10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อก  socialnetworkinglibrarian แล้วเจอบล็อกเรื่องนึงที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องคำทำนายเกี่ยวกับ Social Media ที่จะเกิดในวงการห้องสมุดปี 2012

เรื่องของ Social Media ไม่ใช่เรื่องแฟชั่นอีกต่อไปแล้วนะครับ
เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะวงการไหนๆ ก็ให้ความสำคัญกับมัน และใช้กันอย่างแพร่หลาย
ไม่พ้นวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์เช่นกัน เราจะต้องทำความรู้จักกับมันและใช้มันให้เป็น

ต้นฉบับเรื่องนี้ คือ Top 10 Social Media and Libraries Predictions for 2012

ผมขอแปลแบบสรุปๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกันนะครับ

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012
1. จำนวนของเว็บไซต์ห้องสมุดที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์สื่อสารไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ tablet ฯลฯ
2. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Youtube เพื่อใช้วีดีโอทำการตลาดให้ห้องสมุดและเพื่อการศึกษา
3. ห้องสมุดจะสื่อ Social media มากกว่าการเป็นแค่สื่อประชาสัมพันธ์
4. Google+ จะได้รับความนิยมมากขึ้นและห้องสมุดหลายๆ แห่งจะเข้าไปสร้าง page บน Google+ ด้วย นอกเหนือจากการสร้าง page บน facebook
5. ห้องสมุดจำนวนมากจะค้นหาวิธีเพื่อสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app)
6. ผู้ให้บริการด้านฐานข้อมูลจะสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app) และห้องสมุดก็นำ app เหล่านี้ไปให้ผู้ใช้บริการใช้ต่อไป
7. เว็บไซต์วิจารณ์หนังสือ (Review book) เช่น Goodreads และ librarything จะถูกใช้จากวงการห้องสมุดมากขึ้น
8. ห้องสมุดจะนำโปรแกรมจำพวก Opensource มาใช้มากขึ้น
9. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้เกมส์ออนไลน์เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและการศึกษา
10. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Google app มากกว่าแค่การใช้บริการอีเมล์

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับแนวโน้มในปีนี้

จากข้อมูลข้างต้นเพื่อนๆ จะสังเกตว่าเรื่องของ Facebook เริ่มไม่ค่อยมีการพูดถึงแล้ว เนื่องจากมันเข้ามาอยู่กับวงการห้องสมุดในต่างประเทศนานพอสมควรแล้ว ปีนี้เรื่อง google+ กำลังมาจึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษหน่อย และเรื่อง ebook เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าไม่นิยม แต่มันได้รับความนิยมจนคงที่แล้ว ตอนนี้เรื่อง Review book กำลังน่าสนใจเช่นกัน

เอาเป็นว่าปี 2012 จะเป็นอย่างไร เพื่อนๆ ต้องจับตาดูกันต่อไปนะ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ อยากอ่านเรื่องเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://socialnetworkinglibrarian.com/2011/12/29/top-10-social-media-and-libraries-predictions-for-2012/

วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ในที่สุดคลิปวีดีโอที่ผมบรรยายเรื่องเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ก็ออกมาให้ได้รับชม
วันนี้เลยขอนำมาให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ที่ไม่ได้มาร่วมงานได้ชมกัน

งานเสวนานี้มีวิทยากร คือ คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง
ซึ่งดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

วันนั้นเสวนาร่วมกันประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แต่ในคลิปวีดีโอนี้ขอสรุปแต่ตอนไฮไลท์มาให้ชม 18 นาที
ซึ่งผมได้ดูเบื้องต้นแล้วเป็นช่วงที่เด่นๆ และมีไอเดียที่น่าสนใจดีครับ

ไปชมคลิปวีดีโอนี้กัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Qe_4qWGUFsk[/youtube]

เป็นไงกันบ้างครับ ยังไงก็ติชมกันได้ ด้านล่างนี้เลยนะครับ

รายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้ผมสรุปไว้ที่เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. ขอบคุณ สำนักหอสมุด ม.รังสิต ที่จัดทำคลิปนี้มาเผยแพร่

เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (วันที่ 12 มกราคม 2554) ผมมีโอกาสไปร่วมงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
ซึ่งในงานนี้น่าสนใจมาก ผมจึงขอนำบทสรุปของงานเสวนาในงานสัปดาห์ห้องสมุดมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

