นานๆ ทีจะได้เข้ามาอัพความรู้เกี่ยวกับวงการห้องสมุด วันนี้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง “Creating a New Library: Recipes for Transformation” แล้วได้ข้อคิดดีๆ หลายอย่าง จึงอยากนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน สามารถติดตามรีวิวหนังสือเล่มนี้ได้ ด้านล่างนี้เลย
Read moreห้องสมุดมีชีวิต
ห้องสมุดโรงเรียนนี้ทำอย่างไรให้เด็กกลับมาใช้ 1,000 เปอร์เซ็นต์
วันนี้ขณะที่เปิดอ่าน Facebook ตอนกลับบ้าน เห็นพาดหัวนึงแล้วตกใจมาก จนต้องคลิ๊กไปอ่านต่อ
พาดหัวดังกล่าว “How This School Library Increased Student Use by 1,000 Percent”
แปลเป็นไทยได้ว่า “ห้องสมุดโรงเรียนมีวิธีเพิ่มการใช้ของนักเรียนได้ 1000 เปอร์เซ็นต์อย่างไร”
หรือง่ายๆ ครับ “วิธีเพิ่มการเข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนได้ผล 1000 เปอร์เซ็นต์”
ห้องสมุดนี้ไม่น่าเข้าเลย เพราะมีป้ายเตือนเต็มไปหมด
รู้หรือไม่ … ป้ายเตือนในห้องสมุด มีผลต่อการสร้างบรรยากาศให้ผู้ใช้รู้สึกอยากใช้ห้องสมุด
ผมรู้ครับว่า … ห้องสมุดทุกแห่งมีกฎระเบียบ ห้องสมุดทุกแห่งต้องการความสงบ …..
แต่การมีป้ายเตือน / ป้ายห้ามนู่นห้ามนี่ในห้องสมุดมากๆ ทำให้ผู้ใช้ไม่อยากมาห้องสมุด
นายห้องสมุดชวนอ่าน : มาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับห้องสมุดมีชีวิต
เพิ่งจะผ่านพ้นการประกวดห้องสมุดมีชีวิตของ TK park มาไม่นาน วันนี้ผมจึงขอแนะนำหนังสือและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดมีชีวิตสักหน่อยนะครับ
หนังสือที่ผมจะแนะนำในวันนี้ คือ “คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้” ซึ่งเป็นคู่มือที่ออกมาเพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินห้องสมุดมีชีวิต
ห้องสมุดไหนอยากรู้ว่าห้องสมุดตัวเองจะเข้าข่ายการเป็นห้องสมุดมีชีวิตหรือไม่ ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้มาเทียบดูได้
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้
ผู้จัดทำ : ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญศรี พรหมมาพันธุ์
จัดพิมพ์โดย : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ปีพิมพ์ : 2554
จำนวนหน้า : 48 หน้า
มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้ มี 5 มาตรฐาน 21 ประเด็นย่อย 100 ตัวชี้วัด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ด้านกายภาพ – เน้นเรื่องสภาพทางกายภาพและบรรยากาศของห้องสมุด
มาตรฐานที่ 2 ด้านสาระและกิจกรรม – เน้นเรื่องสื่อที่มีในห้องสมุด และการจัดกิจกรรมต่างๆ
มาตรฐานที่ 3 ด้านการบริการ – เน้นเรื่องการบริการเชิงรุกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
มาตรฐานที่ 4 ด้านบุคลากร – เน้นเรื่องของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด
มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ – เน้นข้อมูลบริหารและการจัดการห้องสมุด เช่น เครือข่ายห้องสมุด
(สำหรับประเด็นและตัวชี้วัดสามารถอ่านได้ในหนังสือครับ หรืออ่านออนไลน์ได้จาก link ด้านล่าง)
มาตรฐานและตัวชี้วัดทั้งหมดอาจจะมองว่ามีจำนวนมาก ห้องสมุดบางแห่งอาจจะมองว่าไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ซึ่งจริงๆ แล้วห้องสมุดสามารถหยิบตัวชี้วัด หรือ มาตรฐานมาใช้ขึ้นอยู่กับบริบท หรือเรื่องที่จะเน้นก็ได้ ซึ่งแนวทางการวัดผลมีอยู่ในหนังสือคู่มือเรียบร้อยแล้ว โดยรวมค่าเฉลี่ยที่ถือว่าผ่านจะอยู่ที่คะแนน 3.50
