การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 1

วันนี้ผมขอสรุปข้อมูลจากหนังสือที่ผมกำลังอ่านในช่วงนี้นะครับ
ชื่อเรื่องว่า ?Planning the modern public library building?
ซึ่งเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการสร้างห้องสมุดประชาชนสมัยใหม่

planning-public-library-part-1

รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

พอได้อ่านแล้วก็ไม่อยากเก็บความรู้ไว้คนเดียวอ่ะครับ
ผมก็เลยขอทำสรุปหัวข้อสำคัญๆ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นกัน
ครั้นจะอ่านวันเดียวก็คงไม่จบ ผมก็เลยค่อยๆ ถยอยอ่านไปที่ละบทก็แล้วกัน

เริ่มจากวันนี้ผมจะสรุปบทที่ 1 ให้อ่านนะครับ

Chapter 1 : Early planning for a new library
เป็นบทที่ว่าด้วยสิ่งที่เราควรรู้ก่อนการวางแผนที่จะสร้างอาคารห้องสมุดใหม่
ปัญหาทั่วไป ข้อจำกัด การสร้างทีมงาน การหาที่ปรึกษา ฯลฯ

Problem with the existing building
– Demographic Changes (เน้นสภาพชุมชนทั่วไปในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)
– Collection (ดูความหลากหลายของทรัพยากรสารสนเทศ, การจำแนกชั้นหนังสือ, การเลือกชั้นหนังสือ)
– Seating Capacity (ความจุของที่นั่งที่จะรองรับผู้ใช้บริการของห้องสมุด)
– Library as a place
– Physical Problem in the building (สภาพทางกายภาพของห้องสมุด เช่น แสง อากาศ ฯลฯ)
– Site (สถานที่ตั้งของห้องสมุด การจราจร ที่จอดรถ ฯลฯ)
– Standard or guidelines (มาตรฐานในการจัดห้องสมุด)

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ Building team คือ พยายามอย่าให้เกิดความขัดแย้งกันภายใน
หากเกิดความขัดแย้งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น การเห็นอกเห็นใจกัน, การหาคนกลางมาไกล่เกลี่ย, หัวหน้าตัดสินชี้ขาด
จะเลือกวิธีไหนก็ได้แล้วแต่สถานการณ์ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

ห้องสมุดที่เราต้องการสร้างเราต้องคิดเผื่ออะไรบ้าง
– forecasting collection growth จำนวนทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
– forecasting seating requirement พยากรณ์จำนวนที่นั่งที่สามารถจุได้
– forecasting technology growth อัตราการเพิ่มเทคโนโลยีในห้องสมุด
– forecasting staff need ควมต้องการของคนที่ทำงาน
– forecasting new programs (ในที่นี้ program หมายถึง การบริการแบบใหม่ๆ)
– forecasting discontinuing program

นอกจากนี้ในบทนี้ยังมีการสอนเทคนิคการเลือกที่ปรึกษาของโครงการ
และคุณสมบัติทั่วไปของสถาปนิกในการสร้างอาคารห้องสมุด

บทที่ 1 สาระสำคัญทั่วไปยังเป็นเพียงแค่สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนการออกแบบวางแผนเท่านั้น
เอาไว้ตอนต่อไปผมจะนำมาสรุปให้อ่านอีกเรื่อยๆนะครับ วันนี้ขอตัวก่อนนะคร้าบ?

ขอแนะนำสำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ผมขอแนะนำ google book search นะครับ เพราะเขาสแกนไว้ให้เราอ่านประมาณ 300 หน้า
ลองไปอ่านที่ http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

LibCamp#3 : Library and Social Enterprise

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณไกลก้อง ไวทยการ จากแผนงานไอซีที สสส.
มาบรรยายในเรื่องการปรับเปลี่ยนบทบาทของห้องสมุดให้เข้ากับแนวทาง Social Enterprise

librarysocialenter

ก่อนที่คุณไกลก้องจะเริ่มบรรยาย ผมก็ได้เกริ่นถึงเรื่อง
“การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรจากภายนอกกับองค์กรด้านห้องสมุด”
ว่าทำไมห้องสมุดอย่างเราจึงต้องสร้างความร่วมมือร่วมกัน หรือทำไมต้องร่วมกับองค์กรอื่นๆ
ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็ไม่พ้นเรื่องของความช่วยเหลือในด้านงบประมาณหรือการพัฒนาต่างๆ นั่นเอง

