การออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดให้โดนใจผู้ใช้บริการ

การออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดให้โดนใจผู้ใช้บริการ

บทความวันนี้ผมขอนำเสนอเทคนิคง่ายๆ สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดให้โดนใจผู้ใช้บริการ เนื้อหาต้นฉบับมาจาก “8 Tips to Improve Your Library’s Website Design” ซึ่งเมื่อผมอ่านแล้วรู้สึกว่าบางเรื่องแค่ปรับมุมมอง และปรับการออกแบบเล็กน้อยก็สามารถเรียกผู้ใช้บริการให้กลับมาเว็บไซต์ห้องสมุดได้

8 Tips to Improve Your Library’s Website Design ประกอบด้วย

Read more
3 ความจริงจากประสบการณ์ของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุด

3 ความจริงจากประสบการณ์ของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุด

บทความใน Lisnews ที่ผมนำมาแปลและถ่ายทอดวันนี้
อาจเป็นเพียงแค่ความคิดของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดเพียง 1 คน
ความคิดที่เขาถ่ายทอดออกมา มันโดนใจผมและทำให้ผมยอมรับได้ว่าจริง

เรื่องของการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดและการทำเว็บไซต์ห้องสมุดดีๆ
มีหลายคนชอบถามผมว่า “ต้องเป็นแบบไหน” “ต้องมีอะไร” “ต้องทำอะไรได้บ้าง”
ผมจึงตัดสินใจนำแนวคิดของผู้มีประสบการณ์กว่า 15 ปี มาแปล/เรียบเรียงให้อ่าน

Read more

มุมมองของนักศึกษาชาวอเมริกันต่อเว็บไซต์ห้องสมุด 2005 – 2010

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลทัศนคติและมุมมองของกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดที่เป็นนักศึกษา (ช่วงอายุ 18-24 ปี) ที่มีต่อเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ

perception of libraries 2010

ข้อมูลที่ผมนำมาทำสไลด์และนำเสนอนี้มาจาก
Perception of Libraries, 2010 by OCLC

เอกสารสไลด์ชุดนี้

[slideshare id=16951436&doc=perceptionoflibrariesbyoclc-130305103911-phpapp02]

สรุปข้อมูลจากเอกสาร
1. บรรณารักษ์มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น

2. อัตราการใช้สื่อหรือข้อมูลของห้องสมุด
2.1 เว็บไซต์ห้องสมุด ในปี 2005 จำนวน 53% ในปี 2010 จำนวน 58% — เพิ่มขึ้น
2.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ ในปี 2005 และ 2010 มีจำนวนเท่ากัน 30% — เท่าเดิม
2.3 วารสารออนไลน์ ในปี 2005 จำนวน 41% — ลดลง

3. การค้นหาข้อมูลออนไลน์ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้เครื่องมืออย่าง Search Engine, Wikipedia, Online bookstores มีส่วนน้อยที่ใช้เว็บไซต์ห้องสมุด นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลออนไลน์

4. สิ่งแรกที่ผู้ใช้จะไปเวลาต้องการค้นหาข้อมูล คือ Search Engine, Wikipedia, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และอีเมล์….. อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดผู้ใช้บริการไม่นึกถึง

5. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังคงยอมรับว่าข้อมูลจากห้องสมุดยังคงมีความน่าเชื่อถือ

6. ความพึงพอใจใน Search Engine ลดลงมาก ในขณะที่ความพึงพอใจในบรรณารักษ์เริ่มมีการเพิ่มขึ้น

7. ถ้าเว็บไซต์ห้องสมุดมีการปรับปรุงหรือพัฒนา…โดยการเติมเนื้อหา ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ลงในเว็บไซต์ โอกาสที่ผู้ใช้บริการจะกลับมานิยมและใช้เว็บไซต์ห้องสมุด

