ห้องสมุดโรงเรียนนี้ทำอย่างไรให้เด็กกลับมาใช้ 1,000 เปอร์เซ็นต์

ห้องสมุดโรงเรียนนี้ทำอย่างไรให้เด็กกลับมาใช้ 1,000 เปอร์เซ็นต์

วันนี้ขณะที่เปิดอ่าน Facebook ตอนกลับบ้าน เห็นพาดหัวนึงแล้วตกใจมาก จนต้องคลิ๊กไปอ่านต่อ
พาดหัวดังกล่าว “How This School Library Increased Student Use by 1,000 Percent
แปลเป็นไทยได้ว่า “ห้องสมุดโรงเรียนมีวิธีเพิ่มการใช้ของนักเรียนได้ 1000 เปอร์เซ็นต์อย่างไร
หรือง่ายๆ ครับ “วิธีเพิ่มการเข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนได้ผล 1000 เปอร์เซ็นต์

how school library boots up Read more

นายห้องสมุดชวนอ่าน “คิดทันโลก”

นายห้องสมุดชวนอ่าน “คิดทันโลก”

จริงๆ ได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว แต่เพิ่งจะมีเวลาหยิบอ่าน
เห็นว่าน่าสนใจดีเลยขอหยิบมาเขียนถึงนะครับ

รายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือ
ชื่อเรื่อง : คิดทันโลก – ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จัดพิมพ์โดย : TKpark
ISBN : 9786162352454 Read more

QR code กับงานห้องสมุดยุคใหม่

1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ

qr code in mobile technology for library

ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet

ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
– ตัวอักษร
– ตัวเลข

QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น

“1234567890123456789012345678901234567890”

Barcode

12345678901234567890_mv0nis

QR code

12345678901234567890_mv0njg

เป็นยังไงกันบ้างครับ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า

เอาหล่ะครับ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร

– ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
– จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
– แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
– login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
– ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
– Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ

ตัวอย่างมากมายอ่านต่อที่ http://www.libsuccess.org/index.php?title=QR_Codes

ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
– โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia

โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.

ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้องที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว

e-books-top-100-4x1-reverse-sort-791x1024

 

pbookshelf

 

จริงๆ ยังมีตัวอย่างอีกเพียบเลยนะครับ แล้วถ้าผมเจอไอเดียแจ่มๆ แบบนี้อีกจะนำมาแชร์ให้อ่านต่อนะครับ

เพื่อนๆ สามารถลองสร้าง barcode หรือ qr code ได้ที่ http://www.barcode-generator.org/

ลองเข้าไปทำดูนะครับ มีรูปแบบให้เลือกเยอะเลยแหละ

ทำไมห้องสมุดและบรรณารักษ์ต้องพัฒนา Mobile Technology

หลังจากวันก่อนที่ผมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology ก็มีเพื่อนหลายคนสงสัยและถามผมว่า Mobile Technology มันมีประโยชน์ยังไง และห้องสมุดสามารถนำ Mobile device มาให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างไร

วันนี้ผมจะมาตอบข้อสงสัยดังกล่าว พร้อมอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Mobile Technology เพิ่มเติม

ก่อนอื่นผมต้องขอยกข้อมูลเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาเขียนก่อน คือ

ข้อมูลการใช้ Mobile Device ในประเทศไทย

DM-Export-WSources

เห็นมั้ยครับว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก อีกไม่นานที่เขาว่ากันว่าจำนวน Mobile Device จะมีจำนวนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกับ notebook ซะอีก ก็คงต้องรอดูไปอ่ะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Mobile Technology ในห้องสมุด ปี 2011-2012

7_mobile

– มีเว็บไซต์ห้องสมุดที่พัฒนาให้รองรับการอ่านบน mobile device 14%
– ห้องสมุดนำ QR code มาใช้ในห้องสมุด 12%
– ห้องสมุดมีการพัฒนา application ในการให้บริการ 7%

นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้วจริงๆ มีการสำรวจถึงข้อมูลการใช้ Mobile Technology สำหรับห้องสมุดในรูปแบบของ Application อีกว่า มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ

ljx120201webThomas1

– ค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุด (Search Catalog)
– ต่ออายุการยืมหนังสือผ่าน Application
– จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์
– ค้นหาหนังสือใหม่ หรือ ชมการแนะนำหนังสือจากเหล่าบรรณารักษ์
– ค้นหาข้อมูลห้องสมุด เช่น ที่ตั้ง แผนที่ เวลาเปิดปิด
– อ่าน review หนังสือต่างๆ ในห้องสมุด
– ดูประวัติการยืมคืน หรือ การอ่านหนังสือย้อนหลังได้
– ยืมหนังสือเพียงแค่สแกนบาร์โค้ตลงใน application
– เข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุด
– ดาวน์โหลด Ebook ไปอ่าน

เห็นมั้ยครับว่ามีประโยชน์มากมาย ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงประโยชน์ของผู้ใช้บริการนะครับ
ประโยชน์ในมุมมองของบรรณารักษ์และผู้ให้บริการก็ยังมีอีกเพียบเลยเช่นกัน
ไว้ผมจะกล่าวในครั้งหน้านะครับ

เอาเป็นว่ายังไๆ ผมว่า Mobile Technology เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
ถ้าเพื่อนๆ รู้ก่อน และปรับตัวให้เข้ากับมันได้เร็ว ห้องสมุดของเพื่อนๆ ก็ได้เปรียบครับ….

ตามรอยนิทรรศการ เปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่

บังเอิญนั่งดูภาพเก่าๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวแล้วเจอภาพชุดนึงที่น่าสนใจ เลยขอหยิบยกมาเขียนให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน ภาพที่พบ คือ ภาพหลังจากที่พวกผมช่วยกันจัดนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่ กันเสร็จ (ภาพก่อนพิธีเปิดวันนึง ช่วงกลางคืน)

dscf0204

นิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ปล. งานนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่ศูนย์ความรู้กินได้เปิดครบรอบ 1 ปี (20 กรกฎาคม 2553)

ภายในนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่มีอะไรบ้าง
– ภาพการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุด ก่อนที่จะปรับปรุง – ห้องสมุดในรูปโฉมใหม่
– แบบพิมพ์เขียนและโมเดลอาคารห้องสมุด
– ข้อมูลจากการศึกษาวิจัย และข้อมูลจากการระดมความคิดเห็น
– ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดประชาชนจากต่างประเทศ
– แนวคิดห้องสมุด 2.0
– การเปิดตัวหนังสือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่”
ฯลฯ

dscf0231

นอกจากข้อมูลที่เป็นแบบบอร์ดนิทรรศการแล้ว การจัดงานในครั้งนี้ยังมีนิทรรศการมีชีวิต (นิทรรศการที่เกิดจากเครือข่ายหรือการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วย) เช่น การให้คะแนนในการเข้าชมนิทรรศการด้วยการหยอดแต้มสี (คะแนน) ลงในกล่อง แถมยังมีพื้นที่ในการนั่งชมสื่อมัลติมีเดียที่จัดทำขึ้นเพื่อนิทรรศการนี้โดยเฉพาะด้วยนะ

dscf0435

แม้ว่า “นิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” จะจบไปแล้ว
แต่ไอเดียในการจัดนิทรรศการแบบนี้ (ที่มีเนื้อหาประมาณนี้) ยังคงประทับใจผมอยู่

อยากเห็นห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องแหล่งเรียนรู้ได้จัดงานและให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูลแบบนี้บ้าง
ลองคิดดูนะครับ ถ้ามีนิทรรศการหรือพื้นที่ในการเปิดไอเดียให้เหล่าห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ ผมว่าในวงการวิชาชีพเราคงคึกคักกว่านี้แน่ครับ

ชมภาพบรรยากาศในงานนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่ทั้งหมดได้ที่นี่

[nggallery id=65]

BiblioTech ห้องสมุดแห่งแรกที่ไม่มีหนังสือเลยสักเล่ม

มีคนเคยถามผมว่า “ในอนาคตอันใกล้นี้ห้องสมุดอาจจะไม่ต้องมีหนังสือสักเล่มในห้องสมุดก็ได้จริงหรือเปล่า” ซึ่งผมเองก็ตอบไปว่า “มันก็อาจจะเป็นไปได้แต่คงต้องใช้เวลานานหน่อย บางทีอาจไม่ทันในรุ่นของผมก็ได้ห้องสมุดดิจิตอลในหลายๆ ประเทศบางทีก็ยังคงต้องให้บริการหนังสือตัวเล่มอยู่บ้างเนื่องจากเรื่องลิขสิทธิ์ของหนังสือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน

มาวันนี้ได้อ่านข่าว “The First Bookless Public Library: Texas to Have BiblioTech” ของสำนักข่าว ABC News

ภาพการออกแบบแนวคิด (Conceptual Design) ของ Bibliotech

ทำเอาผมอึ้งไปชั่วครู่เลยก็ว่าได้ “มันเกิดขึ้นจริงๆ หรือนี่” “มันเป็นไปแล้วนะ” “มันกำลังจะเป็นจริง” คำอุทานของผม มันพูดออกมามากมายในสมองของผม

ห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จะไม่มีหนังสือเลยสักเล่ม ชื่อว่า “BiblioTech” ซึ่งตั้งอยู่ที่ Bexar County รัฐ Texas และที่สำคัญห้องสมุดแห่งแรกนี้จะเปิดในปี 2013 ด้วย

แรงบันดาลใจและแนวความคิดของการมีห้องสมุดแห่งนี้มาจากการอ่านหนังสือชีวประวัติของ Steve Jobs” ของท่านผู้พิพากษา Nelson Wolff

ภาพอาคารที่จะใช้ก่อสร้าง “BiblioTech”

แผนที่ตั้งของห้องสมุด

พื้นที่ทั้งหมดของห้องสมุดแห่งนี้ ประมาณ 4,989 ตารางฟุต เป็นห้องสมุดที่เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อดิจิตอลต่างๆ เช่น เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) คอมพิวเตอร์ หนังสือที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 10,000 ชื่อเรื่อง

การให้บริการยืมคืนหนังสือผ่านอุปกรณ์ E-reader ของผู้ใช้บริการก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่านี่แหละครับ ห้องสมุดแห่งปัจจุบันที่มีกลิ่นไอความเป็นอนาคต
เมืองไทยเองผมว่าถ้าอยากทำแบบนี้ต้องเริ่มศึกษาจากกรณีตัวอย่างให้มากกว่านี้
และนอกจากศึกษาแล้วต้องลองจัดทำต้นแบบกันดูบ้าง ไม่งั้นงานนี้เมืองไทยคงต้องบอกว่า “อีกนาน”

ข้อมูลอ้างอิงและภาพประกอบจาก
– http://abcnews.go.com/Technology/bookless-public-library-texas-home-bibliotech/story?id=18213091
– http://www.mysanantonio.com/news/local_news/article/Bexar-set-to-turn-the-page-on-idea-of-books-in-4184940.php#photo-4012897
– http://news.cnet.com/8301-1023_3-57563800-93/first-all-digital-library-in-the-u.s-will-look-like-an-apple-store/
– http://sourcefednews.com/the-first-library-without-any-books/

1 วัน 1 ภาพ เพื่อสื่อความเป็นห้องสมุดและบรรณารักษ์ยุคใหม่

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย วันนี้ผมขอนำเสนอแนวคิดนึงที่ผมนำมาใช้กับเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้สักระยะนึงแล้ว นั่นคือ “การจัดทำภาพข้อความเพื่อสื่อถึงความเป็นห้องสมุดและบรรณารักษ์ยุคใหม่” วันนี้ผมขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านสักหน่อย

1 ในความคิดและความตั้งใจของผมในปีนี้ คือ จะต้องโพสภาพข้อความที่เกี่ยวข้องกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้ได้วันละ 1 ภาพ

โดยรูปภาพที่ผมนำมาโพสนี้ ผมไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไรที่มันซับซ้อนเลย
แถมเป็นโปรแกรมฟรีอีกต่างหาก นั่นคือ โปรแกรม “Line Camera” นั่นเอง
และต้องบอกอีกว่าบางครั้งก็ใช้โปรแกรมง่ายๆ อย่าง Microsoft Powerpoint นั่นเอง

สิ่งที่ผมจะบอก คือ ความง่ายของมัน
โปรแกรมที่ผมพูดถึงข้างต้นมันง่ายมากๆ
แต่เพื่อนๆ หลายคนคิดไม่ถึง

