รีวิวหนังสือ การจัดกลุ่มหนังสือในห้องสมุดโรงเรียนฉบับเข้าใจง่าย

รีวิวหนังสือ การจัดกลุ่มหนังสือในห้องสมุดโรงเรียนฉบับเข้าใจง่าย

ตลอดระยะเวลาที่ผมได้เขียนบล็อกห้องสมุด และมีโอกาสไปบรรยายให้ห้องสมุดต่างๆ เข้าใจและรู้จักห้องสมุดในมุมมองต่างๆ คำถามหนึ่งที่คุณครูบรรณารักษ์ (บรรณารักษ์ในห้องสมุดโรงเรียน) ถามผมมากที่สุด คือ “จะเริ่มงานห้องสมุดอย่างไร ในเมื่อพวกเขาไม่ได้เรียนด้านบรรณารักษ์มาโดยตรง”

การจัดเรียงหนังสือในห้องสมุด มีแค่จัดเรียงตามแบบดิวอี้ (Dewey) หรือเปล่า ต้องเรียง 000 – 999 จริงๆ ใช่หรือไม่ และจะทำความเข้าใจตัวเลขต่างๆ ว่ามีความหมายอย่างไรได้เร็วที่สุดแค่ไหน …

Read more
แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่จบ (ผ่านมาเกือบจะ 2 ปีแล้ว) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา และสิ่งหนึ่งที่ผมอยากบอก คือ สถานกาณ์นี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ เรื่อง และไม่มีวันที่จะกลับไปสู่ความปกติแบบเดิม

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบล็อก เรื่อง “Six Ways that School Libraries Have Changed (and One that Will Always Be the Same)” แล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เพื่อนครูบรรณารักษ์” หรือ ผู้ที่สนใจและทำงานในห้องสมุดโรงเรียน

ปัจจุบันนี้ โรงเรียนหรือสถานศึกษา ยังไม่สามารถกลับมาสอนเด็กๆ แบบปกติได้ และเกือบทั้งหมดเน้นการเรียนการสอนผ่าน Remote Classroom แล้วแบบนี้ ห้องสมุดโรงเรียนจะให้บริการเด็กๆ ได้อย่างไร

6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยน มีอะไรบ้างหล่ะ ไปดูกันเลย

1) Flexible, Collaborative Learning Environments.
ความยืดหยุ่น และสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

2) Maker Spaces, Creation Stations and Engagement.
พื้นที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ พื้นที่ประดิษฐ์โครงงาน สิ่งของ

3) More Technology.
เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ห้องสมุดทันสมัย น่าตื่นเต้น และดึงดูดใจ

4) The Comfort Factor.
สร้างความสะดวกสบายในการใช้งาน และการเรียนรู้

5) Team Teaching, Multi-tasking, Twenty-first Century Librarians.
บูรณาการ (ศัพท์แบบไทยๆ) คุณครูและบรรณารักษ์ต้องร่วมมือกันสอนเด็กๆ

6) Noise.
หมดยุคห้องสมุดที่ต้องเงียบแล้วครับ เพราะการเรียนรู้ที่ต้องเรียนร่วมกันจำเป็นที่ต้องมีการพูดคุย

จาก 6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนข้างต้นแล้ว ในบทความมีทิ้งท้ายสิ่งที่สำคัญและไม่มีวันเปลี่ยนแปลงห้องสมุดโรงเรียนได้ คือ การส่งเสริมเรื่องนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสร้างการตระหนักรู้ในทุกเรื่อง (Literacy)

เอาเป็นว่าไปสำรวจห้องสมุดโรงเรียนของเพื่อนๆ ดูว่าตอนนี้ สามารถปรับเปลี่ยนห้องสมุดโรงเรียนให้เข้ากับ การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยเพียงใด

ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ…

บทความต้นฉบับ : https://action.everylibrary.org/six_ways_that_school_libraries_have_changed_and_one_that_will_always_be_the_same

เตรียมห้องสมุดโรงเรียนให้พร้อมก่อนเปิดเทอมภายใน 5 วัน

เตรียมห้องสมุดโรงเรียนให้พร้อมก่อนเปิดเทอมภายใน 5 วัน

บทความนี้เหมาะกับครูบรรณารักษ์และบรรณารักษ์ในโรงเรียนมากๆ และผมมั่นใจว่าทุกคนต้องผ่านเหตุการณ์ดังต่อไปนี้มาแล้ว ลองจินตนาการครับว่า “หากคุณมีเวลาเพียง 5 วันทำการก่อนที่โรงเรียนจะเปิดเทอม คุณจะจัดเตรียมห้องสมุดโรงเรียนของคุณให้พร้อมอย่างไร”

https://mrsjinthelibrary.com/2019/08/19/library-setup-day-1/

เรื่องวันนี้ผมนำมาจากประสบการณ์ของบรรณารักษ์ท่านหนึ่งซึ่งเขียนเรื่องราวข้างต้นได้ละเอียดมากๆ ผมจึงอยากนำมาถ่ายทอดต่อ แต่คงสรุปให้อ่านแบบสั้นๆ นะครับ ถ้าอยากอ่านแบบเต็มๆ ดู Link ด้านล่างได้เลยครับ

