ความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก (ข้อมูล Survey)

ความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก (ข้อมูล Survey)

วันนี้ขอโพสอะไรสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิกมาให้อ่าน ทั้งนี้ข้อมูลมาจากการสอบถามบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก จำนวน 336 คน

Wiley ได้นำมาจัดทำเป็น Infographic

Credit : https://www.wiley.com/network/librarians/librarians-infographics/infographic-insights-on-librarian-challenges-amp-success-metrics-in-asia-pacific
Read more

คนทำงานด้านห้องสมุดจำเป็นต้องจบบรรณารักษศาสตร์หรือไม่

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้ถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผ่านทาง Library poll วันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามแบบง่ายๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของเราให้เพื่อนๆ ช่วยกันตอบ

ซึ่งคำถามในวันนี้มาจากประโยคบอกเล่าต่างๆ เช่น
“ใครๆ ก็เป็นบรรณารักษ์ได้”
“เอาใครมาทำงานห้องสมุดก็ได้”
“งานห้องสมุดง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้”

เมื่อได้ฟังแล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ครับ

เอาเป็นว่าไปโหวตกันได้เลย

[poll id=”26″]

เอาเป็นว่าช่วยกันโหวตเยอะๆ นะครับ
แล้ววันหลังผมจะมาเขียนบทความนี้ให้อ่านครับ

ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่

นานแล้วที่ไม่ได้ตั้งแบบสอบถาม วันนี้พอดีได้คุยกับเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงเลยได้ไอเดียแบบสอบถาม
ซึ่งแบบสอบถามนี้มาจากการสนทนาระหว่างผมกับเพื่อนเรื่อง “ห้องสมุดต้องมีสื่อสังคมออนไลน์ด้วยหรือ?”

เอาเป็นว่าก่อนอ่านเรื่องนี้ ผมต้องขอถามเพื่อนๆ ก่อน ว่า “ห้องสมุดต้องมีสื่อสังคมออนไลน์ด้วยหรือ?” (สำรวจแบบจริงจังนะอย่าตอบเล่นๆ)

[poll id=”20″]

เอาหล่ะเมื่อตอบเสร็จแล้วมาอ่านเรื่องการสนทนาของผมกับเพื่อนกันต่อ เรื่องมันมีอยู่ว่า…

เพื่อนผมจุดประเด็นเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
ซึ่งเพื่อนผมคนนี้มองว่าห้องสมุดหลายแห่งมีการใช้งานของสื่อสังคมออนไลน์แบบแปลกๆ
เช่น มีการ invite เกมส์ออนไลน์, มีการแชร์ของ (เล่นเกมส์), ไม่ค่อยมีการอัพเดทข้อมูลสถานะ…. (ดูรูป)

ซึ่งเพื่อนผมก็เลยถามว่าแล้วตกลงห้องสมุดมีเครื่องมือแบบนี้ไว้เพื่ออะไร

อืม….บางประเด็นผมก็ไม่สามารถแก้ให้เพื่อนๆ ได้ เพราะหลักฐานมันก็ปรากฎจริงๆ
แต่ผมก็บอกได้ว่าก็ยังมีห้องสมุดอีกไม่น้อยนะที่นำมาใช้ประโยชน์จริงๆ
เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (www.facebook.com/kindaiproject)

จากประเด็นนี้ผมกับเพื่อนจึงมานั่งระดมหัวกันว่า ตกลงแล้ว “ห้องสมุดจำเป็นต้องมีสื่อสังคมออนไลน์หรือปล่าว”
คำถามตอบสำหรับสังคมปัจจุบัน คือ “ควรมี – ต้องมี” ห้ามตอบว่า “ไม่ต้องมีก็ได้”

