บรรณารักษ์แนะนำ app : สื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจของ TKpark

ตามสัญญาครับว่านายห้องสมุดจะมารีวิว Application ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับชาวห้องสมุดเดือนละ 1 app เดือนมกราคมนี้ ผมขอแนะนำ Application ของห้องสมุดไทยแห่งหนึ่ง ต้องบอกว่าเป็น App แรกของห้องสมุดเมืองไทยเลยก็ว่าที่ได้ App นี้มีการรวบรวมสื่อสาระการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากมาย App นี้เป็นของอุทยานการเรียนรู้ หรือ TKpark นั่นเอง

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นย้อนหลังไปสักนิดว่า
จริงๆ แล้ว App นี้ออกมานานพอควรแล้ว แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีการอัพเดทข้อมูลและสื่อใหม่ๆ ลงมาเพียบ
ดังนั้นจึงต้องขอพูดถึงสักหน่อยว่ามีอะไรเด็ดๆ บ้าง

TKapp สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งบนระบบปฏิบัติการ IOS หรือ Android

เพียงแค่ลองค้นคำว่า “TKpark” หรือ “TKapp” ลงไปใน Apple stroe หรือ Google play

Content ที่มีอยู่ใน App นี้ ได้แก่

1. วัตถุเล่าเรื่อง (จำนวน 3 เล่ม)

1.1 กินอยู่อย่างไทย
1.2 ปัจจัย 4 ของชีวิต
1.3 คนก่อนประวัติศาสตร์บนดินแดนไทย

2. หนังสือเสียง (จำนวน 20 เรื่อง)

2.1 เด็กหญิงแก้มใสกับไร่ผัก
2.2 ยายกะตา
2.3 เมืองน่าอยู่ที่หนูรัก
2.4 ซีงอ เจ้าป่าผู้กล้าหาญ
2.5 ดอกสร้อยสุภาษิต
2.6 เมืองขวานทอง
2.7 ยิ้มของหนูดี
2.8 กระต่ายสามพี่น้อง
2.9 หนูแป้งแปลงขุมทรัพย์
2.10 ความฝันของชะเอม
2.11 เพื่อนรักจากต่างดาว
2.12 แม่ไก่ดื้อ
2.13 ดอกรักสัตว์แสนรู้
2.14 ปลาบู่ทอง
2.15 สังข์ทอง
2.16 ช้างดื้อ
2.17 เมืองมหาสารคาม
2.18 เพลงละอ่อน
2.19 เชียงใหม่เมืองบุญ
2.20 ไข่นุ้ยกับแพะน้อยในวันฮารีรายอ

3. เกมบุ๊ค (จำนวน 6 เกมส์)

3.1 สุโขทัย
3.2 รามเกียรติ๋
3.3 ไดโนไดโน่
3.4 อยุธยา
3.5 พลิกฟ้า ล่าดวงดาว
3.6 กุ๊ก กุ๊ก กรู๋ คนสู้ผี

4. เครื่องดนตรีไทย (4 ประเภท)

4.1 ดีด
4.2 สี
4.3 ตี
4.4 เป่า

5. ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน (จำนวน 5 เรื่อง)

5.1 นิราศนครวัด
5.2 ตำราแพทย์แผนโบราณ
5.3 ตำรับแกงไทย
5.4  หนังสือสมุดไทยดำตำราชกมวย
5.5 เพลงดนตรีประวัติศาสตร์

เป็นไงบ้างครับแค่ Content เพียบเลยใช่มั้ยครับ

สำหรับผมเองก็โหลด App นี้มาเพื่อดู Content ต่างๆ เหล่านี้แหละ
ซึ่งผมว่ามีประโยชน์มากมายเลย เช่น

– วัตถุเล่าเรื่อง ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของคนไทยมากขึ้น
– หนังสือเสียงไว้เปิดให้เด็กๆ ฟัง แถมมีเกมส์ฝึกสมองด้วย เด็กๆ ชอบมากเลย
– เกมบุ๊ค ไว้ใช้เวลาเบื่อๆ เล่นเกมส์ของทีเคแล้วต้องการคำแนะนำก็อ่านเรื่องประกอบได้
– เครื่องดนตรีไทย ทำให้เราได้ฟังเสียงของเครื่องดนตรีนั้นจริงๆ มีแบบเป็นเพลงและไล่เสียงด้วย
– ขุมทรัพย์ของแผ่นดินก็เป็นหนังสือที่หาอ่านได้ยากแล้ว