8. บริการในห้องสมุดที่มีอัตราการใช้ลดลง ได้แก่
– บริการหนังสืออ้างอิงและสารสนเทศเฉพาะด้าน
– สถานที่ที่ช่วยทำการบ้าน
– คัดลอกบทความวารสาร
– ผู้ช่วยการวิจัย / การค้นหาเฉพาะด้าน
– การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์
– การยืมคืนหนังสือ
– การอ่านเพื่อความบันเทิง

9. ผู้ใช้บริการมาห้องสมุด เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต ใช้คอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อโลกออนไลน์ ณ ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น

เอาเป็นว่าข้อมูลนี้ก็เป็นข้อมูลแบบย่อๆ เท่านั้นถ้าต้องการอ่านฉบับเต็ม สามารถอ่านได้ที่
http://www.oclc.org/reports/2010perceptions/2010perceptions_all.pdf

กิจกรรมแจกหนังสือ : เว็บไซต์ห้องสมุดควรมีอะไรเพิ่มเติม

เรื่องของเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นเรื่องที่ผมถูกถามบ่อยมากๆ ว่า “เว็บห้องสมุดควรจะมีอะไรนอกเหนือจากความสามารถในการสืบค้นหนังสือของห้องสมุด” ซึ่งผมเองเวลาไปบรรยายที่ไหนก็ตาม ผมก็จะยกเรื่องนี้มาพูดเช่นกัน …

ล่าสุดผมเลยจัดกิจกรรมนึงขึ้นมา คือ “กิจกรรมที่ให้เพื่อนๆ ในโลกออนไลน์ช่วยกันเสนอความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ห้องสมุด” โดยคำถามมีอยู่ว่า “ท่านคิดว่าเว็บไซต์ห้องสมุดควรมีอะไรอีก นอกจากการสืบค้นหนังสือในห้องสมุด” และใครที่ตอบได้ถูกใจผมมากที่สุด ผมจะมอบหนังสือให้เป็นรางวัล

