เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด

ปลายเดือนนี้ (วันที่ 24 สิงหาคม 2555) ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานประชุมวิชาการฯ เรื่อง “เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด” เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดอ่านต่อด้านล่างเลยครับ

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24 สิงหาคม 2555
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา

หัวข้อเรื่องของเทคโนโลยี cloud computing กำลังมาแรงไม่เพียงแต่วงการไอที หรือ วงการธุรกิจ แต่มันยังเริ่มเข้ามาสู่วงการศึกษา และวงการห้องสมุดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตัวอย่างการใช้งาน Cloud computing เช่น การแชร์ไฟล์ข้อมูลผ่านโลกอินเทอร์เน็ตด้วย dropbox …. (เอาไว้จะเขียนให้อ่านบ้างนะครับ)

ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ
เช่น
– Cloud Computing for Education
– การหลอกลวงในโลก Internet ในปัจจุบัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
– เสวนาเรื่อง เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด: แนวคิดและประสบการณ์
– เรียนรู้เพื่ออยู่รอดในยุคดิจิตัล ( Staying Relevant in Digital Era)
– การให้บริการสารสนเทศกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน : อยู่รอด รู้ทันรอบรู้

เอาเป็นว่าหัวข้อแต่ละหัวข้อดูน่าสนใจดีทีเดียว
และถ้าหากเพื่อนๆ สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องบอกอีกนิดว่า “มีค่าใช้จ่าย” นะครับ

หากสนใจดาวน์โหลดใบสมัครและหนังสือเชิญเข้าร่วมงานได้ที่

จดหมายเชิญเข้าร่วมงานและใบสมัครเข้าร่วมงาน

สรุปการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TKpark) ได้มีการจัดการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ให้ตัวแทนจากศูนย์ไอซีทีชุมชน และตัวแทนจากโรงเรียนในเครือ สพฐ. จำนวน 150 คน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมศิลปากร และอุทยานการเรียนรู้

หัวข้อในการอบรม
– แนะนำโครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย
– แนะนำสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK
– เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
– เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง
– เรียนรู้การใช้ Audio book
– เรียนรู้การใช้เกมสร้างสรรค์
– ล้วงลึกทุกมิติการเรียนรู้
– มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์


ทีมวิทยากรที่บรรยายในวันนี้เป็นทีมงานจากสำนักงานอุทยานการเรียนรู้กันทั้งทีมเลย ซึ่งมาจากหลายๆ ฝ่าย เช่น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายห้องสมุดมีชีวิต ฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายไอที และฝ่ายพัฒนาเครือข่าย

สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ที่กล่าวมาข้างต้นประกอบด้วย
– E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
– E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง ประกอบด้วยหนังสือ 3 เล่ม
– Audio Book 101 เล่ม
– เกมสร้างสรรค์ 6 เกมส์

การอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมนอกจากจะได้ฟังการบรรยายแล้ว ยังมีคอมพิวเตอร์ (2 คนต่อ 1 เครื่อง) ที่บรรจุสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ไว้ให้ได้ลองเล่นไปพร้อมๆ กับการสอนการใช้งาน ซึ่งสื่อการเรียนรู้เกือบทุกสื่อเป็นที่เรียกความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรมมากๆ โดยเฉพาะเกมสร้างสรรค์อย่างเกมกุ๊กๆ กู๋ คนสู้ผี ผู้เข้าร่วมอบรมได้เล่นกันอย่างสนุกสนานมากๆ หรือแม้แต่ E-Book ที่มีสื่อประสมที่น่าสนใจมากมาย

ซึ่งเมื่อผู้เข้าอบรมได้อบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK กลับไปใช้ที่ต้นสังกัด

การอบรมก็ผ่านไปด้วยดีครับ ยังไงผมก็ขอขอบคุณทุกส่วนที่ทำให้งานนี้สำเร็จนะครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมงาน ผู้สนับสนุนให้เกิดงาน …..

ประมวลภาพการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK

[nggallery id=56]

สรุปการบรรยาย : มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 มิถุนายน 2555) ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในงาน “การอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK” เรื่อง “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” วันนี้จึงขอแชร์เรื่องดังกล่าวให้เพื่อนๆ อ่าน

ก่อนอื่นมาดูสไลด์ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายนี้กันก่อน

สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์”

เรื่องของสื่อดิจิทัล กับ สื่อออนไลน์ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนมากๆ เพราะเมื่อข่าวสาร ข้อมูล และความรู้อยู่บนโลกออนไลน์แล้ว จริงๆ มันก็คือสื่อดิจิทัลนั่นแหละ ซึ่งสื่อออนไลน์มันก็มีหลายประเภท เช่น
– เว็บไซต์
– ฐานข้อมูล
– เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
– ไฟล์เสียง
-ไฟล์วีดีโอ

และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราก็จะพบว่า สื่อดิจิทัลมากมายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย

ตัวอย่างสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เช่น  E-Book ในอดีตเป็นเอกสารที่พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ .txt .doc วันเวลาผ่านไปจากไฟล์เอกสารธรรมดาก็ถูกแปลงสภาพเป็นไฟล์ PDF จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นไฟล์ Flash และนอกจากจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการนำสื่อวีดีโอและเสียงมาประกอบกับหนังสือด้วย ซึ่งนับเวลาการเปลี่ยนแปลงได้ไม่กี่ปีเท่านั้น

ในสไลด์ที่ผมจะแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์ในโลกของ 2.0 ที่เราสามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาเท่านั้น (ตัวอย่างแค่เล็กน้อยเท่านั้น) ได้แก่

http://www.flipsnack.com = สร้าง E-book ง่ายๆ ด้วย Flipsnack เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ PDF ที่ต้องการจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปบนเว็บไซต์นี้ คุณก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ Flip Book ที่สวยงามแบบง่ายๆ ได้เลยทีเดียว

http://issuu.com = สร้างและค้นหา E-book แบบง่ายๆ ด้วย ISSUU นอกจากจะสร้าง E-book ได้แล้วเรายังสามารถหา E-book ที่น่าสนใจอ่านได้อีก ตัวอย่างที่ผมแนะนำคือ หนังสือแบบเรียนมานะมานีที่เราเคยเรียนกันในอดีตก็อยู่บนเว็บไซต์นี้เช่นกัน

http://paper.li/ = หนังสือพิมพ์ข่าวสารในแบบฉบับของเรา Paper.li หนังสือพิมพ์ที่รวบรวมข่าวสารที่เราสนใจ และแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่าน….

http://youtubemp3.tv/ = แปลงวีดีโอบน Youtube ให้กลายเป็น MP3 คลิบวีดีโอไหนที่มีสาระน่ารู้และน่าสนใจ แล้วเราอยากเก็บไว้มาฟังคนเดียว ก็สามารถแปลงออกมาให้เป็นไฟล์ MP3 ได้

http://www.oxytube.com/ = เก็บวีดีโอบน Youtube มาไว้ในเครื่องของเราดีกว่า

http://www.uppsite.com/ = เปลี่ยนบล็อกของคุณให้กลายเป็น APP บนมือถือ

http://www.makebeliefscomix.com/Comix/ = สร้างการ์ตูนง่ายๆ ด้วย Makebeliefscomix (อันนี้ผมย้ำเยอะหน่อยเพราะว่าน่าสนใจมากๆ เหมาะแก่การนำไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หรือแม้กระทั่งจัดเป็นคอร์สอบรมแก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย)

และก่อนจะจบการบรรยายผมก็ย้ำถึงความสำคัญของโลกออนไลน์อีกครั้งว่า โลกแห่งสื่อสังคมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้เราก็จะเจอหนทางและแนวทางที่จะนำมาใช้งานได้อีก

นี่ก็เป็นเพียงบทสรุปของการบรรยายของผมครับ

Workshop : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมมาฝาก นั่นคือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “การผลิตสื่อทางวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)” ที่จัดโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
สถานที่จัดงาน : ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 30 – 31 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรมนี้น่าสนใจมากๆ โดยฌแพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หรือแม้แต่ห้องสมุดในโรงเรียนเองก็น่าสนใจนะครับ เพราะการอบรมครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ เราสามารถนำมาสอนอาจารย์หรือครูที่สนใจอยากผลิต E-book ที่ห้องสมุดของเราได้อีก