เอาเป็นว่าผมมีติดเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์อย่างที่ว่ามาแหละครับ App ฟรีแถมโหลดได้ง่ายแบบนี้ เพื่อนๆ ไม่ควรพลาดเลย
หรือห้องสมุดอื่นๆ อาจจะดูเป็นตัวอย่างในการพัฒนา App ของตัวเองก็ได้นะครับ

ภาพตัวอย่างการใช้งาน TKAPP

เมนูรวมสื่อ TK app
สื่อชุดวัตถุเล่าเรื่อง
สื่อหนังสือเสียง
สื่อเกมส์บุ๊ค

บรรณารักษ์แนะนำ app : หนอนหนังสือไม่ควรพลาด Goodreads

นานๆ ทีจะมาเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้ผมเลยขอเปิดประเด็นใหม่ซึ่งอยากให้เพื่อนๆ ลองอ่าน
นั่นคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำ App ในโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ที่น่าสนใจ
ซึ่ง app ที่แนะนำในบล็อกนี้จะเกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์ รวมไปถึงคนที่ชอบอ่านหนังสือด้วย

วันนี้ผมขอแนะนำ App ที่เกี่ยวข้องกับคนชอบอ่านหนังสือแล้วกัน
และที่สำคัญ App นี้มาจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ผมชอบใช้ในการบรรยายของผมมากๆ
เว็บไซต์ที่ว่านี้ คือ www.goodreads.com นั่นเอง

เว็บไซต์ goodreads มีความน่าสนใจตรงที่ว่า มันเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์หนึ่งที่รวบรวมคนที่รักการอ่านจากทั่วโลก มีการแนะนำหนังสือต่างๆ มากมายหลายภาษา มีการพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือต่างๆ การวิจารณ์หนังสือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือมากมาย เอาเป็นว่าคอหนังสือหรือเหล่าหนอนหนังสือไม่ควรพลาด ที่สำคัญเว็บไซต์นี้ไม่ได้มีแต่หนังสือภาษาอังกฤษเท่านั้นแต่ยังมีหนังสือ วรรณกรรม เรื่องสั้น ของไทยอยู่เยอะพอสมควรเลย

“เพื่อนๆ อยากรู้มั้ยครับว่ามีคนที่อ่านหนังสือเล่มเดียวกับเพื่อนๆ กี่คน และเข้ารู้สึกยังไงกับหนังสือเล่มนั้น”

“คนที่วางแผนจะซื้อหนังสืออ่สนสักเล่มอยากรู้มั้ยครับว่าหนังสือเล่มที่เรากำลังจะซื้อมีคนพูดถึงอย่างไร”

“คนที่อ่านหนังสือไปแล้วสามารถแชร์ความประทับใจหรือพูดคุยกับคนที่อ่านเล่มเดียวกันได้”

เมื่อรู้แล้วว่าเว็บไซต์นี้ดีขนาดไหน ผมเชื่อว่าถ้าเพื่อนๆ มีโทรศัพท์ smartphone หรือ tablet คงจะต้องไม่พลาดกับ app ของเว็บไซต์นี้ “Goodreads”


ใน app “goodreads” มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
– ค้นหาหนังสือ
– หนังสือของเรา (My book)
– ประวัติส่วนตัว (My profile)
– กลุ่มของฉัน (My group)
– อัพเดท หรือ หนังสือมาใหม่ หรือ วิจารณ์หนังสือล่าสุด (Update)
– เพื่อนของฉัน (My friends)
– สแกนหนังสือ หรือ เพิ่มหนังสือเข้าระบบ (Barcode scan)


กรณีถ้าเพื่อนๆ ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของเว็บไซต์นี้ เพื่อนจะสามารถเข้าได้แค่ ค้นหนังสือ กับ การอ่านวิจารณ์หนังสือล่าสุดเท่านั้น ในเมนูอื่นๆ เพื่อนๆ จะเข้าไม่ได้ แต่เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะสมัครสมาชิกใน app นี้ได้เลย เพียงแค่เพื่อนๆ มี facebook app นี้จะเชื่อมต่อกับ facebook ทำให้เพื่อนๆ ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไรมากมาย (สมัครสมาชิกง่ายมากๆ)


