พบปะเพื่อนๆ เอกบรรณารักษ์ มอ. รหัส 44

ปีที่ผ่านมางานเยอะมากจนแทบจะไม่ได้เจอเพื่อนๆ เลย จนหลายคนกลับต่างจังหวัดกันไปแล้ว
มีโอกาสนัดกันใหม่ในวันนี้ (30 ม.ค. 54) เลยถือโอกาสออกมาพบปะเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันบ้าง

เพื่อนๆ เอกที่นัดกันในวันนี้มี ดังนี้ หนูนา, พิชญ์, ตี๋, จูน และวาย
สมาชิก 5 คนเองเอาเหอะแค่นี้ก็ดีกว่าไม่ได้เจอ เวลานัดหมายคือ 15.00 น. ณ เซ็นทรัลเวิลด์

ก่อนเวลานัดเพียงเล็กน้อยผมก็มาถึงห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ภาระกิจแรกคือขึ้นไปคืนหนังสือ
จากนั้นก็มีโทรศัพท์จากหนุ่มน้อยสุดหล่อของเอกเราคือ พิชญ์ ก็มาถึงที่นัดหมายพอดี
ก็เลยชวนกันไปถ่ายรูปพริตตี้ด้านล่าง เก็บภาพพริตตี้มาฝาก 2-3 รูปเอง

จากนั้นก็มานั่งรอสมาชิกคนอื่นๆ ซึ่งก็ถยอยมา คือ ตี๋ และหนูนาซึ่งเป็นคนสุดท้าย
เวลาที่นัดหมายกันก็คาดเคลื่อนกันบ้างแต่เราก็มากันครบ และเริ่มต้นด้วยการ กิน กิน กิน
ร้านที่เราไปกินกันวันนี้คือ sizzler นั่นเอง กินไปถ่ายรูปไปพูดคุยไป
ถามข่าวคราวและปัจจุบันของแต่ละคน แถมด้วยเม้าส์เรื่องเพื่อนๆ นิดหน่อย

กินเสร็จก็ใช้เวลาไปเกือบสองชั่วโมง พูดคุยกันพอควร สมาชิกคนแรกก็ขอตัว (ตี๋กลับก่อน)
แต่สมาชิกคนที่เหลือก็ยังคงเดินไปคุยไป และจุดหมายที่ต่อไปคือ TKpark
(พิชญ์ไปคืนหนังสือ ส่วนเราไปหาหนังสือยืมต่อ) นอกจากนี้ยังเจอเพื่อนใน twitter (@bankkung) ด้วย

จากนั้นเราก็นั่งคุยกันไปคุยกันมาก็เริ่มเกรงใจสถานที่นิดนึง
เลยขยับกันไปที่สยามพารากอนไปนั่งเม้าส์กันต่อที่ร้านทรูคอฟฟี่
คุยๆ กันไป พิชญ์หิวอีกแล้ว ก็เลยเสนอให้ไปกินนม ร้านมนต์ ณ มาบุญครอง

กินเสร็จและเม้าส์กันเสร็จก็มองนาฬิกาอีกทีก็สามทุ่มแล้ว
นึกได้ว่าถึงเวลาต้องกลับบ้านกันแล้ว ก็เลยมาบอกลาเพื่อนๆ กัน ณ สถานีรถไฟฟ้า ต่างคนต่างแยกย้าย

หลักๆ วันนี้กินกับคุยกันอย่างสนุกสนาน แล้วคิดว่าในปีนี้เราคงได้นัดกันอีก
วันนี้สนุกมากๆ และดีใจที่ได้เจอเพื่อนๆ ทุกคน ไว้เจอกันใหม่นะ

ปล. เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มา ไว้มีโอกาสเราคงได้เจอกันสักวันนะ

รูปภาพในวันนี้ทั้งหมดดูได้จาก http://www.facebook.com/#!/album.php?fbid=497063273347&id=730188347&aid=270914

เมื่อนายห้องสมุดกลายเป็นอาจารย์พิเศษให้เด็กเอกบรรณฯ จุฬา

เมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (วันที่ 2 ธันวาคม 2553) ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษให้เด็ก ปริญญาตรีปี 3 เอกบรรณารักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบรรยายเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่เคยผ่านมา รวมถึงให้แง่คิดเรื่องการทำงานในสาขาบรรณารักษ์แบบใหม่ๆ วันนี้เลยขอเล่าเรื่องนี้คร่าวๆ

