
ที่ตอนนั้นผมได้รับร่วมสัมมนาเรื่อง โปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล โดยใช้โปรแกรม Greenstone Digital Library Software
ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NSTDA

การสัมมนาครั้งนี้เริ่มจากการเกริ่นถึง
– ความเป็นมาของห้องสมุดดิจิทัล (What is Digital Library for ?)
– ซอฟต์แวร์ที่ห้องสมุดดิจิทัลสามารถรองรับได้ (DL Software Requirements)
– มาตรฐานที่เกี่ยวกับการทำงานระหว่างห้องสมุด (Library Interoperability)
– การทำต้นแบบของห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library Prototype)

หลังจากที่เกริ่นถึงข้อมูลโดยทั่วไป ซอฟต์แวร์ และการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดจบ
สไลด์นี้ก็ได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture) โดยทั่วไป
ว่าห้องสมุดดิจิทัลมีลักษณะการทำงานอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง

หลังจากที่เกริ่นเรื่องสถาปัตยกรรมของระบบจบ
ก็เข้าสู่เรื่องที่หลายๆ คนต้องการรู้ นั่นคือ เกี่ยวกับระบบ Greenstone Digital Library Software
– ข้อมูลโดยทั่วไปของระบบ (Overall System)
– สถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture)
– การทำงานของระบบในฟังก์ชั่นต่างๆ (Functionality) เช่น Search system, Librarian Interface, Configuration system

เป็นอย่างไรกันบ้างครับคร่าวๆ สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
แต่เสียดายที่ผมไม่ได้เก็บสไลด์งานวันนั้นอ่ะครับ เลยเอามาโพสให้ดูไม่ได้

แต่ผมขอแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ แล้วกันนะครับ

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บของ Greenstone Digital Library Software ได้เลยครับ

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

อย่างที่เมื่อวานผมได้กล่าวถึงงานสัมมนา ?มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้?
ผมได้มีโอกาสฟังการบรรยายอีกช่วงนึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ “โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย”
ผมก็จะสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นเคยครับ

dlibthai

วิทยากรในช่วงนี้ คือ “คุณชิตพงษ์? กิตตินราดรผู้จัดการโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยคือ ทำไม สสส. ถึงทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย
คำอธิบายจากท่านวิทยากรก็ทำให้เรากระจ่าง คือ สสส. เน้นการสร้างสุขภาวะซึ่งมีหลายด้านด้วยกัน
โดยห้องสมุด ถือว่าเป็นการสร้างสุขภาวะทางปัญญานั่งเองครับ

หลักการคร่าวๆ ของโครงการนี้เกิดจากความคิดที่ว่า
หน่วยงานที่มีข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหลายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นโครงการนี้จะเป็นตัวกลางที่จะช่วยประสานและแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

วิทยากรได้กล่าวถึง “สื่อกำหนดอนาคตของสังคม” เนื่องจากสื่อสามารถสร้างกรอบแนวคิดให้สังคม
บางประเทศถึงขั้นต้องปิดกั้นสื่อ เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับกรอบแนวคิดต่างๆ

สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจและพบว่าในวันหยุด เด็กๆ จะใช้เวลากลับการดูทีวีถึง 14 ชั่วโมง
ลองคิดดูสิครับว่า เด็กเหล่านี้จะได้รับอะไรไปเป็นแนวคิดของพวกเขาบ้าง

“สื่อดิจิทัลกำลังกลายเป็นสื่อหลัก” เนื่องจากสื่อดิจิทัลเข้าถึงได้ง่ายมาก
จากการสำรวจคนไทยพบว่า คนไทยอ่านข้อมูลบนเน็ตมากกว่าอ่านหนังสือ
(ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ = 39 นาที แต่ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต 107 นาที)

จากการสำรวจของ NECTEC ก็แสดงถึงการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
เมื่อปี 51 มีการสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 0.1%
แต่ด้วยคำถามเดียวกัน ในปี 52 พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 8%

