แนวทางในการออกแบบห้องสมุดเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ

แนวทางในการออกแบบห้องสมุดเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นถึงที่มาของหัวข้อนี้ก่อนเพราะว่า ความตั้งใจที่แท้จริงของการเขียนบล็อกวันนี้มาจาก หลายคนถามถึงแนวทางในการออกแบบห้องสมุดสำหรับเด็ก แต่ เอ๊ะ หัวข้อพูดถึงการออกแบบห้องสมุดทั่วๆ ไป ใช่ครับ ขอย้ำอีกครั้งว่าวันนี้ขอนำเสนอเรื่องการออกแบบห้องสมุดในภาพกว้างๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะเขียนเฉพาะของห้องสมุดเด็กอีกที

Credit Photo : http://www.demcointeriors.com

Read more

ออกแบบห้องสมุด ตอน เมื่อที่นั่งและชั้นหนังสือมารวมกัน

ออกแบบห้องสมุด ตอน เมื่อที่นั่งและชั้นหนังสือมารวมกัน

วันเสาร์ วันเบาๆ แบบนี้ ขอนำไอเดียตกแต่งห้องสมุด
หรือเรื่องการออกแบบห้องสมุดในต่างประเทศมาให้เพื่อนๆ ชมดีกว่า

ผมเคยเกริ่นเรื่องแนวทางในการออกแบบห้องสมุดมาเยอะแล้ว
มันเป็นแนวโน้มด้านการออกแบบที่ทุกคนก็น่าจะสังเกตได้ นั่นคือ

Read more

15 ห้องสมุดที่น่าทึ่งและอลังการระดับโลก

ไม่ได้โพสเรื่องที่เกี่ยวกับภาพห้องสมุดสวยๆ มานานแล้วนะครับ วันนี้ขอแบบสบายๆ สักวันแล้วกัน
ชื่อเรื่องนี่ก็ไม่ได้ตั้งเว่อร์ไปหรอกครับ เพราะแต่ละแห่งเห็นแล้วต้อง อู้ฮู่ววววววววว์ กันเลยทีเดียว
ห้องสมุดทั้ง 15 แห่งนี้มีอยู่จริงๆ ไม่ใช่แค่จินตนาการ (บางแห่งผมก็เดาได้อยู่แล้ว…)

ที่มาของเรื่องนี้ คือ ผมเข้าไปอ่านบล็อกที่เกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดมา แล้วดันไปเจอ link นี้เข้า
ชื่อเรื่องต้นฉบับ คือ “Amazing libraries around the world

เราไปดูกันดีกว่าว่า 15 ห้องสมุดที่ว่านี้ คือที่ไหนบ้าง

1. Salt Lake City Public Library

อยู่ที่อเมริกานะครับ ห้องสมุดแห่งนี้จะมีการเปิดเพลงคลอให้ผู้ใช้บริการเพลิดเพลินไปกับการอ่านหนังสือ พร้อมด้วยการฟังเพลงแบบชิวๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นี่ไม่มีการบล็อคเว็บอะไรทั้งสิ้น ที่นี่ “no censorship”

credit ภาพโดย Pedro Szekely

2. Strahov Theological Hall

ยู่ที่สาธารณรัฐเชก เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือเกี่ยวกับศาสนา 18,000 เล่ม และมีหนังสือไบเบิลหลายภาษามากๆ

credit ภาพโดย Rafael Ferreira

3. Biblioteca España

อยู่ที่โคลัมเบีย ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง (เมือง Santo Domingo เป็นย่านที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อย รวมถึงเรื่องของปัญหายาเสพติดที่ค่อนข้างสูง)

credit ภาพโดย danjeffayelles

4. Beinecke Rare Book and Manuscript Library

ยู่ที่อเมริกา เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหน้าต่างเลย และกำแพงทำจากหินอ่อนโปล่งแสง ที่นี่ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่า

credit ภาพโดย KAALpurush

5. Belarus National Library

อยู่ที่เปราลุส เป็นหอสมุดแห่งชาติที่ถูกออกแบบใหม่แทนหอสมุดแห่งชาติเดิม สามารถเก็บหนังสือได้ 8 ล้านเล่ม

credit ภาพโดย Giancarlo Rosso

6. Thomas Fisher Rare Book Library

อยู่ที่แคนาดา เป็นห้องสมุดที่จัดเก็บหนังสือหายากที่มากที่สุดในประเทศแคนาดา รวมถึง clolletion ของ Lewis Carroll ทั้งงานเขียน รูปภาพ

