คุณอยากให้ห้องสมุดเงียบหรือปล่าว

ต่างคน ต่างความคิด เกี่ยวกับเรื่องความเงียบสงบในห้องสมุด
บางคนอยากให้ห้องสมุดเงียบ บางคนอยากให้ห้องสมุดมีเสียงเพลงเบาๆ

quiet

เอาเป็นว่าวันนี้ผมเลยตั้ง poll เรื่องนี้มาถามเพื่อนๆ ดูแล้วกัน

กรุณาตอบแบบสอบถามก่อนอ่านเรื่องด้านล่างนะครับ อิอิ

[poll id=”7″]

เจตนารมณ์ของห้องสมุดแน่นอนครับว่าเป็นที่อ่านหนังสือ
แต่กฎของห้องสมุดเรื่องที่ว่าห้องสมุดต้องเงียบอันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นกฎข้อบังคับเลยหรือเปล่า

แต่ที่รู้ๆ คือห้องสมุดควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศในการอ่าน
แต่ความเงียบนี่เป็นคำตอบของการสร้างบรรยากาศหรือปล่าว อันนี้คงต้องถามเพื่อนๆ ดูนะ

ห้องสมุดบางที่บอกว่าการสร้างบรรยากาศในการอ่านหนังสือ คือ
– การทำให้สถานที่นั้นๆ เงียบ จะได้อ่านอย่างมีสมาธิ
– การมีเพลง หรือดนตรีคลอเบาๆ จะช่วยให้การอ่านหนังสือดีขึ้น
– การเปิดโอกาสให้คนคุยกันในห้องสมุด ปรึกษากันในห้องสมุด จะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้

แล้วตกลงห้องสมุดควรจะเงียบ หรือ มีเสียงเพลง หรือ เปิดโอกาสให้คุยกันดีหล่ะครับ

สำหรับผมขอแนะนำว่าห้องสมุดควรจัดพื้นที่ให้รองรับบรรยากาศการอ่านหลายๆ รูปแบบนะครับ
เช่น พื้นที่ด้านล่างเปิดเพลงคลอเบาๆ พื้นช่วยในการอ่าน พื้นที่ด้านบนเป็นพื้นที่อ่านแบบเงียบๆ
นอกจากนี้ยังต้องจัดห้องสำหรับอ่านเป็นกลุ่ม และเปิดโอกาสให้พูดคุยกันได้

แค่นี้ห้องสมุดก็มีบรรยากาสสำหรับการอ่านครบทุกรูปแบบแล้วครับ

พาชมห้องสมุดสวนหนังสือเจริญกรุง

ห้องสมุดแห่งหนึ่งที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จัก คือ “สวนหนังสือเจริญกรุง”
จุดประสงค์การก่อตั้ง และการบริการในห้องสมุดแห่งนี้ ดึงดูดให้ผมต้องไปเยี่ยมชม

bookgarden1

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดแห่งนี้
สถานที่ : สวนหนังสือเจริญกรุง
ที่อยู่ : 2074/17-18 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2688-2883
เว็บไซต์ : http://www.thaibookgarden.org

สวนหนังสือเจริญกรุง เป็นห้องสมุดที่ให้บริการแก่คนในชุมชน
ก่อตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านพุทธทาส
ด้วยความคิดริเริ่มของ คุณพิชัย ตั้งสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พริสแอนด์พีช จำกัด
ซึ่งได้ระดมบุคคล และองค์กรที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด มาร่วมกันก่อตั้งห้องสมุดเพื่อชุมชน

รายชื่อคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด สวนหนังสือเจริญกรุง ประจำปี 2551
1.? พระมหาหนึ่งฤทัย นิพพโย? วัดราชสิงขร
2.? คุณพิชัย ตั้งสิน?????????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
3.? คุณปริศนา ตั้งสิน??????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
4.? คุณลัดดา วิวัฒน์สุระเวช??? สถาบันสันติประชาธรรม
5.? คุณยาซิน มันตะพงศ์??????? สนง.คุมประพฤติฯ พระนครใต้
6.? จ.ส.ต.นวพล งามคงคา???? สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร
7.? คุณอุดมลักษณ์ จันทร์มา?? ชุมชนสวนหลวง
8.? คุณกิตติ ลิมปกาญจน์เวช? ชุมชนศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
9.? คุณอรสา มัศยมาส????????? ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เขตบางคอแหลม
10. คุณอนุสรณ์ องอาจ??????? โรงเรียนศาสนศึกษาบางอุทิศ
11. คุณไพศาล สมานพงษ์???? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
12. คุณกุลวรางขค์ ฤทธิเดช? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด

ความร่วมมือของบุคคลต่างๆ เช่น
อาคารสถานที่ ได้รับการสนับสนุนจาก คุณพิชัย ตั้งสิน
ค่าใช้จ่ายบุคคลากรในการดำเนินงาน ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พริส แอนด์ พีช จำกัด
ค่าหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้อุปถัมภ์ระดับต่างๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ได้รับการบริจาค จากบุคคลต่างๆ ในชุมชน

ความร่วมมือกันก่อนตั้งห้องสมุดของคนในชุมชน นำมาซึ่งการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้วย

ห้องสมุดแห่งนี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะงานเสวนาซึ่งมีจัดทุกเดือน เช่น
– การดำเนินชีวิต…เข็มทิศสุขภาพ
– หนังสือเดซี อ่านด้วยตาให้ด้วยใจ
– เรื่องของเด็ก…ไม่เล็กอย่างที่คิด
– อ่านเอาเรื่อง…เขียนเอาความ เคล็ดไม่ลับในการอ่านหนังสือ
– ย้อนอดีตภาพยนต์ไทย..กับหอภาพยนต์แห่งชาติ

งานกิจกรรมที่ผมยกมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ

ห้องสมุดแห่งนี้การบริการต่างๆ ก็มีเหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปนะครับ
อาจจะขาดเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไปบ้าง แต่หนังสือที่นี่มีให้เลือกอ่านพอสมควรเลย

bookgarden3 bookgarden4

การสมัครสมาชิกของที่นี่ ผมชอบมากเลยครับ เพราะว่าไม่ต้องเสียเงินสมัครสมาชิกหรอกนะครับ
เพียงแค่เพื่อนๆ มาใช้บริการที่นี่แล้วเซ็นต์ชื่อไว้
เมื่อครบ 6 ครั้งเพื่อนๆ ก็จะสามารถทำบัตรและยืมหนังสือได้ตามปกติ

บรรยากาศภายในห้องสมุดก็ตกแต่งด้วยสีสันที่สะดุดตา น่าใช้บริการ
ในอาคารแบ่งออกเป็นสองชั้น เลือกนั่งได้ตามสบายเลยครับ

bookgarden7 bookgarden6

ห้องสมุดที่ผมนำมาแนะนำวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งให้สังคมได้คิด
แม้ว่าบริษัทเอกชนทุกที่จะต้องการผลกำไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่ละเลยคือการให้สิ่งดีๆ กับสังคม

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ดีกว่า ถ้าอยากรู้ว่าห้องสมุดนี้เป็นยังไง
ผมว่าเพื่อนๆ ลองมาสักครั้งนะครับ แล้วจะเข้าใจมากกว่านี้

สำหรับใครที่อยากมาที่นี่ก็ไม่ยากครับ ทำได้ดังนี้
รถไฟฟ้า : ลงที่สถานีสะพานตากสิน แล้วต่อด้วยรถประจำทาง
รถประจำทาง : สายรถประจำทางที่ผ่านคือ 1, 15, 75, 163, 544, ปอ.22, ปอ.504, ปอ.547
เรือด่วนเจ้าพระยา : ขึ้นเรือที่ท่าวัดราชสิงขร, ท่าเรือวัดจรรยาวาส

ภาพด้านบนเป็นภาพจากในเว็บไซต์ของสวนหนังสือเจริญกรุงนะครับ ด้านล่างนี้เป็นรูปที่ผมถ่าย

รวมภาพบรรยากาศในสวนหนังสือเจริญกรุง

[nggallery id=7]