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
– World Digital Library = http://www.wdl.org/en/

wdl

– The National Archives = http://www.nationalarchives.gov.uk/

na

– Issuu = http://issuu.com/

issuu

– MIT OpenCourseWare = http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm

mit

– Google Book = http://books.google.com

google

แต่อุปสรรคของการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็มีนะครับ เช่น
– ความน่าเชื่อถือ? (ไม่รู้จะอ้างอิงใคร)
– ความครบถ้วนของเนื้อหา (ข้อมูลบางครั้งก็มีไม่ครบถ้วน)
– การจัดระบบ (ไม่มีระบบที่จัดการข้อมูลที่ดี)

แต่อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้มีทางแก้ นั่นก็คือการจัดการห้องสมุดดิจิทัลไงครับ
ข้อมูลอ้างอิงได้ชัดเจน เนื้อหาก็ครบถ้วน รวมถึงให้คนเป็นผู้จัดระบบย่อมดีกว่าให้คอมพิวเตอร์คิด

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทย สนับสนุนในเรื่องใดบ้าง
– การผลิต (แปลงสื่อเก่าเป็นสื่อใหม่ + ทำสื่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน)
– การเผยแพร่ (ให้บริการบนเว็บ + ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน)
– การเข้าถึง (เข้าถึงได้จากจุดเดียว + ค้นหาง่ายขึ้น)

dlib-th

เพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น
– ผู้พิการ = เข้าถึงข้อมูล
– นักเรียนนักศึกษา = ศึกษาเรียนรู้
– คนทั่วไป = สนับสนุนข้อมูลในชีวิตประจำวัน
– นักวิจัย = วิจัยพัฒนา

แผนงานของโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทยยาว 3 ปี (2010-2012) โดยแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
1. จัดทำต้นแบบ (http://www.dlib.in.th) = 20,000 ชิ้น
2. สร้างมาตรฐานและบริการสาธารณะ = 200,000 ชิ้น
3. จัดตั้งองค์กร

ประโยคสรุปสุดท้ายของท่านวิทยากร ผมชอบมากๆ เลยครับ
Keyword = โอกาส + กำหนดทิศทางสังคม + สื่อใหม่

เอาเป็นว่างานนี้ผมได้ความรู้มากมายเลยครับ และได้มีโอกาสรู้จักโครงการดีๆ เพียบเลย
ขอบคุณผู้จัดงานทุกคนครับ ทั้ง มธ. สวทช. สสส. ศวท.

True Corp. กำลังต้องการคนมาช่วยทำ Digital Library

วันนี้มีงานมาแนะนำอีกแล้วครับ ซึ่งงานในวันนี้ที่จะแนะนำขอบอกว่าน่าสนใจมากๆ ครับ
ซึ่งทางฝ่าย HR ของ TRUE ได้ส่งมาให้ผมช่วยลงประชาสัมพันธ์ เอาเป็นว่าลองอ่านข้อมูลก่อนนะครับ

truecorp

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้ (ขอ Copy จาก Mail มาเลยดีกว่า)

“บริษัท True กำลังต้องการหาคนมาช่วยทำ Digital Library โดยมีรายละเอียดของตำแหน่งงานตามนี้
หลักๆ ก็คือ งานบริการให้แก่ลูกค้าของ ทรู ที่จะเข้าไปใช้บริการในส่วนของ Digital Content ที่ร้านใหม่ของเราซึ่งอยู่ในย่านสยามแสควร์”

เอาเป็นว่าแค่อ่านรายละเอียดของเมล์นี้แล้ว ผมรู้สึกสนใจเกี่ยวกับ project นี้มากๆ
แถมชื่อตำแหน่งก็ดูน่าสนใจและดึงดูดชวนให้อยากทำงานเลยก็ว่าได้

เราลองไปดูคุณสมบัติและภาระงานของตำแหน่งนี้กันก่อนดีกว่า

ชื่อตำแหน่ง : True Digital Library Specialist

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้? :
– Masters in any fields
– Knowledge of and/or experience with all aspects of digital content including acquisitions, cataloging and metadata control, collection management, document-delivery, electronic resources and reference.
– A strong focus in digital content is required as is a keen interest and desire to work with the often dynamic and changing special digital library environment.
– Experience with national and international music, web design and programming.
– Teamwork and leadership capabilities are required, along with strong interpersonal and communication skills.
– Must have the ability to take initiative and to be self directed and motivated.
– Able to demonstrate their project management, analytical, and problem solving skills, with an aptitude for complex and detailed work.
– Strong service orientation to customers and to co-workers is a must.

ภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ : Primary tasks
1. Provide expertise and leadership in the creation and maintenance of metadata for digital content acquired by True.
2. Help to develop, refine, and implement policies, procedures, workflows, and metadata standards for the True Digital Library; manage digitization projects; and participate in the overall management.
3. Provide descriptive, technical, and structural metadata for digital content.
4. Evaluate and maintain quality control of Digital Content operations.
5. Maintain documentation on Digital Content best practices.
6. Analyze metadata needs and provide estimated metadata costs and timeline for proposed projects.
7. Design, implement, and manage project workflows.
8. Collaborate with other Institution and Libraries staff in selection of digital projects and content.
9. Promote and report on Digital Content local, regional, and national communities.
10. Attracts potential customers by answering product and service questions; suggesting information about other products and services.
11. Recommends potential products or services to management by collecting customer information and analyzing customer needs.
12. Opens customer accounts by recording account information. Maintains customer records by updating account information.
13. Contributes to team effort by accomplishing related results as needed.

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาระงานในตำแหน่งนี้
หลักๆ ก็คือดูแล Digital Content ต่างๆ ของ True เช่น Music Movie ฯลฯ
โดยการจัดระบบของสื่อต่างๆ เหล่านี้ก็คงต้องใช้ Meta Data เข้ามาควบคุมในเรื่องการจัดระบบ
รวมไปถึงงานวางระบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดทำ จัดหา และพัฒนา Digital Content ด้วย

เอาเป็นว่านี่อาจจะเป็นโมเดลใหม่ของการจัดการระบบห้องสมุดดิจิตอลเลยก็ว่าได้ครับ

หากเพื่อนๆ สนใจงานตำแหน่งนี้ ให้ส่ง resume ไปที่ chitsana_wan@truecorp.co.th ได้เลยนะครับ
แล้วก็แจ้งว่ารู้ข่าวจาก Libraryhub นะครับ

ขอบให้เพื่อนๆ โชคดีกันนะครับ

ปล. แอบเสียดายนะครับ อยากสมัครด้วยแต่ผมยังมีงานที่ต้องทำให้เสร็จก่อน
เอาไว้จบโครงการนี้แล้วเดี๋ยวผมจะไปสมัครด้วยคนนะ อิอิ

สรุปงาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”

ผมขอนำบทสรุปจากงานสัมนนา “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
มาให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ เผื่อว่าอาจจะเกิดไอเดียดีๆ ขึ้นบ้าง

picture-001

งาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
จัดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้า

บทสรุปของงานมีดังนี้

การบรรยาย เรื่อง จาก Web 2.0 สู่ Library 2.0 เพื่อชุมชนนักสารสนเทศและผู้ใช้บริการ
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

picture-013

เกริ่นนำ
– เมื่อผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น บรรณารักษ์จึงจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจทางเลือกเหล่านั้น
– web2.0 คือแนวความคิดใหม่สำหรับ www ที่จะให้ผู้ใช้สามารถเขียน เปลี่ยนแปลง เผยแพร่ เนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้
– หลักการแห่ง web2.0 แบ่งออกเป็น conversation, community, participation, experience, sharing

