คุณรักห้องสมุดเท่านี้หรือปล่าว

เวลาผมไปบรรยายตามที่ต่างๆ ผมก็มักจะได้พูดคุยกับเพื่อนๆ บรรณารักษ์หลายๆ คน
เพื่อนๆ เหล่านั้นถามผมว่าทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุดไม่มีวันหยุดได้หล่ะ

ilovelibrary

ผมจึงได้ย้อนถามกลับไปว่า

เพื่อนๆ รักในวิชาชีพนี้แล้วหรือยัง
เพื่อนๆ รักในห้องสมุดที่ท่านทำงานหรือปล่าว

คำถามเหล่านี้ ผมไม่ต้องการคำตอบหรอกครับ
แต่คำถามเหล่านี้อาจจะทำให้เพื่อนๆ คิดได้ว่าทำไมผมถึงทำอะไรเพื่อวงการนี้

อ๋อ เกือบลืมวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงมาให้เพื่อนๆ ดู เป็นคลิปวีดีโอที่ชื่อว่า I Love the Library

ไปดูกันเลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_3z7VGJSrQ4[/youtube]

ดูแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ

ตอนผมดูแรกๆ ก็อดขำบรรณารักษ์ที่ยืนกอดหนังสือไม่ได้
จะบอกว่ารักห้องสมุดจนยืนกอดหนังสือมันก็ดูตลกไปสักหน่อยครับ
แต่ก็ถือว่าอย่างน้อยคลิปวีดีโอนี้ เขาทำมาก็เพื่อสะท้อนว่า พวกเขารักห้องสมุด

ย้อนกลับมาที่ผม สำหรับผมแล้วการที่ได้รักห้องสมุด รักในวิชาชีพ
ผมคงไม่ต้องมายืนกอดหนังสือแล้วถ่ายคลิปหรอกนะครับ
เพียงแต่พยายามคิดหาหนทางในการพัฒนาห้องสมุด
แล้วเอามาเขียนบล็อกเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านแค่นี้ก็ก็อาจจะเป็นการยืนยันได้ในส่วนนึงแล้ว

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับ รักห้องสมุดหรือเปล่า!!!

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ

วันนี้ขอพาเที่ยวต่างประเทศอีกสักรอบนะครับ สถานที่ที่ผมจะพาไปเที่ยวนั่นก็คือ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ทำไมผมถึงพาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์รู้มั้ยครับ เพราะว่าพิพิธภัณฑ์ก็คือพี่น้องของห้องสมุดนั่นเอง

nawcc

พิพิธภัณฑ์จะเน้นในการเก็บรักษาสิ่งของหรือวัสดุที่ไม่ใช่หนังสือ
รวมถึงมีหน้าที่ในการเก็บและสงวนสิ่งของหายากและของล้ำค่า

?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? (The National Watch & Clock Museum)
ตั้งอยู่ที่ 514 Poplar street – Columbia, Pensylvania ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในปี 1977 ซึ่งในปีแรกมีนาฬิกาแสดงจำนวนน้อยกว่า 1,000 ชิ้น
จนในเวลาต่อมาเมื่อนาฬิกาที่แสดงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนถึงจำนวน 12,000 ชิ้น
ทางพิพิธภัณฑ์จึงได้สร้างส่วนขยายของพิพิธภัณฑ์เพื่อรองรับกับจำนวนสิ่งของที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งส่วนขยายในส่วนสุดท้ายได้สร้างเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมปี 1999 นั่นเอง

Collection ที่จัดเก็บในพิพิธภัณฑ์นี้ มี นาฬิกาทั้งแบบแขวน นาฬิกาข้อมือ
วัสดุที่ใช้ในการสร้างนาฬิกา และสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบอกเวลา
สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดของพิพิธภัณฑ์นี้ คือ ส่วนที่ใช้แสดงนาฬิกาของอเมริกาในยุคศตวรรษที่ 19
แต่อย่างไรก็ดีนอกจากนาฬิกาในประเทศอเมริกาแล้ว

พิพิธภัณฑ์นี้ยังเก็บนาฬิกาจากทุกมุมโลกอีกด้วย เช่น
– นาฬิกาแบบตู้ทรงสูงจากประเทศอังกฤษ
– นาฬิกาทรงเอเซียจากประเทศจีนและญี่ปุ่น
– อุปกรณ์ที่บอกเวลาต่างๆ จากประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมัน, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศรัสเซีย

ส่วนที่จัดแสดงจะมีนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ พัฒนาการต่างๆ ของนาฬิกา เทคโนโลยีในการบอกเวลา

เรามาดูการแบ่งพื้นที่ภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? กันนะครับ

– Admissions & Information desk
ในส่วนนี้เป็นบริเวณทางเข้าและส่วนข้อมูลของพิพิธภัณฑ์

– Theater เป็นห้องภายภาพยนต์ประวัติและความเป็นของนาฬิกา
นอกจากนี้ยังใช้ในการอบรมและแนะนำ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?

