ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ @กาดสวนแก้ว

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่มีสาขาอยู่บนห้างสรรพสินค้าด้วยนะ
ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ เป็นห้างที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ซะด้วย นั่นคือ “เซ็นทรัล กาดสวนแก้ว”

cm-kadsuankaew01

วันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ มาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนที่อยู่บนห้างกัน
ดูสิว่าจะมีบริการที่สามารถตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการกันได้หรือปล่าว

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว
ที่อยู่ : ชั้น 2 ห้างสรรพสินค้าเซ้นทรัล กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

ผมได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมห้องสมุดแห่งนี้ในเวลากลางวัน
โดยพอถึงบริเวณหน้าห้องสมุดก็จะพบกับป้ายแนะนำห้องสมุดว่า

“กาดสวนแก้ว Living Library ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่”

พื้นที่ด้านหน้าห้องสมุดจะเป็นพื้นที่ขายกาแฟ และเครื่องดื่มต่างๆ
พอเดินเข้าไปนิดนึงก็จะพบกับบริเวณที่ให้บริการของห้องสมุด
ถึงแม้ว่าพื้นที่อาจจะมีขนาดเล็ก แต่ผมเชื่อว่าก็ให้บริการได้ค่อนข้างครอบคลุมบริการต่างๆ ของห้องสมุดเลย

ซึ่งผมขอสรุปบริการต่างๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ ว่าประกอบด้วย
– บริการที่นั่งอ่านหนังสือ
– บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
– บริการตอบคำถามและช่วยการสืบค้น


นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ด้วย
เช่น
– การสอนวาดภาพ และระบายสี
– การเล่านิทาน
– การประกวดคำขวัญ

หนังสือที่ให้บริการในห้องสมุดแห่งนี้ ส่วนหนึ่งจะเน้นไปทางหนังสือเด็ก
และหนังสืออีกส่วนหนึ่งจะถูกหมุนเวียนจากห้องสมุดประชาชนหลัก

ซึ่งที่นี่มีหนังสือที่น่าสนใจ และหนังสือใหม่เวียนกันมาให้อ่านกันเต็มที่

แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ไม่ได้ให้บริการยืมคืน
ทางบรรณารักษ์จะแนะนำว่าถ้าต้องการหนังสือเล่มไหน
ให้ผู้ใช้ติดต่อกับห้องสมุดประชาชนสาขาหลักเพื่อการยืมคืนจะดีกว่านะครับ

(ห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักก็อยู่บริเวณที่ไม่ไกลจากที่นี่สักเท่าไหร่หรอกครับ
สามารถที่จะเดินข้ามถนน และเข้ามาใช้บริการห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักได้)

เอาเป็นว่าก็ถือว่าเป็นไอเดียนึงที่ห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่ น่าจะเลียนแบบดู
เผื่อว่าผู้ใช้บริการจะได้ประทับใจต่อการบริการของห้องสมุดมากยิ่งขึ้นนะครับ

รวมภาพบรรยากาศ “กาดสวนแก้ว Living Library”

[nggallery id=12]

เมื่อผมแอบมาเขียนบล็อกในห้องสมุดแห่งหนึ่ง

วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจากการเขียนบล็อกที่บ้านมาเป็นเขียนบล็อกที่ห้องสมุดดีกว่า
ผมจึงได้ตัดสินใจกลับมาเยี่ยมห้องสมุดเก่าที่ผมเคยทำงานมา และกะว่าจะเขียนบล็อกที่นี่

my-library

ผมจึงเริ่มด้วยการเปิด notebook ของผมเพื่อเตรียมที่จะเขียนบล็อกให้ได้สักเรื่องนึง
หลังจากที่เปิด notebook มาเกือบสองชั่วโมง ผมก็ยังหาเรื่องที่จะเขียนบล็อกไม่ได้

ความรู้สึกง่วงของผมก็เกิดขึ้น

จริงสิ สมัยที่ผมทำงานอยู่ที่นี่ ปกติมันไม่ได้เงียบเหมือนกับตอนนี้นี่
เอ๊ะ ทำไม ห้องสมุดนี้เปลี่ยนไปขนาดนั้นเลยเหรอ
จากห้องสมุดที่มีแต่เสียงดัง บัดนี้กลายเป็นห้องสมุดแห่งความเงียบ