หัวข้อที่น่าสนใจ
– มาตรฐานสื่อดิจิทัล
– การใช้งาน e-Book
– แนะนำการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแบบ Open source
– การติดตั้งโปรแกรมในการสร้าง e-Book
– การใช้งานโปรแกรมสําหรับสร้าง e-Book


เมื่อจบจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตร ซึ่งเพื่อนๆ สามารถนำไปใช้เป็นใบเบิกทาง และแสดงถึงความสามารถในการใช้งานโปรแกรมการสร้าง E-book ได้


ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้

สมัครภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,600 บาท
หลังจาก วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,800 บาท

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและสมัครที่ http://www.library.kku.ac.th/conference2012/

ขอฝากประโยคนี้ไว้ทิ้งท้ายข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้แล้วกัน
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อสองถึงสามปีที่แล้วสิ่งที่ทำให้บรรณารักษ์หวั่นๆ คงหนีไม่พ้น “Google” บัดนี้ความหวั่นๆ ของบรรณารักษ์เปลี่ยนไปเมื่อโลกกำลังพูดถึง E-book การจะขจัดความหวาดหวั่นนี้ได้คงต้องเริ่มจากการที่ห้องสมุดสร้าง Content และสร้าง E-Book ขึ้นมาเองให้ได้ และลองนำมาประยุกต์กับงานให้บริการดู สิ่งที่คงจะเป็นเพียงการจุดประกายเรื่องทิศทางของห้องสมุดในอนาคต

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21

เรื่องที่จะเขียนให้อ่านในวันนี้ ตั้งใจว่าจะเขียนหลายทีแล้ว แต่ด้วยภาระงานที่มากมายจึงติดไว้นานมากๆ วันนี้พอดีอยู่ว่างๆ (จริงๆ ก็ไม่ได้ว่างมากหรอก) เลยขอเขียนเรื่องราวนี้ให้จบแล้วกัน

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21” เป็นเรื่องที่ผมอ่านมาจากบล็อกในต่างประเทศ ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าเรื่องนี้ถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี 2006 แล้ว แต่พออ่านแล้วเห็นทักษะต่างๆ แล้วก็จะรู้ว่ายังคงใช้ได้เลยทีเดียว

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. ประเด็นความสามารถหรือทักษะในระดับต้น (สายปฏิบัติ) แบ่งออกเป็น 5 ข้อย่อย คือ
– ความสามารถที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลง
– นำสื่อออนไลน์เข้ามาใช้เพื่อความสะดวกสบาย
– ความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีแบบเบื้องต้น
– ความสามารถในการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
– ความสามารถในการรวบรวมไอเดียด้านเทคโนโลยีกับเครือข่ายห้องสมุด

สำหรับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในระดับต้นส่วนใหญ่จะเน้นความสามารถในด้านการปฏิบัติเป็นหลัก ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเองก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังนั้นทักษะในเรื่องของการยอมรับความเปลี่ยนแปลงจึงสำคัญมาก อีกประเด็นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการทำงานตัวบรรณารักษ์เองก็จำเป็นต้องยึดหลักตามที่ผมเคยนำเสนอเรื่อง “รู้จัก – เข้าใจ – นำไปใช้” นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดึงไอเดียหรือการหาไอเดียเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ซึ่งที่มาของไอเดียก็มาจากหลากหลายทาง ในที่นี่ขอเน้นเกี่ยวกับการทำงานกันเป็นเครือข่าย ความช่วยเหลือระหว่างวงการวิชาชีพก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

2. ประเด็นความสามารถหรือทักษะในระดับสูง (สายการบริหาร) แบ่งออกเป็น 6 ข้อย่อย คือ
– ทักษะเรื่องการบริหารจัดการโครงการ
– ความสามารถในการตอบคำถามและการประเมินงานบริการห้องสมุด
– ความสามารถในการวิเคราะห์หาความต้องการของผู้ใช้บริการ
– วิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ห้องสมุดแบบเดิมๆ ไปสู่การเป็นห้องสมุดที่ใช้สื่อออนไลน์
– ความสามารถในการหาจุดเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและเปรียบเทียบเทคโนโลยีด้านต่างๆ
– ความสามารถในการขายไอเดียห้องสมุด (นำเสนอห้องสมุด)