เอาหล่ะครับ เรามาดูคำตอบของเพื่อนๆ ในโลกออนไลน์กันดีกว่า

คำตอบจากเพื่อนๆ ในกลุ่ม Librarian in Thailand

สุวิมล แสงม่วง – มีการแนะนำหนังสือที่น่าอ่าน คะ
Itj Pally Punyoyai – มีแฟนเพจห้องสมุดดีมั๊ยค่ะ ประมาณ แฟนพันธ์แท้ห้องสมุดอ่ะค่ะ
Aobfie Thiyaphun –  มีชีวิตชีวา..แลดูน่าใช้ อยากรู้เรื่องใดถามได้ทุกครา..(มีบรรณารักษ์ออนไลน์..
คอยให้ความช่วยเหลือและตอบคำถามค่ะ)
MineMim BabyBee – ความรู้ทั่วไปค่ะ ^^
Maymon Unratana – มีข่าวสารกิจกรรมให้ผู้ใช้ได้ร่วมสนุก เช่น กิจกรรมตอบคำถามในการสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ มีแฟนเพจเฉพาะของห้องสมุด แนะนำหนังสือใหม่ บทความแนะนำการสืบค้น วิดีโอแนะนำการใช้ห้องสมุด เป็นต้นค่ะ
Prissana Sirikul – ประชาสัมพันธ์หนังสือ – กิจกรรมห้องสมุดค่ะ
Podjamand Boonchai – เว็บควรมีเกมส์ชิงรางวัลอย่างนี้เยอะๆค่ะ
เมย์ เมย์ – ข่าวสารที่ทันสมัย..และกิจกรรมต่างๆภายในห้องสมุดค่ะ.
Cybrarian Cyberworld – แนะนำหนังสือใหม่ แนะนำบริการและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องสมุด ที่สำคัญที่สุด แนะนำบุคลากรของหน่วยงานห้องสมุดด้วย
กุ้ยช่าย ยิ้มแป้นเล่น – มีข่าวสารแวดวงห้องสมุดอื่นๆ
นม ยัง อึน – นำเสนอข่าวที่อยู่ในกระแสปัจจุบันที่เป็นประโยชน์ค่ะ ลักษณะคล้ายๆข่าวกฤตภาคอะไรประมาณนี้
Wasabi Srisawat – แนะนำหนังสือที่ถูกยืมมากที่สุด20อันดับของแต่ละเดือน และหนังสือดีที่ไม่ค่อยมีคนยืม จะได้กระตุ้นการอ่านมากขึ้น
Yaowaluk Sangsawang Nontanakorn – เว็บไซต์ของห้องสมุด ตามความคิดนะคะ ควรมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับห้องสมุดในเรื่องระเบียบ กฎ นโยบาย ในการเข้าใช้ห้องสมุด บุคลากรห้องสมุด และเบอร์โทรติดต่อ หรือ e-Mail ที่ติดต่อห้องสมุดได้สะดวก รายการหนังสือใหม่ รายการฐานข้อมูลที่มีให้บริการ เพื่อเรียกความสนใจ ขั้นตอนการสมัครสมาชิกและ ขั้นตอนการใช้งานฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ห้องสมุดมีให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบในเบื้องต้น
Path Ch – ห้องสมุดสามารถเก็บทุกสิ่งทุกอย่างได้ เว็บไซต์น่าจะมีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่างๆที่สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ในกรณีที่ห้องสมุดไม่มีข้อมูลนั้นๆ
Pimolorn Tanhan – มีรูปบรรณารักษ์สวยๆ น่ารักๆ มาเป็น Pretty แนะนำการใช้ห้องสมุด การสืบค้นข้อมูลต่างๆ ก็ดีนะคะ
Kru-u Tata – อยากได้งานวิจัยที่เกี่ยวกับห้องสมุดด้วยค่ะ
Lutfee Himmamad – ทำเกมส์ออนไลน์ที่มีทั้งสาระและความบันเทิง ที่ทำให้คนเล่นเรียนรู้การใช้ห้องสมุดได้ด้วยตนเอง ครับ
Tipbha Pleehajinda – เป็นช่องทางเข้าสู่แหล่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
วราวรรณ วรรณ ส้ม – อยาก … มีประกาศหรือข้อมูลและบริการของห้องสมุดที่ใช้ภาษาเชิงโฆษณา ภาษาโฆษณาทั้งวจนภาษาและอวัจนะภาษาให้เกิด impact แก่ผู้อ่านให้มากกว่าการประกาศหรือป้ายธรรมดาๆ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการห้องสมุด เช่นโฆษณา งานหนังสือแห่งชาติ ขายหนังสือ ขายอุปกรณ์+ebook computer tablet ฯลฯ
วราวรรณ วรรณ ส้ม – อยาก … มีนักโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด และจะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
วราวรรณ วรรณ ส้ม – อยาก … มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้บริการด้วยกันเอง รวมถึงแลกเปลี่ยนกับห้องสมุดด้วย เช่น หนังสือที่อ่านจบแล้วก็นำมาแลกกันอ่าน หนังสือที่คิดว่าเราไม่ใช้แล้วก็นำมาแบ่งปันคนอื่น มีคนอีกมากมายที่ต้องการหนังสือของเรา หนังสือที่ห้องสมุดมีเกินต้องการ … นำมาแบ่งปันแก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงการแลกเปลี่ยน/พูดคุยแสดงความคิดเห็น มี Discussion Group ฯลฯ
บรรณารักษ์ เจน – น่าจะมีเว็บให้ผู้ใช้บริการโหวตห้องสมุดและบรรณารักษ์ จะได้กระตุ้นให้พวกเราออกตัวแรงกันขึ้นหน่อย
Wilaiwan Runra – เล่าเรื่องหนังสือ แนะนำหนังสือ เล่านิทาน หน้าเว็บ เลือกคลิปรักการอ่านแชร์ หรือไม่ก็คลิปความรู้ที่คนทั่วไปไม่รู้มาแชร์ เป็นบริการที่ควรให้แก่ผู้อ่านที่ไม่อยากค้นหา แค่เปิดเว็บก็เจอเรื่องที่ใช่ก็ โอนะค่ะ
Kanokwan Buangam – เว็บไซต์ห้องสมุดนอกจากให้สืบค้น แนะนำหนังสือ แนะนำแหล่งสืบค้นแล้ว อยากให้มีแนะนำ สุดยอดบรรณารักษ์บ้างค่ะ เช่น ถ้าจะปรึกษาค้นข้อมูลด้านนี้ก็ไปคุยพี่คนนั้น อะไรประมาณนี้

