สำรวจตัวเองก่อนมาทำอาชีพ “บรรณารักษ์”

สำรวจตัวเองก่อนมาทำอาชีพ “บรรณารักษ์”

มีคำถามมากมายจากเพื่อนๆ ถึงผมว่า
“ไม่จบปริญญาสาขาบรรณารักษ์แล้วทำงานห้องสมุดได้หรือไม่”
“ต้องทำยังไงถึงจะได้ทำงานบรรณารักษ์”
ฯลฯ

THLibrarian

วันนี้ผมขอรวบรวมข้อมูลมาตอบเพื่อนๆ ว่า
“ก่อนจะมาเป็น บรรณารักษ์ เพื่อนๆ ต้องสำรวจตัวเองก่อน” ดังนี้

Read more

บรรณารักษศาสตร์ เท่ากับ สารสนเทศศาสตร์ หรือไม่

ขอออกตัวก่อนนะครับที่เขียนไม่ได้ว่าจะชวนทะเลาะหรือสร้างความแตกแยก แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมได้ยินบ่อยมากๆ และจากประสบการณ์ตรงในช่วงผมเป็นนักศึกษา (รุ่นผมชื่อบรรณารักษศาตร์และสารสนเทศศาสตร์ แต่หลังจากรุ่นผมไปแล้วใช้คำว่า การจัดการสารสนเทศ) วันนี้ผมว่าเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็อาจสับสนบ้างว่ามันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ปล. ที่เขียนบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ถูกผิดหรือไม่แล้วแต่ความเข้าใจของแต่ละคน

หลายๆ สถานศึกษาเริ่มมีการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิชา หรือ บางแห่งเปลี่ยนชื่อภาควิชาไปเลยก็มี

คำถามที่ผมคาใจมากๆ คือ “ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อสาขาวิชานี้” “ชื่อสาขานี้มันล่าสมัยจริงหรือ”
เหตุผลที่ผมได้ยินและได้คุยกับอาจารย์บางท่าน คือ
– “ถ้าไม่เปลี่ยนแล้วเด็กจะไม่เข้ามาเรียนในสาขานี้”
– “ถ้าเด็กเข้ามาไม่ได้ตามจำนวน ภาควิชาก็ไม่สามารถเปิดสอนได้”
– “สาขาวิชามีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น”
– “เด็กที่จบไปจะได้ชื่อหลักสูตรที่สวยหรู สามารถทำงานอะไรก็ได้”

เอาเป็นว่าเหตุผลต่างๆ มากมายที่ผมก็ขอรับฟัง
แต่…เคยคิดกันหรือไม่ว่า….ประเด็นนี้จะทำให้เด็กสับสน

“หนูไม่รู้นี่ว่าสารสนเทศศาตร์ คือ สอนให้หนูเป็นบรรณารักษ์ หนูนึกว่าเข้ามาเรียนคอมพิวเตอร์”
“การจัดการสารสนเทศน่าจะสอนการจัดการข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่อิงแต่เรื่องห้องสมุด”
“เข้ามาเพราะชื่อหลักสูตรเท่ห์จัง แต่ทำไมเรียนเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุด”

สถานศึกษาบางแห่งเปลี่ยนชื่อหลักสูตรก็จริงแต่เนื้อหาในรายวิชาเกือบครึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดอยู่ดี บางแห่งไม่ได้เปลี่ยนรายวิชาด้านในเลยด้วยซ้ำ จากประเด็นแบบนี้ จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เด็กส่วนใหญ่สับสนกับหลักสูตร หรือ วิชาที่เรียน

จากกรณีเรื่องของชื่อหลักสูตร หรือ ชื่อของภาควิชา ผมขอพูดถึงสภาพของเด็ก 3 กลุ่มให้ฟังคร่าวๆ คือ
1. “รู้ว่าบรรณารักษ์เป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศอยู่แล้ว และตั้งใจมาเรียนเรื่องนี้โดยเฉพาะ” พูดง่ายๆ ว่าใจรักอ่ะครับ เด็กพวกนี้ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะใจเขามาด้านนี้โดยตรงอยู่แล้ว
2. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่พอมาเจอเนื้อหาของแต่ละวิชา ก็ได้แต่ทำใจและยอมรับสภาพ” พูดง่ายๆ ว่า อดทนให้เรียนจบแล้วเดี๋ยวไปหางานอย่างอื่นทำ กลุ่มนี้ก็พบมากมาย เด็กส่วนหนึ่งที่จบไม่ได้กลับมาทำงานตามสายที่เรียน
3. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเข้ามาเรียนและรู้ว่าไม่ใช่ก็ลาออกไปเรียนอย่างอื่น หรือ ฝืนเรียนแต่ก็รับไม่ได้” พูดง่ายๆ ว่า เมื่อไม่ใช่ทางที่คิดไว้ก็ไปทางอื่นดีกว่า

