คลิปวีดีโอ : ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด (2021)

คลิปวีดีโอ : ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด (2021)

วันนี้มาอัพเดทบล็อก Libraryhub บ้าง เดี๋ยวจะหาว่าหายไปนาน …

ก่อนเริ่มงานวันนี้ ผมเข้าไปหาคลิปวีดีโอดูใน Youtube ก็เจอคลิปนี้ “Why do we visit the library? (2021)” หรือแปลตรงตัว คือ “ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด” ซึ่งจัดทำโดย หอสมุดแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) https://www.youtube.com/watch?v=pvwVRY6RaPQ

เราไปดูคลิปวีดีโอกันก่อนเลย

เป็นยังไงกันบ้างครับ

ในคลิปวีดีโอได้มีการถามย้ำว่า “ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด”
ซึ่งเชื่อว่ามีคำตอบมากมายและแตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกัน คือ

“New Worlds” “A Better Tomorrow” “Endless Possibilities”
“โลกใบใหม่” “สิ่งที่ดีกว่าในวันพรุ่งนี้” และ “ความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด”

นอกจากนี้เราได้เห็น Keyword ที่น่าสนใจอีกมากมาย
โดยห้องสมุดยุคใหม่ที่หลายคนนึกถึง คือ “Connection, Communication, Experience, Discovery, Creation, Growth”

และอีกสิ่งหนึ่งที่หอสมุดแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) นำเสนอนิยามของห้องสมุดคือ
“A Knowledge platform that connects the world” เราได้เห็นการทำงานที่เชื่อมโยงโลกของหนังสือ ภูมิปัญญา ความคิด จากอดีต ถึงปัจจุบัน และก้าวสู่อนาคต

เอาเป็นว่าก็ขอชื่นชมคลิปวีดีโอนี้และอยากส่งต่อให้เพื่อนๆ ได้ชมครับ

ไปชม 8 ห้องสมุดระดับโลกแบบ Virtual กันได้เลย

ไปชม 8 ห้องสมุดระดับโลกแบบ Virtual กันได้เลย

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายคนต้องนั่งทำงานที่บ้านไม่ได้ออกไปไหน วันนี้แอดมินขอเชิญเพื่อนๆ พักสายตาไปดู 8 ห้องสมุดระดับโลกแบบ Virtual กันหน่อย

ที่มาของเรื่องนี้มาจากการอ่าน Library Journal เรื่อง “Virtually Visit 8 World-Class Libraries” ครับ ไปลองติดตามกันดูว่ามีที่ไหนบ้าง

Read more
ห้องสมุดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด 2019 (เที่ยวรอบโลก)

ห้องสมุดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด 2019 (เที่ยวรอบโลก)

หากกล่าวถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องไม่พลาดของประเทศส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ หรือไม่ก็แนวผจญภัย หรือไม่ก็ต้องดูตามคู่มือ/หนังสือนำเที่ยว ซึ่งก็คงแนะนำเพียง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือสถานที่ที่คนอื่นๆ ก็ไปกัน …

แน่นอนครับสำหรับบล็อกที่แนะนำเรื่องห้องสมุดอย่างผม ถ้าจะให้แนะนำว่าไปเที่ยวประเทศอื่นๆ อยากให้ไปดูอะไรก็คงหนีไม่พ้นเรื่องห้องสมุดอยู่แล้วหล่ะครับ วันนี้ผมจึงขอแนะนำห้องสมุดที่เหล่านักท่องเที่ยวต้องห้ามพลาดเลยเวลาไปประเทศต่างๆ เหล่านี้

Read more
5 Libraries in Singapore to visit in 2016

5 ห้องสมุดในสิงคโปร์ที่ต้องไปเยี่ยมชมปี 2016

นานแล้วที่ไม่ได้เขียนบล็อก Libraryhub วันนี้ D-Day ขอเขียนสักเรื่องเพื่อให้หายคิดถึง
วันนี้ได้เข้าไปอ่านเว็บไซต์ของกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ (Ministry of Communications and Information-MCI)
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลห้องสมุดทั่วประเทศของสิงคโปร์

singapore libraries Read more

เมื่อนายห้องสมุดมาเยี่ยมชมห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ภาษีเจริญ

