บทบาทของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ที่สนับสนุนงานวิจัย)

บทบาทของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ที่สนับสนุนงานวิจัย)

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องสนับสนุนการทำงานวิจัยทั้งของนักศึกษาและอาจารย์อยู่เสมอๆ ซึ่งคำว่า “สนับสนุน” อาจมาได้หลายแบบ เช่น บริการตอบคำถาม บริการช่วยค้นคว้า บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม ฯลฯ ซึ่งมันจะดีกว่ามั้ย ถ้าห้องสมุดมีเว็บไซต์ที่ช่วยตอบคำถาม หรือ รวบรวมเทคนิคที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำวิจัย

วันนี้ผมขอนำตัวอย่างจากห้องสมุด Auraria Library มาให้ชมครับ
ซึ่ง Session หนึ่งผมได้เข้าไปที่ Auraria Library’s Research Guides! – https://guides.auraria.edu/?b=s

Read more
รีวิวหนังสือ “การบริการในห้องสมุดสถาบันการศึกษาให้ถูกใจผู้ใช้บริการ”

รีวิวหนังสือ “การบริการในห้องสมุดสถาบันการศึกษาให้ถูกใจผู้ใช้บริการ”

เมื่อเช้านี้ผมได้คัดเลือก eBooks จำนวนหนึ่งที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาอ่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ “Libraries for Users: Services in Academic Libraries” ซึ่งเกี่ยวกับการพัฒนางานบริการให้โดนใจผู้ใช้ โดยมุ่งเน้นไปที่ห้องสมุดห้องสมุดสถาบันการศึกษา โดยในหนังสือเล่มนี้มีอะไรน่าสนใจบ้างไปอ่านกันได้เลยครับ

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Libraries for Users: Services in Academic Libraries
ผู้แต่ง : Luisa Alvite และ Leticia Barrionuevo
ISBN : 9781843345954
ปีพิมพ์ : 2011
จำนวนหน้า : 218 หน้า

Read more

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด รับบรรณารักษ์ ด่วน

นายห้องสมุดช่วยหางานวันนี้ขอนำเสนองานในห้องสมุดมหาวิทยาลัยอีกแล้วครับท่าน วันนี้ถึงคิวมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติครับ นั่นคือ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด นั่นเอง

siu_librarian_job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

งานวันนี้คงต้องการบรรณารักษ์ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษระดับดีถึงดีมาก เพราะเป็นมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาตินะครับ
คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้ คือ
– จบปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารดีมาก

คุณสมบัติแบบสั้นๆ ง่ายๆ แบบนี้แหละครับ หน้าที่ของตำแหน่งนี้คือ
– งานจัดหา
– งานวิเคราะห์
– ส่งเสริมการอ่าน
– สร้างและดูแลฐานข้อมูล

แบบว่าหน้าที่ผมว่าเพื่อนๆ น่าจะไหวนะครับ แต่สิ่งที่ต้องการมากๆ คือ ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เท่านั้นแหละครับที่คงต้องเพิ่มเติมความรู้กัน

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็ติดต่อได้ที่ hrd@stamford.edu ครับ
ส่งจดหมาย CV ประวัติย่อ และภาพถ่ายปัจจุบัน ไปที่เมล์ได้เลย
หรือจะโทรไปสอบถามที่ 027694000 ต่อ 1133 ครับ

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีรับบรรณารักษ์ 1 อัตรา

บรรณารักษ์ช่วยหางานวันนี้ บังเอิญว่ามีน้องคนนึงมาถามหางานบรรณารักษ์ในจังหวัดปัตตานี ผมก็เลยจัดตำแหน่งงานในจังหวัดปัตตานีมาให้ ซึ่งทำงานที่สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หรือที่เรารู้จักกันในนาม หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ นั่นเอง

psu pattani campus librarian job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
เงินเดือน : 16,380 บาท
สังกัด / หน่วยงาน : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถานที่ปฏิบัติงาน : หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ภาพรวมของงานนี้คือห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแน่นอนครับว่าต้องบริการให้กับกลุ่มนักศึกษา รวมถึงอาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัย หน้าที่คร่าวๆ ของตำแหน่งนี้ เช่น
– บริการยืมระหว่างห้องสมุด
– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
– การสอนและให้ความรู้กับผู้ใช้เกี่ยวกับทักษะสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
– การส่งเสริมการใช้บริการ และกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด

