10 เหตุผลยอดฮิตของการเป็นบรรณารักษ์

บทความนี้ผมเขียนตั้งแต่ปี 2007 แต่ขอเอามาเขียนใหม่นะครับ
ด้วยเหตุที่ว่า มีเพื่อนหลายคนถามอยู่เสมอว่า “ทำไมถึงอยากเป็นบรรณารักษ์”
ผมก็เลยไปหาคำตอบมาตอบให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่ง 10 เหตุผลดังกล่าวผมว่าก็มีส่วนที่ค่อนข้างจริงนะ

reason-librarian

ปล. 10 เหตุผลยอดนิยมของการบรรณารักษ์ ต้นฉบับเป็นของต่างประเทศ
ดังนั้นอาจจะมีบางส่วนที่เพื่อนๆ อาจจะรับไม่ได้ก็ได้นะครับ ต้องขออภัยล่วงหน้า

ต้นฉบับของเรื่องนี้ ชื่อเรื่องว่า “The Top 10 Reasons to Be a Librarian
ซึ่งเขียนโดย Martha J. Spear

10 เหตุผลยอดฮิตของการเป็นบรรณารักษ์ มีดังนี้
1. Grand purpose – ตั้งใจอยากจะเป็น
2. Cool coworkers – เพื่อนร่วมงานดี
3. Good working conditions – สภาพการทำงานใช้ได้
4. It pays the rent – สามารถยืนด้วยลำแข้งตัวเอง
5. A job with scope – เป็นงานที่มีความหลากหลาย
6. Time off – มีเวลาพักเยอะ
7. Great conferences – มีการจัดงานประชุมได้ดีมาก
8. Useful skills – ใช้ทักษะที่เรียนอย่างเต็มที่
9. Romance – อาชีพที่มีความโรแมนติก
10. Ever-changing and renewing – เป็นอาชีพที่ทำได้นานกว่าอาชีพอื่นๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ มีเหตุผลไหนที่ตรงใจคุณกันบ้าง
อย่างที่ผมบอกไว้แต่แรกหล่ะครับ ว่านี่เป็นเหตุผลของบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
อย่าเพิ่งโต้เถียงนะครับ เพราะว่าบ้านเมืองเขาเป็นอย่างนั้น

วันนี้ผมคงได้แค่แปลให้อ่านนะครับ แล้ววันหลังจะมาเขียนอธิบายทีละข้อเลย
เพราะว่าเท่าที่อ่านดูคร่าวๆ นับว่ามีแง่คิดเยอะเหมือนกันครับ
เช่น ข้อที่ 7 ที่พูดถึงเรื่องการจัดประชุมทางวิชาการของสาขาวิชาชีพนี้ ที่เขาบอกว่าดีที่สุด มันเป็นอย่างไร เอาไว้อ่านคราวหน้านะครับ

นั่นคือเหตุผลของบรรณารักษ์ในต่างประเทศ เอาเป็นว่าทีนี้ในบ้านเรา ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า
“ทำไมเพื่อนๆ ถึงเรียนบรรณารักษ์ หรือทำงานบรรณารักษ์” อิอิ ว่างๆ จะขอสำรวจนะครับ

ปรัชญา Google สู่การให้บริการในห้องสมุด

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อคิดดีๆ ที่ผมได้จากการอ่านหนังสือของ google ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานบริการของห้องสมุด
ตอนแรกผมก็ไม่คิดว่าในหนังสือเล่มนี้จะมีปรัชญาที่ล้ำลึกได้ขนาดนี้ เอาเป็นว่าไปอ่านกันก่อนดีกว่า

book-google

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เจาะตำนาน รวยฟ้าผ่า google
ผู้แต่ง : สุขนิตย์ เทพอนันต์, พงษ์ระพี เตชพาพงษ์
ISBN : 978-974-7048-14-8
จำนวน : 164 หน้า
ราคา : 165 บาท
สำนักพิมพ์ : บริษัท มายด์ คอนเน็กชันส์ จำกัด

เนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท มีดังนี้
บทที่ 1 – ฟ้าส่งยาฮูมาเกิดไฉนส่งกูเกิลมาเกิดด้วยเล่า
บทที่ 2 – เล็กพริกขี้หนู
บทที่ 3 – จะหารายได้หรือจะกินแกลบ
บทที่ 4 – ไม่คลิกไม่ต้อจ่าย
บทที่ 5 – เงามืดโตตามตัว
บทที่ 6 – ถึงเวลาเป็นบริษัทมหาชน
บทที่ 7 – บุกตลาดต่างประเทศ
บทที่ 8 – เกมผูกมิตรแข่งศัตรู
บทที่ 9 – ทำนายอนาคตกูเกิล

หนังสือเล่มนี้เมื่อผมอ่านไปครึ่งเล่มก็เจอกับปรัชญาหนึ่งที่น่าสนใจ
ปรัชญานี้ผู้ก่อตั้งกูเกิล (Larry Page และ Surgrey Brin)ใช้สอนและบอกพนักงานอยู่เสมอ
ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีอยู่หลายข้อนะครับ แต่ผมขอยกตัวอย่างสัก 6 ข้อมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วนำไปลองปฏิบัติกันดูนะครับ

ตัวอย่างปรัชญา
1. คิดถึงผู้ใช้บริการก่อนแล้วอย่างอื่นจะตามมาเอง
(Focus on the user and all else will follow)

2. จะทำอะไรก็ทำให้เก่งไปซักเรื่องหนึ่งจะดีกว่า
(It?s best to do one thing really, really well)

3. เร็วดีกว่าช้า
(Fast is better than slow)

4. ประชาธิปไตยต้องดีที่สุด
(Democracy on the web works)

5. จริงจังได้โดยไม่ต้องใส่สูท
(You can be serious without a suit)

6. ยอดเยี่ยมแล้วยังไม่พอ
(Great just isn?t good enough)

ตัวอย่างการนำไปใช้ในห้องสมุด
1. เวลาบรรณารักษ์ให้บริการ เราต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้มากกว่าความต้องการของเรา

2. งานของบรรณารักษ์ที่ผมเน้นจริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องเก่งตามปรัชญาหรอกครับ
ขอแค่รู้จักและทำงานเป็นก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะเก่งสักเรื่องผมขอเก่งเรื่องการบริการผู้ใช้แล้วกัน

3. ส่วนการบริการที่รวดเร็วย่อมดีกว่าการบริการที่ช้าเพราะอย่าลืมว่าสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันสูง
เราต้องคำนึงถึงผู้ใช้ที่ต้องการความรวดเร็วในการบริการ ไม่ใช่รอแล้วรออีก

4. การเคารพการตัดสินใจของผู้ใช้ในการประเมินห้องสมุดเพื่อปรับปรุงบริการต่างๆ
เราดูเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็อย่าลืมพิจารณาเสียงส่วนน้อยด้วย เพราะบางครั้งเสียงส่วนน้อยอาจจะทำให้เราเกิดบริการแบบใหม่ก็ได้

5. การทำงานผมอยากเน้นว่านอกจากการทำงานด้วยความจริงจังกับหน้าที่ของตนแล้ว
สิ่งที่ผมอยากเสริมคือเรื่องของความจริงใจ โดยเริ่มจากเพื่อนร่วมงาน และผู้ใช้บริการ
หากเรามีทั้งความจริงจังและความจริงใจแล้ว เราจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้นๆ

6. การที่เราได้รับคำชมมากๆ ไม่ได้หมายความว่าเราจะบริการเพียงเท่านี้
แต่เราต้องพัฒนาการบริการให้ผู้ใช้ดีขึ้นไป เพราะว่าคำชมจะอยู่ได้ไม่นานถ้าเราไม่พัฒนางานต่อไป
เช่นปีนี้ห้องสมุดทันสมัยขึ้น พอปีหน้าผู้ใช้บริการมากขึ้นก็เริ่มมีเสียงว่าไม่พอใช้
ดังนั้นเราต้องมีการปรับปรุงและพัฒนางานบริการด้านต่างๆ ให้ดีไปเรื่อยๆ ไม่มีคำว่าพอ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับปรัชญาและข้อคิดดีๆ จาก google
จริงๆ มีอีกหลายข้อนะครับที่น่าสนใจ เอาไว้ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟังใหม่
ยังไงถ้าเพื่อนๆ คิดอะไรได้ดีกว่าแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยนะครับ
เราจะได้ร่วมกันพัฒนาวิชาชีพไปด้วย

