ห้องสมุดของท่าน มีหนังสือดีที่แนะนำโดย McKinsey หรือยัง

ห้องสมุดของท่าน มีหนังสือดีที่แนะนำโดย McKinsey หรือยัง

ก่อนอื่นต้องถามพี่น้องชาวบรรณารักษ์ก่อนว่ารู้จัก McKinsey แค่ไหน แล้ว McKinsey คือบริษัทอะไร คำตอบ McKinsey คือ 1 ในบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งนอกจากจะทำธุรกิจให้คำปรึกษากับบริษัทชั้นนำต่างๆ แล้ว บริษัทนี้ก็มีการจัดพิมพ์หนังสือแนวคิดด้านการเป็นผู้นำ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลด้วย

Read more
รีวิวหนังสือ “พัฒนาห้องสมุดยุคใหม่ ผู้ใช้บริการสำคัญที่สุด”

รีวิวหนังสือ “พัฒนาห้องสมุดยุคใหม่ ผู้ใช้บริการสำคัญที่สุด”

นั่งจิบกาแฟยามเช้าไป อ่านหนังสือไป เลยเขียนอะไรได้ไม่เยอะนะครับวันนี้

หนังสือเล่มที่ผมจะกล่าวถึงวันนี้ ผมซื้อมานานมากและได้มีโอกาสนำข้อคิดจากหนังสือมาใช้บ้างในบางครั้ง ซึ่งผมจึงอยากนำเรื่องราวที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้มาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้รู้กัน หนังสือที่ผมจะเขียนถึงวันนี้ ชื่อ “Putting the user first : 30 Strategies for transforming library services” เอาหล่ะครับมาเริ่มอ่านกันเลย

Read more
รีวิวหนังสือ “แนวทางสำหรับบรรณารักษ์หนึ่งเดียวในห้องสมุด”

รีวิวหนังสือ “แนวทางสำหรับบรรณารักษ์หนึ่งเดียวในห้องสมุด”

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ผมโพสรูปหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมอยากอ่าน ชื่อเรื่องว่า “Managing the One-Person Library” ซึ่งมีเพื่อนๆ สอบถามและอยากให้ผมช่วย Review หนังสือเล่มนี้ วันนี้สะดวกแล้วครับ มาอ่านรีวิวจากผมกันได้เลย

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Managing the One-Person Library
ผู้แต่ง : Larry Cooperman
ISBN : 9781843346715
ปีพิมพ์ : 2015
จำนวนหน้า : 88 หน้า

Read more
มาจัดทำวีดีโอแนะนำหนังสือแบบง่ายๆ กันเถอะ (Video Books Review)

มาจัดทำวีดีโอแนะนำหนังสือแบบง่ายๆ กันเถอะ (Video Books Review)

ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ผมได้ทดลอง Review หนังสือในห้องสมุดมารวยแบบใหม่
จากเดิมที่ต้องเขียน Review แบบยาวๆ เปลี่ยนเป็นวีดีโอแนะนำหนังสือแบบไม่เกิน 2 นาที
ผลตอบรับก็พอใช้ได้ วันนี้จึงขอเขียนเรื่องนี้เพื่อให้เพื่อนๆ ลองนำไปใช้กันบ้าง

Read more
นายห้องสมุดชวนอ่าน “คิดทันโลก”

นายห้องสมุดชวนอ่าน “คิดทันโลก”

จริงๆ ได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว แต่เพิ่งจะมีเวลาหยิบอ่าน
เห็นว่าน่าสนใจดีเลยขอหยิบมาเขียนถึงนะครับ

รายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือ
ชื่อเรื่อง : คิดทันโลก – ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จัดพิมพ์โดย : TKpark
ISBN : 9786162352454 Read more

นายห้องสมุดชวนอ่าน : คู่มือกิจกรรมพี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง

วันนี้นายห้องสมุดมานั่งอยู่ในงานประชุมวิชาการประจำปีของ TK park หรือที่เรียกว่า Thailand Conference on Reading 2013 บังเอิญว่าบูธข้างๆ เป็นบูธของ กทม. เมืองหนังสือโลก แอบเห็นคู่มือเขาน่าสนใจ เลยขอแนะนำเป็นพิเศษ หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง”

world book capital 20131

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง”
จัดพิมพ์โดย : สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว
ปีพิมพ์ : 2555
จำนวนหน้า : 160 หน้า

หนังสือคู่มือเล่มนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อโปรโมทกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” ซึ่งเปิดตัวเมือง 2 ตัวที่แล้วเอง

“พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สนับสนุนการเป็นเมืองหนังสือโลกของกรุงเทพมหานคร โดยการรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นพี่อาสาสมัคร จำนวน 2000 คน ทั่วพื้นที่ของกรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมการอบรมความรู้ ทักษะ ด้านเทคนิคการอ่าน การสร้างกระบวนการกลุ่ม แล้วนำไปถ่ายทอดสู่รุ่นน้องอาสาสมัครจำนวน 10,000 คน ดดยการชักชวนน้องๆ ให้สนใจและตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างภาวะผู้นำกับพี่อาสาสมัครในการนำน้องๆ เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่กรุงเทพมหานครจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
– กระบวนการสร้างเครือข่ายส่งเาริมการอ่าน
– หนังสือให้อะไรแก่ชีวิต
– การอ่านร้อยกรอง
– บทกวีว่าด้วยหนังสือ
– เรื่องสั้นชุด “โลกนี้น่ารัก”
– นิทานสัตว์นิสัยดี
– นิทานจากครู

เอาเป็นว่าหนังสือเล่มนี้ก็น่าสนใจมาก แต่เสียดายที่ผมไม่สามารถนำตัวเล่มกลับมาได้ แต่ทางทีมงานสัญญาว่าจะส่งไฟล์ pdf มาให้ผมอีกทีทางเมล์ เอาเป็นว่าถ้าได้ไฟล์ pdf มาแล้วผมจะนำขึ้นมาให้ดาวน์โหลดอีกทีนึงแล้วกันครับ

ปล. นอกจาก คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” แล้วยังมี สมุดบันทึกข้อมูลการอ่าน ด้วย

world book capital 20133

นายห้องสมุดชวนอ่าน ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)

วันสบายๆ วันนี้ นายห้องสมุดขอแนะนำหนังสือสักเล่มแล้วกัน นั่นคือหนังสือ “ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)” แบบว่าหนังสือเล่มนี้อ่านแล้วรู้สึกดีมากๆ เพราะมีแง่คิดที่ผมว่าคนทำงานด้านบริการควรเก็บมาคิดหลายเรื่อง เอาเป็นว่าลองอ่านบล็อกเรื่องนี้ก่อนแล้วกัน

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)
ผู้เขียน : Carmine Gallo
ผู้แปล : ศรชัย จาติกวาณิช
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล
ปีพิมพ์ : 2555
จำนวนหน้า : 304 หน้า
ISBN : 9786167060392
ราคา : 239 บาท

ในยุคนี้หากพูดถึง “แอปเปิล” ผมเชื่อว่าน้อยคนจะบอกว่าไม่รู้จัก
Mac, Iphone, Ipad, IPOD ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าชื่อดังของ “แอปเปิล”
การที่บริษัทแอปเปิลเติบโตและเป็นที่รู้จักของโลก นั่นแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของบริษัทแห่งนี้

สิ่งหนึ่งที่ผมชื่นชม “แอปเปิล” ไม่ใช่แค่เพียงสินค้าที่เขาจำหน่ายเท่านั้น
แต่ความคิดของ “แอปเปิล” ในแง่ต่างๆ ที่ผมชอบ ไม่ว่าจะเป็นแง่คิดตอนที่แอปเปิลทำ ipod
หรือแม้กระทั่งแง่คิดของการออกแบบร้านของ “แอปเปิล” หรือที่เราเรียกว่า “Apple Store

