prewedding แบบเล็กๆ ในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ยังจำเรื่องที่ผมเขียนเมื่อวันก่อนได้มั้ยครับ เรื่อง “prewedding เก๋ๆ ในห้องสมุดซีแอทเทิล – Seattle Public Library” ในเรื่องนั้นเองที่ผมได้เกริ่นว่า “หลังจากที่ได้ชมภาพคู่แต่งงานที่ใช้ห้องสมุดซีแอทเทิล เป็นสถานที่ในการถ่าย prewedding แล้ว มันทำให้ผมรู้สึกว่า การที่ผมจะถ่ายรูป prewedding ในห้องสมุดคงจะดีไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว (มันเข้ากับ concept ของนายห้องสมุดอย่างผมมากๆ)

เอาเป็นว่าที่วันนี้เขียนบล็อก ก็เพราะว่าเรื่องนั้นผมได้ทำสำเร็จแล้วครับ คือการไปถ่ายรูป Prewedding ในห้องสมุด และห้องสมุดที่ผมไปถ่ายก็ไม่ใช่ที่อื่นหรอกครับ ที่นั่นคือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี นั่นเอง

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=naPDMFk2nas[/youtube]

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปห้องสมุดแห่งนี้เพื่อที่จะร่วมพิธีครบรอบ 1 ปีห้องสมุด งานส่งมอบห้องสมุด และการเปิดนิทรรศการเปิดกล่องความคิดฯ ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้พาว่าที่เจ้าสาวของผมไปด้วย ดังนั้นเลยไม่พลาดที่จะขอเก็บภาพคู่ระหว่างผมและว่าที่เจ้าสาวครับ

เอาหล่ะ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ไปชมภาพถ่ายกันเลยดีกว่า…

[nggallery id=49]

ปล. ไม่ได้ใส่ชุดอะไรหรูหราหรอกครับ แค่ได้รูปคู่กันในห้องสมุดแค่นี้ก็พอใจแล้ว

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณช่างภาพนะครับ คุณเปียวแห่งห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี และคุณผ่องจากโครงการศูนย์ความรู้กินได้

รายละเอียดของงานนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิด…เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/exhibition-open-box-new-library-concept.html

“การลงทุน” “ผลตอบแทน” ของการมีห้องสมุดประชาชนในอเมริกา

บทความที่ผมกำลังจะนำมาให้เพื่อนๆ อ่าน เป็นบทความที่ผมเคยเขียนไว้ในบล็อกของที่ทำงานผม
เกี่ยวกับเรื่อง “การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนของการมีห้องสมุดประชาชน
เรื่องนี้ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อการคิดเรื่องการประเมินห้องสมุดประชาชนอ่ะครับ

“ลงทุน 1 เหรียญได้คืนกว่า 4 เหรียญ” คือ บทสรุปอันมีชื่อเสียงของเกลน ฮอลท์ (Glen Holt) ผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชนเซนหลุยส์ ที่คำนวณออกมาให้เห็นว่า ทุกๆ หนึ่งเหรียญที่ได้รับการสนับสนุนจากภาษีประจำปี ห้องสมุดได้บริหารและก่อให้เกิดประโยชน์ทางตรงต่อผู้ใช้บริการเป็นมูลค่ามากกว่า 4 เหรียญ

จากคำกล่าวด้านบนทำให้เห็นว่า ในประเทศที่เจริญแล้วมักเห็นความสำคัญของการมีห้องสมุด ซึ่งนำมาอธิบายในเรื่องการลงทุนสำหรับการพัฒนาห้องสมุด โดยจะเห็นว่า เงินทุกเหรียญที่ผู้ใช้บริการจ่ายภาษีและเป็นงบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด ห้องสมุดจะตอบแทนกลับคืนเป็น 4 เท่า

ผลตอบแทนที่ว่านี้อาจจะไม่ได้ตอบแทนเป็นเงินกลับสู่กระเป๋าผู้ใช้บริการหรอกนะครับ
แต่เป็นการตอบแทนในเรื่องของการพัฒนาสื่อต่างๆ และพัฒนาการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการมากกว่า เช่น