จะสังเกตได้ว่าทักษะและความสามารถของบรรณารักษ์ที่อยู่ในระดับสูง หรือสายงานบริหารจะต้องมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเช่นกัน แต่คงไม่ต้องลงมาปฏิบัติเหมือนขั้นต้นแล้ว จุดสำคัญอยู่ที่การประเมินการใช้งานด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด การเปรียบเทียบระบบแบบต่างๆ รวมถึงงานวิเคราะห์หาความต้องการของผู้ใช้ พูดง่ายๆ ว่าจะมีทั้งงานบริหารและงานวิชาการเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังต้องมีความสามารถในเรื่องการนำเสนอหรือขายไอเดียห้องสมุดให้สาธารณชนได้รู้จักและเห็นคุณค่าของห้องสมุดด้วย

เป็นไงบ้างครับ นี่ก็เป็นประเด็นทักษะและความสามารถที่น่าสนใจสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่

บทสรุปที่ผมชอบของบทความนี้มีอีกอย่าง คือ

“Technologies will come and go. Change is inevitable. But if librarians can adapt to and embrace change, can easily learn technologies, can keep up with changes in the profession, can plan for new services and evaluate old services, can develop services that meet the needs of all stakeholders, can evaluate technologies, and can sell their ideas and market services they will be better able to meet the challenges of changing user populations and changing technologies.”

ต้นฉบับของเรื่องนี้ “Skills for the 21st Century Librarian” โดย Meredith Farkas

ปล. ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากกว่าการอ่านบล็อกของผมก็ตามไปอ่านบทความนี้เต็มๆ ได้ที่ต้นฉบับด้านบนที่ผมเกริ่นนะครับ

7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม

วันนี้ผมก็มีเวลานั่งไล่อ่านบล็อกของเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในต่างประเทศ แล้วพอดีไปสะดุดกับการบล็อกของ David Lee King เรื่อง “Seven Essential Elements to an Awesome Library Website” เลย ตามไปดูสไลด์และเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจดี ก็เลยอยากแชร์เรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยขอแปลเป็นชื่อเรื่องได้ว่า “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม

ไปชมสไลด์ที่มาของข้อมูลนี้กันก่อนนะครับ

มาดู “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม” ตามที่ผมถอดความและอธิบายเพิ่มเติมกัน

1. Customers want something to read, watch, & listen to when they visit the library
(ผู้ใช้บริการต้องการบางสิ่งบางอย่างเพื่ออ่าน ดู ฟัง เหมือนตอนมาที่ห้องสมุด)

การที่เว็บไซต์ห้องสมุดมีสื่อบางประเภทให้บริการบนเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ห้องสมุดมีสีสันมาก ไม่ว่าจะเป็นการดูหรือชมวีดีโอผ่านทางออนไลน์ ดาวน์โหลดไฟล์เพลง เสียงไว้ฟัง หรือจะเป็นการดาวน์โหลด E-Book ไว้อ่าน (กรณ๊ใน Slide ยกกรณีศึกษา Ebook ว่าเป็นเคสที่ประสบความสำเร็จมากๆ)

2. Customers have questions & ask at the library (ผู้ใช้บริการมีคำถามและต้องการถามที่เว็บไซต์ห้องสมุด)
เว็บไซต์ห้องสมุดควรมีบริการตอบคำถามออนไลน์เนื่องจาก เว็บไซต์ถือเป็นช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อมาที่ห้องสมุดได้ง่าย

3. Customers need to know the normal stuff too (ผู้ใช้บริการต้องการข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดด้วย)
ข้อมูลปกติของห้องสมุดสำคัญมากเพราะบางทีผู้ใช้บริการก็ต้องการรู้เช่นกัน เช่น เบอร์โทรศัพท์ของห้องสมุด เวลาเปิดปิดของห้องสมุด นโยบายต่างๆ เช่น นโยบายการยืมคืน การสมัครสมาชิก ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องมีบนเว็บไซต์ห้องสมุด

4. Websites need actual staff! (เว็บไซต์ต้องการผู้ให้บริการเช่นกัน)
บางห้องสมุดอาจจะมองว่าการทำเว็บไซต์เป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่เรื่องของการดูแลเขาก็ปล่อยปะละเลย ไม่อัพเดทเว็บไซต์เลย ดังนั้นเว็บไซต์ของห้องสมุดจำเป็นที่จะต้องมีคนดูแลและให้บริการเช่นกัน จงคิดซะว่าเว็บไซต์ของห้องสมุดก็เสมือนสาขาย่อยของห้องสมุดจริงๆ ด้วย

