เพจแนะนำ โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก Library at Your Nose Tip

นานๆ ทีจะว่างเขียนบล็อก วันนี้ผมขอเขียนแนะนำหน้าแฟนเพจใน Facebook บ้างดีกว่า ซึ่งผมเองก็เป็นแฟนเพจของหลายๆ เพจบน Facebook เช่นกัน และรู้สึกว่าบางทีน่าจะนำมา review ให้เพื่อนๆ ได้รู้จักบ้าง

เริ่มวันแรกด้วย เพจนี้เลย : โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก (Library at Your Nose Tip)
http://www.facebook.com/LibraryAtYourNoseTip

library_atyour_nose_tip

ก่อนอื่นไปดูเขาแนะนำตัวกันก่อนเลยครับ (ขออนุญาต copy มาให้อ่าน)

โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก – Library at Your Nose Tip

โครงการที่มีชื่อมาจากละครเวทีที่ ป๋าเต็ด แห่ง FAT Radio เคยเล่นเมื่อหลายปีก่อน ชื่อ สุภาพบุรุษสุดปลายจมูก ซึ่งผมชอบเพลงประกอบของมันมาก (อัดเทปไว้ ตอนนี้เทปตลับนั้นยังอยู่) และ ชื่อนี้ผมต้องการจะสื่อว่า วิธีสร้างห้องสมุดง่ายๆ อยู่ใกล้แค่ปลายจมูก

โครงการนี้เป็นโครงการรับบริจาคหนังสือ (และเงิน) เพื่อไปส่งต่อให้ห้องสมุดที่ขาดแคลน เป็นการสนองความสนุกส่วนตัว และ ผู้ที่ต้องการร่วมสนุกไปด้วยกัน โครงการนี้แอบมีเป้าหมายจะไปให้ครบ 76 จังหวัด โดยจะทำทุก 3 เดือน การเลือกโรงเรียนหรือสถานที่ที่จะไปเป็นไปตามความพอใจเท่านั้น เพราะเชื่อว่าหนังสือถ้าอยู่ในมือผู้รู้ค่าก็มีประโยชน์เองแหละ การทำบุญร่วมกันอาจจะทำให้มาเจอกันอีกในชาติหน้า ควรใช้วิจารณญาณในขณะที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนก่อนตัดสินใจร่วมทำบุญ

แค่หน้าแนะนำตัวผมว่าก็เก๋ใช่ย่อยเลยครับ แถมมีเป้าหมายด้วยนะ

ในเพจนี้มีอะไรบ้าง (ขอสำรวจดูสักหน่อย)
– ข่าวสารกิจกรรมของเพจที่ออกไปช่วยห้องสมุดต่างๆ
– การแนะนำและวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
– ช่องทางในการรับบริจาคหนังสือ
ฯลฯ

อัพเดทความเคลื่อนไหวของโครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก
เท่าที่ตามอ่านในหน้าเพจ ตอนนี้เห็นว่าดำเนินกันไป 41 จังหวัดแล้วนะครับ

library_atyour_nose_tip1

นับว่าเป็นเพจที่มีกิจกรรมมากกว่าแค่ออนไลน์จริงๆ….

ตัวอย่างของการเป็นช่องทางในการรับบริจาคหนังสือและสื่อเพื่อห้องสมุด

library_atyour_nose_tip2

เอาเป็นเจอเพจดีๆ แบบนี้แล้ว ผมเองในฐานะของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยจึงขอแนะนำให้เพื่อนๆ ไปตามเป็นแฟนเพจด้วยนะครับ

http://www.facebook.com/LibraryAtYourNoseTip

คราวหน้าผมจะแนะนำเพจไหนอีก เพื่อนๆ ต้องรอติดตามแล้วกันนะครับ

1 วัน 1 ภาพ เพื่อสื่อความเป็นห้องสมุดและบรรณารักษ์ยุคใหม่

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย วันนี้ผมขอนำเสนอแนวคิดนึงที่ผมนำมาใช้กับเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้สักระยะนึงแล้ว นั่นคือ “การจัดทำภาพข้อความเพื่อสื่อถึงความเป็นห้องสมุดและบรรณารักษ์ยุคใหม่” วันนี้ผมขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านสักหน่อย

1 ในความคิดและความตั้งใจของผมในปีนี้ คือ จะต้องโพสภาพข้อความที่เกี่ยวข้องกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้ได้วันละ 1 ภาพ

โดยรูปภาพที่ผมนำมาโพสนี้ ผมไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไรที่มันซับซ้อนเลย
แถมเป็นโปรแกรมฟรีอีกต่างหาก นั่นคือ โปรแกรม “Line Camera” นั่นเอง
และต้องบอกอีกว่าบางครั้งก็ใช้โปรแกรมง่ายๆ อย่าง Microsoft Powerpoint นั่นเอง

สิ่งที่ผมจะบอก คือ ความง่ายของมัน
โปรแกรมที่ผมพูดถึงข้างต้นมันง่ายมากๆ
แต่เพื่อนๆ หลายคนคิดไม่ถึง

ผมขอยกตัวอย่างภาพที่ผมทำจาก Microsoft Powerpoint ภาพ Infographic หลายๆ ตัวที่ผมเคยโพสไปแล้วในบล็อกนี้

(ลองอ่านเรื่อง Infographic สมาชิกบล็อกห้องสมุดกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ หรือ [InfoGraphic] 1 ปี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีกับข้อมูลที่น่าสนใจ)

เรื่องโปรแกรมบอกตรงๆ ครับมันไม่ยาก แต่เรื่องยาก คือ การนั่งคิดประโยคโดนๆ ที่จะสื่อสารออกมาในแต่ละวัน บางครั้งต้นใช้เวลาคิดเป็นชั่วโมงเลย บางทีก็คิดได้หลายๆ เรื่องพร้อมกัน

เมื่อได้ข้อความแล้วก็นำมาแยกประโยคและค่อยๆ พิมพ์ลงในโปรแกรมและจัดให้มันดูสวยงาม
เพียงแค่นี้ผมก็มีรูปภาพข้อความเก๋ๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วครับ

ลองมาดูกันตั้งแต่วันที่ 1 – 6 มกราคม 2556 ผมโพสรูปภาพอะไรไปแล้วบ้าง

วันที่ 1 มกราคม 2556

วันที่ 2 มกราคม 2556

วันที่ 3 มกราคม 2556

วันที่ 4 มกราคม 2556

วันที่ 5 มกราคม 2556

วันที่ 6 มกราคม 2556

เอาเป็นว่าพอจะมองเห็นภาพกันแล้วใช่มั้ยครับ
ไอเดียนี้ทำให้คนเข้ามาที่เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยมากขึ้นเยอะมากๆ เลย
ผมเลยอยากให้เพื่อนๆ ลองทำกันดู อย่าคิดอะไรยากครับ ณ จุดๆ นี้