หนังสือเล่มนี้มีเรื่องอะไรบ้างที่น่าสนใจ (สารบัญ) หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาคใหญ่ๆ คือ

ภาค 1 จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าภายในของคุณ
– ฝันไปให้ไกลกว่าเดิม
– จ้างมายิ้ม
– บ่มเพาะพนักงานที่ไม่กลัว
– สร้างความไว้วางใจ
– จัดให้มีระบบข้อมูลป้อนกลับ
– พัฒนาพนักงานหลายมือ
– มอบอำนาจให้พนักงานของคุณ

ภาค 2 ให้บริการลูกค้าภายนอก
– ทำตามการให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล
– ตั้งนาฬิกาในตัวลูกค้าของคุณใหม่
– ขายประโยชน์
– ปลดปล่อยอัจฉริยะภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวลูกค้า
– สร้างสรรค์ช่วงว้าว
– ฝึกฝนสคริปต์
– ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีเสมอต้นเสมอปลาย

ภาค 3 จัดเวที
– กำจัดความรกรุงรัง
– ใส่ใจในรายละเอียดของแบบ
– ออกแบบประสบการณ์ที่สัมผัสได้หลายมิติ
– สรุป: จิตวิญญาณของแอปเปิล

แค่เห็นสารบัญผมว่าหลายๆ คนก็เริ่มสนใจแล้วใช่มั้ยหล่ะครับ เอาเป็นว่าก็ลองไปหาอ่านได้ที่ร้านหนังสือใกล้บ้านหรือไม่ก็ห้องสมุดกันดูนะครับ (ถ้าไม่มีในห้องสมุดก็เสนอรายชื่อนี้ให้ห้องสมุดซื้อให้ได้นะ)

ปล. หนังสือเล่มนี้ตั้งใจซื้อมาเพื่อแจกเป็นรางวัลให้กับคนที่เล่นกิจกรรมบน
Facebook เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย

อ่านอะไรดี : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่

วันศุกร์ วันสบายๆ แบบนี้ผมขอแนะนำหนังสือสักเล่มดีกว่า (จริงๆ ต้องบอกว่าโปรโมทหนังสือของหน่วยงานตัวเองมากกว่านะ) หนังสือเล่มนี้แค่เห็นชื่อเรื่องก็ต้องบอกว่าสะดุดตาพอสมควรแล้ว นั่นคือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่”

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
จัดพิมพ์โดย : โครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
ปีพิมพ์ : 2554
จำนวนหน้า : 192 หน้า
ISBN : 9786162024672

ชื่อหน่วยงานและโครงการหวังว่าเพื่อนๆ คงคุ้นเคยกันนะครับ เพราะเวลาผมไปบรรยายที่ไหนก็ตามผมก็จะกล่าวถึงหน่วยงานนี้ “ศูนย์ความรู้กินได้” ซึ่งเป็นการพัฒนาต้นแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีนั่นเอง

จากการทำงานพัฒนาระบบห้องสมุดของผม 2 ปีกว่าๆ ทีมงานของเราพยายามถอดความรู้จากประสบการณ์และบทเรียนที่เราได้รู้จากการทำงานต่างๆ และได้รวบรวมเพื่อที่จะจัดพิมพ์ออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และนำไปลองใช้ดู