รายละเอียดในการบรรยายทั่วไป
ชื่อการบรรยาย : ประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 2 ธันวาคม 2553 เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่บรรยาย : ห้อง 508 อยู่ชั้น 5 อาคารบรมราชกุมารี

เรื่องที่ผมเตรียมไปบรรยาย (อันนี้เอามาจากบันทึกที่อยู่ในมือผมตอนบรรยาย ตอนบรรยายจริงๆ หัวข้อบางอันข้ามไปข้ามมานะและบางหัวข้ออาจจะไม่มีในบันทึกนี้ แต่เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องของประสบการณ์)

งานโครงการศูนย์ความรู้กินได้
– ก่อนมาทำงานที่นี่ (เล่าคร่าวๆ ประสบการณ์ทำงาน) = บทบาทใหม่ในการพัฒนาวงการห้องสมุด
– ภาพรวมของการจัดตั้งศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของเมืองไทย)
– นักพัฒนาระบบห้องสมุดไม่ใช่คนทำงานไอทีอย่างเดียว = การดูแลภาพรวมของห้องสมุด
– แผนผัง Flow งานงานทั้งหมดในห้องสมุด (งานจัดหา งานประเมิน งาน catalog งานเทคนิค งานบริการ งานสมาชิก)
– การกำหนดและจัดทำนโยบายงานต่างๆ ในห้องสมุด
– มุมมองใหม่ๆ สำหรับอาชีพสารสนเทศ เช่น รับทำวิจัย ที่ปรึกษาห้องสมุด outsource งานห้องสมุด ฯลฯ
– แนวโน้มด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (แนวคิดเรื่องห้องสมุด 2.0) ไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นทฤษฎี
– แนวทางในการเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– กิจกรรมของโครงการ การอบรม (ยิ่งมีกิจกรรมเยอะยิ่งดึงดูดคน)

งานส่วนตัว Projectlib & Libraryhub
– จากบล็อกส่วนตัวเล็กๆ มาจนถึงชุมชนบรรณารักษ์แห่งใหม่
– ความก้าวหน้าของอาชีพบรรณารักษ์ที่หลายคนคิดไม่ถึง
– ความภูมิใจต่อวงการบรรณารักษ์ (อดีตที่ไม่มีใครสนใจ)
– กิจกรรมการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ Libcamp ไม่ต้องใช้เงินเยอะ
– แง่คิดที่ได้จากการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub
– กรณีศึกษา : ถามตอบบรรณารักษ์ (ปรึกษาการทำโครงงานห้องสมุด)

การบรรยายในครั้งนี้ผมใช้วิธีการเล่าเรื่อง สลับกับการเปิดวีดีโอที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อกับเรื่องที่เป็นวิชาการมากนัก ซึ่งวีดีโอที่ผมนำมาเปิดวันนี้ประกอบด้วย วีดีโอแนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ วีดีโอแนะนำหนังสือของห้องสมุด วีดีโอเพลงเอ็มวีของ มข เอาเป็นว่าเด็กๆ คงชอบนะครับ

จริงๆ หัวข้ออย่างที่บอกตอนต้นว่าเป็นการเล่าประสบการณ์เป็นหลักดังนั้น ในด้านของความรู้ตามตำราผมไม่ได้ลงรายละเอียดมากนักแต่เน้นการใช้งานจริงมากกว่า เช่น ก่อนจบการบรรยายได้แนะนำ การให้หัวเรื่องของ BISAC ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่องตามร้านหนังสือ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานด้านห้องสมุดเฉพาะทาง

ก่อนอื่นต้องขอบอกความรู้สึกในการบรรยายตามตรงนะครับ ว่าเป็นครั้งแรกที่ตื่นเต้นมากๆ เนื่องจากปกติ บรรยายให้แต่ผู้ใหญ่ฟัง ไม่เคยบรรยายให้น้องๆ หรือเด็กเอกบรรณฯ ฟังเลย แถมต้องมาบรรยายที่จุฬาด้วยยิ่งตื่นเต้นไปกันใหญ่เพราะเด็กๆ ที่นี่น่าจะมีความรู้ด้านวิชาการเต็มเพียบ แต่สุดท้ายพอบรรยายจบก็โล่งขึ้นเยอะเลย เพราะเด็กๆ ที่นี่น่ารักมาก ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี

ในระหว่างการบรรยายของผม อาจารย์เสาวภาก็ได้ถ่ายรูปให้ผมเก็บไว้ด้วย ก็ขอขอบคุณมากๆ เลย

การบรรยายที่นี่ทำให้ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ให้คนรุ่นหลังๆ เป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจมากๆ (ตอนนี้เริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอาจารย์บ้างแล้ว อิอิ)

เอาเป็นว่าก็ขอขอบคุณน้องๆ เอกบรรณ คณะอักษรศาสตร์ทุกคน รวมถึงอาจารย์ภาคบรรณารักษศาสตร์ทุกคนด้วยครับ ที่ร่วมกันสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย

ก่อนจบขอนำภาพที่อาจารย์เสาวภาถ่ายมาลงไว้นะครับ (ที่มาจาก http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=268255&id=534934030)

ชมภาพการบรรยายได้เลยครับ

[nggallery id=33]

ภาพหมู่เอกบรรณารักษ์รุ่นสุดท้ายแห่ง มอ.

อันนี้ไม่ขอเขียนอะไรมากมาย แค่อยากเอารูปเก่าๆ มาให้เพื่อนๆ ดู
ซึ่งเป็นรูปถ่ายของเอกบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์แห่ง มอ.

lib-info-sci-psu

รุ่นของผมคือรุ่นสุดท้ายที่มีการใช้คำว่า “บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” นะครับ
หลังจากรุ่นผมเป็นต้นไปที่ภาควิชาก็เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น “การจัดการสารสนเทศ” แล้วครับ

เนื้อหารายวิชาบางส่วนก็ยังคงเป็นวิชาของบรรณารักษ์ แต่ก็ได้มีการเน้นวิชาด้านไอทีมากขึ้นด้วย
ซึ่งเน้นไปในเรื่องการจัดการสารสนเทศในทุกรูปแบบนั่นเอง

ดูในรูปแล้วก็ทำเอาคิดถึงเพื่อนๆ เอกเลยนะครับ
ในรุ่นของผมเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ที่มีผู้ชายมากถึง 6 คน ส่วนผู้หญิงก็มีทั้งหมด 16 คนครับ

เอามาให้ดูอย่างนั่นแหละครับ ไม่รู้จะอธิบายยังไง
แต่สังเกตจากภาพที่ทุกคนมีความสุขกับวิชาที่เรียน แค่นี้ก็ทำให้รู้สึกดีใจแล้วครับ
แม้ว่าบางคนจบมาก็เป็นบรรณารักษ์ หรือบางคนก็ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์
แต่อย่างน้อยทุกคนก็ใช้วิชาที่เรียนมาสร้างความสำเร็จในชีวิตได้
ผมว่าแค่นี้ก็ดีที่สุดแล้ว?

คิดถึงเพื่อนๆ นะ

[nggallery id=23]

เด็กเอกบรรณารักษ์กับการลองขายหนังสือ

วันนี้ผมขอเล่าประสบการณ์สมัยที่ผมยังเรียนปริญญาตรี เอกบรรณฯให้ฟังหน่อยแล้วกัน
เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ครั้งนึงเลยก็ว่าได้ นั่นคือ “การทำธุรกิจขายหนังสือในงาน มอ.วิชาการ”
ซึ่งนอกจากขายหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังมีนิทรรศการหนังสือทำมือที่พวกเราได้ร่วมกันทำด้วย

book-business

ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเรามีแรงกระตุ้นคือ เงินและคะแนนเป็นเดิมพัน
เนื่องจากการจัดกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Publishing business ซึ่งผมเรียนในปี 3 เทอม 1 นั่นเอง

ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเราชาวเอกบรรณารักษ์ได้ฝึกอะไรบ้าง
– การติดต่อ และการเจรจากับสำนักพิมพ์ต่างๆ
– การทำการประชาสัมพันธ์การขายหนังสือของพวกเรา
– การดูแล และจัดการสต็อกหนังสือ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ
– การกำหนดราคา และการตั้งเป้าหมายของธุรกิจ (กำไรเท่าไหร่ดีนะ)
– การจัดร้าน และแบ่งเวลากันในเอกเพื่อเฝ้าร้านของพวกเรา
– การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น หนังสือหมด หรือ หนังสือหาย ?
– การคัดเลือกหนังสือ และการศึกษากลุ่มผู้ซื้อ
– ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และกำไร ขาดทุน
และอีกหลายๆ อย่างที่ได้เรียนรู้ และได้ประสบการณ์จริงๆ

book-business1

นอกจากส่วนที่เป็นการทำธุรกิจขายหนังสือแล้ว อีกงานหนึ่งที่น่าสนใจในงานนี้คือ
การจัดนิทรรศการหนังสือทำมือ ซึ่งหนังสือทำมือที่แสดงในงานแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ทำกันเองในภาควิชาบรรณฯ
2. ติดต่อขอตัวอย่างหนังสือจากสำนักพิมพ์ใต้ดินหลายๆ กลุ่ม
3. ขอรับจากร้านหนังสือใต้ดิน มาเพื่อจำหน่ายด้วย

กิจกรรมในครั้งนี้ ใช้เวลา 5 วัน ซึ่งนับว่าเป็นวันที่เหนื่อยเอาการเลยครับ
แต่สิ่งที่ได้กลับมาช่างคุ้มค่ามากมาย และทำให้พวกเรารู้ว่า

?อย่างน้อยจบบรรณารักษ์ก็ไม่จำเป็นต้องทำงานที่ห้องสมุดอย่างเดียว?

รับสมัครเด็กเอกบรรณฝึกงาน (ได้เงินด้วย)

วันนี้น้องอะตอม (บล็อกเกอร์บรรณารักษ์หน้าใหม่ – http://atomdekzaa.exteen.com)
เอาข่าวนี้มาให้ผมช่วยประกาศ ผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีจึงช่วยประชาสัมพันธ์ให้

atom

เรื่องแบบเต็มๆ อ่านได้จากบล็อกของน้องอะตอมได้เลยที่
รับสมัครเพื่อนร่วมฝึกงาน(ได้เงินด้วย) – http://atomdekzaa.exteen.com/20090907/entry

สำหรับผมจะย่อให้อ่านแบบสั้นๆ แล้วกันนะครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่าน้องอะตอมเขามาฝึกงานอยู่ที่ ห้องสมุดบ้านเซเวียร์
(วัดบ้านเซเวียร์ เป็นโบสถ์เล็กที่สังกัดอยู่กับวัดแม่พระฟาติมา)

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดระบบปิดนะครับ
ไม่เปิดให้ผู้ใช้ภายนอกเข้ามาใช้บริการด้วย

ในห้องสมุดแห่งนี้ถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพร้างมาหลายสิบปีแล้ว
ภายในประกอบด้วยหนังสือที่เรียงอยู่บนชั้นประมาณ? 6,000 เล่ม
และหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาต่างประเทศ
หนังสือเน้นไปในทางศาสนามากกว่าเนื้อหาอื่นๆ

เพื่อนๆ ลองคิดดูสิครับว่า ความรู้มากมายถูกบรรจุอยู่ในสถานที่แห่งนี้ โดยที่ไม่มีการจัดการมาสักระยะนึงแล้ว
มันน่าเสียดายมั้ยหล่ะครับ ความรู้ถูกจัดเก็บแทนที่จะนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์

ด้วยเหตุนี้น้องอะตอมจึงต้องค่อยๆ จัดการไปตั้งแต่เรื่องการจัดเรียง catalog และอีกสาระพันปัญหา

ทุกวันเสาร์จะต้องทำความสะอาดหนังสือ โดยการหยิบหนังสือจากชั้นลงมาปัดฝุ่นครับ
แล้วก็นำสำลีชุบแอลกอฮอล์มาเช็คบริเวณปกหนังสือ ตามด้วยผ้าสะอาดอีกสักที

