มีคำถามมากมายจากเพื่อนๆ ถึงผมว่า
“ไม่จบปริญญาสาขาบรรณารักษ์แล้วทำงานห้องสมุดได้หรือไม่”
“ต้องทำยังไงถึงจะได้ทำงานบรรณารักษ์”
ฯลฯ
วันนี้ผมขอรวบรวมข้อมูลมาตอบเพื่อนๆ ว่า
“ก่อนจะมาเป็น บรรณารักษ์ เพื่อนๆ ต้องสำรวจตัวเองก่อน” ดังนี้
ห้องสมุดสำหรับคนรักห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือ
มีคำถามมากมายจากเพื่อนๆ ถึงผมว่า
“ไม่จบปริญญาสาขาบรรณารักษ์แล้วทำงานห้องสมุดได้หรือไม่”
“ต้องทำยังไงถึงจะได้ทำงานบรรณารักษ์”
ฯลฯ
วันนี้ผมขอรวบรวมข้อมูลมาตอบเพื่อนๆ ว่า
“ก่อนจะมาเป็น บรรณารักษ์ เพื่อนๆ ต้องสำรวจตัวเองก่อน” ดังนี้
เป็นบรรณารักษ์ที่ดี เป็นง่าย ผมมีวิธี ลองอ่านเรื่องนี้ และนำไปทำตาม
วันนี้จั่วหัวแปลกๆ หน่อยนะครับ
แต่อ่านแล้วรู้สึกถูกใจอย่างบอกไม่ถูก
เรื่องที่ผมนำมาเขียนวันนี้มาจาก http://www.wikihow.com/
ในหัวข้อ How to Be a Good Librarian
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (3 พ.ค.) ผมได้มีโอกาสไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์สู่ e-Librarians วันนี้ผมจึงขอนำเนื้อหาในวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
รายละเอียดเบื้องต้นของงานบรรยาย
ชื่อโครงการ : โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์สู่ e-Librarians
ชื่อวิทยากร : คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ เจ้าของบล็อก libraryhub
วันที่จัดงาน : วันที่ 3 พฤษภาคม 2554
สถานที่บรรยาย : ห้องราชมงคลเธียเตอร์ อาคารวิทยบริการ
ผู้จัดงาน : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลธัญบุรี
ก่อนที่จะสรุปการบรรยาย ผมว่าเพื่อนๆ คงอยากเห็นสไลด์ของผมแล้ว เอาเป็นว่าไปชมสไลด์กันก่อนดีกว่า
สรุปเนื้อหาจากสไลด์ “การพัฒนาทักษะด้าน IT สู่การเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่”
การบรรยายเริ่มจากเรื่องทักษะและความหมายแบบกว้างๆ เกี่ยวกับการเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ ซึ่งผมชอบเรียกบรรณารักษ์ยุคใหม่ว่า Cybrarian นั่นเอง โดยบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากจะต้องแม่นเรื่องของทักษะด้านบรรณารักษ์แล้ว ยังต้องเพิ่มทักษะอื่นๆ อีก เช่น ทักษะไอที ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมสมัยใหม่ และเครือข่ายสังคมออนไลน์
เรื่องของงานบรรณารักษ์ผมคิดว่าทุกคนคงแม่นอยู่แล้ว ผมจึงขออธิบายภาพรวมของงานห้องสมุดนิดนึง ว่ามีงานอะไรบ้าง และที่สำคัญสมัยนี้เกือบทุกงานล้วนแล้วแต่มีไอทีเข้ามาช่วยงานในห้องสมุดทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น งานบริหาร งานบริการ งานเทคนิค ฯลฯ
จากนั้นผมให้ดูวีดีโอห้องสมุดของประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นห้องสมุดที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เกือบทุกอย่าง
จากนั้นอธิบายในเรื่องของทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ ซึ่งผมได้อัพเดทข้อมูลทักษะเพิ่มเติม (อัพเดทจาดสไลด์เก่า) ซึ่งมีดังนี้
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0
ในการบรรยายในช่วงนี้ผมให้เวลา 15 นาทีเพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติร่วมกัน เนื่องจากที่นี่ใช้ระบบ Walai Autolib อยู่จึงมีการพูดคุยกันในประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาการเชื่อมต่อ การจัดทำบาร์โค้ด …… เอาเป็นว่าก็น่าจะได้หนทางดีๆ ในการแก้ปัญหาบ้างนะ
เมื่อจบเรื่องทักษะด้านไอทีแล้วผมก็เข้าสู่เรื่อง “สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” ทันที
เปิดวีดีโอแนะนำและให้คำอธิบายว่าทำไมเราต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์
(อ่านบทความประกอบเรื่องสื่อสังคมออนไลน์ได้ที่ โอกาสในการใช้ Social media ในโลกปัจจุบัน)
