การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 1

วันนี้ผมขอสรุปข้อมูลจากหนังสือที่ผมกำลังอ่านในช่วงนี้นะครับ
ชื่อเรื่องว่า ?Planning the modern public library building?
ซึ่งเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการสร้างห้องสมุดประชาชนสมัยใหม่

planning-public-library-part-1

รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

พอได้อ่านแล้วก็ไม่อยากเก็บความรู้ไว้คนเดียวอ่ะครับ
ผมก็เลยขอทำสรุปหัวข้อสำคัญๆ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นกัน
ครั้นจะอ่านวันเดียวก็คงไม่จบ ผมก็เลยค่อยๆ ถยอยอ่านไปที่ละบทก็แล้วกัน

เริ่มจากวันนี้ผมจะสรุปบทที่ 1 ให้อ่านนะครับ

Chapter 1 : Early planning for a new library
เป็นบทที่ว่าด้วยสิ่งที่เราควรรู้ก่อนการวางแผนที่จะสร้างอาคารห้องสมุดใหม่
ปัญหาทั่วไป ข้อจำกัด การสร้างทีมงาน การหาที่ปรึกษา ฯลฯ

Problem with the existing building
– Demographic Changes (เน้นสภาพชุมชนทั่วไปในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)
– Collection (ดูความหลากหลายของทรัพยากรสารสนเทศ, การจำแนกชั้นหนังสือ, การเลือกชั้นหนังสือ)
– Seating Capacity (ความจุของที่นั่งที่จะรองรับผู้ใช้บริการของห้องสมุด)
– Library as a place
– Physical Problem in the building (สภาพทางกายภาพของห้องสมุด เช่น แสง อากาศ ฯลฯ)
– Site (สถานที่ตั้งของห้องสมุด การจราจร ที่จอดรถ ฯลฯ)
– Standard or guidelines (มาตรฐานในการจัดห้องสมุด)

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ Building team คือ พยายามอย่าให้เกิดความขัดแย้งกันภายใน
หากเกิดความขัดแย้งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น การเห็นอกเห็นใจกัน, การหาคนกลางมาไกล่เกลี่ย, หัวหน้าตัดสินชี้ขาด
จะเลือกวิธีไหนก็ได้แล้วแต่สถานการณ์ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

ห้องสมุดที่เราต้องการสร้างเราต้องคิดเผื่ออะไรบ้าง
– forecasting collection growth จำนวนทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
– forecasting seating requirement พยากรณ์จำนวนที่นั่งที่สามารถจุได้
– forecasting technology growth อัตราการเพิ่มเทคโนโลยีในห้องสมุด
– forecasting staff need ควมต้องการของคนที่ทำงาน
– forecasting new programs (ในที่นี้ program หมายถึง การบริการแบบใหม่ๆ)
– forecasting discontinuing program

นอกจากนี้ในบทนี้ยังมีการสอนเทคนิคการเลือกที่ปรึกษาของโครงการ
และคุณสมบัติทั่วไปของสถาปนิกในการสร้างอาคารห้องสมุด

บทที่ 1 สาระสำคัญทั่วไปยังเป็นเพียงแค่สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนการออกแบบวางแผนเท่านั้น
เอาไว้ตอนต่อไปผมจะนำมาสรุปให้อ่านอีกเรื่อยๆนะครับ วันนี้ขอตัวก่อนนะคร้าบ?

ขอแนะนำสำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ผมขอแนะนำ google book search นะครับ เพราะเขาสแกนไว้ให้เราอ่านประมาณ 300 หน้า
ลองไปอ่านที่ http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

ห้องสมุดประชาชนบางแห่งคนก็เข้าเยอะนะ

เมื่อวานผมเขียนเรื่อง “ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???
ในตอนจบของเรื่องนั้น ผมได้กล่าวไว้ว่า ห้องสมุดประชาชนบางที่ก็มีผู้ใช้บริการเยอะนะ
วันนี้ผมจึงขอมาเล่าเรื่องนี้ให้จบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เพื่อนๆ

lumpinidll0111-copy

ตัวอย่างที่ผมจะยกขึ้นมาเพื่อนๆ บางคนอาจจะเคยได้ใช้บริการ
และผมก็เชื่อว่าบางคนอาจจะไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อเลยก็ว่าได้