ส่วนวันอาทิตย์ก็สบายกว่าวันเสาร์หน่อย แต่ต้องใช้ความคิดมากๆ นั้นคือ ต้อง catalog
โดยง่ายๆ ครับก็ copy catalog จาก library of congress ก็พอไหว

เข้าเรื่องดีกว่า สรุปว่าน้องอะตอมต้องการหาเพื่อนมาร่วมกันฝึกงานตามที่เล่าไว้ด้านบน
อ๋อ ลืมบอกไปขอเพศชายนะ เพราะว่าจะได้เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก เพราะบางวันอาจจะเลิกดึก

งานที่ทำก็ไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมงหรอกครับ
มีค่าขนมด้วยนะชั่วโมงละ 40 บาท ทำเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น

ถ้าน้องๆ เอกบรรณคนไหนสนใจ ก็ส่งเมล์มาที่ atom.naruk@hotmail.com
โดยแนบไฟล์(word 2003-2007) ประวัติส่วนตัวมาละกัน
รายละเอียด รูปถ่าย ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น อายุ สถานที่เรียน สาขา รหัสประจำตัวนิสิตนักศึกษา
ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ อีเมล์ และอะไรก็ได้ที่อยากจะให้เรารู้อ่ะ
และบทความ “ทำไมถึงสนใจในงานนี้”

อ๋อ ปิดรับสมัคร 25 กันยายน 2552

ก่อนจากกันขอฝากประโยคเดียวกับน้องเค้าแล้วกันนะครับว่า
“งานมีเยอะ อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกทำไหม แค่นั่นเอง”

จำหรือเปล่าว่าบรรณารักษ์เรียนอะไรบ้าง

หลายปีแล้วสินะครับ ที่ผมไม่ได้กลับไปที่ มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน
สำหรับผมแล้วการเรียนที่ ม.สงขลานครินทร์ฯ วิชาเอกบรรณารักษ์ เป็นสิ่งที่มีความทรงจำมากมาย
วันนี้ผมขอย้อนเวลากลับไปเล่าเรื่องเก่าๆ ในอดีตนะครับ

library-science

ก่อนอื่น ผมคงต้องถามเพื่อนๆ ก่อนว่า เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่า “คนที่จบบรรณารักษ์เขาเรียนอะไรกันบ้าง”
เอาหล่ะครับไม่ต้องเดามาก วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ดู

ปล.ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์ของผม และเป็นหลักสูตรที่ผมเรียนนะครับ
ซึ่งอาจจะไม่เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ นะครับ รวมถึงวิชาที่เรียนอาจจะต่างกันบ้าง อันนี้เพื่อนๆ ก็ต้องลองดูกันนะ

เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1 เทอม 1

– วิชา Use of libraries and study skill

วิชานี้ผมได้รู้จักคำว่าห้องสมุดอย่างแท้จริงว่ามีหลายประเภทและเหนือสิ่งอื่นใด
ผมรู้จักคำว่า ?service mind? ในวิชานี้นั่นเอง

ปี 1 เทอม 2
– วิชา Audio Visual Material and Equipment for library and information center

วิชานี้ผมได้เข้าใจเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อปรพเภทต่างๆ
ได้เข้าไปดูงานที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้วย ทำให้สนุกกับวิชาชีพนี้ขึ้นเรื่อยๆ
ตอนแรกนึกว่าเรียนบรรณารักษ์จะเกี่ยวกับหนังสืออย่างเดียว เจอวิชานี้เข้าไปต้องเปลี่ยนความคิดเลย


ปี 2 เทอม 1

– วิชา Fundamentals of library and information science
– วิชา Mass Communication
– วิชา Reading Improvement
– วิชา Information technology


เจอเข้าไปแต่ละวิชาตั้งแต่บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการอ่าน และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นไงบ้างหล่ะวิชาเอกบรรณฯ ของเรามีความหลากหลายขึ้นมากหรือปล่าว
อย่างที่เคยเขียนบความก่อนหน้าว่าทำไมผมถึงเรียนและเป็นบรรณารักษ์
เพราะขนาดวิชายังมีความหลากหลายและทุกวิชาชีพมีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง

ปี 2 เทอม 2
– วิชา Collection development
– วิชา Library service
– วิชา Application of information technology
– วิชา Computer for library system