– ไม่ต้องซื้อหนังสืออ่านเอง เพราะมาอ่านและยืมได้ที่ห้องสมุด
– ไม่ต้องซื้อนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์เอง เพราะมาอ่านได้ที่ห้องสมุด
– ไม่ต้องซื้อสื่อมัลติมีเดียเอง เพราะมาดู มาชม มาฟังได้ที่ห้องสมุด
– มานั่งเล่นคอมพิวเตอร์ มาค้นข้อมูลได้ที่ห้องสมุด

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการวัดผล ประเมินความคุ้มค่า และผลตอบแทนของห้องสมุดออกมาเป็นตัวเลขที่เห็นชัดเจน ดูได้จากตารางด้านล่างนี้

จะสังเกตได้ว่าบางแห่งให้ผลตอบแทนมากถึง 6 เหรียญเลยทีเดียว เช่น ห้องสมุดประชาชนในรัฐฟลอริด้า บทความเรื่องผลตอบแทนของการมีห้องสมุดมีหลายบทความที่น่าอ่าน เช่น

http://ila.org/advocacy/pdf/Ohio.pdf

http://www.clpgh.org/about/economicimpact/

http://www.lrs.org/public/roi/

เอาเป็นว่าก็ลองเข้าไปอ่านกันดูได้นะครับ

หลายคนคงสงสัยว่าตัวเลขในการคำนวณความคุ้มค่าเขาวัดจากไหน ผมจึงขอยกตัวอย่างสักเรื่องนะครับ “ในปี 2553 ห้องสมุดแห่งหนึ่งมีผู้ใช้บริการจำนวน 3.5 ล้านคน และมีจำนวนการยืมสื่อในห้องสมุดจำนวน 6.4 ล้านรายการ หากตรวจสอบข้อมูลดูแล้วจะพบว่าหากผู้ใช้บริการเหล่านี้จ่ายเงินเพื่อซื้อสื่อเหล่านี้ พวกเขาจะต้องจ่ายเงินมากถึง 378 เหรียญต่อคนเลย”

นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมในการคำนวณผลตอบแทนของห้องสมุดด้วย ซึ่งห้องสมุดต่างๆ ก็เพียงแค่กรอกข้อมูลลงในตามฟอร์มต่างๆ แล้วให้โปรแกรมคำนวณออกมาก็จะรู้แล้วครับว่า ห้องสมุดตอบแทนผู้ใช้บริการคืนกลับมาเท่าไหร่ เราไปดูหน้าตาของโปรแกรมตัวนี้กัน

เมื่อกรอกข้อมูลการใช้บริการในส่วนต่างๆ ตามที่โปรแกรมกำหนดแล้ว โปรแกรมจะคำนวณค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนในการลงทุน และวัดความคุ้มค่าของการใช้บริการห้องสมุดออกมาเป็นตัวเลขต่างๆ ดังภาพ

เป็นยังไงกันบ้างครับโปรแกรมแบบนี้น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะครับ ผมเองก็อยากให้เกิดในเมืองไทยเช่นกัน
ยังไงก็ฝากไปถึงผู้ใหญ่หลายๆ คนที่อำนาจในการตัดสินใจด้วยแล้วกันครับ

ต้นฉบับที่ผมเขียนสามารถดูได้จาก http://kindaiproject.net/kmshare-blog/cost-benefit-analysis-for-libraries.html#

[InfoGraphic] 5สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุดในอเมริกา

วันนี้นั่งค้นรูป InfoGraphic ไปเรื่อยๆ ก็พบกับภาพ InfoGraphic ที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดอีกแล้ว
ผมจึงขอนำภาพๆ นี้มานำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ดูกันสักนิดแล้วกัน (ข้อมูลค่อนข้างน่าสนใจ)

อย่างที่เคยบอกเอาไว้แหละครับว่า ภาพ InfoGraphic ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว บางคนใช้นำเสนอข้อมูลจำพวกสถิติ บางคนนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความหรือสรุปเรื่องราว ….. วันนี้ InfoGraphic ที่ผมจะให้ดู เป็นเรื่องของการนำเสนอข้อมูลแบบสรุปนะครับ ซึ่งมีชื่อเรื่องว่า “5 Fun Facts You may not know about libraries” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด

ชมภาพ InfoGraphic : 5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด

ทสรุปจากภาพด้านบน (5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด)
1. ห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้บริการตอบคำถาม จำนวนถึง 56.1 ล้านคำถามในแต่ละปี โดยที่คำถามประมาณ 10 ล้านคำถามจะเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอล (ข้อมูลจาก ALA)

2. ชาวอเมริกันไปห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามากกว่าไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ถึง 3 เท่า (ข้อมูลจาก ALA)

3. ในประเทศอเมริกามีห้องสมุดประชาชนมากกว่าร้านแมคโดนัลด์ – ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนมีสาขามากถึง 16,604 แห่ง (ข้อมูลจาก ALA)

4. Benjamin Franklin เป็นผู้ที่ก่อตั้งห้องสมุดประชาชนในฟิลลาเดเฟีย ซึ่งเป็นห้องสมุดที่ให้บริการยืมคืนครั้งแรกของอเมริกา (ข้อมูลจาก USHistory) อ่านประวัติเพิ่มเติมของ Benjamin Franklin ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Benjamin_Franklin

5. 1 ใน 3 ของห้องสมุดประชาชนในอเมริกาจะมี account Facebook (ข้อมูลจาก library Research)

เป็นยังไงกันบ้างครับ ข้อมูลในภาพน่าสนใจมากใช่หรือเปล่า
ผมเองก็เพิ่งจะรู้ว่าที่อเมริกามีห้องสมุดมากกว่าร้านแมคโดนัลด์ซะอีก

เอาเป็นว่าถ้ามีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจอีก ผมจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันต่อนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอตัวไปเก็บข้อมูลอย่างอื่นก่อนแล้วกันนะครับ

ที่มาของภาพ Infographic : http://knovelblogs.com/2011/06/13/knovel-presents-5-fun-facts-you-may-not-know-about-libraries/

[InfoGraphic] 1 ปี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีกับข้อมูลที่น่าสนใจ

เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 1 ปีของการปรับเปลี่ยนรูปแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (วันครบรอบ 24 กรกฎาคม) ผมจึงถือโอกาสสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลที่น่าสนใจตลอด 1 ปีที่ผ่านมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน

แต่ถ้าจะสรุปข้อมูลสถิติของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแบบธรรมดาๆ (แบบตาราง หรือ แผนภูมิ) ผมว่ามันก็ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ ดังนั้นผมจึงขอนำแนวความคิดของการจัดทำ Infographic ของต่างประเทศมาช่วยเพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอข้อมูลแบบใหม่ๆ

Infographic ที่เพื่อนๆ จะได้เห็นนี้ ผมเชื่อว่าเป็น Infographic แรกของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ใช้เวลาในการทำ 5 ชั่วโมง (ไม่ใช่แค่เรื่องออกแบบ และทำ graphic เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ด้วย)

เอาเป็นว่าผมคงไม่อธิบายอะไรมากนอกจากให้เพื่อนๆ ได้ดู Infographic นี้เลย

[หากต้องการดูรูปใหญ่ให้คลิ๊กที่รูปภาพได้เลยครับ]

เป็นยังไงกันบ้างครับกับการนำเสนอข้อมูลห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีของผม
เพื่อนๆ คิดเห็นยังไงก็สามารถเสนอแนะได้นะครับ ผมจะได้นำแนวทางไปปรับปรุงต่อไป

ปล. หากต้องการนำไปเป็นตัวอย่างหรือนำไปลงในเว็บไซต์หรือบล็อกอื่นๆ กรุณาอ้างอิงผลงานกันสักนิดนะครับ

10 ห้องสมุดในอเมริกาที่ชีวิตนี้ผมต้องไปให้ได้

ห้องสมุดในอเมริกาหลายๆ แห่งมีความน่าสนใจในหลายๆ เรื่องมาก
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาปัตยกรรม เรื่องการบริหารจัดการ เรื่องเทคโนโลยีในห้องสมุด

