รีวิวหนังสือ การจัดการห้องสมุดเชิงกลยุทธ์

รีวิวหนังสือ การจัดการห้องสมุดเชิงกลยุทธ์

วันนี้ผมขอแนะนำหนังสือน่าอ่านอีกเล่มที่ช่วงนี้ผมถึงกลับวางไม่ลง “Strategic Library Management: Leading, Innovating, and Succeeding in Public Libraries”

ข้อมูลเบื้องต้นของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Strategic Library Management: Leading, Innovating, and Succeeding in Public Libraries
ผู้แต่ง : William Webb
ปีพิมพ์ : 2023
ISBN : 9798223619574

Highlight ของหนังสือเล่มนี้ ได้แก่

  • แนวทางในการกำหนดภารกิจของห้องสมุดที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (เน้น Customer centric)
  • การปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี
  • การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล แฃละการคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ
Read more
โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

วันนี้ได้มีโอกาสอ่านบทความห้องสมุดในยุคถัดไปของประเทศสิงคโปร์แล้วทำให้รู้สึกตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก บทความนี้เป็นการสัมภาษณ์ Ramachandran Narayanan ผู้บริหารของ NLB โดยชื่อบทความ คือ Immersion and robots: The next chapter for Singapore’s libraries

ภาพถ่ายจากการไปเยี่ยมชมห้องสมุดที่สิงคโปร์เมื่อปี 2018

ก่อนจะไปอ่านบทสรุป ผมขอกล่าวถึงคำ Keyword ทั้งสองคำก่อน นั่นคือ “Robot” และ “Immersion” ซึ่งคำแรกเป็นคำที่หลายคนคงคุ้นเคย นั่นคือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในวงการห้องสมุด มาช่วยทั้งบรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการ ส่วนอีกคำ “Immersion” หรือแปลเป็นไทยว่า “การดื่มด่ำในโลกเสมือนจริง” หรือจะเรียกว่า “Immersive” ก็ได้ มักใช้ควบคู่กับคำว่า Virtual Reality

โดยคุณ Ramachandran Narayanan ได้กล่าวถึง highlights ของเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่สำคัญมากๆ ของห้องสมุดสิงคโปร์ นั่นก็คือ การนำเอาเรื่อง data analytics และ AI มาปรับใช้ในวงการห้องสมุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีในห้องสมุดว่าสามารถนำมาใช้ทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์

1) Immersive storytelling (การเล่าเรื่องด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง)

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็ก / เล่านิทานที่ใช้เทคโนโลยีการฉายวีดีโอและระบบตัวจับ Sensor ของผู้เล่า และผู้ใช้บริการ ทำให้ได้ภาพวีดีโอเสมือนจริง และสามารถสร้าง Interactive กับสื่อต่างๆ ได้

2) Personalising experiences with AI (สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวบุคคลด้วย AI)

ให้บริการแนะนำเนื้อหา (Contents) ที่ตรงใจผู้ใช้บริการแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึ้น ด้วยการนำ data analytics ของผู้ใช้มาวิเคราะห์และให้บริการที่ตรงใจ

3) Robots as library assistants (หุ่นยนต์ผู้ช่วยเหลืองานห้องสมุด)

ใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติหน้าที่ในห้องสมุดเพื่อช่วยเหลือบรรณารักษ์ในงานต่างๆ รวมถึงหุ่นยนต์ที่คอยแนะนำบริการ และให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการ

4) Automating the library workflow (ระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติ)

การนำระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานต่างๆ อาทิ การรับคืนหนนังสือผ่านตู้คืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Drop) ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นกลไกการทำงานของสายพานลำเลียงหนังสือ และระบบที่คัดแยกหนังสือไปยังห้องสมุดต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้การให้บริการสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Mobile Bookdrop ที่ Tampines Regional Library

จากตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์ข้างต้น จะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาปรับใช้กับการให้บริการและการปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถทำงานได้จริง และเริ่มมีการนำมาให้บริการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องชื่นชมว่านอกจากสร้างไอเดียแล้ว ยังมีการลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดอื่นๆ หรือต้องการอ่านเนื้อหาฉบับเต็มก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ Link ด้านล่างนะครับ

ที่มาของบทความ : https://govinsider.asia/smart-gov/immersion-and-robots-the-next-chapter-for-singapores-libraries/

คลิปวีดีโอ : ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด (2021)