งานในวันแรกนี้ไฮไลท์ก็อยู่ที่งานบรรยายและงานเสวนาเรื่องเครือข่ายสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ซึ่งในช่วงเช้า วิทยากรก็คือ คุณชัชวาล สังคีตตระการ (ผู้ที่อยู่เบื้องหลังโปรแกรม ABDUL)
ซึ่งมาพูดเรื่อง “สังคมฐานความรู้ กับ สังคมเครือข่าย”
แค่ชื่อเรื่องก็น่าฟังแล้วใช้มั้ยครับ ไปดูเนื้อหาที่ผมสรุปดีกว่า

เรื่อง “สังคมฐานความรู้ กับ สังคมเครือข่าย” โดย คุณชัชวาล สังคีตตระการ

– ประเดิมสไลด์แรกด้วยการแนะนำคำว่า Human Language Technology และ Human-Computer Technology ซึ่งหลักๆ ได้แนะนำเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนและคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้คนเราต้องทำความเข้าใจคอมพิวเตอร์ แต่ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะต้องสื่อสารกับเราและทำความเข้าใจกับคนเช่นกัน

– เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย TEXT, SPEECH, INFORMATION, LINGUISTICS

– ปัจจุบันที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ได้ก็มาจาก Monitor ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหลักๆ ก็ได้แก่ TV, Computer, Mobile

– ในช่วงวันเด็กที่ผ่านมาชาว Twitter เล่น tag #WhenIWasYoung กันมาก แต่ที่วิทยากรประทับใจ คือ รูปเด็กที่เข้าแข่งขันการใช้ Linux ซึ่งมันแฝงแง่คิดว่าเด็กสมัยนี้เกิดมาก็เจอหน้าจอคอมพิวเตอร์เลย ซึ่งทำให้เกิดความกังวลกับผู้ปกครอง เพราะว่ากลัวเด็กจะนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น กลัวลูกติดเกมส์ ซึ่งวิทยากรได้แนะนำต่อไปว่าเด็กก็เหมือนกับผ้าสีขาวนั่นแหละ การใช้เทคโนโลยีก็เหมือนจุดสีดำ ผู้ปกครองบางคนกลัวเด็กใช้มากๆ ก็ทำให้เกิดการกีดกั้นเด็กก็พยายามไปลบสีดำจุดนั้น ซึ่งหากสังเกตคือเมื่อเรายิ่งลบจุดดำมันก็จะเลอะผ้าไปมากขึ้น (ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ) ทำให้ผ้าสกปรกและไม่น่าใช้ แต่คิดในมุมกลับกันว่าหากสีดำหยดนั้นหยดลงมาแล้วพ่อแม่ช่วยกันแต่งเติมให้เป็นรูปต่างๆ ผ้าผืนนั้นก็จะทำให้สวยงามและมีค่ามากขึ้นด้วย

– Computer VS Mobile ในปัจจุบันสองสิ่งนี้เริ่มขยับตัวใกล้เข้าหากันมากขึ้น มือถือมีการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ลงไปจนคล้ายกับคอมพิวเตอร์

– 2011 Smartphone > Feature Phone (โทรศัพท์แบบเดิม) ข้อมูลจาก morgan stanley
– 2012 Smartphone > Notebook+PC ข้อมูลจาก morgan stanley

– คนไทยมี 63 ล้านคน แต่เบอร์โทรศัพท์กลับมี 64 ล้านเลขหมาย มันสะท้อนอะไร?

– ข้อมูลการใช้ Internet ในเมืองไทย (จากการสำรวจของ NECTEC)คนไทย 24 ล้านคนใช้อินเทอร์เน็ต

– จุดประสงค์ในการใช้ (เรียงจากมากไปน้อย)
– 2552 -> Search Email News Elearning Webboard Chat
– 2553 -> Email Search News Elearning Webboard Chat

– ห้องสมุดจากอดีตสู่อนาคต หากเข้าห้องสมุดคุณจะพบอะไรบ้าง
ระยะที่ 1 พบคนอ่านหนังสือในห้องสมุด
ระยะที่ 2 พบคนเข้ามาใช้คอมพิวเตอร์ในห้องสมุด
ระยะที่ 3 พบคนนำโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุด
ระยะที่ 4 พบคนนำ Netbook มาใช้ในห้องสมุด
ระยะที่ 5 พบคนนำ tablet มาใช้ในห้องสมุด

