อ่านอะไรดี : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่

วันศุกร์ วันสบายๆ แบบนี้ผมขอแนะนำหนังสือสักเล่มดีกว่า (จริงๆ ต้องบอกว่าโปรโมทหนังสือของหน่วยงานตัวเองมากกว่านะ) หนังสือเล่มนี้แค่เห็นชื่อเรื่องก็ต้องบอกว่าสะดุดตาพอสมควรแล้ว นั่นคือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่”

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
จัดพิมพ์โดย : โครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
ปีพิมพ์ : 2554
จำนวนหน้า : 192 หน้า
ISBN : 9786162024672

ชื่อหน่วยงานและโครงการหวังว่าเพื่อนๆ คงคุ้นเคยกันนะครับ เพราะเวลาผมไปบรรยายที่ไหนก็ตามผมก็จะกล่าวถึงหน่วยงานนี้ “ศูนย์ความรู้กินได้” ซึ่งเป็นการพัฒนาต้นแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีนั่นเอง

จากการทำงานพัฒนาระบบห้องสมุดของผม 2 ปีกว่าๆ ทีมงานของเราพยายามถอดความรู้จากประสบการณ์และบทเรียนที่เราได้รู้จากการทำงานต่างๆ และได้รวบรวมเพื่อที่จะจัดพิมพ์ออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และนำไปลองใช้ดู

เนื้อหาในเล่มนี้แบ่งออกเป็น 6 บทหลักๆ คือ
– บานประตูใหม่ เพื่อเข้าถึงความรู้ (เกริ่นความสำคัญของการมีห้องสมุด)
– ศูนย์ความรู้กินได้ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย (ภาพรวมของโครงการและรางวัลห้องสมุดระดับประเทศ)
– การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (พูดเรื่องการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานของอาคารห้องสมุด)
– ปรุง “ความรู้” ให้ “กินได้” (พูดเรื่ององค์ความรู้และการเลือกองค์ความรู้ไปใส่ในห้องสมุด)
– สร้างเครือข่ายผู้ใช้ห้องสมุด เครือข่ายผู้สนับสนุน (การใช้สื่อสังคมออนไลน์และบทบาทของเครือข่ายห้องสมุด)
– การบริหารและพัฒนาบุคลากรในห้องสมุด (พูดเรื่องการพัฒนาบรรณารักษ์ในรูปแบบต่างๆ)

นอกจากนี้ยังมีส่วนภาคผนวกที่จะเพิ่มความรู้เกี่ยวกับ “การสร้างห้องสมุด” และ “ห้องสมุด 2.0” ด้วย

เอาเป็นว่าเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ผมต้องขอบอกเลยครับว่า เน้นข้อมูลที่เพื่อนๆ สามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งนั้น ตัวอย่างกิจกรรมดีๆ การเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดแบบถูกใจผู้ใช้บริการ หัวข้อการประเมินผลกิจกรรมต่างๆ และนวัตกรรมการบริการห้องสมุดแบบใหม่ๆ

หนังสือเล่มนี้ต้องขอบอกตามตรงว่ามีจำนวนจำกัดมากๆ
ดังนั้นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 นี้จะมีให้แค่บางหน่วยงานเท่านั้น
แต่รับรองว่ายังคงมีการพิมพ์เพิ่มอีกแน่นอน ซึ่งเมื่อไหร่นั้นจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

ส่วนใครที่อยากได้จริงๆ วันนี้ผมมีมาแจก 5 เล่ม แต่ต้องร่วมกิจกรรมอะไรสักอย่างนะครับ
นั่นก็คือ เขียนบทความจำนวน 1 หน้ากระดาษ A4 ในเรื่องใดก็ได้ต่อไปนี้ (เลือกแค่ 1 เรื่องนะครับ)
“ห้องสมุดในยุคใหม่ในสายตาของท่านจะมีลักษณะอย่างไร”
“แนวทางในการเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดให้ตรงใจผู้ใช้บริการ”
“บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องพัฒนาทักษะและมีความสามารถด้านใด”