คำตอบจากเพื่อนๆ ในหน้าเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย

Chairach Plewma – Blog เรื่องดี ๆ ที่อยากเล่า และ สื่อ ict ให้ดาวน์โหลด
Nadcha Thanawas – แนะนำหนังสือประจำสัปดาห์ วิดีโอแนะนำห้องสมุด และก็แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับห้องสมุดคร้า
Aom P. Chan – ช่องทางที่สามารถให้ผู้ใช้บริการมีfeedback มาที่ห้องสมุด
Kornsawan Chonphak – มีข้อมูลดีดี เช่น กฤตภาคในรูปแบบ e-book
Saowapa Sarapimsakul – ถาม-ตอบ กับuser คะ
Loveless Taew – มีลิงค์เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องคะ
Aun Un – บล็อกลิงค์หัวข้อต่างๆเสมือนเป็นหนังสือแต่ละชนิด
Jira Ping – แนะนำหนังสือดีที่น่าอ่านหรือ หนังสือที่ได้รับรางวัลต่างๆ
Piw Piw Arsenal – 1.สามารถ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือ 2.ให้คะแนนหรือเรตติ้งของหนังสือ 3.มีการแชร์ผลการสืบค้นไปยัง Social Network คะ
อาร์ต วชิร ขจรจิตร์จรุง – มีการเช็คสถานะของสมาชิก
Piw Piw Arsenal – เว็บห้องสมุดควรนำ เทคโนโลยี Web2.0 และ Social Network มาใช้ สาหรับเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้ใช้บริการเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดคุณค่าของเนื้อหา เช่น สามารถวิจารณ์ (reviews) ให้คะแนนเพื่อจัดอันดับหนังสือ (ratings) การกำหนดกลุ่มข้อมูล (tagging) ที่น่าสนใจ ทำการบอกรับ (subscribe) RSS Feeds ซึ่งจะแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ เมื่อมีทรัพยากรใหม่เข้ามายังห้องสมุด ทำการแบ่งปันข้อมูลที่น่าสนใจ (sharing) ไปยังกลุ่มSocial Network พร้อมทั้งช่วยเหลือผู้ใช้ด้วยการแสดงผลแบบ Facet นอกจากนี้ผู้ใช้บริการสามารถจัดเก็บผลการสืบค้นด้วยการ Print, E-mail, Save หรือเรียกประวัติการสืบค้นคืนโดย อัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ได้เข้าสู่ ระบบอีกครั้ง รวมถึงการให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ผู้ใช้ Upload ภาพของ ตนเอง แก้ไขข้อมูลส่วนตัว หรือขอใช้บริการอื่น ๆ ผ่านทาง Mobile Chamo Smart Device Interface ค่ะ
ห้องสมุด บุญเลิศอนุสรณ์ – กิจกรรมตอบคำถามอาเซียนประจำสัปดาห์
Pearlita Kled – หาข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย มี Link แนะนำฐานข้อมูล หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มีช่องทางในการแนะนำหนังสือ หรือเสนอแนะความคิดเห็นต่าง ๆ
Jlo Home – บริการสารสนเทศท้องถิ่น
Sophit Sukkanta – 1. สถิติแสดงจำนวนหนังสือล่าสุดที่ตนเองยืมว่าได้จำนวนกี่เล่มแล้วตลอดอายุการเป็นสมาชิก แสดงถึงความภาคภูมิใจที่มีต่อนิสัยรักการอ่าน 2. สถิติแสดงรายชื่อหนังสือที่ถูกยืมมากที่สุด 10 อันดับ เพื่อแสดงถึงความต้องการและค่านิยมที่มีต่อหนังสือแต่ละเล่ม
Atchara Natürlich – บริการจองหนังสือใหม่ มีเดียใหม่ๆ ล่วงหน้าค่ะ (ไม่ทราบว่าที่เมืองไทยมีหรือยังนะคะ)