ถ้ามีโอกาสสักครั้งในชีวิต ผมก็อยากไปชมห้องสมุดในต่างประเทศบ้าง
ในระหว่างนี้ผมคงยังไม่ได้ไปหรอก เพราะงั้นวันนี้ผมขอเขียน list ทิ้งไว้ก่อนแล้วกัน

ก่อนอื่นผมก็คงต้องค้นหาห้องสมุดดีๆ ก่อนสินะ ว่าแล้วก็เปิดเว็บไซต์ค้นข้อมูลทั้งที
และแล้วผมก็เจอบทความนึง “10 great places to take a library tour
ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ USATODAY คอลัมน์ Travel เอาเป็นว่าต้องขอจดไว้ใน list นี้เลย

ห้องสมุด 10 แห่งที่น่าสนใจสำหรับการไปเที่ยวชม มีดังนี้

1. New York Public Library

ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ผมไม่พลาดแน่ๆ เพราะห้องสมุดแห่งนี้ได้ชื่อเรื่องของการจัดกิจกรรมแบบใหม่ๆ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากมาย แถมเป็นห้องสมุดที่มีสถาปัตยกรรมงดงามมากมาย สัญลักษณ์ของห้องสมุดแห่งนี้คือ “สิงโต” นั่นเอง

2. Fayetteville Public Library

ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นห้องสมุดที่ได้รับการออกแบบให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากๆ Green Library

3. Seattle Central Library

ไปอเมริกาทั้งทีต้องไปที่นี่ให้ได้ เพราะห้องสมุดที่มีการออกแบบอาคารสุดทันสมัยแถมสอดคล้องกับการทำงานของบรรณารักษ์ ห้องสมุดแห่งนี้ผมเขียนถึงหลายครั้งแล้วก็เลยอยากไปเป็นพิเศษ

4. Geisel Library, University of California-San Diego

ห้องสมุดแห่งนี้ผมก็เคยเขียนลงบล็อกแล้วเช่นกัน ห้องสมุดแห่งนี้รูปลักษณ์อาคารดูแปลกๆ แต่ภายในสามารถตอบสนองผู้ใช้บริการได้แบบสุดยอดมาก

5. Thomas Jefferson Building, Library of Congress

ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดของโลกไม่ไปคงเสียดายแย่เลยเนอะ แถมไปดูต้นฉบับการจัดหมวดหมู่แบบ LC ด้วย

6. Weippe Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้ผมไม่เคยได้ยินชื่ออ่ะ แต่ก็ลองไปค้นข้อมูลดูแล้ว พบว่ารูปลักษณ์อาคารก็ไม่ได้ดูเด่นอะไร แต่ห้องสมุดแห่งนี้เด่นเรื่องการสร้างชุมชน แถมด้วยการให้บริการ WIFI & CELL PHONE HOTSPOT

7. Harold Washington Library Center, Chicago Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้ดูรูปแล้วตอนแรกนึกว่าเป็นห้องสมุดในเมืองจีน ยิ่งได้รู้ว่าห้องสมุดแห่งนี้เด่นเรื่องการจัดนิทรรศการยิ่งน่าไปดูมากๆ

8. Boston Athenaeum

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ยังคงเน้นการจัดตกแต่งภายในด้วยศิลปะ รูปปูนปั้น และภาพเขียนโบราณมากมาย เข้าไปแล้วจะได้ความรู้สึกของห้องสมุดแบบเก่าๆ ได้ดีมาก

9. Deadwood Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้คล้ายๆ กับห้องสมุดที่ 8 คือเน้นบรรยากาศภายในห้องสมุดดูเก่าๆ และมีมนต์ขลังดี

10. Central Denver Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้เห็นรูปแล้วชอบมากเพราะมีศิลปะอยู่รายรอบห้องสมุด โดยเฉพาะการตกแต่งอาคาร และการออกแบบสถาปัตยกรรม เอาเป็นว่าก็สวยไปอีกแบบ