ปล. จริงๆ แล้วปรัชญาของ google ก็สามารถประยุกต์ได้ทุกสาขาวิชาชีพนะครับ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน

งานบรรณารักษ์ที่เพื่อนๆ ชอบที่สุด คือ…

งานในห้องสมุดถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน บรรณารักษ์ในแต่ละส่วนก็มีหน้าที่ไม่เหมือนกัน
วันนี้ผมเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่า “หากเพื่อนๆ เลือกทำงานในห้องสมุดได้ เพื่อนๆ จะเลือกงานไหน”

[poll id=”11″]

การตอบแบบสอบถามนี้เป็นเพียงความคิดส่วนบุคคลของแต่ละคนนะครับ
เพราะในความเป็นจริงแล้วผมเชื่อว่าทุกคนก็คงต้องทำงานทุกอย่างที่กล่าวมาอยู่ดี
คงเลือกไม่ได้หรอกครับว่าจะอยู่งานไหน เอาเป็นว่าผมแค่ถามงานที่ชอบในความรู้สึกก็แล้วกัน

library-work

คำอธิบายงานในแต่ละส่วน

1. งานบริหารห้องสมุด
– งานวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ ในห้องสมุด ควบคุมงบประมาณและทำรายงานสถิติต่างๆ

2. งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
– งานจัดซื้อจัดหาทรัพยากรต่างๆ เข้าห้องสมุด

3. งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งาน catalog นี่แหละ ไม่ว่าจะ dewey หรือ LC ก็ตาม

4. งานบริการยืม-คืน
– ให้บริการหน้าเคาน์เตอร์อย่างเดียว ยิงบาร์โค้ตหนังสือยืม และหนังสือคืน

5. งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
– งานจัดการด้านวารสาร นิตยสารต่างๆ เช่น เย็บเล่มวารสาร ทวงวารสารที่ยังไม่ส่ง ฯลฯ

6. งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
– งานที่ให้คำปรึกษา และนั่งตอบคำถามแก่ผู้ใช้บริการ ปัจจุบันอาจจะตอบผ่าน Chat, MSN, Mail ฯลฯ

7. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
– งานดูแลระบบไอทีต่างๆ ในห้องสมุด รวมถึงระบบห้องสมุดอัตโนมัติด้วย

8. งานโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์
– งานให้บริการสื่อมัลติมีเดียต่างๆ เช่น ซีดี วีซีดี ดีวีดี อาจจะรวมถึงห้องมัลติมีเดียด้วย (ถ้ามีในห้องสมุด)

9. อื่นๆ (โปรดระบุ)
งานอื่นๆ ที่อาจจะไม่ระบุถึง ณ ที่นี้ เช่น จัดชั้นหนังสือ ฯลฯ

นิยามของงานไหนที่ไม่ชัดเจนเพื่อนๆ อาจจะตอบ อื่นๆ มานะครับแล้วก้ระบุมาให้ผมด้วยว่างานอะไร

ถ้าเป็นไปได้นอกจากการเลือกที่แบบสอบถามแล้ว ผมขอให้เพื่อนๆ ตอบลงมาใน comment ด้วยนะครับ
โดยรูปแบบในการตอบแบบสอบถามนี้ ผมกำหนดไว้แล้ว มีดังนี้

1. ประเภทของห้องสมุดที่คุณทำงาน (ห้องสมุดโรงเรียน, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, ห้องสมุดเฉพาะ, ห้องสมุดองค์กรอื่นๆ)
2. งานที่คุณทำในห้องสมุด
3. งานที่คุณอยากทำในห้องสมุด พร้อมเหตุผล

——————————————

ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม (คำตอบของผมเอง)

ประเภท : ห้องสมุดประชาชน
งานที่ทำในห้องสมุด : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานที่อยากทำในห้องสมุด : บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
เหตุผล : เพราะว่าการตอบคำถามให้ผู้ใช้บริการจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ทำให้เรามีความกระตือรือร้น
ในการอยากรู้อยากเห็น แสวงหาคำตอบมาตอบผู้ใช้เท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ให้เราด้วยครับ