เมื่อนายห้องสมุดมาเยี่ยมชมห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ภาษีเจริญ

วันนี้ขอพาเพื่อนๆ ไปชมห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ภาษีเจริญนะครับ โดยห้องสมุดแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงและเพิ่งเปิดโฉมใหม่ไปเมื่อต้นปี 2557

ข้อมูลเบื้องต้นของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ภาษีเจริญ
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ภาษีเจริญ เป็นอาคาร 3 ชั้น มีพื้นที่รวม 654 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่ปากซอยเพชรเกษม 50/4 (ตรงข้ามซอยวัดรางบัว) ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535 และได้มีการปรับรูปแบบใหม่และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2557

Read more

10 ห้องสมุดในกรุงเทพ ที่น่าเข้าใช้สุดๆ

10 ห้องสมุดในกรุงเทพ ที่น่าเข้าใช้สุดๆ

วันนี้มีเพื่อนผมคนนึงส่งบทความนี้มาให้ (บทความในนิตยสารแจกฟรี BK)
บทความนี้พูดถึงเรื่องห้องสมุดในกรุงเทพได้น่าสนใจมาก
ในฐานะนายห้องสมุด ก็ต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย

Read more

อยากนอนในห้องสมุดนักใช่มั้ย ไปนอนในโรงแรมห้องสมุดกันเถอะ

หลายๆ ครั้งที่ผมพูดเรื่องห้องสมุดกับเพื่อนๆ
เพื่อนๆ หลายคนก็มักจะบอกว่า “เป็นสถานที่ที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนขึ้นมาโดยทันที
วันนี้ผมจึงขอแนะนำสถานที่ที่มีไว้สำหรับนอนและพักผ่อน นั่นก็คือ “โรงแรม” นั่นเอง

hotel Library

แต่ “โรงแรม” ที่ผมจะนำมาโพสให้เพื่อนๆ ชมในวันนี้
เป็น “โรงแรม” + “ห้องสมุด” หรือ นำกลิ่นไอความเป็นห้องสมุดมาใส่ในโรงแรม นั่นแหละ
ข้อมูลนี้ผมอ่านมาจากบล็อก http://www.huffingtonpost.com/
ซึ่งเขียนเรื่อง “9 Hotel Libraries (And Library Hotels) That Bring Books To Life

ความน่าสนใจของโรงแรมที่นำความเป็นห้องสมุดมาใส่แบบนี้
ผมว่ามันได้บรรยากาศที่เหมือนเรามีห้องหนังสือ หรือ ห้องสมุดส่วนตัวในบ้านได้เลยครับ
ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในโรงแรม 9 แห่งนี้มี The Library ของประเทศไทยติดอยู่ในนั้นด้วย

เราไปชมกันเลยดีกว่าว่า “โรงแรมห้องสมุด” ทั้ง 9 แห่ง มีดังนี้

1.Casa Palopo, ประเทศกัวเตมาลา – http://www.casapalopo.com/

Casa Palopo

2.The Library, เกาะสมุย ประเทศไทย – http://www.thelibrary.co.th

The Library resort at Hat Chaweng.

3.Gladstone’s Library, ประเทศอังกฤษ – http://www.gladstoneslibrary.org/

Gladstone's Library

4.Sandton Kura Hulanda Lodge & Beach Club, คูราเซา – http://www.kurahulanda.com/index.php

Sandton Kura Hulanda

5.The Royal Livingstone Hotel, ประเทศแซมเบีย – http://www.suninternational.com/fallsresort/royal-livingstone/Pages/default.aspx

The Royal Livingstone Hotel

6.The Resort at Longboat Key Club, รัฐฟลอริดา – http://www.longboatkeyclub.com/

Longboat Key Club

7.Taj Falaknuma Palace, ประเทศอินเดีย – http://www.tajhotels.com/Luxury/Grand-Palaces-And-Iconic-Hotels/Taj-Falaknuma-Palace-Hyderabad/Overview.html