เป็นไงกันบ้างครับห้องสมุดทั้ง 10 แห่ง บางแห่งผมก็เคยได้ยินมาเยอะ
แต่ก็มีห้องสมุดบางแห่งที่ยังไม่ค่อยรู้จักเลย เอาเป็นว่าสักวันคงต้องไปเยือนจริงๆ สักที

คลิปวีดีโอคนต่อแถวแย่งกันเข้าห้องสมุดประชาชนเป็นไปได้หรือนี่

วันนี้วันเสาร์ผมขอนำคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดมาลงให้เพื่อนๆ ดูแล้วกัน
เพราะเข้าใจว่าหลายคนคงไม่อยากจะอ่านอะไรยาวๆ คลิปวีดีโอนี้อยากให้ดูมากๆ

วีดีโอที่ผมนำมาลงนี้เกี่ยวกับการเปิดห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่ที่สิงคโปร์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (เมื่อวานที่ผมเขียนถึงนั่นแหละ “ห้องสมุดประชาชนที่เปิดใหม่ในสิงคโปร์ 2011“)

ห้องสมุดประชาชนที่เปิดใหม่นี้ คือ Serangoon Public Library ซึ่งเปิดบนห้าง Nex Mall
ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเด่นอยู่ตรงที่มีมุม Digital Media ซึ่งเน้นให้บริการเกมส์เพื่อการศึกษา

ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งเปิดในเดือนมีนาคม 2011 เราไปดูวันแรกของการเปิดห้องสมุดดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=6rTBn2NotCU[/youtube]

สังเกตเห็นอะไรในวีดีโอกันมั้ยครับ
นี่ไม่ใช่งานเปิดตัวสินค้าของ apple หรือเปิดตัว game เครื่องใหม่
แต่ดูคนเข้าแถวสิครับว่าเยอะแค่ไหน นั่นคือคนที่มารอเข้าชมห้องสมุดใหม่นะครับ
แล้วทันทีที่ห้องสมุดเปิดให้เข้าชม คนต่างวิ่งเข้าไปในห้องสมุดหยิบหนังสือกันแบบว่า
เหมือนกับว่าเข้ากำลังจะแย่งซื้อสินค้ากันเลยทีเดียว

จุดเด่นอีกจุดนึงของที่นี่คือมุม Digital media ซึ่งเน้นเกมส์เพื่อการศึกษา เรามาดูกันดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Lf8DKcQT6Wo&NR=1[/youtube]

เห็นวีดีโอนี้แล้วมานั่งคิดถึงห้องสมุดประชาชนในเมืองไทย
ถ้าวันเปิดห้องสมุดมีคนมาต่อแถว แย่งกันเข้าแบบนี้ก็คงดีไม่น้อย

เอาเป็นว่าก็ขอยกเอามาให้ดูเท่านี้ก่อนนะครับ

ปล. ผมขอไปนอนฝันก่อนนะครับ เพื่อจะได้เหนห้องสมุดในเมืองไทยเป็นแบบนี้บ้าง

สำหรับเรื่องห้องสมุดประชาชนในสิงคโปร์เพื่อนๆ อ่านได้ที่ ห้องสมุดประชาชนที่เปิดใหม่ในสิงคโปร์ 2011

ห้องสมุดประชาชนที่เปิดใหม่ในสิงคโปร์ 2011

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลการเปิดห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่ในสิงคโปร์ประจำปี 2011 มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันดีกว่า ถือว่าเป็นน้ำจิ้มก่อนแล้วกัน เพราะในเดือนมิถุนายนผมจะไปเที่ยวที่สิงคโปร์พอดี จะได้เก็บภาพมาฝากทีหลัง

จากแผนงานของ NLB ปีนี้ จะมีห้องสมุดประชาชนในสิงคโปร์เปิดใหม่ 2 แห่ง
ซึ่งห้องสมุดประชาชนหนึ่งในสองแห่งเปิดไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคม นั่นคือ Serangoon Public Library
และห้องสมุดประชาชนอีกแห่งจะเปิดในเดือนพฤษภาคม นั่นคือ Clementi Public Library