– Ancient Timepieces เป็นห้องที่แสดงการบอกเวลาในสมัยโบราณ
รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้บอกเวลาในสมัยโบราณ เช่นนาฬิกาทราย นาฬิกาแดด ฯลฯ

– Special Exhibition เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงปี 1700 – 1815
ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของการประดิษฐ์นาฬิกาในอเมริกา

– Eighteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 18

– Nineteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 19

– American Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปอเมริกา

– European Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปยุโรป

– Asian Horology เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปเอเซีย

– Wristwatches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาข้อมือ

– Car Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่อยู่ในรถยนต์

– Novelty Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่มีรูปแบบแปลกๆ

– Pocket Watches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบที่สามารถพกพาได้

– Early 20TH Century Shop เป็นส่วนของร้านขายนาฬิกาและแสดงนาฬิกาที่ประดับอัญมณี

– Learning Center เป็นส่วนที่แสดงนิทรรศการและให้ความรู้เกี่ยวกับศาตร์แห่งการบอกเวลา
ทั้งวิวัฒนาการของการบอกเวลา นาฬิกาประเภทต่างๆ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการบอกเวลา

– Monumental Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับหอนาฬิกา

– Tower Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบตู้ทรงสูง

– Electronic Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบดิจิตอล

– Gift Shop ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ซึ่งในร้านมีนาฬิกาให้เราเลือกซื้อมากมาย หลายแบบให้เลือก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? แห่งนี้ เสียดายอย่างเดียวว่ามันอยู่ที่อเมริกา
เพราะว่าถ้ามันอยู่เมืองไทย ผมก็คงต้องอาสาไปเยี่ยมเยียนสักหน่อย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากลิ้งก์ด้านล่างนี้นะครับ
http://www.nawcc.org/museum/museum.htm

และใครสนใจดูภาพภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? ก็ดูได้ที่
http://www.nawcc.org/museum/nwcm/MusMap.htm

จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศฉบับปี 2550

ประกาศจรรยาบรรณของบรรณารักษ์ฉบับแรกประกาศเมื่อปี 2521 และมีการปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปี 2529
และหลังจากนั้นไม่เคยมีการปรับปรุงจรรยาบรรณฉบับนี้อีกเลย จนมีการปรับปรุงครั้งที่ 2 ในปี 2550

ethic-library

ผมเลยแปลกใจว่าตั้งแต่การปรับปรุงครั้งแรกจนถึงครั้งนี้มันห่างกันตั้ง 21 ปีนะครับ
แสดงว่าที่เราใช้ๆ กันอยู่นี่มันล้าสมัยมากๆๆๆๆๆ
แต่เอาเถอะไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ยังไงฉบับนี้ก็ถือว่าแก้ไขมาแล้ว
ผมจะมาพูดถึงเนื้อหาจรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อ แบบย่อๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกัน

———————————————————————————————–

ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

1. ให้บริการอย่างเต็มที่โดยไม่แบ่งแยกผู้ใช้บริการ
2. รักษาความลับและเคารพสิทธิของผู้ใช้บริการ
3. ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
4. เรียนรู้ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
5. เป็นมิตรกับเพื่อนร่มงาน เพื่อร่วมมือร่มใจกันทำงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
6. สร้างสัมพันธภาพและสร้างความร่วมมือกันระหว่างสถาบันให้ดี
7. ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์เข้าตัวเอง
8. ยึดถือหลักเสรีภาพทางปัญญาและรักษาเกียรติภูมิของห้องสมุดและวิชาชีพ (ไม่ทำให้วิชาชีพเสื่อมเสีย)
9. มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้

———————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับจรรยาบรรณของวิชาชีพเราฉบับใหม่
ผมวี่ามันก็เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำอยู่แล้วนะครับ
แต่สำหรับผม ผมชอบข้อ 4 ที่รู้สึกว่า
ทางสมาคมคงจะเผื่อเอาไว้ในอนาคตเลย
เพราะว่าวิชาชีพเรา เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอ่านจรรยาบรรณฉบับเต็มก็สามารถดาวนโหลดได้ที่
ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้สมาคมห้องสมุดสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อวงการห้องสมุดต่อไปนะครับ

หนังสือดีๆ ยังมีอีกมากในห้องสมุดแต่ผู้ใช้หาไม่เจอ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพื่อนผม ฝากเอามาลงในเว็บนะครับ
(ขอขอบคุณเพื่อนพิชญ์ที่แสนน่ารักที่อุตส่าห์เขียนเรื่องดีๆ)

just-for-fun

ซอร์ไอเซค นิวตัน ลีโอนาโด ดาร์วินชี และอัจฉริยะอื่นๆ ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน
นั่นคือ ความสามารถหลายๆ ด้าน และความคิดอันเป็นเอกลักษณ์
การได้อ่านชีวประวัติ (อย่างละเอียด) ของคนเหล่านี้
จะทำให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ๆ แบบที่คุณคิดไม่ถึงว่า มีคนคิดแบบนี้อยู่ด้วย

ชื่อ Linus Torvalds (ไลนุส ไม่ใช่ ลีนุก ทอร์วอลด์)
อาจจะไม่คุ้นกับคนส่วนใหญ่ แม้แต่คนที่เรียกตัวเองว่าคนไอที
บางคนเรียกเขาว่า hacker อันดับหนึ่งของโลกผู้เป็นศาสดาของ programmer
ส่วน Microsoft เรียกเขาว่า ปีศาจ

คุณอาจจะรู้จักผลงานเขาที่ชื่อว่า ลินุกซ์ หรือไม่ ? ไม่เป็นไร
เอาเป็นว่ามันเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ windows
และทำให้มีคนที่คิดทำอะไรดีๆ ออกมาฟรีๆ ให้คนอื่นใช้กัน
ถ้าคุณรัก firefox รู้ไว้ว่า ถ้าไม่มีเขา มันเป็นแค่ โปรแกรมที่ไม่มีคนใช้แล้วเท่านั้น