เนื้อหาในเล่มนี้แบ่งออกเป็น 6 บทหลักๆ คือ
– บานประตูใหม่ เพื่อเข้าถึงความรู้ (เกริ่นความสำคัญของการมีห้องสมุด)
– ศูนย์ความรู้กินได้ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย (ภาพรวมของโครงการและรางวัลห้องสมุดระดับประเทศ)
– การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (พูดเรื่องการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานของอาคารห้องสมุด)
– ปรุง “ความรู้” ให้ “กินได้” (พูดเรื่ององค์ความรู้และการเลือกองค์ความรู้ไปใส่ในห้องสมุด)
– สร้างเครือข่ายผู้ใช้ห้องสมุด เครือข่ายผู้สนับสนุน (การใช้สื่อสังคมออนไลน์และบทบาทของเครือข่ายห้องสมุด)
– การบริหารและพัฒนาบุคลากรในห้องสมุด (พูดเรื่องการพัฒนาบรรณารักษ์ในรูปแบบต่างๆ)

นอกจากนี้ยังมีส่วนภาคผนวกที่จะเพิ่มความรู้เกี่ยวกับ “การสร้างห้องสมุด” และ “ห้องสมุด 2.0” ด้วย

เอาเป็นว่าเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ผมต้องขอบอกเลยครับว่า เน้นข้อมูลที่เพื่อนๆ สามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งนั้น ตัวอย่างกิจกรรมดีๆ การเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดแบบถูกใจผู้ใช้บริการ หัวข้อการประเมินผลกิจกรรมต่างๆ และนวัตกรรมการบริการห้องสมุดแบบใหม่ๆ

หนังสือเล่มนี้ต้องขอบอกตามตรงว่ามีจำนวนจำกัดมากๆ
ดังนั้นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 นี้จะมีให้แค่บางหน่วยงานเท่านั้น
แต่รับรองว่ายังคงมีการพิมพ์เพิ่มอีกแน่นอน ซึ่งเมื่อไหร่นั้นจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

ส่วนใครที่อยากได้จริงๆ วันนี้ผมมีมาแจก 5 เล่ม แต่ต้องร่วมกิจกรรมอะไรสักอย่างนะครับ
นั่นก็คือ เขียนบทความจำนวน 1 หน้ากระดาษ A4 ในเรื่องใดก็ได้ต่อไปนี้ (เลือกแค่ 1 เรื่องนะครับ)
“ห้องสมุดในยุคใหม่ในสายตาของท่านจะมีลักษณะอย่างไร”
“แนวทางในการเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดให้ตรงใจผู้ใช้บริการ”
“บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องพัฒนาทักษะและมีความสามารถด้านใด”

เขียนเสร็จแล้วให้ส่งมาที่ dcy_4430323@hotmail.com หรือ maykin@okmd.or.th ส่งได้ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 นะครับ ทางทีมงานจะคัดเลือกบทความที่น่าสนใจและนำมาลงในเว็บไซต์ www.kindaiproject.net และลงบทความของท่านในวันที่ 1-5 มิถุนายน 2555 บทความใดได้ลงจะได้รับหนังสือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” คนละ 1 เล่มครับ

กรุณาใส่ชื่อจริงนามสกุลจริง หน่วยงานของท่าน ที่อยู่และเบอร์ติดต่อเพื่อประสานงานการจัดส่งหนังสือมาด้วยนะครับ

กิจกรรมแจกหนังสือจะมีเป็นระยะนะครับ

อ่านอะไรดี : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน

ช่วงนี้มีคนพูดเรื่องห้องสมุดกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เยอะมาก และคำถามนึงที่เพื่อนๆ ถามมาเยอะ คือ “บรรณารักษ์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง” ผมก็แนะนำไปหลายๆ อย่างแต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องย้ำ คือ ภาษาอังกฤษ และวันนี้ผมขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับ “ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์”


ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : English for Public Librarians
จัดพิมพ์โดย : โครงการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปีพิมพ์ : 2552
จำนวนหน้า : 406 หน้า
ISBN : 9786115050086

โจทย์การพัฒนาบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนให้มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นโจทย์ที่ท้าทายผมมาก
ดังนั้นผมจึงต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสอนภาษาอังกฤษ การฝึกอบรมด้านภาษา ฯลฯ
ซึ่งการค้นพบหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมากๆ ครับ จึงต้องเอามาเขียนลงบล็อกให้ได้