เขียนเสร็จแล้วให้ส่งมาที่ dcy_4430323@hotmail.com หรือ maykin@okmd.or.th ส่งได้ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 นะครับ ทางทีมงานจะคัดเลือกบทความที่น่าสนใจและนำมาลงในเว็บไซต์ www.kindaiproject.net และลงบทความของท่านในวันที่ 1-5 มิถุนายน 2555 บทความใดได้ลงจะได้รับหนังสือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” คนละ 1 เล่มครับ

กรุณาใส่ชื่อจริงนามสกุลจริง หน่วยงานของท่าน ที่อยู่และเบอร์ติดต่อเพื่อประสานงานการจัดส่งหนังสือมาด้วยนะครับ

กิจกรรมแจกหนังสือจะมีเป็นระยะนะครับ

กิจกรรมวันเด็ก ณ ศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดจังหวัดอุบลราชธานี

วันเสาร์ที่จะถึงนี้เป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม หรือ ที่เราเรียกว่า วันเด็ก นั่นเอง ช่วงนี้ห้องสมุดหลายๆ แห่งคงกำลังเตรียมงานวันเด็กกันอยู่ ผมจึงขอนำรูปแบบงานวันเด็กในห้องสมุดที่เคยจัดมาเล่าให้ฟังก็แล้วกันนะครับ

จริงๆ เรื่องงานวันเด็กของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีผมเคยเขียนในบล็อกของผมแล้ว
เรื่อง “งานวันเด็ก ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้ผมขอเขียนในมิติที่เกี่ยวกับเรื่องของการเตรียมงานแล้วกันครับ

เริ่มตั้งแต่การประชุมกันในทีมเพื่อหากิจกรรมต่างๆ มาลงในงานวันเด็ก ซึ่งจริงๆ แล้วคิดออกมาแล้วมีมากมาย ได้แก่
– การวาดภาพระบายสี
– การเล่านิทาน
– การตอบคำถามเพื่อแจกของรางวัล
– การพับกระดาษโอริงามิ
– การปั้นดินน้ำมัน
– การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์
– การชมภาพยนตร์

ฯลฯ

จริงๆ แล้วคิดไว้เยอะมาก แต่ก็มาแบ่งเป็นประเภทๆ อีกที เช่น กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมเพื่อนักอ่าน กิจกรรมในห้องคอมพิวเตอร์ กิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งสุดท้ายเราก็ได้ชื่อโซนต่างๆ ดังนี้

1 โซนสร้างพลานามัย
2 โซนรักการอ่าน
3 โซนสร้างจินตนาการ
4 โซนเทคโนโลยี
5 โซนส่งเสริมอาชีพ

เมื่อได้ชื่อกิจกรรมและโซนกิจกรรมแล้ว เรื่องต่อมาที่ต้องคิดคือ “การเขียนโครงการวันเด็ก” ออกมา
ที่ต้องรีบเขียนออกมาเพื่อที่เราจะนำโครงการนี้ไปขอรับอภินันทนาการของรางวัล ของแจก และเงินทุนจากผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สำหรับจัดงานต่อไป

เมื่อได้ของรางวัล ของแจก และของสนับสนุนต่างๆ แล้วก็เริ่มดำเนินการวางแผนงานต่อ คือ จัดสรรของรางวัลเพื่อลงไปในกิจกรรมต่างๆ

จากนั้นก็เริ่มวางผู้ที่เป็นหลักในกิจกรรมต่างๆ และแบ่งหน้าที่กันทำ
ห้องสมุดประชาชนไม่ต้องกลัวว่าคนจะน้อย กศน สามารถมอบหมายครู กศน มาช่วยห้องสมุดจัดงานได้ด้วย

สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึง คือ การประชาสัมพันธ์และสร้างจุดเด่นให้กับห้องสมุด
ลองคิดดูนะครับ วันเด็ก หน่วยงานต่างๆ ก็จัดงานกันมากมาย
ถ้าห้องสมุดไม่มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี เด็กๆ ก็อาจจะหายไปอยู่ที่งานวันเด็กที่หน่วยงานอื่นๆ จัดก็ได้

สุดท้ายก็ประชุมกันอีกสักนิดก่อนจัดงานสองวันเพื่อตรวจสอบว่า ยังขาดเหลืออะไรอีกหรือไม่