จุดเด่นของห้องสมุดประชาชนทั้งสองแห่งนี้คือ อยู่บนห้างสรรพสินค้าทั้งคู่
โดย Serangoon Public Library อยู่บน ห้าง “NEX Mall”
และ Clementi Public Library อยู่บน ห้าง “Clementi Mall”

ข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดประชาชนทั้งสอง
– Serangoon Public Library เปิดในเดือนมีนาคม 2011 รองรับผู้อยู่อาศัยจากเขต Serangoon จำนวน 122,000 คน ห้องสมุดมีพื้นที่ขนาด 1,580 ตารางเมตร
– Clementi Public Libraryปิดในเดือนพฤษภาคม 2011 รองรับผู้อยู่อาศัยจากเขต Clementiจำนวน 91,000 คน ห้องสมุดมีพื้นที่ขนาด 1,900 ตารางเมตร

ห้องสมุดทั้งสองแห่งจะเริ่มต้นด้วยสื่อประเภท หนังสือ วารสาร นิตยสาร มัลติมีเดีย จำนวน 150,000 รายการ (นี่ขนาดว่าจำนวนตั้งต้นนะครับ)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ก่อนนะครับ เดี๋ยวเดือนมิถุนายนผมไปเที่ยวแล้วจะเก็บภาพมาฝากนะครับ
ปล. เดือนมิถุนายนที่ผมไปเที่ยวโชคดีว่ามีงาน World book Expo ที่สิงคโปร์พอดี คงจะได้เรื่องราวมากมายมาฝาก เอาเป็นว่าก็ต้องติดตามชมกันต่อไป

อ้างอิงข่าวจาก http://www.nlb.gov.sg/Corporate.portal?_nfpb=true&_windowLabel=PRHandler_1&PRHandler_1_actionOverride=%2FIBMS%2FcorpHomePR%2FcorpPRHandler%2Fdetail&PRHandler_1detailId=578&PRHandler_1mediaType=1&_pageLabel=Corporate_page_ne_pressreleases

Infographic : ห้องสมุดประชาชนในอเมริกาอยู่ในภาวะเสี่ยง

นานๆ ทีผมจะเจอ Infographic ที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
เลยอยากเอามาให้เพื่อนๆ ดูและสังเกตการทำ Infographic แบบดีๆ

Infographic วันนี้ผมนำมาจากงาน National Library Week (สัปดาห์ห้องสมุดแห่งชาติ) ซึ่งจะจัดทุกปีในระหว่างวันที่ 10 – 16 เมษายน ในอเมริกาเขาจัดกันอย่างยิ่งใหญ่มากๆ ส่วนไทยเราก็อย่างที่รู้ๆ กันในช่วงนั้นเป็นวันสงกรานต์ เราหยุดครับ

อ๋อ เข้าเรื่องดีกว่า Infographic นี้นำเสนอข้อมูลห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งหัวข้อใน Infographic คือ U.S. Public Libraries At Risk (แอบสะดุ้ง)
ประมาณว่าห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะที่เสี่ยง (เสี่ยงถูกปิดนะครับ)

เอาเป็นว่าในไปชม Infographic กันก่อน


เป็นยังไงกันบ้างครับ สวยงาม ชัดเจน และมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เช่น

ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนในสหรัฐอเมริกามีจำนวน 169 ล้านคน (59% ของประชากรในประเทศ)
(โห แบบว่าคนสหรัฐอเมริกาเข้าห้องสมุดประชาชนมากขนาดนั้นเลย แล้วไทยหล่ะ)

เรื่องที่คนให้ความสนใจในห้องสมุด (ผลสำรวจเรื่องยอดฮิตในห้องสมุด ปี 2010)
อันดับ 1 – เรื่องการทำอาหาร 67%
อันดับ 2 – เรื่องสุขภาพ 59%
อันดับ 3 – เรื่องเหตุการณ์ปัจจุบันรวมไปถึงเรื่องการเมือง 41%
อันดับ 4 – เรื่องธุรกิจและอาชีพ 37%
อันดับ 5 – เรื่องการท่องเที่ยว 26%
อันดับ 6 – เรื่องการพัฒนาตนเอง 22%