ฝึกงาน 2 : ฝึกงานห้องสมุดเฉพาะ

จากเมื่อวานที่ผมแนะนำให้ไปฝึกงานห้องสมุดทั่วไป
วันนี้ผมขอแนะนำการฝึกงานในห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ ห้องสมุดเฉพาะ

training-library2

กล่าวคือ นอกจากน้องๆ จะได้ฝึกในวิชาทางด้านบรรณารักษ์แล้ว
น้องๆ จะได้รู้จักการใช้ศาสตร์ความรู้เฉพาะทางในห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม การฝึกงานในห้องสมุดแบบปกติ
จะทำให้ผมเข้าใจการทำงานในลักษณะของห้องสมุดทั่วไป
แต่ผมเริ่มรู้สึกว่าอยากได้อะไรที่มากกว่าการฝึกงานในห้องสมุดทั่วไปอีก

คำแนะนำของอาจารย์หลายๆ คนจึงบอกกับผมว่า
ลองไปดูพวกห้องสมุดเฉพาะทางดีมั้ย เผื่อว่าจะได้พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ อีกรูปแบบนึง

นั่นจึงเป็นที่มาของการแนะนำการฝึกงานในสถานที่แบบนี้

สถานที่สำหรับฝึกงานที่ผมจะแนะนำ
คือ :-
1. ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
2. ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ
3. ห้องสมุดมารวย
4. ห้องสมุดเพื่อการออกแบบ (TCDC)
5. ห้องสมุดแฟชั่น


ความรู้ทางด้านห้องสมุด + ความรู้เฉพาะทาง
เช่น
ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่น
ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ห้องสมุดมารวย = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านการเงิน และการลงทุน

การฝึกงานในรูปแบบนี้ เหมาะสำคัญคนที่ชอบงานห้องสมุดในรูปแบบของการประยุกต์ใช้
เพราะการทำงานห้องสมุดเฉพาะเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในความรู้เฉพาะด้านด้วย
และก็ต้องให้บริการผู้ใช้ในรูปแบบของผู้เชียวชาญองค์ความรู้ด้านนั้นๆ ด้วย

เอาเป็นว่าการฝึกงานในรูปแบบนี้ผมก็แนะนำให้ไปฝึกงานเช่นกัน

ฝึกงาน 1 : ฝึกงานในห้องสมุด

เมื่อวานผมได้แนะนำการฝึกงานแบบกว้างๆ ของนักศึกษาเอกบรรณฯ ไปแล้วนะครับ
วันนี้ผมจะขอเสนอเรื่องการฝึกงานแบบตรงสายงาน (ฝึกงานในห้องสมุดเต็มรูปแบบ)

training-library1

จากที่ผมเคยบอกเกี่ยวกับการฝึกงานในประเภทนี้ ว่า:-
1. เด็กเอกบรรณฯ ทุกคน จะต้องเคยผ่านการฝึกงานที่ห้องสมุดสถาบันการศึกษาของตัวเอง
2. เป็นการฝึกงานในรูปแบบที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการจะเป็นบรรณารักษ์แบบจริงๆ
3. เป็นการฝึกงานในรูปแบบที่เหมาะสำหรับคนที่อาจเป็นบรรณารักษ์ในวงการราชการ หรือสถานศึกษา
4. เป็นการฝึกงานที่เน้นการฝึกงานทุกส่วนในห้องสมุด

นี่ก็เป็นเพียงคุณสมบัติแบบคร่าวๆ ของการฝึกงานประเภทนี้

สถานที่สำหรับฝึกงานที่ผมจะแนะนำ คือ :-
1. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (เลือกได้มากมายในประเทศ)
2. ห้องสมุดของหน่วยงานราชการ
3. ห้องสมุดประชาชน
4. หอสมุดแห่งชาติ

สิ่งที่น้องๆ จะได้ฝึกจากสถานที่ดังกล่าวนี้
เช่น
– งานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ
– งานทำตัวเล่มทรัพยากรสารสนเทศ เช่น ประทับตรา, ติดสัน, ห่อปก ฯลฯ
– งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
– งานบริการต่างๆ ในห้องสมุด เช่น ยืมคืน สมัครสมาชิก
– งานอื่นๆ ที่มีในห้องสมุด

โดยรวมการฝึกงานในลักษณะนี้ น้องๆ จะได้รับการฝึกงานในสายงานบรรณารักษ์ครบทุกรูปแบบเลย
ซึ่งผมว่าถ้าน้องๆ อยากทำงานในสายงานของห้องสมุด หรือบรรณารักษ์
การฝึกงานในลักษณะนี้จะช่วยให้น้องๆ เข้าใจงานห้องสมุดมากขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นการปูพื้นฐานความรู้ด้านห้องสมุดสำหรับอนาคตเลยก็ว่าได้