เมื่อนายห้องสมุดจัดกิจกรรมอ่านข้ามปีให้ชาวบรรณารักษ์

เมื่อสัปดาห์ก่อนผมเห็นเพื่อนๆ ถามถึงกันมากว่าในวันสิ้นปีจะ count down ที่ไหน และจะทำอะไรข้ามปี คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน คือ “ไปนับถอยหลังกับเพื่อนๆ” บ้าง “อยู่นับถอยหลังกับครอบครัวที่บ้าน“บ้าง และกิจกรรมอีกกิจกรรมที่คนให้ความสนใจกันเยอะคือ “การสวดมนต์ข้ามปี” ผมจึงจัดทำรูปภาพขึ้นมาสำหรับเพื่อนๆ ชาวเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยว่า

“สำหรับชาวห้องสมุด ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมสำหรับวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ผมขอแนะนำ อ่านหนังสือข้ามปี กระแสใหม่สำหรับหนอนหนังสือ”

ซึ่งหลังจากที่ทำรูปภาพนั้นเสร็จ ผมก็คิดทันทีว่า “ลองจัดกิจกรรมแปลกๆ ดูกันมั้ย”

ผมจึงลงประกาศใต้รูปว่า

“ไม่ต้องทำตามแบบใคร เราก็มีกิจกรรม countdown ได้ตามสไตล์เรา (ห้องสมุดและบรรณารักษ์) นายห้องสมุดขอชวนเพื่อนๆ อ่านหนังสือข้ามปีเพื่อสร้างกระแสการรักการอ่าน ในคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ถ่ายภาพของคุณกับหนังสือที่คุณจะใช้อ่านข้ามปี แล้วโพสมาที่เพจเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย 10 คนแรกที่โพสมาจะได้รับของที่ระลึกเก๋ๆ จากนายห้องสมุดจ้า ปล. ส่งได้หลังเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นะครับ ประกาศผลในวันที่ 1 มกราคม 2556 ครับ”

นอกจากนั้นผมยังทำรูปขึ้นมาอีกรูปเพื่อย้ำถึงกิจกรรมนี้

ซึ่งในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ผมก็นั่งลุ้นดูว่าจะมีเพื่อนๆ สนใจกิจกรรมนี้กันหรือไม่ จะมีคนมาร่วมลุ้นรางวัลกับผมหรือเปล่า (ตั้งใจว่าจะแจกของที่ระลึก 10 รางวัลนะ) แต่ผลออกมาว่า

มีผู้ร่วมสนุกกับกิจกรรม “อ่านข้ามปี” กับเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย จำนวน 7 คน

เราไปดูผลงานของทั้ง 7 คนเลยดีกว่าว่า เขาอ่านอะไรกันบ้าง

คนที่ 1 : “Nuan Kesaree”
อ่าน : “เมฆาสัญจร (Cloud Atlas)”

คนที่ 2 : “Siriluk Okaoka”
อ่าน : “หัวใจรักมังกรอหังการ”

คนที่ 3 : “Ilham Seng”
อ่าน : “คู่มือเพิ่มความสุขทุกๆวัน”

คนที่ 4 : “Pretty Lib”
อ่าน : “แฟรี่วอร์ : ดอกไม้แห่งกาลเวลา”

คนที่ 5 : “Chaninthron Uanlam”
อ่าน : “เล่าเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน”

คนที่ 6 : “Piraporn Kiewkhen”
อ่าน : “บทสวดพลจักรรัตนสูตรเพื่อกำจัดภัยพิบัติดั่งสมัยพุทธกาล”

คนที่ 7 : “Natthicha Smile Klongklaew”
อ่าน : “คนตายยาก”

เอาเป็นว่าผมก็ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนุกกับกิจกรรม “อ่านข้ามปี” ของผมนะครับ
ขอสรุปรายชื่อผู้โชคดีทั้ง 7 คน ดังนี้
1. Nuan Kesaree
2. Siriluk Okaoka
3. Ilham Seng
4. Pretty Lib
5. Chaninthron Uanlam
6. Piraporn Kiewkhen
7. Natthicha Smile Klongklaew

ผู้ที่มีรายชื่อดังกล่าวเดี๋ยวผมจะติดต่อไปหลังไมค์นะครับ
เพื่อขอที่อยู่และจะจัดส่งของที่ระลึกไปให้

เอาเป็นว่าปีหน้าค่อยมาเจอกันใหม่กับการ “อ่านข้ามปี” ของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยนะครับ หวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมมากกว่านี้ กติกาจะเป็นยังไงปีหน้าต้องติดตามกัน อิอิ

งานสัมมนามิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

ปลายเดือนนี้มีงานสัมมนางานหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากๆ นั่นคือ “การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29” นั่นเอง ซึ่งธีมที่จะพูดในปีนี้ คือ เรื่องมิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มาลองอ่านระอียดของงานนี้กัน

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องาน : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
ธีมงาน : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
วันที่จัด : วันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2556
จัดโดย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นชัดขึ้นมาก (เริ่มเห็นก็ตอนหลังน้ำท่วมใหญ่นี่แหละ) ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีหลายลักษณะ เช่น ความร่วมมือในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในการรวมกลุ่มกันบอกรับฐานข้อมูล ความร่วมมือในการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุด หรือแม้แต่ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน

เอาเป็นว่าหัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ควรนำมาพูดกันอย่างจริงจังบ้าง
คนนอกวงการจะได้รู้สักทีว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ห้องสมุดรวมกลุ่มกันมันคือเรื่องใหญ่

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace รองรับการให้บริการหลากหลาย Platform (Windows, iPad, Android)
– การใช้ระบบสืบค้น Google Search Appliance กับงานห้องสมุด
– การพัฒนาคลังสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมและข้อมูลท้องถิ่นของห้องสมุดและข่ายความร่วมมือเพื่อรองรับประชาคมอาเชียน
– What we learn from EU, their Libraries Cooperation, and Repositories
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– Powering Quality Research
– PLoT – Public Library of Thailand ระบบฐานข้อมูล และคลังสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม
– ห้องสมุดในฝัน
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– Britannica Online – The Complete Digital Resource
– มิติใหม่ของการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์
– Creating a Different Future for Library Services, World Share Management Services
– The Lines of Crowdsourcing as a Way Forward for Libraries
– ความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพห้องสมุด
– วิวัฒนาการของสื่อกระดาษสู่ดิจิทัล
– สื่อทรัพยากรสารสนเทศกับระบบ Cloud Computing
– การใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับห้องสมุดอนาคต (EBSCO Discovery Service)
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– Partnership with Taylor & Francis
– แนวโน้มในอนาคตของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

เห็นหัวข้อแล้วก็ต้องอึ้ง เพราะอัดแน่นด้วยเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น
ที่สำคัญยังมีวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมบรรยายเยอะพอสมควร

การสัมมนาครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน 2500 บาทนะครับ
และปิดรับลงทะเบียนออนไลน์ – ชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 8 มกราคม 2556 เท่านั้น

