สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 1/2554

สวัสดีปีใหม่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook กลับมาพบกันในสัปดาห์แรกของปี 2554
ในสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มบรรณารักษ์และห้องสมุดของเรามีการโพสน้อยกว่าปกติ เพราะวันหยุดเยอะ

เอาเป็นว่าวันที่ 1 – 7 มกราคม 2554 กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มีประเด็นที่น่าสนใจอะไรบ้าง ไปชมเลย

– Link : เก็บเล็กผสมน้อยกับการดูงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเว้ แห่งประเทศเวียดนาม = http://clm.wu.ac.th/wordpress/?p=513

– “ขอคำแนะนำในการเรียนต่อปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์ ว่ายากมั้ย เรียนที่ไหนดี” ผลสรุปมีดังนี้

– เพื่อนๆ แนะนำให้เรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มศว (หลักสูตรใหม่ดี)

– “ขอแนวคิดในรูปแบบการพัฒนางานบริการแบบใหม่ เอาใจวัยทีนยุคใหม่”? ผลสรุปมีดังนี้
– ใช้สื่อออนไลน์สมัยใหม่เข้ามาบริการแจ้งข่าวสารให้ผู้ใช้ได้รู้ เช่น twitter, facebook
– บริการด้วยความรวดเร็ว เพราะวัยรุ่นไม่ชอบรออะไรนานๆ (ตอบคำถามเร็ว) เช่น ผู้ใช้ถามมาทางเมล์เราก็ต้องรีบตอบ
– จัดหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการพนักงาน GEN Y ให้กับผู้บริหาร (แบงค์ชาติเสนอแนวนี้มา)


– Link : คุณลักษณ์ของผู้เรียนสำหรับโลกอนาคต? =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=660&contentID=111923

– Link : 6 ขั้นตอนในการจัดทำ Social Media Marketing = http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=446

– Link ที่เกี่ยวกับบทความเรื่อง Library2.0 ซึ่งมีดังนี้

http://www.stks.or.th/blog/?p=816
http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1751&Itemid=132
http://iteau.wordpress.com/2007/06/15/library2_0attcdc/
http://www.slideshare.net/boonlert/web-20-1806213
http://media.sut.ac.th/media/VDO/116/1689-%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94+2.0+%28Library+2.0%29.embed
http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=61961
http://tcdclibrary.wordpress.com/2008/09/06/library-20/

– “CAS ในห้องสมุด ย่อมาจากอะไร และเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันกับ SDI อย่างไร”? ผลสรุปมีดังนี้

– CAS เป็นบริการข่าวสารทันสมัย เช่น สรุปข่าวประจำวัน หน้าสารบัญวารสารใหม่ ส่วน SDI เป็นบริการข้อมูลเฉพาะเรื่องแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการหรือ request ข้อมูลนั้น เช่น รวบรวมข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่นักวิจัยเฉพาะคนหรือเฉพาะกลุ่มที่ทำวิจัยเรื่องนั้นๆ อยู่

– Link : การสร้างเสริมประสิทธิภาพของสมอง Grow your mind = http://cid-9236d6851044637b.office.live.com/self.aspx/.Public/20110105%20-%20brain.pdf

– Link : อาชีพบรรณารักษ์ – ทำไม”ครูบรรณารักษ์”เป็นยากจังครับ??? =
http://atomdekzaa.exteen.com/20110105/entry

นอกจากประเด็นต่างๆ เหล่านี้แล้ว ประเด็นที่บรรณารักษ์เขียนถึงเยอะก็คือ “การสวัสดีปีใหม่และอวยพรพี่น้องชาวห้องสมุด” นั่นเอง
เอาเป็นว่าปีนี้ผมสัญญาว่าจะทำงานเพื่อห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้ดีที่สุดแล้วกันครับ สัปดาห์นี้ก็ขอลาไปก่อน บ๊ายบาย

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#3

สรุปประเด็นและความคืบหน้าของกลุ่มบรรณารักษ์ไทยในช่วงวันที่ 22-27 ธันวาคม 2553 มาแล้วครับ
ประเด็นที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์มีเพียบเหมือนเคย เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

– 22/12/53 = “ช่วยแนะนำที่ฝึกงานห้องสมุดแบบเจ๋งๆ ให้หน่อย” มีผลสรุปดังนี้
– เพื่อนๆ ช่วยกันแนะนำที่ฝึกงานห้องสมุด ดังนี้ TCDC, Tkpark, หอสมุดแห่งชาติ, ม.ศิลปากร, แบงค์ชาติ, ห้องสมุดมารวย, ห้องสมุดกรมวิทย์, STKS เอาเป็นว่าก็เป็นแนวทางที่ดีนะครับ