ห้องสมุดสามารถนำมาตรฐานและตัวชี้วัดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวชี้วัดต่างๆ สามารถใช้เป็นตัวตั้งต้นในการประเมินห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้ หรืออาจจะนำมาเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต่อไป
เพื่อนๆ ที่อยากอ่านตัวเล่มก็สามารถมายืมได้ที่ TK park นะครับ
แต่ใครไม่สะดวกก็สามารถอ่านออนไลน์ได้ที่นี่ “มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้”
เอาเป็นว่าก็ฝากไว้เท่านี้นะครับ
สรุปผลการประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 4
สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอสรุปผลการประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ที่สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ได้จัดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและเพิ่งจะประกาศผลเมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555
อ่านข้อมูลโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ย้อนหลังได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/06/28/living-library-award-2012/
ผมขอสรุปผลการประกวดเลยแล้วกันนะครับ
รางวัลชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ได้แก่……
ห้องสมุดประชาชนอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ (เยเย้ ยินดีด้วยนะครับ)
รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 1 (อันดับสอง) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 2 (อันดับสาม) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสงขลา
รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 3 (อันดับสี่) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 4 (อันดับห้า) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
รางวัลชมเชย ห้องสมุดมีชีวิต TK park (อันดับที่ 6 – 10) ได้แก่
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ลาดกระบัง กทม.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ห้องสมุดกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มีนบุรี กทม.
ห้องสมุดโรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา
รางวัลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย ห้องสมุดมีชีวิต TK park (อันดับที่ 11 – 20) ได้แก่
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี กทม.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตราด
ห้องสมุดเพชรรัตน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
ห้องสมุดโรงเรียนวัดพุทธบูชา กทม.
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
ห้องสมุดประชาชนอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุโขทัย
ขอแสดงความยินดีกับห้องสมุดทั้ง 20 แห่งด้วยนะครับ คุณเป็นสุดยอดห้องสมุดมีชีวิตจริงๆ
สำหรับรางวัลที่ห้องสมุดมีชีวิตจะได้รับผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ กับไปอ่านในบล็อก
โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ดีกว่าครับ
http://www.libraryhub.in.th/2012/06/28/living-library-award-2012/
ปล. ขอบคุณข้อมูลและภาพจากกล้องพี่นุ้ย TK park ด้วยนะครับ
โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4
โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 กลับมาพบกับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดกันอีกครั้งแล้วนะครับ ปีนี้นอกจากการอบรมที่เพื่อนๆ จะได้พัฒนาทักษะและแนวคิดแล้ว ยังมีรางวัลคือเงินทุนในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต และยิ่งไปว่านั้นบรรณารักษ์ที่ติด 1 ใน 10 จะได้ไปดูงานการพัฒนาห้องสมุดที่ประเทศเกาหลีด้วย
ห้องสมุดไหนที่สนใจกรุณาอ่านกติกาด้านล่างนี้ครับ
1. ส่งใบสมัครเพื่อรับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ตามรายละเอียดโครงการที่แจ้งผ้นต้นสังกัดของห้องสมุดทั่วประเทศ ภายในวันที่ 13 กรกฎาคม 2555
2. หากได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 ห้องสมุดที่ได้เข้าร่วมโครงการ บรรณารักษ์จะต้องเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2555 ที่จังหวัดนครนายก
3. หลังเสร็จสิ้นการอบรม บรรณารักษ์จะต้องออกแบบโครงการตามเงื่อนไขของการอบรม เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการสร้างสรรค์ จำนวน 20 ห้องสมุด
4. ห้องสมุดที่ได้รับเลือกจำนวน 20 แห่ง จะต้องดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ส่งประกวดในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 555 เพื่อให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิลงติดตามผลงาน
5. ห้องสมุดทั้ง 20 แห่ง จะต้องนำเสนอผลงานความสำเร็จของโครงการและการพัฒนาเปลี่ยนแปลงห้องสมุด เพื่อการตัดสินครั้งสุดท้าย และร่วมพิธีรับมอบรางวัลพร้อมทุนการพัฒนาห้องสมุดในวันที่ 28 กันยายน 2555
รางวัลที่ห้องสมุดทั้ง 20 แห่งจะได้คือ
– ทุนในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
– ป้ายประกาศเกียรติคุณ
– ชั้นหนังสือพร้อมหนังสือคัดสรรจาก TKpark
บรรณารักษ์ของห้องสมุดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ รวมทั้งรางวัลชมเชย จำนวน 10 ท่านจะได้ไปดูงานด้านการพัฒนาห้องสมุดที่ประเทศเกาหลีใต้ ในระหว่างวันที่ 14 – 18 ตุลาคม 2555
เอาหล่ะ อ่านกติกาแล้ว หากสนใจหรือมีคำถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่
ศูนย์ประสานงานโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4
โทร. 0-2575-2559 ต่อ 423 หรือ 425
08-1304-4017, 08-9899-4317
ภาพข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4
ข่าวย้อนหลัง โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3
อ่านอะไรดี : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต
หนังสือน่าอ่านวันนี้ที่ผมอยากแนะนำ คือ หนังสือ “ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต” จากชุด TK ชวนอ่าน นั่นเอง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้ข้อคิดและประสบการณ์ในการส่งเสริมการอ่านจากประเทศอังกฤษ เขียนโดย เกรซ เคมสเตอร์
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต
ชื่อผู้แต่ง : คุณเกรซ เคมสเตอร์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ISBN : 9789748284262
จำนวนหน้า : 92 หน้า
ราคา : 80 บาท
หลายๆ คนคงอาจจะสงสัยว่า คุณเกรซ เคมสเตอร์ คือใคร
คุณเกรซ เคมสเตอร์ อดีตผู้อำนวยการด้านงานบริการข้อมูล ของบริติชเคาน์ซิล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบัน Read On Write Away (สถาบันเพื่อบริการชุมชนด้านการอ่านออกเขียนได้และทักษะขั้นพื้นฐาน)