เอาเป็นว่าน่าสนใจขนาดนี้ก็อยากให้เพื่อนๆ มาร่วมงานกันเยอะๆ นะครับ
ส่วนใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็อ่านกันต่อได้ที่
http://coconference.library.tu.ac.th/

ห้องสมุดกับวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์

งานสัมมนาวิชาการที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดที่ผมไม่อยากให้พลาดอีกงาน คือ งานสัมมนาวิชาการที่จัดโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ต้นเดือนหน้า หัวข้องานหลักก็น่าสนใจมากๆ คือ “ห้องสมุดกับวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ประเภทของงาน : สัมมนาวิชาการ
ชื่องานหลัก : ห้องสมุดกับวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 2-3 มิถุนายน 2554 8.30-16.30 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมปองทิพย์ 1 อาคาร 12 ชั้น 9 นิเทศศาสตร์คอมเพล็กซ์ ม.กรุงเทพ รังสิต
ผู้จัดงาน : คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

เห็นแค่ชื่องานผมก็รู้สึกได้ว่าเป็นการสัมมนาเชิงวิชาการแนวใหม่ในวงการห้องสมุดจริงๆ ครับ (นานๆ ทีจะรู้สึกตื่นเต้นกับงานแบบนี้) เรื่องของเศรษฐกิจกับห้องสมุดมันอยู่ใกล้กันมากต่างฝ่ายต่างสนับสนุนซึ่งกันและกันครับ ยิ่งในบ้านเรากำลังสนใจกับคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ซึ่งแน่นอนครับก่อนที่ธุรกิจจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้จะต้องอาศัยซึ่งความรู้เป็นพื้นฐานเสียก่อน และการได้มาซึ่งความรู้ก็มีหลายช่องทางเช่นกัน และหนึ่งในนั้นคือ “ห้องสมุด”

ไม่ได้อยากเชียร์อะไรมากมายหรอกนะครับ แต่เห็นว่างานดีๆ ก็เลยอยากแนะนำ
เอาเป็นว่าลองมาดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานกันก่อนดีกว่า
– ห้องสมุดกับวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– สมรรถนะของบรรณารักษ์ในสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– ห้องสมุดกับการพัฒนาชุมชนและสังคม ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– Information Economy and Social Network
– แบรนด์ห้องสมุดในสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– PR 2.0 for Library
– กิจกรรมสร้างสรรค์กับงานห้องสมุด

การสัมมนาครั้งนี้แม้ว่าหัวข้อจะมีความน่าสนใจมากมาย แต่……
ต้องขอบอกว่ามีค่าใช่จ่ายในการเข้าร่วมงานนะครับ ประมาณคนละ 2000 บาท

(เอาเป็นว่าไปอ่านในหนังสือโครงการและแบบตอบรับดูกันเองน้า….)

สำหรับรายละเอียดโครงการ, หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ และแบบตอบรับการเข้าร่วมสัมมนา เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและดาวน์โหลดได้ที่ http://www.thaipul.org/?p=252

เรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีผลต่อวงการห้องสมุดเพียงใด แล้วห้องสมุดจะพัฒนาไปในแนวทางไหน มางานนี้เพื่อนๆ จะได้คำตอบ…

งานนี้เพื่อนๆ คนไหนไปได้ช่วยกลับมาสรุปให้ผมฟังด่วยนะครับ
เพราะงานนี้ผมพลาดแล้วแน่ๆ (วันที่ 2-4 มิ.ย. ผมไปงาน world book expo ที่สิงคโปร์)
เอาเป็นว่าผมจะรออ่านสรุปจากเพื่อนๆ ที่ไปงานแล้วกันนะครับ

Facebook Page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย

หลังจากที่ประสบความสำเร็จมากมายในการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มาแล้ว
เพื่อนๆ จำนวนหนึ่งจึงเรียกร้องให้เปิดหน้า page ใน facebook ด้วย
เพื่อให้คนที่อยู่นอกสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์เข้ามาเห็นว่ากลุ่มเราก็เข้มแข็งนะ ผมเลยจัดให้ตามคำขอ

เอาเป็นว่าขอแจ้งให้ทราบว่าตอนนี้กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยเรามี Facebook page แล้ว
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/THLibrary

จุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของการเปิด Facebook page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย จริงๆ ก็คล้ายๆ กับกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยใน facebook นั่นแหละครับ คือ
– เป็นพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานหรือการศึกษาในสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นพื้นที่ในการพบปะพูดคุยกับเพื่อนใหม่ในสาขาวชาชีพเดียวกัน (ห้องสมุดและบรรณารักษ์)
– ประชาสัมพันธ์ข่าวสารในวงการห้องสมุดและบรรณารักษื เช่น งานบรรณารักษ์ งานอบรมสัมมนา ….
– เป็นเวทีในการรวบรวมข้อเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพ…

นั่นก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์หลักๆ ที่ตั้งขึ้นในช่วงที่มีการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook นะครับ

แต่ในเมื่อเปิด group ไปแล้ว ทำไมต้องเปิด page ด้วย หลายๆ คนก็คงสงสัยเรื่องนี้ใช่มั้ยครับ
เอางี้ดีกว่าผมขออธิบายหลักการคร่าวๆ ของ Page กับ Group ดีกว่าว่าต่างกันยังไง
(เพื่อว่าเพื่อนๆ เมื่อเห็นขอดีของการมี page แล้ว เพื่อนๆ จะเข้ามากด Like เป็นแฟนเพจกับเรามากๆ)

เอาเป็นว่าผมขออธิบายแบบคร่าวๆ อีกสักนิดดีกว่า

จุดเด่นของหน้าเพจ (เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย) อยู่ที่ชื่อของ URL ซึ่งเพื่อนๆ จำได้ง่ายกว่าของ Group ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าหน้าเพจโดยพิมพ์ว่า “www.facebook.com/thlibrary” นอกจากนี้สมาชิกที่เพจสามารถรับได้คือไม่จำกัดจำนวน (แต่จริงๆ ผมก็ไม่ได้กังวลเรื่องนี้หรอกนะครับ) แถมด้วยคนที่ไม่ได้เล่น facebook (ไม่มี account ของ facebook) ก็สามารถเปิดหน้าเพจของเราได้ ซึ่งต่างจาก group เพื่อนๆ ต้อง log in ก่อนถึงจะเข้าดูข้อมูลข้างในได้ อีกความสามารถหนึ่งที่น่าสนใจคือ สมาชิกสามารถสร้างอัลบั้มรูปและแชร์รูปภาพได้มากมาย ซึ่งใน group เองเราโพสได้ทีละ 1 รูปเท่านั้น

ความสามารถต่างๆ ของ page ถือว่าดีมากๆ จุดประสงค์อีกอย่างที่ผมเปิด page นี้คืออยากให้คนภายนอกได้เห็นความร่วมมือและกระบวนการในการพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย คนนอกไม่เคยรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เราจะได้ใช้พื้นที่บนหน้า page นี้อธิบายว่าห้องสมุดหรือบรรณารักษ์มีอะไรมากกว่าที่ทุกๆ คนคิด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเหตุผลคร่าวๆ ว่าทำไมผมถึงต้องเปลี่ยนจาก group เป็น page
แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าถึงจะมี page แล้ว แต่ผมก็จะไม่ปิด group หรอกครับ