ผมไปเจอหนังสือที่แปลโดย eS_U ชื่อหนังสือ ?just for fun LINUS TORVALDS”
ที่ห้องสมุดวิทยาลัย ที่มีสาขาคอมพิวเตอร์ ซื้อมาตั้งแต่ปี 46 กลับกลายเป็นว่าผมเป็นคนแรกที่ยืมในปี 50
และท่าทางจะป็นคนแรกที่หยิบมันออกมาจากชั้นหนังสือ
หนังสือที่ดีอย่างนี้ สาบสูญไปกับระบบ LC ที่ผมไม่เคยทำความเข้าใจกับมันได้ซะที่

ถ้าคุณไม่สนใจ IT ก็ไม่เป็นไร ถ้าคุณสนุกกับหนังสืออ่านเล่น
ที่บอกว่าเป็นหนังสือชีวประวัติอย่างของโน้ตอุดม / บอย / น้าเนค
หรือหนังสือเฉพาะกิจอย่าง Lidia here am I

ผมว่าหนังสือเล่มนี้ (just for fun LINUS TORVALDS) ดีกว่านั้น
มันหนาถึง 374หน้านะครับ แต่ก็อ่านเพลินๆ คืนเดียวจบ เหมือนกินต้มยำอร่อยๆ
ถ้าชอบแนวปรัญญาความคิดใหม่ๆ หนังสือเล่มนี้มีให้คุณได้ขบคิด

ผมคัดลอกเอาเนื้อเรื่องบางส่วนมาให้ลองอ่านเล่นดูนะครับ

“ตอนเด็กผมหน้าเกลียดมาก บอกกันตรงๆ อย่างนี้เลย
และผมหวังว่าวันหนึ่งเมื่อฮอลลีวู้ดสร้างหนังเกี่ยวกับลินุกซ์ขึ้นมา
พวกเขาคงจะหาพระเอกที่หน้าหาเหมือน ทอม ครูซ มาเล่น
แม้ในความเป็นจริงมันจะเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกันเลยก็ตาม
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับ ผมไม่ถึงขนาดคนค่อมแห่งนอตเตอร์ดามหรอก
ลองนึกภาพตามดีกว่า นึกถึงเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่มีฟันหน้าใหญ่มาก
(ทุกคนที่ดูรูปผมตอนเด็กจะเห็นว่าหน้าผมดูคล้ายตัวบีเวอร์ไม่น้อย)
นึกถึงการแต่งตัวที่เชยระเบิด และนึกถึงจมูกที่ใหญ่ผิดปกติ
อันเป็นเอกลักษณ์ของตระกูลทอร์วอลด์ นั่นละครับ ตัวผมในวัยเด็ก”

หรือ

“แล้วทำไมสังคมถึงวิวัฒนาการได้ละ? อะไรคือแรงผลักดันที่สำคัญ?
เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจริงหรือ?
จริงหรือที่การผลิตเครื่องจักรไอน้ำทำให้ยุโรปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
แล้วหลังจากนั้นสังคมมนุษย์ก็วิวัตนาการโดยอาศัยโนเกียและโทรศัพท์มือถืออื่นๆ
จนกลายเป็นสังคมแห่งการสือสารไป?
ดูเหมือนนักปรัชญาทั้งหลายจะพอใจกับคำอธิบายนี้ จึงพากันไปสนใจแต่ประเด็นที่เทคโนโลยีมีผลต่อสังคม
แต่ผมในฐานะนักเทคโนโลยีกลับรู้ดีว่าเทคโนโลยีไม่ได้ส่งผลต่ออะไรเลย
สังคมต่างหากที่มีผลต่อเทคโนโลยี ไม่ใช่ทางกลับกัน
เทคโนโลยีเป็นเพียงตีกรอบว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง
และเราจะทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นโดยเปลืองเงินน้อยที่สุดได้ยังไง
เทคโนโลยีก็เหมือนบรรดาเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีนั่นแหละ
คือมันไม่มีความคิดเป็นของตนเอง มันมีหน้าที่แค่ทำงานไปตามที่คุณใช้มัน
ส่วนแรงจูงใจของการทำงานนั้นเป็นความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์โดยแท้
ทุกวันนี้เราติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นไม่ใช่เพราะเรามีอุปกรณ์
แต่เพราะมนุษย์เราชอบการพูดคุยกันอยู่แล้ว เราจึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งถ้าอุปกรณ์ไม่พร้อม
เราก็จะสร้างมันขึ้นมา เพราะอย่างนี้โนเกียถึงได้เกิด”

เป็นอย่างไรกันบ้างครับนี่เป็นเพียงเนื้อเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อ่านแล้วก็ชวนให้ติดตามเหลือเกิน
สรุปประเด็นที่อยากจะบอกเกี่ยวกับเรื่องการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ
จนทำให้หนังสือดีๆ เหล่านี้ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ กว่าจะได้อ่านก็ช้าไปนานแล้ว

ดังนั้นนี่คงเป็น Case study อย่างหนึ่งที่น่าศึกษามาก
เพราะว่า คุณลองคิดสิครับว่าในห้องสมุดยังมีหนังสือดีๆ แบบนี้ให้อ่านอยู่
แต่ผู้ใช้หาไม่เจอ แล้วอย่างนี้มันน่าคิดมั้ยครับ

สุดท้ายขอขอบใจเพื่อนพิชญ์อีกทีนะครับ แล้วส่งเรื่องเล่ามาให้อ่านบ้างนะครับ

ปล. ปรัชญาเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าหนังสือดีๆ ยังมีอยู่ในห้องสมุดอีกเยอะครับ