เรื่องของชื่อว่า “บรรณารักษศาสตร์” หรือ “สารสนเทศศาสตร์” แท้จริงแล้วมันเท่ากันหรือไม่
แค่ชื่อก็ไม่เหมือนกันแล้ว ผมบอกได้ตรงๆ ครับว่า อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” มันก็ต่างกัน

อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” ต่างอย่างไร

“บรรณารักษ์” คือการจัดการสื่อ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ องค์ความรู้ในห้องสมุด กระบวนการต่างๆ ที่ดำเนินงานในห้องสมุด “บรรณารักษ์” ต้องรู้และสามารถจัดการได้

“นักสารสนเทศ” คือ การจัดการสารสนเทศด้านใดด้านหนึ่งไม่จำเป็นต้องจัดการห้องสมุดทั้งหมด แต่ต้องจัดการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้ ยิ่งถ้าจัดการหรือมีความรู้ด้านวิชาชีพอื่นๆ ด้วยก็ยิ่งดี และถือว่าเป็นนักสารสนเทศของอาชีพนั้นๆ ได้ด้วย เช่น นักสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

อย่างที่เกริ่นข้างต้นว่า ห้องสมุด คือส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศแบบภาพรวม บรรณารักษ์ก็คือนักสารสนเทศในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อหลักสูตร สถานศึกษาก็ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับเด็กๆ ที่เข้ามาเรียนด้วย…

หรือแม้แต่ครูแนะแนวเด็ก ม.ต้น หรือ ม.ปลาย ก็ควรรู้และเข้าใจในแง่นี้ด้วย มิเช่นนั้นเด็กๆ ของท่านก็จะเข้าใจผิดว่า “สารสนเทศ” ก็คือ “คอมพิวเตอร์” ต่อไป

วันนี้ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน อิอิ

บรรณารักษ์ระดับ 3, 4, 5, 6, 7 แตกต่างกันตรงไหน

เพื่อนๆ นอกวิชาชีพหลายๆ คนสงสัยและถามผมมาว่า บรรณารักษ์ 3 ที่สอบในราชการนี่คืออะไร
แล้วมันยังมีตำแหน่งบรรณารักษ์ระดับอื่นๆ อีกหรือไม่ วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องตำแหน่งบรรณารักษ์ในระดับต่างๆ

สายงานบรรณารักษ์ในวงการราชการก็มีระดับของตำแหน่งเหมือนวิชาชีพอื่นๆ แหละครับ
นอกจากบรรณารักษ์ 3 แล้ว ในวงการราชการอาจจะพบคำว่า บรรณารักษ์ 4,5,6,7 อีก
ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามานี้มาจากการสอบซึ่งดูที่ความสามารถและประสบการณ์ทำงานเช่นกัน

เรามาดูความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ระดับต่างๆ กันดีกว่า

บรรณารักษ์ระดับ 3
1. มีความรู้ในวิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าในในกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล


บรรณารักษ์ระดับ 4 (ทำงานระดับ 3 แล้ว 2 ปี)

1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำและ เสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

บรรณารักษ์ระดับ 5 (ทำงานระดับ 4 แล้ว 2 ปี, ทำงานระดับ 3 แล้ว 4 ปี, ปริญญาเอกบรรณารักษ์)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 6 (ทำงานระดับ 5 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 7 (ทำงานระดับ 6 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

จะสังเกตได้ว่า ในบรรณารักษ์ระดับที่ 6 กับ 7 จะคล้ายๆ กัน แต่การที่จะวัดระดับชั้นกันนั้นอยู่ที่ประสบการณ์ทำงานต่างหาก
และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าทุกๆ 2 ปี จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นก็ทำงานเก็บประสบการณ์กันไปเรื่อยๆ นะครับ