สำหรับคนที่ใช้ android สามารถเข้าไป search หา “Goodreads” ใน https://play.google.com/store
สำหรับคนที่ใช้ IOS ก็เข้าไปหาได้ที่ App Store นะครับ

เอาเป็นว่าก็ลองเข้าไปสมัครและเล่นกันดูนะครับ วันนี้ผมก็ขอแนะนำ app นี้ไว้เพียงเท่านี้ก่อน
ชมภาพการใช้งานของผมได้จากด้านล่างเลยครับ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยประการใดก็สอบถามมาได้นะครับ

ภาพตัวอย่างการใช้งาน app goodreads

 
รายละเอียดของหนังสือ
มีข้อมูลนักเขียนด้วย

ผู้ใช้บริการต้องการอะไรจาก App. ของห้องสมุด (Library Mobile App.)

วันนี้ผลขอนำเสนอข้อมูลจาก Library Journal เกี่ยวกับผลการศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้ใช้บริการที่เกี่ยวกับโปรแกรมของห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สายไม่ว่าจะเป็น Smartphone หรือ Tablet

บทความนี้จริงๆ แล้ว เป็นบทความที่พูดถึงเรื่องสถานะและทิศทางของอปุกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ กับห้องสมุด
ซึ่งจริงๆ เป็นบทความที่ยาวมาก แต่ผมขอคัดออกมาเป็นบางตอนเท่านั้น (อ่านเรื่องเต็มจากที่มาด้านล่างบทความนี้ครับ)

ผลสำรวจสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจาก โปรแกรมห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (Library Mobile App.)

ผลสำรวจจากภาพเราสรุปได้ง่ายๆ เลยว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจาก Mobile App. คือ

– ฟังค์ชั่นการค้นหาหนังสือออนไลน์ (Library Catalog)
– ฟังค์ชั่นการขยายเวลาการยืม หรือ การต่ออายุเวลาการยืมหนังสือ
– ฟังค์ชั่นการจองหนังสือหรือสื่อที่ต้องการ
– ฟังค์ชั่นแนะนำหนังสือใหม่หรือสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ
– ข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือค้นหาห้องสมุดที่อยู่ใกล้ๆ
– ฟังค์ชั่นการวิจารณ์หนังสือ (Review book)
– ฟังค์ชั่นการจัดการข้อมูลส่วนตัว (ประวัติการยืมคืน)
– ฟังค์ชั่นการยืมหนังสือด้วยตัวเอง (ยิงบาร์โค้ตเองได้)
– ฟังค์ชั่นการค้นหาคนอื่นๆ ที่ชอบอ่านหนังสือแนวๆ เดียวกัน
– ฟังค์ชั่นการค้นหาบทความและการเข้าถึงฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับ
– ฟังค์ชั่นการดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
– ฟังค์ชั่นการดาวน์โหลดหนังสือเสียง (Audio-Book)

เป็นยังไงกันบ้างครับตรงกับสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องการด้วยหรือปล่าว

จากบทความนี้เราคงเห็นแล้วว่าความคาดหวังของผู้ใช้เริ่มมีมากขึ้น ดังนั้นการทำงานของบรรณารักษ์ในยุคปัจจุบันอาจจะต้องมีการปรับตัวอย่างเร็ว พอๆ กับความต้องการของผู้ใช้ที่มีความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

เอาเป็นว่าก็เอาใจช่วยนะครับ พี่น้องชาวบรรณารักษ์

ที่มาของบทความนี้ http://www.thedigitalshift.com/2012/02/mobile/the-state-of-mobile-in-libraries-2012/

แนะนำโปรแกรม GooReader ไปใช้ในห้องสมุดเพื่อการค้นหา E-Book

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรมสำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบฟรีๆ ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ
โปรแกรมนี้จะช่วยให้คุณหาหนังสือ E-book และสามารถอ่าน E-book ได้ดีทีเดียว

GooReader มาจาก Google + Reader แน่นอนครับ Google มี Google Book Search
ดังนั้น App นี้ก็เสมือน Client ที่เรียกข้อมูลผ่านทาง Google Book Search นั่นเอง