เพราะอย่างน้อยก็ยังมีเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกมากมายให้เพื่อนๆ อ่าน

เอาเป็นว่าผมก็ต้องขอฝาก Facebook Page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ
อย่าลืมเข้ามากด Like กันเยอะๆ นะ http://www.facebook.com/THLibrary

บทสรุปการพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด

วันนี้ได้มาบรรยายที่อุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุดทีเคพาร์ค – TK park) อีกครั้งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
เลยขอนำเอกสารการบรรยายในครั้งนี้มาให้เพื่อนๆ ได้ดูและได้อ่านกัน

งานในวันนี้เป็นงานอบรมบรรณารักษ์และผู้ดูแลห้องสมุดไทยคิด ซึ่งจัดโดยอุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุดทีเคพาร์ค – TK park)
การบรรยายของผมในวันนี้หัวข้อ “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Blog/Facebook/Twitter) ในการสร้างเครือข่าย”
ซึ่งผมจึงได้จัดทำสไลด์เพื่อการบรรยายในครั้งนี้ โดยผมตั้งชื่อว่า “การพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

เราไปชมสไลด์กันก่อนดีกว่า “การพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

บทสรุปของสไลด์ “การพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

ทำไมผมถึงต้องเล่นคำว่า “เครือข่าย” กับ “ชุมชน” ประเด็นหลักอยู่ที่หลายๆ คนชอบเข้าใจว่าเครือข่ายห้องสมุดก็คือความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดด้วยกันเอง ดังนั้นผมจึงขอใช้คำว่า “ชุมชน” เพราะคำว่า “ชุมชน” มีความหมายที่กว้างกว่า “เครือข่าย” ซึ่ง “ชุมชน” ผมจะรวมถึง “ห้องสมุด คนทำงานห้องสมุด ผู้ใช้บริการห้องสมุด และผู้ใช้บริการห้องสมุดบนโลกออนไลน์”

หลังจากชี้แจงเรื่องนี้เสร็จก็เข้าถูกหัวข้อหลักๆ ของการบรรยาย คือ เครือข่ายห้องสมุดไทย, ชุมชนห้องสมุดไทยคิด

เครือข่ายห้องสมุดไทยคิด – เครือข่ายของกลุ่มคนทำงานในห้องสมุดไทยคิด ซึ่งได้แก่ บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด อาสาสมัคร ที่ทำงานภายในห้องสมุดไทยคิด

ชุมชนห้องสมุดไทยคิด – นอกจากเครือข่ายกลุ่มคนที่ทำงานในห้องสมุดไทยคิดแล้ว ชุมชนห้องสมุดไทยคิดยังรวมไปถึงผู้ใช้บริการห้องสมุดไทยคิด ผู้ใช้บริการจากสื่อออนไลน์ คนในพื้นที่ ……….

ผมจุดประเด็นต่อด้วยเรื่องชุมชนห้องสมุดไทยคิดว่ามีความสำคัญเพียงใด ประเด็นอยู่ที่ผู้ใช้บริการ ว่าเรารู้จักผู้ใช้บริการของเราแค่ไหน

ตัวอย่างง่ายๆ เช่น “รู้หรือปล่าวว่า วัฒนธรรมในการอ่านของเด็กหญิงกับเด็กชายต่างกัน ?”

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจะทำให้เรารู้ว่าผู้ใช้บริการของเรามีความหลากหลายมาก ดังนั้นห้องสมุดก็ต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายด้วย เช่น
– บริการหนังสือสำหรับเด็ก
– บริการคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการเรียนรู้
– กิจกรรมการเล่านิทาน
– กิจกรรมการวาดภาพระบายสี
– อุปกรณ์จำพวกเครื่องเล่น-ของเล่นสำหรับเด็ก

นอกจากห้องสมุดไทยคิดจะเป็นสถานที่ที่ใช้อ่านหนังสือสำหรับเด็กหรือจัดกิจกรรมแล้ว
เรายังสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความสามารถและจินตนาการ
เช่น “นำภาพวาด หรือ ภาพระบายสีของเด็กๆ มาตกแต่งฝนังรอบๆ ห้องสมุดไทยคิด”

นอกจากนี้ผู้ใช้บริการในห้องสมุดไทยคิดไม่ใช่แค่เด็กเพียงอย่างเดียว
แต่เราหมายรวมถึงครอบครัว ผู้ปกครองของเด็กๆ ด้วย
เพราะครอบครัวสามารถสร้างนิสัยการรักการอ่านให้เด็กได้

กรณีตัวอย่าง “ครอบครัวของหนูน้อยยอดนักเล่านิทาน” ซึ่งใช้เวลาว่างกับห้องสมุดไทยคิด

นอกจากนี้การปล่อยให้เด็กๆ มาจัดกิจกรรมกันเองในห้องสมุดก็จะทำให้เราเห็นความสามารถและความต้องการของเด็กๆ เหล่านั้นได้ด้วย

การพัฒนาเครือข่ายและชุมชนห้องสมุด หัวใจของการพัฒนาอยู่ที่ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยอาศัยความมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการต่างๆ

การที่เราจะเข้าใจผู้ใช้บริการได้เราจะต้องดูผู้ใช้บริการที่อยู่ในห้องสมุดและฟังคำแนะนำจากผู้ใช้ออนไลน์บ้าง

เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาชุมชนห้องสมุดไทยคิดได้มีหลายเครื่องมือ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือที่ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย เช่น อีเมล์ MSN blog Facebook twitter youtube flickr และ slideshare

หลังจากนั้นผมก็ยกกรณีตัวอย่างการใช้เครื่องมือออนไลน์แบบหลักๆ 3 เครื่องมือ คือ Blog Facebook Twitter

ก็ที่จะจบด้วยเรื่องสุดท้ายคือคำแนะนำในการใช้เครื่องมือสื่อออนไลน์ ซึ่งผมได้ให้ไว้ 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้บล็อกร้าง facebook ร้าง Twitter ร้าง
2. การให้บริการผ่านสื่อออนไลน์ทำได้รวดเร็ว
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม

เอาเป็นว่าผมก็จบการบรรยายแต่เพียงเท่านี้นะครับ สำหรับคนที่อ่านบล็อกอย่างเดียวไม่ได้มาในงานนี้
หากสงสัยเรื่องไหนก็ถามเข้ามาได้นะครับ ทิ้งคำถามไว้ด้านล่างช่องคอมเม้นต์ได้เลย

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 4/2554

กลับมาแล้วครับสรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมแล้ว
วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีความเคลื่อนไหวเยอะมากๆ เลย (กลุ่มบรรณารักษ์เริ่มคึกคัก)

