เปลี่ยนค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” ให้เป็น “อาหาร”

เปลี่ยนค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” ให้เป็น “อาหาร”

อย่างที่เรารู้ๆ กันนะครับว่า “ค่าปรับ” เมื่อเวลาลูกค้ามาคืนหนังสือเกินกำหนด
มันไม่ใช่ “รายได้” ที่ห้องสมุดพึงปรารถนา …. (เราไม่ได้เห็นแก่รายได้แบบนี้)

food for fines

หลายๆ ห้องสมุดในต่างประเทศจึงคิดวิธีเพื่อจัดการกับ “ค่าปรับ”
ซึ่งมีวิธีหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าชอบมากๆ นั่นคือ “Food for Fines

ห้องสมุดหลายๆ แห่งเปลี่ยนจากการเก็บค่าปรับหนังสือจาก “เงิน” มาเป็น “อาหาร”
“ให้ผู้ใช้บริการที่ยืมหนังสือเกินกำหนดถูกปรับโดยจ่ายเป็น อาหาร”

โครงการนี้ไม่ได้จัดกันทั้งปีนะครับ แต่ละห้องสมุดก็จะกำหนดช่วงเวลาไม่เหมือนกัน
บางแห่งใช้เวลา 1 เดือน บางแห่งใช้เวลา 1 สัปดาห์ อันนี้แล้วแต่เลยครับ

สิ่งที่ห้องสมุดจะได้ คือ หนังสือที่บางทีผู้ใช้ยืมไปลืมไปแล้ว
และแน่นอน “อาหาร” เพื่อนำไปมอบให้เด็กๆ หรือคนเร่ร่อน หรือ….

สิ่งที่ผู้ใช้บริการจะได้ คือ แทนที่จะต้องจ่ายค่าปรับแพงๆ ก็จ่ายในรูปแบบอื่นแทน
และนอกจากนั้นยังได้ทำบุญร่วมกับห้องสมุด ส่งความปรารถนาดีให้ผู้อื่นด้วย

จากรายงานของแต่ละห้องสมุดนอกจากคนที่ต้องเสียค่าปรับด้วยอาหารแล้ว
ยังมีผู้ใช้ที่ไม่ต้องเสียค่าปรับ นำอาหารมามอบเพื่อร่วมบุญด้วย

เอาเป็นว่าการจัดการกับค่าปรับแบบนี้ เพื่อนๆ ว่าดีมั้ยครับ

Credit : Youtube greenelibrary Victoria de la Concha
IMAGE : Cumberland Public Libraries

ที่มาและแนะนำห้องสมุดเด็กดรุณบรรณาลัย

ที่มาและแนะนำห้องสมุดเด็กดรุณบรรณาลัย

ภาคต่อจากหัวข้อ
“บทบาทของห้องสมุดเด็กเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย “ดรุณบรรณาลัย” ห้องสมุดหนังสือภาพแห่งแรก”
โดยคุณสุธาทิพ ธัชยพงษ์ – รองประธานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

media-20160317 (1) Read more

สรุปงานบรรยาย “โครงการหนังสือเล่มแรก”

สรุปงานบรรยาย “โครงการหนังสือเล่มแรก”

ตามหัวข้อที่มาฟังจริงๆ ชื่อหัวข้อ คือ
“บทบาทของห้องสมุดเด็กเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย “ดรุณบรรณาลัย” ห้องสมุดหนังสือภาพแห่งแรก”
โดยคุณสุธาทิพ ธัชยพงษ์ – รองประธานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

12674913_10153565884943348_1171826834_o Read more

เพจแนะนำ โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก Library at Your Nose Tip

นานๆ ทีจะว่างเขียนบล็อก วันนี้ผมขอเขียนแนะนำหน้าแฟนเพจใน Facebook บ้างดีกว่า ซึ่งผมเองก็เป็นแฟนเพจของหลายๆ เพจบน Facebook เช่นกัน และรู้สึกว่าบางทีน่าจะนำมา review ให้เพื่อนๆ ได้รู้จักบ้าง

เริ่มวันแรกด้วย เพจนี้เลย : โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก (Library at Your Nose Tip)
http://www.facebook.com/LibraryAtYourNoseTip

library_atyour_nose_tip

ก่อนอื่นไปดูเขาแนะนำตัวกันก่อนเลยครับ (ขออนุญาต copy มาให้อ่าน)

โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก – Library at Your Nose Tip

โครงการที่มีชื่อมาจากละครเวทีที่ ป๋าเต็ด แห่ง FAT Radio เคยเล่นเมื่อหลายปีก่อน ชื่อ สุภาพบุรุษสุดปลายจมูก ซึ่งผมชอบเพลงประกอบของมันมาก (อัดเทปไว้ ตอนนี้เทปตลับนั้นยังอยู่) และ ชื่อนี้ผมต้องการจะสื่อว่า วิธีสร้างห้องสมุดง่ายๆ อยู่ใกล้แค่ปลายจมูก

โครงการนี้เป็นโครงการรับบริจาคหนังสือ (และเงิน) เพื่อไปส่งต่อให้ห้องสมุดที่ขาดแคลน เป็นการสนองความสนุกส่วนตัว และ ผู้ที่ต้องการร่วมสนุกไปด้วยกัน โครงการนี้แอบมีเป้าหมายจะไปให้ครบ 76 จังหวัด โดยจะทำทุก 3 เดือน การเลือกโรงเรียนหรือสถานที่ที่จะไปเป็นไปตามความพอใจเท่านั้น เพราะเชื่อว่าหนังสือถ้าอยู่ในมือผู้รู้ค่าก็มีประโยชน์เองแหละ การทำบุญร่วมกันอาจจะทำให้มาเจอกันอีกในชาติหน้า ควรใช้วิจารณญาณในขณะที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนก่อนตัดสินใจร่วมทำบุญ

แค่หน้าแนะนำตัวผมว่าก็เก๋ใช่ย่อยเลยครับ แถมมีเป้าหมายด้วยนะ

ในเพจนี้มีอะไรบ้าง (ขอสำรวจดูสักหน่อย)
– ข่าวสารกิจกรรมของเพจที่ออกไปช่วยห้องสมุดต่างๆ
– การแนะนำและวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
– ช่องทางในการรับบริจาคหนังสือ
ฯลฯ

อัพเดทความเคลื่อนไหวของโครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก
เท่าที่ตามอ่านในหน้าเพจ ตอนนี้เห็นว่าดำเนินกันไป 41 จังหวัดแล้วนะครับ

library_atyour_nose_tip1

นับว่าเป็นเพจที่มีกิจกรรมมากกว่าแค่ออนไลน์จริงๆ….

ตัวอย่างของการเป็นช่องทางในการรับบริจาคหนังสือและสื่อเพื่อห้องสมุด

library_atyour_nose_tip2

เอาเป็นเจอเพจดีๆ แบบนี้แล้ว ผมเองในฐานะของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยจึงขอแนะนำให้เพื่อนๆ ไปตามเป็นแฟนเพจด้วยนะครับ

http://www.facebook.com/LibraryAtYourNoseTip

คราวหน้าผมจะแนะนำเพจไหนอีก เพื่อนๆ ต้องรอติดตามแล้วกันนะครับ

โครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553

เริ่มต้นกันแล้วนะครับสำหรับปีนี้ การคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
ซึ่งเช่นเคยครับงานนี้จัดโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (TLA)

library-award

ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี
เป็นที่รู้กันว่าจะเป็นช่วงที่มีการคัดเลือกห้องสมุดดีเด่นในแต่ละปี

ปีนี้ก็เช่นกันครับ ทางสมาคมห้องสมุดฯ ได้ประกาศโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553 แล้ว
และกำหนดการก็ไม่ได้ต่างอะไรจากเดิมมากมาย (ก.ค-ก.ย = คัดเลือกห้องสมุดดีเด่น)

การประกวดห้องสมุดดีเด่นแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
1. ห้องสมุดเฉพาะดีเด่น
2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยดีเด่น
3. ห้องสมุดประชาชนดีเด่น
4. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็กดีเด่น
5. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลางดีเด่น
6. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ดีเด่น
7. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษดีเด่น