หนังสือเล่มนี้ที่เจาะเรื่องของประเทศอังกฤษเพราะว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านมากมายด้วย
ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บท ดังนี้
บทที่ 1 – เหตุใดการอ่านจึงสำคัญกับชีวิต
บทที่ 2 – 11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน
บทที่ 3 – ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย
บทที่ 4 – ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต
สรุปใจความสำคัญของหนังสือเล่มนี้
11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน มีดังนี้
1. พลังของการแนะนำหนังสือแบบปากต่อปาก (ดูตัวอย่างได้จาก www.whichbook.net)
2. อ่านเพราะคุณอยากอ่าน ไม่ใช่เพราะคุณจำต้องอ่าน (เห็นด้วยครับอ่านด้วยใจดีกว่าถูกบังคับให้อ่าน)
3. ลองสังเกตว่าผู้อ่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ (แต่ละคนมีเหตุผลในการอ่านไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่าน บางคนก็ไม่ชอบอ่าน)
4. ดูความต้องการของผู้อ่านว่าต้องการหนังสือหรือคอมพิวเตอร์ (การอ่านมีหลายวิธีไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นหนังสือแบบเดียวก็ได้)
5. ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเด็ก (การปลูกฝังการอ่านตั้งแต่เด็กจะได้ผลที่ดีที่สุด)
6. มันเป็นแค่เทคโนโลยี (อย่าไปกลัวเรื่องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น vdo conference เด็กๆ อาจจะใช้เครื่องมือเหล่านี้เรียนรู้ก็ได้)
7. เยี่ยมๆ มองๆ กับการอ่านออกเขียนได้
8. คนเราตายได้แต่จากความรู้ไม่ได้
9. ทางเลือกอันมากล้น (การเรียนรู้ การอ่าน มีหลายหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าผู้อ่านต้องการอะไรมากกว่ากันก็เท่านั้น)
10. การเลือกอย่างรอบคอบ
11. การอ่านโดยการจัดเวลาไว้โดยเฉพาะและเหมาะสม
ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย – กิจกรรมที่สามารถนำมาใช้กับห้องสมุด ได้แก่
– การจัดกำแพงนักอ่าน (ใช้เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นเรื่องการอ่านหนังสือ)
– การเขียนวิจารณ์หนังสือแล้วปะไว้บนหน้าปกหนังสือ
– จัดวาดภาพที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือสักเล่มที่อ่าน หรือเรื่องราวที่สนใจ
– การนำหนังสือออกมาแสดงบนเคาน์เตอร์
– การนำคำพูดของผู้ใช้บริการมาเผยแพร่
– เปลี่ยนเสียงรอสายโทรศัพท์จากเสียงเพลงเป็นเสียงเล่าเรื่องราวต่างๆ จากหนังสือ
– การแลกเปลี่ยนหนังสือ
– การจัดกิจกรรมสำหรับคนวัยต่างๆ
– การตั้งกลุ่มนักอ่าน
– การทำเว็บไซต์เพื่อแนะนำการอ่าน เช่น www.4ureaders.net, www.whatareyouuptotonight.com
– การจัดกิจกรรมโครงการที่กระตุ้นความสนใจแก่นักอ่าน
ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต – หัวข้อที่น่าสนใจในบทนี้ (เนื้อหาไปอ่านต่อกันเองนะครับ)
– การวางแผนงานห้องสมุด
– การตลาดกับห้องสมุด
– การใส่ใจผู้ใช้บริการว่าต้องการอะไร
– สร้างมุมมองใหม่ในนิยามของบรรณารักษ์
– อย่าลืมบอกคนอื่นในสิ่งที่เราทำ
– การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและการสร้างพันธมิตร
– การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี
– บทบาทที่เปลี่ยนไปของบุคลากร
– การหาผู้ร่วมสนับสนุน
ประโยคเด็ดที่ผมชอบเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
– หนังสือทำให้เราหัวเราะ ร้องไห้ สุข ทุกข์ ทำให้เราตั้งคำถามถึงชีวิต และประสบการณ์ของเราเอง