Titirat Chackaphan – ควรมีหน้าเว็ปที่สามารถตอบคำถามของผู้ที่สนใจ หรือไม่เข้าใจ เกี่ยวกับห้องสมุดค่ะ เพราะบางคนยังไม่เข้าใจว่าห้องสมุดมันคืออะไร หรือบางครั้งบรรณารักษ์เองยังไม่เข้าใจถ่องแท้เลยค่ะ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ ให้คนเก่งๆ มาช่วยตอบคำถามให้น่ะค่ะ
Khunjom Akk – ประโยค คำคม สาระสั้นๆ จากหนังสือ / นิตยสาร เล่มต่างๆค่ะ
Chaiyaboon Bonamy – แนะนำเกี่ยวกับห้องสมุด เช่นห้องสมุดในดวงใจ , ความประทับใจเกี่ยวกับห้องสมุด
Sukanya Leeprasert – กิจกรรมของห้องสมุด และการรับคำเสนอแนะคำติชม รวมทั้งการดำเนินงานแก้ไขเรื่องต่างๆ
หวาน เย็น – นิทรรศการออนไลน์ เพื่อช่วยตัดปัญหาด้านเวลา สถานที่จัดงานและงบประมาณ
Aom P. Chan – ข่าวสารความเคลื่อนไหวของห้องสมุดที่น่าสนใจ รวมถึงรายการหนังสือใหม่ วารสารใหม่ และอะไรใหม่ๆในห้องสมุด
Jirawan Tovirat – กิจกรรมส่งเสริมการอ่านค่ะ
Phuvanida Kongpaiboon – บรรณารักษ์หน้าตาสดใสเต็มใจให้บริการทุกเรื่องพร้อมจักกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่กระตุ้นให้เกิดนิสัยรักการอ่านคะ
Emorn Keawman – เกมส์ค้นหา หรือไม่ก็เกมส์จับผิดภาพ 555 แบบว่าชอบอะ
Jib Wanlaporn – การ์ตูน animation แนะนำการใช้ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด หรือ สร้างหนังสั้นเป็นเรื่องราว การแนะนำการสืบค้นหนังสือภายใน หส. การเข้าห้องสมุดแนวสร้างสรรค์ นำกราฟิกเข้ามาช่วยดึงดูดใจผู้ใช้ คะ
Agogo Dogclub – มันต้องแนะนำหนังสือซิเพราะบางทีเราชอบน่ะแต่นึกไม่ออกว่าเรื่องไหนมันสนุก
Niramon Leekatham – แสดง pop-up New Window ขึ้นมาปรากฎเป็นสิ่งแรก ตอบคำถามสั้น ๆ ก่อนว่า “เหตุใดจึงเข้า Web ห้องสมุดนี้” หรือ “คุณรู้จักห้องสมุดนี้จากใคร” เพราะคิดว่า เป็นการทราบช่องทางการตลาดสำหรับห้องสมุด สามารถตอบโจทย์อื่นในยุคเทคโนโลยีที่ท่วมท้นปัจจุบัน
Thip Toh – ทำเป็นแหล่งชอปปิ้ง หนังสือ สื่อต่างๆ สร้างบรรยากาศให้น่าเข้าใช้บริการ เจ้าหน้าที่มีจิตให้บริการ
Wiramol Chanpoo – เป็นแหล่งชอบปิ้งหนังสือและเน้นบรรยากาศแบบห้างมีทุกอย่างมีมุมต่างๆมีร้านจำหน่ายหนังสือที่ใหม่เน้นความหลากหลาย
Watcharee Jaithai – เป็นเหมือนบ้าน เหมือนคาเฟ่ที่ประเทศญี่ปุ่น เปิด 24 ชั่วโมง
JoyLis Isaya Punsiripat – อยากให้เว็บไซต์ห้องสมุดมีความน่าสนใจเหมือนเว็บไซต์ทั่วไปๆเล่น kapook, sanook เป็นเว็บที่ทุกคนเข้ามาเป็นประจำเมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ค่ะ แต่ในฐานะที่เป็นเว็บห้องสมุดก็อยากจะให้มีการแนะนำหนังสือ บอร์ดสำหรับพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือ รีวิวหนังสือ มีกิจกรรมตอบคำถาม มีสาระที่เป็นเกร็ดความรู้ต่างๆ นอกจากการเป็นแค่เว็บที่ทุกคนเข้ามาสำหรับสืบค้นหนังสือเพียงอย่างเดียว นอกจากมีข้อมูลพื้นฐานต่างๆที่เกี่ยวกับห้องสมุด เช่น ประวัติ ระเบียบห้องสมุดค่ะ เพราะเราเป็นห้องสมุด เว็บห้องสมุดก็ควรเป็นแหล่งความรู้ต่างๆที่ทุกคนสามารถหาความรู้ได้จากเว็บไซต์ด้วยค่ะ ^^