บรรยากาศที่ช่างเป็นใจ
– เงียบ
– อากาศเย็น
– กลิ่นไอหนังสือ

ทำให้ผมรู้สึกง่วงนอนได้ขนาดนี้จริงๆ หรือเนี้ย ไม่อยากจะเชื่อ
ผมจำได้ว่าช่วงก่อนหน้านี้ที่ผมเขียนบล็อกเกี่ยวกับอาการง่วงในห้องสมุดของเพื่อนๆ หลายๆ คน
ตอนแรกผมก็ไม่ค่อยเชื่อมากหรอกครับ แต่พอโดนกับตัวเอง เชื่อเต็มที่เลย

แม้ว่าขณะที่ผมทำงานจะกินกาแฟไปด้วย เปิดคอมพิวเตอร์ไปด้วย
แต่ทำไมกาแฟถึงไม่ช่วยให้ความง่วงหายไปเลย?

แล้วแบบนี้ สิ่งจูงใจที่ทำให้เพื่อนๆ หลายๆ คนที่ไม่หลับในห้องสมุดมันมีอะไรบ้างนะ
– ผู้คนมากมาย (ยิ่งสาวสวยๆ อาจจะทำให้ไม่อยากหลับ)
– เสียงเพลง (แล้วแบบนี้จะมีสมาธิอ่านมั้ย)
– สีสันภายในห้องสมุด (จะทำให้เป็นห้องสมุดลูกกวาดหรือปล่าว)

คิดๆ แล้วก็เป็นสิ่งที่น่าท้าทายไม่น้อยเลยนะครับ
ถ้าผมอยากจะสร้าง ?ห้องสมุดที่ไม่ทำให้ผู้ใช้ง่วงนอน?

เอาเป็นว่าใครมีไอเดียเจ๋งๆ ก็ช่วยกันเสนอหน่อยนะครับ
เผื่ออนาคตผมอยากเปิดห้องสมุดเอง จะได้นำเอาแนวคิดของเพื่อนๆ ไปใช้กัน

สรุปรายชื่อ ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551

วันนี้ผมขอเอาเรื่องเก่าจากสมาคมห้องสมุดมาโพสให้อ่านกันนะครับ นั่นก็คือ
เรื่อง การประกาศรายชื่อผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด และการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ 2551

librarian

ถ้าหากเพื่อนๆ เข้าไปที่เว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดฯ จะเห็นว่า
ข่าวนี้ทางสมาคมได้นำเสนอเป็นไฟล์ .jpg ให้อ่านกัน

เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ภาพดูได้ที่
http://tla.or.th/document/good1.jpg
http://tla.or.th/document/good2.jpg
http://tla.or.th/document/good3.jpg
http://tla.or.th/document/good4.jpg

แต่สำหรับใครที่ไม่ชอบอ่านไฟล์ .jpg เหมือนอย่างผม
ก็ลองอ่านข้อมูลด้านล่างนี้ได้ เนื่องจากผมนำมาเขียนใหม่เป็น text แบบสรุปให้นะครับ

รายชื่อของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551 มีดังนี้

– นายทวีศักดิ์ เดชเดโช (ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว)
ผลงานเด่น : ให้การสนับสนุนห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี และห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง
สนับสนุนการจัดสร้างห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่จำนวน 8 แห่ง นอกจากนี้ยังผลักดันโครงการบ้านหนังสือ

– เทศบาลนครพิษณุโลก
จัดสรรงบประมาณในการสร้างหอสมุดเทศบาลนครพิษณุโลกแห่งใหม่
ให้มีบรรยากาศที่ทันสมัย และทำให้ห้องสมุดมีภาพลักษณ์ใหม่

– เทศบาลเมืองพัทลุง
บริจาคเงินให้ กศน. เพื่อใช้ในการสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนหลังใหม่
เพื่อให้บริการการเรียนรู้ รวมถึงเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชน และจังหวัดพัทลุง

– บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด
จัดทำโครงการแหล่งการเรียนรู้ และให้การสนับสนุนในการสร้างห้องสมุดโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
ในเขตจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี จำนวน 10 โรงเรียน

– ศาสตราจารย์ คลินิก นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร (อธิการบดีมหาวิทยามหิดล)
สนับสนุนในเรื่องการปรับปรุงอาคารหอสมุดศิริราช การจัดสร้างคลังหนังสือศิริราช
รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารคลังหนังสือ
และผลักดันจนหอสมุดศิริราช ได้รับรางวัลหน่วยงานดีเด่นในเรื่อง Quality Fair 2551

– รศ. ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ให้การสนับสนุนการพัฒนาห้องสมุด และสถานภาพของครูบรรณารักษ์
โดยให้ความสำคัญเรื่องการยกระดับสถานภาพครูบรรณารักษ์โรงเรียน

– นางสาวเพ็ญจรัส สิงห์ทอง (ผู้อำนวยการโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์)
เป็นผู้บริหารที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
ดำเนินการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อสร้างห้องสมุดโรงเรียนที่สมบูรณ์ และทันสมัย

– รองศาสตราจารย์ วุฒิชัย กปิลกาญจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
จัดสรรงบประมาณให้กับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อใช้ในการพัฒนาห้องสมุดในส่วนต่างๆ เช่น การเปิดบริการห้องสมุดตลอดคืนในช่วงสอบ
หรือ โครงการบริการยืมคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับใช้งานภายในห้องสมุด

– ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)
สนับสนุนเงินในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา
และพัฒนาองค์ความรู้สำหรับห้องสมุดชุมชนต้นแบบบนพื้นฐานคุณธรรม

– สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ
สนับสนุนเงินทุนในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนในชนบท
และบริการจัดสร้างอาคารห้องสมุดสำหรับโรงเรียนในชุมชนต่างๆ

– ศาตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ให้การสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุด สัญญา ธรรมศักดิ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อให้เป็นห้องสมุดกฎหมายที่ทันสมัย และสมบูรณ์แบบ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อและข้อมูลของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551
ซึ่งสรุปว่ามีทั้งหมดจำนวน 5 หน่วยงาน และ 6 ท่าน

ผมก็ขอเป็นตัวแทนของคนที่อยากเห็นห้องสมุดเมืองไทยพัฒนา
ก็ขอขอบคุณแทนบรรณารักษ์ และห้องสมุดต่างๆ ด้วยนะครับ
ที่ท่านและหน่วยงานให้การสนับสนุนสิ่งดีๆ เพื่อสังคมไทย

New Avatar in Yahoo : Mr Librarian

นานๆ ทีผมจะเข้าไปแก้ avatar ใน Yahoo (http://avatars.yahoo.com/)
เพื่อให้เพื่อนๆ ดูรูปผมแล้วและเข้าใจว่าเป็นบรรณารักษ์เลยต้องปรับรูปอะไรนิดหน่อย อิอิ

librarian-man-avatar

อธิบายรูปเดิม
ในรูปเดิมของผมบ่งบอกความเป็นอะไรที่เรียบง่ายและสบายๆ
ยืนอยู่บนท้องถนน ใส่เสื้อลายดอกสีส้ม กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะ

อธิบายรูปใหม่
ในรูปใหม่ผมได้เปลี่ยนฉากสถานที่ด้านหลังให้กลายเป็นห้องสมุด
สวมเสื้อยืดแขนยาว กางเกงขายาว และรองเท้าผ้าใบ รวมไปถึงการถือหนังสืออยู่ในมือด้วย

จริงๆ แล้วเพื่อนหลายๆ คนก็อาจจะบอกว่าไม่เหมือนบรรณารักษ์ก็เหอะ
แต่ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยรูปนี้ของผมก็มีกลิ่นไอของความเป็นห้องสมุดอยู่
เอาเป็นว่า ผมจะใช้รูปนี้อ่ะ ใครจะทำไม อิอิ