เรื่องของการตัดงบประมาณในห้องสมุดมีมาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว
และในปี 2009 ถูกตัดไป 40%? ปี 2010 ถูกตัดไป 54.4% และในปีนี้ ถูกตัดไป 62%

เอาแล้วไงครับ เริ่มน่ากลัวแล้วว่าห้องสมุดจะถูกปิดอีกหลายแห่ง
(อ๋อ งบประมาณสำหรับห้องสมุดของเขาแม้ว่าจะโดนตัดไปเยอะแต่ผมเชื่อว่าเงินในการบริหารห้องสมุดของเขาก็ยังคงมากกว่าเงินบริหารห้องสมุดประชาชนในเมืองไทยมากนัก)

นอกจากนี้ทุกคน (ผู้ใช้บริการ) เกือบทุกวัย ทุกอาชีพ เห็นด้วย และยินดีที่มีห้องสมุดประชาชนใช้งาน
นับว่าห้องสมุดประชาชนเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บริการเกือบทุกคน (ดูจาก % ได้เลย)

และท้ายที่สุดแล้ว ใน Infographic ก็ทิ้งท้ายไว้ว่า
“กรุณาช่วยห้องสมุดประชาชนในท้องที่ของคุณด้วย”

เอาเป็นว่าห้องสมุดบางแห่งที่ถูกสั่งปิดเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้บางแห่งยังอยู่
เพราะความร่วมมือของคนในพื้นที่ระดมทุนช่วยเหลือห้องสมุด
ก็มีเช่นกัน

เอาเป็นว่า Infographic นี้ ผมว่าเป็นภาพที่นำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจมากๆ
อ่านแล้วเข้าใจง่าย แถมดูกี่ทีก็ไม่รู้สึกเบื่อเลย (ถ้าเทียบกับการนำเสนอข้อมูลแบบ paper ผมว่านี้แหละเยี่ยม)

เอาเป็นว่าก็ขอฝากไว้เท่านี้แล้วกันครับ ผมเองก็ตั้งตาคอยดู infographic ของเมืองไทยอยู่นะ

ที่มาของภาพดีๆ นี้ จาก http://www.archives.com/blog/industry-news/national-library-week-2011.html

งานวันเด็ก ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงวันเด็กปีนี้ผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (มาช่วยเขาจัดงาน)
เลยขอเอากิจกรรมต่างๆ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังดีกว่า เผื่อจะได้ไอเดียเอาไปใช้ในปีหน้ากัน

ชื่องานวันเด็ก – Kindai Kids Day จัดโดย ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรมที่จัดในห้องสมุดประชาชนแบ่งออกเป็น 5 โซน ดังนี้
1. โซนสร้างพลานามัย เวทีกลางแจ้ง (หน้าห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี) – เกมส์กลางแจ้ง
2. โซนรักการอ่าน ห้องโถงชั้น 1 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี – ส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน
3. โซนสร้างจินตนาการ ห้องสมุดเด็กไทยคิด – ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4. โซนเทคโนโลยี ห้องคอมพิวเตอร์ – ส่งเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
5. โซนส่งเสริมอาชีพ – หน้าลานสนามหญ้าห้องสมุด – สอนการประดิษฐ์เพื่อนำไปประกอบอาชีพ