Read more
รวบรวมไอเดียในการตกแต่งห้องสมุดที่ใช้เงินน้อยและทำได้ง่าย

รวบรวมไอเดียในการตกแต่งห้องสมุดที่ใช้เงินน้อยและทำได้ง่าย

เรื่องที่ผมอ่านวันนี้ คือ “Cheap and Easy Library Decorations” ซึ่งอาจจะเก่าไปสักหน่อย (เขียนเมื่อปี 2014) แต่เจ้าของบทความมาอัพเดทข้อมูลเพิ่มเมื่อเดือนมกราคม 2019 ที่ผ่านมา ผมเห็นว่าน่าจะเหมาะกับห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชนในบ้านเรา เลยขอเอามาเล่าให้อ่านกัน

หากกล่าวถึง “การตกแต่งห้องสมุด” ภาพที่ออกมาอาจจะขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละครไม่เหมือนกัน บางคนมองเรื่องการตกแต่งชั้นหนังสือ บรรยากาศในห้องสมุด การจัดพื้นที่ต่างๆ ซึ่งบางห้องสมุดที่มีงบประมาณสูงก็อาจจะใช้บริษัทเอกชนเข้ามาช่วยออกแบบและเปลี่ยนโฉมของห้องสมุดใหม่ไปเลย แต่สำหรับห้องสมุดที่งบประมาณไม่มากหรือแทบไม่มีในการตกแต่งอาจต้องใช้กำลังกายและกำลังใจจากบรรณารักษ์หรือถ้าได้แถมจากผู้บริหารก็ยิ่งดี

Read more
บรรณารักษ์ยังคงสำคัญเสมอในวันที่อะไรๆ มันเปลี่ยนไป

บรรณารักษ์ยังคงสำคัญเสมอในวันที่อะไรๆ มันเปลี่ยนไป

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่า วันที่ 4 เมษายน ของทุกปี คือวันอะไร
ถ้าไม่ทราบลองเปิดดู https://nationaldaycalendar.com/april/

เราจะพบว่า “มีวันสำคัญวันหนึ่งของชาวบรรณารักษ์” นั่นคือ “National School Librarian Day

Read more
ไอเดียแนวๆ ในการตกแต่งห้องสมุดโรงเรียน

ไอเดียแนวๆ ในการตกแต่งห้องสมุดโรงเรียน

วันนี้ได้เข้ามาดูเว็บไซต์ The bookpal แล้วเจอไอเดียดีๆ
เกี่ยวกับการจัด Display หนังสือในห้องสมุด (ดูไอเดียการตกแต่งห้องสมุดเด็ก)
เลยอยากนำมาแชร์ให้ชม ดูแล้วคิดอย่างไรแสดงความคิดเห็นทิ้งไว้ได้ด้านล่างเลยครับ

ideas-for-school-libraries

ตัวอย่างไอเดียแนวๆ ในการตกแต่งห้องสมุดโรงเรียน

1) ป้ายสถานที่ท่องเที่ยว หรือ เมืองวรรณกรรม
– ทางนี้เป็นเมือง Narnia ทางนั้นเป็นเมือง The Shire
ความเห็นส่วนตัว : ดูสนุกและทำให้อยากรู้จักเมืองนั้นๆ ผ่านวรรณกรรมมากๆ

ที่มาจาก https://www.pinterest.com/pin/212443307397871318/
ที่มาจาก https://www.pinterest.com/pin/212443307397871318/

2) แผนที่การอ่าน หรือ โลกการอ่าน
– ท่องเที่ยวไปพร้อมกับเรื่องราวในหนังสือ โลกของความเป็นจริงสามารถเชื่อมโลกนิยายได้
ความเห็นส่วนตัว : คล้ายๆ การเดินตามรอยดาราอ่ะ แต่ได่ประสบการณ์อีกแบบ

ที่มาจาก http://dcgmiddleschoollibrary.blogspot.com.au/2014/08/welcome-back-to-school.html?m=1
ที่มาจาก http://dcgmiddleschoollibrary.blogspot.com.au/2014/08/welcome-back-to-school.html?m=1

3) คุณครูในโรงเรียนนี้ชอบอ่าน มาเดาดูสิว่าใครเป็นใคร???
– นำภาพคุณครูในโรงเรียนพร้อมหนังสือเล่มโปรด แล้วมาให้เด็กๆ ทาย
ความเห็นส่วนตัว : เริ่มต้นดีถ้าครูเป็นนักอ่าน เด็กๆ ก็จะเป็นนักอ่านได้