credit ภาพโดย Andrew Louis

7. Seattle Public Library

อยู่ที่อเมริกา อันนี้คงไม่ต้องบรรยายอะไรมากเพราะมันเป็นห้องสมุดประชาชนที่ออกแบบได้อลังการงานสร้างมากๆ จุดเด่นที่น่าสนใจของที่นี่ คือ Book spiral รูปแบบการจัดหนังสือที่รองรับในอนาคต

credit ภาพโดย Stephen J. Friedman, MD

8. Black Diamond

อยู่ที่เดนมาร์ค ชื่อจริงๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ คือ Danish Royal Library มีพื้นที่เป็นลานคอนเสิร์ด ลานจัดนิทรรศการ และส่วนของห้องสมุดด้วย

credit ภาพโดย G. Jörgenshaus

9. TU Delft Library

อยู่ที่เนเธอร์แลนด์ ออกแบบได้สวยงามและจุดเด่นของที่นี่คือบันไดวน

credit ภาพโดย Stephanie Braconnier

10. Halmstad Library

อยู่ที่สวีเดน การออกแบบห้องสมุดของที่นี่มีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้ที่อยู่รอบๆ ห้องสมุด (เขาไม่ตัดต้นไม้เพื่อสร้างสร้างห้องสมุด) รอบๆ อาคารเป็นกระจกสามารถมองออกมาชมวิวข้างนอกได้ด้วย

credit ภาพโดย ET Photo

11. Jose Vasconcelos Library

ยู่ที่แม็คซิโก ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการสร้าง 2 ปี โดยเมื่อเปิดห้องสมุดแล้วจัดเก็บหนังสือได้มากขึ้น แถมด้วยห้องประชุมที่รองรับคนจำนวน 500 คน

credit ภาพโดย Omar

12. Vancouver Library Square

ยู่ที่แคนาดา ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดกลางของ vancover มีพื้นที่เพื่อการทำกิจกรรมสังคมมากมาย ตกแต่งด้วยกระจกเป็นหลัก

credit ภาพโดย Darren Stone

13. Real Gabinete Portugues de Leitura

อยู่ที่บราซิล ห้องสมุดที่แค่ห้องเดียวก็สามารถเก็บหนังสือได้ 350,000 เล่ม การตกแต่งภายในจะเป็นเรื่องราวต่างๆ 4 เรื่อง และพื้นที่ต่างๆ เต็มไปด้วยชั้นหนังสือ

credit ภาพโดย Os Rúpias

14. Admont Library

อยู่ที่ออสเตรีย ห้องสมุดที่มีสถาปัตยกรรมตกแต่งสวยงาม งานปูนปั้นศิลปะเพียบ และเป็นห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือหายากและต้นฉบับลายมือที่เยอะที่สุดในโลกด้วย

credit ภาพโดย Christine McIntosh

15. British Library

อยู่ที่อังกฤษ เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง (รองจาก library of congress) มีหนังสือมากถึง 150 ล้านเล่มจากทั่วโลก และอีก 100 ล้านเล่มที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล

credit ภาพโดย Steve Cadman

เป็นยังไงกันบ้างครับกับห้องสมุดสุดอลังการวันนี้
เท่าที่สังเกตจะพบว่าเป็นห้องสมุดที่อยู่ในฝั่งอเมริกา ยุโรป เป็นหลักเลย ไม่เห็นเอเซียเลย

เอาเป็นว่าไว้งวดหน้าผมจะหาห้องสมุดในเอเซียแบบแจ่มๆ มาให้เพื่อนๆ ชมกันบ้างแล้วกันนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอตัวก่อนแล้วกัน

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 3

หลังจากที่ผมเคยสรุปหนังสือเรื่อง ?Planning the modern public library building? บทที่ 1 และ 2 นานแล้ว
วันนี้ผมขอสรุปบทที่ 3 และ 4 ต่อเลยดีกว่า ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังแถมด้วยเรื่องของการให้บริการที่ควรจะมีในห้องสมุดประชาชน

planning-public-library-part-3

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 3 : Greening the Library : An Overview of Sustainable Design
เป็นบทที่ว่าด้วยการออกแบบห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เรื่องที่น่าสนใจของห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกกันในนาม “Green Library” นั่นเอง มีดังนี้
Building Site (ที่ตั้งของตัวอาคาร) มีข้อแนะนำคือควรเน้นการปรับปรุงโครงสร้างเดิมของห้องสมุดที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก รวมไปถึงการนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวอาคาร นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านนอกของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