ซึ่งเมื่อเราสร้างเครือข่ายไปแล้ว เราจะได้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
– การช่วยเหลือด้านงบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด
– บุคลากรด้านเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสืออภินันทนาการ ฐานข้อมูล และเนื้อหาที่ดีสำหรับห้องสมุด
– นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีค่ายพัฒนาห้องสมุด

เหล่านี้ก็เป็นเพียงตัวเย่างความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายของห้องสมุดกับหน่วยงานต่างๆ

จากนั้นคุณไกลก้องก็อธิบายถึงคำว่า Social Enterprise ว่า
Social Enterprise หรือ องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม คือโมเดลทางธุรกิจที่ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
ลักษณะขององค์กรประเภทนี้คือการทำเพื่อแสวงหากำไร (เงิน)
แต่สิ่งสำคัญขององค์กรประเภทนี้คือเงินเหล่านี้จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์และตอบแทนสังคมต่อไป

“กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลักขององค์กร แต่องค์กรก็ต้องอยู่ได้ด้วยผลตอบแทนเหล่านี้ด้วย”

ห้องสมุดก็สามารถที่จะทำให้กลายเป็น องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ได้นะครับ
หากเรามองในแง่ของห้องสมุดในเมืองต่างๆ (อำเภอเมือง ของจังหวัดต่างๆ)
เราจะเห็นบทบาทของห้องสมุดในฐานะ ที่อ่านหนังสือ ที่ทำรายงาน ที่ทำงาน ฯลฯ

ถ้าสมมุติว่าเราเติมฟังค์ชั่นลงไปในห้องสมุดเหล่านี้หล่ะ
เช่น เอาโครงการ Digital Library ไปให้ห้องสมุดเหล่านี้ดำเนินการ จะเกิดอะไรขึ้น
– ห้องสมุดก็จะกลายเป็นศูนย์สแกนเอกสาร
– ห้องสมุดเป็นผู้นำเข้าข้อมูลให้โครงการ Digital Library
– ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ (สามารถมาฝึกงานได้ในห้องสมุด)
– สร้างอาชีพให้คนในสังคม (จ้างคนมาดำเนินการ)
– ห้องสมุดจะกลายเป็นศูนย์ telecenter (ศูนย์กลางของชุมชนและเชื่อมไปหาหน่วยงานอื่นๆ)

จะเห็นว่าห้องสมุดก็จะมีผลตอบแทนที่เข้ามาที่ห้องสมุดก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นไม่ได้เป็นปัจจัยหรอกครับ
เพราะเงินหรือผลตอบแทนเหล่านั้นก็จะกลับมาพัฒนาห้องสมุดเพื่อสังคมต่อไปได้อีกนั่นเอง

หลักขององค์กรธุรกิจเพื่อสังคมที่น่าสนใจ เช่น
– ธุรกิจต้องแก้ไขปัญหาทางสังคม
– ธุรกิจต้องยั่งยืน
– ลงทุนเท่าไหร่ก็ได้คืนเท่านั้น
– ตระหนักในสิ่งแวดล้อม
– ต้องมีใจรักในการทำ

ประเด็นสุดท้ายที่คุณไกลก้องได้พูดถึงคือ แนวทางสำหรับห้องสมุดที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม มีขั้นตอนดังนี้
1. ห้องสมุดต้องเริ่มจากการเขียนโครงการ (หาโครงการที่น่าสนใจและทำเพื่อชุมชนมาลองเขียนดู)
2. ห้องสมุดต้องหาผู้ลงทุน เช่น ติดต่อกับองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนเรื่องงบประมาณ
3. ห้องสมุดต้องมีผู้ให้คำปรึกษาเนื่องจากโครงการที่ทำห้องสมุดอาจจะไม่ได้เข้าใจทุกส่วน
4. สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และเข้าร่วมกับเครือข่ายเพื่อดำเนินงาน
5. ต่อยอดแนวคิดและพัฒนาโครงการอยู่เรื่อยๆ

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
การเปลี่ยนตัวเองจากองค์กรที่คอยรับอย่างเดียว เป็นองค์กรที่รุกแบบนี้ผมว่าน่าสนุกมากๆ เลยใช่มั้ยครับ