จุดประสงค์การเข้าห้องสมุดแบบขำขำ

วันนี้ขอเล่าเรื่องแบบไม่เครียดแล้วกันนะครับ (ปกติมีแต่เรื่องเครียดๆ หรอ)
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ รู้หรือปล่าวครับว่าผู้ใช้แต่ละคนที่เข้าห้องสมุดมีวัตถุประสงค์การใช้ห้องสมุดแตกต่างกัน
วันนี้ผมขอรวบรวมจุดประสงค์ของการเข้าห้องสมุดแบบขำขำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

library-tour-237

จุดประสงค์ของการเข้าห้องสมุดแบบขำขำ

1. หนอนหนังสือ – ชอบอ่านหนังสือเลยเข้าห้องสมุด
เข้ามาเพื่อจุดประสงค์อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน?แบบว่าขยันสุดๆ ไปเลยพวกนี้

2. มาเรียนคร้าบ – มีทั้งกรณีที่วิชาเรียนมีเรียนที่ห้องสมุด (พวกเอกบรรณฯ)
และอาจารย์ขอใช้ห้องสมุดเป็นคาบในการค้นหาข้อมูลหรือกิจกรรมต่างๆ

3. มาหาเนื้อหาทำรายงาน – จริงๆ เหตุผลนี้น่าจะเอาไปรวมกะข้อสองนะ
เพียงแต่อาจารย์ไม่ได้บังคับให้หาในห้องสมุดนะ หาเนื้อหาที่ไหนก็ได้แต่นักศึกษาเลือกห้องสมุด ก็ดีเหมือนกันนะ

4. มาเล่นคอมคร้าบ – พวกนี้ไม่ได้อยากอ่านเนื้อหาที่เป็นกระดาษครับ
ในห้องสมุดมีบริการอินเทอร์เน็ตก็เลยมาเล่นซะ ให้พอใจกันไปเลย

5. มาติวหนังสือในห้องสมุดดีกว่า – พวกนี้ก็ชอบเข้าห้องสมุดเพื่อติวหนังสือ นับว่าขยันกันมากๆ
เหตุผลก็เพราะว่าห้องสมุดมีห้องประชุมกลุ่มแล้วพวกนี้แหละก็จะขอใช้บริการประจำเลย
และในห้องประชุมนี้เอง ภายในมีโต๊ะใหญ่ แล้วก็กระดานสำหรับเขียน ทำให้เหมือนห้องเรียนแบบย่อมๆ เลย
เอกบรรณฯ เราก็ชอบห้องนี้แหละ เพราะมันส่วนตัวกว่าห้องเรียนที่ตึกเรียนรวมคร้าบบบบ

6. จุดรอคอยการเรียนวิชาต่อไป – กลุ่มนี้คือนักศึกษาที่เรียนแบบไม่ต่อเนื่องกัน พอมีเวลาว่างนาน
ก็ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยมานั่งเล่นที่ห้องสมุด มาดูข่าว หนังสือพิมพ์ ฆ่าเวลา
เพราะว่าห้องสมุดอยู่ใกล้กับตึกเรียน และที่สำคัญคือ เย็นสบายครับ

7. มาหลับ – กลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงจากจุดประสงค์ต่างๆ ครับ
เช่น ตั้งใจมาอ่านหนังสือ อ่านไปอ่านมาง่วงซะงั้นก็เลยหลับ
หรือนั่งติวหนังสือกันอยู่แอบหลับไปซะงั้น เพราะด้วยบรรยากาศที่เย็นสบาย เป็นใครก็ต้องเคลิ้มไปซะงั้น

8. มาหม้อ – กลุ่มนี้คือกลุ่มพวกที่ชอบใช้ห้องสมุดเพื่อการบันเทิง
เนื่องจากห้องสมุดมักมีผู้ใช้บริการเป็นผู้หญิง ดังนั้นกลุ่มนี้ผมคงไม่ต้องบอกหรอกนะครับว่าเป็นผู้ชาย
(อดีตผมก็ทำ อิอิ กล้าบอกไว้ด้วย 5555)

เอาเป็นว่าไม่ว่ากลุ่มไหนก็ตาม แต่ทุกคนมีสถานที่ในดวงใจเหมือนกันนั้นคือ ห้องสมุด
ยังไงซะ บรรณารักษ์อย่างเราก็จะดูแลคุณอยู่แล้วหล่ะครับ

ปล.จุดประสงค์ต่างๆ ที่เขียนมา เขียนให้อ่านขำๆ นะครับ
อย่าคิดมาก ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมายหรอกนะครับ

ไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ผมใช้ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรครับ
คืออ่านหนังสืออะไรก็ได้แล้วเก็บเอาไอเดียที่น่าสนใจมาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟัง

roomtoread

หนังสือที่ผมอ่านก็คือ “ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก” รวมไปถึงการเปิดเว็บไซต์ http://www.roomtoread.org เพื่อเก็บข้อมูล
หัวข้อที่ผมนำมาเสนอเพื่อนร่วมงานในวันนั้น คือ “ข้อคิดและไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read”

ลองอ่านสิ่งที่ผมสรุปเกี่ยวกับโครงการนี้ได้เลยครับ

โครงการ Room for Read ก่อตั้งโดย John wood (ในปี 2000) (John wood อดีตผู้บริหารในไมโครซอฟต์)

โครงการ Room for Read โครงการนี้ทำอะไรบ้าง
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังเป็นฉากๆ แล้วกันนะครับ

โครงการ Room to Read ทำอะไรบ้าง
1. บริจาคหนังสือ ทุนทรัพย์ ให้ห้องสมุดและโรงเรียน
2. สร้างห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และโรงเรียน
3. ให้ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง

หลายๆ คนอาจจะงงว่าทำไมให้ทุนแค่เด็กผู้หญิง ผมขออธิบายง่ายๆ ว่า
เมื่อให้ทุนเด็กผู้ชายแล้ว เด็กผู้ชายก็มักจะเก็บความรู้ไว้กับตัวเองไม่สอนคนอื่น
แต่ถ้าให้เด็กผู้หญิงในอนาคตถ้าพวกเขามีลูกเขาก็จะสอนให้ลูกรักการเรียนได้ครับ

โครงการนี้ดำเนินการในประเทศเนปาล, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, อินเดีย, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้

ผลงานของโครงการ Room to read 2007
– โรงเรียน 155 แห่ง
– ห้องสมุด 1600 แห่ง
– ศูนย์คอมพิวเตอร์ 38 แห่ง
– ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง 4036 คน
– ตีพิมพ์หนังสือ 82 ชื่อเรื่อง


ปรัชญาที่ได้จากการศึกษาโครงการ Room to read

– ทำให้ผู้ที่อยู่ในชมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ แล้วพวกเขาก็จะรู้สึกรักและต้องดูแลมัน (ร่วมลงทุน)
– ถ้าเราไม่รู้จักองค์กรของเราอย่างถ่องแท้ เราก็จะไม่สามารถนำเสนอโครงการสู่สังคมได้
– พยายามนำเสนอความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอให้ทุกคนรับทราบ
– จงคิดการใหญ่ตั้งแต่วันแรกเริ่ม
– การเฝ้าติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เราเข้าใจ การทำงานขององค์กรได้อย่างถ่องแท้ (เป็นการตอกย้ำเจตนา)
– ?นั่นละคือสิ่งที่ผมอยากฟัง เราต้องการคนที่ไม่กลัวงานหนัก ในวงการคนทำงานเพื่อสังคม ผมว่ามีพวกที่ทำงานเช้าชามเย็นชามมากเกินไป?
– เด็กมักถูกชักจูงจากสิ่งที่ผิดได้ง่าย การให้ความรู้ที่ถูก มีคุณธรรม จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
– เงินทองสามารถซื้อความสุขได้เพียงร่างกาย แต่การให้สามารถสร้างความสุขได้ทั้งจิตใจ

นับว่าจากการศึกษาครั้งนี้ถือว่าผมได้ไอเดียที่สำคัญหลายอย่างเลย
บางทีถ้าเพื่อนๆ มีเวลาผมก็ขอแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเรื่อง ?ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก? ดูนะครับ

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

วันนี้ผมมานั่งฟังบรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)
ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO
ดังนั้นผมคงไม่พลาดที่จะสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

picture-021

แต่ก่อนจะอ่านเรื่องที่ผมสรุปนั้น ผมขอพูดถึงงานสัมมนาครั้งนี้ให้เพื่อนๆ ฟังก่อน
งานสัมมนาครั้งนี้ จัด 2 วัน คือ วันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2552
ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนานานาชาติ เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) (18/2/52)
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 1 ห้อง 5209 (18/2/52)
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdom : Best Practices
โดย Prof. Gary Gorman และ Dr. Dan Dorner

picture-043 picture-0461 picture-024

สถานการณ์ปัจจุบัน
– การเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีมากขึ้น
– ความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีสูงขึ้น
– การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศสะดวกขึ้น
– ข้อมูลออนไลน์มีมากขึ้น
– มีองค์ประกอบภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้เพิ่มมากขึ้น

Digital Preservation คือ กระบวนการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล และทำให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าถึงได้
Digital Preservation = (manage,collect + care,preserve)

การทำ Digitization คือการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล (ถือว่าเป็นการจัดเก็บและรวบรวมเท่านั้น)
ดังนั้นไม่ถือว่าเป็นการทำ Digital Preservation ทั้งหมด (เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำ)

การทำ Digital Preservation ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้
– พื้นที่ของการจัดเก็บข้อมูล (Storage medium)
– คนที่จะมาดูแลการทำ (Staff)
– นโยบายขององค์กร (Policies)
– การวางแผนในการทำ (Planning)

หลักสำคัญของการทำ Digital Preservation คือ
– การเข้าถึง และการใช้งาน (Access and Use)
– เนื้อหาที่จะทำ (Content)
– การออกแบบระบบ (System Design)

(Access) สาเหตุที่คนไม่เข้ามาใช้งานระบบ (ประยุกต์เป็นการใช้งานเว็บไซต์ห้องสมุด)
– ไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการใช้งาน เช่น ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต
– สารสนเทศที่มีไม่เป็นที่ต้องการ หรือ ข้อมูลยังไม่ลึกพอ

(Content) วิธีการเลือกเนื้อหาในการจัดทำ
– คุณต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนในเรื่องเนื้อหา เช่น เนื้อหาอะไร และจะทำอย่างไร
– เนื้อหาที่สถาบันมี หรือสังคมมี
– เนื้อหาที่สนับสนุนการทำงานขององค์กร

(System Design) การออกแบบต้องดูทั้งในเรื่อง Software และ hardware
– Software เช่น ระบบการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval), Metadata
– Hardware ต้องสอดคล้องกับการใช้งาน และต้องมีการปรับปรุงเสมอๆ