จากนั้นผมให้ดูสไลด์ไอเดียของการนำเว็บไซต์ 2.0 มาใช้ในงานห้องสมุด ชมสไลด์ด้านล่างได้เลยครับ
นั่นก็เป็นอีกสไลด์นึงที่ผมใช้ในการบรรยายครั้งนี้
บรรยายช่วงเช้าจบตรงที่เรื่องของภาพรวมของสื่อสังคมออนไลน์ เริ่มต้นในช่วงบ่ายเป็นกรณีศึกษาการใช้ Blog Facebook Twitter ในงานห้องสมุด
Blog – ใช้ทำอะไรได้บ้าง ตัวอย่างการใช้บล็อกห้องสมุดในหลายจุดประสงค์ เราสามารถเขียนเรื่องอะไรลงในบล็อกได้บ้าง
Facebook – คำอธิบาย ตัวเลขของการใช้ facebook ทั่วโลก facebook กับงานห้องสมุด 10 อันดับหน้าแฟนเพจห้องสมุดระดับโลก
Twitter – คำอธิบาย ตัวเลขของการใช้ twitter ทั่วโลก อธิบายการใช้งานเบื้องต้น 10 อันดับ twitter ห้องสมุดที่มีคนตามเยอะ
แนวโน้มของห้องสมุดในปี 2011 เพื่อนๆ อ่านได้ที่ “แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011”
เรื่องที่ผมแถมจากเรื่องของ trend แล้วยังมีวีดีโอและเว็บไซต์ Library101 ที่น่าสนใจด้วย ลองเข้าไปดูต่อได้ที่ http://libraryman.com/library101/
กรณีศึกษาการใช้งานและการพัฒนาเว็บไซต์
– http://www.kindaiproject.net – เว็บไซต์โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
– http://www.libraryhub.in.th – เว็บบล็อกเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
– http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog – บล็อกห้องสมุด ม ศิลปากร
– http://tanee.oas.psu.ac.th – ห้องสมุด JFK มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
– http://www.facebook.com/kindaiproject – Facebook โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
– http://www.facebook.com/thlibrary – Fanpage เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
– http://www.twitter.com/kindaiproject – Twitter โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
จากนั้นก็ให้ดูตัวอย่างการสร้างแผนกลยุทธ์ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในห้องสมุดด้วยเพื่อเป็นแนวทางในการใช้งาน
(ปัจจุบันห้องสมุดมีสื่อสังคมออนไลน์แล้วแต่มีการใช้งานที่ไร้ทิศทางทำให้ได้ประสิทธิภาพน้อย จึงแนะนำเรื่องนี้ด้วย)
ข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการดูแล้วสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ
2. สามารถให้บริการผ่านสื่อออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม
ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th
แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปของสไลด์และงานบรรยายของผมแบบคร่าวๆ นะครับ
ถ้าเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลส่วนไหนเพิ่มเติมหรือสงสัยอะไรก็ส่งเมล์มาถามได้นะครับที่ dcy_4430323@hotmail.com
เอาเป็นว่าวันนี้ผมคงหยุดไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วเจอกันใหม่ อิอิ
ชมภาพบรรยากาศในวันนั้นได้ที่ http://www.library.rmutt.ac.th/?p=4860
ปล. ขอบคุณภาพสวยๆ จากทีมงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ภาพเดิมๆ ของบรรณารักษืในสายตาผู้ใช้บริการ คือ “บรรณารักษ์เป็นเพียงแค่คนเฝ้าหนังสือในห้องสมุด”
การจะเปลี่ยนภาพลักษณ์หรือค่านิยมเหล่านี้ได้ มันก็ต้องขึ้นอยู่กับเราว่า “จะยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองมั้ย”
คำถามที่ตามมา “อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วต้องทำอย่างไรหล่ะ”
บทความนี้ผมนำมาจากบทความที่อาจารย์ Michael Stephens ใช้สอนนักศึกษาของเขา
ชื่อเรื่องตามต้นฉบับ คือ “Ten Rules for the New Librarians”
บทความนี้เขียนตั้งแต่ปี 2006 นี่ก็ผ่านมาเกือบ 5 ปีแล้ว แต่ผมว่ามันก็ยังพอใช้ได้นะ
เอาเป็นว่าผมจะขอแปลเรื่องนี้แล้วกัน โดยใช้ชื่อว่า “10 ข้อปฏิบัติที่จะทำให้คุณกลายเป็นบรรณารักษ์คนใหม่”
ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นบรรณารักษ์คนใหม่ได้ มีดังนี้
1. Ask questions (ตั้งคำถาม)
– ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ พยายามอย่าให้คนสัมภาษณ์งานถามเราเพียงฝ่ายเดียว เราควรจะต้องถามและพยายามเรียนรู้เรื่องห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามคำถามกลับไปว่าตอนนี้ห้องสมุดมีโครงการไอทีหรือปล่าว และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็นอย่างไร
2. Pay attention (เอาใจใส่)
– เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถาม ที่คนสัมภาษณ์ถามด้วย ไม่ใช่ยิงคำถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความคิดเห็นของเราลงไปในคำถามด้วย
3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง)
– แน่นอนครับ บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มากโดยเฉพาะข่าวสารในแวดวงบรรณารักษ์
4. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)
– เรื่องลิขสิทธิ์ดูอาจจะเป็นเรื่องของกฎหมายซึ่งหลายๆ คนมองว่าไกลตัว แต่จริงๆ แล้วผมก็อยากบอกว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด รวมถึงสื่อออนไลน์ของห้องสมุดด้วย
5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0)
– ตรงๆ เลย ก็คือ ต้องรู้จักและนำเอา web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการในห้องสมุด หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง library 2.0 ก็ว่างั้นแหละ
6. Work and Play (ทำงานอย่างมีความสุข)
– บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจจะมีการแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวดการให้บริการกันภายในห้องสมุดก็ได้
7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)
– บางคนอาจจะบอกว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องทำโน้นทำนี่ “ฉันไม่มีเวลาหรอก” จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าไม่มีเวลาหรอกครับ แต่เพราะว่าเขาไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิกมาก็มักจะบอกว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การจัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)
– ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องหัดและทดลองใช้เทคโนโลยีเบื้องต้นให้ได้
9. Listen to the reasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
– อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง
10. Remember the Big Picture (มองภาพรวมให้ได้)
– การมองภาพรวมของการทำงานในห้องสมุดจะทำให้เราเข้าใจว่างานต่างๆ ในห้องสมุดล้วนแล้วแต่มีความสอดคล้องกัน การทำงานจึงต้องอาศัยความเชื่อมโยง หากไม่เห็นภาพรวมของห้องสมุดเราก็จะทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ คิดว่า 10 ข้อปฏิบัติเหล่านี้ยากเกินไปหรือปล่าว “แล้วจะทำได้มั้ย”
ไม่ต้องกลัวครับผมไม่ได้คาดหวังว่าเพื่อนๆ จะต้องทำตามเป๊ะๆ แต่นำเสนอมุมมองมากกว่า
สำหรับผมก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามทั้งหมด บางข้ออาจจะทำได้ไม่เต็มที่แต่อย่างน้อยเราก็ได้ทำมัน
คำถามในเรื่องวิชาชีพที่หลายๆ คนอยากรู้เรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ซึ่งผมเองก็สงสัยมานานแล้วเหมือนกันว่า ทำไมวิชาชีพของเราจึงไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เรื่องราวที่ผมจะเขียนต่อไปนี้อาจจะอ้างอิงจากประเทศฟิลิปปินส์นะครับ แต่ก็เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเหมือนกัน
เรื่องของเรื่องผมตามอ่านบล็อก filipinolibrarian มาสักระยะหนึ่งแล้ว
และพบบทความชื่อเรื่องว่า “Librarians’ Licensure Examination 2010: Results”
ซึ่งเมื่อเข้าไปอ่านแล้ว ผมก็พบข้อมูลว่า
“ผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ในปี 2010 มีคนผ่าน 27% (191 จาก 699 คน) ซึ่งน้อยกว่าปี 2009 ซึ่งมี 30% ที่ผ่าน”
เพียงแค่ประโยคนี้ประโยคเดียวมันก็ทำให้ผมสนใจเรื่องนี้มากขึ้นแล้ว “เรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ในประเทศฟิลิปปินส์บรรณารักษ์ที่จะประกอบวิชาชีพได้ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้นนะครับ
คนที่ไม่มีใบอนุญาตแล้วทำงานบรรณารักษ์ถือว่าผิดกฎหมายด้วย
ซึ่งแตกต่างจากประเทศของเรานะครับ “เอาใครก็ได้มาเป็นบรรณารักษ์”
เมื่อได้ “ใครก็ได้” มาทำงาน “มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ผมว่าเพื่อนๆ หลายคนคงรู้นะครับ
แต่ก็มีหลายๆ คนคงคิดต่อไปอีกว่า แล้วในประเทศฟิลิปปินส์เขาไม่ถกเถียงกันเรื่องนี้บ้างหรอ
จริงๆ แล้วมีการถกเถียงเรื่องนี้กันมากๆ เลย ลองอ่านได้จาก “Unlicensed Librarians and R.A. 9246”
เอกสาร R.A. 9246 คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวิชาชีพบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ออกมาตั้งแต่ปี 2004 (ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.congress.gov.ph/download/ra_12/RA09246.pdf)
ตัวอย่างบทบัญญัติที่น่าสนใจ
SECTION 31. Employment of Librarians. ? Only qualified and licensed librarians shall be employed as librarians in all government libraries. Local government units shall be given a period of three (3) years from the approval of this Act to comply with this provision.
SECTION 32. Penal Provisions. ? Any person who practices or offers to practice any function of a librarian as provided for under Section 5 of this Act who is not registered and has not been issued by the Commission a Certificate of Registration and Professional Identification Card, or a temporary license/permit or who violates any of the provisions of this Act, its Implementing Rules and Regulations, shall, upon conviction, be penalized by a fine of not less than Thirty thousand pesos (P30,000.00) nor more than One hundred thousand pesos (P100,000.00), or imprisonment of not less than one (1) month nor more than three (3) years at the discretion of the court.
นอกจากนี้สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้าไปเป็นบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ในบทบัญญัติก็กล่าวไว้ว่าต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน เป็นไงกันบ้างครับแรงไปหรือปล่าว แต่เหตุผลหลักๆ ที่เขาปฏิบัติกันมาเช่นนี้เพราะเขาต้องการรักษามาตรฐานความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์ นั่นเอง
สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ที่ฟิลิปปินส์ก็เปิดโอกาสนะ แต่ต้องไปเรียนหรือเข้าคอร์สตามมหาวิทยาลัยที่รับรองมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งจะมีประกาศออกมาทุกปี ดูได้จากตัวอย่างนะครับ “The Best and the Worst LIS Schools, 2007-2009.”
Librarian Licensure Examination 2009
ขอสรุปแบบคร่าวๆ เลยแล้วกันครับว่า “หากบรรณารักษ์ไทยอยากมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์” บ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– สภาวิชาชีพบรรณารักษ์
– สภาทนายความ
– วุฒิสภา
– มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรบรรณารักษ์
– ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
ฯลฯ
ซึ่งถามว่า “ยากมั้ย”? คำตอบ “ยากครับ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้”
เอาเป็นว่าก็ขอเอาใจช่วยลุ้นก็แล้วกันนะครับ (ใจจริงอยากให้มีนะ วงการห้องสมุดจะได้พัฒนากันมากกว่านี้)