ห้องสมุดยุคใหม่ : การแบ่งพื้นที่ภายในห้องสมุดประชาชนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ห้องสมุดยุคใหม่ : การแบ่งพื้นที่ภายในห้องสมุดประชาชนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ห้องสมุด ไม่ใช่ “ห้องเก็บหนังสือ” หรือ “โกดังหนังสือ” หรือ “ห้องอ่านหนังสือ” เพียงอย่างเดียวอีกแล้ว หนึ่งในภารกิจของห้องสมุดที่เราปฏิเสธไม่ได้ คือ “การเป็นแหล่งเรียนรู้” ซึ่งการเรียนรู้ก็ไม่ได้มีเฉพาะแค่เรื่องการอ่านเพียงอย่างเดียว

ศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา

ประโยคยอดฮิตของผม คือ “ความรู้สำคัญกว่าสถานที่”
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถานที่ของห้องสมุดเพื่อให้ตอบโจทย์นี้

Read more
เปลี่ยนค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” ให้เป็น “อาหาร”

เปลี่ยนค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” ให้เป็น “อาหาร”

อย่างที่เรารู้ๆ กันนะครับว่า “ค่าปรับ” เมื่อเวลาลูกค้ามาคืนหนังสือเกินกำหนด
มันไม่ใช่ “รายได้” ที่ห้องสมุดพึงปรารถนา …. (เราไม่ได้เห็นแก่รายได้แบบนี้)

food for fines

หลายๆ ห้องสมุดในต่างประเทศจึงคิดวิธีเพื่อจัดการกับ “ค่าปรับ”
ซึ่งมีวิธีหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าชอบมากๆ นั่นคือ “Food for Fines

ห้องสมุดหลายๆ แห่งเปลี่ยนจากการเก็บค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” มาเป็น “อาหาร”
“ให้ผู้ใช้บริการที่ยืมหนังสือเกินกำหนดถูกปรับโดยจ่ายเป็น อาหาร”

โครงการนี้ไม่ได้จัดกันทั้งปีนะครับ แต่ละห้องสมุดก็จะกำหนดช่วงเวลาไม่เหมือนกัน
บางแห่งใช้เวลา 1 เดือน บางแห่งใช้เวลา 1 สัปดาห์ อันนี้แล้วแต่เลยครับ

สิ่งที่ห้องสมุดจะได้ คือ หนังสือที่บางทีผู้ใช้ยืมไปลืมไปแล้ว
และแน่นอน “อาหาร” เพื่อนำไปมอบให้เด็กๆ หรือคนเร่ร่อน หรือ….

สิ่งที่ผู้ใช้บริการจะได้ คือ แทนที่จะต้องจ่ายค่าปรับแพงๆ ก็จ่ายในรูปแบบอื่นแทน
และนอกจากนั้นยังได้ทำบุญร่วมกับห้องสมุด ส่งความปรารถนาดีให้ผู้อื่นด้วย

จากรายงานของแต่ละห้องสมุดนอกจากคนที่ต้องเสียค่าปรับด้วยอาหารแล้ว
ยังมีผู้ใช้ที่ไม่ต้องเสียค่าปรับ นำอาหารมามอบเพื่อร่วมบุญด้วย

เอาเป็นว่าการจัดการกับค่าปรับแบบนี้ เพื่อนๆ ว่าดีมั้ยครับ

Credit : Youtube greenelibrary Victoria de la Concha
IMAGE : Cumberland Public Libraries

ตาข่ายแห่งการเรียนรู้ : พื้นที่อ่านแนวใหม่สำหรับห้องสมุด

บริษัท PlayOffice (ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อการเรียนรู้) จากประเทศสเปน
ได้ออกแบบแนวคิดในการอ่านแบบไร้ขีดจำกัด ให้กับบรรดาห้องสมุดต่างๆ ในประเทศสเปน
โดยใช้แนวคิด Reading Net หรือ “โครงข่ายแห่งการอ่าน”

BZYfmb9CMAALYR6

Reading Net ความแปลกใหม่บนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ที่แฝงไปด้วยความสนุก การใช้งานได้จริง เพิ่มพื้นที่ให้กับห้องสมุด

แนวคิดง่ายๆ คือ การนำตาข่ายมาขึงเพื่อให้สามารถนอนอ่าน นั่งอ่าน ….
จริงๆ แล้วตอนแรกผมนึกถึงเปลญวนที่มีไว้นอนเล่น ใต้เงาไม้แบบร่มๆ (นึกแล้วอยากนอนเลย)

reading-net-by-playoffice-designboom-10

ผมเห็นไอเดียนี้แล้วนึกถึงแบบแปลนของห้องสมุดประชาชนต่างๆ ในประเทศขึ้นมาเลย
โดยเฉพาะห้องสมุดที่มี 2 ชั้น แล้วช่วงกลางของอาคารเป็นพื้นที่โล่ง
ถ้ามี Reading net แบบนี้มาขึงคงสร้างบรรยากาศ ความแปลกใหม่ให้มากทีเดียว

reading-net-by-playoffice-designboom-01

แต่เรื่องนี้คงต้องศึกษากันอย่างละเอียดนะครับ
เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องมาเป็นอันดับ 1
เอาเป็นว่าต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกันด้วยแล้วกันครับ

Credit photo : http://www.designboom.com/design/reading-net-turns-libraries-into-hanging-learning-labs-11-13-2013/