– “ความขัดแย้งระหว่างบรรณารักษ์ยุคเก่าที่ไม่ยอมรับไอทีกับบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่อะไรๆ ก็ไอที เราจะประณีประนอมยังไง” มีผลสรุปผลดังนี้
– พยายามพูดคุยกันให้มากๆ และคำนึงถึงผู้ใช้บริการ เพราะไม่ว่าจะเป็นวิธีการแบบเก่าหรือใหม่ที่สุดแล้วเราก็ต้องทำให้ผู้ใช้บริการของเราพอใจที่สุด
– ยึดตามแผนและ นโยบายของห้องสมุด ทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด
– หาคนกลางที่ช่วยคอยประสานระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่
– เด็กรุ่นใหม่ก็ควรให้ความเคารพผู้ใหญ่หน่อยเพราะว่าเราอยู่ในสังคมไทยก็ทำตามผู้ใหญ่แล้วกัน
– เอาข้อดีข้อเสียของการทำงานมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนและเลือกใช้มันให้ถูก

– ร่วมกันแสดงความยินดี สำนักหอสมุด ม.นเรศวร ที่ได้รับรางวัลชมเชย : สถาบันอุดมศึกษา ประเภทรางวัลนวัตกรรมการให้บริการ “การให้บริการห้องสมุดด้วยรูปแบบสมัยใหม่” รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน และรางวัลมาตรฐานศูนย์บริการ/เคาน์เตอร์บริการประชาชน ประจำปี 2553 จากสำนักงาน ก.พ.ร.

– “ความเหมือนและความต่างระหว่าง Wikileaks และ Facebook” มีดังนี้
– สิ่งที่เหมือนกัน : Wikileaks และ Facebook มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานหรือเรื่องส่วนตัว
– สิ่งที่แตกต่างกัน : Wikileaks เน้นไปที่การเผยแพร่ความลับทางการฑูตและความลับของรัฐบาลทั่วโลก ส่วน Facebook เน้นการแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัว ความรู้ ความบันเทิงระหว่างกลุ่มสมาชิก

– “หนังสือหมวดใดในห้องสมุดของพวกคุณมีผู้ใช้บริการอ่านมากที่สุด…” มีผลสรุปดังนี้
– เพื่อนๆ ช่วยกันสรุปซึ่งประกอบด้วยหมวดนวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรมเยาวชน

– “บรรณารักษ์ วันคริสมาส และเทศกาลปีใหม่ เกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไร? แล้วห้องสมุดมีจัดกิจกรรมอะไรที่เป็นพิเศษหรือไม่” มีผลสรุปดังนี้
– ห้องสมุดแม่โจ้ จัดกิจกรรม ส่งความสุข (ส.ค.ส.)? โดยแจกโปสการ์ดให้ผู้ใช้บริการ
– มอ.ปัตตานีจัดกิจกรรมคริสมาสต์พาโชคค่ะ ให้ผู้ใช้ตอบคำถามง่าย ๆ เกี่ยวกับบริการของห้องสมุด เมื่อตอบถูกแล้ว ให้หยิบฉลากรางวัลซึ่งแขวนไว้ที่ต้นคริสมาสต์
– งานวารสาร ห้องสมุด มรม. จัดกิจกรรมแฟนพันธุ์แท้ สะสมแต้มรับสิทธิจับฉลากปีใหม่

– “เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะทำกิจกรรม KM สำเร็จโดยไม่ยึดติดกับ Model ใดๆ”? มีผลสรุปดังนี้
– การมีโมเดลจะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้ทิศทางและมุ่งไปด้วยกันทั้งองค์กร
– การไม่ยึดโมเดลก็ไม่มีผลถ้าเรามีวิธีการแลกเปลี่ยนหรือจัดการความรู้จะมีหรือไม่มีก็ไม่มีผล
– KM เป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจ ให้ แบ่งปัน เรียนรู้


– วิจารณ์บทความเรื่อง “บรรณารักษ์แบบไหน? ที่สังคมไทยควรมีในห้องสมุด” มีผลสรุปดังนี้

– คนเขียนก็มีมุมมองเรื่องบรรณารักษ์และห้องสมุดในมุมมองแบบนั้นอยู่แล้ว ไม่ต้องไปสนใจหรอก
– การที่มีคนเขียนแบบนี้ก็ดีอีกแบบ คือ มีคนช่วงเป็นกระบอกเสียงให้พวกเรา และกระตุ้นให้รัฐบาลได้ตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดสักที
– คนเราย่อมมีมุมมองคนแบบเราก็อาศัยมุมมองเหล่านี้มาปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้

– แนะนำเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น
World Public Library Association – http://worldlibrary.net/
World eBook Fair – http://www.worldebookfair.org/
“เปิดโลกการอ่านด้วยวรรณกรรมระดับโลก” ครั้งที่2 ปี2554 – http://www.nanmeebooks.com/reader/news_inside.php?newsid=761
ทำความรู้จักหลักสูตรแบบ 4+2 ของกระทรวงศึกษาธิการ – http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21795&Key=news_chaiyos
ห้องสมุดดิจิตอลแหล่งรวมหนังสือดีสำหรับเด็ก – http://en.childrenslibrary.org/
ห้องสมุดดิจิทอล World Digital Library – http://www.wdl.org/en/

– ประชาสัมพันธ์งานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีการศึกษา 2553 ระหว่างวันที่ 12-14 มกราคม 2554 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

– MV เพลง “บุ๋ง” ซิงเกิ้ลที่สองจาก มารีญา ถ่ายในห้องสมุดด้วย ไปลองดู http://www.youtube.com/watch?v=UYn2bI1J65Q