LibCamp#3 : กรณีศึกษาการทำกิจกรรมของนักศึกษาเอกบรรณ

ผู้บรรยายต่อมา คือ น้องอะตอม เจ้าของบล็อก http://atomdekzaa.exteen.com
และยังเป็นตัวแทนของนิสิตเอกบรรณารักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำกิจกรรมของเด็กๆ เอกบรรณฯ

atomlibcamp3

กิจกรรมที่น้องอะตอมได้นำมาเล่าให้พวกเราฟัง มีอยู่ด้วยกัน 2 กิจกรรมใหญ่ๆ นั่นคือ
1. ค่ายสอนน้อง
2. ค่าพัฒนาห้องสมุด

โดยหลักๆ อย่างค่ายสอนน้อง ในมหาลัยก็จะมีการตั้งกลุ่มกัน โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มค่ายแสงเทียน”
ซึ่ง “กลุ่มค่ายแสงเทียน” เป็นกลุ่มที่รวบรวมนักศึกษาจากคณะต่างๆ มารวมกันทำกิจกรรม ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก
ซึ่งโดยหลักการก็เพียงแค่ให้โรงเรียนประชาสัมพันธ์เรื่องการติวให้ ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนจะเน้นจากองค์กรส่วนท้องถิ่น

ในแง่ของค่ายพัฒนาห้องสมุด จะเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกบรรณฯ และเด็กวิศวกรรม
โดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจน คือ บรรณารักษ์จะให้ข้อมูลต่างๆ ด้านการทำงาน ส่วนวิศวกรรมก็เขียนโปรแกรม
ซึ่งนับว่าได้พัฒนาฐานข้อมูลให้พร้อมใช้งานได้ทันที

นอกจากกิจกรรมที่น้องอะตอมทำร่วมกับมหาวิทยาลัยแล้ว
น้องอะตอมได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานเป็นอาสาสมัครบรรณารักษ์ให้กับห้องสมุด บ้านเซเวียร์
ซึ่งตอนนี้น้องอะตอมได้ทำงานที่นี่ในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ครับ
โดยทำงานตั้งแต่เอาหนังสือออกมาปัดฝุ่น ทำความสะอาด และจัดขึ้นชั้น
ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้สอบถามถึงงานที่ทำและเสนอไอเดียต่างๆ เพื่อความช่วยเหลือมากมาย

น้องอะตอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเอกบรรณรุ่นปัจจุบันว่า
ส่วนใหญ่เด็กเอกบรรณรุ่นนี้จะเน้นและชอบเรียนด้านไอทีมากกว่าด้านเทคนิค
แต่น้องอะตอมชอบเรียนด้านการให้หัวเรื่องและการทำดัชนีของหนังสือมากกว่าไอทีครับ
ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดแง่มุมแปลกๆ ให้ผู้เข้าฟังรู้สึกประหลาดใจและชื่นชมในเรื่องของอุดมการณ์มากๆ

ก่อนจบการบรรยายในช่วงนี้ น้องอะตอมได้ฝากประโยคทิ้งท้ายให้เป็นแง่คิดต่อไปว่า
“เราต้องจัดเวลาเรียน และเวลากิจกรรมให้ได้ แต่อย่าไปทุ่มอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป”

เทศกาลคริสต์มาสกับชาวห้องสมุด

สวัสดีเดือนสุดท้ายของปีนะครับ (ธันวาคม) เดือนนี้มีวันหยุดเยอะมากๆ หลายคนคงชอบใจ
และวันหยุดหนึ่งที่เป็นที่คึกคักของทุกคนนั่นก็คือ “เทศกาลวันคริสต์มาส” ครับ
วันนี้ผมเลยขอนำรูปต้นคริสต์มาสจากห้องสมุดต่างๆ ในต่างประเทศมาให้ดูกันนะครับ

christmastree

การจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดนับว่าเป็นอีกสีสันหนึ่งที่สามารถทำได้ในห้องสมุด
ในต่างประเทศนิยมการจัดต้นคริสต์มาสแบบสร้างสรรค์และแปลกๆ มากมาย

บางต้นเห็นแล้วก็ต้องตกตะลึงว่าคิดได้ไง บางต้นออกมาก็ดูเรียบๆ แต่มีสไตล์

เอาเป็นว่าเราเริ่มไปดูต้นคริสต์มาสของห้องสมุดแต่ละที่กันดีกว่า
(บางที่ไม่ใช่ห้องสมุดโดยตรง แต่ไอเดียมันใกล้ๆ ห้องสมุด ผมก็ขอยกมานะครับ)