หน้าที่ของผมก็คงหนีไม่พ้นการนำประเด็นต่างๆ มาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเช่นเคย
สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 -28 มกราคม 2554) เรื่องราวเด่นๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีอะไรบ้าง ติดตามชมได้เลย

– Link : เส้นทางสายขนานระหว่างหลักสูตร “บรรณารักษศาสตร์”กับอาชีพ “ครูบรรณารักษ์” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110122/entry

– Link : แนวการแก้ปัญหาการขาดแคลน”ครูบรรณารักษ์” เบื้องต้น = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry

– Link : โครงการ World Book Night = http://www.worldbooknight.org/

– Link : เว็บไซต์ห้องสมุด Edinburgh = http://www.edinburghlibrariesagency.info/

– Link : กิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบใหม่กับแนวคิด Let?s Get Lyrical = http://www.cityofliterature.com/ecol.aspx?sec=6&pid=769

– “ขอคำแนะนำเรื่องหัวข้อในการจัดโครงการยอดนักอ่านในเดือนกุมภาพันธ์” มีผลสรุปดังนี้
– เรื่องอาชีพหรือเส้นทางความใฝ่ฝันในอนาคต
– หนังสือกับแรงบันดาลใจในความสำเร็จ

– Link : (ร่าง)หลักสูตรครูบรรณารักษ์ (กศ.บ) = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry-1

– ประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญบรรณารักษ์ นักรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมงานสมัชชาการอ่าน Bangkok Read for Life ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


– Link : โครงการ Creative Cites Network =
http://www.cityofliterature.com/index.aspx?sec=1&pid=1
เป็นเว็บที่น่าสนใจมาก “โครงการ Creative Cites Network โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม สุนทรียะ การท่องเที่ยว ให้กับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก โดยหนึ่งในโครงการดังกล่าวคือ City of Literature หรือการเนรมิตเมืองทั้งเมืองให้กลายเป็นเมืองวรรณกรรม”

– Link : Book Saver อุปกรณ์สำหรับคนรักหนังสือ =
http://www.ionaudio.com/booksaver

– ประชาสัมพันธ์ : 25 – 26 มกราคม บรรณารักษ์กรุงเทพฯและปริมณฑล อบรมที่นานมีบุ๊คส์

– คำขวัญหรือคำคมเกี่ยวกับการอ่าน ลองเข้าไปดูที่ http://pakdeelibrary.igetweb.com/index.php?mo=5&qid=290075

– เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ “ในบางครั้งผู้บริหารมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแหกกฏกับสำนวนที่ว่า Put the right man on the right job” มีผลสรุปดังนี้
– เลือกคนทำงานให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงงานนั้นด้วยจึงจะเลือกคนได้ถูกต้องเช่นกัน
– “ผู้บริหารไม่เข้าใจบรรณารักษ์” และ “ทำงานกับบรรณารักษ์ลำบากมาก เพราะพูดไม่รู้เรื่อง” ประโยคต่างกรรมต่างวาระเหล่านี้สะท้อนอะไรบ้างครับ? มันเป็นเพียงคำบ่นหรือคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเสมอๆ หากหน้าที่ของผู้บริหารคือยกระดับการให้บริการของสภาบันสารสนเทศแล้ว หน้าที่ของบรรณารักษ์ก็คือสนับสนุนการให้บริการด้วยความรู้และทักษะที่เรามี
– บรรณารักษ์อย่างพวกเรา “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น
– การหางานที่เหมาะสมกับคนมันยากก็จริง จนบางครั้งงานบรรณารักษ์มันต้องใช้สำนวนนี้แทน “Put the right man on the “หลาย” job”

– จากประโยคเด็ดในประเด็นเมื่อกี้ “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น” แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรที่จะเข้าใจผู้ใช้บริการ มีผลสรุปดังนี้
– ทำสำรวจหรือแบบสอบถาม และที่สำคัญไม่ว่าผู้ใช้จะตอบหรือแสดงความคิดเห็นกลับมาแรงๆ อย่างไร เราต้องเปิดใจรับกับสิ่งที่ผู้ใช้คิดด้วย

– Link : มหานครแห่งการอ่าน กทม. ชู 5 ยุทธศาสตร์เสนอยูเนสโก = http://hilight.kapook.com/view/55570

– “อยากรู้ว่าตอนที่บอกที่บ้านหรือคนอื่นๆว่าเรียนบรรณารักษ์ คนรอบข้างมีปฏิกิริยายังไงกันบ้าง” มีผลสรุปดังนี้

– ที่บ้านไม่รู้จักวิชาบรรณารักษ์ นอกจากนี้ยังไม่รู้จักคณะอักษรศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ (เพราะสองคณะนี้เด่นเรื่องภาษามากกว่า)
– พ่อบอกว่า “เรียนแล้วรับรองว่าไม่ตกงาน เพราะเรียนเกี่ยวกับข้อมูล” แค่นั้นแหละเลือกเลยจ้า แล้วก็ไม่ตกจริงๆ
– ต้องอธิบายสักหน่อยว่ามันคือวิชาเกี่ยวกับอะไร พ่อแม่ถึงเข้าใจ
– พ่อแม่มีถามๆว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จบแล้วมีงานทำมั้ย แต่ไม่ขัดขวางอะไร บอกแค่ว่า เอาตัวให้รอดละกัน
– ไม่สำคัญหรอกครับว่า “เรา” จะเรียนอะไร? หรือ “ใคร” จะคิดอย่างไร? แต่ที่สำคัญกว่าคือ “เรา” มีความรู้ ความสามารถ ใช้ในการประกอบอาชีพ เลี้ยงชีวิตได้ ไปจนตาย

– ประชาสัมพันธ์ : “กิจกรรมสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1 หรือ Libcampubon#1 จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี”

– Link : IFLA Asia Oceania Newsletter = http://www.ifla.org/files/asia-and-oceania/newsletters/december-2010.pdf

– ขอชื่นชม : “ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จังหวัดลำพูน ได้รับรางวัลรองขนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 80,000 บาท จากการเข้าประกวดตามโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี”

ปล. ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำตัวเองและประชาสัมพันธ์รับสมัครงานผมไม่ขอนำมาไว้ในสรุปนี้นะครับ เนื่องจากงานบางตำแหน่งอาจรับไปแล้ว

จะสังเกตได้ว่าอาทิตย์นี้มี link แนะนำเยอะมากๆ เลย และทุกๆ link ก็น่าสนใจไม่แพ้ประเด็นที่พวกเราช่วยกันตั้งเลย เอาเป็นว่าหากสนใจ link ไหนเป็นพิเศษก็ลองเข้าไปดู link นั้นเลย แล้วถ้าได้ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มก็นำมาเสนอในกลุ่มใของพวกเราได้นะครับ

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนไว้เจอกันในสัปดาห์หน้า

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 3/2554

เข้าสู่กลางเดือนมกราคมแล้วนะครับ กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยังคงสดใสเช่นเดิม
เรื่องราววงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะขึ้น วันนี้เลยต้องสรุปให้อ่าน