เอาเป็นว่าถ้าอ่านแล้วรู้สึกสนใจ ก็ลองดูคุณสมบัติกันหน่อยครับ
1. จบปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. มีความรู้ความสามารถ ดังนี้
– ความรู้ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
– ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ
– ความรู้ด้านการใช้ฐานข้อมูล
– มีทักษะการสอนและการนำเสนอ
– การนำเสนอโครงการ

เอาเป็นว่าถ้าตรงกับบุคลิกของเราและจบปริญญาโทมาด้านนี้ แถมด้วยอยากทำงานในจังหวัดปัตตานี ผมก็ขอแนะนำงานนี้ครับ

ถ้าอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลงานนี้มาอ่านต่อครับ ที่
http://www.oas.psu.ac.th/upload/news/prakadrab_jfk_56.pdf

และถ้าสนใจก็ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
http://www.oas.psu.ac.th/upload/news/app_form_jfk.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

เว็บไซต์สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.oas.psu.ac.th/

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับบรรณารักษ์ ป.โท 1 อัตรา

นายห้องสมุดยังคงช่วยหางานวันนี้ ขอแนะนำตำแหน่งงานในสายที่ลงเฉพาะทางบ้าง แต่เฉพาะทางแค่ไหนก็ยังคงต้องการบรรณารักษ์อยู่ดี ตำแหน่งงานบรรณารักษ์นี้ อยู่ในห้องสมุดคณะจิตวิทยา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซะด้วย เอาเป็นว่าใครสนใจก็อ่านต่อได้เลย

psy_library_chula_librarian_job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ ระดับ P7
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
เงินเดือน : 20,100 บาท
สังกัด / หน่วยงาน : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุดคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอาหล่ะครับ อย่างที่บอกว่าดูเหมือนจะเฉพาะทาง เพราะต้องปฏิบัติงานที่ห้องสมุดคณะฯ แต่สิ่งหนึ่งที่ตำแหน่งนี้ระบุไว้ อย่างชัดเจน คือ ระดับ P7 ซึ่งแน่นอนครับว่า ต้องจบวุฒิปริญญาโทแน่นอน ยังไงก็ลองอ่านคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนแล้วกันครับ
– ปริญญาโท สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือ สารสนเทศศาสตร์
– ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Word, Excel, Powerpoint และอินเทอรืเน็ตได้ดี
– ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้
– ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ดี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนที่จบ ป.โท มานะครับ ดังนั้นเงื่อนไขยังคงมีต่ออีกว่า
ต้องสอบคัดเลือกด้วยนะครับ ซึ่งประกอบด้วย
– สอบข้อเขียน
– ประเมินคุณลักษณะและความเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน
– สอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าถ้าคุณสมบัติตรงและอยากทำงานที่นี่ คง้องรีบกันหน่อยแล้วครับ เพราะต้องส่งใบสมัครภายในวันที่ 29 มีนาคม 2556 นะครับ

รายละเอียดอื่นๆ แนะนำให้เข้าไปอ่านที่
https://www.it.chula.ac.th/sites/default/files/jobs/0360_1.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

สำนักหอสมุด วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รับบรรณารักษ์ 3 ตำแหน่ง

นายห้องสมุดช่วยหางาน วันนี้วันที่สามแล้วนะครับ วันที่สามก็ต้องจัดไปสัก 3 ตำแหน่งสินะ งานบรรณารักษ์วันนี้ผมขอนำเสนองานบรรณารักษ์ ของหน่วยงาน สำนักหอสมุด วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกครับ ถ้าสนใจอ่านต่อกันเลย

southeast_bangkok_librarian_jobs

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 3 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
สถานที่ปฏิบัติงาน : สำนักหอสมุด วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

งานวันนี้เป็นบรรณารักษ์ในสถาบันอุดมศึกษานะครับ เพราะฉะนั้นกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้ห้องสมุดนี้คือนักศึกษาและอาจารย์ในวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