ผมขอยกตัวอย่างภาพที่ผมทำจาก Microsoft Powerpoint ภาพ Infographic หลายๆ ตัวที่ผมเคยโพสไปแล้วในบล็อกนี้

(ลองอ่านเรื่อง Infographic สมาชิกบล็อกห้องสมุดกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ หรือ [InfoGraphic] 1 ปี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีกับข้อมูลที่น่าสนใจ)

เรื่องโปรแกรมบอกตรงๆ ครับมันไม่ยาก แต่เรื่องยาก คือ การนั่งคิดประโยคโดนๆ ที่จะสื่อสารออกมาในแต่ละวัน บางครั้งต้นใช้เวลาคิดเป็นชั่วโมงเลย บางทีก็คิดได้หลายๆ เรื่องพร้อมกัน

เมื่อได้ข้อความแล้วก็นำมาแยกประโยคและค่อยๆ พิมพ์ลงในโปรแกรมและจัดให้มันดูสวยงาม
เพียงแค่นี้ผมก็มีรูปภาพข้อความเก๋ๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วครับ

ลองมาดูกันตั้งแต่วันที่ 1 – 6 มกราคม 2556 ผมโพสรูปภาพอะไรไปแล้วบ้าง

วันที่ 1 มกราคม 2556

วันที่ 2 มกราคม 2556

วันที่ 3 มกราคม 2556

วันที่ 4 มกราคม 2556

วันที่ 5 มกราคม 2556

วันที่ 6 มกราคม 2556

เอาเป็นว่าพอจะมองเห็นภาพกันแล้วใช่มั้ยครับ
ไอเดียนี้ทำให้คนเข้ามาที่เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยมากขึ้นเยอะมากๆ เลย
ผมเลยอยากให้เพื่อนๆ ลองทำกันดู อย่าคิดอะไรยากครับ ณ จุดๆ นี้

ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)

วันก่อนมีโอกาสไปบรรยายเรื่อง “ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” ที่อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK park Yala) เลยอยากเอามาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่าน

ไปชมสไลด์ที่ใช้บรรยายกันก่อน

[slideshare id=13954579&doc=libraryworkisfunbysocialmedia-120813010522-phpapp01]

เนื้อหาการบรรยายโดยสรุปมีดังนี้

จุดเริ่มต้นของสื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์คงหนีไม่พ้นเรื่องเว็บ 2.0 ซึ่งความหมายและจุดเด่นของเว็บ 2.0 คือ เป็นยุคใหม่ของการพัฒนาเว็บไซต์ และมีรูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ใช้เว็บ” มากกว่า “ผู้พัฒนา” หรือ “เจ้าของเว็บไซต์” นอกจากนี้ยังเน้นแนวคิดการพัฒนาเว็บที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกัน การผสานความร่วมมือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ซอฟต์แวร์ และเนื้อหาเว็บ

จากความหมายและจุดเด่นข้างต้นของ “เว็บ 2.0” จะพบว่า”ผู้ใช้บริการมีความสำคัญอย่างมากต่อเว็บไซต์” และสิ่งที่ตามมา คือ “สังคมแห่งการแบ่งปันข้อมูล” โลกของการแบ่งปัน โลกของเว็บ 2.0 ทำให้เกิดเครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งปันมากมาย เช่น

– ใครชอบแชร์เรื่องที่เขียนก็เน้น Blog
– ใครชอบแชร์รูปภาพก็ใช้บริการ Flickr
– ใครชอบแชร์วีดีโอก็ใช้บริการ Youtube
– ใครชอบแชร์เอกสารก็ใช้บริการ Scribd
– ใครชอบแชร์ไฟล์นำเสนอก็ใช้บริการ Slideshare

กรณีศึกษาสื่อสังคมออนไลน์ที่ควรนำมาใช้ : แนะนำวิธีใช้งานและการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้สำหรับงานห้องสมุด ดังนี้ Blog, Facebook, Pinterest, Social cam และ Twitter ซึ่งเมื่อห้องสมุดหรือบรรณารักษ์นำมาใช้แล้วก็ควรจัดทำแผนและกำหนดทิศทางในการใช้งาน รวมถึงประเมินและวัดผลสัมฤทธิ์ของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ด้วย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล เช่น
Facebook Insight
Google Analytic