โลกเปลี่ยนไปแล้วจริงหรือ?
– ในปี 2007 มีคนสืบค้นด้วย google เฉลี่ยเดือนละ 27 ร้อยล้านครั้ง ในประเทศไทยมีการใช้ google เพื่อสืบค้นถึง 96.88% แล้วก่อนหน้านี้หล่ะใช้เครื่องมืออะไรในการค้น
– การส่ง SMS ทั่วโลกมีจำนวนมากกว่าประชากรบนโลกรวมกัน
– ปัจจุบันมีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษจำนวน 540,000 คำ แต่ในสมัย Shakespeare มีคำศัพท์เพียงแค่ 1 ใน 5 ของจำนวนนั้น
– ใน 1 วันมีหนังสือออกใหม่จำนวน 3,000 เล่มต่อวัน
– หนังสือพิมพ์ newyork times 1 สัปดาห์มารวมกัน จะได้คลังความรู้ที่มากกว่าความรู้ของคนในยุคที่ 18 ตั้งแต่เรียนจนตาย
– ความรู้และข่าวสารจะมีการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทุก 2 ปี ดังนั้น คนที่เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อเรียนปี 2 ขึ้น ปี 3 ความรู้ที่เรียนมาก็จะเริ่มไม่ทันสมัย
– การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเมื่อ 40 ปีก่อนใช้โทรเลข เมื่อ20 ปีก่อนใช้โทรเลข,โทรศัพท์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วใช้อีเมล์ แล้วทุกวันนี้หล่ะ????
– สำรวจคนอเมริกาแต่งงาน 8 คู่จะต้องมี 1 คู่ที่เจอกันด้วยระบบ online
ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโลกเปลี่ยนไป?

ห้องสมุดในฝัน (ตามความคิดของดร.ทวีศักดิ์)
– เปิดบริการตลอดเวลา
– สะอาด เรียบร้อย
– หาหนังสือง่าย
– เงียบ บรรยากาศดี
– เดินทางสะดวก
– ใช้บริการจากที่บ้านหรือที่ทำงานได้
– google+website = ห้องสมุดแห่งโลก

ห้องสมุดไทยในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ประเภทของห้องสมุด (เฉพาะ ประชาชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย)
– การลงทุนสำหรับห้องสมุด – จำนวนหนังสือ จำนวนผู้ใช้
– การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในห้องสมุด ต้องคำนึงเรื่องงบประมาณ การใช้ประโยชน์ ปรับแต่งได้แค่ไหน
– บางที่ซื้อระบบมาแล้ว แต่ไม่สามารถจัดการระบบได้เพราะขาดบุคลากร
– ระบบบริหารจัดการในห้องสมุดมีความเหมาะสมแค่ไหน
– ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
– ห้องสมุดบางที่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ห้องสมุด 2.x คืออะไร
– ห้องสมุด2.0 = (ทรัพยากรสารสนเทศ+คน+ความไว้วางใจ) * การมีส่วนร่วม
– ก่อนเริ่ม ห้องสมุด2.0 ห้องสมุดต้องปรับรูปแบบให้มีลักษณะที่เป็น e-library ก่อน
– จะก้าวไปสู่ห้องสมุด 2.x => รักการเรียนรู้, รักการแบ่งปัน, มีใจสร้างสรรค์, รักการพัฒนา, รักในงานบริการ
– รักการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากเพื่อนๆ ในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อนำมาศึกษาและเปรียบเทียบกับงานของเรา
– การเลือกโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ในวงการห้องสมุด เช่น koha, phpmylibrary, openbiblio ?
– รักการแบ่งปัน และมีใจสร้างสรรค์ เครื่องมือที่น่าสนใจในการแบ่งปันคือ wiki Blog

บทสรุปของการก้าวสู่ห้องสมุด 2.x
– เปิดใจให้กับการเปลี่ยนแปลง
– เลือกใช้เทคโนโลยีให้เป็น
– สร้างชุมชนห้องสมุด เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้บริการ

????????????????????????????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค web 2.0
โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

image22

เกริ่นนำ
– Chris Anderson บก. Wired Magazine เป็นผู้เขียนทฤษฎี long tail คนแรก
– การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ไกลจากเขา แต่การเขียนบล็อกผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเขา
– long tail เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด คือ สินค้าที่ได้รับความนิยม (hits) มักเป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สินค้าที่มีคนรู้จักน้อยก็ยังมีอยู่อีกมาก และถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มารวมกันก็จะเห็นว่ายังมีสินค้าอีกมากมาย
– สินค้าที่มีความนิยมมีจำนวน 20% แต่สินค้าที่ไม่นิยมหากนำมารวมกันก็จะได้ถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาวิธีที่จะนำสินค้าที่ไม่นิยมออกมาแสดงให้คนอื่นๆ ได้เห็น

ตัวอย่างของ Long tail
– Netflix, Amazon จำหน่ายสินค้าแบบ Physical Goods แต่นำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Netflix, Amazon ใช้ concept ที่ว่า ?Customers who bought this also bought that??
– Itune, Rhapsody จำหน่ายสินค้าแบบ Digital Goods และนำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Itune, Rhapsody ใช้ concept ที่ว่า ?When you lower prices, people tend to buy more?