เกริ่นมาขนาดนี้ถ้าสนใจอ่านึคุณสมบัติเบื้องต้นกันก่อนเลยครับ
– เพศชาย/หญิง อายุไม่เกิน 35 ปี
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์ หรือ กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้าย
– มีความสามารถในการใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ
– มีความสามารถใช้โปรแกรมสำนักงานพื้นฐาน (WORD, EXECEL, POWERPOINT)
– มีประสบการณ์ทำงานหรือฝึกงานจะรับพิจารณาพิเศษ

เอาหล่ะครับสังเกตดีๆ นะครับ “สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้าย”
นั่นหมายความว่า เด็กจบใหม่ก็มีโอกาสนะครับ ดังนั้นน้องๆ ที่กำลังจบหรือจบใหม่ๆ สามารถสมัครได้ครับ

ถ้าสนใจติดต่อที่
สำนักหอสมุด วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ๒๙๘ สรรพาวุธ บางนา กรุงเทพฯ 10260
โทร. 027447356 ต่อ 149 โทรสาร. 023981356
Website : http://library.southeast.ac.th/

ขอให้โชคดีครับทุกท่าน

บทบาท PULINET ในการเตรียมการห้องสมุดมหาวิทยาลัยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กระแสอาเซียนมาแรงฉุดไม่อยู่จริงๆ วงการห้องสมุดมหาวิทยาลัยจึงต้องขอนำเรื่องนี้มาเป็นหัวข้อใหญ่อีกสักครั้ง โดยการสัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 3 ที่จะจัดในระหว่างวันที่ 23-25 มกราคม 2556 นี้ มีธีมใหญ่ คือ “บทบาทของ PULINET ในการเตรียมการห้องสมุดมหาวิทยาลัยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องาน : สัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 3
ธีมงาน : บทบาทของ PULINET ในการเตรียมการห้องสมุดมหาวิทยาลัยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
สถานที่จัดงาน :
ณ ห้องบงกชรัตน์ โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
วันที่จัด : วันที่ 23-25 มกราคม 2556
จัดโดย : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET)

ปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะร่วมกันเป็นหนึ่ง ซึ่งถ้านับเวลาจริงๆ ตอนนี้ก็เหลือเวลาแค่ 2 ปีเท่านั้นเอง บางคนอาจจะมองว่าเหลือเวลาอีกเยอะ แต่จริงๆ แล้วผมว่าไม่มากหรอกครับ ดังนั้นเราต้องเริ่มเตรียมตัวกันแล้ว

ยิ่งห้องสมุดในมหาวิทยาลัยผมว่าโอกาสในการเตรียมตัวต้องมีสูงกว่าห้องสมุดในระดับอื่นๆ เลยด้วยซ้ำ เนื่องจากเราต้องเตรียมการผลิตบัณฑิตที่จะจบออกมาด้วยความพร้อมในเรื่องของอาเซียนด้วย ดังนั้นพี่น้องชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ในสถาบันอุดมศึกษาจึงควรเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้

หัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนาครั้งนี้
– ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคกับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคกับการรวบรวม จัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะทางด้านอาเซียนศึกษา
– The Idea and Management of Collection of ASEAN Countries by Each University Library

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานทางวาจาและงานโปสเตอร์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมของงานสัมมนาวิชาการ PULINET ในวันที่สองด้วย และแน่นอนครับมีการศึกษาดูงานในวันสุดท้ายเช่นเคย

การสัมมนาในครั้งนี้มีค่าลงทะเบียนด้วย โดย
สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในข่ายของ PULINET จะเสียค่าลงทะเบียนคนละ 1,000 บาท
ส่วนองค์กรที่อยู่นอกข่ายของ  PULINET จะเสียค่าลงทะเบียนคนละ 1,500 บาท

ส่วนค่าเดินทางและที่พักก็เบิกจากต้นสังกัดกันเองนะครับ

เอาเป็นว่ากิจกรรมดีๆ แบบนี้ก็ขอแนะนำไว้แล้วกันนะครับ
สำหรับใครที่ได้ไปก็อย่าลืมเอามาเล่าสู่กันฟังในคราวหลังจากกลับมาก็ได้ครับ