คำตอบที่ถูกใจผมมากที่สุด มีอยู่ 2 คน คือ …..
1. “อยาก … มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้บริการด้วยกันเอง รวมถึงแลกเปลี่ยนกับห้องสมุดด้วย เช่น หนังสือที่อ่านจบแล้วก็นำมาแลกกันอ่าน หนังสือที่คิดว่าเราไม่ใช้แล้วก็นำมาแบ่งปันคนอื่น มีคนอีกมากมายที่ต้องการหนังสือของเรา หนังสือที่ห้องสมุดมีเกินต้องการ … นำมาแบ่งปันแก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงการแลกเปลี่ยน/พูดคุยแสดงความคิดเห็น มี Discussion Group ฯลฯ” ความคิดเห็นนี้โดย “วราวรรณ วรรณ ส้ม
2. “1.สามารถ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือ 2.ให้คะแนนหรือเรตติ้งของหนังสือ 3.มีการแชร์ผลการสืบค้นไปยัง Social Network คะ” ความคิดเห็นนี้โดย “Piw Piw Arsenal

หนังสือที่จะแจกในเดือนนี้ "ประสบการณ์แอปเปิล"

ผู้ที่โชคดีได้รับหนังสือจากผม คือ คุณ “วราวรรณ วรรณ ส้ม” และ “Piw Piw Arsenal
เอาเป็นว่าส่งชื่อ-นามสกุลจริง สังกัดใด ที่อยู่ มาที่ dcy_4430323@hotmail.com ด้วยครับ

ปล. ว่าจะแจกแค่เล่มเดียว แต่คิดอีกทีแจกกลุ่มละ 1 เล่มดีกว่า กลายเป็น 2 รางวัลในแต่ละเดือน

สำหรับกิจกรรมแบบนี้ผมคิดว่าจะจัดอีกและจะจัดทุกเดือน
กติกาและการตัดสินจะมีกฎที่มากขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็ฝากติดตามกันต่อด้วยนะครับ

บล็อกในวันนี้ผมยกความดีความชอบให้ทุกท่านที่ร่วมสนุกทุกคน
หวังว่าทุกท่านจะเข้ามาร่วมสนุกกันใหม่ในเดือนหน้าด้วยนะครับ

เว็บไซต์ห้องสมุดจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าท่านคิดและจะปรับปรุงมันหรือไม่
อยู่ที่ตัวท่านแล้วหล่ะครับ…

7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม

วันนี้ผมก็มีเวลานั่งไล่อ่านบล็อกของเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในต่างประเทศ แล้วพอดีไปสะดุดกับการบล็อกของ David Lee King เรื่อง “Seven Essential Elements to an Awesome Library Website” เลย ตามไปดูสไลด์และเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจดี ก็เลยอยากแชร์เรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยขอแปลเป็นชื่อเรื่องได้ว่า “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม

ไปชมสไลด์ที่มาของข้อมูลนี้กันก่อนนะครับ

มาดู “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม” ตามที่ผมถอดความและอธิบายเพิ่มเติมกัน

1. Customers want something to read, watch, & listen to when they visit the library
(ผู้ใช้บริการต้องการบางสิ่งบางอย่างเพื่ออ่าน ดู ฟัง เหมือนตอนมาที่ห้องสมุด)

การที่เว็บไซต์ห้องสมุดมีสื่อบางประเภทให้บริการบนเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ห้องสมุดมีสีสันมาก ไม่ว่าจะเป็นการดูหรือชมวีดีโอผ่านทางออนไลน์ ดาวน์โหลดไฟล์เพลง เสียงไว้ฟัง หรือจะเป็นการดาวน์โหลด E-Book ไว้อ่าน (กรณ๊ใน Slide ยกกรณีศึกษา Ebook ว่าเป็นเคสที่ประสบความสำเร็จมากๆ)

2. Customers have questions & ask at the library (ผู้ใช้บริการมีคำถามและต้องการถามที่เว็บไซต์ห้องสมุด)
เว็บไซต์ห้องสมุดควรมีบริการตอบคำถามออนไลน์เนื่องจาก เว็บไซต์ถือเป็นช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อมาที่ห้องสมุดได้ง่าย

3. Customers need to know the normal stuff too (ผู้ใช้บริการต้องการข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดด้วย)
ข้อมูลปกติของห้องสมุดสำคัญมากเพราะบางทีผู้ใช้บริการก็ต้องการรู้เช่นกัน เช่น เบอร์โทรศัพท์ของห้องสมุด เวลาเปิดปิดของห้องสมุด นโยบายต่างๆ เช่น นโยบายการยืมคืน การสมัครสมาชิก ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องมีบนเว็บไซต์ห้องสมุด

4. Websites need actual staff! (เว็บไซต์ต้องการผู้ให้บริการเช่นกัน)
บางห้องสมุดอาจจะมองว่าการทำเว็บไซต์เป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่เรื่องของการดูแลเขาก็ปล่อยปะละเลย ไม่อัพเดทเว็บไซต์เลย ดังนั้นเว็บไซต์ของห้องสมุดจำเป็นที่จะต้องมีคนดูแลและให้บริการเช่นกัน จงคิดซะว่าเว็บไซต์ของห้องสมุดก็เสมือนสาขาย่อยของห้องสมุดจริงๆ ด้วย

5. Have Goals! (มีเป้าหมาย)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดต้องมีเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่สักแต่ว่ามีเว็บไซต์และก็ปล่อยเว็บไซต์ให้เป็นไปตามยถากรรม การกำหนดตัวชี้วัดจะทำให้เกิดการพัฒนาและการตื่นตัวในการบริการต่างๆ เครื่องมือที่แนะนำ คือ การจัดเก็บสถิติคนเข้าออกของเว็บไซต์ห้องสมุด

6. Reach beyond your webbish boundaries (เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดของคุณให้มากขึ้น)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดแล้วไม่ประชาสัมพันธ์หรือไม่ทำให้คนนอกรู้จัก มันช่างน่าเสียดายนัก ปัจจุบันโลกของ Social Media เข้ามามีผลต่อการเข้าถึงเว็บไซต์มากมาย ดังนั้นคุณก็สามารถใช้ช่องทางเหล่านั้นได้ด้วย เช่น Facebook Twitter และที่กำลังมาแรงก็คือ Pinterst ด้วย

7. Mobile-Friendly (เป็นมิตรกับอุปกรณ์สื่อสาร)
อันนี้แปลไทยแล้วอาจจะงงเล็กน้อย ขออธิบายแล้วกันนะครับ องค์ประกอบที่ 7 พูดถึงเรื่องการแสดงผลเว็บไซต์ห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ก็ตาม เพราะปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากๆ และเร็วๆ นี้อาจจะมีจำนวนที่แซงคอมพิวเตอร์แบบพกพาก็ได้