ไหนๆ ก็เขียนถึงการเปลี่ยน Avatar แล้ว
งั้นผมขอแนะนำ http://avatars.yahoo.com/ หน่อยดีกว่า
เพราะว่าผมรู้สึกว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างตัวตนของเราได้ง่ายดี เช่น
– Appearance (รูปร่าง, หน้าตา, ทรงผม, สีผิว)
– Apparel (การแต่งกาย, เสื้อผ้า)
– Extras (เครื่องแต่งกายอื่นๆ, หมวก, หน้ากาก, รวมถึงอุปกรณ์เสริม)
– Background (ฉากหลัง, พื้นหลัง)
– Branded (พื้นหลังแบบพิเศษตามงานเทศกาลสำคัญๆ)

นอกจากนี้พอเราแต่งตัว และกำหนดรูปแบบความเป็นตัวตนเสร็จ
เรายังสามารถกำหนดอารมณ์ของ avatar เราได้ด้วยนะ เช่น
– ร่าเริง สนุก ดีใจ
– เซ็งๆ เหงาๆ
– โกรธ โมโห
– หน้าตลก ขี้เก็ก

my-avatar

เป็นไงบ้างครับกับรูปของผมในอารมณ์ที่ต่างกัน

เอาเป็นว่าผมก็ชอบเข้ามาแต่งตัวในเว็บนี้บ่อยๆ เหมือนกัน
เหมือนเล่นเกมส์แต่งตัวเลยอ่ะครับ อิอิ

เพียงแต่คนที่จะเข้ามาแต่งตัวแบบนี้ได้ ต้องมี account ของ yahoo นะครับ
และเมื่อเพื่อนๆ แต่งตัวเสร็จแล้ว avatar เหล่านี้ จะใช้แทนตัวคุณในบริการต่างๆ ของ Yahoo นั่นเอง

เอาเป็นว่าผมก็ขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
ลองแต่งตัวกันดูแล้วส่งมาให้ผมดูบ้างหล่ะ อิอิ

10 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับห้องสมุดของคุณ

วันนี้ขอเขียนบทความที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการห้องสมุดบ้าง
เรื่องที่จะบอกต่อไปนี้ จะใช้วัดความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้ทุกๆ คน

library Read more

บอกเล่าเก้าสิบ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้”

วันนี้ผมขอแนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” นะครับ
เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ผมทำงานอยู่ด้วยก็เลยอยากให้เพื่อนๆ รู้ และเข้าใจว่าผมกำลังทำอะไร

knowledge-center

ก่อนที่จะเล่าเรื่องของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ให้ฟัง ผมอาจจะต้องเกริ่นข้อมูลทั่วๆ ไปก่อนนะครับว่า

สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 หลายๆ คงได้เรียกสถานการณ์นี้ว่า ?เศรษฐกิจเผาจริง?
จำนวนคนตกงานกว่า 2 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่ กว่า 7 แสนคนไม่มีงานทำ
ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวคนก็จะกลับสู่ต่างจังหวัดบ้านเกิด

อ่านมาแล้วเพื่อนๆ คงจะงง ว่า มันเกี่ยวอะไรกับ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ใช่มั้ยครับ
ผมก็เลยต้องขอตอบว่า “เกี่ยวสิครับ” เพราะว่าบทบาทของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ

กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยการเสนอ และสนับสนุนองค์ความรู้ที่คัดสรรตามความจำเป็น
และความต้องการของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่บนแนวความคิด “เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative economy)”

แล้วเพื่อนๆ ลองคิดต่อนะครับว่า เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีคุณภาพ ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ (คนมีงานทำ)
พอคนมีงานทำก็จะเกิดการจับจ่ายเพื่อการบริโภค และทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ไม่หดตัว

โดยสโลแกนของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ที่ผมชอบมากๆ ก็คือ
?เพราะความรู้ ใช้ทำมาหากินได้?