ธีมหลักของงานนี้ คือ สุขภาพแข็งแรง / รักการอ่าน / สร้างจินตนาการ / ใช้ไอที

ในแต่ละโซนมีอะไรให้เล่นได้บ้าง :-
1. โซนสร้างพลานามัย
เป็นโซนหลักและจัดกิจกรรมเกมส์กลางแจ้งมากมาย เช่น การแสดงความสามารถของเด็กๆ , การแข่งขันฮูล่าฮูป, เก้าอี้ดนตรี, เกมส์เหยียบลูกโป่ง นอกจากนี้ในโซนนี้จะมีการจัดซุ้มจับสลาก (การจับฉลากเดี๋ยวอธิบายทีหลังนะครับ)
2. โซนรักการอ่าน เป็นโซนบริเวณทั่วๆ ไปในห้องสมุด ซึ่งมีการจัดนิทรรศการแนะนำหนังสือเด็ก นอกจากนี้ยังมีการจัดบอร์ดสำหรับเด็กๆ คือ โตขึ้นหนูอยากเป็น…. เด็กๆ ก็จะมาเขียนอาชีพในฝันของตัวเอง ซึ่งได้รับการตอบรับมากมาย
3. โซนสร้างจินตนาการ เป็นโซนที่ส่งเสริมการสร้างจินตนาการให้เด็กๆ ซึ่งกิจกรรมทั่วๆ ไป คือ การวาดภาพระบายสี การบิดลูกโป่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
4. โซนเทคโนโลยี เป็นโซนที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในทางที่เหมาะสมสำหรับเด็ก กิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ และการอบรมการใช้ internet เบื้องต้น
5. โซนส่งเสริมอาชีพ เป็นโซนที่ได้รับความสนใจอีกโซนหนึ่ง เพื่อผู้ปกครองที่มารอเด็กๆ เล่นกิจกรรมก็จะเข้ามาร่วมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ มาเรียนรู้การทำอาชีพ เช่น การพับดอกไม้ด้วยใบเตย, การสานรูปสัตว์จากใบตาล, การทำแซนวิส, การทำน้ำสมุนไพร

ของรางวัลในงานนี้แบ่งออกเป็น
– ของที่ระลึก – แจกเด็กๆ ทุกคนที่มางาน = ขนม
– ของรางวัลตามกิจกรรม – เล่นกิจกรรมแล้วได้เลย
– ของรางวัลจากการจับสลาก – ต้องเล่นกิจกรรมให้ครบ 4 โวนแล้วนำบัตรมายื่นที่ซุ้มจับฉลาก

งานนี้มีเด็กเข้าร่วมประมาณ 200 คน
ของขวัญที่มีคนอยากได้มากที่สุด = ตุ๊กตาหมูกระต่ายใหญ่และหมอนหมูกระต่ายใหญ่

เอาเป็นว่างานนี้ก็ถือว่าจัดได้สนุกพอควรเลย ผู้จัดงานเหนื่อยนะแต่ก็มีความสุขกับเด็กๆ ทุกคน
วันนี้ผมก็ขอเล่าแค่นี้ก่อนดีกว่า ขอไปพักก่อนนะครับ รูปเพื่อนๆ สามารถดูได้ด้านล่างนี้เลย

รูปกิจกรรมงานวันเด็ก 54 (Kindai Kids Day 2011)

[nggallery id=35]

วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้ไม่อยากเขียนอะไรเยอะ เอาเป็นว่าขอเอาวีดีโอมาลงให้ดูแทนดีกว่า
วีดีโอนี้เป็นวีดีโอแนะนำศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วีดีโอนี้ผมว่าจะเอามาให้ดูนานแล้วแต่หาไม่เจอ วันนี้ค้นไปค้นมาเจอก็เลยเอามาให้เพื่อนๆ ดูก็แล้วกัน
ในวีดีโอได้แนะนำหลักการและเหตุผลของโครงการ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด
ซึ่งมีภาพตัวอย่างของห้องสมุดอยู่พอควรเลย เอาเป็นว่าลองดูแล้วกันนะครับ

วีดีโอแนะนำศูนยความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis[/youtube]

อ๋อก่อนจากกันวันนี้ผมขอแถมวีดีโออีกตัวเป็น วีดีโอตัวแรกของโครงการครับ
อาจจะมี text เยอะหน่อยแต่ผมว่าดูแล้วไม่น่าเบื่อครับ เอามาให้ดูกันเล่นๆ

วีดีโอโครงการศูนยความรู้กินได้

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=DYWBiw1pu-U[/youtube]

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นงานห้องสมุดที่ผมดูแลในช่วงปีที่ผ่านมาก็ฝากด้วยแล้วกันครับ
ใครว่างๆ หรือมีเวลา หรือแวะไปเที่ยวที่จังหวัดอุบลราชธานีก็แวะไปได้ครับ
ที่ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

เว็บไซต์ทางการของศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี : http://www.kindaiproject.net