เอาเป็นว่าเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เมื่อใช้ให้ถูกจุด มีเป้าหมาย กลยุทย์ และการวัดผลที่ชัดเจน จะทำให้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานขึ้นมากกว่าเดิม

นี่ก็เป็นบทสรุปของสไลด์เรื่อง “ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” ครับ

ภาพบรรยากาศในช่วงที่บรรยาย

[nggallery id=60]

เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด

ปลายเดือนนี้ (วันที่ 24 สิงหาคม 2555) ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานประชุมวิชาการฯ เรื่อง “เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด” เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดอ่านต่อด้านล่างเลยครับ

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24 สิงหาคม 2555
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา

หัวข้อเรื่องของเทคโนโลยี cloud computing กำลังมาแรงไม่เพียงแต่วงการไอที หรือ วงการธุรกิจ แต่มันยังเริ่มเข้ามาสู่วงการศึกษา และวงการห้องสมุดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตัวอย่างการใช้งาน Cloud computing เช่น การแชร์ไฟล์ข้อมูลผ่านโลกอินเทอร์เน็ตด้วย dropbox …. (เอาไว้จะเขียนให้อ่านบ้างนะครับ)

ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ
เช่น
– Cloud Computing for Education
– การหลอกลวงในโลก Internet ในปัจจุบัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
– เสวนาเรื่อง เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด: แนวคิดและประสบการณ์
– เรียนรู้เพื่ออยู่รอดในยุคดิจิตัล ( Staying Relevant in Digital Era)
– การให้บริการสารสนเทศกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน : อยู่รอด รู้ทันรอบรู้

เอาเป็นว่าหัวข้อแต่ละหัวข้อดูน่าสนใจดีทีเดียว
และถ้าหากเพื่อนๆ สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องบอกอีกนิดว่า “มีค่าใช้จ่าย” นะครับ

หากสนใจดาวน์โหลดใบสมัครและหนังสือเชิญเข้าร่วมงานได้ที่

จดหมายเชิญเข้าร่วมงานและใบสมัครเข้าร่วมงาน

Workshop : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมมาฝาก นั่นคือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “การผลิตสื่อทางวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)” ที่จัดโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
สถานที่จัดงาน : ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 30 – 31 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรมนี้น่าสนใจมากๆ โดยฌแพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หรือแม้แต่ห้องสมุดในโรงเรียนเองก็น่าสนใจนะครับ เพราะการอบรมครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ เราสามารถนำมาสอนอาจารย์หรือครูที่สนใจอยากผลิต E-book ที่ห้องสมุดของเราได้อีก

หัวข้อที่น่าสนใจ
– มาตรฐานสื่อดิจิทัล
– การใช้งาน e-Book
– แนะนำการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแบบ Open source
– การติดตั้งโปรแกรมในการสร้าง e-Book
– การใช้งานโปรแกรมสําหรับสร้าง e-Book


เมื่อจบจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตร ซึ่งเพื่อนๆ สามารถนำไปใช้เป็นใบเบิกทาง และแสดงถึงความสามารถในการใช้งานโปรแกรมการสร้าง E-book ได้


ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้

สมัครภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,600 บาท
หลังจาก วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,800 บาท

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและสมัครที่ http://www.library.kku.ac.th/conference2012/

ขอฝากประโยคนี้ไว้ทิ้งท้ายข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้แล้วกัน
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อสองถึงสามปีที่แล้วสิ่งที่ทำให้บรรณารักษ์หวั่นๆ คงหนีไม่พ้น “Google” บัดนี้ความหวั่นๆ ของบรรณารักษ์เปลี่ยนไปเมื่อโลกกำลังพูดถึง E-book การจะขจัดความหวาดหวั่นนี้ได้คงต้องเริ่มจากการที่ห้องสมุดสร้าง Content และสร้าง E-Book ขึ้นมาเองให้ได้ และลองนำมาประยุกต์กับงานให้บริการดู สิ่งที่คงจะเป็นเพียงการจุดประกายเรื่องทิศทางของห้องสมุดในอนาคต