ทฤษฎี Long tail กับงานห้องสมุด
– Tom Storey เคยสัมภาษณ์ Chris Anderson ลงในจดหมายข่าวของ OCLC
– Lorcan Dempsey ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Long tail ในหนังสือ D-Lib Magazine
– Paul Genoni เขียนเรื่อง Long tail ที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
– Lori Bowen Ayre เน้นเรื่อง Log tai ไปในแนวว่า Library Delivery 2.0

กฎของ Ranganathan นักคณิตศาสตร์ และบรรณารักษ์อาวุโส (บิดาของวงการห้องสมุด)
– Books are for use
– Every reader has his or her book
– Every book has its reader
– Save the time of the reader
– The library is a growing organism

????????????????????????????????????????????????

Workshop เรื่อง โปรแกรมสำเร็จรูป WordPress : โดนใจผู้ใช้ได้ดั่งใจบรรณารักษ์
โดยคุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ศุนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

image04

– แนะนำ wordpress.com และ wordpress.org
– วิธีการใช้งาน wordpress.org
– วิธีการสมัคร wordpress.com
– แนะนำเมนูต่างๆ ใน wordpress.com
– การเขียนเรื่องใน wordpress.com
– การปรับแต่งรูปแบบใน wordpress.com

????????????????????????

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้ไอเดียกันเยอะหรือปล่าว
เอาเป็นว่าถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองถามผมได้นะครับ
ผมยินดีจะตอบเพื่อช่วยให้วงการบรรณารักษ์ของเราพัฒนา

Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ในช่วงหนึ่งชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดงาน Libcamp#2 ทางทีมงานได้เปิดหัวข้อ Open session ให้
ซึ่งเป็นหัวข้อที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมงานนำเสนอไอเดียใหม่ๆ และไอเดียที่น่าสนใจสำหรับวงการห้องสมุด

libcamp-open-session

ซึ่งผลจากการเปิดหัวข้อในครั้งนี้เราได้ข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งสรุปออกมาได้หลายประเด็นดังนี้

1. แนะนำโครงการห้องสมุดดิจิทัล โดย คุณชิตพงษ์? กิตตินราดร
ตอนนี้โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ ได้มีการดำเนินการมาในระยะหนึ่งแล้ว
โดยแผนงานไอซีที ของ สสส. จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน และผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายต่างๆ
เพื่อนำไปสู่การร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลฯ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังคม
โครงการนี้ก็หวังว่าจะเป็นโยชน์ต่อสังคมในแง่ของการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก และเยาวชนบนโลกออนไลน์

2. Arnarai.in.th: คุณกำลังอ่านหนังสืออะไรอยู่ โดย คุณวรัทธน์? วงศ์มณีกิจ
แนะนำเว็บไซต์ “อ่านอะไร” บล็อกก็คือที่ปล่อยของ ในที่นี้หมายถึงหนังสือนะครับ
แรงบันดาลใจในการทำเว็บๆ นี้ คือ “เด็กไทยอ่านหนังสือวันละ 6 บรรทัด”
นี่เป็นสิ่งน่าคิดมากว่าแล้วเราจะทำยังไงให้มีการอ่านเพิ่มมากขึ้น
จึงได้จับเอาหนังสือมาผนวกกับแนวความคิดของเว็บ 2.0 จึงทำให้ได้เว็บนี้ออกมา

arnarai

ลองเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ที่ http://www.arnarai.in.th/

นอกจากสองประเด็นใหญ่นี้แล้ว ทางทีมงานยังได้รับคำถามต่างๆ เกี่ยวกับงาน Libcamp ในครั้งหน้าด้วย เช่น
– อยากให้งาน LibCamp มีการฝึกปฏิบัติ หรือ workshop กันด้วย
– อยากให้งาน LibCamp จัดงานหมุนเวียนไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ บ้าง
– อยากให้งาน LibCamp ไปจัดในต่างจังหวัดด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่าในงานนี้ทุกคนต่างก็ได้รับความรู้ไปใช้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ทางทีมงานและผู้จัดงานทุกคนต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ได้ติดตามงาน Libcamp มาอย่างต่อเนื่องครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone

วันนี้มีโอกาสได้เดินเข้าไปในร้านหนังสือของ B2S ที่เซ็นทรัลเวิลด์
เดินๆ อยู่ตาของผมก็ไปหยุดอยู่กับหนังสือเล่มนึง
หนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่องคุ้นๆ มาก และเข้ากับวงการห้องสมุด
ผมจึงต้องขอเอามาเขียนแนะนำสักหน่อยดีกว่า

greenstone

หนังสือที่ผมจะแนะนำวันนี้เป็นหนังสือที่แนะนำการใช้โปรแกรม “Greenstone”

ข้อมูลหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone
ผู้เขียน : สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์, บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
ISBN : 9789745988125
ราคา : 200 บาท


โปรแกรม “Greenstone”
คือ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างคลังสื่อดิจิทัล หรือ ห้องสมุดดิจิทัล นั่นเอง
หนังสือเล่มนี้อาจจะจัดได้ว่าเป็น หนังสือที่เกี่ยวกับ Opensource ของห้องสมุดเล่มแรก (หรือปล่าว) ในเมืองไทย

เราลองไปดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้กันดีกว่า
– ห้องสมุดดิจิทัล Greenstone
– การติดตั้ง Greenstone
– สำรวจ Greenstone Digital Library
– Greenstone Librarian Interface ผู้ช่วยสำหรับบรรณารักษ์
– หลักการออกแบบพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล
– เริ่มสร้างคลังสื่อดิจิทัล
– เพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นเอกสาร
– รู้จักกับเมทาดาทา
– ดับลินคอร์เมทาดาทา
– Collection เอกสาร HTML
ฯลฯ

พอได้ดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็ขอแยะประเด็นหลักๆ ของหนังสือเล่มนี้ออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
1. เกี่ยวกับโปรแกรม Greenstone : แนะนำการติดตั้ง และการใช้งาน
2. เกี่ยวกับหลักการทั่วไปของห้องสมุดดิจิทัล
3. เกี่ยวกับข้อมูล เมทาดาทา (Meta data)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับหนังสือเล่มนี้ ผมว่าค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับห้องสมุดหลายๆ ที่เลยนะครับ
นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่อยากสร้างห้องสมุดดิจิทัลเองอีกด้วย

อย่างกรณีผมเอง ผมก็อยากสร้างคลังเอกสารดิจิทัลของผมเองเหมือนกัน
ข้อมูลต่างๆ ไฟล์งานต่างๆ ที่ผมเก็บไว้ตั้งแต่ตอนเรียน
ผมก็อยากนำออกมาเสนอให้เพื่อนๆ ได้ดู ได้อ่านเหมือนกัน

สงสัยผมต้องซื้อหนังสือเล่มนี้ก่อนนะครับ แล้วทำความรู้จักกับโปรแกรมนี้มากๆ
แล้วถึงตอนนั้นอาจจะมีห้องสมุดดิจิทัล Libraryhub ก็ได้นะ อิอิ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ ลองเข้าไปดูที่
http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9789745988125&AspxAutoDetectCookieSupport=1

หลักสูตรปริญญาโทด้านห้องสมุดดิจิทัลมีแล้ว…

ผมได้ติดตามหลักสูตรการเรียนการสอนด้านห้องสมุดมาสักระยะหนึ่งแล้ว
แต่ผมเองก็ไม่เคยเห็นหลักสูตรไหนที่ทันสมัยเท่ากับหลักสูตรที่ผมจะแนะนำวันนี้

ait-digital-library Read more

LibCamp#1 : Digital Library for Thailand

ผู้ที่ออกมาพูดคนสุดท้ายของงาน LibCamp#1
คือ คุณไกลก้อง ไวทยการ ตัวแทนจาก Change Fusion
ซึ่งมาพูดเกี่ยวกับโครงการ Digital Library for Thailand

Presentation เรื่อง Digital Library for Thailand

Read more