ห้องสมุดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด 2019 (เที่ยวรอบโลก)

ห้องสมุดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด 2019 (เที่ยวรอบโลก)

หากกล่าวถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องไม่พลาดของประเทศส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ หรือไม่ก็แนวผจญภัย หรือไม่ก็ต้องดูตามคู่มือ/หนังสือนำเที่ยว ซึ่งก็คงแนะนำเพียง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือสถานที่ที่คนอื่นๆ ก็ไปกัน …

แน่นอนครับสำหรับบล็อกที่แนะนำเรื่องห้องสมุดอย่างผม ถ้าจะให้แนะนำว่าไปเที่ยวประเทศอื่นๆ อยากให้ไปดูอะไรก็คงหนีไม่พ้นเรื่องห้องสมุดอยู่แล้วหล่ะครับ วันนี้ผมจึงขอแนะนำห้องสมุดที่เหล่านักท่องเที่ยวต้องห้ามพลาดเลยเวลาไปประเทศต่างๆ เหล่านี้

Read more
Library of Things : ห้องสมุดที่ให้ยืมทุกสรรพสิ่ง

Library of Things : ห้องสมุดที่ให้ยืมทุกสรรพสิ่ง

หลายคนคงเคยได้ยินแต่คำว่า Internet of Things หรือ IOT หรือ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งมาแล้ว วันนี้หากท่านอ่านบทความนี้อยู่ ที่ผมเขียนว่า Library of Things ผมไม่ได้เขียนผิดนะครับ มันมีคำๆ นี้จริงๆ และเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก สังเกตุได้จากการสืบค้นคำนี้ใน google (มีการสืบค้นคำนี้ตั้งแต่ปี 2004)

Library of Things มีมานานแล้ว แต่ที่ถูกพูดถึงบ่อยในช่วงนี้ เพราะมันคือรูปแบบของการให้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ที่แค่การอ่านอย่างเดียว มันรวมถึงการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วย

Read more
ห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ แต่มีไอเดียมากมาย

ห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ แต่มีไอเดียมากมาย

ช่วงที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่อง “จุดเปลี่ยนห้องสมุดในยุค digital transformation” ให้หน่วยงานต่างๆ เพิ่มขึ้น และมีคำถามจากสไลด์ที่ผมใช้ถามผู้เข้าร่วมงานเสมอๆ คือ

  1. อนาคตห้องสมุดจะหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
  2. ผู้ใช้บริการยังคงมาใช้บริการห้องสมุดอยู่หรือไม่
  3. ถ้าไม่มีหนังสือสักเล่มในห้องสมุดจะเป็นไปได้แค่ไหน
  4. บรรณารักษ์ต้องพัฒนาทักษะอะไรเพื่อให้อยู่รอด
Read more
ไอเดียจากห้องสมุดญี่ปุ่น “สมุดสะสมมูลค่าการยืม”

ไอเดียจากห้องสมุดญี่ปุ่น “สมุดสะสมมูลค่าการยืม”

เมื่อวานนี้ขณะนั่งเล่น Twitter อยู่ ก็พบกับ วีดีโอไอเดียสุดเจ๋งจากห้องสมุดที่ประเทศญี่ปุ่นเลยกดเข้าไปดูสักหน่อย พอดูจบเลยต้องตามค้นข้อมูลต่อและขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

Read more

Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน

Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน

วันนี้มาเปิดหูเปิดตาและอัพเดทความรู้ในแบบงานประชุมนานาชาติ (International Conference) ของวงการห้องสมุดในระดับนานาชาติอีกงานหนึ่งที่จัดในประเทศไทย งานนี้ชื่อเต็มๆ คือ “2018 OCLC Asia Pacific Regional Council Conference” ธีมของงานนี้ก็คือ “Change the game” เอาเป็นว่าในวันนี้มีอะไรมาอ่านได้เลยครับ

https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home.html

ทำไมผมถึงมางานนี้
ผมรู้จักงานนี้จากเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดฯ “The OCLC Asia Pacific Regional Council Meeting 2018
http://tla.or.th/index.php/news-and-events/news-and-events/activities-2561/242-oclc2018
ซึ่งหากดูในเนื้อหาของข่าวมีระบุประโยคหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ “register to attend for free!” ใช่ครั้บ “มันฟรี” อีกจุดหนึ่งที่ทำให้ผมต้องรีบลงทะเบียน คือ งานนี้มี speaker ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจของผม นั่นคือ Skip Prichard นั่นเอง