– ถ้าเราไม่เคยดื่มด่ำกับการอ่าน จนรู้สึกว่าเราได้เข้าไปมีชีวิตอยู่ในเรื่องที่เรากำลังอ่านเหมือนกับเป็นตัวละครนั้น เราจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้อย่างไร
– บางสถานที่เรารักด้วยหัวใจ บางสถานที่เรารักด้วยสมอง ที่ๆ เรารักด้วยสิ่งทั้งสอง เรียกว่า “ห้องสมุด”
– หนังสือเป็นโลกที่เคลื่อนที่อย่างแรกที่ครอบครองได้
– แม้แต่เด็กที่เกเรที่สุด หากแม้นมีโอกาสได้สัมผัสกับความล้ำค่าแห่งห้องสมุดแล้ว ยังสามารถกุมปัญญาแห่งปฐพี และไขกุญแจสู่โลกทั้งมวล
เอาเป็นว่าผมใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าๆ ในการอ่านหนังสือเล่มนี้
คอนเฟิมครับอ่านไม่ยากเลย และได้เทคนิคดีๆ ไปปรับใช้กับการให้บริการในห้องสมุดได้
ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับผมนะครับ ลองอ่านดู ขอแนะนำ
อ๋อ ลืมบอก หนังสือเล่มนี้หาซื้อได้ในร้านซีเอ็ด หรือไม่ก็มายืมอ่านได้ที่ทีเคพาร์คนะครับ
บทสรุป เรื่อง ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน
เมื่อวานผมเกริ่นไปแล้วว่าผมไปบรรยายในงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่4) แล้วก็ทิ้งท้ายว่าผมจะสรุปการบรรยายของผมให้อ่าน วันนี้เลยขอทำหน้าที่ในส่วนนี้ต่อ เรื่องที่ผมบรรยายในงานนี้ คือ “ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน”
เอกสารประกอบการบรรยายเพื่อนๆ สามารถชมได้จาก
หรือเปิดได้จาก http://www.slideshare.net/projectlib/ict-for-living-library-at-school
ดูสไลด์แล้วอาจจะงงๆ หน่อย งั้นอ่านคำอธิบายและบทสรุปของเรื่องนี้ต่อเลยครับ
บทสรุป ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน
เริ่มต้นจากการบรรยายถึงความหมายและบทบาทของบรรณารักษ์ยุคใหม่ หรือที่ผมชอบเรียกว่า cybrarian ซึ่งหลักๆ ต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษ์และความรู้ที่เกี่ยวกับไอที
จากนั้นผมจึงเปรียบเทียบว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้ไอที ซึ่งหลายๆ คนชอบมองว่าเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ผมจึงขอย้ำอีกครั้งว่า บรรณารักษ์ ไม่ใช่ โปรแกรมเมอร์ เราไม่ต้องรู้ว่าเขียนโปรแกรมอย่างไรหรอก แต่เราต้องรู้จัก เข้าใจ และนำโปรแกรมไปใช้ให้ถูกต้อง
ทักษะด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ (สำหรับห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน) ผมขอแยกเรื่องหลักๆ ออกเป็น 7 กลุ่ม คือ
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0
เมื่อเห็นทักษะไอทีที่ผมนำเสนอไปแล้ว เพื่อนๆ อาจจะบอกว่าง่ายจะตาย ไม่ต้องทำงานซับซ้อนด้วย
แต่เชื่อหรือไม่ว่า เรื่องง่ายๆ ของบรรณารักษ์ บางครั้งมันก็ส่งผลอันใหญ่หลวงอีกเช่นกัน
จากนั้นผมก็ให้ชมวีดีโอเรื่อง social revolution (คลิปนี้ถูกลบไปจาก youtube แล้ว โชคดีที่ผมยังเก็บต้นฉบับไว้)
จากนั้นผมก็ได้พูดถึง social media tool ว่ามีมากมายที่ห้องสมุดสามารถนำมาใช้ได้
เช่น Blog email msn facebook twitter youtube slideshare Flickr
ซึ่งผมขอเน้น 3 ตัวหลักๆ คือ blog, facebook, twitter โดยเอาตัวอย่างของจริงๆ มาให้ดู
Blog – Libraryhub.in.th
Facebook – Facebook.com/kindaiproject / Facebook.com/Thlibrary
twitter – twitter.com/kindaiproject
จากนั้นผมก็ฝากข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการดูแล้วสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ
2. สามารถให้บริการผ่านสื่อออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม
ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th
แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย
เอาเป็นว่าสไลด์นี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ ไว้วันหลังผมจะถยอยนำสไลด์มาขึ้นเรื่อยๆ นะครับ
จริงๆ ไปบรรยายมาเยอะแต่เพิ่งจะได้เริ่มเขียนเรื่องเล่าเล็กๆ น้อยๆ ให้เพื่อนๆ อ่าน
วันนี้ก็ขอลาไปก่อนครับ
รวมภาพงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน
วันนี้ได้รับเกียรติจากห้องสมุด TKpark อีกครั้งที่เชิญมาบรรยายในงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่ 4) (จริงๆ แล้วรุ่นที่ 3 ผมก็มาบรรยายเช่นเดียวกันแต่ยังไม่ได้เอาสไลด์มาลงในชมเลย) จึงขอเล่าบรรยากาศในงานให้ผู้ที่ไม่ได้มาร่วมงานนี้ได้อ่านและชมภาพกัน
รายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้แบบย่อๆ
ชื่องาน : การประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่4)
จัดโดย : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้และสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
วันที่จัด : วันอังคารที่ 3 – วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554
สถานที่จัดงาน : โรงแรมเอส ดี อเวนิว
ผมจำได้ว่าครั้งที่แล้ว (รุ่นที่แล้วก็จัดที่นี่เช่นเดียวกัน แต่จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์)
ในรุ่นนี้ผมว่าคนมาร่วมงานนี้คึกคักมากกว่าครั้งที่แล้วเยอะเลย แถมดูกระตือรือร้นในงานมากๆ
ครั้งก่อนผมบรรยายช่วงเย็นๆ มาครั้งนี้ได้อยู่รอบเช้าเลย (อาจจะทำให้เห็นคนเยอะก็ได้)
เรื่องหลักๆ ที่ผมบรรยายเดี๋ยวผมจะขออนุญาตเขียนเป็นอีกเรื่องในบล็อกแล้วกัน
วันนี้ขอเม้าส์เรื่องบรรยากาศในงานและการจัดงานโดยภาพรวมก่อน
รูปแบบของการจัดงานใน 4 วัน มีหลายรูปแบบมาก เช่น
– ชมนิทรรศการของห้องสมุดมีชีวิตที่เคยอบรมในรุ่นก่อนๆ
– การบรรยายจากวิทยากรเพื่อเติมเต็มความรู้
– การทำ workshop ระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– การศึกษาดูงานห้องสมุดโรงเรียนในกทม.และอุทยานการเรียนรู้ (TK park)
นับว่าเป็นการเติมเต็มความรู้ของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครูบรรณารักษ์ ศึกษานิเทศก์ รวมถึงผู้บริหารได้ดีทีเดียว
ห้องประชุมเดิมที่เคยจัดงานดูเล็กไปมากเลยแทบจะไม่มีที่นั่งเหลือเลยครับ
ขนาดผมไปแต่เช้ายังไม่มีเก้าอี้นั่งเลย จึงต้องยืนฟังบ้าง แอบออกมาเตรียมตัวข้างนอกบ้าง
รอบๆ ห้องประชุมวันนี้มีการแสดงผลงานของการจัดห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนของรุ่นที่เคยอบรมจากงานนี้ไป
(แสดงให้เห็นว่า หลังจากการอบรมแล้วมีการนำไปใช้งานจริงและได้ผลลัพธ์ออกมาจริง)
ผมเองก็ได้เดินชมอยู่หลายๆ บูธเช่นกัน แต่ละห้องสมุดทำได้ดีทีเดียวเลยครับ (พี่เลี้ยงดีมากๆ)
ด้านนอกของห้องประชุมก็มีร้านหนังสือนานมีมาออกบูธด้วย
มีหนังสือเด็กที่น่าสนใจเพียบเลย และมีการแนะนำกิจกรรมการรักการอ่านสำหรับเด็กแถมเป็นความรู้กลับไป
เอาเป็นว่างานนี้ผมยกนิ้วให้เลยว่าจัดงานได้ดีทีเดียว
สำหรับใครที่พลาดงานนี้ผมว่าทางหน่วยงานที่จัดคงมีแผนในการจัดต่อในรุ่นต่อๆ ไปอีกนะครับ
เอาเป็นว่าก็ต้องคอยติดตามข่าวสารกันไปเรื่อยๆ นะครับ
สำหรับวันนี้ก็ชมภาพบรรยากาศในงานก่อนแล้วกันครับ
ภาพบรรยากาศงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน
[nggallery id=38]