ติดตามข้อมูลทั้งหมดได้จากเว็บไซต์ http://clm.wu.ac.th/pulinet3/index.php

นายห้องสมุดพาเที่ยวหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ม.ศิลปากร

ไม่ค่อยได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดนานแล้ว วันนี้จัดให้สักทริปแล้วกันครับ สำหรับวันนี้เราจะเข้าไปชมห้องสมุดในมหาวิทยาลัยกันบ้าง ที่นั่นคือ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาศิลปากร” ตามมาดูกันเลยดีกว่าครับ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหอสมุดแห่งนี้
ชื่อห้องสมุด : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาศิลปากร
ที่อยู่ : เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทรศัพท์ : 034-255092 / โทรสาร : 034-255092
เว็บไซต์ของห้องสมุด : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/
บล็อกของห้องสมุด : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog
Facebook ห้องสมุด : http://www.facebook.com/suslib.sanamchandra

หมายเหตุ ภาพห้องสมุดผมถ่ายเอาไว้นานแล้ว ปัจจุบันไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนไปบ้างหรือปล่าว

วันที่ไปเยี่ยมชมห้องสมุดแห่งนี้ ผมได้เดินทางไปพร้อมกับคณะเยี่ยมชมจากชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ชบอ.) ซึ่งวันเดินทางไปตรงกับวันเสาร์ แต่ด้วยการนัดหมายที่ดีจึงได้เจอรุ่นพี่ มอ. บรรณารักษ์ (พี่ปอง) มาให้คำอธิบายและนำชมห้องสมุด แบบว่าแอบดีใจที่ได้เจอรุ่นพี่คนนี้มากๆ ด้วย

กระบวนการแรกก่อนเดินชมห้องสมุด พี่ปองได้พูดถึงภาพรวมของห้องสมุด รวมถึงกิจกรรมที่หอสมุดแห่งนี้ได้จัด ผมเองก็ได้เปิดมุมมองในเรื่องกิจกรรมแบบสร้างสรรค์ของที่นี่ด้วย

ตัวอย่างกิจกรรมสร้างสรรค์จากหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
– กิจกรรมยืมไม่อั้น (ช่วงปิดเทอม)
– การเดินแบบแฟชั่นหนังสือ
– การตกแต่งรถสามล้อด้วยหนังสือ
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในงานองค์พระ (งานประจำปีของจังหวัดนครปฐม)

ภายในอาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จริงๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 อาคารนะครับ
โดยอาคารแรกที่พวกเราเยี่ยมชมจะเป็นอาคาร 4 ชั้น โดยแบ่งการให้บริการดังนี้

อาคารชั้น 1 ประกอบด้วย
– รับฝากของ
– งานบริการยืม คืน (เครื่องยืมคืนด้วยตนเอง)
– งานธุรการ
– หนังสืออ้างอิง
– โถงนิทรรศการ (ช่วงที่ไปมีการแสดงงานศิลปะด้วย)
– ร้านกาแฟ

อาคารชั้น 2 ประกอบด้วย
– หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี
– วิทยานิพนธ์
– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
– บริการฐานข้อมูล
– ถ่ายเอกสาร
– ห้องน้ำ
– ทางเชื่อมไปอาคาร มล.ปิ่น มาลากุล

อาคารชั้น 3 ประกอบด้วย
– หนังสือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา
– หนังสือเยาวชน
– ปริญญานิพนธ์
– ห้องน้ำ

อาคารชั้น 4
– หนังสือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา
– หนังสือภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส
– นวนิยาย
– ศูนย์ข้อมูลวิจัยฝรั่งเศส-ไทยศึกษา
– ฝ่ายวิเคราะห์และทรัพยากรห้องสมุด

ส่วนอีกอาคารนึงก็คือ อาคาร มล.ปิ่นมาลากุล นั่นเอง (อันนี้ไม่ได้เยี่ยมชมทั้งตึก) ได้ชมแค่ชั้น 1 เอง เพราะเวลามีจำกัด แต่ก็ต้องบอกว่าแค่ชั้น 1 ก็สุดยอดแล้ว

ส่วนอื่นๆ ที่เดินดูแล้วชอบก็คงไม่พ้นป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในห้องสมุด เพราะอ่านแล้วโดนใจมาก เช่น แก้กรรมด้วยการออกสื่อ …..