อ๋อเรื่องตำแหน่งที่สูงขึ้น แน่นอนครับเงินก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ผมคงไม่ทราบหรอกนะครับว่าตำแหน่งไหนได้เงินเท่าไหร่
ใครรู้ก็ช่วยนำมาแชร์ให้ผมรู้บ้างนะครับ จะขอบคุณมากๆ อิอิ วันนี้ก็อ่านเล่นๆ กันดูนะครับ อย่างน้อยก็เพื่อพัฒนาตัวเอง

ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ…

เพื่อนๆ หลายคนคงสงสัยและถามผมอยู่เสมอว่า “ทำไมผู้ชายถึงไม่ค่อยเรียนบรรณารักษ์”
หรือไม่บางคนก็ถามว่า “วิชาชีพบรรณารักษ์ทำไมไม่ค่อยมีผู้ชาย” วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง
เกี่ยวกับเรื่องมุมมองของคนส่วนใหญ่ต่อ อาชีพบรรณารักษ์ และ ผู้ชาย

librarian-male

เริ่มจากในสมัยที่ผมเรียนบรรณารักษืก่อนแล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ เชื่อหรือไม่ว่า 4 ปี รวมกันมีเพศชายแค่ 10 คนเท่านั้นเอง
ซึ่งถ้าเทียบกับสาขาวิชาอื่นๆ ถือว่าน้อยมากๆ

หลังจากที่ผมเรียนจบแล้ว ได้ไปสมัครงานบรรณารักษ์หลายๆ ที่
ผมมักเจอคำถามลักษณะนี้บ่อยมากว่า ?ผู้ชายแท้หรือปล่าว ทำไมถึงเลือกเรียนและมาเป็นบรรณารักษ์?
ตอนแรกผมก็อึ้งไปนิดหน่อยเพราะไม่คิดว่าเขาจะล้อเล่นได้แรงแบบนี้
แต่พอได้คุยกับหลายๆ คน ผมก็เริ่มเข้าใจครับว่า คงเป็นเพราะมุมมองของวิชาชีพหล่ะมั้ง

ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์เป็นอาชีพหนึ่งที่มีผู้หญิงทำงานเยอะ หรือมีค่านิยมในการทำงานนั่นเอง
อาชีพที่คนมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้หญิง เช่น พยาบาล บรรณารักษ์ ฯลฯ
อาชีพที่คนมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้ชาย เช่น ตำรวจ ทหาร ฯลฯ

ขอเล่าต่อนะครับ ที่ทำงานบางแห่งถามผมว่า “ผู้ชายสามารถเป็นบรรณารักษ์ได้ด้วยหรอ”
ผมก็ตอบไปว่า ?ต้องทำได้สิครับ เพราะว่าผมเรียนจบมาด้านนี้ แถมมันก็เป็นอาชีพที่ผมรักด้วย ทำไมถึงจะทำไม่ได้?
เค้าก็ตอบว่า ?ผู้หญิงน่าจะเป็นบรรณารักษ์ได้ดีกว่าผู้ชาย? ตกลงมันเป็นแบบนี้จริงหรอ

นอกจากนี้ในใบประกาศรับสมัครงานขององค์กรบางแห่ง ได้มีการระบุว่ารับสมัครบรรณารักษ์ที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น
ผมก็แปลกใจว่าทำไมถึงต้องระบุคุณสมบัติว่า เฉพาะเพศหญิง บางทีองค์กรนี้อาจจะมีเหตุผลสักอย่าง ซึ่งผมยังไม่เข้าใจ

ที่ร้ายแรงกว่านั้นยังมีอีกกรณีหนึ่งครับ เนื่องจากผมมีเพื่อนที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลขององค์กรแห่งหนึ่ง
พอผมถามถึงเรื่องนี้ เขาก็ตอบว่า ?ก็เป็นปกติที่เวลารับบรรณารักษ์ เขาจะดูผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย?

