วันนี้นั่งอ่านบทความใน https://americanlibrariesmagazine.org/ แล้วสะดุดกับบทความหนึ่ง ชื่อเรื่อง “What the Future Holds” หรือแปลแบบตรงตัวว่า “อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง” ทำให้ผมต้องเข้ามานั่งอ่านแบบจริงจัง เผื่อเพื่อนๆ ไม่มีเวลาผมจะนำมาสรุปให้อ่านด้านล่างนี้เลย
Read moreห้องสมุดยุคใหม่
รีวิวหนังสือ สูตรสำเร็จเพื่อการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดสู่ยุคใหม่
นานๆ ทีจะได้เข้ามาอัพความรู้เกี่ยวกับวงการห้องสมุด วันนี้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง “Creating a New Library: Recipes for Transformation” แล้วได้ข้อคิดดีๆ หลายอย่าง จึงอยากนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน สามารถติดตามรีวิวหนังสือเล่มนี้ได้ ด้านล่างนี้เลย
Read moreChecklist สำหรับการกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้ง หลังสถานการณ์ COVID-19
หลังจากที่ติดตามสถานการณ์ COVID-19 มาตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนพฤษภาคม ตอนนี้ถามว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร คงตอบว่าดูผิวเผินแล้วสถานการณ์เริ่มดีขึ้น อย่างในหลายๆ ประเทศตัวเลขการติดเชื้อก็ลดลง (อย่างในประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกัน) แต่ก็ไม่อยากให้พวกเราใช้ชีวิตกันแบบประมาทนะครับ
วันนี้ผมขอนำกรณีศึกษาของประเทศออสเตรเลียมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่านครับ เบื้องต้นภาครัฐจะอนุญาตให้ห้องสมุดประชาชนในประเทศออสเตรเลียกลับมาเปิดได้อีกครั้งในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ หน่วยงานที่เป็นที่พึ่งของวงการห้องสมุดในประเทศออสเตรเลีย คือ Australian Library and Information Association (ALIA) หรือ สมาคมห้องสมุดประเทศออสเตรเลีย ได้ออกเครื่องมือหนึ่งเพื่อให้ห้องสมุดสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานหลังการกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้ง คือ “Checklist for reopening libraries“
Read moreผลสำรวจความคาดหวังของบรรณารักษ์และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด 2020
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายคนคงใช้เวลาในช่วงนี้ทำงานจากที่บ้าน (Work form home) และผมเชื่อว่ามีบรรณารักษ์หลายท่านที่ใช้โอกาสนี้ในการอัพเดทความรู้ต่างๆ รอบตัว เผื่อว่าหลังสถานการณ์นี้ผ่านไปองค์กรของท่านหรือห้องสมุดของท่านจะเปลี่ยนแนวทางการทำงานและให้บริการผู้ใช้ที่ดีมากกว่าที่เราเคยทำ…
เพื่อให้เกิดการวางแผนและพัฒนาห้องสมุด วันนี้ผมขอนำผลสำรวจที่ Wiley จัดทำเป็นประจำทุกปีมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านรายงาน “Librarian Survey 2020 : Aspirations and Career Development Findings for Library Professionals” ได้ที่ https://www.wiley.com/network/librarians/library-impact/library-survey-report-2020
หรือ ถ้าไม่มีเวลามาก อ่านบทสรุปของผมได้ ด้านล่างนี้เลยครับ
Read moreรีวิวห้องสมุดโฉมใหม่ ห้องสมุดวิทย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ที่มาของเรื่องวันนี้ : รับปากพี่ท่านหนึ่งใน facebook (Aon Rawiwan) มาสักระยะใหญ่ๆ แล้วนะครับ วันนี้พอจะมีเวลาเลยขอโปรโมทให้พี่เขาหน่อย