ที่มาจาก http://readwithmeabc.blogspot.com/2014/09/guess-who-bulletin-board-freebie.html
ที่มาจาก http://readwithmeabc.blogspot.com/2014/09/guess-who-bulletin-board-freebie.html

4) เดาสิว่านี้คือตัวอะไร
– นำภาพตัวละครชื่อดังมาทำเป็นเงาแล้วให้เด็กๆ ทายว่าคือตัวอะไรแล้วเชื่อมโยงกับหนังสือ
ความเห็นส่วนตัว : อันนี้แอบยากนะ แต่ถ้าได้อ่านหนังสือแล้วชอบบางทีแค่เห็นเงาก็รู้แล้วว่าคือใคร

ที่มาจาก http://www.risking-failure.com/2013/02/seuss-silhouettes-bulletin-board.html
ที่มาจาก http://www.risking-failure.com/2013/02/seuss-silhouettes-bulletin-board.html

5) จับคู่หนังสือ หรือ เลือกเดทกับหนังสือ
– นำหนังสือมาห่อปกพร้อมเขียนคุณลักษณะของหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้มาเลือกไปเดท
ความเห็นส่วนตัว : อันนี้ชอบมากๆ เพราะเราจะเจอหนังสือที่เราชอบ เสมือนเจอคู่แท้ของเรา

ที่มาจาก http://www.literaryhoots.com/2015/02/library-display-blind-date-with-book.html#more
ที่มาจาก http://www.literaryhoots.com/2015/02/library-display-blind-date-with-book.html#more

ยังมีไอเดียอีก 2-3 อย่างเช่น บอร์ดนิทรรศการบรรทัดแรกของหนังสือ / นิทรรศการหนังสือที่คุณครูชอบ / นิทรรศการที่เด็กๆ เล่นได้ผ่าน LEGO ผมว่าแต่ละไอเดียดูดีและห้องสมุดโรงเรียนในเมืองไทยน่าจะนำมาทำได้ไม่ยากเลย

เอาเป็นว่าถ้าอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตามไปอ่านต่อได้ที่ http://blog.book-pal.com/education/get-inspired-amazing-school-library-ideas

ห้องสมุดโรงเรียนนี้ทำอย่างไรให้เด็กกลับมาใช้ 1,000 เปอร์เซ็นต์

ห้องสมุดโรงเรียนนี้ทำอย่างไรให้เด็กกลับมาใช้ 1,000 เปอร์เซ็นต์

วันนี้ขณะที่เปิดอ่าน Facebook ตอนกลับบ้าน เห็นพาดหัวนึงแล้วตกใจมาก จนต้องคลิ๊กไปอ่านต่อ
พาดหัวดังกล่าว “How This School Library Increased Student Use by 1,000 Percent
แปลเป็นไทยได้ว่า “ห้องสมุดโรงเรียนมีวิธีเพิ่มการใช้ของนักเรียนได้ 1000 เปอร์เซ็นต์อย่างไร
หรือง่ายๆ ครับ “วิธีเพิ่มการเข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนได้ผล 1000 เปอร์เซ็นต์

how school library boots up Read more

ห้องสมุดดีเด่นของประเทศไทย ประจำปี 2558

ห้องสมุดดีเด่นของประเทศไทย ประจำปี 2558

แนะนำห้องสมุดในต่างประเทศก็เยอะแล้วนะครับ วันนี้ขอนำผลการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2558 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยมานำเสนอบ้างเพื่อเป็นเกียรติและเป็นกำลังใจแก่ห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมานี้

best libraries 2015 by tla Read more

โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา กำลังรับสมัครเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ 2 อัตรา

บรรณารักษ์ช่วยหางานวันนี้ ขอนำเสนองานสำหรับบรรณารักษ์มือใหม่และหน้าใหม่ทุกท่าน (งานนี้ผมขอเฉพาะเด็กจบใหม่ หรือคนที่ต้องการเป็นบรรณารักษ์จริงๆ นะครับ) งานนี้เป็นงานบรรณารักษ์ในห้องสมุดโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา

librarian_jobs_urgent

ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา เป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนในระดับเตรียมอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ในลักษณะสองภาษา ไทย-อังกฤษ (BILINGUAL Thai-English) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ (ด่วนมาก/สามารถเริ่มงานได้ทันที)
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา

งานนี้อย่างที่ผมขอไว้ตั้งแต่แรกว่า ขอน้องๆ จบใหม่ หรือ คนที่ต้องการเป็นบรรณารักษ์จริงๆ เท่านั้นครับ คุณสมบัติก็ตรงตัวครับ จบปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็ดำเนินการได้ดังนี้
สมัครด้วยตนเองที่ฝ่ายบุคคล แผนกธุรการประถม โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา เลขที่ 336/7 ซอยสาธุประดิษฐ์ 20 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ หรือส่งประวัติย่อเข้ามายังอีเมล์ admin@ektra.ac.th (โดยเขียนหัวข้อ “สมัครเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์”) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