——————————————

อ๋อสำหรับคนอื่นที่ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ ขอแค่ระบุว่าอยากทำงานด้านไหนในห้องสมุดก็พอแล้วครับ

ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ

รวมรูปภาพสาวสวยในห้องสมุด

วันนี้วันเสาร์ วันหยุดของเพื่อนๆ หลายๆ คน หรือบางคนก็เรียกว่า วันชิวๆ
ผมเลยขอเอารูปภาพสวยๆ มาฝากให้เพื่อนได้ชื่นชมกันหน่อย

cool-librarian

ซึ่งถ้าเป็นรูปธรรมดาก็คงไม่ใช่บล็อกห้องสมุดแน่
ดังนั้นผมจึงขอประมวลภาพสาวๆ ในห้องสมุดสักหน่อยแล้วกัน

วิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ผมได้มาซึ่งภาพบรรณารักษ์สวยๆ ในห้องสมุด ก็คือ
เข้าไปหาภาพใน GOOGLE นั่นเอง (http://images.google.com/imghp?hl=en&tab=wi)

ส่วนการใช้ keyword เพื่อที่จะทำให้ผมได้รูป “บรรณารักษ์สวยๆ ในห้องสมุด” เช่น
– pretty librarian
– sexy librarian
– girl in library
– ฯลฯ

เอาเป็นว่าลองเข้าไปดูกันเองแล้วกันนะครับว่าจะเจอรูปอะไรบ้าง
แต่วันนี้ผมขอนำมาให้เพื่อนๆ ดู สัก 5 รูปแล้วกันนะครับ

librarian-cool1-195x300

รูปแรกมาจาก www.odelizajacoba.com

librarian-cool2-200x300

รูปที่สองมาจาก www.patrickrothfuss.com

librarian-cool3-187x300

รูปที่สามมาจาก www.smh.com.au

librarian-cool4

รูปที่สี่มาจาก www.tanashabitat.com

librarian-cool5-249x300

รูปที่ห้ามาจาก www.pinoyblog.com

เอาเป็นว่าวันนี้วันสบายๆ ก็ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขทุกคนก็แล้วกันนะครับ

ช่วงเทศกาลสอบปลายภาค ณ ห้องสมุด

ช่วงนี้หลายๆ สถาบันการศึกษา(โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย) เริ่มเข้าสู่ฤดูแห่งการสอบปลายภาคแล้ว
วันนี้จะมาขอเล่าเรื่องราวสมัยตอนที่ผมยังคงเป็นนักศึกาาให้เพื่อนๆ ได้ฟังกันนะครับ

exam-library

นโยบายของห้องสมุดในบางที่ ที่พยายามเอื้อให้กับผู้ใช้บริการเพื่อมานั่งอ่านหนังสือใช่วงสอบ
โดยอาจจะมีการขยายช่วงเวลาของการปิดทำการให้ดึกขึ้น หรือบางที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
เอาเป็นว่านี่คือสิ่งที่ดีครับ
อย่างน้อยผมก็คนนึงแหละที่ชอบอ่านหนังสือดึกๆ ในห้องสมุด

บางสถานศึกษาที่นักเรียน นักศึกษาไม่ชอบเข้าห้องสมุด
ช่วงเวลาสอบห้องสมุดนี่จะเงียบเหมือนป่าช้าเลย
จึงทำให้ห้องสมุดเหล่านั้นฉวยโอกาส ในช่วงของเวลาใกล้สอบปิดบริการก่อนกำหนดเวลา
เช่นจากเดิมที่มีการปิดให้บริการ 18.00 แต่ช่วงสอบปิด 16.00

อันนี้น่าเกลียดไปหรือปล่าว ผมคงไม่ต้องพูดนะครับ

ช่วงสอบนี้ผู้ใช้บริการต้องการอะไรจากห้องสมุดบ้างหล่ะ
ผมขอนำเสนอมุมมองในฐานะที่ผมเป็นผู้ใช้บริการห้องสมุดแล้วกันนะครับ

สิ่งที่ผมต้องการจากห้องสมุด
1. ห้องที่สามารถใช้อ่านหนังสือได้ดึกกว่าเดิม (อันนี้หลายๆ ที่ก็ให้บริการดึกขึ้น)
เช่นจากเดิมห้องสมุดปิดบริการเวลา 21.00 น. แต่ในช่วงสอบจะปิดบริการเวลา 23.00 น.