นี่แหละครับ กว่าจะเป็นงานวันเด็กของ ศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ชมภาพกิจกรรมในงานวันเด็กของ ศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีได้ทั้งหมด

[nggallery id=35]

เบื้องหลังการถ่ายแบบในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้หลายๆ คนคงจะยุ่งกันน่าดู เพราะว่าเป็นวันเริ่มต้นสัปดาห์ (วันจันทร์) นั่นเอง
แถมด้วยช่วงนี้หลายๆ คนคงกำลังให้ความสำคัญและเครียดกับเรื่องน้ำท่วมกันมาก
ผมเองก็ไม่อยากนำเสนอเรื่องที่อ่านแล้วเป็นวิชาการหรือเครียดมากๆ หรอก

ดังนั้นวันนี้ผมขอเน้นรูปแล้วกันครับ

รูปชุดนี้ผมได้มานานแล้วหล่ะครับ ตั้งแต่ก่อนเปิดห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
วันนี้ระหว่างจัดระเบียบไฟล์ในเครื่องแล้วเจอพอดี เลยขอนำมาลงให้ชมแล้วกันครับ

ก่อนเปิดห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ทีมงานของเราก็ต้องการภาพห้องสมุดที่ใช้ในการลงสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ
จึงได้นัดชมรมถ่ายภาพจากเว็บไซต์ GuideUbon มาช่วยในงานนี้

ต้องบอกตรงๆ ครับว่าเราไม่ได้จ้างนายแบบหรือนางแบบเลย
เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนก็พร้อมที่จะเป็นนายแบบและนางแบบกันหมด 555

เมื่อพร้อมแล้วเราก็จัดฉาก จัดสถานที่ โพสท่า และก็ถ่ายกันได้เลย….
ภาพก็ออกมาเป็นแบบนี้แหละครับ

[nggallery id=50]

เป็นยังไงกันบ้าง ภาพที่นำมาลงนี่มาจากกล้องผมนะครับเป็นภาพเบื้องหลังทั้งนั้น
แต่ถ้าใครอยากชมภาพสวยๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่
– น้าไกด์ http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?f=13&t=31638
– นายเต้าทึง http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?f=13&t=31634
– เฮียเซง http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?f=13&t=31644
– เฮียไก่ http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?t=31650
-ตาเอก http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?f=13&t=31649

prewedding แบบเล็กๆ ในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ยังจำเรื่องที่ผมเขียนเมื่อวันก่อนได้มั้ยครับ เรื่อง “prewedding เก๋ๆ ในห้องสมุดซีแอทเทิล – Seattle Public Library” ในเรื่องนั้นเองที่ผมได้เกริ่นว่า “หลังจากที่ได้ชมภาพคู่แต่งงานที่ใช้ห้องสมุดซีแอทเทิล เป็นสถานที่ในการถ่าย prewedding แล้ว มันทำให้ผมรู้สึกว่า การที่ผมจะถ่ายรูป prewedding ในห้องสมุดคงจะดีไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว (มันเข้ากับ concept ของนายห้องสมุดอย่างผมมากๆ)

เอาเป็นว่าที่วันนี้เขียนบล็อก ก็เพราะว่าเรื่องนั้นผมได้ทำสำเร็จแล้วครับ คือการไปถ่ายรูป Prewedding ในห้องสมุด และห้องสมุดที่ผมไปถ่ายก็ไม่ใช่ที่อื่นหรอกครับ ที่นั่นคือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี นั่นเอง

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=naPDMFk2nas[/youtube]

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปห้องสมุดแห่งนี้เพื่อที่จะร่วมพิธีครบรอบ 1 ปีห้องสมุด งานส่งมอบห้องสมุด และการเปิดนิทรรศการเปิดกล่องความคิดฯ ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้พาว่าที่เจ้าสาวของผมไปด้วย ดังนั้นเลยไม่พลาดที่จะขอเก็บภาพคู่ระหว่างผมและว่าที่เจ้าสาวครับ

เอาหล่ะ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ไปชมภาพถ่ายกันเลยดีกว่า…

[nggallery id=49]