ต่อมาเรามาดูบทบาท ประโยชน์ และสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในห้องสมุดดีกว่าครับ

บทบาทหลักของโครงการศูนย์ความรู้กินได้

เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ และให้บริการองค์ความรู้ตามความต้องการของหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และภาระกิจของหน่วยงานต่างๆ

เป็นส่วน ?เติม? มุมมองใหม่ๆ ผ่านทางการจัดนิทรรศการ สัมมนา สร้างต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรู้ และปัญญาผลิตวิธีการ และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อหลุดพ้นจากบริบท หรือกรอบแนวความคิดแบบเดิมๆ

รวบรวมข้อมูล + องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากหลายๆ หน่วยงานหลากหลายพื้นที่มาบริหารจัดการให้เกิดการรับรู้ได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ความรู้ได้ถูกนำไปใช้ + ต่อยอดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เชื่อมโยงออกไปจากระดับจังหวัดไปสู่ระดับประเทศ

ประโยชน์ของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพได้ในต้นทุนที่ต่ำ
2. การบริหารจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพของศูนย์ควมรู้กินได้ เป็นการแบ่งเบภาระของผู้ประกอบการในการดูแลบุคลากรท้องถิ่น
3. หน่วยงานในพื้นที่ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่จำเป็นและหลากหลายมากขึ้น

จากสิ่งที่ผมเกริ่น บทบาทของโครงการฯ สโลแกนของโครงการฯ ประโยชน์ของโครงการฯ
เพื่อนๆ คงเกิดคำถามว่า แล้วโครงการนี้ต้องทำอย่างไร ผมก็ขอกล่าวต่อเลยนะครับ

แนวทางในการปฏิบัติของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. นำเสนอเนื้อหา และรูปแบบความรู้ที่จำเป็นตามความต้องการของพื้นที่
2. สร้างภาพลักษณ์ให้กับอาคารห้องสมุดประชาชนในรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ ในการบริการความรู้ตามที่ได้รับการศึกษาวิจัย
3. เปลี่ยนบทบาทของบรรณารักษ์ให้กลายเป็นผู้ที่ให้บริการความรู้ได้ทุกรูปแบบ
4. นำเสนอนิทรรศการ ?ทำมาหากิน(ได้)? เพื่อแสดงตัวอย่างของความคิด วิธีทำ อุปสรรค และการแก้ปัญหา
5. จัดอบรมสัมมนาเพื่อ ?ทำมาหากิน?
6. ถอดบทเรียน ?ทำมาหากิน? เพื่อเปลี่ยน Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge

นี่คือข้อมูลทั่วไปของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้
หวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจในจุดประสงค์ และหลักการของโครงการนี้มากขึ้นนะครับ

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับ Library 2.0

ช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า Library2.0 หรือ ห้องสมุด 2.0 บ่อยขึ้นนะครับ
แล้วเพื่อนๆ อยากหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้อ่านบ้างมั้ย วันนี้ผมมีเล่มนึงมาแนะนำครับ

librarybook Read more

บรรณารักษ์ขาดแคลนขั้นวิกฤติ จริงๆ หรือนี่

จากข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2552 หน้า 8

librarian1

ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่อง “บรรณารักษ์ขาดแคลนขั้นวิกฤติ” ผมจึงขอวิเคราะห์ดังนี้

เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวได้จากการคลิกรูปด้านล่างนี้นะครับ

newspaper

ประเด็นที่พอจะสรุปได้จากการอ่านข่าว คือ
– เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนบรรณารักษ์ เพราะขาดความก้าวหน้า
– คนเรียนบรรณารักษ์น้อย แต่ตลาดมีต้องการสูง
– ห้องสมุดที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบรรณารักษ์ คือ ห้องสมุดประชาชน
– ห้องสมุดต้องนำคนวิชาชีพอื่นมาทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์

จากการสรุปประเด็นต่างๆ ของผม ทำให้ผมต้องเอามาวิพากษ์ดังนี้

– เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนบรรณารักษ์ เพราะขาดความก้าวหน้า
คนส่วนใหญ่คิดว่าเรียนบรรณารักษ์แล้วขาดความก้าวหน้า
จริงๆ แล้วอาจจะเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเสมอนะครับ
เพราะว่าการที่คนเราจะก้าวหน้าในอาชีพนั้น ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลไม่ใช่ขึ้นอยู่กับอาชีพนะครับ
หลายๆ คนเอาแต่โทษว่าอาชีพว่าทำให้เราไม่ก้าวหน้า
แต่แท้จริงแล้วเราพิสูจน์ให้คนอื่นได้เห็นหรือปล่าวหล่ะครับ
อ๋อ ลืมบอกอีกอย่าง การก้าวหน้าในอาชีพไม่ใช่ว่าจะขึ้นอยู่กับว่า ซีอะไรนะครับ
แต่มันขึ้นอยู่กับการยอมรับในสังคมมากกว่าต่างหากหล่ะครับ