เอาเป็นว่าเข้าสาระกันเลยดีกว่า วันนี้ผมฟัง session ไหนบ้าง

————————————————————————–

1. How can we change the game? โดย Skip Prichard

เริ่มจากที่ speaker นำเสนอเรื่องรอบๆ ตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น
แผนที่แบบกระดาษ กลายเป็น แผนที่ที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ
ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ ที่ไม่มีใครใช้อีกแล้ว กลายเป็น ทุกคนมีโทรศัพท์ในมือของตนเอง
การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข กลายเป็น เราดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ (Smart home)

จากนั้นก็เหล่าถึงคำว่า เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่ายๆ
ตู้เกมส์จอดำ – เกมส์แบบตลับ – เกมส์คอมพิวเตอร์ – เกมส์ออนไลน์ – เกมส์ผ่านแว่น VR – เกมส์ที่รวมกับโลกจริงอย่าง AR
สิ่งเหล่านี้ใครเป็นคนเปลี่ยน คนหรือเทคโนโลยี

4 จุดเปลี่ยนที่ Speaker กล่าวถึง​ คือ
1) เปลี่ยนกรอบ/เปลี่ยนสิ่งที่ต้องเห็น
2) เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่
3) เปลี่ยนความคิดของตัวเอง
4) เปลี่ยนวิธีการเล่าใหม่ๆ

บทสรุปของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราแล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น
อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่มีประโยชน์

นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ขอให้ระวังเพราะมีบางเรื่องที่เราไม่ควรเปลี่ยนไปตามกระแส ซึ่งมี 4 อย่างเช่นกัน ได้แก่
1) คุณค่าของห้องสมุด
2) หลักการพื้นฐานของห้องสมุด
3) จุดประสงค์ของการทำงานห้องสมุด
4) ความหลงใหลที่คุณมีในงานห้องสมุด

———————————————————————-—-

2. Collaboration, Visibility and Data-driven decision making โดย Ellen Hartman

ถึงข้อมูลที่เอามาแสดงมันจะเยอะแค่ไหน​ก็ตาม แต่ Speaker ก็ไม่ได้กล่าวถึงคำว่า​ “Big Data”​ เลย​ แต่จะบอกถึง​ “power ของความร่วมมือ”​ และ “การนำแนวคิด​ data driven มาใช้”

จุดแรกของการได้มาซึ่งข้อมูล​ คือ​ WORLDSHARE และ​ WORLDCAT ซึ่งปัจจุบันทั้งสองระบบทำงานบน CLOUD BASE SYSTEM

ทำความรู้จักกับระบบ​ Worldshare ในแง่มุมต่างๆ
– Power of cooperative cataloging
– WORLDCAT knowledge based
– Freely available and open access content
– Shared license template
– Shared vendor information center

ในฐานะของการ​ shared content หรือ​ practical content หน่วยงาน OCLC มี​ Community center ที่​ active ตลอด​ และมากไปกว่านั้นยังมี​ Developer​ network ที่พัฒนาการเชื่อมต่อระบบกับข้อมูลด้านอื่นๆ​ ที่สำคัญอีกด้วย

เรื่องต่อมาที่สำคัญพอๆ กับระบบ Worldshare และ Worldcat คือ​
– แล้วห้องสมุดจะเอาข้อมูลไปใช้ได้ยังไง
– เราจะหาข้อมูลที่ต้องการได้จากที่ไหน
– การออกแบบ​ ux เกิดจากการวิเคราะห์​ web analytics และ​ การหา best practices ซึ่ง OCLC ก็พัฒนาเรื่องนี้มาตลอด