เริ่มจากที่แรก ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
สถานที่ตั้งผมคงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าอยู่ใน ?สวนลุมพินี?
สภาพอาคารเป็นแค่อาคารชั้นเดียวเท่านั้น
แต่ภายในมีการจัดพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ อย่างที่ห้องสมุดเขาจัดกันนั่นแหละ

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
– ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ในสวนสาธารณะ
– ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
– มีความทันสมัยด้านการสืบค้นข้อมูล
– บรรณารักษ์อัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม และให้ความช่วยเหลือได้ดี
– การจัดมุมต่างๆ แบ่งแยกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นมุมสืบค้น มุมหนังสือเด็ก มุมบริการคอมพิวเตอร์

เพียงแค่นี้ห้องสมุดแห่งนี้ก็เรียกได้ว่าหัวกระไดไม่แห้งเลย
เพราะว่ามีคนแวะเวียนมาอ่านหนังสือ ทำงาน กันอย่างไม่ขาดสายเลย

ต่อด้วยอีกตัวอย่างนึงแล้วกัน ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
ห้องสมุดแห่งนี้อยู่ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเองครับ
เพื่อนๆ สามารถเดินจากอนุสาวรีย์ไปที่ห้องสมุดแห่งนี้ได้ครับ
ห้องสมุดแห่งนี้ ประกอบด้วย 2 อาคาร อาคารนึงก็มี 3 ชั้นครับ
ภายในมีการจัด และตกแต่งได้ดี และจัดสรรพื้นที่ได้เหมาะสม

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
– สามารถเดินทางมาที่นี่ได้สะดวก (อนุสาวรีย์ชัยมีรถไปเกือบทุกที่ของกรุงเทพฯ)
– มีการตกแต่งสถานที่ และจัดการภายในที่ดี
– ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีครบครัน เช่น อินเทอร์เน็ต, wireless, ระบบสืบค้น ฯลฯ
– มีการจัดกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยครั้ง จึงทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
– หนังสือที่ให้บริการมีความทันสมัย และน่าติดตาม (หนังสือใหม่)
– มีการบริการสื่อที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ดีวีดี, โปรแกรมช่วยสอน ฯลฯ

จากที่ได้ยกตัวอย่างมาทั้งสองห้องสมุด ผมขอ สรุปปัจจัยที่ทำให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ ดังนี้
– อยู่ใกล้แหล่งชุมชน และการเดินทางสะดวก
– มีการจัดระเบียบ และตกแต่งภายในที่ชัดเจน และดึงดูด
– สื่อ หรือทรัพยากรในห้องสมุดมีความใหม่ และทันสมัยอยู่เสมอๆ
– มีการจัดกิจกรรม? หรือนิทรรศการเพื่อให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น
– ผู้ที่ทำงานในห้องสมุด ต้องบริการด้วยใจ และเต็มที่ในการให้บริการ
– เทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุด ก็เป็นอีกปัจจัยนึงในการพัฒนาห้องสมุด
– การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับห้องสมุด เช่น ให้การสนับสนุนห้องสมุด ฯลฯ

จริงๆ ยังมีมากกว่านี้อีกนะครับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ ที่ตั้งของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย
อ๋อแล้วก็พยายาม อย่าพยายามบอกว่า ?เพราะว่าคนไม่ชอบการอ่านครับ?
จริงๆ แล้ว คนอาจจะต้องการอ่านก็ได้ แต่จะสามารถสนับสนุนผู้ใช้เหล่านี้ได้แค่ไหนก็เท่านั้นเองครับ

ก่อนจากกันวันนี้ผมจะ็ขอจบเรื่องห้องสมุดประชาชนในสังคมไทยแต่เพียงเท่านี้
เอาไว้ว่างๆ ผมจะมาบ่นเรื่องนี้ให้เพื่อนฟังกันใหม่นะครับ

ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???