ปล. ไม่ได้ใส่ชุดอะไรหรูหราหรอกครับ แค่ได้รูปคู่กันในห้องสมุดแค่นี้ก็พอใจแล้ว

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณช่างภาพนะครับ คุณเปียวแห่งห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี และคุณผ่องจากโครงการศูนย์ความรู้กินได้

รายละเอียดของงานนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิด…เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/exhibition-open-box-new-library-concept.html

[InfoGraphic] 1 ปี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีกับข้อมูลที่น่าสนใจ

เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 1 ปีของการปรับเปลี่ยนรูปแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (วันครบรอบ 24 กรกฎาคม) ผมจึงถือโอกาสสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลที่น่าสนใจตลอด 1 ปีที่ผ่านมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน

แต่ถ้าจะสรุปข้อมูลสถิติของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแบบธรรมดาๆ (แบบตาราง หรือ แผนภูมิ) ผมว่ามันก็ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ ดังนั้นผมจึงขอนำแนวความคิดของการจัดทำ Infographic ของต่างประเทศมาช่วยเพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอข้อมูลแบบใหม่ๆ

Infographic ที่เพื่อนๆ จะได้เห็นนี้ ผมเชื่อว่าเป็น Infographic แรกของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ใช้เวลาในการทำ 5 ชั่วโมง (ไม่ใช่แค่เรื่องออกแบบ และทำ graphic เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ด้วย)

เอาเป็นว่าผมคงไม่อธิบายอะไรมากนอกจากให้เพื่อนๆ ได้ดู Infographic นี้เลย

[หากต้องการดูรูปใหญ่ให้คลิ๊กที่รูปภาพได้เลยครับ]

เป็นยังไงกันบ้างครับกับการนำเสนอข้อมูลห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีของผม
เพื่อนๆ คิดเห็นยังไงก็สามารถเสนอแนะได้นะครับ ผมจะได้นำแนวทางไปปรับปรุงต่อไป

ปล. หากต้องการนำไปเป็นตัวอย่างหรือนำไปลงในเว็บไซต์หรือบล็อกอื่นๆ กรุณาอ้างอิงผลงานกันสักนิดนะครับ

งานวันเด็ก ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงวันเด็กปีนี้ผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (มาช่วยเขาจัดงาน)
เลยขอเอากิจกรรมต่างๆ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังดีกว่า เผื่อจะได้ไอเดียเอาไปใช้ในปีหน้ากัน

ชื่องานวันเด็ก – Kindai Kids Day จัดโดย ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรมที่จัดในห้องสมุดประชาชนแบ่งออกเป็น 5 โซน ดังนี้
1. โซนสร้างพลานามัย เวทีกลางแจ้ง (หน้าห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี) – เกมส์กลางแจ้ง
2. โซนรักการอ่าน ห้องโถงชั้น 1 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี – ส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน
3. โซนสร้างจินตนาการ ห้องสมุดเด็กไทยคิด – ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4. โซนเทคโนโลยี ห้องคอมพิวเตอร์ – ส่งเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
5. โซนส่งเสริมอาชีพ – หน้าลานสนามหญ้าห้องสมุด – สอนการประดิษฐ์เพื่อนำไปประกอบอาชีพ