– เรียนรู้จากโลกออนไลน์มีหลายวิธี เช่น ITuneU, Youtube, Wikipedia

– แนะนำ Web 1.0 , 2.0 , 3.0

– 2015 -> 10% of your online friends will be nonhuman

– แนะนำโปรแกรม ABDUL

เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก็ตามนี้นะครับ สำหรับเอกสารในการบรรยาย รอดาวน์โหลดได้ที่ http://library.rsu.ac.th (ตอนนี้ยังไม่ขึ้นนะ)

ช่วงเช้าก็จบประเด็นไว้เพียงเท่านี้นะครับ ส่วนช่วงบ่ายงานเสวนาเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
โดย คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง ดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

ในช่วงบ่ายหลักๆ วิทยากรก็ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องสื่อออนไลน์ ดังนี้

– การแบ่งประเภทสื่อออนไลน์
– ข้อดีและข้อเสียของการใช้สื่อออนไลน์
– ข้อควรระวังในการใช้สื่อออนไลน์
– ทำไมเราต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน
– กรณีการใช้สื่อออนไลน์ในงานต่างๆ
– ห้องสมุดกับสื่อออนไลน์

เอาเป็นว่าสรุปสั้นๆ แค่นี้ดีกว่า เพราะวันนั้นผมเองก็อยู่บนเวทีสมาธิเลยอยู่ที่การบรรยายมากกว่า
แต่ขอสรุปง่ายๆ ว่า การรู้จักเทคโนโลยีและใช้มันให้ถูกต้องจะทำให้เราได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่าคนอื่น

การบรรยายและเสวนาก็จบด้วยดี แต่งานสัปดาห์ห้องสมุดไม่ได้มีแค่งานบรรยายอย่างเดียวนะ
ในห้องสมุดยังมีนิทรรศการและกิจกรรมการส่งเสริมการรักการอ่านอื่นๆ ด้วย
ซึ่งวิทยากรอย่างพวกเราไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วมาเยี่ยมชมดูสักนิดก็ดีเหมือนกัน

วิทยากรทั้งสามก็ขอแจมเรื่องการเขียนแนะนำหนังสือที่ตัวเองชอบและติดไว้ที่บอร์ดแนะนำหนังสือด้วย
ซึ่งในใบแนะนำก็มีให้ใส่ชื่อหนังสือ เวลาที่ชอบอ่านหนังสือ และบอกต่อหนังสือที่น่าอ่าน

จากนั้นพวกเราก็ถ่ายภาพร่วมกับเหล่าบรรณารักษ์ในหอสมุดซึ่งแน่นอนว่า น้องซี ถูกถ่ายรูปเยอะที่สุด
ส่วนผมเองก็โดนดึงไปดึงมาถ่ายรูปกันสนุกสนาน ก็สรุปง่ายๆ ว่าประทับใจกับพี่ๆ ที่นั่นจริงๆ ครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทีมงานที่จัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ทุกคนครับ
ขอชื่มชนจากใจว่าจัดงานได้ดี สนุก และได้รับความรู้กันมากๆ

ชมภาพงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม.รังสิตในวันแรก (วันที่มีงานเสวนา) ได้ที่
http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=267520&id=695394799

ปล. ภาพบางส่วนที่นำมาลงที่นี่ก็นำมาจากแหล่งเดียวกันนะครับ
http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=267520&id=695394799

สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สัปดาห์ห้องสมุดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากในสถานศึกษาหลายๆ ที่ ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งจัดธีมงานได้น่าสนใจ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้อ่านเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมห้องสมุดกัน

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่อกิจกรรม : สัปดาห์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ธีมงานหรือหัวข้อของงาน : เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วันที่จัดงาน : วันที่ 12-14 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : สำนักหอสมุด อาคารหอสมุด (อาคาร 7) มหาวิทยาลัยรังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

ธีมของงานนี้อย่างที่บอกแหละครับว่าอยู่ในเรื่องของ Social Network เป็นหลัก
ซึ่งจะสังเกตได้จากวัยรุ่นยุคใหม่ให้ความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น
ในฐานะของสถานศึกษาก็ควรจะต้องปรับตัวให้ทันยุคทันกระแสและนำสิ่งเหล่านี้มาประยุกต์ใช้
เพื่อให้วงการศึกษาหรือทุกๆ สื่อเข้าถึงและเข้าใจพฤติกรรมและการตอบสนองต่อการบริการของผู้ใช้บริการได้ด้วย