2. ห้องที่ใช้ในการติวหนังสือ ยิ่งช่วงสอบขอบอกเลยว่าคนใช้บริการส่วนนี้เยอะมาก
บางที่ไม่มีการจัดการเรื่องคิว บางที่ไม่จัดการเรื่องเวลา
ผมอยากเสนอไอเดียแบบนี้แล้วกัน(บางที่ดีอยู่แล้วนะครับ) ห้องสมุดจะให้บริการห้องประชุมส่วนตัว
โดยกำหนดจำนวนผู้ใช้ขั้นต่ำ เวลาที่ให้บริการ มีตารางการใช้บอกชัดเจน

3. สามารถยืมหนังสือในช่วงสอบได้
อันนี้หลายๆ ที่ผมไม่ประทับใจเลยเนื่องจากพอช่วงสอบทีไรก็จะประกาศงดยืมทุกชนิด
ส่วนตัวผมเองเข้าใจนะครับว่า จำเป็นที่ต้องทำเช่นนี้
เอาเป็นว่าเสนอเล่นนะครับว่าในช่วงสอบก็ยังยืมได้ตามปรกติ แต่วันที่คืนคือวันสอบเสร็จวันสุดท้ายเท่านั้น

เอาเป็นว่าที่ผมกล่าวมาเป็นเพียงแค่ความต้องการเล็กๆ จากผู้ใช้บริการอย่างผมแล้วกัน
ยังไงบรรณารักษ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานบริหารควรดูเรื่องนโยบายให้มากกว่านี้นะครับ

แล้วยังไงช่วงนี้ฤดูการสอบ สำหรับผู้ใช้บริการที่ต้องสอบเหมือนกันก็ขอให้โชคดีกันทั่วหน้านะครับ

แนะนำห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี

ช่วงนี้ ชีวิตของผมก็วนเวียนอยู่แถวจังหวัดกรุงเทพ เชียงใหม่ แล้วก็อุบลราชธานี
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาวันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีบ้าง

ubon-school-library12

ข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี
ที่อยู่ : เลขที่ 150 ถนนราชบุตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045-245449, 045-245301
เว็บไซต์ : http://www.anubanubon.ac.th

ทำไมผมถึงเลือกที่จะแนะนำที่นี่รู้มั้ยครับ…
สาเหตุหลักๆ คือ ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งมีการปรับปรุงสถานที่ใหม่
ซึ่งต้องขอบอกว่าเป็นที่ฮือฮามากในจังหวัดอุบลราชธานี

การบริการในห้องสมุดแห่งนี้ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1. ห้องสมุดอ่าน (พื้นที่ให้บริการสำหรับอ่านหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆ)
2. ห้องสมุดส่วนนิทรรศการ (พื้นที่มุมศิลป์ มุมผลงานนักเรียน ฯลฯ)
3. ห้องสมุดส่วนเวที (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน)
4. ห้องสมุดอิเลคโทรนิกส์ (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสนอ การค้นคว้าด้วยระบบอินเทอร์เน็ต)
5. ห้องสมุดลานอ่านหนังสือ (พื้นที่ลานศาสลาเกียรติยศ)
6. ห้องสมุดของเล่น (พื้นที่เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน)

ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคาร 7 นะครับ
ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ครับ

พูดถึงเรื่องงบประมาณของห้องสมุด ผมต้องขอชื่นชมสักนิดนะครับ
เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนจำนวน 2 ล้านบาท

มาถึง hilight ที่ผมจะนำเสนอเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้แล้ว นั่นคือ
การตกแต่งด้านในห้องสมุดของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีทำให้ผมนึกถึง TKpark และห้องสมุดซอยพระนางเลย