ธีมหลักของงานนี้ คือ สุขภาพแข็งแรง / รักการอ่าน / สร้างจินตนาการ / ใช้ไอที

ในแต่ละโซนมีอะไรให้เล่นได้บ้าง :-
1. โซนสร้างพลานามัย
เป็นโซนหลักและจัดกิจกรรมเกมส์กลางแจ้งมากมาย เช่น การแสดงความสามารถของเด็กๆ , การแข่งขันฮูล่าฮูป, เก้าอี้ดนตรี, เกมส์เหยียบลูกโป่ง นอกจากนี้ในโซนนี้จะมีการจัดซุ้มจับสลาก (การจับฉลากเดี๋ยวอธิบายทีหลังนะครับ)
2. โซนรักการอ่าน เป็นโซนบริเวณทั่วๆ ไปในห้องสมุด ซึ่งมีการจัดนิทรรศการแนะนำหนังสือเด็ก นอกจากนี้ยังมีการจัดบอร์ดสำหรับเด็กๆ คือ โตขึ้นหนูอยากเป็น…. เด็กๆ ก็จะมาเขียนอาชีพในฝันของตัวเอง ซึ่งได้รับการตอบรับมากมาย
3. โซนสร้างจินตนาการ เป็นโซนที่ส่งเสริมการสร้างจินตนาการให้เด็กๆ ซึ่งกิจกรรมทั่วๆ ไป คือ การวาดภาพระบายสี การบิดลูกโป่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
4. โซนเทคโนโลยี เป็นโซนที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในทางที่เหมาะสมสำหรับเด็ก กิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ และการอบรมการใช้ internet เบื้องต้น
5. โซนส่งเสริมอาชีพ เป็นโซนที่ได้รับความสนใจอีกโซนหนึ่ง เพื่อผู้ปกครองที่มารอเด็กๆ เล่นกิจกรรมก็จะเข้ามาร่วมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ มาเรียนรู้การทำอาชีพ เช่น การพับดอกไม้ด้วยใบเตย, การสานรูปสัตว์จากใบตาล, การทำแซนวิส, การทำน้ำสมุนไพร

ของรางวัลในงานนี้แบ่งออกเป็น
– ของที่ระลึก – แจกเด็กๆ ทุกคนที่มางาน = ขนม
– ของรางวัลตามกิจกรรม – เล่นกิจกรรมแล้วได้เลย
– ของรางวัลจากการจับสลาก – ต้องเล่นกิจกรรมให้ครบ 4 โวนแล้วนำบัตรมายื่นที่ซุ้มจับฉลาก

งานนี้มีเด็กเข้าร่วมประมาณ 200 คน
ของขวัญที่มีคนอยากได้มากที่สุด = ตุ๊กตาหมูกระต่ายใหญ่และหมอนหมูกระต่ายใหญ่

เอาเป็นว่างานนี้ก็ถือว่าจัดได้สนุกพอควรเลย ผู้จัดงานเหนื่อยนะแต่ก็มีความสุขกับเด็กๆ ทุกคน
วันนี้ผมก็ขอเล่าแค่นี้ก่อนดีกว่า ขอไปพักก่อนนะครับ รูปเพื่อนๆ สามารถดูได้ด้านล่างนี้เลย

รูปกิจกรรมงานวันเด็ก 54 (Kindai Kids Day 2011)

[nggallery id=35]

วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้ไม่อยากเขียนอะไรเยอะ เอาเป็นว่าขอเอาวีดีโอมาลงให้ดูแทนดีกว่า
วีดีโอนี้เป็นวีดีโอแนะนำศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วีดีโอนี้ผมว่าจะเอามาให้ดูนานแล้วแต่หาไม่เจอ วันนี้ค้นไปค้นมาเจอก็เลยเอามาให้เพื่อนๆ ดูก็แล้วกัน
ในวีดีโอได้แนะนำหลักการและเหตุผลของโครงการ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด
ซึ่งมีภาพตัวอย่างของห้องสมุดอยู่พอควรเลย เอาเป็นว่าลองดูแล้วกันนะครับ

วีดีโอแนะนำศูนยความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis[/youtube]

อ๋อก่อนจากกันวันนี้ผมขอแถมวีดีโออีกตัวเป็น วีดีโอตัวแรกของโครงการครับ
อาจจะมี text เยอะหน่อยแต่ผมว่าดูแล้วไม่น่าเบื่อครับ เอามาให้ดูกันเล่นๆ

วีดีโอโครงการศูนยความรู้กินได้

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=DYWBiw1pu-U[/youtube]

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นงานห้องสมุดที่ผมดูแลในช่วงปีที่ผ่านมาก็ฝากด้วยแล้วกันครับ
ใครว่างๆ หรือมีเวลา หรือแวะไปเที่ยวที่จังหวัดอุบลราชธานีก็แวะไปได้ครับ
ที่ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

เว็บไซต์ทางการของศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี : http://www.kindaiproject.net

Blogging Workshop @ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้มีการอบรมเรื่อง “ใช้ blog ดึงลูกค้า” ที่ ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ผมจึงขอสรุปการบรรยายดังกล่าวให้เพื่อนๆ คนอื่นๆ ได้อ่านกันบ้างแล้วกัน

blog-photo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรม
ชื่อการอบรม : ใช้ blog ดึงลูกค้า
ผู้บรรยาย : คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
วันและเวลาในการอบรม : วันที่ 8 สิงหาคม 2553
สถานที่ : ห้องฝึกอบรม ชั้น 2 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