DSC_0504

8.JW Marriott Cusco, ประเทศเปรู – http://www.marriott.com/hotels/travel/cuzmc-jw-marriott-hotel-cusco/

JW Marriott Cusco

9.The Library Hotel, รัฐนิวยอร์ก – http://www.libraryhotel.com/

The Library Hotel

เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่วงการธุรกิจสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับห้องสมุด
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง [ส่วนตัวผมเองพออ่านจบแล้วทำให้อยากไปลองพักสักที่เลย]

ที่มาของเรื่องนี้จาก http://www.huffingtonpost.com/2013/10/18/hotel-libraries_n_3953755.html

8 ห้องสมุดที่สุดเหลือเชื่อในเอเซีย

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่าน บล็อก mentalfloss แล้วเจอบทความนึงที่น่าสนใจมาก ซึ่งผมเองก็หาเรื่องแบบนี้มานานแล้ว ปกติพอพูดถึงห้องสมุดสุดอลังการ หลายคนจะนึกถึงห้องสมุดแถบยุโรปหรือไม่ก็แถบอเมริกาไปเลย ซึ่งจริงๆ แล้วในเอเซียเองก็มีห้องสมุดที่น่าสนใจมากมายนะครับ เอาเป็นว่าลองไปดูกันดีกว่าครับ

8 incredible libraries asia

8 ห้องสมุดที่สุดเหลือเชื่อในเอเซีย มีที่ไหนบ้างน้า…
1) David Sassoon Library, India
2) Raza Library, India
3) The National Library of China
4) The Tianyi Pavilion Library, China
5) National Library of Bhutan
6) Grand People’s Study House, North Korea
7) Nakanoshima Library, Japan
8) Beitou Library, Taiwan

ห้องสมุดทั้งแปดแห่งนี้มาจาก 6 ประเทศด้วยกัน คือ อินเดีย, จีน, ภูฎาน, เกาหลีเหนือ, ญี่ปุ่น และไต้หวัน
ห้องสมุดที่อยู่ใน list ที่ผมอยากไปมีอยู่ 3 แห่งครับ คือ
– National Library of Bhutan (ความอลังการที่น่าดึงดูดใจ)
– Grand People’s Study House, North Korea (เข้าประเทศนี้ได้ยากมาก แต่ก็อยากเห็น)
– Beitou Library, Taiwan (ห้องสมุดสีเขียวที่ผมอยากเห็นมานานแล้ว)

เอาหล่ะครับไปชมภาพของห้องสมุดทั้ง 8 แห่งดีกว่าครับ

1) David Sassoon Library, India
lib1

Images courtesy of Flickr users bookchen

2) Raza Library, India
lib2
3) The National Library of China
lib3

Image courtesy of  Flickr user Dennis Deng.

4) The Tianyi Pavilion Library, China
lib4

Images courtesy of What’s On Ningbo.

5) National Library of Bhutan
lib5

Image courtesy of Wikipedia user Christopher J. Flynn

6) Grand People’s Study House, North Korea
lib6

Images courtesy of Flickr users John Pavelka

7) Nakanoshima Library, Japan
lib7

Image courtesy Flickr users hetgallery

8) Beitou Library, Taiwan
lib8

Images courtesy of Flickr user JAQ’s PhotoStorage

เอาเป็นว่าน่าสนใจทั้งแปดแห่งเลยมั้ยครับ ถ้ามีโอกาสในชีวิตนี้ผมจะต้องไปเยี่ยมเยียนห้องสมุดเหล่านี้ให้ได้
และเมื่อวันนั้นมาถึง ผมสัญญาว่าจะนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เห็นและรู้จักห้องสมุดเหล่านี้มากขึ้นแน่

ที่มาของข้อมูลและภาพจาก http://mentalfloss.com/article/30982/8-incredible-libraries-asia
สรุป แปลและเรียบเรียงโดย Ylibraryhub