ไม่เชื่อดูรูปรังผึ้งที่ให้เด็กๆ ปีนขึ้นไปอ่านหนังสือสิครับ มันดูคล้ายๆ TKpark เลย

ubon-school-library02

ส่วนการวางรูปแบบของชั้นหนังสือในห้องสมุดแห่งนี้มีลักษระการวางคล้ายๆ ห้องสมุดซอยพระนางเช่นเดียวกัน

ubon-school-library05

เอาเป็นว่าผมก็ขอชื่มชมบรรณารักษ์ ผู้บริหารโรงเรียน และสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนนี้นะครับ
ที่ช่วยกันร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป

รวมภาพบรรยากาศ “ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี”

[nggallery id=14]

เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง

ปกติเพื่อนๆ คงเคยได้ยินว่าออกกำลังกายเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง
พอมาอ่านบทความเรื่องนี้ของผม เพื่อนๆ จะได้เจอนิยามใหม่ครับ
ว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง” ครับ

use-library-often

ไม่แปลกหรอกครับ ที่จะต้องบอกว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง”
ความแข็งแรงที่ว่านี้ คือ “ปัญญา” “ความรู้” “ความฉลาด” “สมอง”

เนื่องจากถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วเข้าไปอ่านหนังสือมากๆ
เพื่อนๆ จะได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ ให้ความสนใจ เมื่อเพื่อนๆ อ่านก็จะทำให้เข้าใจในสิ่งที่อ่านมากขึ้น
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ สงสัยมานาน พอเพื่อนๆ ได้อ่านก็จะคลายความสงสัยและได้คำตอบเหล่านี้ไป
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ อ่านแค่ผ่านๆ แต่วันนึงอาจจะต้องนำมาใช้ก็ได้นะ

จากภาพโปสเตอร์ที่ผมนำมาให้ดูนี้
ผมว่าเป็นโปสเตอร์ที่เชิญชวนให้คนเข้าห้องสมุดได้สร้างสรรค์มากๆ เลยครับ
(ตอนแรกนึกว่า ป้ายโฆษณาโรงยิม หรือ สถานที่เพาะกาย)

เอาเป็นว่าลองเก็บไอเดียนี้ไปคิดเล่นๆ ดูนะครับ
สำหรับเจ้าของภาพ คือ Originally uploaded by marklarson

อากาศร้อนแบบนี้ไปเข้าห้องสมุดกันดีกว่า

ช่วงนี้อากาศข้างนอกมันร้อนเพื่อนๆ ว่ามั้ย? ขนาดว่าฝนก็ตกนะแต่อากาศก็ยังจะร้อนต่อไป
เฮ้อ!!!! เซ็งอ่ะ แล้วถ้าอากาศร้อนๆ เพื่อนๆ จะทำยังไงให้หายร้อนบ้างหล่ะ

hot-day

ไอเดียเพื่อแก้ร้อนตามแบบฉบับสากล (สากลไหน??????)
– นอนตากแอร์อยู่บ้านสิ เยี่มมากครับแต่เปลืองไฟ
– เปิดพัดลมเยอะๆ เช่นเดียวกันครับเยี่ยมมากแต่เปลืองไฟ
– อาบน้ำบ่อยๆ เออวันนี้ไม่เปลืองไฟครับแต่เปลืองน้ำ
– หาอะไรกินเย็นๆ สิ เช่น ไอติม น้ำแข็งใส ครับโอเคเลยเยี่ยมแต่เปลืองเงิน
– ไปเดินตากแอร์ที่ห้างสรรพสินค้าดีกว่า ไม่เอาอ่ะมันเปลืองเวลา

ซึ่งจะเห็นว่า วิธีที่แก้ร้อนนี้ ช่างเป็นวิธีที่จะทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำที่เพิ่มขึ้น ค่าไฟก็เพิ่มขึ้น ?..

แล้วเพื่อนๆ เป็นเหมือนผมหรือเปล่า
?อากาศร้อนมากๆ จะทำงานไม่ได้ เพราะว่าไม่มีสมาธิทำงาน?
?อากาศร้อนมากๆ จะหงุดหงิด ไม่สามารถทำงานได้อย่างสบายใจ?