คลิปวีดีโอ : ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด (2021)

วันนี้มาอัพเดทบล็อก Libraryhub บ้าง เดี๋ยวจะหาว่าหายไปนาน …

ก่อนเริ่มงานวันนี้ ผมเข้าไปหาคลิปวีดีโอดูใน Youtube ก็เจอคลิปนี้ “Why do we visit the library? (2021)” หรือแปลตรงตัว คือ “ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด” ซึ่งจัดทำโดย หอสมุดแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) https://www.youtube.com/watch?v=pvwVRY6RaPQ

เราไปดูคลิปวีดีโอกันก่อนเลย

เป็นยังไงกันบ้างครับ

ในคลิปวีดีโอได้มีการถามย้ำว่า “ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด”
ซึ่งเชื่อว่ามีคำตอบมากมายและแตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกัน คือ

“New Worlds” “A Better Tomorrow” “Endless Possibilities”
“โลกใบใหม่” “สิ่งที่ดีกว่าในวันพรุ่งนี้” และ “ความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด”

นอกจากนี้เราได้เห็น Keyword ที่น่าสนใจอีกมากมาย
โดยห้องสมุดยุคใหม่ที่หลายคนนึกถึง คือ “Connection, Communication, Experience, Discovery, Creation, Growth”

และอีกสิ่งหนึ่งที่หอสมุดแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) นำเสนอนิยามของห้องสมุดคือ
“A Knowledge platform that connects the world” เราได้เห็นการทำงานที่เชื่อมโยงโลกของหนังสือ ภูมิปัญญา ความคิด จากอดีต ถึงปัจจุบัน และก้าวสู่อนาคต

เอาเป็นว่าก็ขอชื่นชมคลิปวีดีโอนี้และอยากส่งต่อให้เพื่อนๆ ได้ชมครับ

8 แนวโน้มการตลาดของห้องสมุดที่คุณต้องติดตามในปี 2021 (ไม่ติดตามไม่ได้)

8 แนวโน้มการตลาดของห้องสมุดที่คุณต้องติดตามในปี 2021 (ไม่ติดตามไม่ได้)

การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) เป็นเรื่องที่ทุกวงการให้ความสำคัญมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา นั่นคงเป็นเพราะความก้าวหน้าและการเติบโตของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนทุกคนให้อยู่บนโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น

ในวงการห้องสมุดเองก็เช่นกัน การทำการตลาดของห้องสมุดไม่ได้อยู่ในรูปแบบ 4P (Product Price Place Promotion) เหมือนที่เราเคยคิดและทำกันอีกแล้ว เราต้องทำความรู้จัก 4C เพิ่มเติม นั่นคือ Consumer Cost Convenience Communication

Read more
18 ภาพวาดห้องสมุดที่โดดเด่นที่สุดในโลก (ดูแล้วรู้เลยว่าที่ไหนบ้าง)

18 ภาพวาดห้องสมุดที่โดดเด่นที่สุดในโลก (ดูแล้วรู้เลยว่าที่ไหนบ้าง)

หนึ่งวันของคนที่หลงใหลในเรื่องห้องสมุดอย่างผมจะทำก็คือ “การค้นหาเรื่องที่เกี่ยวกับห้องสมุดที่น่าสนใจ” นำมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้ผมไปเจอเว็บไซต์ LITERARY HUB (มีความคล้าย LIBRARYHUB ของผมเลย) บทความนึงที่ผมอ่านแล้วอดยิ้มไม่ได้ คือ “18 of the World’s Most Striking Libraries, Illustrated

ในบทความนี้ไม่มีอะไรมากมายนอกจากภาพวาดห้องสมุด (ภาพวาดจริงๆ) เป็นภาพสเก็ตโครงร่างของห้องสมุดชื่อดังหลายๆ แห่ง ลงสีเบาๆ

Read more
Checklist สำหรับการกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้ง หลังสถานการณ์ COVID-19

Checklist สำหรับการกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้ง หลังสถานการณ์ COVID-19

หลังจากที่ติดตามสถานการณ์ COVID-19 มาตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนพฤษภาคม ตอนนี้ถามว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร คงตอบว่าดูผิวเผินแล้วสถานการณ์เริ่มดีขึ้น อย่างในหลายๆ ประเทศตัวเลขการติดเชื้อก็ลดลง (อย่างในประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกัน) แต่ก็ไม่อยากให้พวกเราใช้ชีวิตกันแบบประมาทนะครับ