หนังสือเล่มนี้อย่างที่ข้อมูลเบื้องต้นบอกว่าเป็นของ มสธ. นั่นแหละครับ
ผมจึงตามไปที่ มสธ. และถามหาหนังสือเล่มนี้ ซึ่งรู้มาว่า มีหนังสือเล่มนี้อยู่จริง แต่ไม่มีจำหน่าย
ดังนั้นผมจึงต้องเสาะหามาให้ได้เพื่อนำมาศึกษา ซึ่งต้องขอขอบคุณอาจารย์น้ำทิพย์มากๆ ที่กรุณาให้ผมนำมาศึกษา

ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
หน่วยที่ 1 Welcoming Visitors
หน่วยที่ 2 Reading for Professional Development
หน่วยที่ 3 Writing for Professional Development

ในแต่ละส่วนเน้นทักษะที่ไม่เหมือนกัน เช่น

หน่วยที่ 1 ที่เกี่ยวกับการต้อนรับผู้ใช้บริการ จะเป็นบทที่เน้นการสนทนา (พูด) เป็นหลัก ซึ่งในบทนี้ที่ผมชอบมากๆ คือ มีสคริปส์ให้อ่านด้วย ประมาณว่าถ้ามีผู้ใช้บริการเข้ามาที่ห้องสมุด สามารถอ่านบทสคริปส์ตามนี้ได้เลยทีเดียว ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
1.1 การกล่าวต้อนรับผู้ใช้บริการ
1.2 การนำชมห้องสมุดในส่วนต่างๆ
1.3 คำถามจำพวก FAQ และการกล่าวขอบคุณและอำลาผู้เยี่ยมชม

หน่วยที่ 2 เน้นทักษะการอ่านเป็นหลัก ซึ่งบรรณารักษ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ หรือการอ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
2.1 การอ่านข้อมูลสารสนเทศ เช่น ข่าว เว็บไซต์ห้องสมุด
2.2 การอ่านที่เกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น catalog
2.3 การอ่านที่เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ

หน่วยที่ 3 เน้นทักษะการเขียนเป็นหลัก ซึ่งการเขียนเป็นเรื่องหนึ่งที่เราจะใช้สื่อสารกับผู้ใช้บริการหรือการติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายห้องสมุดอื่นๆ ในต่างประเทศด้วย ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
3.1 การติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมาย เอกสารต่างๆ
3.2 การติดต่อผ่าน E-mail
3.3 การเขียนแบบฟอร์มต่างๆ

เอาเป็นว่าน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองหามาอ่านกันบ้างแล้วกัน

หนังสือเล่มนี้หายากมากครับ เพราะทำออกมาจำกัด แต่ในช่วงนั้นได้ยินว่ามีหลายห้องสมุดได้รับและเข้าอบรมเรื่องนี้กันไปแล้ว คำแนะนำของผมง่ายๆ คือ หยิบออกมาทบทวนกันบ้างนะครับ ส่วนใครที่ยังไม่มีหนังสือเล่มนี้ ขอให้รอสักครู่ ผมจะนำมาเล่าให้อ่านในบล็อกเรื่อยๆ แล้วกันครับ

ปล. หนังสือเล่มนี้ต้องขอขอบคุณ อาจารย์น้ำทิพย์ วิภาวิน ที่กรุณาให้ผมยืมอ่านและนำมาถ่ายเอกสารครับ

อ่านอะไรดี : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน

แนะนำหนังสือดีๆ มาพบกับเพื่อนอีกครั้งแล้วนะครับ ช่วงนี้ไปยืมหนังสือที่เกี่ยวกับห้องสมุดและการอ่านมาเยอะมากเลย วันนี้ขอยกมาแนะนำสักเล่มแล้วกัน ซึ่งหนังสือที่ผมแนะนำวันนี้ คือ “กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน
สำนักพิมพ์ : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
จำนวนหน้า : 87 หน้า
ปีพิมพ์ : 2554