สมาชิกของกลุ่มเราก็เกิน 400 คนแล้วนะครับ แบบว่าประทับใจในความร่วมมือของเพื่อนๆมาก
กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook มีเรื่องเด็ดๆ ทุกวันเลย แม้แต่เสาร์อาทิตย์ก็ยังมีเรื่องให้อ่าน
เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15 ? 21 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลยดีกว่า

– “สายงานบรรณารักษ์สมัยนี้เปิดสอบบรรจุน้อยจัง” ผลสรุปมีดังนี้
– ถ้าเป็นในระบบราชการ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการชลอการเพิ่มกรอบอัตราข้าราชการ หากมีความจำเป็นหน่วยงานต้องบรรจุอัตราจ้างเอง
– การสอบบรรจุตามระบบมักเป็นอัตราข้าราชการ ซึ่งมีน้อย แต่ถ้าเป็นอัตราจ้างจะมีมากและมักไม่ประกาศสอบบรรจุเป็นทางการ

– “อยากรู้จังว่ามีสภาวิชาชีพบรรณารักษ์ หรือเปล่าอ่ะครับ”? ผลสรุปมีดังนี้
– คงต้องกำหนดขอบเขตและคำจำกัดความอีกเยอะแยะเลยล่ะ

– “อยากทราบว่าบรรณารักษ์เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ครับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ราชการก็น้อยหน่อยสำหรับเริ่มต้น เอกชนก็น่าจะเก้าพันถึงหมื่นนิดๆ
– สำหรับบ.เอกชนข้ามชาติ หรือโรงเรียนนานาชาติ น่าจะเริ่มต้นหมื่นกลางๆ
– ถ้าเงินเดือนสำหรับหน่วยงานราชการบางที่ให้ 7940 บาทครับ แต่ในหลายที่ ถ้าเป็นลักษณะของพนักงานจ้างเหมา(สัญญาปีต่อปี) ก็แล้วแต่หน่วยงานจะประเมินหน้าที่และภาระงานที่มีตั้งมาให้ มีตั้งแต่ 7940 8500 9000 9500 11000 12000 และที่เคยเห็นองค์กรหนึ่งจ้างให้ 15000 ทั้งหมดที่ว่ามาคือ ป.ตรี

– Link : ความเป็นไปได้ของ “บรรณารักษ์สภา” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110116/entry

– “ทำไมคนไทยถึงไม่ให้ความสำคัญกับอาชีพบรรณารักษ์”? ผลสรุปมีดังนี้
– ในต่างจังหวัดหรือบางพื้นที่ยังไม่รู้จักอาชีพบรรณารักษ์เลย
– ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายแห่งก้อไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ แต่จะมานึกถึงอีกทีตอนที่ประกันคุณภาพเข้ามาตรวจ

– Link : Conference Participation Grants = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : จัดห้องสมุดเป็นของขวัญวันเด็ก =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=651&contentID=115785

– “อยากรู้จังว่ามีวันสำคัญที่เกี่ยวกับห้องสมุดบ้างไหมคะ”? ผลสรุปมีดังนี้
– วันรักการอ่าน 2 เมษายนของทุกปี
– สัปดาห์ห้องสมุด ต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี
– วันก่อตั้งห้องสมุด วันเปิดห้องสมุด …..


– “ใครใช้ Zotero แล้วบ้าง ขอข้อมูลด้วยค่ะ ลง version ไหนดีค่ะ”? ผลสรุปมีดังนี้

– แนะนำให้อ่านใน link : http://stks.or.th/wiki/doku.php?id=zotero%3Astart
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ไม่มีปัญหาใดๆ
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ร่วมกับ winword integration 3.0b1


– ประเด็นสำหรับวันที่ 18 มกราคม 2554 “เรื่องการแต่งกายเข้าห้องสมุดโดยเฉพาะสถานศึกษา / มหาวิทยาลัย มีเกณฑ์ในการวัดความสุภาพอย่างไร เช่น กรณีกระโปรงสั้นๆ กับ กางเกงใส่ถึงเข่า —-> แล้วห้องสมุดประชาชนมีกฎระเบียบแบบนั้นหรือปล่าว” ผลสรุปมีดังนี้

– จากการสำรวจสาเหตุในการไม่เข้าห้องสมุดพบว่ามาจากเงื่อนไขเรื่องการแต่งกาย ซึ่งพบมากในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย
– ทำไมนิสิตที่ใส่กระโปรงสั้นถึงเข้าห้องสมุดได้ แต่กลับไม่ให้คนใส่กางเกงขาสั้นเข้าไป บางทีกระโปรงสั้นกว่ากางเกงด้วยซ้ำ แล้วกางเกงขาสั้นบางทีก้อประมาณเข่าแต่เข้าไม่ได้
– วิธีแก้ไขแต่ละห้องสมุดก็มีวิธีของตัวเอง เช่น นำภาพมาประกอบการอธิบาย หรือ การตักเตือนในช่วงแรกๆ หรือ หาตัวอย่างมาประกอบ
– เรื่องการแต่งกายให้สุภาพไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ ถ้าจะตั้งกฏแต่ละที่ก็ควรให้ชัดเจน
– เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับทุกห้องสมุดนะคะ เพราะนโยบายและการให้บริการของห้องสมุดบางทีก็ขัดกับนโยบายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาแต่งชุดนักศึกษาเมื่อมามหาวิทยาลัย ฯ แต่ห้องสมุดต้องการเปิดกว้างให้แก่ผู้ใช้ ต้องการให้มีผู้มาใช้ห้องสมุดเยอะ ๆ บวกกับนักศึกษาไม่ชอบอยู่ในกฎระเบียบอีก
– เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวพอสมควรนะคะ สำหรับคำว่าแต่งกายสุภาพ เพราะวุฒิภาวะต่างกัน การวัดความสุภาพไม่เหมือนกัน
– รู้จักถึงความเหมาะสมครับ กระโปรงต้องไม่สั้นจนมันจะเปิดหวอ เสื้อต้องไม่รัดจนกระดุมทำงานหนัก ใส่แล้วแต่งแล้วเดินไปหมาไม่เห่าก้พอ
– พยายามหาและระดมความคิดเห็นจากหลายๆฝ่ายเพื่อหา ข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งก็ยากทีเดียวค่ะ

– “ปัจจุบันนี้การทำกฤตภาค(การตัดข่าวหรือบทความที่น่าสนใจ)ยังมีสอนบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยอยู่ไหมคะ และกฤตภาคนี่ลดความสำคัญลงไปมากตั้งแต่มีการใช้ internet ห้องสมุดยังควรต้องมี(บรรณารักษ์ควรต้องทำ)กฤตภาคอยู่ไหมคะ” ผลสรุปมีดังนี้
– ตัดเก็บเฉพาะเหตุการณ์สำคัญๆ
– ในแง่การสอน ไม่ได้สอนให้ทำในรูปแบบเดิมแล้วค่ะ แต่ให้เขาเห็นและใช้บริการทั้งแบบเดิมและแบบใหม่
– สำหรับห้องสมุดเฉพาะ เช่น ที่แบงก์ชาติ กฤตภาคยังจำเป็น แต่ต้องปรับรูปแบบให้ทันสมัย ใช้ง่าย รวดเร็ว ประหยัดเวลาผู้บริหารขององค์กร อาจจะทำเองหรือจ้างคนอื่นทำ หรือบอกรับฐานข้อมูลก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนสนองความต้องการได้มากที่สุด