5. Have Goals! (มีเป้าหมาย)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดต้องมีเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่สักแต่ว่ามีเว็บไซต์และก็ปล่อยเว็บไซต์ให้เป็นไปตามยถากรรม การกำหนดตัวชี้วัดจะทำให้เกิดการพัฒนาและการตื่นตัวในการบริการต่างๆ เครื่องมือที่แนะนำ คือ การจัดเก็บสถิติคนเข้าออกของเว็บไซต์ห้องสมุด

6. Reach beyond your webbish boundaries (เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดของคุณให้มากขึ้น)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดแล้วไม่ประชาสัมพันธ์หรือไม่ทำให้คนนอกรู้จัก มันช่างน่าเสียดายนัก ปัจจุบันโลกของ Social Media เข้ามามีผลต่อการเข้าถึงเว็บไซต์มากมาย ดังนั้นคุณก็สามารถใช้ช่องทางเหล่านั้นได้ด้วย เช่น Facebook Twitter และที่กำลังมาแรงก็คือ Pinterst ด้วย

7. Mobile-Friendly (เป็นมิตรกับอุปกรณ์สื่อสาร)
อันนี้แปลไทยแล้วอาจจะงงเล็กน้อย ขออธิบายแล้วกันนะครับ องค์ประกอบที่ 7 พูดถึงเรื่องการแสดงผลเว็บไซต์ห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ก็ตาม เพราะปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากๆ และเร็วๆ นี้อาจจะมีจำนวนที่แซงคอมพิวเตอร์แบบพกพาก็ได้

นับว่าเป็นสไลด์ที่คอนข้างมีประโยชน์เลยทีเดียวใช่มั้ยครับ
เอาเป็นว่าก็ลองทำความรู้จักและเอาไปใช้กันดูนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอปิดบล็อกไว้แต่เพียงเท่านี้ อิอิ

ที่มาของความรู้นี้จาก http://www.slideshare.net/davidleeking/seven-essential-elements-to-an-awesome-library-website
ติดตามอ่านบล็อกของ David Lee King ได้ที่ www.davidleeking.com

Workshop “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ”

กิจกรรมที่แนะนำวันนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่ติดตามทั้งวงการห้องสมุดและวงการไอที กิจกรรมนี้เป็นงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า workshop นั่นเอง ซึ่งหัวข้อหลักของงาน คือ “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ

รายละเอียดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : อาคาร 10 ห้อง 10303 มหาวิทยาลัยหอการค้า
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2555
จัดโดย : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ STKS

การจัดงานครั้งนี้ผมชื่นชอบมากๆ เพราะเป็นการนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ ให้วงการบรรณารักษ์ของเราได้ตามเทคโนโลยีให้ทันกระแส ถ้ามีโอกาสก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าร่วมมากๆ เช่นกัน

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Cloud Computing : สาระและสำคัญ
– องค์กรกับการก้าวสู่ยุค Cloud Computing
– การประยุกต์ใช้ Cloud Computing ในองค์กร
– โอกาสและความเป็นไปได้ในการใช้ Cloud Computing ในวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทย
– ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ Cloud Computing
– การใช้ Cloud Computing ในการเรียนการสอน
– Workshop แนะนำวิธีการใช้ Cloud Computing

วิทยากรแต่ละท่านมาจากองค์กรที่สุดยอดทั้งนั้นเลย เช่น STKS, Microsoft, CRM Charity

เห็นหัวข้อแล้วผมเองก็อยากเข้าร่วมเหมือนกันนะครับ แต่เสียดายที่ติดธุระ
หัวข้อที่เน้นเรื่อง Technology Cloud ซึ่งเข้ากับโลกยุคปัจจุบันมากๆ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการมีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ
ใครลงทะเบียนก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท
ใครลงทะเบียนหลังวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม เข้าไปดูต่อที่ http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/
หรือต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/index.php/registration.html

ในวันดังกล่าวผมติดงานบรรยายดังนั้นใครไปงานนี้เอาความรู้มาฝากผมด้วยนะ
ขอบคุณมากๆ ครับ

ผู้ใช้บริการต้องการอะไรจาก App. ของห้องสมุด (Library Mobile App.)

