ราคาของการใช้งานสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia – Britannica ฉบับพิมพ์ ราคา 1,395 เหรียญสหรัฐ
– Britannica ฉบับ ipad ราคา 1.99 เหรียญสหรัฐ/เดือน
– Britannica ฉบับออนไลน์ สมัครสมาชิก 70 เหรียญสหรัฐ/ปี
– wikipedia ฟรี ฟรี ฟรี
จำนวนบทความสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia – Britannica มีจำนวนบทความประมาณ 65,000 บทความ
– Wikipedia มีจำนวนบทความประมาณ 3,890,000 บทความ
จำนวนคนที่เขียนบทความในสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia – Britannica มีจำนวนประมาณ 4,000 คน (ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง)
– Wikipedia มีจำนวนประมาณ 751,426 คน (ใครๆ ก็เขียนได้)
เอาเป็นว่า ณ จุดนี้ ก็คงต้องบอกว่ายุคของสารานุกรม Britannica ฉบับพิมพ์อาจจะถึงจุดสิ้นสุดไปแล้ว แต่สิ่งที่กำลังจะเริ่มต้นก็คือการแข่งขันกับ Wikipedia ในโลกออนไลน์นั่นเอง
วันนี้ผมก็มีเวลานั่งไล่อ่านบล็อกของเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในต่างประเทศ แล้วพอดีไปสะดุดกับการบล็อกของ David Lee King เรื่อง “Seven Essential Elements to an Awesome Library Website” เลย ตามไปดูสไลด์และเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจดี ก็เลยอยากแชร์เรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยขอแปลเป็นชื่อเรื่องได้ว่า “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม”
1. Customers want something to read, watch, & listen to when they visit the library
(ผู้ใช้บริการต้องการบางสิ่งบางอย่างเพื่ออ่าน ดู ฟัง เหมือนตอนมาที่ห้องสมุด)
การที่เว็บไซต์ห้องสมุดมีสื่อบางประเภทให้บริการบนเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ห้องสมุดมีสีสันมาก ไม่ว่าจะเป็นการดูหรือชมวีดีโอผ่านทางออนไลน์ ดาวน์โหลดไฟล์เพลง เสียงไว้ฟัง หรือจะเป็นการดาวน์โหลด E-Book ไว้อ่าน (กรณ๊ใน Slide ยกกรณีศึกษา Ebook ว่าเป็นเคสที่ประสบความสำเร็จมากๆ)
2. Customers have questions & ask at the library (ผู้ใช้บริการมีคำถามและต้องการถามที่เว็บไซต์ห้องสมุด)
เว็บไซต์ห้องสมุดควรมีบริการตอบคำถามออนไลน์เนื่องจาก เว็บไซต์ถือเป็นช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อมาที่ห้องสมุดได้ง่าย
3. Customers need to know the normal stuff too (ผู้ใช้บริการต้องการข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดด้วย)
ข้อมูลปกติของห้องสมุดสำคัญมากเพราะบางทีผู้ใช้บริการก็ต้องการรู้เช่นกัน เช่น เบอร์โทรศัพท์ของห้องสมุด เวลาเปิดปิดของห้องสมุด นโยบายต่างๆ เช่น นโยบายการยืมคืน การสมัครสมาชิก ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องมีบนเว็บไซต์ห้องสมุด
4. Websites need actual staff! (เว็บไซต์ต้องการผู้ให้บริการเช่นกัน)
บางห้องสมุดอาจจะมองว่าการทำเว็บไซต์เป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่เรื่องของการดูแลเขาก็ปล่อยปะละเลย ไม่อัพเดทเว็บไซต์เลย ดังนั้นเว็บไซต์ของห้องสมุดจำเป็นที่จะต้องมีคนดูแลและให้บริการเช่นกัน จงคิดซะว่าเว็บไซต์ของห้องสมุดก็เสมือนสาขาย่อยของห้องสมุดจริงๆ ด้วย
5. Have Goals! (มีเป้าหมาย)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดต้องมีเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่สักแต่ว่ามีเว็บไซต์และก็ปล่อยเว็บไซต์ให้เป็นไปตามยถากรรม การกำหนดตัวชี้วัดจะทำให้เกิดการพัฒนาและการตื่นตัวในการบริการต่างๆ เครื่องมือที่แนะนำ คือ การจัดเก็บสถิติคนเข้าออกของเว็บไซต์ห้องสมุด
6. Reach beyond your webbish boundaries (เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดของคุณให้มากขึ้น)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดแล้วไม่ประชาสัมพันธ์หรือไม่ทำให้คนนอกรู้จัก มันช่างน่าเสียดายนัก ปัจจุบันโลกของ Social Media เข้ามามีผลต่อการเข้าถึงเว็บไซต์มากมาย ดังนั้นคุณก็สามารถใช้ช่องทางเหล่านั้นได้ด้วย เช่น Facebook Twitter และที่กำลังมาแรงก็คือ Pinterst ด้วย