สรุปการอบรมช่วงเช้า
– ความแตกต่างระหว่าง Web, Blog และ Wiki
– แนะนำหลักการและแนวคิดของเว็บไซต์ Web 2.0
– แนะนำการสมัคร wordpress.com เพื่อสร้างบล็อกส่วนตัว
– การตั้งชื่อบล็อกให้น่าสนใจต่อการทำธุรกิจของเรา
– กำหนดรหัสผ่านอย่างไรไม่ให้ถูก hack
– ทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของ wordpress เช่น header, blog, widgets
– การตั้งค่าต่างๆ ใน wordpress.com เช่น ชื่อบล็อก เวลา ภาษา
– ความแตกต่างระหว่าง page กับ post
– การเลือกธีม และ widgets ใน wordpress.com
– การเขียน blog 1 เรื่อง ต้องทำอย่างไรบ้าง = ชื่อเรื่อง ชื่อลิงค์ เนื้อเรื่อง tag หมวดหมู่ ฯลฯ

สรุปการอบรมช่วงบ่าย
– การปรับแต่งรูปภาพก่อนนำเข้าบล็อก & การใช้โปรแกรม Xnview
– ข้อแตกต่างระหว่าง wordpress.com กับ wordpress.org
– การจำลองการติดตั้ง wordpress บน server ด้วยโปรแกรม server2go
– การอัพโหลดรูป วีดีโอ ไฟล์ต่างๆ เข้าบล็อก
– การติดตั้งธีมและการเลือกธีมเพื่อใช้ในบล็อก
– การติดตั้ง plugin และการเลือก Plugin เพื่อใช้ในบล็อกสำหรับการประกอบธุรกิจ
– การใช้งาน Plugin WP e-commerce

นี่ก็เป็นการสรุปแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มาได้อ่านนะครับ
จริงๆ แล้วเรื่องของการทำบล็อกผมว่าคงต้องใช้เวลาในการอบรมมากกว่านี้

เวลาเพียง 1 วันอาจจะทำให้เรารู้จักการใช้งานแบบคร่าวๆ
ซึ่งถ้าต้องลงรายละเอียดและการทำงานขั้นสูงคงต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง
หรือเกิดจากการทดลองใช้งานจริงๆ และจะทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ

สำหรับคนที่ไม่ได้มาในวันนี้ ห้องสมุดประชาชนก็จะจัดทำวีดีโอเพื่อการสอนทำบล็อกนี้ด้วย
ไม่เพียงแค่การอบรมในวันนี้เท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงการอบรม เสวนา กิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีจะมีการบันทึกวีดีโอและตัดต่อวีดีโอเพื่อนำมาให้บริการภายหลังด้วย

ประมวลรูปภาพในงานฝึกอบรมครั้งนี้

[nggallery id=26]

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีโฉมใหม่

ยังจำกันได้มั้ยครับว่าผมเคยแนะนำ “ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี” ไปแล้ว
ถ้าจำไม่ได้ลองอ่านที่เรื่อง “ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี

ภาพจำลองห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ภาพจำลองห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

เป็นยังไงกันบ้างครับ จำกันได้หรือยัง

หลังจากที่โครงการศูนย์ความรู้กินได้เข้ามาปรับปรุง ออกแบบ และตกแต่งใหม่
วันนี้ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้เปลี่ยนไปอย่างที่ว่าเกือบจำไม่ได้เลยก็ว่าได้

ตอนนี้สถานที่พร้อมให้บริการผู้ใช้บริการแล้วนะครับ
และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 24 กรกฎาคม 2553 นี้แล้วด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเอาภาพตัวอย่างมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
แล้วเดี๋ยวถ้ามีเวลา ผมจะเขียนแนะนำบริการใหม่ๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ

ไปดูรูปกันเลย

[nggallery id=25]

ปล. ถ้าอยากรู้ว่าเปลี่ยนแปลงแค่ไหนแนะนำให้ดูในเรื่อง “ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี” ตามนะครับ