โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

วันนี้ได้มีโอกาสอ่านบทความห้องสมุดในยุคถัดไปของประเทศสิงคโปร์แล้วทำให้รู้สึกตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก บทความนี้เป็นการสัมภาษณ์ Ramachandran Narayanan ผู้บริหารของ NLB โดยชื่อบทความ คือ Immersion and robots: The next chapter for Singapore’s libraries

ภาพถ่ายจากการไปเยี่ยมชมห้องสมุดที่สิงคโปร์เมื่อปี 2018

ก่อนจะไปอ่านบทสรุป ผมขอกล่าวถึงคำ Keyword ทั้งสองคำก่อน นั่นคือ “Robot” และ “Immersion” ซึ่งคำแรกเป็นคำที่หลายคนคงคุ้นเคย นั่นคือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในวงการห้องสมุด มาช่วยทั้งบรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการ ส่วนอีกคำ “Immersion” หรือแปลเป็นไทยว่า “การดื่มด่ำในโลกเสมือนจริง” หรือจะเรียกว่า “Immersive” ก็ได้ มักใช้ควบคู่กับคำว่า Virtual Reality

โดยคุณ Ramachandran Narayanan ได้กล่าวถึง highlights ของเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่สำคัญมากๆ ของห้องสมุดสิงคโปร์ นั่นก็คือ การนำเอาเรื่อง data analytics และ AI มาปรับใช้ในวงการห้องสมุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีในห้องสมุดว่าสามารถนำมาใช้ทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์

1) Immersive storytelling (การเล่าเรื่องด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง)

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็ก / เล่านิทานที่ใช้เทคโนโลยีการฉายวีดีโอและระบบตัวจับ Sensor ของผู้เล่า และผู้ใช้บริการ ทำให้ได้ภาพวีดีโอเสมือนจริง และสามารถสร้าง Interactive กับสื่อต่างๆ ได้

2) Personalising experiences with AI (สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวบุคคลด้วย AI)

ให้บริการแนะนำเนื้อหา (Contents) ที่ตรงใจผู้ใช้บริการแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึ้น ด้วยการนำ data analytics ของผู้ใช้มาวิเคราะห์และให้บริการที่ตรงใจ

3) Robots as library assistants (หุ่นยนต์ผู้ช่วยเหลืองานห้องสมุด)

ใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติหน้าที่ในห้องสมุดเพื่อช่วยเหลือบรรณารักษ์ในงานต่างๆ รวมถึงหุ่นยนต์ที่คอยแนะนำบริการ และให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการ

4) Automating the library workflow (ระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติ)

การนำระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานต่างๆ อาทิ การรับคืนหนนังสือผ่านตู้คืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Drop) ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นกลไกการทำงานของสายพานลำเลียงหนังสือ และระบบที่คัดแยกหนังสือไปยังห้องสมุดต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้การให้บริการสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Mobile Bookdrop ที่ Tampines Regional Library

จากตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์ข้างต้น จะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาปรับใช้กับการให้บริการและการปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถทำงานได้จริง และเริ่มมีการนำมาให้บริการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องชื่นชมว่านอกจากสร้างไอเดียแล้ว ยังมีการลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดอื่นๆ หรือต้องการอ่านเนื้อหาฉบับเต็มก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ Link ด้านล่างนะครับ

ที่มาของบทความ : https://govinsider.asia/smart-gov/immersion-and-robots-the-next-chapter-for-singapores-libraries/

4 บทบาทใหม่ที่ห้องสมุดควรทำหลัง COVID-19 (Next Normal for Library)

4 บทบาทใหม่ที่ห้องสมุดควรทำหลัง COVID-19 (Next Normal for Library)

มีคำถามส่งมาถึงผมมากมายเพื่อถามว่า “หลัง COVID-19 ห้องสมุดคงไม่เหมือนเดิม แล้วห้องสมุดของเราจะต้องปรับและเปลี่ยนอย่างไร” วันนี้ผมขอนำบทความจากหนังสือพิมพ์ The Straits Times เรื่อง “Beyond Covid-19: The new roles libraries can play” มาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน


Mr Ng Cher Pong (left), founding CEO of SSG since 2016, will succeed Mrs Elaine Ng as CEO of NLB.
ข้อมูลและภาพจาก : https://www.straitstimes.com/singapore/new-heads-for-national-library-board-skillsfuture

ผู้ที่ให้ข้อมูลกับ The Straits Times ก็ไม่ใช่ใครอื่น เขาคือ Mr. Ng Cher Pong (CEO, National Library Board) ก่อนที่เขาจะมาเป็น CEO ให้กับ NLB เขาเคยเป็น CEO ของ SkillsFuture Singapore (SSG) มาก่อน บทความนี้จึงทำให้ผมรู้จักความคิดและมุมมองของ CEO ท่านนี้ได้ดีขึ้น

Read more
8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย

8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย

สถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกยังไม่สงบ และกระทบกับการดำเนินงานของห้องสมุดในหลายๆ ประเทศอยู่อย่างต่อเนื่อง หากเพื่อนๆ ติดตามสถานการณ์ในช่วงนี้อยู่ ก็คงทราบดีว่า ห้องสมุดบางประเทศยังไม่ได้เปิดให้บริการ หรือ ห้องสมุดบางประเทศที่เปิดให้บริการไปแล้วก็ยังต้องมีมาตรการเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิด

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบทความจาก Vendor เจ้าหนึ่งที่ทำธุรกิจกับวงการห้องสมุด (bibliotheca) ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจ ชื่อเรื่องว่า “Reimagine the future of library services” ซึ่งในบทความนี้ได้กล่าวถึง “Ensure library staff and users feel safe” หรือ แนวทางในการสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ เลยขอนำมาเขียนแชร์ให้อ่าน