เอาเป็นว่าถ้ามีโอกาสจะไปอีกครั้งเพื่อเก็บข้อมูลมาให้เพื่อนๆ อ่านอีก หวังว่าจะได้พบกันอีกเร็วๆ นี้นะครับพี่ปอง อิอิ
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาด้วยนะครับที่เปิดโอกาสให้ผมไปเปิดหูเปิดตาบ้าง อิอิ

ภาพบรรยากาศหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ในกล้องผม

[nggallery id=61]

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29

งานประชุมวิชาการของกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นอีกงานที่น่าสนใจนะครับ
ปีนี้ก็เช่นกัน ธีมงานของปีนี้คือ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด”

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
หัวข้อของการจัดงานภาษาไทย : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หัวข้อของการจัดงานภาษาอังกฤษ : The New Dimension of Library Cooperation Development
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 –  30 พฤศจิกายน 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

หัวข้อปีนี้ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด” ได้บ่งบอกประเด็นหลักๆ คือ ห้องสมุดในมุมมองใหม่ กับ ความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุด การประชุมครั้งนี้ก็คงคล้ายๆ กับครั้งก่อนๆ คือ การนำเสนองานวิชาการ การระดมสมองทางงานวิชาการ ฯลฯ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานประชุมวิชาการครั้งนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace ของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– ห้องสมุดในฝัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing กับการพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสือลอยฟ้า : มิติใหม่ของ e-books
– องค์กร EIFL กับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย
– วิธีคิดและแนวทางความร่วมมือของห้องสมุดเครือข่าย OCLC จากการประชุม Asia Pacific Regional Council 3rd Membership Conference
– URD2 (Unified Resource Discovery and Delivery)
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– ความร่วมมือในการจัดทำดรรชนีวารสารระหว่างห้องสมุด : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– คณะกรรมการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– รายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการฯ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา

เป็นยังไงบ้างครับกับหัวข้อต่างๆ ในงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ แต่ละหัวข้อน่าสนใจมากๆ เลย เพื่อนๆ ว่ามั้ย
การประชุมครั้งนี้มีความใช้จ่ายด้วยนะครับ ค่าลงทะเบียนก็ท่านละ 2,500 บาทนะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนได้เลยครับที่ http://203.131.219.178:8080/coconference2011/index_coconference2011.asp

รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://203.131.219.178/coconference/

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27

งานสัมมนาประจำปีครั้งใหญ่ของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากำลังจะมาแล้ว
ดังนั้นบล็อกห้องสมุดอย่างผมต้องขอเอามาเล่าและประชาสัมพันธ์สักหน่อยครับ

seminar-academic-library

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27
หัวข้อของการจัดงาน : แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเลิศ (Best Practices) ในงานห้องสมุด
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 14-16 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ก็มีวิทยากรหลายคนที่จะนำเสนอหัวข้อน่าสนใจมากมาย
รวมถึงการประชุมกลุ่มงานต่างๆ ในห้องสมุด และเสนอผลงานของกลุ่มงานต่างๆ
ผมว่าการประชุมแบบนี้จะทำให้เกิดการระดมพลทางความคิดมากมาย
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวงการห้องสมุดให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานเสวนาครั้งนี้
– ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัมนาความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบัน
– แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยเพื่อพัฒนาห้องสมุด
– การวางแผนกลยุทธ์องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
– บรรณารักษ์จะพัฒนาตนเองอย่างไรไม่ตกยุค
– เทคนิคการสร้างความคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการทำงาน

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คือ 2,200 บาท
นับว่าเป็นค่าลงทะเบียนที่ไม่แพงด้วยนะครับ
แต่ได้รับความรู้อันเต็มเปี่ยมแบบนี้นับว่าคุ้มค่าครับ

เอาเป็นว่าใครที่ไปร่วมงานนี้ก็กลับมาเล่าให้ผมฟังบ้างนะครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://202.29.20.78/seminar27/