กรณีศึกษา National Digital Heritage Archive (NDHA)
ปี 2000 สมาคมห้องสมุดแห่งนิวซีแลนด์ศึกษาและพัฒนากลยุทธ์
ปี 2003 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ปฏิบัติตามแผน
ปี 2004 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ได้รับเงินมาพัฒนา และเริ่มต้นความร่วมมือกับบริษัท Libris
ปี 2005 ออกกลยุทธ์การทำข้อมูลดิจิตอลของนิวซีแลนด์
ปี 2008 ทดสอบ NDHA

??????????????????-

Using Open Source Systems to Develop Local repositories
โดย Assoc.Prof. Diljit Singh

picture-050 picture-0281

แนะนำข้อมูล Asia-Oceania ว่ามีขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทั้งในแง่ภาษา วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ เช่นคำว่า water มีการเรียกที่แต่ต่างกัน ประเทศไทยเรียกว่า น้ำ ประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า มิซุ ฯลฯ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) คือ ความรู้ที่เกิดจากการค้นพบ และสืบทอดกันมาของคนในพื้นที่นั้นๆ อาจจะนำเสนอในรูปแบบ คำพูด บันทึก ประสบการณ์ ฯลฯ

ทำไมภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) จึงสูญหาย
– ไม่มีการทำบันทึกแบบเป็นเรื่องเป็นราว
– เป็นความรู้ที่เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น พอไม่มีคนสืบทอดความรู้ก็สูญหายไป

ห้องสมุดควรมีบทบาทต่อการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) ด้วย เพราะโดยทั่วไป ห้องสมุดก็มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล และเป็นแหล่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

แนวความคิดในการสร้าง Local repositories
– ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา การอ่าน หรือการนำไปใช้
– รูปแบบของข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้ง รูป เสียง ข้อความ วีดีโอ ที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล

ทำไมต้องเลือกใช้ Open Source Systems
– ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และลดต้นทุนการใช้โปรแกรมได้
– การขอใช้งานไม่ต้องผ่านตัวกลาง เราสามารถนำมาใช้ได้ทันที
– มีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามารถปรับแต่ง sourcecode ตามที่เราต้องการได้

Open Source software ที่แนะนำในงานนี้ คือ Dspace, Fedora, Greenstone

??????????????????-

From LIS to ICS, a Curriculum Reform
โดย Assoc.Prof. Chihfeng P. Lin

picture-054 picture-029

หลักสูตรด้านบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหาวิชาใหม่ เพราะว่าการเรียนบรรณารักษ์อย่างเดียวจะทำให้เราตามโลกไม่ทัน

รูปแบบการปรับเปลี่ยนของสาขาวิชา
Library and Information -> Information -> Information Communication

ไอซีทีในด้านห้องสมุด เช่น
– ระบบคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด (Computerizing)
– ระบบอัตโนมัติ (Automation)
– ระบบเครือข่าย (Networking)
– ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
– ระบบข้อมูลดิจิตอล (Digitization)

ใน Information Communication Science ควรเรียนอะไรบ้าง
– Planning and practice of digitization
– Digitized information services and marketing
– Knowledge management
– Stores and management of electronic forms
ฯลฯ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdoms in Thailand
โดย Ms.Naiyana Yamsaka

picture-056 picture-058

ภูมิปัญญาท้องถิ่น = ภูมิปัญญาของชาติ = มรดกทางปัญญาของชาติ

การเก็บรักษาวัสดุทางภูมิปัญญาของชาติในประเทศไทยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น
– อากาศร้อนชื้น
– สัตว์รบกวน เช่น มด มอด แมลงสาบ หนู

หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น
– สำนักโบราณคดี
– พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
– หอสมุดแห่งชาติ
– หอจดหมายเหตุ

การสงวนรักษาหนังสือในหอสมุดแห่งชาติ

การสงวนรักษาเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

แนะนำบริการสืบค้นข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ
– www.net.go.th
– www.narama.go.th

??????????????????-

ทั้งหมดนี้ก็เป็นการสรุปเนื้อหาการบรรยายของวันแรกเท่านั้นนะครับ

ไอเดียการศึกษา 2.0 กับงานห้องสมุด

วันนี้ขอมาแนววิเคราะหืเรื่องเครียดๆ ให้เป็นเรื่องเล่นๆ หน่อยนะครับ
เรื่องมันมีอยู่ว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ อะไรๆ ก็ 2.0 ไปหมดเลยอ่ะ
ไม่ว่าจะเป็น Web 2.0 / Library 2.0 แล้วตอนนี้ก็ยังจะมีการศึกษา 2.0 เข้ามาอีก ตกลงมันเป็นกระแสนิยมใช่หรือปล่าว

education20

ใครที่ยังงงกับ การศึกษา 2.0 ลองเข้าไปอ่านข่าวเรื่อง การศึกษา 2.0 เปิดอบรมครูผ่านแคมฟร็อก
ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 17 สิงหาคม 2550 ดูนะครับ
หรือเอาง่ายเข้าไปดู โครงการการศึกษา 2.0 ของ thaiventure ดูนะครับ

สรุป concept ง่ายคือ การใช้โปรแกรมเพื่อสอนทางไกล และอบรมการใช้โปรแกรม google application
โดยโปรแกรมที่ใช้ในการอบรมทางไกลครั้งนี้ คือ โปรแกรม camfrog นั่นเอง

ซึ่งหากจะพูดถึงโปรแกรม camfrog นี้ หลายคนคงจะคุ้นๆ เหมือนเคยได้ยิน
และถ้าผมบอกว่า โปรแกรม camfrog เป็นโปรแกรมที่เด็กวัยรุ่นมักใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้ากัน
และที่สำคัญมักจะมีแต่ข่าวไม่ดีเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ อย่างล่าสุดก็เพิ่งมีข่าวไม่กี่วันนี้
เรื่อง พ่ออึ้ง!! ลูกช่วยตัวเองหน้าคอมฯ จี้รัฐจัดการ ?โชว์สยิว?