Read more
“5 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” จากผู้นำความคิดในวงการห้องสมุด

“5 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” จากผู้นำความคิดในวงการห้องสมุด

วันนี้นั่งอ่านบทความใน https://americanlibrariesmagazine.org/ แล้วสะดุดกับบทความหนึ่ง ชื่อเรื่อง “What the Future Holds” หรือแปลแบบตรงตัวว่า “อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง” ทำให้ผมต้องเข้ามานั่งอ่านแบบจริงจัง เผื่อเพื่อนๆ ไม่มีเวลาผมจะนำมาสรุปให้อ่านด้านล่างนี้เลย

Read more
อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019

อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019

หากกล่าวถึง Trend ด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด หนึ่งในบรรณารักษ์ที่ผมตามอ่าน คือ “David Lee King” ซึ่งเขาจะอัพเดทและทำสไลด์เรื่องนี้ทุกปี (และผมก็ชอบนำมาใช้ประกอบการบรรยายบ่อยครั้ง) ปีก่อนๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านในบล็อกของผมย้อนหลังได้ แต่ปีนี้ 2019 มาอ่านในเรื่องนี้กันดีกว่า

ก่อนอื่นผมขอแนะนำ “David Lee King” ให้ทุกท่านได้รู้จักกันก่อน

Read more
3 ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุด แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่น่าสนใจ

3 ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุด แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่น่าสนใจ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการรวมกลุ่มบรรณารักษ์และคนทำงานห้องสมุดเป็นสมาคม หรือที่หลายๆ คนจะรู้จักในนาม ALA และภายในสมาคมใหญ่ก็มีการแบ่งสายตามความสนใจอย่างชัดเจน ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกลุ่มๆ หนึ่ง นั่นคือ Library and Information Technology Association หรือย่อว่า LITA ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับใช้กับวงการห้องสมุด อีกทั้งสายงานนี้จะทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติจากทั่วโลกด้วย

ในงานประชุม ALA เมื่อต้นปี 2019 ได้มี session หนึ่ง รวมผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุดจำนวน 3 ท่านมาพูดในงานนี้ ซึ่งได้กล่าวถึง Application, อุปกรณ์, ซอฟท์แวร์ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยีที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้ได้

Read more
ห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ แต่มีไอเดียมากมาย

ห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ แต่มีไอเดียมากมาย

ช่วงที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่อง “จุดเปลี่ยนห้องสมุดในยุค digital transformation” ให้หน่วยงานต่างๆ เพิ่มขึ้น และมีคำถามจากสไลด์ที่ผมใช้ถามผู้เข้าร่วมงานเสมอๆ คือ

  1. อนาคตห้องสมุดจะหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
  2. ผู้ใช้บริการยังคงมาใช้บริการห้องสมุดอยู่หรือไม่
  3. ถ้าไม่มีหนังสือสักเล่มในห้องสมุดจะเป็นไปได้แค่ไหน
  4. บรรณารักษ์ต้องพัฒนาทักษะอะไรเพื่อให้อยู่รอด
Read more
เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

เคยเห็นตู้กดน้ำแบบหยอดเหรียญ ตอนนี้มีขนม มาม่า ผลไม้ …
ขายได้ทุกอย่างผ่าน Vending machine
และเครื่อง Vending machine ในปัจจุบันก็ไม่ได้รับแค่เหรียญกับธนบัตรอีกแล้ว
เพราะตอนนี้สามารถเชื่อมต่อกับ e-wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) ได้แล้วด้วย

มานั่งคิดๆ ดู แล้วในวงการห้องสมุดสามารถทำอะไรกับเรื่องเหล่านี้บ้างได้มั้ย
หากใครไปงานหนังสือสองสามครั้งล่าสุด หรือเพิ่งไปเดินเล่นแถวสยาม
เราจะได้เห็นเครื่องจำหน่ายหนังสืออัตโนมัติของร้าน Zombie Book Read more

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

ในปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้ห้องสมุดหลายแห่งฟังเกี่ยวกับแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยี ซึ่งบ่อยครั้งผมจะพูดถึง Gartner เป็นหลัก แต่วันนี้ที่ผมจะเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน ผมขอหยิบแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดมาเล่าบ้าง ซึ่งคนที่ผมชอบกล่าวถึงบ่อยๆ คงหนีไม่พ้น David Lee King (บรรณารักษ์ด้านไอที Idol ของผมเอง) ซึ่งเพื่อนๆ สามารถตามอ่านบล็อกของเขาได้ที่ https://www.davidleeking.com/

Read more

Trend ด้านเทคโนโลยีโลก ถึง เทคโนโลยีห้องสมุด ในปี 2016

Trend ด้านเทคโนโลยีโลก ถึง เทคโนโลยีห้องสมุด ในปี 2016

เมื่อวานนี้ผมได้เขียนเรื่อง “แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559” โดยผมได้อ้างอิงเรื่องจาก David Lee King วันนี้ผมจะนำมาเปรียบเทียบกับ “แนวโน้มด้านเทคโนโลยีปี 2016 ของ Gartner

Gartner เป็นบริษัทวิจัยและให้คำแนะนำด้าน IT ในสหรัฐฯ ซึ่งได้เผยแพร่บทความเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีทุกปี โดยมักจะอธิบายออกมาในรูปแบบของ Hype Cycle ตัวอย่างดังภาพด้านล่างเป็นของปี 2015 Read more