วันนี้ผลขอนำเสนอข้อมูลจาก Library Journal เกี่ยวกับผลการศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้ใช้บริการที่เกี่ยวกับโปรแกรมของห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สายไม่ว่าจะเป็น Smartphone หรือ Tablet

บทความนี้จริงๆ แล้ว เป็นบทความที่พูดถึงเรื่องสถานะและทิศทางของอปุกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ กับห้องสมุด
ซึ่งจริงๆ เป็นบทความที่ยาวมาก แต่ผมขอคัดออกมาเป็นบางตอนเท่านั้น (อ่านเรื่องเต็มจากที่มาด้านล่างบทความนี้ครับ)

ผลสำรวจสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจาก โปรแกรมห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (Library Mobile App.)

ผลสำรวจจากภาพเราสรุปได้ง่ายๆ เลยว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจาก Mobile App. คือ

– ฟังค์ชั่นการค้นหาหนังสือออนไลน์ (Library Catalog)
– ฟังค์ชั่นการขยายเวลาการยืม หรือ การต่ออายุเวลาการยืมหนังสือ
– ฟังค์ชั่นการจองหนังสือหรือสื่อที่ต้องการ
– ฟังค์ชั่นแนะนำหนังสือใหม่หรือสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ
– ข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือค้นหาห้องสมุดที่อยู่ใกล้ๆ
– ฟังค์ชั่นการวิจารณ์หนังสือ (Review book)
– ฟังค์ชั่นการจัดการข้อมูลส่วนตัว (ประวัติการยืมคืน)
– ฟังค์ชั่นการยืมหนังสือด้วยตัวเอง (ยิงบาร์โค้ตเองได้)
– ฟังค์ชั่นการค้นหาคนอื่นๆ ที่ชอบอ่านหนังสือแนวๆ เดียวกัน
– ฟังค์ชั่นการค้นหาบทความและการเข้าถึงฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับ
– ฟังค์ชั่นการดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
– ฟังค์ชั่นการดาวน์โหลดหนังสือเสียง (Audio-Book)

เป็นยังไงกันบ้างครับตรงกับสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องการด้วยหรือปล่าว

จากบทความนี้เราคงเห็นแล้วว่าความคาดหวังของผู้ใช้เริ่มมีมากขึ้น ดังนั้นการทำงานของบรรณารักษ์ในยุคปัจจุบันอาจจะต้องมีการปรับตัวอย่างเร็ว พอๆ กับความต้องการของผู้ใช้ที่มีความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

เอาเป็นว่าก็เอาใจช่วยนะครับ พี่น้องชาวบรรณารักษ์

ที่มาของบทความนี้ http://www.thedigitalshift.com/2012/02/mobile/the-state-of-mobile-in-libraries-2012/

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อก  socialnetworkinglibrarian แล้วเจอบล็อกเรื่องนึงที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องคำทำนายเกี่ยวกับ Social Media ที่จะเกิดในวงการห้องสมุดปี 2012

เรื่องของ Social Media ไม่ใช่เรื่องแฟชั่นอีกต่อไปแล้วนะครับ
เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะวงการไหนๆ ก็ให้ความสำคัญกับมัน และใช้กันอย่างแพร่หลาย
ไม่พ้นวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์เช่นกัน เราจะต้องทำความรู้จักกับมันและใช้มันให้เป็น

ต้นฉบับเรื่องนี้ คือ Top 10 Social Media and Libraries Predictions for 2012

ผมขอแปลแบบสรุปๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกันนะครับ

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012
1. จำนวนของเว็บไซต์ห้องสมุดที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์สื่อสารไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ tablet ฯลฯ
2. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Youtube เพื่อใช้วีดีโอทำการตลาดให้ห้องสมุดและเพื่อการศึกษา
3. ห้องสมุดจะสื่อ Social media มากกว่าการเป็นแค่สื่อประชาสัมพันธ์
4. Google+ จะได้รับความนิยมมากขึ้นและห้องสมุดหลายๆ แห่งจะเข้าไปสร้าง page บน Google+ ด้วย นอกเหนือจากการสร้าง page บน facebook
5. ห้องสมุดจำนวนมากจะค้นหาวิธีเพื่อสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app)
6. ผู้ให้บริการด้านฐานข้อมูลจะสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app) และห้องสมุดก็นำ app เหล่านี้ไปให้ผู้ใช้บริการใช้ต่อไป
7. เว็บไซต์วิจารณ์หนังสือ (Review book) เช่น Goodreads และ librarything จะถูกใช้จากวงการห้องสมุดมากขึ้น
8. ห้องสมุดจะนำโปรแกรมจำพวก Opensource มาใช้มากขึ้น
9. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้เกมส์ออนไลน์เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและการศึกษา
10. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Google app มากกว่าแค่การใช้บริการอีเมล์