เว็บไซต์ของโรงเรียน http://www.ektra.ac.th/

ขอให้น้องๆ โชคดีครับ

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว (31 มกราคม) ได้มีโอกาสไปบรรยายให้ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในงานประชุมวิชาการ “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  วันนี้จึงขอนำสื่อ เอกสารประกอบการบรรยาย และสรุปการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามกัน

21st century skill for librarian

เอกสารประกอบการบรรยายสามารถชมได้ที่นี่เลย

[slideshare id=16363371&doc=21stcenturyskillforlibrarianok-130205100722-phpapp02]

วีดีโอที่ใช้ประกอบการบรรยาย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=O35n_tvOK74[/youtube]

เนื้อหาการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” โดยสรุป

เทคโนโลยีทำให้โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ การติดต่อสื่อสารกันทำได้สะดวก การค้นหาความรู้ทำได้ง่าย ก่อให้เกิดโลกที่เต็มไปด้วยความรู้ ซึ่งเมื่อโลกเต็มไปด้วยความรู้ การเข้าถึงความรู้ทำได้ง่าย ข้อดีมีมากมายแต่ก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน มีสิ่งที่เราไม่รู้เยอะมาก แถมต้องมานั่งคิดวิเคราะห์ว่าข้อมูลหรือความรู้ไหนที่เป็นความจริง หรือข้อมูลไหนที่สามารถทำมาใช้ประโยชน์ได้

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดจากแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกา (ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าการศึกษาดีเยี่ยม) เห็นว่าการศึกษาในโลกศตวรรษที่ 20 ซึ่งเน้นแต่เรื่องเทคโนโลยี มันไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในยุคใหม่แล้ว และการเรียนในแบบเก่าไม่เหมาะกับสังคมปัจจุบันแล้ว จึงได้สร้างกรอบแนวคิดและหาแนวทางในการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ซึ่งได้นำเสนอกรอบแนวคิดออกมาดังรูป

21st Century Skills

วิชาแกนที่ต้องเรียนรู้ (Core Subject)
– ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา
– ภาษาที่สำคัญของโลก
– ศิลปะ
– คณิตศาสตร์
– เศรษฐศาสตร์
– วิทยาศาสตร์
– ภูมิศาสตร์
– ประวัติศาสตร์
– การปกครองและหน้าที่พลเมือง

แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 (21st CENTURY THEMES)
– จิตสำนึกต่อโลก
– ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
– ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
– ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

ทักษะและความสามารถที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในศตวรรษที่ 21 มีอยู่ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีดังนี้
– ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน

2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีดังนี้
– ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
– ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
– ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. ทักษะชีวิตและการทำงาน  มีดังนี้
– ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
– ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง
– ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
– การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด
– ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

ทุกสิ่งจะสำเร็จได้ด้วยระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย
– มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ยังมีสูตรที่ถูกคิดออกมาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกตัวคือ 3Rs 4Cs ซึ่งประกอบด้วย
3Rs มาจาก
Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic การคำนวณ

4Cs มาจาก
Critical Thinking การคิดวิเคราะห์ Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

เรื่องของแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ การตอบสนองความต้องการทางประสบการณ์ของผู้เรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนรู้ในยุคใหม่สนใจแนวคิดที่เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดสิ่งต่างๆได้

คำถามหลักของการนำเสนอของวงการต่างๆ “อะไรคือสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ ?”
Starbucks นำเสนอ สถานที่ที่อยู่ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
Apple นำเสนอ เครื่องมือที่ใช้ปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์
บริษัทเงินทุน นำเสนอ หนทางในการไปสู่อิสระภาพทางการเงิน
แล้วโรงเรียน – ห้องสมุด – แหล่งเรียนรู้ กำลังนำเสนออะไร…. ทิ้งไว้ให้คิดนะครับ

แนวคิดในโลกมีมากมาย แต่ขอยกตัวอย่างแนวคิดที่น่าสนใจ และแนวคิดที่ควรรู้ดังนี้
– Long Tail
– Free economy
– Critical Mass
– Wikinomic
– Socialnomic
– Crowdsourcing

คุณครูและบรรณารักษ์ยุคใหม่กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จริงๆ แล้วแนวคิดก็คล้ายๆ กัน คือ เน้นเรื่องเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ และการทำงานเป็นเครือข่าย

สุดท้ายแนะนำให้อ่านหนังสือ “ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21

Picture2

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปที่ผมบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” นะครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