อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019

อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019

หากกล่าวถึง Trend ด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด หนึ่งในบรรณารักษ์ที่ผมตามอ่าน คือ “David Lee King” ซึ่งเขาจะอัพเดทและทำสไลด์เรื่องนี้ทุกปี (และผมก็ชอบนำมาใช้ประกอบการบรรยายบ่อยครั้ง) ปีก่อนๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านในบล็อกของผมย้อนหลังได้ แต่ปีนี้ 2019 มาอ่านในเรื่องนี้กันดีกว่า

ก่อนอื่นผมขอแนะนำ “David Lee King” ให้ทุกท่านได้รู้จักกันก่อน

Read more
สรุปความรู้ที่ได้จากการไปฟังสัมมนางาน “เทคโนโลยีห้องสมุดดิจิทัล 4.0”

สรุปความรู้ที่ได้จากการไปฟังสัมมนางาน “เทคโนโลยีห้องสมุดดิจิทัล 4.0”

ไม่ได้เขียนบล็อกมานานมาก วันนี้จึงขอเล่าเรื่องราวที่ได้ไปบรรยายและฟังวิทยากรคนอื่นบรรยายมาให้เพื่อนๆ อ่าน

โครงการสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมห้องสมุดดิจิทัล 4.0
ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-Library)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วันที่ 25 มกราคม 2561

ทั้งนี้ในส่วนสไลด์ของผมที่บรรยาย ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่

อ่านสรุปเรื่องราวได้เลยครับ

Read more

บทบาทของห้องสมุดในการสร้างความเข้มแข็งด้านการพัฒนา ICT LITERACY

บทบาทของห้องสมุดในการสร้างความเข้มแข็งด้านการพัฒนา ICT LITERACY

มีข่าวฝากมาประชาสัมพันธ์อีกแล้วครับ งานนี้ผมได้เป็นหนึ่งในวิทยากรซะด้วย หากเพื่อนๆ สนใจเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือ การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Literacy) ผมแนะนำว่าไม่ควรพลาด

12764420_854130978030115_6052686564712283314_o Read more

การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดการแพทย์

สรุปมาจนถึงหัวข้อที่หกแล้วนะครับสำหรับงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์”
หัวข้อ คือ IT Management in Medical Library (การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดการแพทย์)
วิทยากรโดย นายแพทย์ธีรชัย ยงชัยตระกูล หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลเลิศลิน กรมการแพทย์

หัวข้อนี้จริงๆ แล้วมีเนื้อหาคล้ายๆ ของผมเลย แต่มีเนื้อหาต่างกันอยู่บ้างแหละ
ซึ่งโดยหลักๆ ท่านวิทยากรได้เล่าภาพห้องสมุดออกมาเป็น 3 มุมมองใหญ่ๆ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต

หัวข้อที่บรรยายเป็นการจุดประเด็นให้คิดและวิเคราะห์ตาม
เพื่อทำให้เรา รู้จักอดีต / เข้าใจปัจจุบัน / คาดเดาอนาคต ของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

ห้องสมุดสมัยโบราณ (Ancient Ages)
ห้องสมุดในอดีตคงต้องมองย้อนไปตั้งแต่เกิดห้องสมุดแห่งแรกของโลกบริเวณที่เกิดอารายธรรมเมโสโปเตเมียเลย (เมื่อ 4000 ปีก่อน) ในยุคนั้นมีการแกะสลักตัวอักษรลงในแท่นดินเหนียว ถัดมาจนถึงยุคของอียิปต์โบราณที่ใช้กระดาษปาปิรุสบันทึกข้อมูล ไล่มาเรื่อยๆ จนถึง Royal Library at Dresden ที่บันทึกข้อมูลด้วยหนังสัตว์ และมีการนำหนังสัตว์มาเย็บรวมกันที่เรียกว่า Codex เป็นครั้งแรก

ภาพ Codex จาก http://extraordinaryintelligence.com

ห้องสมุดในยุคกลาง
ในยุคนี้จะพูดถึงเรื่องทวีปยุโรปได้มีการจัดสร้างห้องคัดลอกหนังสือ (Scriptorium) ไล่ไปจนถึงจีนที่เริ่มมีการทำกระดาษครั้งแรกของโลก และการกำเนิดเครื่องพิมพ์เครื่องแรกของโลก โดย johannes gutenberg

ห้องคัดลอกหนังสือ จาก http://joukekleerebezem.com

ห้องสมุดในยุคใหม่
อันนี้เริ่มใกล้ตัวเราขึ้นมาหน่อย โดยนับเริ่มตั้งแต่การเกิด Library of congress ถัดมาก็เรื่องของการจัดหมวดหมู่หนังสือต่างๆ เช่น Dewey, UDC ไปจนถึงการเกิดโรงเรียนบรรณารักษ์ และการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือด้านบรรณารักษ์ระหว่างประเทศ…

คำอธิบาย หรือ ที่มาของคำว่า Librarian มีที่มาอย่างไร
Liber (Latin) = เปลือกด้านในของต้นไม้
Libraria (Latin) = ร้านหนังสือ
Librarie (anglo french)
Librarie (old-french) = cellection of books
Librarian = บรรณารักษ์
สมัยก่อนใช้คำว่า library-keeper

การจัดการสื่อในห้องสมุดจะเปลี่ยนไปแค่ไหน
– จากหนังสือ จะกลายเป็น Digital File
– จากชั้นหนังสือ จะกลายเป็น Storage Server

การจัดการด้านเครือข่ายในห้องสมุด
– การเข้าถึงข้อมูล จากต้องเข้ามาที่ห้องสมุด จะกลายเป็น เข้าที่ไหนก็ได้
– การเข้ารับบริการ จากต้องเข้าใช้ตามเวลาที่ห้องสมุดเปิด จะกลายเป็น เข้าได้ 24 ชั่วโมง