ทำไมหล่ะ…..ลองนั่งคิดดูนะครับว่าถ้าเรามีกิจกรรมดีๆ ที่จัดในห้องสมุดเราจะประชาสัมพันธ์อย่างไร
– ทำป้ายแล้วมาติดบอร์ดในห้องสมุด (ผู้ใช้บริการอ่านบ้างหรือปล่าว)
– ส่งอีเมล์ไปหาผู้ใช้บริการและแจ้งข่าวสาร (ผู้ใช้บริการเปิดบ้างหรือปล่าว / ไม่แน่อาจมองห้องสมุดเป็นสแปม)
– เอาขึ้นเว็บห้องสมุดเลย (แน่ใจว่าผู้ใช้บริการจะเปิดเว็บไซต์ห้องสมุด)

ปัญหาต่างๆ มากมายยังมีอีกเยอะครับ

อ่ะงั้นเราทำตัวให้เป็นผู้ใช้บริการบ้าง หลักๆ แต่ละวันผู้ใช้บริการทำอะไรบ้าง
…กิจกรรมหลักๆ คือเข้าอินเทอร์เน็ต
แต่อย่าเพิ่งดีใจครับ เขาไม่ได้เข้าเว็บห้องสมุดหรอก
เว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการปัจจุบันเข้าหลักๆ คือ www.facebook.com นั่นแหละครับ

อ่ะกลับมาที่คำถามดังนั้นถ้าเราทำให้ผู้ใช้บริการเป็นเพื่อนกับเราใน facebook แล้ว
นั่นก็หมายความว่าเรามีโอกาสที่จะประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ หนังสือดีๆ กิจกรรมดีๆ ให้ผู้ใช้บริการได้
แล้ว

แล้วมองในอีกมุมนะ ว่าถ้าหาก facebook ของห้องสมุดเต็มไปด้วยเกมส์ผู้ใช้จะคิดว่าอย่างไร…

สื่อสังคมออนไลน์มีหลายตัวนะที่อยากแนะนำ facebook, twitter, youtube, slideshare, flickr….. เอาเป็นว่าใช้ได้ทั้งหมดเลย แถมฟรีด้วย

เรื่องสนทนายังคงเดินหน้าต่อไปเรารู้แล้วว่าผู้ใช้บริการมีชีวิตที่อยู่ในออนไลน์มากมาย
และเราเองในฐานะห้องสมุดเราก็ต้องนำเสนอความรู้ต่างๆ เหล่านี้ให้ผู้ใช้บริการ

แล้วตกลงการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในทางอื่นเกิดจากอะไรหล่ะ
– เกิดจากกระแส หรืออาจจะเกิดจากแฟชั่น (คนอื่นเล่นห้องสมุดก็เลยต้องเล่น)
– เกิดจากคำสั่ง (ผู้บริหารสั่งมาก็ทำๆ ให้เขาหน่อย)

เอาเป็นว่าถ้านำมาใช้แบบเรื่อยเปื่อยไม่มีทิศทาง เราก็ไม่สามารถที่จะใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพด้วย
การบังคับให้ทำอาจจะได้ผลในช่วงแรก แต่พอนานไปก็เริ่มเปื่อยและก็ปล่อยให้สื่อสังคมออนไลน์เฉาลงไปเรื่อยๆ

เพื่อนๆ ที่ต้องการรู้เรื่องสื่อสังคมออนไลน์มากกว่านี้ก็ลองค้นหาอ่านในบล็อกผมได้นะ
เพราะผมเขียนเรื่องเหล่านี้ไปเยอะพอสังคมแล้ว ทั้ง facebook – twitter

สุดท้ายนี้เพื่อนๆ รู้หรือยังครับว่า “ห้องสมุดจำเป็นต้องมีสื่อสังคมออนไลน์หรือปล่าว”
และตอบได้หรือยังว่า มีแล้วนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และเพื่อนๆ สนุกกับการใช้แค่ไหน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…

ก่อนถึงวันจันทร์วันที่แสนน่าเบื่อ ผมขอเขียนเรื่องเบาๆ แบบไม่ต้องคิดอะไรมากมายให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน
เรื่องวันนี้ผมขอตั้งเป็นแบบสอบถามแล้วกัน เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…
ว่าเพื่อนคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุดคืออะไร

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมีมากมาย ซึ่งหากห้องสมุดเข้าใจผู้ใช้บริการ
เพื่อนๆ ก็สามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้และปรับปรุงห้องสมุดและดึงดูผู้ใช้บริการได้
ซึ่งจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดของเพื่อนๆ นั่นเอง

ผมอยากขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ (ทุกสาขาวิชาชีพ) ช่วยกันตอบแบบสอบถามนี้ด้วยนะครับ

แบบสอบถาม : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…

[poll id=”19″]

ผมขอตอบประเดิมเป็นคนแรกแล้วกัน …. ผมขอเลือกบรรณารักษ์กับความเอาใจใส่ในงานบริการ
เพราะหากบรรณารักษ์ปรับปรุงตัวเองได้ ตัวบรรณารักษืเองก็จะพัฒนางานต่างๆ ในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็น
การสร้างบรรยากาศในการอ่าน การจัดกิจกรรมต่างๆ และบริการด้วยใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการพอใจครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองเลือกคำตอบกันดูนะครับ ใครมีความเห็นเพิ่มเติมก็สามารถเสนอได้ครับ

เรื่องไหนที่ทำให้คุณหงุดหงิดบ้างครับ…คุณบรรณารักษ์

เมื่อวานผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงหงุดหงิดเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย
ทำให้ผมนึกได้ว่า เราน่าจะสำรวจบรรณารักษ์กันบ้างนะครับว่า หงุดหงิดเรื่องอะไรบ้างหรือปล่าว

library-stress

คำถามง่ายๆ แต่อาจจะตอบยากนิดนึง คือ
“เรื่องในห้องสมุดเรื่องไหนที่เห็นแล้วทำให้หงุดหงิดที่สุด”

[poll id=”17″]

เอาเป็นว่าขอเก็บข้อมูลดูหน่อยแล้วกันนะครับ
เผื่อว่าผมจะหาวิธีมาช่วยให้คุณไม่หงุดหงิดกับเรื่องต่างๆ เหล่านั้นได้
และเหนือสิ่งอื่นใดข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เพื่อนๆ ในวงการรู้จุดที่ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย

เอาเป็นว่าก็ตอบกันเยอะๆ นะ สำหรับผมขอประเดิมให้คนแรกเลย (ผมเองก็มีเรื่องบางอย่างที่หงุดหงิดเช่นกัน)

“หงุดหงิดกับสถานะของหนังสือที่ avilable แต่บนชั้นหนังสือกลับไม่มีตัวตน”

แบบว่าระบบค้นหาดี แต่พฤติกรรมการจัดเก็บทั้งผู้ใช้และบรรณารักษ์อาจจะมีปัญหาอ่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองโหวตมากันดูแล้วกันนะครับ อันไหนผลโหวตมากๆ
ผมจะมาเขียนบล็อกหาทางช่วยแก้ไขครับ

ห้องสมุดควรมีของที่ระลึกหรือไม่

เวลาผมไปเที่ยวไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม ผมก็มักจะหาของที่ระลึกของสถานที่นั้นกลับมาฝากเพื่อนๆ เสมอ
ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองย้อนกลับมาสู่ห้องสมุดต่างๆ บ้างว่า …
“ถ้าผมไปห้องสมุดต่างๆ แล้วพบว่ามีของที่ระลึกของห้องสมุด … มันจะดีแค่ไหนน้า”

ภาพจาก The Library Store at Central Library
ภาพจาก The Library Store at Central Library

แบบสอบถามวันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามเกี่ยวกับของที่ระลึกในห้องสมุด
ลองเข้ามาตอบกันดูนะครับ

[poll id=”16″]

หลักๆ แล้วของที่ระลึกที่ผมเห็นมีอยู่สองรูปแบบใหญ่ๆ ก็คือ

1. ของที่ระลึกที่แจกฟรี เช่น ที่คั่นหนังสือ, ปฏิทิน, โปสการ์ดห้องสมุด ฯลฯ
ของที่ระลึกประเภทนี้ห้องสมุดทำขึ้นเพื่อแจกให้ผู้ใช้ทั่วไปของห้องสมุด
บางที่วางไว้ที่โต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ บางที่วางไว้ที่เคาน์เตอร์
ซึ่งผู้ที่เข้ามาใช้ก็สามารถนำของเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างสะดวก