ซึ่งกำหนดการของโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น
พค. 53 สมาคมฯ จัดทำบันทึกแจ้งประธานชมรมฯ เพื่อพิจารณาคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น
กค. ? กย. 53 แต่ละชมรมฯ ดำเนินการคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
ตค. 53 แต่ละชมรมฯ นำเสนอห้องสมุดดีเด่นแก่สมาคมฯ
พย. 53 สมาคมฯ รวบรวมข้อมูลห้องสมุดดีเด่นเพื่อจัดทำ Presentation
ธค. 53 สมาคมฯ จัดพิธีมอบรางวัลห้องสมุดดีเด่นในการประชุมสามัญประจำปี

ทำไมต้องให้รางวัล แล้วรางวัลนี้มันมีประโยชน์อย่างไร
– ความภูมิใจของหน่วยงานหรือองค์กร
– กำลังใจในการทำงาน และพัฒนาห้องสมุดตนเองต่อไป
– ทำให้ห้องสมุดอื่นๆ มีต้นแบบในการทำงาน

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ให้เข้าไปอ่านได้ที่
เอกสารแนะนำโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันนี้ผมขอแนะนำโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
จริงๆ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้จักหรอก อาศัยแต่การค้นหาข้อมูลบนเว็บแล้วนำมาเรียบเรียงให้อ่านแล้วกันนะ

encyclopedia-library-thai

ข่าวการเปิดโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ทำให้ผมรู้จักโครงการนี้มากขึ้น

พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ซึ่งเป็นประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ได้กล่าวข้อความบทหนึ่งในงานเปิดตัวห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ว่า

“การหาความรู้ไม่ใช่มีแต่ในห้องเรียน แต่นักเรียนยังสามารถหาความรู้ได้จากห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดสารานุกรมไทยฯนั้น จะหาความรู้ได้ทั้งเรื่องฟ้าร้อง สึนามิ หรือโรคภัยต่าง ๆ ซึ่งการที่เยาวชนไทยรู้จักหาความรู้จากห้องสมุด จะเป็นการปลูกฝังพื้นฐานให้เยาวชนได้ศึกษาหาความรู้จนกระทั่งเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ และควรใช้ห้องสมุดให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่”

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน จะดำเนินการ 10 แห่ง ดังนี้
– หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม จังหวัดกรุงเทพฯ
– โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
– โรงเรียนโยธินบูรณะ จังหวัดเพชรบุรี
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์
– โรงเรียนในจังหวัดตรัง 2 แห่ง
– โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย
– โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพฯ อีก 2 แห่ง

โดยมี collection หลักๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ ก็ก็คือหนังสือสารานุกรมทุกฉบับ
ไม่ว่าจะเป็นสารานุกรมแบบธรรมดา หรือ สารานุกรมฉบับส่งเสริมความรู้

นอกจากจะดำเนินพัฒนาด้านสถานที่แล้ว โครงการนี้ยังได้จัดสร้างรถตู้ห้องสมุดสารานุกรมไทยฯ อีก 1 คัน
เพื่อนำหนังสือสารานุกรมไทยฯ ไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทยอีกด้วย

—————————————-
ขอประชาสัมพันธ์อีกรอบนะครับ (เพื่อนผมฝากมา @gnret)

ประกาศห้องสมุดประชาชนนครสวรรค์

ห้องสมุดประชาชนฯ จะหยุดให้บริการเป็นเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2553 โดยปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่าง ห้องสมุดใหม่ โดยการสนับสนุนจากสโมสรไลออนส์ในจังหวัดนครสวรรค์ 4 สโมสร คือ นครสวรรค์ สี่แควนครสวรรค์ เมืองพระบางนครสวรรค์ ปากน้ำโพนครสวรรค์

และเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น ห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ (ตึกปรีดา)

ในเร็วๆ นี้ กับรูปโฉมใหม่ โอ่งโถง สะอาด สงบ และ งามตา
—————————————-

เป็นไงกันบ้างครับ โครงการที่มีประโยชน์แบบนี้ผมก็ขอประชาสัมพันธ์เต็มร้อยเลยนะครับ

สำหรับรายละเอียดของโครงการ หากเพื่อนๆ มีข้อมูลเพิ่มเติม
หรือผูที่ดำเนินการในส่วนนี้ได้ผ่านมาเห็นบล็อกนี้ ผมก็ขอให้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้ผมด้วย
อยากจะช่วยประชาสัมพันธ์จริงๆ ครับ ส่งมาได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com

ไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ผมใช้ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรครับ
คืออ่านหนังสืออะไรก็ได้แล้วเก็บเอาไอเดียที่น่าสนใจมาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟัง

roomtoread

หนังสือที่ผมอ่านก็คือ “ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก” รวมไปถึงการเปิดเว็บไซต์ http://www.roomtoread.org เพื่อเก็บข้อมูล
หัวข้อที่ผมนำมาเสนอเพื่อนร่วมงานในวันนั้น คือ “ข้อคิดและไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read”

ลองอ่านสิ่งที่ผมสรุปเกี่ยวกับโครงการนี้ได้เลยครับ

โครงการ Room for Read ก่อตั้งโดย John wood (ในปี 2000) (John wood อดีตผู้บริหารในไมโครซอฟต์)

โครงการ Room for Read โครงการนี้ทำอะไรบ้าง
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังเป็นฉากๆ แล้วกันนะครับ

โครงการ Room to Read ทำอะไรบ้าง
1. บริจาคหนังสือ ทุนทรัพย์ ให้ห้องสมุดและโรงเรียน
2. สร้างห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และโรงเรียน
3. ให้ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง

หลายๆ คนอาจจะงงว่าทำไมให้ทุนแค่เด็กผู้หญิง ผมขออธิบายง่ายๆ ว่า
เมื่อให้ทุนเด็กผู้ชายแล้ว เด็กผู้ชายก็มักจะเก็บความรู้ไว้กับตัวเองไม่สอนคนอื่น
แต่ถ้าให้เด็กผู้หญิงในอนาคตถ้าพวกเขามีลูกเขาก็จะสอนให้ลูกรักการเรียนได้ครับ

โครงการนี้ดำเนินการในประเทศเนปาล, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, อินเดีย, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้

ผลงานของโครงการ Room to read 2007
– โรงเรียน 155 แห่ง
– ห้องสมุด 1600 แห่ง
– ศูนย์คอมพิวเตอร์ 38 แห่ง
– ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง 4036 คน
– ตีพิมพ์หนังสือ 82 ชื่อเรื่อง


ปรัชญาที่ได้จากการศึกษาโครงการ Room to read

– ทำให้ผู้ที่อยู่ในชมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ แล้วพวกเขาก็จะรู้สึกรักและต้องดูแลมัน (ร่วมลงทุน)
– ถ้าเราไม่รู้จักองค์กรของเราอย่างถ่องแท้ เราก็จะไม่สามารถนำเสนอโครงการสู่สังคมได้
– พยายามนำเสนอความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอให้ทุกคนรับทราบ
– จงคิดการใหญ่ตั้งแต่วันแรกเริ่ม
– การเฝ้าติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เราเข้าใจ การทำงานขององค์กรได้อย่างถ่องแท้ (เป็นการตอกย้ำเจตนา)
– ?นั่นละคือสิ่งที่ผมอยากฟัง เราต้องการคนที่ไม่กลัวงานหนัก ในวงการคนทำงานเพื่อสังคม ผมว่ามีพวกที่ทำงานเช้าชามเย็นชามมากเกินไป?
– เด็กมักถูกชักจูงจากสิ่งที่ผิดได้ง่าย การให้ความรู้ที่ถูก มีคุณธรรม จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
– เงินทองสามารถซื้อความสุขได้เพียงร่างกาย แต่การให้สามารถสร้างความสุขได้ทั้งจิตใจ

นับว่าจากการศึกษาครั้งนี้ถือว่าผมได้ไอเดียที่สำคัญหลายอย่างเลย
บางทีถ้าเพื่อนๆ มีเวลาผมก็ขอแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเรื่อง ?ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก? ดูนะครับ

ขอวิจารณ์เกณฑ์ในการสรรหาบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษ์ฯ

เป็นที่รู้กันนะครับว่าทุกปีทางสมาคมห้องสมุดฯ จะมีการสรรหาบุคคลดีเด่นแห่งวงการวิชาชีพบรรณารักษ์
วันนี้ผมก็มีโอกาสได้อ่านหลักเกณฑ์ในการสรรหาเหมือนกัน เลยอยากเสนอความคิดเห็นนะครับ

good-librarian Read more