– คนเรียนบรรณารักษ์น้อย แต่ตลาดมีต้องการสูง
ประเด็นเรื่องคนเรียนบรรณารักษ์น้อย อันนี้คงต้องศึกษากันจริงๆ นะครับ
เพราะหลักสูตรของบรรณารักษ์ที่มีในประเทศไทย
หลายๆ มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนหลักสูตรนะครับ
เช่น การจัดการสารสนเทศ หรือสารสนเทศศาสตร์
ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีกลิ่นไอเป็นบรรณารักษ์อยู่นั่นแหละครับ
รวมถึงราชภัฎหลายๆ แห่งยังคงมีหลักสูตรบรรณารักษ์อยู่
เรื่องจำนวนอาจจะน้อยไปถ้าเทียบกับคนในประเทศ

วิธีแก้ง่ายๆ คือ การสนับสนุนหลักสูตรนี้ให้มีความทันสมัยและน่าเรียนให้มากกว่านี้
ปรับปรุงหลักสูตรบรรณารักษ์ให้เข้ากับโลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีทางเลือกในการประกอบอาชีพ
แค่นี้ก็จะเพิ่มจำนวนนักศึกษาในหลักสูตรบรรณารักษ์ได้แล้วครับ

– ห้องสมุดที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบรรณารักษ์ คือ ห้องสมุดประชาชน
อันนี้ผมว่าต้องศึกษากันใหม่อีกทีนะครับ เพราะเท่าที่รู้มาผมก็เห็นว่ามีคนสอบเต็มทุกพื้นที่นะครับ
และที่เพิ่งผ่านมาก็มีบรรณารักษ์ที่ต้องรอเรียกคิวมากมาย รอจนต้องไปทำอาชีพอื่น
อันนี้ผมเลยงงว่า ตกลงเรื่องราวมันเป็นยังไง

– ห้องสมุดต้องนำคนวิชาชีพอื่นมาทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์
ส่วนข้อนี้ผมคงไม่วิจารณ์นะครับ เพราะว่าบางคนที่ผมคุยด้วยเขาไม่ได้จบบรรณารักษ์
แต่มีจิตใจที่อยากเป็นบรรณารักษ์จริงๆ และพยายามที่จะเรียนรู้มัน
ผมว่าเราก็ควรให้โอกาสกับคนที่อยากเป็นบรรณารักษ์มากๆ บ้างนะครับ
อาจจะมีการจัดหลักสูตรอบรม หรือ แนะนำการเป็นบรรณารักษ์แบบเร่งรัดให้เขาก็ได้

เอางี้ถามตรงๆ ดีกว่า ว่า
?คนที่ไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ และพยายามเรียนรู้งานบรรณารักษ์? กับ
?คนที่จบบรรณารักษ์ แต่ไม่ได้อยากเป็นบรรณารักษ์ และทำงานไปวันๆ? คุณจะเลือกใคร

นอกจากการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าวโดยผมแล้ว มีเพื่อนอีกหลายๆ คนแสดงความคิดเห็น เช่น