– “ห้องสมุดบางแห่งนำไอทีเข้ามาใช้แต่แทนที่จะทำงานได้เร็วขึ้นกลับกลายเป็นว่าทำงานช้ากว่าเดิมหรือทำในรูปแบบเดิม” ผลสรุปมีดังนี้

– ควรไปดูงานห้องสมุดม.มหิดล, STKS, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ ที่นำเทคโนโลยีที่จำเป็นเข้ามาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็น

– Link : เมื่อคนช่วยกันยืมหนังสือจนหมดห้องสมุด ประชดทางการ!!! (ที่จะปิดห้องสมุด) = http://www.newyorker.com/online/blogs/books/2011/01/the-run-on-stony-stratford.html

– Link : all Magazine แจกฟรี ! ให้ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ยืมหนังสือเกลี้ยง! ประท้วงแผนปิดห้องสมุด = http://hilight.kapook.com/view/55420

– “คำศัพท์ของห้องสมุด(Eng->Thai)ไม่ทราบหาจากที่ไหน” ผลสรุปมีดังนี้
– วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์ = A cyclopedia of librarianship / โดย จารุวรรณ สินธุโสภณ
– ศัพท์บัญญัติวิชาบรรณารักษศาสตร์ / คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาบรรณรักษศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ
http://stks.or.th/thaiglossary/


– “ไอเดียการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนมัธยม” ผลสรุปมีดังนี้

– น่าจะมีรางวัลคนขยันอ่าน — ประกวดเรียงความ ฉันรักหนังสือ — เล่าเรื่องจากนิยายสนุก ๆ –เชิดหุ่น — โต้วาที — วันรักการอ่าน(ประกอบด้วยเกม-สอยดาว-นิทรรศการ-ห้องสมุดแรลลี่ — เกมค้นหาเพื่อตอบคำถามชิงรางวัล ฯ)
– กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน
– โครงการอ่านวันละนิด จิตแจ่มใส ของสำนักพิมพ์แจ่มใส
– กิจกรรมในลักษณะเกมต่างๆ ก็จะช่วยปลุกเร้าได้ดีค่ะ รูปแบบของเกมหาได้ตามหนังสือประเภทคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทั่วไป
– แฟนพันธุ์แท้ห้องสมุด
– reading rally ก็ดีค่ะ จัดเป็นฐาน จัดค่ายรักการอ่านก็ได้
– กิจกรรมคนศรีห้องสมุดสุดยอดนักอ่าน / กิจกรรม นักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ / กิจกรรม เสียงตามสาย เกี่ยวกับสารานุกรมไทย / ตอบปัญหาสารสนุกรมไทย


– “สิ่งที่ควรคำนึงถึงในเรื่องการคัดหนังสือหรือการจำหน่ายหนังสือออกจากห้องสมุด” ผลสรุปมีดังนี้

– คัดเลือกหนังสือที่สอดคล้องกับองค์กร, หนังสือเก่าแต่มีคุณค่ามี 2 วิธีดำเนินการคือ อนุรักษ์ เช่น ส่งซ่อมทำปกใหม่ ทำความสะอาด ได้คุณค่าหนังสือเก่า หรือควรจะซื้อเล่มนั้นใหม่ (มีจัดพิมพ์ใหม่หาซื้อได้) แล้วจึงส่งไปอนุรักษ์
– แนะนำ Link น่าอ่านดังนี้ http://www.md.kku.ac.th/library/main/newsletter/new07-53.php , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/policy.pdf , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/manul.pdf
– เรื่องของเนื้อหาด้วย เพราะเนื้อหาในแต่ละกลุ่มมีความเฉพาะอีก เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ยิ่งเก่ายิ่งควรเก็บ หนังสือคอมล่าสมัยเร็ว

– “มีห้องสมุดธรรมะที่ไหนน่าฝึกงานบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– เหล่าบรรณารักษืแนะนำ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงฆ์, มหามกุฎ กับ มหาจุฬา, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ

– ไอเดียที่น่าสนใจ : “เด็กแข่งกันสืบค้นข้อมูลผ่านทาง Search Engine ผมคิดว่าทางห้องสมุดสามารถนำไปประยุกต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้ห้องสมุดได้”

– ประชาสัมพันธ์ : “สมัครสมาชิกและต่ออายุ TKpark ฟรี 21-23 มกราคม นี้เท่านั้น บัตรใหม่มีให้เลือก 5 ลาย รีบๆ มาสมัครกันได้ เลย”

นอกจากประเด็นที่สรุปลงมาในนี้แล้ว บางอันผมไม่ขอเอาลงนะครับ เช่น น้องๆ เอกบรรณปี 2 จากสถาบันต่างๆ เข้ามาแนะนำตัวกันเยอะมาก และประเด็นเรื่องที่ไม่มีคนตอบ ก็ขอละเอาไว้ไม่สรุปแล้วกัน อีกส่วนคือมีคอมเม้นต์แต่ผิดประเด็นกับคำถามที่ตั้ง เช่น เรื่อง xml technology แต่กลายเป็นว่าคำตอบออกไปเรื่องฝึกงาน ก็ไม่ได้นำมาลงแล้วกัน

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ ช่วยกันผลักดันกลุ่มเครือข่ายของเรากันต่อไป
นี่แหละครับพลังขับเคลื่อนวิชาชีพและวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 2/2554

ผ่านปีใหม่มาหนึ่งสัปดาห์ก็เข้าสู่งานวันเด็ก ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีกิจกรรมอะไรกันหรือปล่าวครับ
ง่ะ ลืมไปวันนี้เป็นวันที่ต้องสรุปเรื่องราวในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นี่หว่า งั้นกลับเข้าเรื่องเลย

เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 8 – 14 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลย

– “ทำไมบรรณารักษ์รุ่นเก่าแยกไม่ออกระหว่าง location Collection กับคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง???” ผลสรุปมีดังนี้
– เรื่องของชื่อคอลเล็คชั่น อาจขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณของคอลเล็คชั่นที่มีก็ได้ครับ ยิ่งลงรายละเอียดให้เจาะจงเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายต่อการจัดการทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากเท่านั้น
– รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาความไม่เข้าใจกันมากกว่า เนื่องจากในการแยก collection ระบบจะแยกให้ไม่จำเป็นต้องใช้คำเดียวกันกับหัวเรื่อง
– ผู้ใช้สมัยนี้ส่วนมากไม่เข้าใจคำว่าหัวเรื่องหรอกค่ะ ขอแค่ให้ค้นหนังสือหรือทรัพยากรเจอก็ OK แล้ว