วิชาที่เรียนในเทอมนี้เน้นไปในส่วนของห้องสมุดทั้งในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
งานบริการในห้องสมุด รวมถึงงานไอทีในห้องสมุดด้วย
เทอมนี้เป็นเทอมที่ผมรู้สึกว่าบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ไม่เหมือนในอดีตที่มีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยบรรณารักษ์ในการทำงาน
และเทอมนี้เป็นเทอมที่ผมค่อนข้างมีความสุขและประทับใจมากๆ ที่ได้เลือกเรียนบรรณารักษ์

ปี 3 เทอม 1
– วิชา Information service
– วิชา Publishing business
– วิชา Dewey decimal classification system
– วิชา Cataloging
– วิชา Lit. of science and technology

เทอมนี้ผมลงวิชาเอกเยอะที่สุดเท่าที่จำได้และเหนื่อยมากๆ ด้วย
วิชาในเทอมนี้ทั้งการจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์ทรพยากรสารสนเทศ
เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันแบบเจาะลึกกันเลยเพราะถือเป็นงานที่สำคัญมากในห้องสมุด
ส่วนวิชาการบริการสารสนเทศเป็นวิชาที่เสมือนการให้บริการตอบคำถามด้านสารสนเทศซึ่งชอบมาก
เพราะต้องไปนั่งที่ห้องสมุดจริงๆ และคอยตอบคำถามให้เพื่อนๆ นักศึกษาและผู้ใช้ห้องสมุด
ส่วนวิชาที่เหนื่อยอีกวิชาหนึ่งคือธุรกิจสิ่งพิมพ์
วิชานี้สอนเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่มว่าต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง (เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพของสำนักพิมพ์)
ต้องทำหนังสือทำมือ และการรับหนังสือจากสำนักพิมพ์มาขาย จำได้ว่าตอนนั้นเราได้กำไรสักสองพันเห็นจะได้
ส่วนวิชาวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ทำให้ผมสนใจอ่านข่าว และงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ปี 3 เทอม 2
– วิชา Library of congress classification system
– วิชา Research
– วิชา Information market and business
– วิชา Database design and development
– วิชา digital library


เทอมนี้เป็นการเรียนต่อยอดจากเทอมที่แล้ว ซึ่งเทอมที่แล้วผมเรียนจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ แต่เทอมนี้ผมเรียนการจัดหมู่แบบ LC
อีกวิชาที่สุดหินคือการทำวิจัยตอนนั้นผมเลือกทำในเรื่อง
?การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคซีดีเถื่อนในสังคมไทย? ซึ่งต้องใช้เวลาการทำสามเดือนเต็มๆ เหนื่อยสุดๆ
วิชาตอนมาเรื่องการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสารสนเทศเป็นวิชาที่ต้องคิดมากซึ่งทำให้รู้จักโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือจากอยู่แต่ห้องสมุด
การออกแบบฐานข้อมูลวิชานี้ผมได้ลองออกแบบระบบร้านขายยาขึ้นมาดูก็พอน่าจะเอาไปใช้เล่นๆ ได้นะ อิอิ
ส่วนวิชา ห้องสมุดดิจิทัล เป็นวิชาที่บ่งบอกว่าห้องสมุดเดี๋ยวนี้มีรูปแบบใหม่ขึ้น
ได้รู้จักคำว่า ?E-library / Digital Library / Virtual Library?
ว่าทั้งสามตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร เอาไว้ว่างๆ จะเอามาเขียนให้อ่านแล้วกันนะครับ

ปี 4 เทอม 1
– วิชา Information storage and retrieval
– วิชา Information resource in the humanities
– วิชา Library Administration
– วิชา Seminar in library and information science