เอาเป็นว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีเรื่องคร่าวๆ แบบนี้แหละครับ
ไม่แน่ใจว่ายาวไปหรือปล่าว ผมว่ากำลังดีนะ อาทิตย์ก่อนที่ยาวเพราะว่าดองไว้เกือบสองอาทิตย์
อาทิตย์นี้เลยต้องรีบเขียนเพราะจะได้ประเด็นและใจความสำคัญเต็มที่ ไม่อยากเน้นน้ำเยอะเดี๋ยวจะอ่านแล้วเบื่อซะก่อน

ปล. link ของบล็อกผมที่นำมาโพสที่นี่ผมไม่นำมาลงสรุปนะครับ เพราะเพื่อนๆ คงได้อ่านกันแล้ว

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2

วันนี้ผมกลับมาแล้วครับ กับการสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในช่วงวันที่ 11 ? 21 ธันวาคม 2553 มีเรื่องที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่น่าสนใจ มีดังนี้

– 11/12/53 = “เพื่อนๆ คิดยังไงถ้าหอสมุดแห่งชาติควรจะต้องทำการตรวจสอบสถานภาพหนังสือทุกเล่มใหม่ (Inventory)” มีผลสรุปดังนี้
– ควรทำการตรวจสอบข้อมูลแบบนี้ทุกปี เพื่ออัพเดทข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริง
– การที่ไม่ได้ทำนานจะทำให้ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติ แต่หากเราทำอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วจะทำให้ใช้เวลาน้อยลง
– ถ้าหนังสือมันเยอะมากจริงๆ ก็สามารถทำโดยการแบ่ง collection แล้วค่อยๆ ไล่ทำก็ได้

– 13/12/53 = “ห้องสมุดประชาชนกับการเก็บค่าใช้บริการประชาชนเหมาะสมเพียงใด” มีผลสรุปดังนี้
– เก็บได้แต่ต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เงินที่เก็บเอาไปพัฒนาและซ่อมแซมห้องสมุด
– ทำเครือข่ายให้ห้องสมุด สนับสนุนการสร้าง friend of Library

– จากบทความ “ว่าไงนะ บรรณารักษ์ตายแล้ว?” ที่ผมเขียนลงในกรุงเทพธุรกิจ บรรณารักษ์ได้ให้ความเห็นดังนี้
– บรรณารักษ์เปลี่ยนบทบาทและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ
– ปรับตัวและปรับใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยอาจจะเรียนรู้จากผู้ใช้บริการก็ทำได้
– โดนใจ “บรรณารักษ์บางทีควรที่จะมีประตูหลายๆ บาน เพื่อมีช่องทางการเปิดรับที่หลากหลายและที่สำคัญต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง”
– เห็นด้วย “เราคงต้องเป็นบรรณารักษ์ฟิวชั่น หรือบรรณารักษ์มิกซ์แอนแมช ระหว่างความเก่า ภาวะปัจจุบันและอนาคต”

– “ภาพยนตร์ หรือวรรณกรรมเรื่องใดบ้างครับที่กล่าวถึงห้องสมุดบ้าง”
– เพื่อนช่วยกันแนะนำซึ่งได้แก่ Harry Potter, librarian, My Husband 2, กฏหมายรักฉบับฮาร์วาร์ด, นิยายเรื่องรักร้อยพันใจ, การ์ตูน R.O.D. (Read or Die), ห้องสมุดสุดหรรษา, The mummy, The Shawshank Redemption, The Librarian quest for the spear, Heartbreak Library, จอมโจรขโมยหนังสือ, Beautiful life, NIGHT AT THE MUSEUM, Whisper of the heart, เบญจรงค์ 5 สี

– “ในการพัฒนาห้องสมุดเฉพาะ (และต้องทำงานคนเดียว) จะพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน การอ่านอย่างไร ให้เข้าถึงผู้ใช้มากที่สุด” มีผลสรุปดังนี้
– ส่งเสริมผ่าน Web 2.0 เช่น Social Network ควบคู่ไปกับ ส่งจดหมายข่าวผ่านช่องทาง Email
– กลยุทธ์ ปากต่อปาก (ของดีต้องบอกต่อ)
– หิ้วตะกร้าใส่หนังสือ นิตยสารไปส่งถึงที่ (ประมาณ book delivery)

– “การเก็บสถิติห้องสมุด มีประโยชน์อย่างไร และ เรื่องใดที่ควรเก็บสถิติ ?” มีผลสรุปดังนี้
– สถิติการยืม+การใช้ภายใน (in house use) เพื่อดูว่าหนังสือเล่มใดที่มีการใช้น้อยมากๆ จะได้หาทางประชาสัมพันธ์
– “ใช้เป็นหลักฐานในการสนับสนุนการทำงานทุกอย่าง เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการตามจุดต่างๆ การเคลื่อนย้ายที่มีเสียง การจัด event การจัดโปรโมชั่น การประชุมของเจ้าหน้าที่ ฯลฯ”
– แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ที่ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/25/new-technology-and-best-practice-in-library-services/ และ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/29/library-stat/