เพื่อนๆ ในแต่ละจังหวัด คงจะเคยสังเกตห้องสมุดประชาชนของจังหวัดตัวเองดูนะครับ
ว่ามีห้องสมุดประชาชนของจังหวัดนั้นๆ มีผู้ใช้บริการ หรือคนเข้ามาในห้องสมุดมากน้อยเพียงใด

public-library

หลายๆ คนอาจจะตอบผมว่า น้อย หรือไม่ก็น้อยมาก (ส่วนใหญ่)

สาเหตุที่คนไม่ค่อยเข้าใช้ห้องสมุดประชาชน เกิดจากอะไรได้บ้าง
– ทรัพยากรสารสนเทศมีน้อย
– บรรยากาศในห้องสมุดไม่ค่อยดี
– ห่างไกลจากชุมชน
– บรรณารักษ์ต้อนรับไม่ดี

ประเด็นต่างๆ ที่ผมกล่าวอาจจะมีส่วนที่ทำให้คนไม่เข้าห้องสมุดนะครับ (แค่อาจจะมีส่วนนะครับ)

บางครั้งถ้าผมไปถามบรรณารักษ์ หรือ คนทำงานห้องสมุดบ้างว่าทำไมไม่มีใครเข้าใช้
ผมก็เชื่อว่าส่วนหนึ่งอาจจะตอบผมว่า
– พฤติกรรมของคนไม่ชอบการอ่าน (คนไทยไม่ชอบอ่าน)
– งบประมาณไม่มีเลยไม่ได้พัฒนาห้องสมุด

โอเคครับ สำหรับคำตอบที่กล่าวมา

จากเสียงของผู้ใช้ จนถึงเสียงของบรรณารักษ์ ผมสรุปได้ง่ายๆ ว่า
เกิดจากห้องสมุดไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวห้องสมุดได้
ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่มีจำนวนน้อย หรือสภาพห้องสมุดที่ไม่มีการปรับปรุง

โอเคครับ นั่นคือปัญหา และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
ด้วยความเป็นจริงที่เลี่ยงไม่ได้ ห้องสมุดประชาชนก็ยังคงต้องประสบปัญหานี้ต่อไป

ผมได้เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ หลายคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อคิดมากมาย เช่น

คุณ PP ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

จำได้ว่าเคยไปหาหนังสือทำรายงานที่ห้องสมุดเทศบาล หนุงสือน้อยกว่าที่โรงเรียนอีก แถมเก่า เดือนก่อนเพิ่งสังเกตุว่ามีห้องสมุด มสธ เปิดอีกแห่งทั้งสภาพ บรรยากาศ พอๆ กัน ถ้ารวมกันได้? คงประหยัดงบได้เยอะ อย่างน้อยก็ไม่ต้องซื้อหนังสือพิมย์ฉบับเดียวกัน ส่วนงบประมาณถ้าทำดีๆ แล้วขอบริจาคคงได้งบมาบ้างละ แต่บริการตอนนี้บอกตรงๆ เห็นแล้วเซ็ง

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

บรรณารักษ์มีส่วนทำให้คนเข้าห้องสมุดได้น้อยเหมือนกันนะ อย่างสมัยเรียนห้องสมุดประชาชนอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก พอเข้าไปใช้ เจ้าหน้าที่นั่งหลับ ทำหน้าทีแค่เปิดปิดห้อง ทำความสะอาดนิดหน่อย หน้าที่หลักคือ เฝ้าห้อง

จากเรื่องด้านบนที่ผมได้เขียนมาก็เป็นเพียงแค่ห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ
ผมก็อยากจะบอกว่า ยังมีห้องสมุดประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่มีผู้ใช้บริการเยอะเช่นกัน
ซึ่งไว้ผมจะขอเล่าให้ฟังในตอนหน้านะครับว่า ห้องสมุดเหล่านั้นทำไมจึงมีผู้ใช้บริการมากมาย