จุดเด่นของโปรแกรม GooReader
1. ค้นหาหนังสือจาก Google Book Search โดยไม่ต้องเข้า Web Browers
2. Interface ในการนำเสนอค่อนข้างดี เป็นรูปชั้นหนังสือสวยดี
3. สามารถอ่านหนังสือได้สมจริงกว่าอ่านบนเว็บ
4. สามารถดาวน์โหลดไฟล์ออกมาเป็น pdf
5. จำกัดการสืบค้นได้ง่าย
6. โปรแกรมมีขนาดเล็กไม่หนักเครื่อง
7. สำคัญสุดๆ โปรแกรมฟรี

โปรแกรมนี้ผมแนะนำว่าบรรณารักษ์ควรนำไปลงในเครื่องคอมในห้องสมุดนะครับ
เพราะถือเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้เข้าถึงแหล่ง E-book
แถมยังช่วยให้ห้องสมุดลดภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ E-book อีกด้วย

วีดีโอแนะนำโปรแกรม GooReader

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=IlH-NH_yBOI[/youtube]

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปโหลดมาเล่นกันดูนะครับ ที่ http://gooreader.com/

Alexandria โปรแกรมฟรีที่ช่วยจัดการหนังสือในบ้านของคุณ

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์
และมีโอกาสได้ฟังพี่เก่ง (@kengggg) และพี่อาท (@bact) บรรยายเรื่องโปรแกรม Alexandria
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมาก ใช้เพื่อการจัดการหนังสือในบ้านได้เป็นอย่างดี (ห้องสมุดในบ้าน) อิอิ

alexandria

เลยขอนำเรื่องของเมื่อวานมาสรุป + เพิ่มเติมข้อมูลโปรแกรมนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

โปรแกรม Alexandria เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับจัดการ collection หนังสือในบ้านของคุณให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังช่วยจัดการเรื่องการยืมหนังสือจากบุคคลอื่นๆ ที่ต้องการยืมหนังสือจากคุณอีกด้วย

โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ต้องติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบ GNOME
(โดยทั่วไปจะพบ GNOME ใน LINUX หากจะลงใน window ก็ทำได้แต่มีความซับซ้อนหน่อย)

โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาบนพื้นฐานของ Ruby และเป็นโปรแกรมที่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้อีก
ซึ่งมีบางแห่งนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาให้เชื่อมกับเครื่องอ่านบาร์โค้ต รวมไปถึงการสแกนผ่าน webcam ด้วย

alexandria-barcode

หลักการคร่าวๆ ของโปรแกรมนี้ คือ
– เพิ่มหนังสือลงในระบบ (ดึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ หรือคีย์เองก็ได้)
– กรอกข้อมูลรายละเอียดของหนังสือ
– จัดกลุ่มหนังสือเป็น Collection ต่างๆ

เพียงแค่นี้เท่านั้นเองเราก็สามารถมีระบบห้องสมุดส่วนตัวที่บ้านได้แล้ว

คุณสมบัติของโปรแกรมนี้ เช่น
– โชว์ภาพปกหนังสือ
– ดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใหญ่ๆ ได้
– ระบบที่รองรับการยืม (เป็นระบบที่ช่วยเตือนความจำ)
– ระบบจดบันทึกหรือโน้ตข้อความสำคัญของหนังสือได้
– มีระบบดึงคำสำคัญมาสร้างเป็นหมวดหมู่พิเศษได้ (Smart Librarian)

alexandria-book-add

แหล่งข้อมูลของหนังสือที่โปรแกรม สามารถไปดึงมาได้ เช่น
– Amazon
– Proxis
– AdLibris
– Livraria Siciliano
– DeaStore
– Spanish Ministry of Culture
– US Library of Congress
– British Library
– WorldCat

เสียดายที่ยังไม่มีแหล่งข้อมูลของเมืองไทยเลย
ถ้ามีโอกาสผมคงจะไปลองคุยกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ดูให้ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้ไม่ต้องมาคีย์ข้อมูลเองทุกเล่ม


เรื่องมาตรฐานข้อมูลของดปรแกรมตัวนี้ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ
แบบว่ารองรับเกือบทุกมาตรฐาน เช่น Z39.50, YAML, XHTML และอื่นๆ
ครับ

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเพิ่มเติมก็ลองเข้าไปดูที่ http://alexandria.rubyforge.org

สำหรับคู่มือการติดตั้งและเอกสารแนะนำโปรแกรม พี่อาท (@bact)ได้จัดทำเป็นเอกสารไว้
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://opendream.co.th/blog/2010/01/24-jan-training-my-private-library-easy