2. ของที่ระลึกที่มีไว้จำหน่าย เช่น เสื้อยืดห้องสมุด, ปากกา, แว่นตา, กระเป๋าสะพาย ฯลฯ
ของที่ระลึกประเภทนี้มักเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวหรือไม่ก็แฟนพันธุ์แท้ของห้องสมุดนั้นๆ
ห้องสมุดบางแห่งเปิดเป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกด้านหน้าของห้องสมุดเลย
ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ของห้องสมุดอีกช่องทางหนึ่ง แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่าแล้วแต่นโยบายของห้องสมุด

calendars2009

บางแห่งไม่สนับสนุนให้มีของที่ระลึกเนื่องจากเป็นภาระของห้องสมุดเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
นอกจากนี้อาจจะมองในเรื่องของการจัดการที่ค่อนข้างยุ่งยากด้วย เกี่ยวกับการเคลียร์เงินให้ฝ่ายบัญชี

การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ห้องสมุดในต่างประเทศหลายๆ แห่งมีวิธีจัดการโดย
มอบหมายหน้าที่ในเรื่องการจัดทำของที่ระลึกและการจำหน่ายให้เครือข่ายของห้องสมุดเป็นคนจัดการ
เพื่อเป็นเป็นการลดภาระเรื่องการจัดการและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายคนรักห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าที่เกริ่นมาเยอะๆ แบบนี้เพียงแค่อยากจะรู้ว่า
ห้องสมุดเมืองไทยสมควรมีของที่ระลึกบ้างหรือปล่าว ถ้ามีต้องการของที่ระลึกแบบไหน

เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบนะครับ

ปล.ภาพประกอบจาก http://www.lfla.org/store/

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการเข้าถึงห้องสมุดเฉพาะ

วันนี้ในขณะที่ผมส่งเมล์ให้เพื่อนๆ อยู่ ก็มีอีเมล์ฉบับนึงเด้งขึ้นมาหาผม
ชื่อเมล์ว่า “ช่วยทำแบบสอบถามการวิจัยให้หน่อย (สำคัญมาก) เป็นของอาจารย์ สวนดุสิต สำรวจ GIS?”
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ช่วยกระจายข่าวและตอบแบบสอบถามเลยแล้วกัน

เนื้อความในอีเมล์นะครับ

mail-latter

ก่อนอื่นเราก็ต้องเข้าไปดูเว็บไซต์ที่เขาบอกมาซะก่อน

http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/index01

gis-library

มีเว็บแบบว่าเป็นเรื่องเป็นราวมากๆ ครับ

อ่านวัตถุประสงค์คร่าวๆ แล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นการหาตำแหน่งของห้องสมุดเฉพาะโดยแสดงผลด้วยแผนที่
จริงๆ ก็คล้ายๆ กับการทำ Directories ของห้องสมุดเฉพาะแหละครับ
แต่พิเศษตรงที่ว่านอกจากจะแสดงผลเป็นที่อยู่แล้วยังจะสามารถดูแผนที่ของห้องสมุดนั้นๆ ได้ด้วย

งั้นผมของลองเล่นนิดนึงนะครับ

map-library

เอาเป็นว่าเล่นแล้วนะครับ งั้นผมขอตอบแบบสอบถามเลยแล้วกััน

แบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ตอนนะครับ
เอาเป็นว่าผมประเมินให้แล้ว (ไม่ขอนำผลที่ผมประเมินมาให้ดูนะ)

ยังไงผมก็ขอเชิญเพื่อนๆ ไปร่วมกันทำแบบสอบถามนี้กันนะครับ
http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/questionare.html

งานบรรณารักษ์ที่เพื่อนๆ ชอบที่สุด คือ…

งานในห้องสมุดถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน บรรณารักษ์ในแต่ละส่วนก็มีหน้าที่ไม่เหมือนกัน
วันนี้ผมเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่า “หากเพื่อนๆ เลือกทำงานในห้องสมุดได้ เพื่อนๆ จะเลือกงานไหน”