ยังไงก็ลองเอาไปคิดดูนะครับ แต่ผมก็แอบเชียร์ให้น้องๆ เลือกสายนี้เหมือนกัน อิอิ

แนะนำนักศึกษาบรรณารักษ์เรื่องฝึกงาน

ช่วงนี้ใกล้เปิดเทอมใหม่ก็จริง แต่ก็มีนักศึกษาหลายคนฝากคำถามให้ผมมากมาย
คำถามที่ว่า นั่นคือ “นักศึกษาเอกบรรณารักษ์ควรฝึกงานที่ไหนดี ช่วยแนะนำหน่อย”

training-library

ในฐานะที่ผมเป็นรุ่นพี่เอกบรรณารักษ์ (คงไม่เกิน 7 ปีหล่ะมั้ง)
วันนี้ผมก็เลยขอเขียนเรื่องนี้เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกที่ฝึกงานให้น้องๆ นะครับ

ก่อนอื่น ผมขอแนะนำประเภทของการฝึกงานบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ หลายๆ คนรู้จักกันก่อนดีกว่า
ซึ่งตามความคิดของผม และจากประสบการณ์ ผมขอแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
1. ฝึกตรงสายงานห้องสมุดแบบเต็มรูปแบบ
2. ฝึกในลักษณะทางด้านวิชาเฉพาะทาง + ห้องสมุด
3. ฝึกงานในแบบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ แต่ไม่ใช่ห้องสมุด
4. ฝึกงานแบบเอาวิธีทำงาน ไม่มีความเป็นห้องสมุดเลย และไม่เกี่ยวกับที่เรียน

การฝึกงานในแต่ละแบบมีข้อแตกต่างกันในด้านรายละเอียด
รวมถึงใช้ในการตัดสินใจเรื่องการเลือกสถานที่ฝึกงานด้วย

ทีนี้เรา ลองมาดูกันทีละแบบเลยดีกว่าครับ

1. ฝึกตรงสายงานห้องสมุดแบบเต็มรูปแบบ

นั่นหมายถึง การฝึกงานในแบบที่ต้องใช้ความรู้ และความสามารถทางด้านบรรณารักษ์เต็มรูปแบบเลย
โดยทั่วไปคนที่เรียนเอกบรรณารักษศาสตร์จะต้องเจอการฝึกงานแบบนี้อยู่แล้ว
นั่นก็คือ ?ห้องสมุดของสถาบันตัวเอง? เป็นด่านแรก
และหากคิกจะเอาดีทางบรรณารักษ์และอยากได้พื้นฐานแบบแน่นๆ


ผมขอแนะนำว่า ให้เลือกห้องสมุดประเภทสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
เช่น ธรรมศาสตร์, เกษตรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์, ศิลปากร ฯลฯ

2. ฝึกในลักษณะทางด้านวิชาเฉพาะทาง + ห้องสมุด
นั่นหมายถึง การฝึกงานในห้องสมุดเฉพาะทางนั่นแหละครับ
นอกจากความรู้ทางด้านบรรณารักษ์แล้ว สิ่งที่จะได้เพิ่มจากการฝึกงานคือ
ความรู้เฉพาะทางอีกด้วย สำหรับคนที่มีพื้นฐานแบบแข็งแกร่งแล้ว
อยากลองอะไรแบบแปลกๆ และรักการเรียนรู้ ผมว่าเลือกฝึกแบบนี้ก็ดีนะครับ

ผมขอแนะนำตัวอย่างห้องสมุดเฉพาะทางที่น่าสนใจ
เช่น ห้องสมุดญี่ปุ่น ห้องสมุดมารวย ห้องสมุดการออกแบบ ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ ฯลฯ


3. ฝึกงานในแบบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ แต่ไม่ใช่ห้องสมุด