เริ่มต้นด้วยต้นคริสต์มาสที่เรียงจากหนังสือกันดีกว่า (ภาพจาก boingboing.net)

booktree1-196x300

ต้นนี้หลายคนคงเห็นเยอะแล้ว ลักษณะการเรียงหนังสือแบบนี้
(ภาพจาก University of Aalborg Library)

booktree2-224x300

ต่อมาเป็นไอเดียเก๋ๆ ต้นคริสต์มาสจากถ้วยกาแฟ (แบบว่าห้องสมุดคิดหรือนี่)
(ภาพจาก Education Centre Library)

booktree3-225x300

แบบต่อไปเก๋ไก๋มากครับ หนังสือเรียงกันเป็นชั้นๆ แล้วตามด้วยสายรุ้ง
(ภาพจาก Carnegie Library of Homestead)

booktree4-225x300

ภาพสุดท้ายอันนี้อลังการงานสร้างมากๆ แต่อยู่ในโรงพยาบาลครับ
(ภาพจาก New Books for Patients of Blank Children?s Hospital)

booktree5-200x300

เป็นไงกันบ้างครับได้ไอเดียจุดประกายเรื่องต้นคริสต์มาสในห้องสมุดหรือยังครับ
ไว้ถ้ามีโอกาสผมจะเข้ามาเพิ่มรูปอีกเรื่อยๆ เลยนะครับ

ปล. ช่วงนี้ใกล้วันพ่อแล้ว ห้องสมุดคงต้องจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติวันห่อก่อนนะครับ
แล้วหลังงานนี้เราค่อยมาจัดต้นคริสต์มาสแข่งกันนะครับ

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27

งานสัมมนาประจำปีครั้งใหญ่ของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากำลังจะมาแล้ว
ดังนั้นบล็อกห้องสมุดอย่างผมต้องขอเอามาเล่าและประชาสัมพันธ์สักหน่อยครับ

seminar-academic-library

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27
หัวข้อของการจัดงาน : แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเลิศ (Best Practices) ในงานห้องสมุด
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 14-16 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ก็มีวิทยากรหลายคนที่จะนำเสนอหัวข้อน่าสนใจมากมาย
รวมถึงการประชุมกลุ่มงานต่างๆ ในห้องสมุด และเสนอผลงานของกลุ่มงานต่างๆ
ผมว่าการประชุมแบบนี้จะทำให้เกิดการระดมพลทางความคิดมากมาย
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวงการห้องสมุดให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานเสวนาครั้งนี้
– ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัมนาความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบัน
– แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยเพื่อพัฒนาห้องสมุด
– การวางแผนกลยุทธ์องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
– บรรณารักษ์จะพัฒนาตนเองอย่างไรไม่ตกยุค
– เทคนิคการสร้างความคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการทำงาน

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คือ 2,200 บาท
นับว่าเป็นค่าลงทะเบียนที่ไม่แพงด้วยนะครับ
แต่ได้รับความรู้อันเต็มเปี่ยมแบบนี้นับว่าคุ้มค่าครับ

เอาเป็นว่าใครที่ไปร่วมงานนี้ก็กลับมาเล่าให้ผมฟังบ้างนะครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://202.29.20.78/seminar27/

หนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions

ด้วยความที่ว่าวันนี้เป็นวันที่สบายๆ ผมเลยไปเดินหาหนังสืออ่านเล่นที่ kinokuniya มา
แล้วใช้บริการค้นหาหนังสือของร้าน kinokuniya ด้วยคำสำคัญ (Keyword) ว่า Library
ซึ่งทำให้ผมเจอหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย
ผมจึงขอหยิบตัวอย่างหนังสือเกี่ยวกับวงบรรณารักษ์มาแนะนำเพื่อนๆ แล้วกันนะครับ

ภาพประกอบจาก Amazon
ภาพประกอบจาก Amazon

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions
ผู้แต่ง : Greer, Roger C. | Grover, Robert J. | Fowler, Susan G.
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited
ISBN : 1591584868
ราคา : $60.00

โดยอ่านคร่าวๆ แล้วเป็นการแนะนำเรื่องของการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดและนักสารสนเทศมากมาย
เช่นวิธีการสร้างและผลิตองค์ความรู้ต่างๆ รวมไปถึงความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญควรจะมี เป็นต้น