วันธรรมดาผมคงไม่ประสบปัญหาเท่าไหร่ เพราะว่าที่ทำงานเปิดแอร์ดังนั้นจึงทำงานได้อย่างปกติ
แต่ในวันเสาร์อาทิตย์จะให้ผมเปิดแอร์ทำงานทั้งวัน ค่าไฟก็คงไม่ต้องพูดถึง คงหมดเงินจำนวนมากแน่ๆ

วิธีการที่จะช่วยให้ผมสามารถทำงานได้ และลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับไฟฟ้า นั่นก็คือ การไปห้องสมุด นั่นเอง

ในช่วงอากาศร้อนๆ แบบนี้ ผมจะเลือกห้องสมุดที่มีลักษณะดังนี้
1. ห้องสมุดที่โปร่ง โล่ง สบาย (ติดแอร์ก็ดี แต่ถ้าไม่ติดแอร์ก็ขอแบบว่าอากาศถ่ายเทสะดวก)
2. ห้องสมุดที่มีบริการอินเทอร์เน็ตทั้งแบบไร้สาย และเครื่องให้บริการ
3. ห้องสมุดที่มีหนังสือที่เกี่ยวกับการทำงานของผม
4. ห้องสมุดที่มีเวลาปิด และเวลาเปิดเหมาะสม เช่น ปิดสักสองทุ่ม สามทุ่มได้มั้ย
5. ห้องสมุดที่มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

จริงๆ แล้วอยากได้อีกหลายอย่างนะ แต่ถ้าให้บรรยายทั้งหมดคงไม่ไหวอ่ะ
เพราะว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของความต้องการแบบพื้นฐานของคนที่ทำงานแล้ว

ซึ่งการหนีอากาศร้อนๆ แล้วมาเข้าห้องสมุด ผมว่ามันดีหลายอย่างนะครับ เช่น
– ไม่ต้องเปลืองค่าน้ำ ค่าไฟ มากขึ้น
– ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการแสวงหาความรู้
– สร้างนิสัยการเข้าใช้ห้องสมุดในรูปแบบใหม่ (เข้ามาทำงาน + อ่านหนังสือ)

เอาเป็นว่าวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ผมแนะนำสำหรับในช่วงอากาศร้อนๆ แบบนี้ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ คนไหนมีไอเดียอะไรก็เชิญเสนอมาได้เลยนะครับ

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด ณ ห้องสมุดโรงเรียนเทพวิทยา

วันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของโรงเรียนเทพวิทยา (ราชบุรี)
ซึ่งบทความนี้ได้รับเกียรติจากคุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์ของโรงเรียนเทพวิทยามาช่วยเขียน

libraryweek

รายละเอียดทั่วไปของการจัดกิจกรรมครั้งนี้
ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด
วันที่จัดงาน : วันที่? 24-28 สิงหาคม? 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุด โรงเรียนเทพวิทยา


วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้

1. เพื่อให้ครูและนักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่านและการค้นคว้ามากขึ้น
2. เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนเห็นความสำคัญของห้องสมุด
3. เพื่อให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้และความบันเทิง
4. เพื่อให้บรรณารักษ์และผู้ใช้บริการมีทัศนคติที่ดีต่อกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ผมชอบในข้อที่ 4 มากๆ เลยครับ
เพราะการจัดงานห้องสมุดในแต่ละครั้ง
จริงๆ แล้ว พวกเราชาวบรรณารักษ์ก็หวังว่าผู้ใช้บริการหองสมุดจะมีทัศนคติที่ดี
และตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดที่มีอยู่บ้างก้เท่านั้น

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายเลยครับ
(ลองอ่านดู เผื่อจะได้ไอเดียแจ๋วๆ เพื่อนำไปใช้กับห้องสมุดของคุณได้)

– นิทรรศการ ?หนังสือดี? 6 เรื่อง? ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน?
– การประกวดเล่านิทานประกอบท่าทาง
– การประกวดวาดภาพ? หัวข้อ? ห้องสมุดของฉัน
– การประกวดคำขวัญ? หัวข้อ? ทศวรรษแห่งการอ่าน
– การประกวดสุดยอดหนอนหนังสือ
– การประกวด? Mr. and Miss Newspaper
– การประกวดหนังสือเก่าหายาก
– กิจกรรมบิงโกหนังสือ
– กิจกรรมอ่าน ดี ดี มีรางวัล
– กิจกรรมสำนวนชวนคิด
– การจำหน่ายหนังสือดี? ราคาถูก