นั่นหมายถึง เป็นการฝึกที่ไม่ได้อยู่ในห้องสมุดนะครับ อาจจะเป็นศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูลต่างๆ
โดยทั่วไปจะเน้นในรูปแบบองค์กรเอกชน บริษัทเว็บไซต์ บริษัทสื่อ สำนักพิมพ์ต่างๆ
ซึ่งความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดอาจจะไม่ได้ใช้ แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้ คืองานทางด้านสารสนเทศนั่นเอง
และอย่างน้อยก็ทำให้ลบภาพเอกบรรณฯ ได้ว่า ?บรรณารักษ์พอจบก็ต้องทำห้องสมุด? ได้อีก


ผมขอแนะนำตัวอย่างศูนย์ข้อมูล และสถานที่ฝึกงานที่น่าสนใจ
เช่น ศูนย์ข้อมูลทางการเกษตร มติชน เนชั่น เว็บไซต์ต่างๆ ฯลฯ

4. ฝึกงานแบบเอาวิธีทำงาน ไม่มีความเป็นห้องสมุดเลย และไม่เกี่ยวกับที่เรียน
นั่นหมายถึง การฝึกงานในแบบที่ไม่ต้องใช้ความรู้ที่เรียนเลย
เพียงแต่ต้องการฝึกแค่เข้าไปเรียนรู้วิธีการทำงาน รู้จักกฎระเบียบองค์กร
หรือทำความคุ้นเคยกับการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ
ถ้าจะให้ผมแนะนำ ผมจะขอเน้นให้หาที่ฝึกงานในลักษณะที่เป็นองค์กรของต่างประเทศ
เพราะเมื่อคุณที่ฝึกงานในองค์กรต่างชาติคุณจะรู้ว่า องค์กรมีระเบียบและแนวทางปฏิบัติแบบสุดๆ
น่าท้าทายดีครับ องค์กรในแบบของไทยผมก็ไม่ได้ห้ามแต่ควรเลือกดีๆ ครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเกริ่นเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
แล้ววันหลังผมจะแนะนำการฝึกงานในแต่ละรูปแบบอย่างละเอียดต่อไป

การสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บสื่อ

คำถามนี้เป็นคำถามที่เพื่อนๆ ส่งมาให้ผมช่วยตอบเมื่อหลายเดือนก่อน
จริงๆ แล้วผมก็ตอบคำถามนี้ไปแล้วนะครับ
แต่วันนี้ผมขอนำเหตุการณ์นี้มาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันหน่อยดีกว่า

medialibrary

กรณีศึกษา : ขอคำแนะนำในการสร้างและจัดการห้องสมุดเพื่อเก็บสื่อมัลติมีเดีย
เกริ่นนำ : บริษัทผลิตสื่อโทรทัศน์มีความประสงค์ที่จะสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บเทปถ่ายทำรายการ (footage)
คำถาม 1 : ควรจัดการกับระบบเทปอย่างไร
คำถาม 2 : มีระบบงานห้องสมุดหรือโปรแกรมใดที่มารองรับมั้ย หรือ มีตัวอย่างการวางระบบมั้ย

จากโจทย์ที่ได้รับมาจะสังเกตได้ชัดว่า ห้องสมุดที่ต้องการสร้างเป็นห้องสมุดที่มีลักษณะเฉพาะ
นั่นคือ ห้องสมุดต้องเป็นสถานที่ที่ใช้จัดเก็บสื่อมีเดียต่างๆ
หากดูเรื่องสื่อที่มีการจัดเก็บ นั่นคือ เทปบันทึกภาพ วีดีดี ดีวีดี ฯลฯ

แนวทางในการตอบโจทย์เรื่องนี้
คำถาม 1 : ควรจัดการกับระบบเทปอย่างไร
คำตอบ 1 : การจัดเก็บสื่อตามที่โจทย์ให้มาอาจจะแยกได้ 2 กรณี นั่นคือ

1.1 หากสื่อมีเดีย (เทปที่ถ่ายทำรายการ) มีความหลากหลายทางด้านเนื้อหา

ผมก็ขอเสนอแนวทางในการจัดเก็บสื่อมีเดียแบบตามหลักสากล เช่น
จัดตามหมวดหมู่ดิวอี้, จัดตามหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน(LC)
เพราะจะช่วยให้เนื้อหาและหมวดหมู่ของสื่อมีเดียกระจายเป็นส่วนๆ ง่ายต่อการค้นหา