4 วิชาสุดท้ายของการเรียนที่เป็นวิชาการซึ่งเป็นวิชาที่เป็นที่สุดของห้องสมุด
เรื่องระบบ IR เป็นสิ่งที่ต้องมองในเรื่องการจัดเก็บก็ต้องสามารถค้นคืนในสิ่งที่จัดเก็บได้
วรรณกรรมมนุษย์วิชานี้ทำให้เราได้ออกค่ายไปจังหวัดปราจีนบุรีด้วย
นั่งเครื่องบินจากหาดใหญ่มาลงกรุงเทพแล้วต่อด้วยรถทัวร์มาที่ปราจีนบุรี
วิชาการบริหารห้องสมุด ตอนแรกผมนึกว่าจบบรรณารักษ์ก็เป็นได้แค่เพียงผู้ปฏิบัติงานแต่พอเจอวิชานี้ก็แสดงให้เห็นว่า
คนที่จะบริหารห้องสมุดได้ควรจะต้งเรียนรู้หลักการของห้องสมุดถึงจะเข้าใจกระบวนการทำงานในห้องสมุดด้วย
วิชาสุดท้ายสัมมนาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาที่เปิดโอกาส
ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตนเองชอบให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้ฟัง สนุกมากเลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

สุดท้ายที่ปี 4 เทอม 2 เราทุกคนก็แยกย้ายกันไปฝึกงานในแต่ละที่
และก็จบลงด้วยความภาคภูมิใจว่า ผมนี่แหละคนที่จบบรรณารักษ์

เป็นไงบ้างครับ ต่างจากเพื่อนๆ บ้างหรือปล่าว
ยังไงถ้าต่างกันบ้างก็ลองบอกผมหน่อยนะครับ อิอิ

เล่าเรื่องตอนฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

วันนี้ผมขอย้อนวันวานไปสักตอนที่ผมยังเรียนปริญญาตรีก่อนแล้วกัน
ในตอนนั้นผมฝึกงานครั้งแรกของการเรียนบรรณารักษ์ โดยผมเลือกที่จะฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

dsc00017 Read more

ฝึกงานบรรณารักษ์ที่นี่สิท้าทายที่สุด

เด็กบรรณารักษ์ที่กำลังหาที่ฝึกงานอยู่ลองฟังทางนี้นะครับ
สถานที่ที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้เป็นสถานที่ที่น่าฝึกงานมากๆ และท้าทายความสามารถสุดๆ

blind-library Read more

ฝึกงาน 3 : ไม่อยากฝึกงานในห้องสมุด

สองตอนที่แล้วผมเน้นการฝึกงานในห้องสมุด และการฝึกเป็นบรรณารักษ์
ตอนนี้ผมจะแนะนำสถานที่ หรือ หน่วยงานด้านสารสนเทศที่ไม่มีคำว่า ?ห้องสมุด? บ้าง
เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับเด็กเอกบรรณฯ ที่อยากได้ประสบการณ์ใหม่ๆ …..

training-library3

ก่อนอื่นผมคงต้องเกริ่นสักนิดก่อนนะครับว่า
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ พอจบมาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานในห้องสมุดหรอกนะครับ
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ ก็ไม่ได้เรียนวิชาทางห้องสมุดอย่างเดียว
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ มีงานมากมายให้ทำมากกว่าการเป็นบรรณารักษ์

จากความเข้าใจที่ผิดๆ ของคนอื่นๆ ที่บอกว่า
เรียนบรรณารักษ์จบมาก็ต้องทำงานในห้องสมุด ประโยคนี้ไม่จริงเลยนะครับ

คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ เวลาเรียนวิชาบางส่วนก็เป็นเรื่องของห้องสมุดจริง
แต่อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของหลักการในการดูแลสารสนเทศ ค้นหาสารสนเทศ จัดเก็บสารสนเทศ ด้วย
ซึ่งแนวคิดด้านการจัดการสารสนเทศ การสืบค้น การจัดเก็บ
นอกจากห้องสมุดแล้ว ยังมีอีกหลายสถานที่ หลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน

ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้น ทำใหู้้รู้ว่าการฝึกงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องสมุดอย่างเดียว
นักศึกษาบรรณารักษ์สามารถที่จะเลือกฝึกในหน่วยงานที่มีการใช้สารสนเทศในองค์กรก็ได้เช่นกัน

ซึ่งในลักษณะการทำงานในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ก็มีการใช้สารสนเทศที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน
องค์กรเหล่านี้ก็ต้องการคนที่รู้จักการจัดการสารสนเทศมากขึ้น (อันเป็นที่มาของหลักสูตรการจัดการสารสนเทศ)
ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งที่องค์กรเหล่านี้ต้องการ ก็คือ คนที่เรียนด้านสารสนเทศ ซึ่งก็ไม่พ้นบรรณารักษ์นั่นแหละครับ

