ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีโฉมใหม่

ยังจำกันได้มั้ยครับว่าผมเคยแนะนำ “ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี” ไปแล้ว
ถ้าจำไม่ได้ลองอ่านที่เรื่อง “ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี

ภาพจำลองห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ภาพจำลองห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

เป็นยังไงกันบ้างครับ จำกันได้หรือยัง

หลังจากที่โครงการศูนย์ความรู้กินได้เข้ามาปรับปรุง ออกแบบ และตกแต่งใหม่
วันนี้ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้เปลี่ยนไปอย่างที่ว่าเกือบจำไม่ได้เลยก็ว่าได้

ตอนนี้สถานที่พร้อมให้บริการผู้ใช้บริการแล้วนะครับ
และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 24 กรกฎาคม 2553 นี้แล้วด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเอาภาพตัวอย่างมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
แล้วเดี๋ยวถ้ามีเวลา ผมจะเขียนแนะนำบริการใหม่ๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ

ไปดูรูปกันเลย

[nggallery id=25]

ปล. ถ้าอยากรู้ว่าเปลี่ยนแปลงแค่ไหนแนะนำให้ดูในเรื่อง “ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี” ตามนะครับ

1 ปีที่ผ่านมากับตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด

สวัสดีปีใหม่ 2553 นะครับทุกคน วันนี้ก็เป็นวันแห่งการเริ่มต้นใหม่ในปีใหม่ๆ
หากย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว (2552) ปีนี้ผมก็เริ่มทำงานใหม่เช่นเดียวกัน
ในตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด ให้กับโครงการศูนย์ความรู้กินได้

library-system-development

วันนี้ผมขอประมวลเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2552 ให้เพื่อนๆ อ่านกันนะครับ

ชื่อตำแหน่งที่ได้รับ “นักพัฒนาระบบห้องสมุดโครงการศูนย์ความรู้กินได้
ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า OKMD นั่นเอง

ตำแหน่งนี้หากมองแบบผ่านๆ ก็อาจจะคิดว่าเกี่ยวกับ “บรรณารักษ์ด้านไอทีที่ดูแลเรื่องระบบห้องสมุด
แต่ความเป็นจริงแล้ว คำว่าระบบห้องสมุดในชื่อตำแหน่งของผมก็คือ ระบบการทำงานภายในห้องสมุดทั้งหมดต่างหาก

ตั้งแต่งานด้านบริหารห้องสมุด งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
งานเทคโนโลยีต่างๆ ด้านห้องสมุด การออกแบบการทำงานให้กับบรรณารักษ์และห้องสมุด
รวมไปถึงการคิดและสร้างบริการใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องสมุดด้วย

หากพูดว่า “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” เพื่อนๆ อาจจะงงว่าคือนี่คือโครงการห้องสมุดอะไร
โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ โครงการที่จะพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีบาบาททางสังคมมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาห้องสมุดต้นแบบอยู่ คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

งานที่ผมได้ทำมาในปีที่ผ่านมา เช่น
– การจัดการเรื่องการประเมินคุณค่าหนังสือเดิมที่มีอยู่ในห้องสมุด
– การสำรวจและสรุปผลหนังสือที่มีอยู่เดิมในห้องสมุด (Inventory)
– การออกแบบรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ในห้องสมุดประชาชน
– การกำหนดคุณสมบัติระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วไปสำหรับห้องสมุดประชาชน
– การกำหนดคุณสมบัติระบบเว็บไซตของห้องสมุดเพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
– การออกแบบและจัดสถานที่เพื่อให้การทำงานห้องสมุดเป็นไปอย่างราบรื่นและผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้เต็มที่
– การกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสื่อความรู้ที่มีประโยชน์เข้าห้องสมุด

บริการใหม่ๆ และนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องสมุด เช่น
– การจัดมุมให้บริการสำหรับผู้สูงอายุในห้องสมุด
– การสร้าง Path Finder เพื่อบอกขอบเขตของเนื้อหาต่างๆ ในห้องสมุด
– การสร้างกล่องความรู้กินได้ เพื่อบริการองค์ความรู้แบบ one stop sevice

เอาเป็นว่านี่เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ ของงาน ที่ผมกำลังทำนั่นเองครับ
และภายในเดือนเมษายน 2553 เพื่อนๆ จะได้พบกับห้องสมุดแห่งนี้ได้ที่จังหวัดอุบลราชธานีครับ