แต่ด้วยข่าวที่ออกมาว่าโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ไม่ดีต่างๆ นานา
ทำให้ภาพที่ออกมาอยู่ในแง่ลบมาตลอด
พอพูดถึงโปรแกรมนี้ ส่วนใหญ่ก็จะพูดว่าไปดูโชว์หรอ
แต่ความเป็นจริงแล้ว โปรแกรมนี้ถูกสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดี คือสามารถใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้าได้
โดยเฉพาะเรื่องการทำเป็น teleconference ยิ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีความสามารถมากทีเดียว

ดังนั้นโครงการการศึกษา 2.0 ที่เลือกโปรแกรมนี้มาถือว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่า
อย่างน้อยโปรแกรมนี้ก็มีประโยชน์ในแง่ของการศึกษาเหมือนกัน

จากแนวคิดดังกล่าว ผมจึงคิดว่า แล้วถ้า ห้องสมุดของเรานำโปรแกรม camfrog มาประยุกต์กับงานบริการบ้างหล่ะ
– บริการตอบคำถามออนไลน์
– ถ่ายทอดสดการประชุมและสัมมนา
– ติดต่อกับเครือข่ายความร่วมมือด้านห้องสมุด

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มันมีประโยชน์แน่นอน

โปรแกรมมีทั้งด้านดีและด้านเสียอยู่ในตัว
ตัวโปรแกรมเองไม่สามารถกำหนดให้ตัวของมันดีหรือไม่ดีไม่ได้
แต่ผู้ใช้เท่านั้นที่เป็นคนกำกับมัน
หากผู้ใช้ใช้ในแง่ที่ดี ก็จะได้ประโยชน์อย่างสูงสุด
และในทางกลับกันหากผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ผิดย่อมส่งผลให้ออกมาในแง่ไม่ดีได้เหมือนกัน

ดังนั้นหากจะนำมาใช้ก็ขอให้ใช้กันอยากระมัดระวังแล้วกันนะครับ ฝากไว้ให้คิดเล่นดู

ติดตามอ่านข้อมูลโครงการนี้ที่ โครงการการศึกษา 2.0 โดย thaiventure

ห้องสมุดประชาชนบางแห่งคนก็เข้าเยอะนะ

เมื่อวานผมเขียนเรื่อง “ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???
ในตอนจบของเรื่องนั้น ผมได้กล่าวไว้ว่า ห้องสมุดประชาชนบางที่ก็มีผู้ใช้บริการเยอะนะ
วันนี้ผมจึงขอมาเล่าเรื่องนี้ให้จบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เพื่อนๆ

lumpinidll0111-copy

ตัวอย่างที่ผมจะยกขึ้นมาเพื่อนๆ บางคนอาจจะเคยได้ใช้บริการ
และผมก็เชื่อว่าบางคนอาจจะไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อเลยก็ว่าได้

เริ่มจากที่แรก ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
สถานที่ตั้งผมคงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าอยู่ใน ?สวนลุมพินี?
สภาพอาคารเป็นแค่อาคารชั้นเดียวเท่านั้น
แต่ภายในมีการจัดพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ อย่างที่ห้องสมุดเขาจัดกันนั่นแหละ

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
– ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ในสวนสาธารณะ
– ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
– มีความทันสมัยด้านการสืบค้นข้อมูล
– บรรณารักษ์อัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม และให้ความช่วยเหลือได้ดี
– การจัดมุมต่างๆ แบ่งแยกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นมุมสืบค้น มุมหนังสือเด็ก มุมบริการคอมพิวเตอร์

เพียงแค่นี้ห้องสมุดแห่งนี้ก็เรียกได้ว่าหัวกระไดไม่แห้งเลย
เพราะว่ามีคนแวะเวียนมาอ่านหนังสือ ทำงาน กันอย่างไม่ขาดสายเลย

ต่อด้วยอีกตัวอย่างนึงแล้วกัน ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
ห้องสมุดแห่งนี้อยู่ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเองครับ
เพื่อนๆ สามารถเดินจากอนุสาวรีย์ไปที่ห้องสมุดแห่งนี้ได้ครับ
ห้องสมุดแห่งนี้ ประกอบด้วย 2 อาคาร อาคารนึงก็มี 3 ชั้นครับ
ภายในมีการจัด และตกแต่งได้ดี และจัดสรรพื้นที่ได้เหมาะสม

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
– สามารถเดินทางมาที่นี่ได้สะดวก (อนุสาวรีย์ชัยมีรถไปเกือบทุกที่ของกรุงเทพฯ)
– มีการตกแต่งสถานที่ และจัดการภายในที่ดี
– ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีครบครัน เช่น อินเทอร์เน็ต, wireless, ระบบสืบค้น ฯลฯ
– มีการจัดกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยครั้ง จึงทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
– หนังสือที่ให้บริการมีความทันสมัย และน่าติดตาม (หนังสือใหม่)
– มีการบริการสื่อที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ดีวีดี, โปรแกรมช่วยสอน ฯลฯ