นี่ถ้าไม่บอกว่าห้องสมุดโรงเรียน ผมคงนึกว่าเป็นห้องสมุดระดับใหญ่เลยนะครับ
มีกิจกรรมเยอะแบบนี้ ผมคงต้องขอคารวะเลยนะครับ
กิจกรรมแต่ละกิจกรรมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

ok-school

โดยเฉพาะ Mr. and Miss Newspaper ตอนแรกผมก็งงๆ ว่าคืออะไร
แต่พอลองดูรูปแล้วเริ่มเข้าใจเลยครับ ว่าเป็นการนำหนังสือพิมพ์มาตกแต่งเป็นเครื่องแต่งกายนั่นเอง
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงได้ไอเดียจากห้องสมุดแห่งนี้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์จากโรงเรียนเทพวิทยามากๆ
ที่แนะนำกิจกรรมนี้มาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และเปิดไอเดียใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุด

สำหรับรูปถ้าเพื่อนๆ อยากดูทั้งหมดให้เข้าไปดูได้ที่ http://www.thepvittaya.net/photo03/09sep52/Library/index.htm

บ้านน่ารักสไตล์บรรณารักษ์

วันนี้ขอเน้นเรื่องการจัดการบ้านของพวกเราชาวบรรณารักษ์กันบ้างนะครับ
เอาง่ายๆ การจัดห้องสมุดแหละ แต่ผมขอตั้งชื่อเรื่องนี้ให้น่ารักๆ สักหน่อย
เพราะว่าห้องสมุดก็คือบ้านหลังที่สองของบรรณารักษ์นั่นเอง เพื่อนๆ ว่าม่ะ

home

การจัดห้องสมุดในมุมมองใหม่ๆ เราต้องมองมุมมองในองค์ประกอบต่างๆ ของห้องสมุด เช่น

– นโยบายของห้องสมุดด้านต่างๆ เช่น นโยบายการเปิด-ปิดทำการ นโยบายการยืม นโยบายการคืน
พูดง่ายๆ งานด้านการบริหารของห้องสมุดต้องมีกรบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมงานต่างๆ ทั้งหมด

– สถานที่ที่ให้บริการ ตัวสถานที่ของห้องสมุดเองว่ามีการจัดสรรพื้นที่อย่างไร ตั้งอยู่ในจุดที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
บรรยากาศโดยทั่วไปเหมาะแก่การอ่านหนังสือและใช้บริการ

– บุคลากรที่มีจิตใจที่ดีต่อการบริการ คอยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้
ด้วยปรัชญาที่เรียกว่า ?SERVICE MIND?

– ทรัพยากรสารสนเทศตอบสนองผู้ใช้บริการโดยอิงกับนโยบายและเอกลักษณ์ของห้องสมุดนั่นๆ
เช่นห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ควรจะตอบสนองสาขาวิชาและคณะต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วย

– เทคโนโลยีต่างๆ ภายในห้องสมุด ด้วยสาเหตุที่ว่าห้องสมุดไม่สามารถมีทุกอย่างตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ
การที่เราจัดบริการทางเทคโนโลยีสรสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ตก็จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อีกทาง
นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้เอื้อต่อการทำงานของบรรณารักษ์จะทำให้บรรณารักษ์สามารถทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น

– กิจกรรมและบริการต่างๆ ภายในห้องสมุด ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ผู้ใช้เกิดความเบื่อหน่าย
อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการใช้บริการของผู้ใช้ด้วย

จากทุกๆ ข้อที่กล่าวมา การที่เราจะจัดห้องสมุดแบบนี้ได้
ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายนะครับ แต่ในความเป็นจริงการจัดการต่างๆ ย่อมมีอุปสรรคและข้อจำกัด
เช่น ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ / สถานที่เล็กเกินไป / งบประมาณมีจำกัด / และอีกหลายๆ สาเหตุ

แต่ปัญหาเหล่านี้ขอให้บรรณารักษ์อย่าได้ท้อ
เราต้องค่อยๆ แก้ทีละเรื่อง ไม่ใช่ให้เปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้ในครั้งเดียว
การปรับแนวคิดของคนค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องค่อยๆ ปรับกันไป สู้ๆ นะครับ