เพราะห้องสมุด กำลังจะเปลี่ยนไป……

บอกเล่าเก้าสิบ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้”

วันนี้ผมขอแนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” นะครับ
เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ผมทำงานอยู่ด้วยก็เลยอยากให้เพื่อนๆ รู้ และเข้าใจว่าผมกำลังทำอะไร

knowledge-center

ก่อนที่จะเล่าเรื่องของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ให้ฟัง ผมอาจจะต้องเกริ่นข้อมูลทั่วๆ ไปก่อนนะครับว่า

สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 หลายๆ คงได้เรียกสถานการณ์นี้ว่า ?เศรษฐกิจเผาจริง?
จำนวนคนตกงานกว่า 2 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่ กว่า 7 แสนคนไม่มีงานทำ
ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวคนก็จะกลับสู่ต่างจังหวัดบ้านเกิด

อ่านมาแล้วเพื่อนๆ คงจะงง ว่า มันเกี่ยวอะไรกับ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ใช่มั้ยครับ
ผมก็เลยต้องขอตอบว่า “เกี่ยวสิครับ” เพราะว่าบทบาทของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ

กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยการเสนอ และสนับสนุนองค์ความรู้ที่คัดสรรตามความจำเป็น
และความต้องการของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่บนแนวความคิด “เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative economy)”

แล้วเพื่อนๆ ลองคิดต่อนะครับว่า เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีคุณภาพ ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ (คนมีงานทำ)
พอคนมีงานทำก็จะเกิดการจับจ่ายเพื่อการบริโภค และทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ไม่หดตัว

โดยสโลแกนของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ที่ผมชอบมากๆ ก็คือ
?เพราะความรู้ ใช้ทำมาหากินได้?

ต่อมาเรามาดูบทบาท ประโยชน์ และสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในห้องสมุดดีกว่าครับ

บทบาทหลักของโครงการศูนย์ความรู้กินได้

เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ และให้บริการองค์ความรู้ตามความต้องการของหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และภาระกิจของหน่วยงานต่างๆ

เป็นส่วน ?เติม? มุมมองใหม่ๆ ผ่านทางการจัดนิทรรศการ สัมมนา สร้างต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรู้ และปัญญาผลิตวิธีการ และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อหลุดพ้นจากบริบท หรือกรอบแนวความคิดแบบเดิมๆ

รวบรวมข้อมูล + องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากหลายๆ หน่วยงานหลากหลายพื้นที่มาบริหารจัดการให้เกิดการรับรู้ได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ความรู้ได้ถูกนำไปใช้ + ต่อยอดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เชื่อมโยงออกไปจากระดับจังหวัดไปสู่ระดับประเทศ

ประโยชน์ของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพได้ในต้นทุนที่ต่ำ
2. การบริหารจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพของศูนย์ควมรู้กินได้ เป็นการแบ่งเบภาระของผู้ประกอบการในการดูแลบุคลากรท้องถิ่น
3. หน่วยงานในพื้นที่ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่จำเป็นและหลากหลายมากขึ้น

จากสิ่งที่ผมเกริ่น บทบาทของโครงการฯ สโลแกนของโครงการฯ ประโยชน์ของโครงการฯ
เพื่อนๆ คงเกิดคำถามว่า แล้วโครงการนี้ต้องทำอย่างไร ผมก็ขอกล่าวต่อเลยนะครับ

แนวทางในการปฏิบัติของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. นำเสนอเนื้อหา และรูปแบบความรู้ที่จำเป็นตามความต้องการของพื้นที่
2. สร้างภาพลักษณ์ให้กับอาคารห้องสมุดประชาชนในรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ ในการบริการความรู้ตามที่ได้รับการศึกษาวิจัย
3. เปลี่ยนบทบาทของบรรณารักษ์ให้กลายเป็นผู้ที่ให้บริการความรู้ได้ทุกรูปแบบ
4. นำเสนอนิทรรศการ ?ทำมาหากิน(ได้)? เพื่อแสดงตัวอย่างของความคิด วิธีทำ อุปสรรค และการแก้ปัญหา
5. จัดอบรมสัมมนาเพื่อ ?ทำมาหากิน?
6. ถอดบทเรียน ?ทำมาหากิน? เพื่อเปลี่ยน Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge

นี่คือข้อมูลทั่วไปของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้
หวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจในจุดประสงค์ และหลักการของโครงการนี้มากขึ้นนะครับ