นายห้องสมุดพาเที่ยวหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ม.ศิลปากร

ไม่ค่อยได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดนานแล้ว วันนี้จัดให้สักทริปแล้วกันครับ สำหรับวันนี้เราจะเข้าไปชมห้องสมุดในมหาวิทยาลัยกันบ้าง ที่นั่นคือ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาศิลปากร” ตามมาดูกันเลยดีกว่าครับ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหอสมุดแห่งนี้
ชื่อห้องสมุด : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาศิลปากร
ที่อยู่ : เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทรศัพท์ : 034-255092 / โทรสาร : 034-255092
เว็บไซต์ของห้องสมุด : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/
บล็อกของห้องสมุด : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog
Facebook ห้องสมุด : http://www.facebook.com/suslib.sanamchandra

หมายเหตุ ภาพห้องสมุดผมถ่ายเอาไว้นานแล้ว ปัจจุบันไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนไปบ้างหรือปล่าว

วันที่ไปเยี่ยมชมห้องสมุดแห่งนี้ ผมได้เดินทางไปพร้อมกับคณะเยี่ยมชมจากชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ชบอ.) ซึ่งวันเดินทางไปตรงกับวันเสาร์ แต่ด้วยการนัดหมายที่ดีจึงได้เจอรุ่นพี่ มอ. บรรณารักษ์ (พี่ปอง) มาให้คำอธิบายและนำชมห้องสมุด แบบว่าแอบดีใจที่ได้เจอรุ่นพี่คนนี้มากๆ ด้วย

กระบวนการแรกก่อนเดินชมห้องสมุด พี่ปองได้พูดถึงภาพรวมของห้องสมุด รวมถึงกิจกรรมที่หอสมุดแห่งนี้ได้จัด ผมเองก็ได้เปิดมุมมองในเรื่องกิจกรรมแบบสร้างสรรค์ของที่นี่ด้วย

ตัวอย่างกิจกรรมสร้างสรรค์จากหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
– กิจกรรมยืมไม่อั้น (ช่วงปิดเทอม)
– การเดินแบบแฟชั่นหนังสือ
– การตกแต่งรถสามล้อด้วยหนังสือ
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในงานองค์พระ (งานประจำปีของจังหวัดนครปฐม)

ภายในอาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จริงๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 อาคารนะครับ
โดยอาคารแรกที่พวกเราเยี่ยมชมจะเป็นอาคาร 4 ชั้น โดยแบ่งการให้บริการดังนี้

อาคารชั้น 1 ประกอบด้วย
– รับฝากของ
– งานบริการยืม คืน (เครื่องยืมคืนด้วยตนเอง)
– งานธุรการ
– หนังสืออ้างอิง
– โถงนิทรรศการ (ช่วงที่ไปมีการแสดงงานศิลปะด้วย)
– ร้านกาแฟ

อาคารชั้น 2 ประกอบด้วย
– หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี
– วิทยานิพนธ์
– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
– บริการฐานข้อมูล
– ถ่ายเอกสาร
– ห้องน้ำ
– ทางเชื่อมไปอาคาร มล.ปิ่น มาลากุล

อาคารชั้น 3 ประกอบด้วย
– หนังสือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา
– หนังสือเยาวชน
– ปริญญานิพนธ์
– ห้องน้ำ

อาคารชั้น 4
– หนังสือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา
– หนังสือภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส
– นวนิยาย
– ศูนย์ข้อมูลวิจัยฝรั่งเศส-ไทยศึกษา
– ฝ่ายวิเคราะห์และทรัพยากรห้องสมุด

ส่วนอีกอาคารนึงก็คือ อาคาร มล.ปิ่นมาลากุล นั่นเอง (อันนี้ไม่ได้เยี่ยมชมทั้งตึก) ได้ชมแค่ชั้น 1 เอง เพราะเวลามีจำกัด แต่ก็ต้องบอกว่าแค่ชั้น 1 ก็สุดยอดแล้ว

ส่วนอื่นๆ ที่เดินดูแล้วชอบก็คงไม่พ้นป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในห้องสมุด เพราะอ่านแล้วโดนใจมาก เช่น แก้กรรมด้วยการออกสื่อ …..