ห้องสมุดที่ผมจะแนะนำวันนี้ คือ ห้องสมุดวิทย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครับ ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งได้รับการปรับโฉมใหม่ วันนี้ผมจึงขอนำข้อมูลที่มาที่ไปของการปรับปรุงในรูปแบบถามตอบ และภาพถ่ายสวยๆ ของห้องสมุดแห่งนี้มาฝากครับ
Read moreตามติดไอเดียและความรู้จากงาน TKFORUM2020 (ฉบับคนที่ไม่ได้ไปร่วมงาน)
ในความเสียดายที่ไม่ได้ไปร่วมงาน TK Forum 2020 เพราะติดภารกิจ แต่เชื่อมั้ยครับ วันนี้คนที่ไปพยายามแชร์ไอเดียสิ่งที่ได้จากการไปงานนี้ใน Facebook และ Twitter ซึ่งผมขอรวบรวมข้อความ และเครดิตให้เพื่อนๆ ที่โพสให้อ่าน
Read moreรีวิวหนังสือ “ไอเดียนวัตกรรมในห้องสมุดประชาชนสุดเจ๋ง”
นานๆ ทีจะมีเวลามานั่งอ่านและรีวิวหนังสือ วันนี้ขอเลือกหนังสือเรื่อง “Innovation in Public Libraries” หรือ “นวัตกรรมในห้องสมุดประชาชน” (คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องเบาๆ นะครับ) และบรรณารักษ์น่าจะหยิบแนวคิดไปใช้ได้บ้าง
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Innovation in Public Libraries: Learning from International Library Practice
ผู้แต่ง : Kirstie Nicholson
ISBN : 9780081012765
ปีพิมพ์ : 2017
จำนวนหน้า : 158 หน้า
ห้องสมุดยุคใหม่ทำไมต้องใช้ Customer Journey ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ
การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างที่คิดหรอกนะครับ เริ่มต้นผมคงต้องเกริ่นว่าเรื่องนี้นักวิจัย นักวิชาการทำกันมานานแล้ว ซึ่งการจะทำความเข้าใจผู้ใช้บริการได้ เริ่มมาจากการเก็บข้อมูลแล้วนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ แล้วนำมาทำความเข้าใจว่าที่ผู้ใช้มีพฤติกรรมแบบนั้นแบบนี้เป็นเพราะปัจจัยนู้นนี่นั่น….
ผมลองค้นใน Google เล่นๆ พบงานวิจัย / งานวิทยานิพนธ์ที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในห้องสมุดมากมาย เช่น
Read moreห้องสมุดยุคใหม่ : การแบ่งพื้นที่ภายในห้องสมุดประชาชนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ห้องสมุด ไม่ใช่ “ห้องเก็บหนังสือ” หรือ “โกดังหนังสือ” หรือ “ห้องอ่านหนังสือ” เพียงอย่างเดียวอีกแล้ว หนึ่งในภารกิจของห้องสมุดที่เราปฏิเสธไม่ได้ คือ “การเป็นแหล่งเรียนรู้” ซึ่งการเรียนรู้ก็ไม่ได้มีเฉพาะแค่เรื่องการอ่านเพียงอย่างเดียว
ประโยคยอดฮิตของผม คือ “ความรู้สำคัญกว่าสถานที่”
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถานที่ของห้องสมุดเพื่อให้ตอบโจทย์นี้
ห้องสมุดที่สามารถรักษาสมดุลของทุกสิ่ง (GST Model) – ห้องสมุดรักษ์โลก
เมื่อวันก่อนผมได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ เรื่อง “ทักษะวิชาชีพบรรณารักษ์ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก” (Professional Librarian Development and Disruptive Technologies) ในฐานะวิทยากรตัวแทนจากตลาดหลักทรัพย์ ก่อน session ของผม ดร.กฤษฎา (รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ) ได้กล่าวเปิดงานและบรรยายเรื่อง Future Thai Citizens and Learning Revolution ซึ่งผมได้ไอเดียจากสไลด์หน้าหนึ่งของท่าน
ในหน้าดังกล่าวอาจารย์กฤษฎาได้มาจากสไลด์ของอาจารย์สุวิทย์ เมษินทรีย์ ซึ่งกล่าวถึงความสมดุลในทุกสิ่ง
Read more