กิจกรรมที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง “สังคมฐานความรู้กับสังคมเครือข่าย : ไปด้วยกัน ไปได้ไกล”
– จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร
– การอบรมและสอนการใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ
– กิจกรรมอื่นๆ เช่น การออกร้านหนังสือ ของที่ระลึก นิทรรศการ และนำชมห้องสมุด

อ๋อ ลืมบอกงานนี้ผมก็ได้รับเชิญเป็นวิทยากรด้วยเช่นกันในเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
ซึ่งก็ขอบอกเลยว่าเรื่องที่ผมจะนำมาพูดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้งานสื่อทางออนไลน์กับวงการห้องสมุด

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเข้าร่วมฟังบรรยายก็กรอกแบบฟอร์มได้ที่ http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจในงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม รังสิต ก็อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อกของกลุ่ม Social Network Librarian มาพบบทความที่น่าสนใจ
โดยบทความเรื่องนี้จะชี้ว่า Social Media กับงานห้องสมุดในปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร

ต้นฉบับเรื่องนี้ชื่อเรื่องว่า “Social Media and Library Trends for 2011” จากบล็อก socialnetworkinglibrarian

เมื่อปีก่อนผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Trend ด้านเทคโนโลยีของห้องสมุดในปี 2010 มาแล้ว
ลองอ่านดูที่ “ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า” ซึ่งประกอบด้วย
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.

ในปี 2011 บล็อก socialnetworkinglibrarian ก็ได้บอกว่า Trend ในปี 2011 มีดังนี้
1. Mobile applications
2. QR Codes
3. Google Applications
4. Twitter
5. Virtual reference
6. Collaboration between librarians
7. Teaching social media classes
8. Using social media for library promotion

จะสังเกตได้ว่า บางอย่างยังคงเดิม เช่น Mobile applications, Google Applications, Collaboration, Teaching social media classes และ library promotion ซึ่งแนวโน้มของสิ่งเหล่านี้มันก็บ่งบอกว่าเทคโนโลยียังคงปรับตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน ปีที่แล้วเราอาจจะพูดเรื่องการสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ห้องสมุดในแบบที่ใช้ในมือถือ ปีนี้ผมมองในส่วนของเรื่องโปรแกรมห้องสมุดที่หลายๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เอาเป็นว่าก็เป็นสิ่งที่น่าติดตาม

ส่วนตัวใหม่ๆ ที่เข้ามาในปีนี้ เช่น QR Codes, Twitter, Virtual reference จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ใหม่ในวงการไอทีหรอกครับ แต่ปีที่ผ่านมาจากการประชุมหลายๆ งานที่จัดได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปีก่อนเราพูดกันในภาพรวมของ social network โดยเฉพาะ Facebook มาปีนี้ Twitter มาแรงเหมือนกัน ห้องสมุดก็ต้องตามสิ่งเหล่านี้ให้ทันด้วย

ผมขอแสดงความคิดเห็นอีกเรื่องนึงคือ E-book readers ซึ่งจริงๆ ผมก็ยังมองว่ามันเป็น trend อยู่
เนื่องจากราคาที่ถูกลงจนสามารถหาซื้อมาใช้ได้แล้ว แต่ข้อจำกัดอยู่ที่หนังสือภาษาไทยอาจจะยังมีไม่มาก
ผมก็ฝากบรรดาสำนักพิมพ์ในไทยด้วยนะครับว่า ถ้าสำนักพิมพ์ต่างๆ ออกหนังสือมาทั้งสองแบบ (ตัวเล่ม + E-book)

เป็นไงกันบ้างครับกับ Trend ด้าน Social Media ในวงการห้องสมุด
เพื่อนๆ คงเห็นภาพกว้างแล้วแหละ ลองแสดงความคิดเห็นมากันหน่อยครับว่าเพื่อนๆ เห็นต่างจากนี้อีกมั้ย
แล้วมี trend ไหนอีกบ้างที่ห้องสมุดของพวกเราต้องมองตาม…

ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า

อีกไม่กี่วันก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2010 แล้วนะครับ วันนี้ผมจึงขอนำเสนอบทความเรื่อง
แนวโน้มของการใช้ social networking ในวงการห้องสมุดปี 2010” นะครับ

sns-library

บทความนี้ต้นฉบับมาจากเรื่อง “Top 10 Social Networking in Libraries Trends for 2010”