– “ปัญหาเรื่องพื้นที่จับเก็บหนังสือ วารสาร ฉบับย้อนหลัง (เนื่องจากห้องสมุดเล็ก)” ผลสรุปมีดังนี้

– จำหน่ายวารสารย้อนหลังออก แล้วหันมาใช้ e-journal แทน
– กระจายตู้หนังสือออกไปบริเวณอื่นๆ ในหน่วยงานก็ได้ เช่น มุมตามทางเดินโรงพยาบาล หรือ มหาวิทยาลัย

– Link : MV เพลงนี้ถ่ายในห้องสมุดทั้งหมด = http://www.youtube.com/watch?v=MIVu-egUMM0

– Link : มะกันผุดแผนบัตรประชาชนชาวเน็ต ยกระดับความ@ปลอดภัยโลกไซเบอร์ = http://is.gd/kwDFo

– “คุณอยากให้ ในห้องสมุด มีอะไรพิเศษ?” ผลสรุปมีดังนี้
– มีบริการสำหรับคนพิเศษ (ผู้พิการรูปแบบต่างๆ)
– ให้อารมณ์แบบ “บ้าน”
– บรรณารักษ์สวยๆ
– บรรยากาศแบบห้องนั่งเล่น สบายๆ อยากทำอะไรพร้อมๆ กับอ่านหนังสือก็ทำได้
– สถานที่กว้างๆ มุมสงบ ๆ เงียบ ๆ ที่ไม่แคบๆ เหมือนมุมอ่านหนังสือ ที่มองไปทางไหนก็มีแต่หนังสือ
– โปรโมชั่นพิเศษ เช่น Loan 5 Get 1 Free! ช่วงคริสมาสต์ หรือวันฮาโลวีนปล่อยผี discountค่าปรับ10-20%ถ้าจับสลากพิเศษได้

– Link : all Magazine แจกฟรี ! แก่ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ข่าว….โครงการรักการอ่าน จาก บมจ.ซีพี ออลล์ = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179960038704679&id=141179349231903

– “จะทำอย่างไรให้คนหันมาเข้าห้องสมุดกันเยอะๆ”? ผลสรุปมีดังนี้
– ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้น่าสนใจและต่อเนื่องด้วย และมีของรางวัลให้ด้วย
– ห้องสมุดออนไลน์ อีบุ๊ค e-Book เทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
– กิจกรรมbook forward : หนังสือดีต้องบอกต่อ
– บริการ Document Delivery Service ซึ่งไม่ต้องเดินมาห้องสมุด
– เพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ ที่จะรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ebook
– รักษาฐานเดิมของผู้ใช้ที่มั่นคงกับห้องสมุดไว้ให้ได้ พร้อมๆ กับหาวิธีขยายไปยังกลุ่มที่ไม่ใช้ให้เข้ามา ชอบวิธีการทำกิจกรรมที่ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมค่ะ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
– ห้องสมุดจะเปิดเพลงเบาๆไปด้วยครับ สร้างบรรยากาศ

– “ขอความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO กับห้องสมุด”? ผลสรุปมีดังนี้
– ลองปรึกษาที่ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
– หอสมุดวิทยาศาสตร์ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นอีก 1 แหล่ง ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ version 1998และปัจจุบัน 2001


– “e-book จะแทนที่หนังสือ ในมุมมองของบรรณารักษ์ท่านคิดอย่างไรบ้างคับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ลดโลกร้อนได้เยอะครับ ทำให้เด็ก ๆ ไม่ต้องหิ้วหนังสือน้ำหนักเยอะ ๆ ครับ มีอีกเยอะครับประโยชน์
– แทนกันไม่ได้หรอก เพราะผู้ใช้หลายคนชอบที่จะสัมผัสตัวเล่มหนังสือ เรื่อง E-book เป็นแค่ตัวเสริมในการบริการ
– ต่างเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งรูปแบบ การใช้ การทำงาน และกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีอะไรแทนที่อะไรได้ทั้งหมด
– อย่าลืมเรื่องลิขสิทธิ์
– มีได้ ใช้ได้ แต่แทนกันไม่ได้หรอก
– หนังสิออ่านได้ทุกที่ แต่ E-Book ถ้าไม่มีเครื่องมือก็อ่านไม่ได้


– Link – ดัน 10 ล้าน แปลวิกิฯ เป็นภาษาไทย มุ่งเป็นอันดับ 2 ภาษาท้องถิ่นออนไลน์ =
http://www.prachatai3.info/journal/2011/01/32634?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29&utm_content=Twitter

– “การนำ WALAI AutoLib มาใช้ในห้องสมุดมหาลัยเหมาะสมหรือไม่ มีปัญหาอย่างไร” ผลสรุปมีดังนี้
– ห้องสมุดที่ใช้ Walai Autolib เช่น ศูนย์บรรณฯ ของม.วลัยลักษณ์ สำนักหอสมุด ม.อุบลฯ ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร ฯลฯ

– “ความเสี่ยงของห้องสมุดมีอะไรบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– ด้านคน (คนไม่พอ,ขาดทักษะการทำงาน) ด้านการทำงาน (อุบัติเหตุในการทำงาน) ด้านงบ (ได้งบประมาณจำกัด,งบไม่พอ,ข้าวของแพงขึ้นทุกปี) ด้านการบริหาร (ไม่ได้รับการสนับสนุน,ผู้บริหารหรือคนนอกไ่ม่เข้าใจงานของเรา)
– ตัวอย่างการแบ่งประเภท เช่น ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ, ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน, ความเสี่ยงด้านบริหารจัดการ, ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ, ความเสี่ยงทางกายภาพ/อุบัติภัย, ความเสี่ยงด้านจรรยาบรรณ, ความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน, ความเสียหายด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม
– ในภาวะโลกวิกฤติแบบนี้ อย่าลืมระบุความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม
– ความเสี่ยงด้านการลงทุน ทุ่มเทกับทรัพยากรไปมากมาย แต่ผู้ใช้ไม่มาใช้

– Link : 2011 Grant Funds to attend IFLA 2011 = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : แนะนำฐานข้อมูล อาหารพื้นบ้านล้านนา จัดทำโดยงานศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ = http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/

– Link : Dead Poets Society = ครูครับเราจะสู้เพื่อฝัน = http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008march06p2.htm

สัปดาห์นี้เรื่องราวในกลุ่มเริ่มคึกคักกันมากขึ้นนะครับ
ตอนนี้สมาชิกในกลุ่มของเราก็ 383 คน ก็ถือว่าพอรับได้
(เมื่อวันที่ไปบรรยายที่ ม.รังสิต มีคนบอกว่าน่าจะมีสัก 2011 คนตามปีเลย)

เอาเป็นว่าสัปดาห์หน้าจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจก็สามารถติดตามกันได้นะครับ
ที่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook = http://www.facebook.com/pinksworda#!/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1