ผมจึงถามต่อว่าทำไมหล่ะ ก็ได้คำตอบว่า
?เพราะว่าผู้หญิงทำงานละเอียดกว่าผู้ชาย และมีการบริการที่สุภาพ อ่อนโยน และดึงดูดผู้ใช้บริการได้?
เอาเป็นว่ายังไงๆ ถ้าองค์กรนี้จะรับบรรณารักษ์ องค์กรนี้จะรับบรรณารักษ์ผู้หญิงเท่านั้น

เอาเป็นว่าที่กล่าวมาก็เป็นเพียงบางองค์กรเท่านั้นนะครับ

จริงๆ แล้วผมก็ไม่อยากจะพูดเรื่องนี้หรอกนะครับ แต่เพราะว่าในสิ่งที่เพื่อนผมตอบมาให้ฟังนั้น
บางทีผมก็รู้สึกว่าไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่หรอก เพราะ “เพื่อนชายบางคนที่ผมรู้จักเขาก็ทำงานแบบว่าละเอียดกว่าผู้หญิง” ก็มี
เรื่องการบริการ บรรณารักษ์ทุกคนที่เรียนมักจะถูกสอนมาอยู่แล้วว่าเราต้อง service mind อยู่แล้ว
ส่วนสุดท้ายผมคงเถียงไม่ได้ เนื่องจากเพศชายยังไงๆ ก็ไม่สามารถดึงดูดใครเข้าห้องสมุดได้
และอีกอย่างการจะดึงดูดใครเข้าห้องสมุดมันไม่ใช่แค่เรื่องว่าเพศหญิงหรือเพศชาย
แต่มันขึ้นอยู่กับภาพรวมของห้องสมุดว่าสามารถบริการและตอบสนองผู้ใช้บริการมากที่สุดหรือไม่

สรุปจากเรื่องนี้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชายก็สามารถทำงานบรรณารักษ์ได้ทั้งนั่นแหละ
และจะทำงานดีหรือไม่ดียังไง มันขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมการให้บริการของแต่ละคนไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเพศ

หมายเหตุก่อนจบ ผมยืนยันครับว่า ผมเป็นผู้ชาย 100% ที่ทำงานบรรณารักษ์นะครับ

แรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเป็นบรรณารักษ์

เรื่องเก่าขอเล่าใหม่เกี่ยวกับบทความหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้หลายๆ คนอยากเป็นบรรณารักษ์
หลายๆ คนจะต้องนึกถึงบทความเรื่องนี้ “โตขึ้นหนูอยากเป็น – บรรณารักษ์” (คุ้นๆ กันบ้างหรือปล่าว)

librarian

ลองอ่านต้นฉบับได้ที่ โตขึ้นหนูอยากเป็น – บรรณารักษ์

ผมขอสรุปเนื้อหาในบทความนี้

– ในปัจจุบันเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ มีข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นในแต่ละวันมากมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ทำธุรกิจ ต่างๆ แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างเต็มที่ เหมือนกับปลาในมหาสมุทรซึ่งมีอยู่มากมาย หากแต่เราไม่มีเครื่องมือในการจับปลาและไม่รู้จักวิธีในการจับปลานั่นเอง ดังนั้น บรรณารักษ์จึงทำหน้าที่เสือนชาวประมงซึ่งรู้วิธีจับปลาและมีอุปกรณ์ในการจับปลานั่นเอง

– หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาชีพนี้มีชื่อเรียกต่างๆ มากมาย เช่น บรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์, การจัดการสารสนเทศ เป็นต้น

– บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนจัดชั้นแต่บรรณารักษ์เป็นคนที่ดูแลและจัดการหนังสือแต่ละเล่มให้อยู่ในระบบห้องสมุด

– อาชีพที่บรรณารักษืสามารถทำได้มีมากมายเช่น บรรณารักษ์, นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆ หรือเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กรต่างๆ นักข่าว, ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา, เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่ว?ไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ หรือแม้กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทองก็เป็นร้านทอง IT เป็นต้น

– จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพอื่นๆ ได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในเรื่องการทำงาน

ประโยคทิ้งท้ายของบทความนี้ผมชอบมากๆ เลย นั่นก็คือ
“เมื่อรู้เช่นนี้แล้วกรุณา อย่าคิดว่าจบบรรณารักษ์แล้วต้องจัดชั้นหนังสืออีกไม่เช่นนั้นคราวหน้าจะเอา LC SUBJECT HEADING ฟาดหัวเสียให้เข็ด”