วันนี้ผมขอนำกรณีศึกษาของประเทศออสเตรเลียมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่านครับ เบื้องต้นภาครัฐจะอนุญาตให้ห้องสมุดประชาชนในประเทศออสเตรเลียกลับมาเปิดได้อีกครั้งในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ หน่วยงานที่เป็นที่พึ่งของวงการห้องสมุดในประเทศออสเตรเลีย คือ Australian Library and Information Association (ALIA) หรือ สมาคมห้องสมุดประเทศออสเตรเลีย ได้ออกเครื่องมือหนึ่งเพื่อให้ห้องสมุดสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานหลังการกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้ง คือ “Checklist for reopening libraries

Read more
ไปชม 8 ห้องสมุดระดับโลกแบบ Virtual กันได้เลย

ไปชม 8 ห้องสมุดระดับโลกแบบ Virtual กันได้เลย

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายคนต้องนั่งทำงานที่บ้านไม่ได้ออกไปไหน วันนี้แอดมินขอเชิญเพื่อนๆ พักสายตาไปดู 8 ห้องสมุดระดับโลกแบบ Virtual กันหน่อย

ที่มาของเรื่องนี้มาจากการอ่าน Library Journal เรื่อง “Virtually Visit 8 World-Class Libraries” ครับ ไปลองติดตามกันดูว่ามีที่ไหนบ้าง

Read more
ผลสำรวจความคาดหวังของบรรณารักษ์และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด 2020

ผลสำรวจความคาดหวังของบรรณารักษ์และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด 2020

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายคนคงใช้เวลาในช่วงนี้ทำงานจากที่บ้าน (Work form home) และผมเชื่อว่ามีบรรณารักษ์หลายท่านที่ใช้โอกาสนี้ในการอัพเดทความรู้ต่างๆ รอบตัว เผื่อว่าหลังสถานการณ์นี้ผ่านไปองค์กรของท่านหรือห้องสมุดของท่านจะเปลี่ยนแนวทางการทำงานและให้บริการผู้ใช้ที่ดีมากกว่าที่เราเคยทำ…

เพื่อให้เกิดการวางแผนและพัฒนาห้องสมุด วันนี้ผมขอนำผลสำรวจที่ Wiley จัดทำเป็นประจำทุกปีมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านรายงาน “Librarian Survey 2020 : Aspirations and Career Development Findings for Library Professionals” ได้ที่ https://www.wiley.com/network/librarians/library-impact/library-survey-report-2020

หรือ ถ้าไม่มีเวลามาก อ่านบทสรุปของผมได้ ด้านล่างนี้เลยครับ

Read more
รีวิวห้องสมุดโฉมใหม่ ห้องสมุดวิทย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รีวิวห้องสมุดโฉมใหม่ ห้องสมุดวิทย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มาของเรื่องวันนี้ : รับปากพี่ท่านหนึ่งใน facebook (Aon Rawiwan) มาสักระยะใหญ่ๆ แล้วนะครับ วันนี้พอจะมีเวลาเลยขอโปรโมทให้พี่เขาหน่อย

ห้องสมุดที่ผมจะแนะนำวันนี้ คือ ห้องสมุดวิทย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครับ ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งได้รับการปรับโฉมใหม่ วันนี้ผมจึงขอนำข้อมูลที่มาที่ไปของการปรับปรุงในรูปแบบถามตอบ และภาพถ่ายสวยๆ ของห้องสมุดแห่งนี้มาฝากครับ

Read more
รีวิวหนังสือ “ไอเดียนวัตกรรมในห้องสมุดประชาชนสุดเจ๋ง”

รีวิวหนังสือ “ไอเดียนวัตกรรมในห้องสมุดประชาชนสุดเจ๋ง”

นานๆ ทีจะมีเวลามานั่งอ่านและรีวิวหนังสือ วันนี้ขอเลือกหนังสือเรื่อง “Innovation in Public Libraries” หรือ “นวัตกรรมในห้องสมุดประชาชน” (คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องเบาๆ นะครับ) และบรรณารักษ์น่าจะหยิบแนวคิดไปใช้ได้บ้าง

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Innovation in Public Libraries: Learning from International Library Practice
ผู้แต่ง : Kirstie Nicholson
ISBN : 9780081012765
ปีพิมพ์ : 2017
จำนวนหน้า : 158 หน้า

Read more