ปล. รูปทั้งหมดจาก http://alexandria.rubyforge.org

ห้องสมุดที่ทำงานตามกระแสคอมพิวเตอร์

เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงในห้องสมุดมีหลายอย่างครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟดับ เครือข่ายล่ม ไวรัสลงคอมพิวเตอร์
จนทำให้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเราต้องหยุดทำงานและไม่สามารถปฏิบัติงานได้

problem-computer-library

หากเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ทุกคนก็คงบอกว่า ?สบายมาก พักแป๊บนึงก็ได้ เดี๋ยวมันก็ใช้ได้แล้ว?
แต่เหตุการณ์แบบนั้นผมคงไม่พูดถึงหรอกเพราะมันไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเรา
แต่สำหรับบางที่และบางกรณีที่เป็นเหตุให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้เป็นวันหรือหลายวัน

ห้องสมุดของท่านมีแผนสำรองในการปฏิบัติงานหรือไม่ หรือว่าต้องปิดห้องสมุดด้วยเลย แล้วมันจะดีหรอ

ระบบงานบางอย่างที่ปัจจุบันใช้ระบบคอมพิวเตอร์อย่างเต็มตัวถ้าใช้คอมไม่ได้จะทำไง
เช่น หากระบบใช้ไม่ได้ การยืม คืนหนังสือของผู้ใช้บริการจะทำอย่างไร
หากต้อง catalog หนังสือให้เสร็จคุณจะทำงานอย่างไร
บรรณารักษ์อย่างพวกคุณมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร หรือจะต้องเพิ่งพิงคอมพิวเตอร์อย่างเดียว

อันที่จริงผมก็รู้อยู่แล้วหล่ะว่าบรรณารักษ์เรามีวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ดีด้วย
แต่บางที่ ที่ผมเจอบางทีพอระบบยืม คืนเสีย ห้องสมุดนั้นประกาศไม่ให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือไปด้วย
ซึ่งผมเห็นว่ามันไม่ค่อยถูกยังไงก็ไม่รู้ ทำไมเราต้องอิงกับคอมพิวเตอร์หล่ะ

จำได้หรือเปล่าครับว่า…สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์เรายังทำงานกันได้เลย มิใช่หรือ

วิธีการแก้ง่ายๆ ที่อยากจะแนะนำสถาบันเหล่านั้นนะครับ
ง่ายมาแค่คุณจดรหัสผู้ยืม รหัสบาร์โค้ตของหนังสือ ประทับตราวันที่ยืม และประทับตราวันที่คืน
ลงกระดาษหรือไม่ก็อาจจะทำเป็นแบบหนังสือการยืม
ส่วนการคืนทำงานกว่าก็คือ ประทับตราวันที่คืน กับรหัสบาร์โค้ตของหนังสือก็เท่านั้นเอง
แต่ต้องดูเรื่องค่าปรับด้วยนะครับ แต่ถ้าดูไม่ได้ก็รอจนกว่าระบบจะใช้ได้แล้วส่งบิลแจ้งยอดให้กับผู้ใช้วันหลัง

ซึ่งพฤติกรรมของห้องสมุดที่ไม่ยอมทำงานเพราะว่าเปิดตามกระแสคอมพิวเตอร์
ผมพูดในเชิงประชดว่า คุณเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้เก่งมาก
เพราะว่าพอคอมพิวเตอร์ใช้ไม่ได้คุณก็ถือว่าเป็นโอกาสที่จะได้พักผ่อนเพราะว่าทำอะไรไม่ได้
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงผมว่าปิดห้องสมุดไปเถอะครับ

เพราะว่าคติของบรรณารักษ์ที่ดีคือต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
ไม่ใช่อิงความสะดวกสบายของบรรณารักษ์นะครับ

ฝากไว้ให้คิดกันนิดนึง ห้องสมุดส่วนใหญ่ผมเชื่อว่าดีอยู่แล้ว
มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเอง ค่อยๆ ปรับและหาวิธีการแก้ปัญหา และควรมีแผนงานสำรองเตรียมไว้ด้วยนะครับ

แบบสอบถามเรื่องโปรแกรม Open Source ในห้องสมุด

วันนี้ผมได้รับแบบสอบถามมาชิ้นนึงจาก อีเมล์กลุ่มของบรรณารักษ์ทั่วโลก
แบบสอบถามดังกล่าวได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Open Source ในห้องสมุด

oss4lib Read more