พฤติกรรมผู้ใช้ในการค้นข้อมูล​
– ใช้​ 5 คำในระบบห้องสมุด​ ใช้​ 3 คำใน​ google
– หน้าจอที่ใช้ง่ายมีผลต่อการค้นหาด้วย
– อัลกอริทึ่มในการแสดงผล​มีความถูกต้องเพียงใดก็มีผล
– ฟีเจอร์ใหม่ๆ​ ที่น่าสนใจ​ ช่วยเพิ่มจำนวนการใช้ได้

OCLC​ ให้ความสำคัญกับเชื่อมโยงข้อมูล​ ไม่ใช่​ CATALOG ให้ห้องสมุดตัวเองเพียงอย่างเดียว​ แต่ยังเชื่อมโยงและส่งต่อให้​ partner อย่าง​ google Amazon​ ด้วย เช่น​ หากเราค้นข้อมูลหนังสือใน​ google​book จะสามารถดูห้องสมุดที่มีหนังสือเล่มนั้นที่อยู่ใกล้เราที่สุดได้ด้วย

From​ data to insight นำข้อมูลไปให้ผู้บริหารดูได้อย่างไรบ้าง​ ข้อมูลสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้
– ใช้เพื่อวางแผนเรื่องงบประมาณ
– ใช้เพื่อคัดเลือกทรัพยากร​ เช่น​ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ถูกใช้​ เราควรต่ออายุการสมัครสมาชิกหรือไม่
– ใช้เพื่อบริหารจัดการห้องสมุดสาขา
– ใช้ในการนำเสนอคุณค่าของการมีห้องสมุด
– ใช้ในการกำหนดตัวชี้วัดที่วัดผลได้

ที่สำคัญข้อมูลที่จะนำมาให้ผู้บริหารหรือผู้ใช้ดู​ อย่าลืมทำ visualized เพื่อให้เห็นภาพด้วยนะ​ ไม่งั้นดูไม่รู้เรื่อง

————————————————————————–

3. Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf

Speaker 1 Aaron Tay จาก SMU (Blogger : http://musingsaboutlibrarianship.blogspot.com/)

ตำแหน่งงานที่ทำอยู่ คือ Librarian Analytics ซึ่งทำอะไรบ้าง
– ศึกษานโยบายขององค์กร และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสให้กับองค์กร
– ศึกษาเรื่องใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูล (Big data)

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้งาน/เอกสารทางวิชาการเปลี่ยนไป มี 3 เรื่อง ดังนี้
1. ความหลากหลายในการจัดเก็บ
2. สารสนเทศแบบเปิด (Open Access)
3. เทคโนโลยีใหม่ๆ (New Technology)

จากทั้งสามเรื่องทำให้เรามีบทบาทใหม่ๆ เช่น
– รวบรวมและจัดเก็บตัวแปรใหม่ๆ ทั้งในเรื่องของ inputs, processes, outputs *** อันนี้คืองานเทคนิคแบบใหม่ๆ หรือเปล่า
– ค้นหาและอำนวยความสะดวก *** อันนี้คืองานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าหรือเปล่า
– การให้การศึกษาในเรื่องกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ *** งานสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสารสนเทศหรือเปล่า

จะเห็นได้ว่าไม่ได้ต่างจากงานเดิมนะ แต่แค่เราต้องรู้เรื่องใหม่

ตัวอย่างที่น่าสนใจ (Open Access + ML)
Scholarcy – auto summarization
Scite – semantic parsing of citations

สุดท้ายตัดจบแบบเบาๆ ว่า ข้อมูลใน scholar ไม่ใช่ของห้องสมุดแต่ห้องสมุดจะ take role ในเรื่องของการอำนวยความสะดวก และพัฒนาเครื่องมือต่างๆ เพื่อทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเรื่องต่างๆ ได้ง่าย

Speaker 2 (Titia van der Werf) ได้กล่าวถึงเรื่องบทบาทของ OCLC Research ว่าเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องใหม่ๆ ในวงการ เช่น การใช้สื่อสังคมออนไลน์ การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อใหม่ๆ อีกเรื่องที่ถูกพูดถึงเยอะ คือ Lifelong Learning (Trend ในวงการศึกษา) ซึ่ง OCLC ก็ได้จัดทำคอร์สศึกษาระยะสั้นเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนและออกใบประกาศนียบัตรได้

ทำไม Scholar ต้องเปลี่ยน : เพราะในยุคเดิมเราพูดแค่เรื่องเอกสารที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบัน Landscape ของเรื่องนี้มันขยายตัวตามสื่อสังคมออนไลน์ยุคใหม่

Factor สำคัญที่ทำให้เกมส์เปลี่ยน
1. Competition (มหาวิทยาลัย, สถานศึกษา, สำนักพิมพ์)
2. Digital (เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว)
3. Library Stewardship (การดูแลห้องสมุด)

—————————————————————————————–

4. Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy

ก่อนเข้าเรื่องก็ตามธรรมเนียมคือแนะนำ​ trend watching ว่าเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูล​ Trend​ หลายๆ​ อุตสาหกรรม​ แล้วมีสำนักงานกระจายอยู่หลายเมือง​ ซึ่งแถวนี้เองออฟฟิตก็อยู่ที่สิงคโปร์

ทุกอย่างเปลี่ยนไป​ และเปลี่ยนไปเร็วมาก​ ตัวอย่างหนึ่งที่เราเห็น​ คือ​ ห้องสมุดไม่ได้มีแค่หนังสือให้ยืมเพียงอย่างเดียว​ แต่สามารถให้ยืมเครื่องครัวได้แล้ว

การที่เราต้องรู้​ Trend​ สาเหตุหลักๆ​ มาจากการที่เราต้องการรู้ความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

Trend​ หลักๆ​ ที่น่าจะเกี่ยวกับเรา​ ขอยกมา​ 4 ตัว​ ดังนี้
1.Status Sandcastle
2.Fantastic IRL
3.Magic Touchpoint
4.Village Squares

Trend ต่างๆ​ ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในแต่ละด้าน​ เช่น
ข้อที่​ 1 จะ​ link กับ​ Social​ status ทุกอย่างที่เราใช้​ ที่เราซื้อ​ ที่เราทำ​ เพราะหน้าตาของสังคม
ข้อที่​ 2 จะ​ link กับ​ Escapism การหนีออกจากโลกแห่งความเป็นจริง
ข้อที่ 3 จดไม่ทันครับ
ข้อที่​ 4 link กับเรื่อง​ connection ทุกคนต้องการเชื่อมต่อและติดต่อกับคนอื่น​ อยู่ด้วยตัวคนเดียวไม่ได้

โดยการบรรยายของ Speaker ได้ตั้งคำถามให้เราคิดด้วยทุกข้อ

ตัวอย่างที่วิทยากรนำมาพูดมันเยอะมากๆ​ ขอยกเป็นตัว​อย่างนะครับ​ เช่น
– The met การไปชมพิพิธภัณฑ์ในแบบที้ไม่เหมือนเดิม
– Ikea สอนทำอาหารอย่างง่าย
– Tabi kaeru เกมส์กบจากญี่ปุ่น
– พิพิธภัณฑ์​ louvre นำชมตามลองมิวสิควีดีโอของ​ beyonce
– man city and fantom นาฬิกาที่บอกตารางการแข่งขันฟุตบอลของทีม MAN​ city
– game minecraft ที่สอนให้เด็กรักการอ่าน
– instanovel ของ​ nypl
– wechat mini program
– Intime mall ที่มีบริการ​ magic mirror ในห้องน้ำหญิง
ฯลฯ

คลิปวีดีโอที่เปิดใน session นี้
1) Ikea​ easy recipes – https://youtu.be/uLCnabTJTIA
2) #airmaxline – https://youtu.be/v2_dxeq0LlQ
3) Heineken’s generation apart – https://youtu.be/82cPgU_D15s

ปิดท้ายด้วยการบอกว่า​ Trend​ ไม่ใช่ทุกอย่าง​ และถ้าอยากทำให้เห็นภาพชัด​ วิทยากรแนะนำเครื่องมือ​ the customer trend canvas