คุณบรรณารักษ์นอกระบบ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“ห้องสมุดประชาชนนั้นขาดแตลนบรรณารักษ์จริงครับ ในแต่ละจังหวัดจะมีลูกจ้างชั่วคราวอยู่มากในตำแหน่งบรรณารักษ์ซึ่งทางกศน.ก็ ได้ทำการเปิดสอบไปไม่นานนี้และได้ประกาศผลแล้วตามที่ทุกท่านคงทราบข่าวกัน แต่?ไม่พอหรอกครับ ผมบอกได้เลยเพราะว่าสอบผ่านกัน 282 คน แต่ขาดแคลนมากกว่านี้ครับ 282 คนนี้เรียกบรรจุครบทุกคนแน่ครับ(แต่ใครสละสิทธิ์ก็อีกเรื่องนะครับ) ต่างกันแค่ระยะเวลาแต่ภายใน 2 ปีนี้หมดแน่ครับ แล้วที่บอกว่าเรียนบรรณารักษ์แล้วไม่ก้าวหน้านั้น ขอบอกว่าป่าวเลยครับ เป็นบรรณารักษ์แล้วถ้าขึ้นไปถึงขั้น บรรณารักษ์ 7 ว. เมื่อไหร่ก็โอนไปเป็นข้าราชการครูได้นี่ครับ หรือจะไปเรียนโทเพื่อสอบเป็นผอ.ศูนย์อำเภอ หรือรองผอ.ศูนย์จังหวัดก็ได้ครับ จังหวัดผมรองผอ.ศูนย์จังหวัดมาจากบรรณารักษ์ครับ แล้วจะบอกว่าไม่ก้าวหน้าหรือครับ แล้วพอมีใครสอบได้หรือโอนได้ ตำแหน่งบรรณารักษ์นั้นก็จะว่าง รอคนรุ่นใหม่ไปบรรจุต่อไปไงครับ วันนี้ขออนุญาตกล่าวแค่นี้ก่อนนะครับ หากมีข้อสงสัยประการใดผมจะมาคลายข้อสงสัยอีกครั้งนะครับ”

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“เรื่องของการบรรจุ ที่เคยเห็นและสัมผัสมาในเรื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน บางแห่งว่าจ้างแต่ลูกจ้าง เวลาทางศูนย์สอบถามมาก็บอกว่าไม่ขาดแคลน เนื่องจากการจ้างลูกจ้างกับบรรณารักษ์ อัตราค่าจ้างต่างกัน แล้วลูกจ้างที่ว่าก็เป็นญาติพี่น้องของบรรณารักษ์ที่มีอยู่ก่อนบ้าง เด็กฝากจากท่านผู้ใหญ่ในท้องที่บ้าง แล้วอย่างนี้จะให้มีตำแหน่งว่าได้ยังไง ไม่เข้าใจจริง ๆ เคยไปสอบแล้วต้องเสียความรู้สึกมาก ๆ เมื่อมีคนบอกว่าให้ดูรายชี่อนี้ให้ดี ๆ เพราะนี่คือคนที่จะได้ทำงานที่นี่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าห้องสอบเลยด้วยซ้ำ แล้วผลก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ทุกวันนี้เลยไม่คิดจะสอบราชการเลย ทำงานในส่วนของเอกชน ให้รู้ไปว่าจะไม่มีงานทำ เหนื่อยแล้วท้อใจกับระบบนี้จริง ๆ (ระบบเครือญาติ) หลาย ๆ คนอาจจะเถียงว่าไม่จริง แต่ขอโทษมันเกิดขึ้นแล้วค่ะ”

คุณ Nantamalin ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
ถามว่าทำไมถึงขาดแคลนบรรณารักษ์ ตอบเลยว่าเพราะตอนนี้โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เด็กรุ่นใหม่ไม่เข้าใจว่าบรรณารักษ์หมายถึงอะไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสำคัญอย่างไร เดี๋ยวนี้ไม่รู้อะไรก็หาจาก Internet สังคมมันเปลี่ยนเป็นยุค 2.0 หมดแล้ว บรรณารักษ์เปลี่ยนรูปแบบเป็นนักสารสนเทศหมดแล้ว ความสำคัญในการวิเคราะห์หนังสือก็เปลี่ยนมาเป็นวิเคราะห์เนื้อหาของ web แทน บริการตอบคำถามก็เปลี่ยนเป็น e-service แทน สังคมทำให้คำว่าบรรณารักษ์เปลี่ยน หลักสูตรก็สอนให้คนที่เรียนคิดอย่างคนรุ่นใหม่ไม่เจาะลึกเนื้อหา จับแบบผิวเผิน คิดแค่ว่าจับข้อมูลมารวมกันให้เยอะ แล้วเอาลง web ก็เสร็จแล้ว ลืมไปแล้วว่าหัวใจ และจิตวิญญาณของบรรณารักษ์อยู่ที่ไหน แล้วอย่างนี้จะโทษใครคงไม่ได้ เพราะสังคมเปลี่ยนไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเป็นเรื่องธรรมดา แต่วันนี้วิชาบรรณารักษ์จะกลับมาเมื่อยุคดิจิตอลล่มสลาย เพราะมีสูงสุดย่อมมีต่ำสุด?มันก้เป็นเช่นนั้นเอง”