เพราะว่าคนที่เรียนหรือทำงานในด้านนี้จะรู้ครับว่า หนังสือ “LC SUBJECT HEADING” มันเล่มใหญ่มาก
ถ้าเอาตาฟาดหัวคนคงมีหวังสลบไปหลายวันเลยครับ อิอิ

เมื่ออ่านบทความนี้จบผมขอแสดงความคิดเห็นสักนิดนะครับ ว่า
ผมเห็นด้วยอย่างมากกับบทความนี้ เพราะวิชาชีพนี้ทำให้ผมเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
ต้องตามข่าวสารให้ทันอยู่เสมอๆ มีนิสัยการรักการอ่าน และทำให้เข้าศาสตร์ของวิชาอื่นๆ ได้ดี

อ่านแล้วรู้สึกอยากเป็นบรรณารักษ์ขึ้นมาเลยหรือปล่าวครับ อิอิ

?จะเรียนปริญญาโทดีมั้ย? คำถามที่น่าคิด

เรื่องนี้จริงๆ ผมเขียนนานแล้วอ่ะครับ แต่พอเห็นเพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นมากมาย
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ นำมาเล่าซ้ำและประมวลความคิดเห็นที่ให้แง่คิดดีๆ ให้อ่านครับ

blog

มีเพื่อนผมหลายคนมาถามบ่อยๆ ว่า
?เรียนโทเป็นไงบ้างยากมั้ย?
?อยากเรียนโทนะแต่เรียนอะไรดี?
?แล้วจะเรียนดีมั้ยอ่ะปริญญาโท?

คำถามนี้ไม่ใช่เกิดกับเพื่อนๆ ของผมอย่างเดียว
ตอนก่อนที่ผมจะลงเรียนปริญญาโท
ผมเองก็เคยถามคำถามพวกนี้กับคนอื่นเหมือนกัน

แล้วคำตอบที่ได้กลับมาก็เหมือนกันเกือบทุกคนว่า
?เรียนอะไรก็ได้ที่คิดว่าชอบ?
?คิดดีแล้วหรอที่จะเรียนปริญญาโท?
?เรียนปริญญาโทเพื่ออะไร?

เรียนอะไรผมว่ามันก็ขึ้นอยู่กับความชอบจริงๆ นะ
ส่วนคำถามที่ถามย้อนกลับมาสิว่า ?เรียนปริญญาโทเพื่ออะไร?

บางคนคงจะบอกว่า
?เรียนเพราะว่าสังคมเดี๋ยวนี้ จบปริญญาตรีมันไม่พอ?
?เรียนเพราะว่าที่บ้านบอกให้เรียน?
?เรียนเพราะตั้งใจว่าจะเพิ่มความรู้ให้ตัวเอง?
?เรียนเพราะว่าคนอื่นเขาก็เรียน?
?เรียนเพราะว่าแฟนชวนให้เรียนด้วย?

เอาเป็นว่าหลากหลายเหตุผลในการที่จะเรียนต่ออ่ะครับ
แต่คิดสักนิดนะครับว่า ไม่ว่าคุณจะเรียนปริญญาอะไรก็ตาม
ขอให้เลือกตามที่ใจรักนะครับ เรียนอะไรก็ได้ตามใจเรา

บางคนบอกว่าเรียนเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ผมก็เห็นด้วยนะครับ
แต่ว่าอย่างบางอาชีพเขาไม่ได้วัดกันที่ปริญญาก็มีนะครับ
ผมขอถามคุณเล่นๆ ดีกว่า (ลองคิดตามนะครับ)

สมมุติว่ามีคนสองคนมาสมัครงาน
คนนึงจบปริญญาเอกด้านการออกแบบ มาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แต่ยังไม่เคยทำงานมาก่อนเลย
อีกคนหนึ่งจบปริญญาตรีสาขาที่ไม่เกี่ยวกับการออกแบบด้วยซ้ำ แต่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาเกือบ 20 ปี
คุณคิดยังไงกับคนสองคนนี้ แล้วถ้าคุณจะรับคนเข้าทำงานคุณจะเลือกใครครับ

อย่างที่เคยพูนะครับว่าปริญญาบางทีในสังคมก็ใช้ในการวัดความรู้
แต่ผมว่าประสบการณ์ก็มีส่วนในการวัดความรู้ได้เหมือนกัน