—————————————————————————————–

นี่ก็เป็นเพียงการสรุปตามความเข้าใจของผมนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้

ภาพบรรยายกาศโดยรวมในงานนี้

แนวทางในการออกแบบห้องสมุดเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ

แนวทางในการออกแบบห้องสมุดเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นถึงที่มาของหัวข้อนี้ก่อนเพราะว่า ความตั้งใจที่แท้จริงของการเขียนบล็อกวันนี้มาจาก หลายคนถามถึงแนวทางในการออกแบบห้องสมุดสำหรับเด็ก แต่ เอ๊ะ หัวข้อพูดถึงการออกแบบห้องสมุดทั่วๆ ไป ใช่ครับ ขอย้ำอีกครั้งว่าวันนี้ขอนำเสนอเรื่องการออกแบบห้องสมุดในภาพกว้างๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะเขียนเฉพาะของห้องสมุดเด็กอีกที

Credit Photo : http://www.demcointeriors.com

Read more

http://www.ala.org/tools/future/trends

ติดตามอนาคตห้องสมุดผ่านมุมมองของ ALA

อนาคตของห้องสมุดจะเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นเรื่องใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด
ในฐานะคนทำงานห้องสมุดเราต้องรู้อะไร แล้วเราต้องติดตามเรื่องไหนเป็นพิเศษ
วันนี้ผมขอแนะนำให้เราเข้าไปอ่าน “Library of the future” โดย ALA

Library Trends & Innovations

Library of the Future” ประกอบด้วยข้อมูล
– โครงการ “Center for the Future of Libraries”
– รายชื่อ Advisory Group
– Blog หรือ รวม feed บทความจาก ALA ที่น่าสนใจ
– Engage
– Trend

ซึ่งเนื้อหาที่ผมอยากเน้นให้เพื่อนๆ ได้รู้จัก หลักๆ อยู่ที่หน้า Trend

ภายใต้หัวข้อ Trend ได้มีการแบ่งหมวดหมู่ของ Trend ออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

1) Society
2) Technology
3) Education
4) Environment
5) Politics (and Government)
6) Economics
7) Demographics

ซึ่งแต่ละกลุ่ม/หมวดหมู่จะแบ่งด้วยสีตามภาพที่ผมแนบมาด้วย

Trend Collection Color Key

เอาหล่ะครับ ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่ามี keyword อะไรที่น่าสนใจ ที่ทำให้เราต้องติดตามบ้าง

– Aging Advances
– Anonymity
– Badging
– Basic Income
– Blockchain
– Co-Working / Co-Living
– Collective Impact
– Connected Learning
– Connected Toys
– Corporate Influence
– Creative Placemaking
– Data Everywhere
– Design Thinking
– Digital Natives
– Drones
– Emerging Adulthood
– Experiential Retail
– Facial Recognition
– Fandom
– Fast Casual
– Flipped Learning
– Gamification
– Haptic Technology
– Income Inequality
– Internet of Things
– Maker Movement
– Privacy Shifting
– Resilience
– Robots
– Sharing Economy
– Short Reading
– Smart Cities
– Unplugged
– Urbanization
– Virtual Reality
– Voice Control

รวมทั้งหมด จำนวน 36 เรื่องที่น่าสนใจ
ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.ala.org/tools/future/trends

http://www.ala.org/tools/future/trends
http://www.ala.org/tools/future/trends

ตัวอย่างเมื่อเราเข้าไปแล้วจะมีเนื้อหา 3 ส่วนที่น่าสนใจ
1. เราจะนำไปใช้ยังไง
2. ทำไมมันถึงสำคัญ
3. link และเนื้อหาที่เอาไว้เรียนรู้เพิ่มเติม

Co-Working / Co-Living
Co-Working / Co-Living

เอาเป็นว่าอยากให้เข้าไปเรียนรู้กันเยอะๆ ครับ
ผมเองก็จะค่อยๆ อ่านและพยายามทำความเข้าใจทีละเรื่องเช่นกัน

เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

เคยเห็นตู้กดน้ำแบบหยอดเหรียญ ตอนนี้มีขนม มาม่า ผลไม้ …
ขายได้ทุกอย่างผ่าน Vending machine
และเครื่อง Vending machine ในปัจจุบันก็ไม่ได้รับแค่เหรียญกับธนบัตรอีกแล้ว
เพราะตอนนี้สามารถเชื่อมต่อกับ e-wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) ได้แล้วด้วย

มานั่งคิดๆ ดู แล้วในวงการห้องสมุดสามารถทำอะไรกับเรื่องเหล่านี้บ้างได้มั้ย
หากใครไปงานหนังสือสองสามครั้งล่าสุด หรือเพิ่งไปเดินเล่นแถวสยาม
เราจะได้เห็นเครื่องจำหน่ายหนังสืออัตโนมัติของร้าน Zombie Book Read more

การออกแบบบริการ (Service Design) ในห้องสมุดยุคใหม่

การออกแบบบริการ (Service Design) ในห้องสมุดยุคใหม่

การออกแบบบริการ (Service Design) ต่างๆ ในห้องสมุดยุคใหม่ เริ่มจากการศึกษาเส้นทางในการใช้บริการของลูกค้า (Customer Journey) ค่อยๆ ดูและพยายามหาโอกาสและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลูกค้า

การสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามี 3 แนวทางให้เลือกทำ
1) ต่อยอดบริการเดิมให้มีคุณค่ามากขึ้น
2) สร้างสรรค์บริการในรูปแบบใหม่
3) เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจและหาหนทางใหม่ๆ ในธุรกิจตนเอง

Read more

เปลี่ยนค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” ให้เป็น “อาหาร”

เปลี่ยนค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” ให้เป็น “อาหาร”

อย่างที่เรารู้ๆ กันนะครับว่า “ค่าปรับ” เมื่อเวลาลูกค้ามาคืนหนังสือเกินกำหนด
มันไม่ใช่ “รายได้” ที่ห้องสมุดพึงปรารถนา …. (เราไม่ได้เห็นแก่รายได้แบบนี้)

food for fines

หลายๆ ห้องสมุดในต่างประเทศจึงคิดวิธีเพื่อจัดการกับ “ค่าปรับ”
ซึ่งมีวิธีหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าชอบมากๆ นั่นคือ “Food for Fines

ห้องสมุดหลายๆ แห่งเปลี่ยนจากการเก็บค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” มาเป็น “อาหาร”
“ให้ผู้ใช้บริการที่ยืมหนังสือเกินกำหนดถูกปรับโดยจ่ายเป็น อาหาร”

โครงการนี้ไม่ได้จัดกันทั้งปีนะครับ แต่ละห้องสมุดก็จะกำหนดช่วงเวลาไม่เหมือนกัน
บางแห่งใช้เวลา 1 เดือน บางแห่งใช้เวลา 1 สัปดาห์ อันนี้แล้วแต่เลยครับ

สิ่งที่ห้องสมุดจะได้ คือ หนังสือที่บางทีผู้ใช้ยืมไปลืมไปแล้ว
และแน่นอน “อาหาร” เพื่อนำไปมอบให้เด็กๆ หรือคนเร่ร่อน หรือ….

สิ่งที่ผู้ใช้บริการจะได้ คือ แทนที่จะต้องจ่ายค่าปรับแพงๆ ก็จ่ายในรูปแบบอื่นแทน
และนอกจากนั้นยังได้ทำบุญร่วมกับห้องสมุด ส่งความปรารถนาดีให้ผู้อื่นด้วย

จากรายงานของแต่ละห้องสมุดนอกจากคนที่ต้องเสียค่าปรับด้วยอาหารแล้ว
ยังมีผู้ใช้ที่ไม่ต้องเสียค่าปรับ นำอาหารมามอบเพื่อร่วมบุญด้วย

เอาเป็นว่าการจัดการกับค่าปรับแบบนี้ เพื่อนๆ ว่าดีมั้ยครับ

Credit : Youtube greenelibrary Victoria de la Concha
IMAGE : Cumberland Public Libraries