1.2 หากสื่อมีเดีย (เทปที่ถ่ายทำรายการ) มีเนื้อหาในแนวเดียวกัน

เช่น เทปถ่ายทำรายการอาหาร, เทปถ่ายทำรายการบันเทิง ฯลฯ
บรรณารักษ์อาจจะต้องมีการสร้างระบบการจัดการขึ้นมาเอง เช่น เรียงตามอักษร, เรียงตามวันถ่ายทำ
แล้วนำรายการเหล่านี้มาเขียนข้อมูลลงสมุดทะเบียนเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา

แต่ทั้งนี้การจัดหมวดหมู่ไม่ว่าจะจัดแบบไหนก็ตาม
เราจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการสืบค้นของผู้ใช้ด้วย
การจัดเก็บในช่วงเริ่มต้น บรรณารักษ์ควรทำคู่มือการจัดเก็บควบคู่ไปด้วย
เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลสำหรับอนาคตต่อไป

คำถาม 2 : มีระบบงานห้องสมุดหรือโปรแกรมใดที่มารองรับมั้ย หรือ มีตัวอย่างการวางระบบมั้ย

คำตอบ 2 : โปรแกรมห้องสมุดทุกโปรแกรมสามารถรองรับกับการจัดการข้อมูลเหล่านี้ได้อยู่แล้ว
การเลือกโปรแกรมห้องสมุดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ งบประมาณ ฐานข้อมูลที่ใช้ ฯลฯ

ถ้าต้องการระบบจัดเก็บสื่อมีเดียที่ไม่ใหญ่มาก หรือ ไม่ซับซ้อนมาก
ก็เลือกโปรแกรมห้องสมุดแบบเล็กๆ ก็ได้ครับ หรือไม่ก็เขียนเองเลยใช้ Access ก็ได้

ถ้าต้องการระบบจัดเก็บสื่อมีเดียที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย
ก็อาจจะเลือกระบบห้องสมุดแบบกลางๆ ก็ได้

ในกรณีที่จำนวนสื่อมีไม่มาก และรองรับการทำงานในระดับปกติ
ผมขอแนะนำ โปรแกรม Library2000 น่าะเหมาะสมที่สุดครับ
เพราะราคาไม่แพง แถมเป็นโปรแกรมคนไทยด้วย

library2000

หากสนใจลองเข้าไปดูที่ http://www.library2000.net/ ครับ
ราคาแบบ lite verson เพียงแค่ 500 บาทเอง

สำหรับคำถามทั้งสองข้อ ผมก็ตอบได้ประมาณนี้นะครับ

ผมขอเสริมอีกสักเรื่องนะครับ เกี่ยวกับเรื่องสถานที่ที่ใช้ในการจัดเก็บสื่อมีเดีย
เรื่องนี้ผมว่าก็สำคัญไม่แพ้กับการจัดระบบหรือโปรแกรมในการจัดเก็บเลย
เพราะหากระบบจัดเก็บดี และโปรแกรมดี แต่สถานที่ใช้ไม่ได้ สื่อมีเดียก็อาจจะเสื่อมมูลค่าได้ครับ

สถานที่ที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บสื่อควรจะ
– มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น
– อุณหภูมิต้องไม่ร้อนจนเกินไป เพราะสื่ออาจจะเสียหายได้

และอื่นๆ อีกมากมาย

เอาเป็นว่ากรณีศึกษาวันนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะได้ไอเดียเล็กๆ น้อยๆ ไปประยุกต์ใช้กันนะครับ

ปล. คำตอบและความคิดเห็นของผม อาจจะไม่ตรงใจกับอีกหลายๆ คนก็ได้นะครับ
ดังนั้นเพื่อให้คำตอบสมบูรณ์ ผมจึงอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยครับ

ห้องสมุดทำอะไรได้บ้างบน Facebook

หลังจากที่ผมลองเล่น Facebook มาได้ระยะหนึ่ง
ผมก็ได้พบกับห้องสมุดต่างๆ มากมายที่สมัครใช้งาน Facebook เช่นกัน

libraryinfacebook

วันนี้ผมเลยขออนุญาตพาเพื่อนๆ เข้าไปดูห้องสมุดต่างๆ เหล่านี้หน่อย
ว่าเขาใช้ Facebook ทำอะไรบ้าง