เอาเป็นว่าถ้ามีโอกาสจะไปอีกครั้งเพื่อเก็บข้อมูลมาให้เพื่อนๆ อ่านอีก หวังว่าจะได้พบกันอีกเร็วๆ นี้นะครับพี่ปอง อิอิ
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาด้วยนะครับที่เปิดโอกาสให้ผมไปเปิดหูเปิดตาบ้าง อิอิ

ภาพบรรยากาศหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ในกล้องผม

[nggallery id=61]

Libraryhub พาชมห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีอำเภอเมืองยะลา

ช่วงนี้ได้มีโอกาสเดินทางลงพื้นที่บ่อยมาก และการลงพื้นที่ของผมก็ยังคงเกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดอยู่ เมื่ออาทิตย์ก่อนได้มีโอกาสไปที่จังหวัดยะลา จึงอยากนำเสนอห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองยะลา ให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนแห่งนี้
ชื่อห้องสมุด : ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองยะลา
ที่อยู่ : สำนักงาน กศฯ. จังหวัดยะลา 1 ถนนอาคารสงเคราะห์ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
เว็บไซต์ของห้องสมุด : http://yala.nfe.go.th/lbckyala

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองยะลาเพิ่งเปิดให้ใช้บริการเมื่อต้นปี 2555

ลักษณะอาคาร : เป็นอาคารเอกเทศ มี 2 ชั้น
ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย
– มุมหนังสือทั่วไป 000-999 , นวนิยาย
– มุมเด็กและครอบครัว
– มุมบริการอินเทอร์เน็ต
– มุมวารสาร / สิ่งพิมพ์
– ห้องนักเขียนเมืองยะลา

ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย
– ห้องใต้ร่มพระบารมี
– ห้องเอกลักษณ์ (ข้อมูลท้องถิ่น)
– ห้องอาเซียนศึกษา


ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเด่นในหลายเรื่องซึ่งผมจะสรุปให้อ่านดังนี้

1. หน้าจอสืบค้นหนังสือแบบ touch screen
อันนี้ผมชอบเป็นการส่วนตัว โปรแกรมที่ใช้จริงๆ ก็เป็น PLS แต่อุปกรณ์ Hardware ของที่นี่เป็นเครื่องแบบระบบสัมผัสซึ่งใช้ง่ายพอควร

2. ห้องเอกลักษณ์ (ข้อมูลท้องถิ่น)
ข้อมูลละเอียดดีและเป็นข้อมูลที่ใช้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติของเมืองยะลาได้ดีทีเดียว

3. ห้องอาเซียนศึกษา
แยกเป็นห้องเอกเทศมีข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนค่อนข้างครบ แถมด้วยการจัดห้องในลักษณะคล้ายๆ โรงภาพยนตร์ ซึ่งห้องนี้ใช้ประยุกต์ในการสอนภาษาได้ด้วย

4. พื้นที่บริเวณรอบนอกอาคาร
เป็นพื้นที่โล่งสามารถจัดกิจกรรมกลางแจ้งได้

5. นอกรั้วของห้องสมุด มีการจัดกิจกรรม “เรียนรู้ภาษาอาเซียน”
ซึ่งมีการเปลี่ยนทุกสัปดาห์สัปดาห์ละคำ (สัปดาห์ที่ผมได้เป็น “คำขอบคุณ” ของทั้ง 10 ชาติอาเซียน)

เอาเป็นว่าพี่น้องที่อยู่แถวนั้นถ้ามีเวลาผมก็ขอแนะนำว่าเป็นห้องสมุดที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง
ปล.อื่นๆ ก็คงเหมือนห้องสมุดประชาชนทั่วไปผมไม่ขอบรรยายแล้วกัน

ชมภาพบรรยากาศห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองยะลาทั้งหมด

[nggallery id=59]