หัวข้อที่สองของวันสุดท้าย “ความเสี่ยงในโลกออนไลน์”
โดยคุณชัยชนะ มิตรสัมพันธ์ (รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)
———————————————————————————————— Read more
ห้องสมุดสำหรับคนรักห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือ
หัวข้อที่สองของวันสุดท้าย “ความเสี่ยงในโลกออนไลน์”
โดยคุณชัยชนะ มิตรสัมพันธ์ (รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)
———————————————————————————————— Read more
ปลายเดือนนี้ (วันที่ 24 สิงหาคม 2555) ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานประชุมวิชาการฯ เรื่อง “เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด” เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดอ่านต่อด้านล่างเลยครับ
รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24 สิงหาคม 2555
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา
หัวข้อเรื่องของเทคโนโลยี cloud computing กำลังมาแรงไม่เพียงแต่วงการไอที หรือ วงการธุรกิจ แต่มันยังเริ่มเข้ามาสู่วงการศึกษา และวงการห้องสมุดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตัวอย่างการใช้งาน Cloud computing เช่น การแชร์ไฟล์ข้อมูลผ่านโลกอินเทอร์เน็ตด้วย dropbox …. (เอาไว้จะเขียนให้อ่านบ้างนะครับ)
ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ เช่น
– Cloud Computing for Education
– การหลอกลวงในโลก Internet ในปัจจุบัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
– เสวนาเรื่อง เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด: แนวคิดและประสบการณ์
– เรียนรู้เพื่ออยู่รอดในยุคดิจิตัล ( Staying Relevant in Digital Era)
– การให้บริการสารสนเทศกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน : อยู่รอด รู้ทันรอบรู้
เอาเป็นว่าหัวข้อแต่ละหัวข้อดูน่าสนใจดีทีเดียว
และถ้าหากเพื่อนๆ สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องบอกอีกนิดว่า “มีค่าใช้จ่าย” นะครับ
หากสนใจดาวน์โหลดใบสมัครและหนังสือเชิญเข้าร่วมงานได้ที่
“จดหมายเชิญเข้าร่วมงานและใบสมัครเข้าร่วมงาน“
วันนี้เจอภาพ Infographic นึงน่าสนใจมาก เป็นการนำเสนอเรื่อง การส่งต่อหรือการแบ่งปันข้อมูล
“เมื่อเราเจอข้อมูลดีๆ ในอินเทอร์เน็ต เราจะบอกต่อให้เพื่อนๆ ได้รู้ยังไง” ผมว่าน่าสนใจดีเราขอแชร์ให้เพื่อนๆ ดู
ในภาพนี้เริ่มต้นที่ “เมื่อคุณเจอเรื่องที่น่าสนใจในอินเทอร์เน็ต” และจบด้วยการแชร์ข้อมูลนี้ไปให้คนอื่นๆ
ซึ่งผลสุดท้ายหากดูจากภาพเราจะพบสองประเด็นที่น่าสนใจ คือ
1. การแบ่งปันนี่มันเยี่ยมไปเลย
2. มันแย่มาก (คุณจะโดนด่าว่าเอามาแชร์ทำไม)
ในภาพ InfoGraphic ตัวนี้ให้ข้อคิดที่ดีหลายเรื่อง ผมขอสรุปดังนี้
– เรื่องการเลือกเรื่องที่จะแชร์ (เรื่องมันน่าสนใจแค่ไหน มันเยี่ยมยังไง ประเด็นที่ต้องการแชร์คืออะไร)
– เมื่อเราเลือกที่จะแบ่งปันข้อมูลแล้ว เราก็ต้องบอกที่มาของเรื่องนั้นๆ ด้วยว่าเรานำมาจากไหน
– ลิขสิทธิ์ในเรื่องหรือรูปภาพหรือสื่ออื่นๆ (ระวังเรื่องการนำมาดัดแปลงนะ)
เอาเป็นว่าก็ดีเหมือนกันนะภาพนี้ เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้
แสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้เลยนะครับ
ที่มาของรูปนี้ http://loldwell.com/ (เป็นเว็บที่นำเสนอภาพการ์ตูนกราฟิกที่น่าสนใจ)
การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องสมุดจริงๆ แล้วมันมีเรื่องราวที่น่าคิดมากมาย
เริ่มจากเรื่องของการอนุญาติให้ใช้บริการหลายๆ ที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการบริการ
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอสอบถามเพื่อนๆ ว่า “ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร“
ผมสังเกตมาหลายที่แล้วก็เจอกรณีหลายๆ แบบ เช่น
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ผมใช้บริการก็มีการให้ใส่รหัสนักศึกษาและรหัสที่ตั้งไว้เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต
– ห้องสมุดของคณะ ในมหาวิทยาลัยก็ให้ดาวน์โหลด cert ของอินเทอร์เน็ตและติดตั้งในเครื่องก็สามารถเล่นได้เลย
– ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานแห่งหนึ่งให้ regis ด้วย mac address สำหรับพนักงานเท่านั้น
– ห้องสมุดประชาชนบางแห่งให้ลงชื่อที่เคาน์เตอร์ก่อนจึงจะให้บริการได้
– ห้องสมุดบางแห่งให้ซื้อคูปองเล่นอินเทอร์เน็ตไร้สาย
เอาเป็นว่าหลากหลายรูปแบบจริงๆ ครับ
ในเชิงผู้ให้บริการก็ควรจะต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้ แต่ในเชิงผู้ใช้ก็อยากใช้งานง่ายๆ
สองส่วนมักมองกันตรงข้ามเสมอแหละครับ แต่เราควรหาจุดกึ่งกลางความพอดี
ซึ่งทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เพื่อไม่ให้มีข้อขัดแย้งในเรื่องการให้บริการและใช้บริการต่อไป
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดไงกับเรื่องนี้ครับ ผมขอนำแบบสอบถามนี้มาถามเพื่อนๆ ว่า
“ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร”
ไม่ต้องเป็นบรรณารักษ์หรือคนในส่วนห้องสมุดก็ได้นะ อยากให้ช่วยกันตอบเยอะๆ
จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปนำเสนอให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ปรับตัวเอง
[poll id=”18″]
เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเข้าใจความอาร์ทของผู้หญิงดี
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องราวอาร์ทๆ ของผู้หญิงในแง่ของโลกไอทีกันบ้าง
ก่อนอื่นต้องขอนำผลการสำรวจจากนิตยสารไอทีฉบับหนึ่งมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งชายและหญิงวัยทำงานจำนวน 3,812 คน
ซึ่งผลการสำรวจนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า “ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะหงุดหงิดเกี่ยวกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย”
เราลองไปดูตัวอย่างคำถามในและผลการสำรวจกันหน่อยดีกว่า
1. Frustrated by slow load times for web pages
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับความช้าของการโหลดเว็บไซต์)
ผู้ชายมีจำนวน 56 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 66 %
2. Frustrated by ads on the Internet
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต)
ผู้ชายมีจำนวน 47 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 52 %
3. Frustrated by keeping track of multiple passwords
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการใส่รหัสผ่านมากๆ)
ผู้ชายมีจำนวน 32 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 34 %
4. Frustrated when their computer crashes
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการผิดพลาดของคอมพิวเตอร์)
ผู้ชายมีจำนวน 77 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 85 %
5. Frustrated if their broadband connection doesn?t reach the promised speed
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการ เชื่อมต่อไม่เป็นไปตามความเร็วที่กำหนดไว้)
ผู้ชายมีจำนวน 48 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 56 %
6. Frustrated by (interacting with) computer support
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับฝ่ายเทคนิคในการดูแลคอมพิวเตอร์)
ผู้ชายมีจำนวน 38 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 42 %
ดังนั้นจากการสรุปผลทั้งหมด เราจะพบว่าอัตราความหงุดหงิดของผู้หญิงชนะไปที่
ผู้ชายมีจำนวน 49.7 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 55.8 % นะครับ
เป็นไงกันบ้างครับ คุณผู้หญิงทั้ง หลายเมื่ออ่านจบก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดนะครับ
ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลสำรวจในสวีเดน แต่ผมเชื่อว่าของคนไทยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้
ว่าแต่คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายทั้งหลายคิดว่า ข้อมูลนี้ถูกหรือปล่าว?
ข้อมูลสนับสนุนจาก http://royal.pingdom.com/2008/07/09/women-more-frustrated-by-the-web/
บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง
โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important”
บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง
เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้
รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน
แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง
แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ
33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ
1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต
2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections
3. The internet isn?t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี
4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น ? อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries
6. Digitization Doesn?t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน ? มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง
7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน ? มีกรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน
8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน ? เหมือนขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ
9. Libraries aren?t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว ? ในห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ
10. Mobile devices aren?t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด ? เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง
11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน ? มีการพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได้
12. Library attendance isn?t falling ? it?s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา
13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี
14. We just can?t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ ? เพราะเนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย
15. Google Book Search ?don?t work?
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ
16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้
17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม
18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก ? ห้องสมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย
19. The internet isn?t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ ? ต้องยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า
20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ
21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators ? ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี
22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ตครับ
23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง ? ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ
24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธีนึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา
25. Libraries? collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว
26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกตได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน
27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้
28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว ? เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง
29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ? ความสามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ
30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ ? อธิบายง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน
32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ ? พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
33. Old books are valuable
ในยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน
เป็นอย่างไรบ้างครับ จบตอนกันสักที
จุดประสงค์ที่เอามาให้อ่านไม่ใช่ว่าอาชีพอย่างเรา จะอยู่อย่างเป็นนิรันดร์นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านกันจริงๆ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนบทบาทการทำงาน
รวมถึงห้องสมุดก็เปลี่ยนบทบาทและรูปแบบในการให้บริการ
ที่เด่นๆ ก็เห็นจะเป็น จากห้องสมุดทางกายภาพจะกลายเป็นห้องสมุดเสมือน
รวมถึงสื่อต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้นนะครับ
เลขมาตรฐานที่คนในวงการบรรณารักษ์ต้องรู้ เช่น ISBN, ISSN
แต่วันนี้ผมขอนำเสนอเลขมาตรฐานอีกอย่างนึงให้เพื่อนๆ รู้จัก นั่นก็คือ IBSN
IBSN คืออะไร
“The IBSN (Internet Blog Serial Number) is created on February 2, 2006 in answer to a denial from current administration to assign ISSN numbers to Internet blogs.”
แปลให้อ่านง่ายๆ ครับ IBSN คือ
เลขมาตรฐานสำหรับบล็อกบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2006
เพื่อเป็นเลขที่ใช้ชี้หรืออ้างอิงบล็อกบนอินเทอร์เน็ต
การสมัครก็ง่ายๆ ครับ ไปที่หน้า http://ibsn.org/register.php ได้เลย
แล้วกรอกตัวเลขในช่องที่ปรากฎซึ่งต้องเป็นเลข 10 หลัก และจะขีดขั้น (-) ตรงไหนก็ได้ 4 ขีด
จากนั้นก็ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกตามภาพเลยนะครับ
URL del blog : ใส่ URL ของบล็อกคุณในช่องนี้
Nombre del blog : ใส่ชื่อของ blog คุณในช่องนี้
e-mail : กรอกอีเมล์ของคุณ
Comentario : ใส่รายละเอียดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบล็อกของคุณในช่องนี้
จากนั้นให้กดตรงปุ่ม Solicitar แล้วก็จะได้เลข IBSN ครับ
Libraryhub ของผมก็ไปจดเลข IBSN มาแล้วนะ ไม่เชื่อดูดิ
เลข IBSN ของผม คือ 0-29-09-19820
สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่
http://ibsn.org
หลังจากที่ผมลองเล่น Facebook มาได้ระยะหนึ่ง
ผมก็ได้พบกับห้องสมุดต่างๆ มากมายที่สมัครใช้งาน Facebook เช่นกัน
วันนี้ผมเลยขออนุญาตพาเพื่อนๆ เข้าไปดูห้องสมุดต่างๆ เหล่านี้หน่อย
ว่าเขาใช้ Facebook ทำอะไรบ้าง
แต่ก่อนอื่นผมขอแอดห้องสมุดเหล่านี้ไว้เป็นเพื่อนผมก่อนนะครับ
เมื่อแอดห้องสมุดเหล่านี้เสร็จ ผมก็เริ่มเข้าไปดูทีละส่วนของห้องสมุดเลยครับ
ส่วนแรกที่ผมได้พบ คือ ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย
– ชื่อห้องสมุด
– ที่อยู่
– แฟนคลับของห้องสมุด
– ข้อความทักทายผู้ใช้งาน
– รูปภาพของห้องสมุด
– วีดีโอแนะนำห้องสมุด
เดิมทีผมคิดว่าห้องสมุดใน Facebook จะสามารถทำได้เพียงเท่านี้
แต่ความเป็นจริงแล้วห้องสมุดยังสามารถใช้ Facebook ทำอย่างอื่นได้อีก
ฟีเจอร์เสริมที่ห้องสมุดนำมาใช้
– แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมายที่ห้องสมุดแนะนำ โดยใช้ RSS Feed
– จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ห้องสมุดอื่นๆ หรือบล็อกห้องสมุด (Link)
– ระบบสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ
– บริการพจนานุกรมออนไลน์
ภาพแสดงตัวอย่างระบบสืบค้นฐานข้อมูลที่อยู่ใน Facebook
– SUNCAT Search
– WorldCat
– Warwick Library E-Journal Search
– Oxford English Dictionary Search
เป็นยังไงกันบ้างครับ ห้องสมุดบน Facebook ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดหรือปล่าว
อ๋อเกือบลืมบอกไป ว่าที่สำคัญอีกอย่าง คือ การสมัคร facebook ไม่ต้องเสียเงินสักบาทเลยนะครับ
รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆ พร้อมที่จะนำห้องสมุดของท่านขึ้นมาไว้บน facebook บ้างหรือปล่าว