แต่ก่อนอื่นผมขอแอดห้องสมุดเหล่านี้ไว้เป็นเพื่อนผมก่อนนะครับ
เมื่อแอดห้องสมุดเหล่านี้เสร็จ ผมก็เริ่มเข้าไปดูทีละส่วนของห้องสมุดเลยครับ

ส่วนแรกที่ผมได้พบ คือ ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย
– ชื่อห้องสมุด
– ที่อยู่
– แฟนคลับของห้องสมุด
– ข้อความทักทายผู้ใช้งาน
– รูปภาพของห้องสมุด
– วีดีโอแนะนำห้องสมุด

facebook

เดิมทีผมคิดว่าห้องสมุดใน Facebook จะสามารถทำได้เพียงเท่านี้
แต่ความเป็นจริงแล้วห้องสมุดยังสามารถใช้ Facebook ทำอย่างอื่นได้อีก

ฟีเจอร์เสริมที่ห้องสมุดนำมาใช้
– แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมายที่ห้องสมุดแนะนำ โดยใช้ RSS Feed
– จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ห้องสมุดอื่นๆ หรือบล็อกห้องสมุด (Link)
– ระบบสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ
– บริการพจนานุกรมออนไลน์

newlibraryfacebook

ภาพแสดงตัวอย่างระบบสืบค้นฐานข้อมูลที่อยู่ใน Facebook

– SUNCAT Search

suncat

– WorldCat

worldcat

– Warwick Library E-Journal Search

warwick-library

– Oxford English Dictionary Search

oxford

เป็นยังไงกันบ้างครับ ห้องสมุดบน Facebook ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดหรือปล่าว
อ๋อเกือบลืมบอกไป ว่าที่สำคัญอีกอย่าง คือ การสมัคร facebook ไม่ต้องเสียเงินสักบาทเลยนะครับ

รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆ พร้อมที่จะนำห้องสมุดของท่านขึ้นมาไว้บน facebook บ้างหรือปล่าว

เปิดเว็บห้องสมุดสำหรับคนขี้เกียจ

วันนี้ขอแนะนำคำว่า LazyLibrary ให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
หากเพื่อนๆ แปลกันแบบตรงๆ คำว่า LazyLibrary คงจะหมายความว่า ห้องสมุดขี้เกียจ
แต่จริงๆ แล้วคำว่า LazyLibrary เป็นเพียงชื่อเว็บไซต์ต่างหาก

lazylibrary

ไปดูกันว่าตกลงมันเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร

LazyLibraryเป็นเว็บไซต์สำหรับการค้นหาหนังสือ เพื่อสั่งซื้อหนังสือมาอ่านครับ
ดูผิวเผินเพื่อนๆ ก็จะนึกถึง Amazon นั่นเอง

โดยหลักการสืบค้นหนังสือ ก็เหมือนๆ กับ Amazon นั่นแหละครับ
แต่แตกต่างกันที่แนวความคิด และไอเดียของการทำเว็บไซต์

ซึ่งในเว็บไซต์ LazyLibrary ได้พูดถึงแนวความคิดว่า

“where you can find books on any topic without having to worry about high page counts. If it’s over 200 pages, you won’t even see it. Read all about anything, in less time, for (usually) less money.”

ปกติ เวลาค้นหาหนังสือเพื่อทำรายงานสักเรื่อง คุณอาจจะต้องกังวลเกี่ยวกับจำนวนหน้าของหนังสือที่เยอะเหลือเกิน และถ้าหนังสือเล่มนั้นเกิน 200 หน้า คุณก็คงไม่อยากเห็นมันเช่นกัน ดังนั้นเว็บนี้จะช่วยคุณหาหนังสือที่ไม่เกิน 200 หน้า เพื่อให้คุณใช้เวลาที่น้อยกับเรื่องนั้นๆ และมีราคาที่ถูก

เจ๋งดีมั้ยครับ หาหนังสือที่มีจำนวนไม่เกิน 200 หน้า

lazylibrary-search

หลักการค้นก็ง่ายๆ ครับ เพียงแค่ใส่หัวข้อที่เราต้องการหาลงไปในช่องค้นหา
ซึ่งหน้าตาก็ใช้งานง่ายเหลือกเกิน จากนั้นก็ค้นหาตามปกติ