สาระสำคัญของบทความชิ้นนี้คือการชี้ให้เห็นถึงทิศทางในการใช้ Social Networking ต่างๆ เพื่องานห้องสมุด
ซึ่งหากเพื่อนๆ ติดตามกระแสของการใช้เครื่องมือเหล่านี้ เพื่อนๆ จะรู้ว่าแนวโน้มห้องสมุดมีการนำมาใช้มากขึ้น
ซึ่งบทความชิ้นนี้ได้สรุปออกมาเป็นหัวข้อย่อยๆ 10 อย่างด้วยกันดังนี้

1. An increase in the use of mobile applications for library services.
โปรแกรมที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ของห้องสมุดในโทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น
เช่น ใน Iphone ของผมตอนนี้ก็มี โปรแกรมที่น่าสนใจ เช่น DCPL, bibliosearch เป็นต้น

2. Even more ebook readers and the popularity of the ones that already exist.
กระแสของการใช้ Ebook Reader ปีที่ผ่านมาถ้าเพื่อนๆ สังเกตก็จะพบว่ามีจำนวนที่โตขึ้นมา
เว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ให้บริการ download Ebook มากมาย ซึ่งบริการเช่นนี้จะเกิดในห้องสมุดอีกไม่นานครับ

3. The usage of more niche social networking sites for the public at large and this will spill over into libraries.
จำนวนเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ social networking เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมันก็กำลังจะเข้ามาสู่วงการห้องสมุดเพิ่มขึ้น
ผมขอยกตัวอย่างสักเรื่องนึง คือ twitter หลายๆ ห้องสมุดในไทยตอนนี้ยังเริ่มใช้บริการกันแล้วเลยครับ

4. An increase in the amount and usage of Google Applications such as Google Wave and other similar applications.
การใช้งาน application บน google มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นด้วย เช่น google wave หรือโปรแกรมอื่นๆ
เพื่อนๆ คนไหนอยากได้ invite google wave บอกผมนะเดี๋ยวผมจะ invite ไปให้

5. The Google Books controversy will more or less be resolved and patrons will begin to use it more.
google book มีการใช้งานมากขึ้นเช่นกัน หลังจากที่มีอยู่ช่วงนึงเป็นขาลง แต่ตอนนี้จำนวนผู้ใช้กลับเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีกแล้ว
(นอกจากนี้ google book ยังได้รับความร่วมมือจากห้องสมุดอีกหลายๆ แห่งด้วย)

6. Library websites will become more socialized and customized
เว็บไซต์ของห้องสมุดจะมีความเป็น 2.0 มากขึ้น (ตอบสนองกับผู้ใช้มากขึ้น)
ลักษณะการให้บริการบนเว็บไซต์ของห้องสมุดจะเปลี่ยนไป

7. College libraries will use more open source software and more social networking sites.
ห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังตื่นตัวเรื่อง Open source รวมถึงการใช้ social network ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
เช่น Moodle, greenstone, Dspace ฯลฯ

8. More libraries will use podcasting and itunes U to communicate with patrons.
ห้องสมุดหลายๆ ที่จะมีการใช้ podcast และนำ itune เข้ามาติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
ตัวอย่าง เช่น การให้บริการ podcast ของ Library of Congress

9. More libraries will offer social networking classes to their patrons.
เมื่อห้องสมุดใช้ Social networking มากขึ้นแล้ว ห้องสมุดก็ต้องจัดคอร์สอบรมให้ผู้ใช้บริการด้วย
โดยปีหน้าห้องสมุดหลายๆ ที่จะมีการจัดคอร์สเกี่ยวกับเรื่อง Social Networking เพิ่มมากขึ้น
แล้วเราคงจะได้เห็นหลักสูตรแปลกๆ เพิ่มมากขึ้นนะครับ

10. Social networking in libraries will be viewed more as a must and as a way to save money than as a fun thing to play with or to use to market the library.
การนำ Social networking ที่ห้องสมุดนำมาใช้วัตถุประสงค์หลักๆ คือ การลดค่าใช้จ่ายมากกว่าเล่นเพื่อนสนุกสนาน
นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างกฎทางการตลาดใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุดด้วยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับกระแสแห่งเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า
ห้องสมุดของเพื่อนๆ พร้อมแล้วหรือยังที่จะก้าวไปข้างหน้าเหมือนกับห้องสมุดหลายๆ แห่งทั่วโลก
เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นกำหลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ…ก้าวต่อไป