หนังสือเล่มนี้ถูกจัดพิมพ์โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน มุ่งเน้นอยากให้เด็กและเยาวชนไทยได้เห็นความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ของหนังสือ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์
2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่
3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ


จากการเปิดอ่านอย่างผ่านๆ ได้พบเห็นหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย
เช่น

1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์

– หนังสือเล่มแรก ดวงแก้วแห่งปัญญาเด็กไทย (หนังสือที่ปรากฎหลักฐานว่าแต่งขึ้นสำหรับเด็กเล่มแรก ได้แก่ “จินดามณี”)
– หนังสือสอนทักษะชีวิตเล่มแรก คือ “สวัสดิรักษา” แต่งโดย สุนทรภู่
– แบบเรียนภาษาไทย เรียนความรู้ด้วยความงาม (แบบเรียนหลวง ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร)
– การบันทึกข้อมูล (การจารึกบนศิลา เขียนบนใบลาน เขียนลงกระดาษข่อย พิมพ์อักษรไทย)

2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่

– สร้างแบบเรียน คือ สร้าง “แบบ” เด็กไทย
– สร้างเสริมแบบเรียนไทยโดยบาทหลวงฝรั่ง
– หนังสือนิทาน-อ่านสนุก…ปลูกฝังความดีด้วยความงาม
– หนังสือดีที่ต้องห้มในสมัยรัชกาลที่ 6-7 (ทรัพยศาสตร์เล่ม 1-2 โดยพระยาสุริยานุวัตร)
– เพลงกล่อมเด็ก : จากมุขปาฐะสู่หนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยเล่มแรก

3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ

– นิตยสารหรือจดหมายข่าวสำหรับเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่จัดทำโดยโรงเรียนต่างๆ เช่น

— จดหมายเหตุแสงอรุณ : แสงแรกแห่งอรุณของนิตยสารเพื่อเด็ก (จัดทำโดยโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง)
— กุลสัตรี : ปฐมฤกษ์เพื่อโรงเรียนสตรีและนักเรียนสตรี (นิตยสารของมหามกุฏราชวิทยาลัย)
— ราชินีบำรุง : สื่อสร้างเสริมคุณภาพผู้หญิงยุคใหม่ (ของโรงเรียนราชินี)
— อัสสัมชัญอุโฆษสมัย : จากครูฝรั่งถึงนักเรียนไทย ก้องไกลในกระแสกาล (ของโรงเรียนอัสสัมชัญ)
— แถลงการศึกษาเทพศิรินทร์ : แปลงเพาะต้นกล้า “นักประพันธ์” (ของโรงเรียนเทพศิรินทร์)

– นักเขียนที่มีบทบาทและสำคัญในอดีต

— “ศรีบูรพา” กุหลาบ สายประดิษฐ์ : บุคคลสำคัญของโลกทางศิลปวัฒนธรรม
— ม.จ.อากาศดำเกิง : เปิดโลกและชีวิตด้วย ละครแห่งชีวิต
— สด กูรมะโรหิต : ผู้สร้างอาณาจักรจรรโลงวรรณกรรม

นี่ก็เป็นตัวอย่างเรื่องเด็ดๆ ที่เราจะได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้
เอาเป็นว่าผมได้เข้าใจและเห็นที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์หนังสือเด็กที่อธิบายได้ดีทีเดียว

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถหาหนังสือเล่มนี้ได้ที่ TKpark เลยนะครับ ยืมมาอ่านได้ฟรีเลยครับ
หรือไม่ผมก็ขอแนะนำให้อ่านออนไลน์ไปเลยที่ http://issuu.com/happy2reading/docs/happyreading7

อย่าลืมไปหาอ่านกันเยอะๆ นะครับ ลองดูแล้วคุณจะชอบหนังสือเล่มนี้เหมือนผม

แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน http://www.happyreading.in.th/