– “โครงการไทยเข้มแข็งที่ช่วยยกระดับครูบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน” มีหลักการคือ สพฐ. ให้ภาควิชาบรรณารักษ์ อักษรจุฬาฯ ทำคู่มืออบรม เชิญอาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษ์ทั่วประเทศมาอธิบายวิธีใช้คู่มือ แล้วให้กลับไปจัดอบรมและเป็นวิทยากรในพื้นที่ของตัวเอง

– กระทู้นี้น่าคิด “เมื่อไหร่บรรรณารักษ์จะมี “ใบประกอบวิชาชีพ”” มีผลสรุปดังนี้
– อยากให้มี ยกระดับมาตราวิชาชีพ และการยอมรับของสังคม ให้เห็นความสำคัญของวิชาชีพบรรณารักษ์ให้มากขึ้น
– จะสามารถทำได้ถ้ามี พรบ.สภาวิชาชีพบรรณารักษ์ ซึ่งต้องปรึกษานักกฎหมาย
– ข้อจำกัดและอุปสรรค คือ ต้องหาองค์กรที่มารับรองวิชาชีพของเราด้วย ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องเข้มแข็งเช่นกัน
– น่าสนใจ “ทาบทามผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษ์ ทาบทามนักกฎหมาย แล้วก็ร่าง พรบ.ร่วมกัน ระหว่างนั้นให้ศึกษาแนวทางในการจัดตั้งสภาบรรณารักษ์ มารองรับ พรบ.”

– หน่วยงานไหนทำ Institutional Repository คลังปัญญาของตัวเองบ้าง
– ผลสรุปจากเพื่อนๆ เสนอมาหลายหน่วยงาน ได้แก่ ม.สงขลานครินทร์, ม.ศรีปทุม, ม.ขอนแก่น, ม.จุฬา, กรมวิทยาศาสตร์บริการ

– “สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยี RFID ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหน่อยครับ ว่าขณะนี้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยใดใช้เทคโนโลยีแล้วบ้าง และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
– หน่วยงานที่มีการใช้งาน เช่น ม.พระจอมเกล้าลาดกระบัง, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ, ม.รังสิต, ห้องสมุดแบงก์ชาติ, สำนักวิทยบริการ มรภ.พิบูลสงคราม
– ใช้เพื่อตรวจหาหนังสือที่วางผิดที่ผิดทาง, ใช้ตอนทำ inventory, ให้บริการยืมคืนอัตโนมัติ
– ข้อเสียส่วนใหญ่มาจากเรื่องของเทคนิคมากกว่า บางแห่งเจอในเรื่อง server ล่ม
– แนะนำให้อ่าน http://www.student.chula.ac.th/~49801110/

– โปรแกรมเลขผู้แต่ง น่าเอาไปใช้ได้ ไม่ต้องเปิดหนังสือ http://www.md.kku.ac.th/thai_cutter/

– ภาพถ่ายของห้องสมุดการรถไฟฯ เพื่อประชาชนจังหวัดหนองคาย เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าบรรณารักษ์มากๆ

– แนะนำ Facebook ของศูนย์ความรู้กินได้ http://www.facebook.com/kindaiproject

– วีดีโอของรายการเมโทรสโมสรมาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี http://www.youtube.com/watch?v=DzZqyVzCwtw

– ตัวอย่างการทำวีดีโอเปิดตัวศูนย์ความรู้กินได้ http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis

– กระทู้ยอดฮิตและผมต้องยกนิ้วให้มีสองเรื่องครับ โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ผมก็ลืมคิดไปในช่วงแรก คือ การแนะนำตัวว่าแต่ละคนทำงานที่ไหนหรือเรียนที่ไหน ส่วนเรื่องที่สองมาจากกระทู้ของน้องอะตอมในเรื่องครูบรรณารักษ์ที่มีหลายๆ คนแสดงความเห็น เอาเป็นว่าอันนี้ต้องไปอ่านกันเองนะครับไม่อยากสรุปเพราะกลัวจะทำให้เกิดการแตกแยก อิอิ เอาเป็นว่าอ่านกันเองมันส์กว่าครับ

สำหรับอาทิตย์นี้ผมต้องขออภัยในการอัพเดทล่าช้ามากๆ นะครับ เนื่องจากผมไม่มีเวลาในการเขียนบล็อกเลย
เอาเป็นว่าวันนี้บล็อกอาจจะยาวไปมาก แต่คร่าวหน้าสัญญาว่าจะอัพเดทให้ตรงเวลานะครับ

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ

เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1

วันนี้ผมขอมาสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่มีการพูดคุยกันในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในสัปดาห์แรก (2 – 10 ธันวาคม 2553) เปิดตัวด้วยความงดงามซึ่งผมประทับใจมากครับ

ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ใน 1 สัปดาห์มีอะไรบ้างไปอ่านเลยครับ

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่ผมตั้งกระทู้รายวัน (Daily Topic) มีดังนี้