แต่ในประเทศไทยเราส่วนใหญ่ก็ยังยึดกับใบปริญญาอยู่ดี
ยังไงซะถ้ามีโอกาสเรียนก็เรียนเถอะครับ คิดว่าตามกระแสไปแล้วกัน

——————————————————————————————————

รวมความคิดเห็นที่ตอบมาแล้วได้แง่คิด

พี่บอล (jiw_de_jazz) แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าเรียนแล้วมีประโยชน์ชัดเจนก็เรียนไป เช่น

?เรียนจบแล้วเงินเดือนขึ้น?
– แน่นอนคุณเสียค่าเรียนป.โท ประมาณ 3แสน แต่คุณจะได้เงินเดือนขึ้นอีก 5พัน/เดือน จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 60 เดือน = 5ปี น่าจะคุ้มนะ

?เรียนช่วงหางาน(เตะฝุ่น)?
– เตรียมพร้อมเมื่อฟ้าปิด ถ้าฟ้าเปิดมาคุณจะมีโอกาสมากกว่าผู้อื่น

“เรียนเพราะว่าที่บ้านบอกให้เรียน”
– น่าจะเป็นพวกบ้านพอมีฐานะ เรียนไปเถอะ เพื่อคุณจะได้ไม่เป็นแกะดำในบ้าน, หรืออาจจะเสริมสร้างสถานภาพทางสังคมของครอบครัวของคุณ(ไม่ได้ประชดนะ) ผมให้ความสำคัญกะที่บ้านสูงน่ะครับ ?ลูกชั้นจบปริญญาโทแล้วนะ?

?เรียนเพราะที่ทำงานเรียนกันหมดเลย?
– อันนี้ต้องคิดครับว่า ว่าปริญญามีผลกับการทำงานของคุณหรือป่าว ถ้าไม่มีผลก็ไม่ต้องเรียน ถ้ามีผลก็เรียนไปเถอะครับ

——————————————————————————————————

คุณจันทรา แสดงความคิดเห็นว่า

ผลที่ได้จากการเรียน มากกว่าที่คิดเยอะ ได้เพื่อน ที่ไม่คาดว่าจะได้เจอ หมายถึงวิถึชีิวิตเราต่างกันมาก ถ้าไม่เจอกันที่เรียน ก็คงไม่ได้เจอ ทำให้โลกกว้างขึ้น ในด้านวิชาการ เรียนโทส่วนใหญ่จะเน้นเรื่อง ?วิธีคิด? จะคิดเป็นระบบมากขึ้นค่ะ สุดท้าย ก็ความภูมิใจไงค๊ะ ปริญญาหน่ะ ไม่ได้มีไว้เพื่ออวดว่า ?ใครเก่ง? แต่การจะได้มาหน่ะมันไม่ง่าย ก็อาจพิสูจน์ได้ว่า มันคือผลของ ?การพยายาม? ค่ะ

——————————————————————————————————

พี่มุก (EscRiBiTioNiSt) แสดงความคิดเห็นว่า

คิดว่า การเรียน เป็นงาน อดิเรก อย่างหนึ่ง ได้ความรู้ ได้เพื่อน ได้สังคม ที่สำคัญ ได้ความสุข สนุกสนาน ความตื่นเต้น (เวลาสอบ) จากการเรียน มีหลายรสชาติดี..

——————————————————————————————————

บรรณารักษ์ในกะลา แสดงความคิดเห็นว่า

ต้องลองเรียนเองค่ะถึงจะได้คำตอบ เพราะความรู้ที่ได้ไม่ใช่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ความรู้จะค่อย ๆ ซึม ถ้าช่างสังเกตจะรู้ว่าความคิดความอ่านเปลี่ยนไปไม่น้อย ยิ่งคนที่เรียนด้วยทำงานด้วยจะทำให้การคิดเป็นระบบและมีหลักการรองรับมาก ขึ้นค่ะ

ครับนี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งขอคนที่เขามาแสดงความคิดเห็นนะครับ เอาเป็นว่าจะเรียนหรือไม่เรียนขึ้นอยู่ที่ตัวคุณแล้วหล่ะ

บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ไม่น่าเบื่อ

วันนี้นั่งดู Youtube เรื่อยๆ แล้วเจอคลิปวีดีโอนึงน่าสนใจมาก
และแน่นอนครับต้องเป็นคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