แต่ทั้งหลายทั้งปวลที่เล่านี่ก็ไม่ได้อยากให้ท้อนะครับ
เพียงแต่เรื่องหลายๆ เรื่องเราต้องทำความเข้าใจและช่วยกันปรับปรุงกันต่อไป

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ @กาดสวนแก้ว

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่มีสาขาอยู่บนห้างสรรพสินค้าด้วยนะ
ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ เป็นห้างที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ซะด้วย นั่นคือ “เซ็นทรัล กาดสวนแก้ว”

cm-kadsuankaew01

วันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ มาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนที่อยู่บนห้างกัน
ดูสิว่าจะมีบริการที่สามารถตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการกันได้หรือปล่าว

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว
ที่อยู่ : ชั้น 2 ห้างสรรพสินค้าเซ้นทรัล กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

ผมได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมห้องสมุดแห่งนี้ในเวลากลางวัน
โดยพอถึงบริเวณหน้าห้องสมุดก็จะพบกับป้ายแนะนำห้องสมุดว่า

“กาดสวนแก้ว Living Library ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่”

พื้นที่ด้านหน้าห้องสมุดจะเป็นพื้นที่ขายกาแฟ และเครื่องดื่มต่างๆ
พอเดินเข้าไปนิดนึงก็จะพบกับบริเวณที่ให้บริการของห้องสมุด
ถึงแม้ว่าพื้นที่อาจจะมีขนาดเล็ก แต่ผมเชื่อว่าก็ให้บริการได้ค่อนข้างครอบคลุมบริการต่างๆ ของห้องสมุดเลย

ซึ่งผมขอสรุปบริการต่างๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ ว่าประกอบด้วย
– บริการที่นั่งอ่านหนังสือ
– บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
– บริการตอบคำถามและช่วยการสืบค้น


นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ด้วย
เช่น
– การสอนวาดภาพ และระบายสี
– การเล่านิทาน
– การประกวดคำขวัญ

หนังสือที่ให้บริการในห้องสมุดแห่งนี้ ส่วนหนึ่งจะเน้นไปทางหนังสือเด็ก
และหนังสืออีกส่วนหนึ่งจะถูกหมุนเวียนจากห้องสมุดประชาชนหลัก

ซึ่งที่นี่มีหนังสือที่น่าสนใจ และหนังสือใหม่เวียนกันมาให้อ่านกันเต็มที่

แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ไม่ได้ให้บริการยืมคืน
ทางบรรณารักษ์จะแนะนำว่าถ้าต้องการหนังสือเล่มไหน
ให้ผู้ใช้ติดต่อกับห้องสมุดประชาชนสาขาหลักเพื่อการยืมคืนจะดีกว่านะครับ

(ห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักก็อยู่บริเวณที่ไม่ไกลจากที่นี่สักเท่าไหร่หรอกครับ
สามารถที่จะเดินข้ามถนน และเข้ามาใช้บริการห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักได้)

เอาเป็นว่าก็ถือว่าเป็นไอเดียนึงที่ห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่ น่าจะเลียนแบบดู
เผื่อว่าผู้ใช้บริการจะได้ประทับใจต่อการบริการของห้องสมุดมากยิ่งขึ้นนะครับ

รวมภาพบรรยากาศ “กาดสวนแก้ว Living Library”

[nggallery id=12]

ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี

วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจาก ภาคเหนือ มายัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กันบ้าง
จากตอนที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่อง ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)
วันนี้ผมขอพาไปทัวร์ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี บ้างแล้วกัน

dscf0024

Read more

ห้องสมุดประชาชนควรเก็บค่าสมาชิกหรือเปล่า

มีเรื่องถกเถียงกันในหมู่คนที่ทำงานห้องสมุดด้วยกัน
ประเด็นทางด้านการเงินของห้องสมุดถูกหยิบยกขึ้นมาพูดหลายครั้ง

member-fee

Read more

พาชมห้องสมุดประชาชนเชียงใหม่

วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดประชาชนที่จังหวัดเชียงใหม่กัน
โดยห้องสมุดแห่งนี้ คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)

Read more