จากที่ได้ยกตัวอย่างมาทั้งสองห้องสมุด ผมขอ สรุปปัจจัยที่ทำให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ ดังนี้
– อยู่ใกล้แหล่งชุมชน และการเดินทางสะดวก
– มีการจัดระเบียบ และตกแต่งภายในที่ชัดเจน และดึงดูด
– สื่อ หรือทรัพยากรในห้องสมุดมีความใหม่ และทันสมัยอยู่เสมอๆ
– มีการจัดกิจกรรม? หรือนิทรรศการเพื่อให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น
– ผู้ที่ทำงานในห้องสมุด ต้องบริการด้วยใจ และเต็มที่ในการให้บริการ
– เทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุด ก็เป็นอีกปัจจัยนึงในการพัฒนาห้องสมุด
– การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับห้องสมุด เช่น ให้การสนับสนุนห้องสมุด ฯลฯ

จริงๆ ยังมีมากกว่านี้อีกนะครับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ ที่ตั้งของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย
อ๋อแล้วก็พยายาม อย่าพยายามบอกว่า ?เพราะว่าคนไม่ชอบการอ่านครับ?
จริงๆ แล้ว คนอาจจะต้องการอ่านก็ได้ แต่จะสามารถสนับสนุนผู้ใช้เหล่านี้ได้แค่ไหนก็เท่านั้นเองครับ

ก่อนจากกันวันนี้ผมจะ็ขอจบเรื่องห้องสมุดประชาชนในสังคมไทยแต่เพียงเท่านี้
เอาไว้ว่างๆ ผมจะมาบ่นเรื่องนี้ให้เพื่อนฟังกันใหม่นะครับ

ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???

เพื่อนๆ ในแต่ละจังหวัด คงจะเคยสังเกตห้องสมุดประชาชนของจังหวัดตัวเองดูนะครับ
ว่ามีห้องสมุดประชาชนของจังหวัดนั้นๆ มีผู้ใช้บริการ หรือคนเข้ามาในห้องสมุดมากน้อยเพียงใด

public-library

หลายๆ คนอาจจะตอบผมว่า น้อย หรือไม่ก็น้อยมาก (ส่วนใหญ่)

สาเหตุที่คนไม่ค่อยเข้าใช้ห้องสมุดประชาชน เกิดจากอะไรได้บ้าง
– ทรัพยากรสารสนเทศมีน้อย
– บรรยากาศในห้องสมุดไม่ค่อยดี
– ห่างไกลจากชุมชน
– บรรณารักษ์ต้อนรับไม่ดี

ประเด็นต่างๆ ที่ผมกล่าวอาจจะมีส่วนที่ทำให้คนไม่เข้าห้องสมุดนะครับ (แค่อาจจะมีส่วนนะครับ)

บางครั้งถ้าผมไปถามบรรณารักษ์ หรือ คนทำงานห้องสมุดบ้างว่าทำไมไม่มีใครเข้าใช้
ผมก็เชื่อว่าส่วนหนึ่งอาจจะตอบผมว่า
– พฤติกรรมของคนไม่ชอบการอ่าน (คนไทยไม่ชอบอ่าน)
– งบประมาณไม่มีเลยไม่ได้พัฒนาห้องสมุด

โอเคครับ สำหรับคำตอบที่กล่าวมา

จากเสียงของผู้ใช้ จนถึงเสียงของบรรณารักษ์ ผมสรุปได้ง่ายๆ ว่า
เกิดจากห้องสมุดไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวห้องสมุดได้
ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่มีจำนวนน้อย หรือสภาพห้องสมุดที่ไม่มีการปรับปรุง

โอเคครับ นั่นคือปัญหา และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
ด้วยความเป็นจริงที่เลี่ยงไม่ได้ ห้องสมุดประชาชนก็ยังคงต้องประสบปัญหานี้ต่อไป

ผมได้เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ หลายคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อคิดมากมาย เช่น

คุณ PP ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

จำได้ว่าเคยไปหาหนังสือทำรายงานที่ห้องสมุดเทศบาล หนุงสือน้อยกว่าที่โรงเรียนอีก แถมเก่า เดือนก่อนเพิ่งสังเกตุว่ามีห้องสมุด มสธ เปิดอีกแห่งทั้งสภาพ บรรยากาศ พอๆ กัน ถ้ารวมกันได้? คงประหยัดงบได้เยอะ อย่างน้อยก็ไม่ต้องซื้อหนังสือพิมย์ฉบับเดียวกัน ส่วนงบประมาณถ้าทำดีๆ แล้วขอบริจาคคงได้งบมาบ้างละ แต่บริการตอนนี้บอกตรงๆ เห็นแล้วเซ็ง

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

บรรณารักษ์มีส่วนทำให้คนเข้าห้องสมุดได้น้อยเหมือนกันนะ อย่างสมัยเรียนห้องสมุดประชาชนอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก พอเข้าไปใช้ เจ้าหน้าที่นั่งหลับ ทำหน้าทีแค่เปิดปิดห้อง ทำความสะอาดนิดหน่อย หน้าที่หลักคือ เฝ้าห้อง

จากเรื่องด้านบนที่ผมได้เขียนมาก็เป็นเพียงแค่ห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ
ผมก็อยากจะบอกว่า ยังมีห้องสมุดประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่มีผู้ใช้บริการเยอะเช่นกัน
ซึ่งไว้ผมจะขอเล่าให้ฟังในตอนหน้านะครับว่า ห้องสมุดเหล่านั้นทำไมจึงมีผู้ใช้บริการมากมาย

แต่ทั้งหลายทั้งปวลที่เล่านี่ก็ไม่ได้อยากให้ท้อนะครับ
เพียงแต่เรื่องหลายๆ เรื่องเราต้องทำความเข้าใจและช่วยกันปรับปรุงกันต่อไป