Building Design (การออกแบบอาคาร) การออกแบบห้องสมุดโดยคำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมองเรื่องใกล้ๆ ตัว เช่น การดูทิศทางลม การส่องสว่างของแสงจากธรรมชาติ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังทางเลือก ฯลฯ นอกจากออกแบบด้านในห้องสมุดแล้ว เรายังต้องมองการออกแบบภายนอกอาคารด้วย

Interior Design (การออกแบบและตกแต่งภายใน) ให้เน้นเรื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากธรรมชาติเป็นหลัก และปรับสภาพทั่วๆ ไปให้กลมกลืนกันทั่วห้องสมุด

Engineering System (ระบบต่างๆ ในอาคาร) เช่น เรื่องไฟฟ้า แสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ ระบบบำบัดน้ำ ฯลฯ

ห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติให้โลก รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนของห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็คือเนื้อหาคร่าวๆ ของบทที่ 3 เรื่องห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ต่อไปผมจะขอกล่าวถึง บทที่ 4 ด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

Chapter 4 : An ounce of prevention : Library directors and the designing of public library
เป็นบทที่ว่าด้วยบริการที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

ไปดูกันเลยครับว่าห้องสมุดประชาชน (ในต่างประเทศ) เขามีบริการอะไรบ้าง

– ชั้นหนังสือทั่วไป
– พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ
– มุมหนังสือเด็ก
– มุมเรียนรู้ตามอัธยาศัย (ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างกลุ่ม)
– มุมสื่อมัลติมีเดีย
– มุมแนะนำหนังสือใหม่ และหนังสือยอดนิยม
– มุมประวัติศาสตร์ หรือ หอจดหมายเหตุ
– มุมสารสนเทศท้องถิ่น
– มุมวรรณกรรม นวนิยาย เรื่องสั้น
– มุมบริการอ้างอิง
– มุมบริการตอบคำถาม
– มุมแสดงนิทรรศการ
– มุมเงียบ หรือพื้นที่อ่านหนังสือแบบเงียบๆ
– มุมบริการเครือข่ายห้องสมุด
– มุมทำงานและนำเสนองานสำหรับหน่วยงานอื่นๆ
– ห้องปฏิบัติการ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบริการต่างๆ ในห้องสมุดประชาชนแบบคร่าวๆ
ในเรื่องรายละเอียดเพื่อนๆ ลองเข้าไปหาอ่านได้จากเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนทั่วไป (ในต่างประเทศ) เองนะครับ

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 2

วันนี้ผมขอสรุปหนังสือเรื่อง “Planning the modern public library building” ต่อเลยนะครับ
ซึ่งวันนี้ผมจะพูดในบทที่สอง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

planning-public-library-part-2

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 2 : Before Sizing Your Building
เป็นบทที่ว่าด้วยการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

ในบทนี้จะเน้นในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแนวคิดของห้องสมุดสองแบบคือ
– ห้องสมุดสถานศึกษา – ต้องดูจาก need, collection, equipment
– ห้องสมุดสาธารณะ – ต้องดูจาก collection, need, equipment

เท่าที่อ่านมาจะสรุปได้ว่า

?ห้องสมุดสถานศึกษาจะเลือกเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนก่อน
แล้วค่อยตัดสิ่งใจในการเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศทีหลัง
เมื่อได้รูปแบบแล้วจึงจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อรองรับการให้บริการนั้นๆ?


?ห้องสมุดสาธารณะไม่จำเป็นต้องเลือกที่เนื้อหาเพราะว่า ผู้ใช้บริการคือคนทั่วไป
แต่สิ่งที่สำคัญในการให้บริการคือ การเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศมากกว่า?

ส่วนในเรื่องของการกำหนดขนาดอาคารห้องสมุด และสถานที่กันดีกว่า
โดยเพื่อนๆ จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ซะก่อน จึงจะกำหนดขนาดของห้องสมุดได้
– กลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุดเป็นใคร มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน
– คุณให้คำจำกัดความของคำว่า ?บริการที่ดี? ว่าอะไร
– ทรัพยากรสารสนเทศมีรูปแบบใดบ้าง
– งบประมาณที่ใช้สร้าง และต่อเติมมีมากน้อยเพียงใด
– ระบุที่นั่งสำหรับให้บริการไว้เท่าไหร่ และจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีจำนวนเท่าไหร่
– เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในห้องสมุดมีอะไรบ้าง เช่น โทรทัศน์ เคาน์เตอร์ ฯลฯ
– ให้บริการคอมพิวเตอร์มากน้อยเพียงใด มีแบบไร้สายหรือไม่
– มี partnership ที่จะช่วยในการพัฒนาห้องสมุดหรือเปล่า
– แผนการในการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในอนาคต
– การประมาณการจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น