จากคลิปวีดีโอ Work @ your library - Nebraska Library Commission PSA
จากคลิปวีดีโอ Work @ your library - Nebraska Library Commission PSA

เพื่อนๆ นอกวงการของผมก็ชอบถามเสมอว่า
“อาชีพบรรณารักษ์ไม่เห็นจะมีอะไรเลย น่าเบื่อจะตาย”

ซึ่งผมก็ตอบปฏิเสธเพื่อนๆ ทุกครั้งว่า จะน่าเบื่อหรือไม่น่าเบื่อจริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับคนที่ทำงานต่างหาก
ไม่ว่าจะอาชีพไหน ถ้าคนที่ประกอบอาชีพทำให้น่าเบื่อ อาชีพนั้นๆ มันก็จะน่าเบื่อ

เอาเป็นว่าไปดูคลิปวีดีโอนี้กันก่อนนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=8ZvHUE6qfP8[/youtube]

อาชีพบรรณารักษ์หลายคนอาจจะมองว่าเป็นอาชีพที่อยู่ในห้องสมุดซึ่งมีหนังสือกองเต็มโต๊ะ
วันๆ ก็ต้องนั่งจัดหนังสือ ให้บริการยืมคืน เปิดปิดห้องสมุด วันๆ ก็มีแค่นี้
ซึ่งคนที่ไม่เคยทำงานด้านนี้ก็คงไม่รู้จริงๆ หรอกว่าเราทำอะไรเยอะแยะ

เรื่องที่ห้องสมุดทำมีเรื่องที่สนุกสนานและน่าสนใจมากมาย
เช่น สอนผู้ใช้ค้นหาข้อมูล จัดกิจกรรมให้เด็กๆ เปิดหนังทุกวันเสาร์อาทิตย์ ฯลฯ

ก่อนจบคลิปวีดีโอมีประโยคโฆษณาให้คนทำงานอาชีพบรรณารักษ์ว่า

“Thousands of people work in Nebraska libraries”
“You You You You You You”
“You could be one of them”

เอาเป็นว่าสรุป คือ คลิปวีดีโอนี้คือ คลิปวีดีโอประกาศรับสมัครงานครับ
แต่สาระที่ผมนำมาสื่อให้เพื่อนๆ ดู คือ อาชีพบรรณารักษ์มันไม่น่าเบื่อนะครับ

ดูอย่างบรรณารักษ์ที่เป็นตัวนำของโฆษณานี้นะครับ
มีอะไรให้ทำมากมายในแต่ละวัน แล้วดูใบหน้าของเธอสิครับ
เธอยิ้มแย้ม และให้ความช่วยเหลือทุกๆ คนในห้องสมุดอย่างเต็มใจ

คลิปวีดีโอนี้ผมก็หวังว่าจะเป็นแรงใจให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจถึงงานที่เราทำอยู่
และอยากให้เพื่อนๆ มีความสุขกับงานของตัวเองเหมือนบรรณารักษ์ที่อยู่ในคลิปนี้นะครับ

10 เหตุผลยอดฮิตของการเป็นบรรณารักษ์

บทความนี้ผมเขียนตั้งแต่ปี 2007 แต่ขอเอามาเขียนใหม่นะครับ
ด้วยเหตุที่ว่า มีเพื่อนหลายคนถามอยู่เสมอว่า “ทำไมถึงอยากเป็นบรรณารักษ์”
ผมก็เลยไปหาคำตอบมาตอบให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่ง 10 เหตุผลดังกล่าวผมว่าก็มีส่วนที่ค่อนข้างจริงนะ

reason-librarian

ปล. 10 เหตุผลยอดนิยมของการบรรณารักษ์ ต้นฉบับเป็นของต่างประเทศ
ดังนั้นอาจจะมีบางส่วนที่เพื่อนๆ อาจจะรับไม่ได้ก็ได้นะครับ ต้องขออภัยล่วงหน้า

ต้นฉบับของเรื่องนี้ ชื่อเรื่องว่า “The Top 10 Reasons to Be a Librarian
ซึ่งเขียนโดย Martha J. Spear