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย
Chapter 1: Introduction: Purpose And Objectives Of This Book
Chapter 2: Creation, Diffusion and Utilization of Knowledge
Chapter 3: The Role of Professionals as Change Agents
Chapter 4: The Science Supporting the Information Professions
Chapter 5: Information Transfer in the Information Professions
Chapter 6: The Cycle of Professional Service
Chapter 7: The Information Infrastructure
Chapter 8: The Processes and Functions of Information Professionals
Chapter 9: The Infrastructure of the Information Professions
Chapter 10: Trends and Issues

พอกลับมาถึงบ้านผมก็รีบค้นหาข้อมูลหนังสือเล่มนี้ทันทีเลยครับ (Google book search) เพื่ออ่านเล็กน้อย
นับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจ และให้แง่คิดเรื่องการทำงานได้ดีทีเดียวครับ
หากเพื่อนๆ อยากอ่านตัวอย่างหนังสือเล่มนี้ก็อ่านได้ที่
http://books.google.com/books?id=zlm2hJ7H0wIC&printsec=frontcover&dq=Introduction+to+the+Library+and+Information+Professions#v=onepage&q=&f=false

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองสอบถามได้ที่ร้าน kinokuniya นะครับ เผื่อว่าเขาจะดำเนินการสั่งซื้อให้
เอาเป็นว่าวันนี้ขอแนะนำไว้แค่นี้ก่อน วันหน้าจะหาหนังสือเรื่องอื่นๆ มาแนะนำอีกครับ

ข้อมูลหนังสือ http://lu.com/showbook.cfm?isbn=9781591584865

แนะนำมูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)

วันนี้ผมจะมาแนะนำองค์กรที่ให้การสนับสนุนห้องสมุดแห่งหนึ่ง องค์กรนี้มีชื่อว่า “มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย”
แน่นอนครับมันต้องเกี่ยวกับเรื่องของการจัดหาหนังสือให้ห้องสมุดแน่ๆ

bookforthai

องค์กรนี้จะทำให้ห้องสมุดของคุณประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับหนังสือ text book ได้ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากงค์กรนี้เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและทำเพื่อห้องสมุดต่างๆ ในประเทศไทย
โดยองค์กรนี้จะได้รับบริจาคหนังสือจากต่างประเทศปีละ 4-6 ครั้ง (แต่ละครั้งก็จำนวนมาก)
ห้องสมุดต่างๆ สามารถมาขอรับหนังสือ text book จากต่างประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ขั้นตอนในการขอรับหนังสือจากที่นี่ก็แสนจะง่าย คือ
ทำหนังสือรับบริจาคหนังสือของสถาบันของท่านแล้วนำมายื่นที่มูลนิธิได้เลย
เสร็จแล้วก็เลือกหนังสือจากที่นี่ได้เลย แล้วทางเจ้าหน้าที่ของที่นี่จะให้เขียนสมุดผู้รับบริจาค
และนับจำนวนหนังสือ แล้วเพื่อนๆ ก็ขนหนังสือกลับได้เลย
แต่อย่าลืมส่งจดหมายขอบคุณพร้อมกับแจ้งรายชื่อหนังสือที่รับไปด้วยนะ
อ๋อ ลืมบอกไปนิดนึง เรื่องการขนหนังสือทางเราต้องจัดการเรื่องรถขนหนังสือเองนะครับ
ทางมูลนิธิไม่มีบริการส่งของด้วย

แต่สำหรับห้องสมุดที่อยู่ต่างจังหวัดก็สามารถที่จะขอทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับหนังสือได้ด้วยนะครับ

มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)
สนับสนุนโครงการโดย
– กลุ่มบริษัทแสงโสม
– ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– บจ. ท่าเรือประจวบ
– บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
– บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์
– สหวิริยาสตีลอินดัสตรี
– บจ. หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์
– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
– สโมสรโรตารีกรุงเทพใต้
– Annika Linden Foundation
– The Asia Foundation

ที่อยู่ของมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยนะครับ
มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย ชั้น 2 อาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขาสภากาชาดไทย 1873 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2652-3301, โทรสาร 0-2652-3302 มือถือ 0-5063-9535

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีข้อสงสัยให้ติดต่อ คุณอมร ไทรย้อย ดูนะครับ พี่เขาใจดีมากเลยครับ

ห้องสมุดของผมไปรับหนังสือมาหลายครั้งแล้วและได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
ยังไงก็ขอขอบคุณมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยอีกครั้งนะครับ