ถ้าเพื่อนๆ ตอบได้หมดนี่เลย จะช่วยให้สถาปนิกที่รับงานออกแบบเข้าใจรูปแบบงานมากขึ้นครับ
และจะช่วยให้เรากำหนดขนาดได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

บทสรุป สิ่งที่มีผลต่อการกำหนดขนาดพื้นที่ของอาคารห้องสมุด ได้แก่
– Service, Collection, Tasks, Technology (การบริการทั่วไปของห้องสมุด)
– Human being work (การทำงานของคนในห้องสมุด)
– Facility in the library (สาธารณูปโภคต่างๆ ในห้องสมุด)
?.

ครับ บทนี้ก็จบเพียงเท่านี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะคำนวณขนาดของห้องสมุดตัวเองได้แล้วนะครับ
?คุณคิดว่าพื้นที่ที่มีอยู่ในห้องสมุดตอนนี้ใช้งานคุ้มค่าแล้วหรือยัง?

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 1

วันนี้ผมขอสรุปข้อมูลจากหนังสือที่ผมกำลังอ่านในช่วงนี้นะครับ
ชื่อเรื่องว่า ?Planning the modern public library building?
ซึ่งเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการสร้างห้องสมุดประชาชนสมัยใหม่

planning-public-library-part-1

รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

พอได้อ่านแล้วก็ไม่อยากเก็บความรู้ไว้คนเดียวอ่ะครับ
ผมก็เลยขอทำสรุปหัวข้อสำคัญๆ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นกัน
ครั้นจะอ่านวันเดียวก็คงไม่จบ ผมก็เลยค่อยๆ ถยอยอ่านไปที่ละบทก็แล้วกัน

เริ่มจากวันนี้ผมจะสรุปบทที่ 1 ให้อ่านนะครับ

Chapter 1 : Early planning for a new library
เป็นบทที่ว่าด้วยสิ่งที่เราควรรู้ก่อนการวางแผนที่จะสร้างอาคารห้องสมุดใหม่
ปัญหาทั่วไป ข้อจำกัด การสร้างทีมงาน การหาที่ปรึกษา ฯลฯ

Problem with the existing building
– Demographic Changes (เน้นสภาพชุมชนทั่วไปในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)
– Collection (ดูความหลากหลายของทรัพยากรสารสนเทศ, การจำแนกชั้นหนังสือ, การเลือกชั้นหนังสือ)
– Seating Capacity (ความจุของที่นั่งที่จะรองรับผู้ใช้บริการของห้องสมุด)
– Library as a place
– Physical Problem in the building (สภาพทางกายภาพของห้องสมุด เช่น แสง อากาศ ฯลฯ)
– Site (สถานที่ตั้งของห้องสมุด การจราจร ที่จอดรถ ฯลฯ)
– Standard or guidelines (มาตรฐานในการจัดห้องสมุด)

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ Building team คือ พยายามอย่าให้เกิดความขัดแย้งกันภายใน
หากเกิดความขัดแย้งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น การเห็นอกเห็นใจกัน, การหาคนกลางมาไกล่เกลี่ย, หัวหน้าตัดสินชี้ขาด
จะเลือกวิธีไหนก็ได้แล้วแต่สถานการณ์ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

ห้องสมุดที่เราต้องการสร้างเราต้องคิดเผื่ออะไรบ้าง
– forecasting collection growth จำนวนทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
– forecasting seating requirement พยากรณ์จำนวนที่นั่งที่สามารถจุได้
– forecasting technology growth อัตราการเพิ่มเทคโนโลยีในห้องสมุด
– forecasting staff need ควมต้องการของคนที่ทำงาน
– forecasting new programs (ในที่นี้ program หมายถึง การบริการแบบใหม่ๆ)
– forecasting discontinuing program

นอกจากนี้ในบทนี้ยังมีการสอนเทคนิคการเลือกที่ปรึกษาของโครงการ
และคุณสมบัติทั่วไปของสถาปนิกในการสร้างอาคารห้องสมุด

บทที่ 1 สาระสำคัญทั่วไปยังเป็นเพียงแค่สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนการออกแบบวางแผนเท่านั้น
เอาไว้ตอนต่อไปผมจะนำมาสรุปให้อ่านอีกเรื่อยๆนะครับ วันนี้ขอตัวก่อนนะคร้าบ?

ขอแนะนำสำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ผมขอแนะนำ google book search นะครับ เพราะเขาสแกนไว้ให้เราอ่านประมาณ 300 หน้า
ลองไปอ่านที่ http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

มาดูตัวอย่างการออกแบบห้องสมุดขั้นเทพกันเถอะ

วันนี้ขอเล่าเรื่องการออกแบบอาคารห้องสมุดกันหน่อยดีกว่า
เพราะว่าเรื่องของสภาพทางกายภาพก็มีส่วนในการดึงดูดให้ผู้ใช้ให้ความสนใจห้องสมุดเหมือนกัน
(เพียงแต่ในเมืองไทย บรรณารักษ์อย่างเราไม่ค่อยมีบทบาทในการช่วยสถาปนิกออกแบบ)

library-design

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสถาปัตย์ก็พอจะรู้ว่า
คนกลุ่มนี้พยายามจะศึกษาเรื่องการออกแบบห้องสมุดกันมากมาย
เช่น บางคนเอาเรื่องการออกแบบห้องสมุดไปทำเป็นโปรเจ๊คซ์เรียนจบเลยก็ว่าได้

ถามว่าการออกแบบห้องสมุดต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง (นอกจากเรื่องของเงิน)
– ต้องมีรูปแบบใหม่ ?
– ต้องทันสมัย ?
– ต้องหรูหรา ?

เอาเป็นว่าสิ่งที่กล่าวมา ผมมองว่าไม่ได้ถูกต้องเสมอไปหรอกนะครับ

สิ่งสำคัญที่ทำให้อาคารห้องสมุดมีความสมบูรณ์ คือ
ต้องออกแบบเพื่อรองรับกับงานบริการผู้ใช้ และการทำงานของบรรณารักษ์ไปพร้อมๆ กันด้วย

ตัวอย่างเรื่องหลายๆ เรื่องที่ต้องลงรายละเอียดในการออกแบบอาคารห้องสมุด
– การออกแบบชั้นหนังสือในห้องสมุด เช่น การจัดเรียงหนังสือ ความสูงของชั้นหนังสือ ฯลฯ
– การจัดพื้นที่ในการให้บริการต่างๆ เช่น โซนที่ต้องการความเงียบ โซนเด็ก โซนมัลติมีเดีย ฯลฯ
– สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆ อาคารห้องสมุด เช่น ติดถนนมีเสียงดังหรือปล่าว????

แต่ขอบอกก่อนนะครับว่ารูปที่ผมจะนำมาให้ดูนี้ เป็นเพียงแค่ตัวอย่างโครงสร้างอาคารห้องสมุดแบบสวยๆ เท่านั้น
แต่การใช้งานจริงด้านในผมก็ยังไม่เคยไปนะครับ เอาเป็นว่าไม่ขอวิจารณ์ฟังค์ชั่นการทำงานด้านในแล้วกัน

(ดูให้เห็นว่าสวยนะ อิอิ)

งั้นเราไปดูตัวอย่างการออกแบบกันสักนิดนะครับ

ภาพแรก โครงสร้างและการออกแบบ The Seattle Public Library

librarydesign1

ภาพที่สอง โครงสร้างและการออกแบบ Woodschool

librarydesign2

ภาพที่สาม โครงสร้างและการออกแบบ The Consortium Library (University of Alaska Anchorage)

librarydesign3

ภาพที่สี่ โครงสร้างและการออกแบบ Philadelphia?s Parkway Central Library

librarydesign4

เป็นยังไงกันบ้างครับกับตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างห้องสมุดทั้ง 4 ที่
หากเพื่อนๆ ยังไม่จุใจในการดู เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเรื่องการอ่านออกแบบห้องสมุดได้จากเรื่อง
Brilliantly Bookish: 15 Dazzling Library Designs

สุดท้ายนี้หวังว่าสถาปนิกเมืองไทยคงจะมีแนวทางในการออกแบบห้องสมุดแบบสวยๆ กันบ้างนะครับ
สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้นั่นก็คือ ไม่ว่าห้องสมุดจะหน้าตาแบบใด
การบริการของบรรณารักษ์ก็ยังคงต้อง service mind ต่อไปนะครับ

ที่มาของรูป และที่มาของแรงบันดาลใจในการเขียน
http://www.weburbanist.com