นับว่าเป็นสไลด์ที่คอนข้างมีประโยชน์เลยทีเดียวใช่มั้ยครับ
เอาเป็นว่าก็ลองทำความรู้จักและเอาไปใช้กันดูนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอปิดบล็อกไว้แต่เพียงเท่านี้ อิอิ

ที่มาของความรู้นี้จาก http://www.slideshare.net/davidleeking/seven-essential-elements-to-an-awesome-library-website
ติดตามอ่านบล็อกของ David Lee King ได้ที่ www.davidleeking.com

7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด

ช่วงปีที่ผ่านมาผมได้สังเกตว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำบล็อกเข้ามาใช้มากขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะ wordpress แล้ว ผมได้รับคำถามมามากเหลือเกิน เนื่องจาก ProjectLib และ Libraryhub ของผมใช้ wordpress มาตลอด ซึ่งวันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับ wordpress ในวงการห้องสมุดบ้างดีกว่า

เข้าประเด็นกันแบบง่ายๆ เลย เรื่องที่เขียนวันนี้ “7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด
ผมเรียบเรียงใหม่จากบทความ “7 Great Library Themed Templates for Your Blog(เนื่องจากบางธีมไม่สามารถเปิดได้แล้ว)

ทำไมต้องเป็น wordpress – ผมขอสรุปแบบตรงๆ เลยนะครับ ว่า “ฟรี – ง่าย – ยืดหยุ่น – ประสิทธิภาพสูง – ของเล่นเยอะ”

ปล. สำหรับคนที่ใช้ wordpress.com (แบบของฟรี) สามารถค้นหาธีมที่นำเสนอด้านล่างนี้ได้บางธีมเท่านั้น ส่วนคนที่ดาวน์โหลด wordpress ไปติดตั้งบน host สามารถนำไปใช้ได้ทุกธีมครับ

ธีมที่มีให้เลือกบน wordpress มีมากมาย จนหลายคนบอกว่านี่คือสิ่งที่ยากของ wordpress คือ เลือกธีมไม่ถูก เพราะสวยหมดทุกธีม
ซึ่งธีมที่มีใช้อยู่นั่นบางธีมก็เสียเงิน บางธีมก็ใช้ได้ฟรี ขึ้นอยู่กับความสามารถพิเศษของธีมนั่นๆ ด้วย

ห้องสมุดหลายๆ แห่งที่ตัดสินใจใช้ wordpress เป็นบล็อกของห้องสมุดจึงต้องรู้จักวิธีในการเลือกธีมที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ดังนั้นธีมที่จะให้ดูในวันนี้ ผมว่าสำหรับบล็อกห้องสมุดแล้วฟีเจอร์ครบ และหน้าตาของธีมดูเหมาะสมกับความเป็นห้องสมุดดี

(บางธีมนั้นเป็นผลงานของห้องสมุดที่ออกแบบ สร้าง และปล่อยออกมาให้ดาวน์โหลดด้วย)

“7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด”
ที่ว่านี้มีดังนี้ :-
1. Law library wordpress theme.

2. Books and Imagination theme.

3. Black Bible theme.

4. Easy Reader theme.

5. BlueWebHosting theme.

6. Trexle Theme.

7. High tech book studies theme.


เป็นยังไงกันบ้างครับกับธีมที่แนะนำในวันนี้เอาเป็นว่า ที่แนะนำทั้งหมดนี้คือธีมที่สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรีๆ นะครับ ถ้าสนใจธีมไหนก็คลิ๊กที่ชื่อของธีมที่อยู่ด้านบนของแต่ละรูปได้เลยนะครับ

เอาเป็นว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อนดีกว่า ไว้จะมาแนะนำอย่างอื่นที่เกี่ยวกับ wordpress วันไหนอีกแล้วกันครับ