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับแนวโน้มในปีนี้

จากข้อมูลข้างต้นเพื่อนๆ จะสังเกตว่าเรื่องของ Facebook เริ่มไม่ค่อยมีการพูดถึงแล้ว เนื่องจากมันเข้ามาอยู่กับวงการห้องสมุดในต่างประเทศนานพอสมควรแล้ว ปีนี้เรื่อง google+ กำลังมาจึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษหน่อย และเรื่อง ebook เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าไม่นิยม แต่มันได้รับความนิยมจนคงที่แล้ว ตอนนี้เรื่อง Review book กำลังน่าสนใจเช่นกัน

เอาเป็นว่าปี 2012 จะเป็นอย่างไร เพื่อนๆ ต้องจับตาดูกันต่อไปนะ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ อยากอ่านเรื่องเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://socialnetworkinglibrarian.com/2011/12/29/top-10-social-media-and-libraries-predictions-for-2012/

12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012

วันนี้ในขณะที่กำลังอ่านเรื่องแนวโน้มของการศึกษาในอนาคตอยู่ก็พบหัวข้อนึงที่น่าอ่านมากๆ ซึ่งเป็นเรื่อง “12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012” จึงอยากนำมาให้เพื่อนๆ อ่าน (เพื่อนๆ ในวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดก็ลองอ่านได้นะ เผื่อเอามาประยุกต์กับวงการห้องสมุดของเราบ้าง)

ต้นฉบับของเรื่องนี้จริงๆ ชื่อว่า “12 Education Tech Trends to Watch in 2012” จากเว็บไซต์ http://mindshift.kqed.org

เรามาดู 12 หัวข้อการศึกษาที่น่าจับตามองในปี 2012 กันก่อนนะครับ
1. MOBILE PHONES – โทรศัพท์มือถือ
2. BYOD (BRING YOUR OWN DEVICE) – อุปกรณ์ที่พกพาไปไหนมาไหนได้ เช่น notebook, netbook, ipod, tablet
3. BANDWIDTH ISSUES – การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
4. NATURAL USER INTERFACES – การตอบสนองกับผู้ใช้แบบธรรมชาติ เช่น ระบบสั่งการด้วยเสียง
5. WEB APPS – การใช้โปรแกรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์
6. DATA – ข้อมูล
7. ADAPTIVE LEARNING – การเรียนการสอนที่เน้นการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
8. PRIVACY/SECURITY – ความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัย
9. OPEN LICENSING – สัญญาการอนุญาตแบบเปิด
10. PEER TO PEER – การเชื่อมต่อแบบ peer to peer
11. THE MAKER MOVEMENT – การเคลื่อนไหว
12. GAMING – เกมส์

รายละเอียดของแต่ละหัวข้อ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็เข้าไปอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ต่อได้ที่ http://mindshift.kqed.org/2012/01/12-education-tech-trends-to-watch-in-2012/

เหตุผลที่ผมแนะนำเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ คือ อยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นแนวโน้มของวงการศึกษา (ห้องสมุดและบรรณารักษ์เราก็อยู่ในวงการศึกษาเช่นกัน) เมื่อวงการศึกษาให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อนๆ บรรณารักษ์ก็ควรให้ความสนใจบ้าง บางประเด็นมันเริ่มเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตของเรามากขึ้น ทั้งเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอย่างเรา ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วก็จะได้เตรียมตัวและพยายามทำความเข้าใจมันได้

เอาเป็นว่าวันหยุดแบบนี้เอาเรื่องวิชาการมาอ่านบ้างนะครับ อิอิ

12 Education Tech Trends to Watch in 2012