[poll id=”11″]

การตอบแบบสอบถามนี้เป็นเพียงความคิดส่วนบุคคลของแต่ละคนนะครับ
เพราะในความเป็นจริงแล้วผมเชื่อว่าทุกคนก็คงต้องทำงานทุกอย่างที่กล่าวมาอยู่ดี
คงเลือกไม่ได้หรอกครับว่าจะอยู่งานไหน เอาเป็นว่าผมแค่ถามงานที่ชอบในความรู้สึกก็แล้วกัน

library-work

คำอธิบายงานในแต่ละส่วน

1. งานบริหารห้องสมุด
– งานวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ ในห้องสมุด ควบคุมงบประมาณและทำรายงานสถิติต่างๆ

2. งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
– งานจัดซื้อจัดหาทรัพยากรต่างๆ เข้าห้องสมุด

3. งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งาน catalog นี่แหละ ไม่ว่าจะ dewey หรือ LC ก็ตาม

4. งานบริการยืม-คืน
– ให้บริการหน้าเคาน์เตอร์อย่างเดียว ยิงบาร์โค้ตหนังสือยืม และหนังสือคืน

5. งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
– งานจัดการด้านวารสาร นิตยสารต่างๆ เช่น เย็บเล่มวารสาร ทวงวารสารที่ยังไม่ส่ง ฯลฯ

6. งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
– งานที่ให้คำปรึกษา และนั่งตอบคำถามแก่ผู้ใช้บริการ ปัจจุบันอาจจะตอบผ่าน Chat, MSN, Mail ฯลฯ

7. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
– งานดูแลระบบไอทีต่างๆ ในห้องสมุด รวมถึงระบบห้องสมุดอัตโนมัติด้วย

8. งานโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์
– งานให้บริการสื่อมัลติมีเดียต่างๆ เช่น ซีดี วีซีดี ดีวีดี อาจจะรวมถึงห้องมัลติมีเดียด้วย (ถ้ามีในห้องสมุด)

9. อื่นๆ (โปรดระบุ)
งานอื่นๆ ที่อาจจะไม่ระบุถึง ณ ที่นี้ เช่น จัดชั้นหนังสือ ฯลฯ

นิยามของงานไหนที่ไม่ชัดเจนเพื่อนๆ อาจจะตอบ อื่นๆ มานะครับแล้วก้ระบุมาให้ผมด้วยว่างานอะไร

ถ้าเป็นไปได้นอกจากการเลือกที่แบบสอบถามแล้ว ผมขอให้เพื่อนๆ ตอบลงมาใน comment ด้วยนะครับ
โดยรูปแบบในการตอบแบบสอบถามนี้ ผมกำหนดไว้แล้ว มีดังนี้

1. ประเภทของห้องสมุดที่คุณทำงาน (ห้องสมุดโรงเรียน, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, ห้องสมุดเฉพาะ, ห้องสมุดองค์กรอื่นๆ)
2. งานที่คุณทำในห้องสมุด
3. งานที่คุณอยากทำในห้องสมุด พร้อมเหตุผล

——————————————

ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม (คำตอบของผมเอง)

ประเภท : ห้องสมุดประชาชน
งานที่ทำในห้องสมุด : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานที่อยากทำในห้องสมุด : บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
เหตุผล : เพราะว่าการตอบคำถามให้ผู้ใช้บริการจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ทำให้เรามีความกระตือรือร้น
ในการอยากรู้อยากเห็น แสวงหาคำตอบมาตอบผู้ใช้เท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ให้เราด้วยครับ

——————————————

อ๋อสำหรับคนอื่นที่ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ ขอแค่ระบุว่าอยากทำงานด้านไหนในห้องสมุดก็พอแล้วครับ

ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ

แบบสอบถามเรื่องโปรแกรม Open Source ในห้องสมุด

วันนี้ผมได้รับแบบสอบถามมาชิ้นนึงจาก อีเมล์กลุ่มของบรรณารักษ์ทั่วโลก
แบบสอบถามดังกล่าวได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Open Source ในห้องสมุด

oss4lib Read more