ท่านวิทยากรได้ยกตัวอย่างมาตรฐานของสมาคมห้องสมุด พ.ศ. 2552 โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกแทรกอยู่ในหมวด 5, 7, 8

หลังจากที่พูดถึงภาพอดีตแบบกว้างๆ ไปแล้ว ทีนี้มาดูปัจจุบันกันบ้างดีกว่า

งานที่เกี่ยวกับสื่อในห้องสมุด และการบริการในห้องสมุด งานไอทีที่จำเป็นในงานดังกล่าวจะประกอบด้วย
– Server = ดูเรื่องของการจัดการ, ความปลอดภัย, ฐานข้อมูล
– Client = เครื่องของผู้เข้ารับบริการจะต้องเข้าใช้งานได้ ตรวจสอบผู้ใช้ได้
– Network = มีให้เลือกทั้งแบบมีสายและไร้สาย (ปัจจุบันรพ.เลิศสิน เช่น leased line)
– Content = content ทั้งหมดสามารถเข้าผ่าน intranet ได้
– Software


ตัวอย่างระบบห้องสมุดในอนาคตที่คาดว่าจะเป็น :-
*** อันนี้น่าสนใจมากครับ
– Berkeley (1996 โมเดลเก่าของเขา แต่ใหม่ของเรา)
– Harvard University “Library digital Initiative”
– Stanford University “Digital Repository”

ภาพโมเดล Stanford University "Digital Repository"

“IT จะรับหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลแทนห้องสมุด หนังสือจะเปลี่ยนเป็น สื่อที่ใช้เก็บเพื่ออ้างอิงและสะสม”
ห้องสมุดจะเปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนรู้ และ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนเป็นนักสารสนเทศ

ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในสัปดาห์หน้ามีงานใหญ่ที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (งานของ UNINET) หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนามของงาน WUNCA ถือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่ใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ ผมจึงขอแนะนำงาน WUNCA ในครั้งนี้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 23
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Workshop on UniNet Network and Computer Application หรือ WUNCA23
วันและเวลา : 26-28 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ผู้จัดการประชุม : UNINET สกอ.

งาน Wunca ครั้งนี้ผมสังเกตว่าเกิดกลุ่มใหม่ๆ และมี session เพิ่มขึ้นเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องไอที
ซึ่งมีตั้งแต่เรื่องของความปลอดภัยในการดูแลระบบไปจนถึงระดับพวกเขียนโปรแกรมบนไอโฟนแบบว่าน่าเข้าร่วมมากๆ
แต่วันนี้ผมขอเน้นข้อมูลเพื่อให้บรรณารักษ์และคนในวงการห้องสมุดดูดีกว่าว่างานนี้เกี่ยวอะไรกับห้องสมุดได้บ้าง

หัวข้อบรรยายในกลุ่มของ Thailis (เครือข่ายความร่วมมือพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย)
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Learnig Space”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Search Engine : ผลกระทบต่อบรรณารักษ์”
– การบรรยายพิเศษเรื่อง “มุมมอง : รอด…ไม่รอด… กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT”
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล Computers & Applied Sciences Complete / Academic Search Premium /Education Research Complete
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect

ปล. กลุ่ม Thailis จะมีการบรรยายในวันที่ 27 มกราคม 2554 วันเดียว

นอกจากหัวข้อในกลุ่มของ Thailis แล้ว กลุ่มอื่นๆ ที่น่าสนใจและผมแนะนำได้แก่
วันที่ 26 มกราคม 2554
– การบรรยายปาฐกถา เรื่อง “นโยบาย 3N และทิศทางการศึกษาไทย”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “UniNet พบมหาวิทยาลัย”
– Project Collaboration ThaiREN & TWNIC

วันที่ 27 มกราคม 2554
– การบรรยายพิเศษเรื่อง ?Education 3.0 กับ Open Source?
– Education Technology, Moodle 2.0, Social Media. จะไปด้วยกันอย่างไร การศึกษาไทยถึงจะรอด?
– การใช้เครือข่ายสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนด้านการเขียนและการคิดวิเคราะห
– บรรยาย เรื่อง ?อุดมศึกษาไทยรับมืออย่างไรในยุค New media?
– คุยซายน์ ?ซอฟต์แวร์เพื่อช่วยบริหารจัดการการให้ทุนวิจัยในองค์กร?

วันที่ 28 มกราคม 2554
– ?การพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะของระบบ e-learning โดยใช้ซอฟต์แวร์ Open Source Pentaho BI Suite?
– เสวนาประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการเรียนในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำหัวข้อที่น่าสนใจเท่านี้ก่อนแล้วกัน รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ เพื่อนๆ ไปดูได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

งานนี้เป็นงานที่แวดวงการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงวงการห้องสมุดไม่ควรพลาด
จากที่เคยเข้าร่วมงานมา 2-3 ครั้ง ผมรับรองเลยว่างานนี้ไอเดียและความรู้มีให้เก็บเกี่ยวเพียบ

คนที่ต้องการเข้าร่วมงานนี้ต้องลงทะเบียนด้วยนะครับ เข้าไปสมัครได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca/Regis_wunca/wunca23_Mregis.php
(ตอนนี้ปิดรับลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อนๆ สามารถติดต่อขอเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่หน้างานเลย)

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานนี้เพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถเข้าไปที่
เว็บไซต์ทางการงาน Wunca23 – http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

เว็บไซต์งาน Wunca ย้อนหลัง
Wunca22 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca22/
Wunca21 (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca21/
Wunca20 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca20/
Wunca19 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) – http://wunca19.uni.net.th/