เพื่อนๆ ที่อยากจะขอรับบริจาคหนังสือผมขอแนะนำว่าลองโทรไปคุยกับพี่เขาดูก่อนนะครับ
จะได้รู้ว่ามีหนังสือใหม่เข้ามาหรือยัง กลัวไปแล้วเสียเที่ยวครับ อิอิ

เห็นมั้ยว่ายังมีองค์กรดีๆ ที่สนับสนุนห้องสมุดอยู่นะครับ เพียงแต่บางคนอาจจะยังไม่รู้เท่านั้นเอง
เอาเป็นว่าใครอยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการขอทุนเดินทางมารับบริจาคหนังสือก็ลองโทรไปถามพี่เขาเองนะครับ

ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://library.tu.ac.th/pridi2/BooksforThailandFoundation/history.htm

LibCamp#3 : กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนาคุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และดำเนินรายการโดยนายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ บล็อกเกอร์ห้องสมุด
เสวนาในหัวข้อเรื่อง “กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร”

libcamp3-1

การเสวนานี้เริ่มจากการแนะนำตัวเองของผู้เสวนา นั่นคือ คุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นห้องสมุดมารวย

ผมขอเรียกคุณสุจิตร สุวภาพ ว่าพี่อ้วนนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านบทสรุปของเรื่องนี้

พี่อ้วนจบปริญญาตรีใบแรกเอกภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้นพี่อ้วนก็เกิดความสนใจเรื่องของสารสนเทศจึงได้ศึกษาปริญญาตรีอีกใบคือ เอกบรรณารักษ์ และได้ต่อปริญญาโทในสาขานี้
จากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป พี่อ้วนจึงได้ศึกษาปริญญาโทอีกใบด้านไอที นั่นเอง

พี่อ้วนได้พูดถึงกรณีศึกษาการพัฒนาห้องสมุดมารวยให้พวกเราฟังต่อว่า
แต่เดิมแล้วห้องสมุดมารวยไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดมารวยเหมือนทุกวันนี้หรอกนะครับ
แต่ก่อนห้องสมุดแห่งนี้ เรียกว่า ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างหาก

แต่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง เมื่อผู้บริหารต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และสร้างแบรนต์ใหม่ให้ห้องสมุด
จึงได้มีการนำชื่อ มารวย มาใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

แนวความคิดในการปรับปรุงภาพลักษณ์ของห้องสมุดมารวย
คือ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป และหาคู่แข่งห้องสมุดเพื่อเปรียบเทียบบริการ
การจัดโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ — คล้ายกับร้านอาหาร (มาเยอะก็ต่อโต๊ะกัน)
เวลาทำการ (การเปิดปิด) ห้องสมุด — ปิดให้ดึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ แข่งกับห้างสรรพสินค้า

ฯลฯ

ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงทั้งหมด 6 เดือนก็สามารถที่จะปรับปรุงและเสร็จอย่างรวดเร็ว
ด้วยภาพลักษณ์เดิมที่ถูกเปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ใหม่ไปอย่างชัดเจน

ตัวอย่างสิ่งที่เปลี่ยนไป เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้แบบหรูหราถูกเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่นั่งอ่านแบบสบายๆ

การจะสร้างห้องสมุดสักแห่งนึงต้องคำนึงถึง สิ่งดังต่อไปนี้
– สถานที่
– หนังสือ
– งานบริการ
– บรรณารักษ์
– ระบบเทคโนโลยี

แนะนำห้อง Plern ของตลาดหลักทรัพย์ (ห้องสมุด ห้องทำการบ้าน ห้องเล่น ห้องรับฝากเด็ก ห้องสอนพิเศษ – จิปาถะมากครับ)
Plern = Play + Learn เป็นห้องที่ตลาดหลักทรัพย์จัดไว้เพื่อใช้เป็นพื้นที่อำนวยความสะดวกกับชุมชนใกล้เคียง (ชุมชนคลองเตย)

การหาผู้สนับสนุนโครงการต่างๆ (CSR Project) ตลาดหลักทรัพย์จะมีรายชื่อหน่วยงานทางธุรกิจมากมาย
ดังนั้นจึงทำให้ติดต่อได้ไม่ยากนัก ถ้าเป็นโครงการที่ดีและทำเพื่อสังคม เราน่าจะลองทำเรื่องขอได้เช่นกัน

ตัวอย่างการสนับสนุนไม่ต้องมองที่อื่นเลย ที่นี่แหละ ห้องสมุดเสริมปัญญาก็ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละ

พี่อ้วนได้ทิ้งข้อคิดดีๆ ให้เราชาวห้องสมุดได้ฟังอีกว่า
การจะทำห้องสมุดสักแห่ง เราต้องตั้งเป้าประสงค์ของห้องสมุดให้ได้เสียก่อน
เช่นทำห้องสมุดอะไร เพื่ออะไร จะมีอะไรบ้าง แล้วเป็นประโยชน์อย่างไร
ถ้าเราตอบคำถามนี้ได้แล้วเราก็เขียนโครงการ เรื่องเงินไว้คิดทีหลังจะดีกว่า
เพราะถ้าเอาเรื่องเงินมากำหนดว่าจะทำห้องสมุด เราก็จะได้ห้องสมุดที่ไม่ต้องกับความต้องการของเรา

เป้าหมาย —> งบประมาณ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณพี่อ้วนมากๆ เลยเกี่ยวกับแง่คิดดีๆ และกรณีศึกษามากมาย

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด ประจำปี 2552

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมเขียนเรื่อง “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552
วันนี้ผมขอนำเรื่องต่อเนื่องมาเขียนต่อเลยนะครับ นั่นก็คือ การประกาศรางวัล
“ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552”

library-support

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจการของห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้วยกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้ห้องสมุดพัฒนา

ดังนั้นผมขอนำรายชื่อมาลงไว้ให้เพื่อเป็นการขอบคุณแทนวงการวิชาชีพนี้ด้วยนะครับ

ปีนี้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 14 รายชื่อ ซึ่งมีดังนี้
(ผมขอเขียนแบบย่อๆ นะครับ รายละเอียดดูจากต้นฉบับที่ผมทำ link ไว้ให้นะครับ)

1. พระครูธรรมสรคุณ ขนธสโร
ได้สนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี 2547 ? 2549 มูลค่า 20 ล้านบาท อีกทั้งได้มอบให้ กศน. เขาคิชฌกูฎ ระหว่างปี 2550-2552

2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จิตตินัดด์ หะวานนท์
ได้จัดสรรงบประมาณบอกรับฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี มูลค่าปีละกว่า 5 ล้าน รวมมูลค่า 25 ล้านบาท ให้กับห้องสมุดคณะแพทย์และหน่วยงานในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ได้จัด ?มุมความรู้ตลาดทุน? หรือ SET Corner เพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมฐานความรู้ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน

4. นายชรินทร์ เลอเกียรติจรัส

ผู้ผลักดันโครงการห้องสมุดไทยบริดจสโตน โดยได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากว่า 7 ปี ได้สร้างห้องสมุดไทยบริดจสโตน จำนวน 94 โรงเรียน

5. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ประธานโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนสุข พนมยงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ผลงาน ภาพถ่าย คำบรรยาย สื่อโสตทัศน์ กิจกรรมต่าง ๆ และงานเขียน ให้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

6. บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดใน โครงการ ?ห้องสมุดไทยบริดจสโตน? ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงงานสารานุกรมไทย ใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการ มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย

โครงการ One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา โดยในปี 2551 ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไร 3 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจนฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และมูลนิธิกระจกเงา จัดสร้างห้องสมุดแอมเวย์จำนวน 10 โรงเรียน

8. นายพจน์ นฤตรรกกุล
สนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาเทคโลยีสำหรับห้องสมุดให้กับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางของรัฐ ติดตามและศึกษาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ เช่น การสร้าง eBook, eJournal, Library Automation, Web Portal

9. นายวรวิทย์ ศุภโชคชัย
นผู้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2548 ? 2552 โดยได้สร้างห้องสมุด อาคารห้องสมุดและศูนย์เยาวชน (สวนศรีเมือง) ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,100 ตารางเมตร รวมมูลค่า 18 ล้านบาท

10. นายวานิช เอกวาณิช

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดเอกวาณิช โรงเรียนภูเก็ตไทหัว ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนในจังหวัดภูเก็ต

11. บริษัท เดอเบล จำกัด
ผู้จัดโครงการ ?ห้องสมุดนี้…พี่ให้น้อง? ตั้งแต่ปี 2550-2553 โดยมีโรงเรียนที่ได้รับทุนทั่วประเทศ จำนวน 134 โรง รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท

12. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สนับสนุนห้องสมุดในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี 2551

13. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

อธิการบดีและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล และตระหนักในความสำคัญของห้องสมุดในฐานะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ริเริ่มโครงการก่อตั้งห้องสมุด พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต

14. นางสาวอินดา แตงอ่อน

ผู้สนับสนุนและสร้างบรรยากาศการใช้ห้องสมุดโดยการจัดโครงการทอดผ้าป่าการศึกษา ในปี 2548 ได้รับงบประมาณกว่า 3 ล้านบาท

เป็นไงกันบ้างครับกับการสนับสนุนห้องสมุดของแต่ละคน แบบว่าขอปรบมือให้แบบดังที่สุดเลยครับ
ถ้ามีผู้ใจดีกับห้องสมุดแบบนี้เยอะๆ ห้องสมุดหลายที่คงจะเลิกบ่นเรื่องไม่มีงบกันสักทีนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับความใจดีของทุกๆ ท่านนะครับ

รายละเอียดของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552 แบบเต็มๆ
อ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/support.pdf

ไม่เอานะ!!! ป้ายเตือนแบบนี้ในห้องสมุด

วันนี้เจอบทความเกี่ยวกับการใช้ป้ายเตือนผู้ใช้บริการในห้องสมุด
ก็เลยขอเอามาเตือนสติและแนะนำเพื่อนๆ วงการห้องสมุดแล้วกัน
จะได้ไม่โดนผู้ใช้บริการหมั่นไส้เอา…

presentation

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรูปป้ายเตือนแบบนี้

บรรทัดแรกมาดูเป็นมิตรกับผู้ใช้บริการมากๆ นั่นคือ ยินดีต้อนรับสู่ห้องสมุด (Welcome to the library)
แต่พอเราได้เห็นข้อควรปฏิบัติและคำเตือนในป้ายนี้แล้ว เลยไม่ค่อยกล้าเข้าห้องสมุดเลย

ในป้ายนะครับ
– ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ
– ไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรืออุปกรณ์อื่นๆ ให้บริการ
– คอมพิวเตอร์สำหรับบุคลากรในโรงเรียนเท่านั้น
– ห้ามพูดคุย
– ห้ามกินอาหารหรือทานเครื่องดื่ม
– ไม่เอาบัตรมาห้ามยืม

ห้ามทำนู้น ต้องทำนี่ ห้ามใช้นู้น ห้ามใช้นี่…..อ่านแล้วอยากจะคลั่งไปเลย
ตกลงนี่มันคุกหรือว่าห้องสมุดกันแน่เนี้ย

เอาเป็นว่าถ้าเราลองเปลี่ยนจากป้ายเมื่อกี้เป็นป้ายด้านล่างนี่หล่ะ

presentation1

ในป้ายที่ดูเป็นมิตรกว่า
– ใช้โทรศัพท์ได้นะครับแต่กรุณาเงียบนิดนึง
– ถ้าคุณต้องการอินเทอร์เน็ตไร้สาย กรุณาแจ้งที่เจ้าหน้าที่เลยครับ
– ถ้าค้นหาอะไรแล้วไม่เจอ พวกเราพร้อมจะช่วยคุณนะ
– พวกเรามีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันด้วยนะครับ
– จะกินหรือจะดื่มอะไรก็ระมัดระวังนิดนึงนะครับ หรือจะใช้บริการร้านกาแฟของเราก็ได้
– พวกเราสามารถช่วยคุณค้นหาหนังสือหรือนิตยสารได้นะครับ
– ห้องสมุดใช้สำหรับเรียนรู้ ดังนั้นกรุณาบอกให้เรารู้หน่อยว่าคุณต้องการข้อมูลอะไร

อ่านแล้วรู้สึกดีกว่ากันเยอะเลยนะครับ
จากป้ายแรกเมื่อเทียบกับป้ายนี้ต่างกันฟ้ากับเหวเลย

เอาเป็นว่าการจะเขียนป้ายเตือนหรือข้อแนะนำผู้ใช้กรุณาเลือกใช้คำที่ดีๆ นะครับ
คำบางคำความหมายเหมือนกันแต่ให้อารมณ์ต่างกัน

เปลี่ยนจากคำว่า “ห้าม” เป็น “ควรจะ” น่าจะดีกว่านะครับ

สุดท้ายนี้ใครมีประโยคแนวๆ นี้ลองส่งมาให้ผมดูหน่อยนะครับ
จะได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน ขอบคุณครับ

ภาพของเรื่องนี้จาก http://doug-johnson.squarespace.com/blue-skunk-blog/2009/11/7/signs-signs-everywhere-theres-signs.html