คุณ yayaing ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“โดยส่วนตัวแล้ว?เคยทำงานที่ห้องสมุดประชาชนเหมือนกันค่ะ..ตำแหน่ง บรรณารักษ์อัตราจ้าง ทำสัญญาปีต่อปีกัน?ทำอยู่ประมาณ 2 ปีครึ่งน่ะคะ..หมดสัญญาจ้างแล้วก้อไม่ได้ต่ออีก..ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ มหาวิทยาลัย แต่ก้อไม่ได้ทำงานกับห้องสมุดหรอกนะคะ..แต่ตอนนี้มาทำงานทางด้านวารสาร.. ซึ่งเหมือนก่อนนี้ตอนที่เรียนนะคะ..จำได้ว่ามีเรียนวิชาเกี่ยวกับการพิมพ์ แล้วอาจารย์พาไปดูงานตามโรงพิมพ์..ยังเคยคิดเล่นๆ ว่าไม่เกี่ยวกับเราตรงไหน..แต่พอมาทำงานจริงๆๆ..กลับเกี่ยวกับเราเต็มๆ เลย ยังดีที่เก็บเอกสารที่เรียนไว้อยู่น่ะคะ?ก้ออยากจะเข้ามาบอกว่าทุกวิชาที่ เราได้เรียนน่ะ?บางวิชาอาจจะคิดว่าไม่เกี่ยวกับเรา แต่จริงๆ แล้วอาจจะมีประโยชน์ก้อได้นะคะ?ส่วนเรื่องที่ว่าการขาดแคลนบรรณารักษ์..คิด ว่าตามราชภัฏต่างๆ ก้อมีคนที่เรียนบรรณารักษ์เยอะนะคะ..แต่เมื่อเรียนจบ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มาทำงานที่ตัวเองเรียนหรอกค่ะ บางคนหางานไม่ได้..หรือบางคนก้อคือไม่ชอบงานห้องสมุดไปเลยก้อมี..แต่อยากจะ ให้กำลังใจสำหรับผู้ที่หางานทุกคนนะคะ (โดยเฉพาะผู้ที่เรียนจบบรรณารักษ์น่ะคะ) ตัวเองเคยมีประสบการณ์มาก่อน?.ไม่อยากให้คนอื่นต้องเป็นเหมือนตัวเองน่ะคะ”

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายๆ คนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ
ผมก็ต้องขอขอบคุณทุกคนที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ เข้ามาด้วยเช่นกัน

สรุปแล้วเรื่องที่ผมนำมาวิจารณ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะจริง หรือ เท็จแค่ไหน
ผมก็อยากจะบอกและพูดกับทุกคน ว่า

?ถึงแม้ว่าอาชีพบรรณารักษ์จะเป็นอาชีพที่คนในสังคมไทยไม่เคยให้ความสำคัญ
แต่ขอให้จำเอาไว้ว่าเราเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างความสำคัญให้สังคมไทย
ทุกอาชีพ ทุกคน ต้องเคยผ่านสถานที่ที่เราทำงาน (ห้องสมุด)?

ขอบคุณครับที่ทนอ่านบล็อกยาวๆ ครั้งนี้

Consortium of iSchools Asia Pacific (CiSAP)

วันนี้ทางเอไอทีฝากข่าวมาให้ผมประชาสัมพันธ์
ซึ่งผมได้อ่านรายละเอียดแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมากจึงต้องขอบอกต่อ

ait Read more

แวะมาดูศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ ใน ม.พายัพ

วันก่อนได้เล่าเรื่อง “ดูงานที่หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ” ไปแล้ว
วันนี้ผมขอนำเสนอผลของการไปเยี่ยม ม.พายัพ อีกสักหน่อยแล้วกัน
ซึ่งหน่วยงานที่ผมได้ไปชมก็คือ “ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดห้องสมุดนั่นเอง

ntic-payap Read more