10 เหตุผลยอดฮิตของการเป็นบรรณารักษ์ มีดังนี้
1. Grand purpose – ตั้งใจอยากจะเป็น
2. Cool coworkers – เพื่อนร่วมงานดี
3. Good working conditions – สภาพการทำงานใช้ได้
4. It pays the rent – สามารถยืนด้วยลำแข้งตัวเอง
5. A job with scope – เป็นงานที่มีความหลากหลาย
6. Time off – มีเวลาพักเยอะ
7. Great conferences – มีการจัดงานประชุมได้ดีมาก
8. Useful skills – ใช้ทักษะที่เรียนอย่างเต็มที่
9. Romance – อาชีพที่มีความโรแมนติก
10. Ever-changing and renewing – เป็นอาชีพที่ทำได้นานกว่าอาชีพอื่นๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ มีเหตุผลไหนที่ตรงใจคุณกันบ้าง
อย่างที่ผมบอกไว้แต่แรกหล่ะครับ ว่านี่เป็นเหตุผลของบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
อย่าเพิ่งโต้เถียงนะครับ เพราะว่าบ้านเมืองเขาเป็นอย่างนั้น

วันนี้ผมคงได้แค่แปลให้อ่านนะครับ แล้ววันหลังจะมาเขียนอธิบายทีละข้อเลย
เพราะว่าเท่าที่อ่านดูคร่าวๆ นับว่ามีแง่คิดเยอะเหมือนกันครับ
เช่น ข้อที่ 7 ที่พูดถึงเรื่องการจัดประชุมทางวิชาการของสาขาวิชาชีพนี้ ที่เขาบอกว่าดีที่สุด มันเป็นอย่างไร เอาไว้อ่านคราวหน้านะครับ

นั่นคือเหตุผลของบรรณารักษ์ในต่างประเทศ เอาเป็นว่าทีนี้ในบ้านเรา ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า
“ทำไมเพื่อนๆ ถึงเรียนบรรณารักษ์ หรือทำงานบรรณารักษ์” อิอิ ว่างๆ จะขอสำรวจนะครับ

อาชีพที่ดีที่สุดของปี 2009 คือ บรรณารักษ์

บทความแห่งความภูมิใจของวิชาชีพบรรณารักษ์บทความนี้
หากเพื่อนๆ ได้อ่านแล้ว จะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นหรือปล่าวครับ

librarian

เรื่องนี้มาจากบทความที่ชื่อว่า “Best Careers 2009: Librarian
ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน U.S.News & World Report ในวันที่ 11 ธันวาคม 2008
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ได้ที่
http://www.usnews.com/articles/business/best-careers/2008/12/11/best-careers-2009-librarian.html

ซึ่งผมได้สรุปเนื้อหานี้ ออกมาเป็นประเด็นๆ มีดังนี้
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่อยู่กับความรู้ และมีการปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยของเทคโนโลยี
– สิ่งที่บรรณารักษ์มีเหนืออาชีพอื่นๆ คือ การช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยใจ และทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลด้วยหนังสือ หรือ สื่อดิจิตอล
– การให้บริการอย่างเต็มใจ เป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นปรัชญาประจำตัวของบรรณารักษ์
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ต้องทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวันหยุด หรือวันทำงาน แถมยังเลิกงานดึกอีก
– หนึ่งวันของบรรณารักษ์ทำงานต่างๆ มากมาย เช่น นั่งวิเคราะห์รายการหนังสือ ให้บริการอ้างอิง ตอบคำถามผู้ใช้ จัดเก็บหนังสือ และเรียนรู้งานใหม่ๆ
– รายได้ของบรรณารักษ์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก

นอกจากการยกย่องวิชาชีพนี้แล้ว ในบทความนี้ยังกล่าวถึงความนิยมในการเรียนวิชาชีพบรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาอีก
โดยมีการรายงานแบบสรุปของหลักสูตรว่า หลักสูตรบรรณารักษ์ที่หลายๆ คนให้ความสนใจ มีดังนี้
– Archives and Preservation
– Digital Librarianship
– Health Librarianship
– Information Systems
– Law Librarianship
– School Library Media
– Services for Children and Youth

เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านแล้วรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพบรรณารักษ์บ้างหรือปล่าว
ถึงแม้ว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับเมืองไทย (รายได้ของบรรณารักษ์)
แต่ผมเชื่อว่าการบริการของเราเป็นสิ่งที่ทำให้วิชาชีพเราได้ใจคนทุกคน