– 2/12/53 = เปิดตัวกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookสรุปผล มีคนตอบรับเข้าร่วมนับร้อยคน
วันแรกก็สร้างความชื่นใจและเป็นแรงใจที่ดีในการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ให้ผมแล้ว นอกจากนี้ผมได้กำหนดผู้ดูแลระบบให้หลายๆ คนเพื่อช่วยๆ กันดูแล เพราะกลุ่มนี้ไม่ใช่ของผมเพียงคนเดียว แต่เป็นกลุ่มของเพื่อนๆ ที่จะร่วมกันสร้างและพัฒนาวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดไทย

– 3/12/53 = “คุณเห็นด้วยกับการดูงานห้องสมุดในประเทศและต่างประเทศหรือไม่ หากไม่มีงบประมาณในการดูงานมีแนวทางแก้ไขอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
— เราสามารถศึกษาข้อมูลห้องสมุดผ่านทางเว็บไซต์ก็ได้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอาจจะโทรไปคุยหรือส่งเมล์คุยกัน
— หาพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนมุมมองบนโลกออนไลน์ เช่น Facebook
— ดูงานในเมืองไทยก็ได้ เพราะห้องสมุดหลายแห่งก็เป็นตัวอย่างที่ดีเหมือนกัน
— การไปดูงานห้องสมุดในต่างประเทศเราต้องเตรียมประเด็นในการดูงานให้ดี ไม่ควรไปดูแบบ Library tour
— เอางบการดูงานในต่างประเทศไปเชิญอาจารย์จากต่างประเทศมาทำ workshop น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า แถมห้องสมุดอื่นๆ ก็สามารถเข้าร่วมฟังได้ด้วย

– 4/12/53 = “เวลาดูงานห้องสมุดนอกสถานที่เพื่อนๆ มีประเด็นอะไรบ้างที่อยากดู”? มีผลสรุปดังนี้
— การไปดูงานของห้องสมุดแต่คนคนที่ไปควรไปดูงานที่สอดคล้องกับการทำงานของตนเอง แล้วกลับมาแชร์ไอเดียร่วมกัน
— เตรียมประเด็นไปดูงานให้ดีว่าอยากดูอะไร หรือทำแบบฟอร์มไว้เป็นแม่แบบในการดูงาน เพื่อใช้ในโอกาสต่อๆ ไป
— ถามสิ่งที่ไม่มีใน web ของห้องสมุด (บรรณารักษืต้องเตรียมตัวก่อนไปดูงานก่อน ทำการบ้านดีๆ นะ)

– 5/12/53 = งดกระทู้หนึ่งวัน เพราะอยากให้อยู่กับครอบครัว

– 6/12/53 = “เพื่อนๆ เคยไปดูงานที่ไหนแล้วประทับใจบ้าง และที่ไหนที่เพื่อนๆ อยากไปดูเพิ่มเติมอีก (แนะนำได้แต่ขอเน้นในเมืองไทยก่อนนะครับ)” มีผลสรุปดังนี้
— ห้องสมุดที่น่าไปดู เช่น TKpark, SCG XP library, TCDC, ASA Library, ห้องสมุดที่ มศว,ห้องสมุดที่ มจธ, ห้องสมุดมารวย และห้องสมุดที่หลายๆ คนแนะนำมากที่สุด คือ ห้องสมุดที่ ABAC

– 7/12/53 = “ในปี 2554 เพื่อนๆ จะพัฒนางานบริการของห้องสมุดเพื่อนๆ ไปในทิศทางไหน อย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
— เพิ่มช่องทางบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าแบบ IM
— เน้นการให้ข้อมูลเชิงรุก หรือการให้บริการเชิงรุก
— ให้บริการด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือเฉพาะสาขาวิชา
— project guide บรรณารักษ์ทำงานควบคู่กับนักศึกษา
— มีการกำหนด KPI ในการทำงาน เช่น ถ้าซื้อหนังสือใหม่มา 100 เล่ม ต้องมีคนยืมอ่านอย่างน้อย 95 เล่ม
— ทำ FAQ หรือ subject guide คำถามไหนที่ผู้ใช้เข้ามาบ่อยๆ หรือมีแนวโน้มว่าจะถามก็ทำเป็นคู่มือ

– 8/12/53 = “บริการไหนในห้องสมุดที่เพื่อนๆ คิดว่าแปลกกว่าที่อื่นๆ” มีผลสรุปดังนี้
— ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มี Ipod touch ให้ยืมใช้ภายในห้องสมุด
— Project Facilitator Librarian คือ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์

– 9/12/53 = ไม่ได้ตั้ง Topic ไว้อ่ะครับ ขออภัย

– 10/12/53 = “ห้องสมุดกับเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มีอะไรที่เสี่ยงบ้าง”
— อ่านเรื่องนี้ได้ประโยชน์ http://www.slideshare.net/firstpimm/2537

ประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจอื่นๆ มีดังนี้
– น้องอะตอมได้แนะนคลิปวีดีโอ What is the future of the library? (http://www.youtube.com/watch?v=asYUI0l6EtE) ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับรางวัล โดยน้องอะตอมอธิบายเกี่ยวกับคลิปนี้ได้ดีมากๆ โดยน้องอะตอมกล่าวว่า “หลักๆคือ คลิปนี้ต้องการจะสื่อว่าความรู้และสารนิเทศได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมความรู้เข้าถึงได้จากห้องสมุดและหนังสือเท่านั้น แต่ปัจจุบันความรู้และสารนิเทศได้ขยายเพิ่มมากขึ้น กระจายไปทั่วโลก คนหลายๆคนสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากยุคและกาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงจาก Information Age เข้าสู่ยุค Digital Networked age”

– น้องอะตอมสอบถามเกี่ยวกับ “ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดเรือนจำหรือห้องสมุดทหาร” ผลสรุปมีดังนี้
— อาจารย์น้ำทิพย์ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ มสธ ทำร่วมกับห้องสมุดเรือนจำ ชมได้ที่ http://picasaweb.google.com/library.stou.ac.th/315#
— สำนักหอสมุด ม.บูรพา ก็ไปจัดกิจกรรมที่ทัณฑสถานหญิง ชลบุรีทุกปี
— ห้องสมุดเรือนจำบางขวาง ที่นั่นจะจัด นช. ชั้นดี มาเป็นผู้ดูแลและให้บริการเพื่อนๆ โดยมี จนท. เรือนจำ ดูแลอีกที
— กรมราชทัณฑ์ก็พัฒนาห้องสมุดเรือนจำไปเรื่อยๆ เปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมด้วยเป็นการกุศล เทอดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ที่ไหนเสร็จแล้วเรียกว่า “ห้องสมุดพร้อมปัญญา”

– ทำไมห้องสมุดถึงเรียกห้องสมุดทั้งๆที่มันมีหนังสือ? ผลสรุปมีดังนี้
— “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี = แต่โบราณนานมา คนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร ตำรายา กาพย์กลอน ฯลฯ ลงสมุดทั้งสิ้นสมุดที่ว่านี้เรียกว่าสมุดไทย ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมา…คล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ ดังนั้นจึงเรียกห้องที่ใช้เก็บสมุดว่า ห้องสมุด”

– 10 ธันวาคม เป็นวันครบรอบวันเกิดของ ดิวอี้ เจ้าพ่อระบบDDC บุคคลสำคัญแห่งวงการบรรณารักษ์ของโลก

– ตัวอย่างการทำวีดีโอแนะนำหนังสือ ลองดูนะครับ น่าสนใจดี http://www.youtube.com/watch?v=Z3NXUdWnxtg

รูปภาพจำนวน 8 รูปภาพ

สมาชิกในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookจำนวน 225 คน

เอาเป็นว่านี่คือความคืบหน้าโดยภาพรวมของกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์แรก
หวังว่าหลังจากนี้จะมีความคึกคักเพิ่มขึ้น และมีบรรณารักษ์เข้าร่วมกันเรามาขึ้นนะครับ
ในฐานะตัวแทนกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยินดีต้อนรับทุกคนครับ

เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook

ตอนนี้ผมได้สร้างเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน facebook แล้วนะครับ
วันนี้ผมจึงขอแนะนำเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทย หรือ กลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook นะครับ

หากเพื่อนๆ จำได้หรือสังเกตด้านบนของบล็อกผม (Banner ด้านบน) นั่นก็คือเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน hi5 นั่นเอง แต่กลุ่มนั่นผมเปิดมาเกือบๆ จะสามปีแล้ว ซึ่งเมื่อสามปีที่แล้ว Hi5 กำลังเป็นที่นิยมของคนไทย แต่ปัจจุบันเพื่อนๆ หลายคนหันมาเล่น Facebook กันแทน ผมจึงเกิดไอเดียในการเปิดกลุ่มเพิ่มเติม


แรงบันดาลใจแรกเกิดจากการหาพื้นที่เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์บนโลกออนไลน์ การที่ผมใช้พื้นที่ส่วนตัวของผมใน facebook มาตอบคำถามห้องสมุด มันก็จะไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่ เนื่องจากผมมีเพื่อนอยู่หลายกลุ่มไม่ใช่เพียงกลุ่มบรรณารักษ์อย่างเดียว หากในหน้าส่วนตัวผมมีแต่เรื่องห้องสมุด เพื่อนๆ คนอื่นก็จะไม่ค่อยชอบ และการเอาเรื่องอื่นๆ มาเขียนก็จะทำให้มันไม่ใช่พื้นที่ของบรรณารักษ์และห้องสมุด ดังนั้นจากการสังเกตเพื่อนๆ หลายคนพบว่า มีช่องทางบน facebook ที่สามารถทำได้ ดังนี้
1. เปิด account ใหม่ แล้วใช้ตอบคำถามและลงเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุดอย่างเดียว
2. ตั้งหน้า fanpage ของ libraryhub ใน facebook เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน
3. ตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แล้วดึงเพื่อนๆ ที่เป็นบรรณารักษ์เข้ากลุ่ม