การฝึกงานในลักษณะนี้เพื่อนๆ อาจจะไม่ต้องใช้ความรู้ทางด้านบรรณารักษ์อย่างเต็มขั้น
แต่สิ่งที่ต้องใช้แน่ๆ คือ ความรู้และทักษะการประยุกต์ใช้ในสิ่งที่เรียนมามากกว่า
การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ด้วยเช่นกัน
และเหนือไปกว่านั้น คือ การฝึกตนเองในเรื่องของ Service mind
เนื่องจากงานทางด้านสารสนเทศมักเกี่ยวกับงานบริการอยู่เสมอๆ ดังนั้นการรู้จักการบริการด้วยใจจะเป็นสิ่งดี

สถานที่ที่ผมแนะนำ คือ :-
1. สำนักพิมพ์ต่างๆ เช่น se-ed, amarin, ?
2. เว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูล เช่น sanook, kapook, mthai, ?
3. สื่อมวลชนแขนงต่างๆ เช่น อสมท, สำนักข่าว, ?
4. บริษัทที่ผลิตฐานข้อมูล เช่น Infoquest

การฝึกงานในลักษณะนี้จะเป็นการเปิดมุมมองให้เพื่อนๆ เอกบรรณารักษ์มากกว่าฝึกในห้องสมุด
ดังนั้นถ้าอาจารย์ที่ปรึกษาไม่จำกัดว่า จะต้องฝึกห้องสมุดด้านนอก ผมก็ขอแนะนำให้หาหน่วยงานในลักษณะนี้แทน
ซึ่งจะทำให้เพื่อนๆ มองอนาคตในการทำงานได้ด้วย ยกเว้นแต่อยากเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดแบบจริงๆ

ฝึกงาน 2 : ฝึกงานห้องสมุดเฉพาะ

จากเมื่อวานที่ผมแนะนำให้ไปฝึกงานห้องสมุดทั่วไป
วันนี้ผมขอแนะนำการฝึกงานในห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ ห้องสมุดเฉพาะ

training-library2

กล่าวคือ นอกจากน้องๆ จะได้ฝึกในวิชาทางด้านบรรณารักษ์แล้ว
น้องๆ จะได้รู้จักการใช้ศาสตร์ความรู้เฉพาะทางในห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม การฝึกงานในห้องสมุดแบบปกติ
จะทำให้ผมเข้าใจการทำงานในลักษณะของห้องสมุดทั่วไป
แต่ผมเริ่มรู้สึกว่าอยากได้อะไรที่มากกว่าการฝึกงานในห้องสมุดทั่วไปอีก

คำแนะนำของอาจารย์หลายๆ คนจึงบอกกับผมว่า
ลองไปดูพวกห้องสมุดเฉพาะทางดีมั้ย เผื่อว่าจะได้พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ อีกรูปแบบนึง

นั่นจึงเป็นที่มาของการแนะนำการฝึกงานในสถานที่แบบนี้

สถานที่สำหรับฝึกงานที่ผมจะแนะนำ
คือ :-
1. ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
2. ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ
3. ห้องสมุดมารวย
4. ห้องสมุดเพื่อการออกแบบ (TCDC)
5. ห้องสมุดแฟชั่น


ความรู้ทางด้านห้องสมุด + ความรู้เฉพาะทาง
เช่น
ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่น
ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ห้องสมุดมารวย = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านการเงิน และการลงทุน

การฝึกงานในรูปแบบนี้ เหมาะสำคัญคนที่ชอบงานห้องสมุดในรูปแบบของการประยุกต์ใช้
เพราะการทำงานห้องสมุดเฉพาะเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในความรู้เฉพาะด้านด้วย
และก็ต้องให้บริการผู้ใช้ในรูปแบบของผู้เชียวชาญองค์ความรู้ด้านนั้นๆ ด้วย

เอาเป็นว่าการฝึกงานในรูปแบบนี้ผมก็แนะนำให้ไปฝึกงานเช่นกัน