เพียงเท่านี้เราก็จะเจอหนังสือที่ในหัวข้อที่เราต้องการ และที่สำคัญไม่เกิน 200 หน้าด้วย

ไอเดียปิดท้ายที่ได้จากการรีวิวครั้งนี้
บางทีถ้าห้องสมุดเอาฟีเจอร์แบบนี้มาใส่ในฐานข้อมูลหนังสือก็คงจะดีสินะครับ
เพราะบางทีผู้ใช้ก็ไม่ค่อยชอบหนังสือเล่มใหญ่ๆ สักเท่าไหร่
ผู้ใช้อาจจะอยากได้หนังสือเล่มเล็กๆ จำนวนไม่เกิน 200 หน้าก็ได้นะ

ในแง่ของการนำไปใช้ผมว่าไม่ยากหรอกนะครับ
เพราะในทางบรรณารักษ์จะมี tag ที่สำหรับใส่จำนวนหน้าอยู่แล้ว
ถ้าสมมุติเรานำ filter มาให้ผู้ใช้เลือกก็คงจะดี

เช่น ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่มีจำนวนหน้าไม่เกิน 100 หน้า / 200 หน้า / 300 หน้า …

ก่อนจากกันวันนี้ อยากให้เพื่อนๆ เข้าไปลองเล่นเว็บไซต์นี้ดูนะครับ
แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่า บางสิ่งที่บังตาเราอาจจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดก็ได้

เว็บไซต์ Lazylibraryhttp://lazylibrary.com/

ทัวร์ห้องสมุด รพ.สรรพสิทธิประสงค์

ครั้งที่แล้วผมพาไปเที่ยวห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
วันนี้เราก็ยังคงอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีอยู่นะครับ
แต่ห้องสมุดที่ผมจะพาไปวันนี้ คือ ห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

dscf0090

ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ : ห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
ที่อยู่ : ถนนสรรพสิทธิฺ์์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
โทรศัพท์ : 045-244973

ประเด็นภาพรวมของการไปเยี่ยมชม
– ห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล
– เป็นแหล่งความรู้ให้นักศึกษาแพทย์ (ชั้น 2) และแหล่งเรียนรู้ทั่วไป
– สถานที่มีความพร้อมในการทำห้องสมุด มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ
– จำนวนทรัพยากรสารสนเทศเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
– ทรัพยากรสารสนเทศมีความใหม่ และอัพเดทอยู่เสมอ
– จำนวนที่นั่งในห้องสมุดมีเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
– รายได้หลักของห้องสมุดมาจากค่าปรับหนังสือ และเงินบริจาคจากผู้ใหญ่ใจดี
– ไม่อนุญาตให้ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย เนื่องจากสัญญาณจะรบกวนในโรงพยาบาล
– อนุญาตให้ยืมหนังสือได้แค่บุคลากรภายในโรงพยาบาล
– มีบริการเครื่องถ่ายเอกสารด้านนอกห้องสมุด
– จัดหมวดหมู่ด้วยแถบสี เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้นหาได้ง่าย
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำขึ้นเอง
– แบ่งมุมหนังสือเพื่อการแพทย์ กับหนังสือทั่วไปอย่างชัดเจน (อยู่คนละชั้น)
– ผู้ก่อตั้งห้องสมุดมีการเก็บแผ่นเสียงจำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งรวบรวมแผ่นเสียงมากมาย

เป็นยังไงกันบ้างครับ ไม่น่าเชื่อเลยใช่มั้ยครับว่า
ห้องสมุดโรงพยาบาลจะสามารถสร้างได้ถึงขนาดนี้
อย่างที่ผมเคยเขียนไว้หล่ะครับ ว่าห้องสมุดจะพัฒนาไปทางไหน
ก็ขึ้นอยู่กับ “วิสัยทัศน์ของผู้บริหารห้องสมุด” นั่นแหละครับ

ภาพบรรยากาศทั่วไปในห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

[nggallery id=4]

ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี

วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจาก ภาคเหนือ มายัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กันบ้าง
จากตอนที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่อง ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)
วันนี้ผมขอพาไปทัวร์ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี บ้างแล้วกัน

dscf0024

Read more