ซึ่งผลสรุปแล้วผมเลือกที่จะตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แทน เนื่องจาก
– การตั้ง account เพื่อให้คนเข้ามาแอดเป็นเพื่อนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากและต้องใช้เวลาในการตกแต่งนาน
– การเปิด fanpage ก็ดี แต่ไม่เหมาะสมเท่าไหร่เพราะเห็นหลายคนตั้งไว้แล้ว แต่ไม่มีกิจกรรมเท่าที่ควร และไม่เป็นกลุ่มใหญ่
– การตั้งกลุ่มเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด และเพื่อนๆ สามารถดึงคนอื่นเข้ามาร่วมได้มาก

จากเหตุผลต่างๆ นานา ผมจึงใช้ Librarian in Thailand เพื่อ
– เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นเวทีในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นที่พบปะเพื่อนๆ ร่วมวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

กลุ่ม Librarian in Thailand เปิดมาเกือบจะครบหนึ่งสัปดาห์แล้ว (เปิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553)
ตอนนี้มีสมาชิกเข้าร่วมแล้ว 184 คน และมีหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านห้องสมุดทุกวัน

โดยสมาชิก 184 คน ที่อยู่ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ซึ่งผมขอสรุปดังนี้
– คนทำงานบรรณารักษ์
– อาจารย์หรือครูบรรณารักษ์
– นักศึกษาเอกบรรณารักษ์
– ผู้ที่สนใจด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

ใครที่สนใจจะเข้ากลุ่มก็เข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

เอาเป็นว่าทุกสัปดาห์ผมจะนำ topic ต่างๆ ในกลุ่มมาสรุปและนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ
ขอบอกเลยว่าไอเดียของแต่ละคนในกลุ่มสุดยอดและน่าอ่านมากๆ เลยครับ

ปล. ขอบคุณเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมอุดมการณ์ครับ

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

อย่างที่เมื่อวานผมได้กล่าวถึงงานสัมมนา ?มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้?
ผมได้มีโอกาสฟังการบรรยายอีกช่วงนึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ “โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย”
ผมก็จะสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นเคยครับ

dlibthai

วิทยากรในช่วงนี้ คือ “คุณชิตพงษ์? กิตตินราดรผู้จัดการโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยคือ ทำไม สสส. ถึงทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย
คำอธิบายจากท่านวิทยากรก็ทำให้เรากระจ่าง คือ สสส. เน้นการสร้างสุขภาวะซึ่งมีหลายด้านด้วยกัน
โดยห้องสมุด ถือว่าเป็นการสร้างสุขภาวะทางปัญญานั่งเองครับ

หลักการคร่าวๆ ของโครงการนี้เกิดจากความคิดที่ว่า
หน่วยงานที่มีข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหลายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นโครงการนี้จะเป็นตัวกลางที่จะช่วยประสานและแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

วิทยากรได้กล่าวถึง “สื่อกำหนดอนาคตของสังคม” เนื่องจากสื่อสามารถสร้างกรอบแนวคิดให้สังคม
บางประเทศถึงขั้นต้องปิดกั้นสื่อ เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับกรอบแนวคิดต่างๆ

สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจและพบว่าในวันหยุด เด็กๆ จะใช้เวลากลับการดูทีวีถึง 14 ชั่วโมง
ลองคิดดูสิครับว่า เด็กเหล่านี้จะได้รับอะไรไปเป็นแนวคิดของพวกเขาบ้าง

“สื่อดิจิทัลกำลังกลายเป็นสื่อหลัก” เนื่องจากสื่อดิจิทัลเข้าถึงได้ง่ายมาก
จากการสำรวจคนไทยพบว่า คนไทยอ่านข้อมูลบนเน็ตมากกว่าอ่านหนังสือ
(ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ = 39 นาที แต่ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต 107 นาที)

จากการสำรวจของ NECTEC ก็แสดงถึงการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
เมื่อปี 51 มีการสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 0.1%
แต่ด้วยคำถามเดียวกัน ในปี 52 พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 8%

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
– World Digital Library = http://www.wdl.org/en/

wdl

– The National Archives = http://www.nationalarchives.gov.uk/

na

– Issuu = http://issuu.com/

issuu

– MIT OpenCourseWare = http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm

mit

– Google Book = http://books.google.com

google

แต่อุปสรรคของการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็มีนะครับ เช่น
– ความน่าเชื่อถือ? (ไม่รู้จะอ้างอิงใคร)
– ความครบถ้วนของเนื้อหา (ข้อมูลบางครั้งก็มีไม่ครบถ้วน)
– การจัดระบบ (ไม่มีระบบที่จัดการข้อมูลที่ดี)

แต่อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้มีทางแก้ นั่นก็คือการจัดการห้องสมุดดิจิทัลไงครับ
ข้อมูลอ้างอิงได้ชัดเจน เนื้อหาก็ครบถ้วน รวมถึงให้คนเป็นผู้จัดระบบย่อมดีกว่าให้คอมพิวเตอร์คิด

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทย สนับสนุนในเรื่องใดบ้าง
– การผลิต (แปลงสื่อเก่าเป็นสื่อใหม่ + ทำสื่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน)
– การเผยแพร่ (ให้บริการบนเว็บ + ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน)
– การเข้าถึง (เข้าถึงได้จากจุดเดียว + ค้นหาง่ายขึ้น)

dlib-th

เพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น
– ผู้พิการ = เข้าถึงข้อมูล
– นักเรียนนักศึกษา = ศึกษาเรียนรู้
– คนทั่วไป = สนับสนุนข้อมูลในชีวิตประจำวัน
– นักวิจัย = วิจัยพัฒนา

แผนงานของโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทยยาว 3 ปี (2010-2012) โดยแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
1. จัดทำต้นแบบ (http://www.dlib.in.th) = 20,000 ชิ้น
2. สร้างมาตรฐานและบริการสาธารณะ = 200,000 ชิ้น
3. จัดตั้งองค์กร

ประโยคสรุปสุดท้ายของท่านวิทยากร ผมชอบมากๆ เลยครับ
Keyword = โอกาส + กำหนดทิศทางสังคม + สื่อใหม่

เอาเป็นว่างานนี้ผมได้ความรู้มากมายเลยครับ และได้มีโอกาสรู้จักโครงการดีๆ เพียบเลย
ขอบคุณผู้จัดงานทุกคนครับ ทั้ง มธ. สวทช. สสส. ศวท.

งานสัมมนาบรรณารักษ์เชิงรุก

งานสัมมนาครั้งใหญ่ของชมรมห้องสมุดเฉพาะ ประจำปี 2552 กำลังจะมา
ปีนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจเพียบเลยนะครับ วันนี้เลยต้องขอบอกต่อสักหน่อย

seminar-special-lib

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานสัมมนา : บรรณารักษ์เชิงรุก : การสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการความรู้
จัดวันที่ : วันที่ 24 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สถานที่ในการจัดงาน : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

หัวข้อของการจัดงานแค่ชื่อ ผมก็รู้สึกว่าน่าสนใจแล้วหล่ะครับ
“บรรณารักษ์เชิงรุก” นอกจากบรรณารักษ์จะให้บริการแบบเชิงรุกแล้ว
ในแง่ของการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ หรือรวมกลุ่มเพื่อทำงานก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันหรอกนะครับ
หรือที่สำนวนไทยบอกไว้ว่า “หลายหัว ย่อมดีกว่า หัวเดียว” “รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย”

ในโลกยุคใหม่การสร้างเครือข่ายยิ่งทำได้ง่ายกว่าเดิมเยอะครับ
เครื่องมือบนอินเทอร์เน็ตก็มีมากมายให้เลือกใช้ ดังนั้นบรรณารักษ์ต้องรู้จักสิ่งเหล่านี้ากๆ นะครับ

การสัมมนาในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 วัน คือ
วันแรกจะเป็นการสัมมนา และเสวนาเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในห้องสมุดเป็นหลัก
วันที่สองจะเป็นการฝึกปฏิบัติซึ่งมีหัวข้อมากมาย
เพื่อนๆ สามารถเลือกได้ว่าจะมาเข้าร่วมช่วงไหนก็ได้

หัวข้อที่น่าสนใจในวันแรก
– การจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ
– ห้องสมุดกับการจัดการความรู้ด้วย? ICT
– เรื่องน่ารู้ในการจัดการความรู้ของห้องสมุด & ศูนย์การเรียนรู้
– การจัดการความรู้: เครื่องมือสู่ยุทธศาสตร์ความสำเร็จ

หัวข้อการฝึกปฏิบัติในวันที่สอง
– โลกวิชาชีพ กับบรรณารักษ์เชิงรุก
– วิธีสร้าง Blog ง่าย ๆ ด้วยตนเอง
– การสร้างเอกสาร Digital ด้วย Media วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เป็นยังไงกันบ้างครับหัวข้อน่าสนใจขนาดนี้ ถ้าพลาดไปเสียดายแย่เลย

สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงานนะครับ ผมขอสรุปได้ดังนี้
– ถ้าเป็นสมาชิกสมาคมห้องสมุด อบรม 2 วัน = 1,200 บาท
เข้าฟังบรรยาย 1 วัน = 450 บาท หรือ Workshop 1? วัน? = 800 บาท

– ถ้าบุคคลทั่วไป อบรม 2 วัน = 1,500 บาท
เข้าฟังบรรยาย 1 วัน = 600 บาท หรือ? Workshop 1 วัน = 900 บาท

เอาเป็นว่ามีตัวเลือกให้ด้วยแบบนี้ยิ่งน่าสนใจใหญ่เลย
แต่ถ้าเป็นผมลงสองวันเลยจะดีกว่าครับ เพราะการสัมมนาครั้งนี้ราคาไม่แพงเกินไป

เอาเป็นว่างานสัมมนาครั้งนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ต้องสนใจเยอะและมากันเยอะแน่ๆ
อย่างน้อยก็มาร่วมสร้างเครือข่ายกันเยอะๆ นะครับ แล้วเจอกันครับ

LibCamp#1 : How to Projectlib Community

ผู้ที่ออกมาพูดคนแรกของงาน LibCamp#1
คือ คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) เจ้าของบล็อก Projectlib
ซึ่งได้พูดเรื่อง แนะนำ projectlib และการสร้างชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์

Presentation ของ Projectlib

Read more