Koha – Open Source for ILS

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติฉบับ Open Source ตัวนึงที่ผมจะแนะนำก็คือ KOHA
ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีหลายๆ ที่เริ่มนำเข้ามาใช้กันมากขึ้นแล้ว
วันนี้ผมจึงขอแนะนำโปรแกรมตัวนี้ให้เพื่อนๆ รู้จักกัน

koha

เริ่มจากความเป็นมาของโปรแกรมตัวนี้

Koha ถูกพัฒนาโดยบริษัท Katipo Communications ในปี 1999
การพัฒนาครั้งนี้ทางบริษัทตั้งใจจะพัฒนาให้ Koha กับ Horowhenua Library ในประเทศนิวซีแลนด์
และทำการติดตั้งโปรแกรมครั้งแรกในปี 2000
ในปี 2001 ระบบ Koha สามารถรองรับการทำงานในหลายภาษา เช่น ฝรั่งเศส จีน อาหรับ ฯลฯ
และในปี 2002 Koha ได้มีการพัฒนาให้เข้าสู่วงการมาตรฐานมากขึ้น
ด้วยการสนับสนุนการทำงานของบรรณารักษ์ในรูปแบบมาตรฐาน เช่น MARC และ Z39.50
จนในปี 2005 บริษัท Liblime ได้เข้ามาสนับสนุนในการพัฒนามากขึ้น
จนสามารถพัฒนาระบบ Koha ให้สามารถเชื่อมโยงการจัดทำดรรชนี และการพัฒนาการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปวิวัฒนาการของโปรแกรม
1999 – ออกแบบและสร้างโปรแกรม Koha
2000 – ติดตั้งครั้งแรกที่ Horowhenua Library ในประเทศนิวซีแลนด์
2001 – พัฒนาให้รองรับหลายภาษา
2002 – พัฒนาให้การทำงานสนับสนุนมาตรฐาน MARC และ Z39.50
2005 – ปรับปรุงระบบให้เข้ากับโปรแกรม Zebra (ระบบการจัดทำ Index)

ความสามารถของ Koha
1. ระบบบริหารจัดการ (Administration)
– ระบบควบคุมโปรแกรม (Global System Preferences)
– ระบบการกำหนดพารามิเตอร์เบื้องต้น (Basic Parameters)
– ระบบการกำหนดนโยบายงานบริการยืมคืนและสมาชิก (Patrons and Circulation)
– ระบบการกำหนดนโยบายงานวิเคราะห์ (Catalog Administration)
– ระบบการกำหนดพารามิเตอร์เพิ่มเติม (Additional Parameters)

2. เครื่องมือใน Koha (Tool)
– การจัดพิมพ์ป้ายติดสันหนังสือ ป้ายลาเบล
– การแสดงความคิดเห็น
– ปฏิทินกิจกรรม
– จัดเก็บ log file

3. ระบบผู้ใช้ (Patrons)
– เพิ่มบัญชีผู้ใช้
– แก้ไขข้อมูลผู้ใช้
– กำหนดระดับผู้ใช้

4. การยืมคืน (Circulation)
– ยืม
– คืน
– จอง
– ต่ออายุ
– ปรับ

5. การทำรายการ / วิเคราะห์รายการ (Cataloging)
– สร้างระเบียน
– แก้ไขระเบียน
– นำเข้าระเบียน

6. ระบบวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials)
– บอกรับสมาชิก
– ตรวจสอบการบอกรับ
– ทำดัชนี

7. ระบบงานจัดซื้อ จัดหา (Acquisitions)
– ติดต่อกับเวนเดอร์
– เสนอแนะรายการทรัพยากรสารสนเทศ
– สั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
– ควบคุมงบประมาณ

8. รายงาน (Reports)
– ออกแบบรายงานได้
– สถิติข้อมูลต่างๆ ในระบบ

9. ระบบสืบค้นออนไลน์ (OPAC)
– สืบค้นสารสนเทศออนไลน์
– ส่งข้อมูลออกได้หลายรูปแบบ เช่น RSS
– ใส่ข้อมูล TAG

10. ระบบสืบค้น (Searching)
– ค้นแบบง่าย (basic search)
– ค้นแบบขั้นสูง (advance search)
– ค้นแบบเงื่อนไข (Boolean Search)

นี่เป็นเพียงตัวอย่างความสามารถแบบเล็กๆ น้อยๆ นะครับ
จริงๆ แล้ว KOHA ทำอะไรได้มากกว่านี้อีก
เพื่อนๆ อาจจะอ่านได้จาก http://koha.org/documentation/manual/3.0

เอาเป็นว่าลองเข้าไปทดลองเล่นระบบนี้ดูนะครับที่ http://koha.org/showcase/

สำหรับเมืองไทยเพื่อนๆ ลองเข้าไปเล่นดูที่
– ห้องสมุดศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://158.108.80.10:8000/cgi-bin/koha/opac-main.pl

เป็นไงกันบ้างครับกับโปรแกรมดีๆ ที่ผมแนะนำ
วันหลังผมจะเขามาแนะนำวิธีการติดตั้งแบบ step by step เลยนะครับ

เว็บไซต์ทางการของ Kohahttp://koha.org

http://koha.org/download

เกณฑ์การเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

มีคนขอคำปรึกษาเรื่องเกณฑ์ในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติมากมาย
วันนี้ผมเลยขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ หลายๆ คนฟัง

ils-for-library

จากประสบการณ์ที่เคยทำงานด้านนี้มา ผมจึงขอเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแบบคร่าวๆ นะครับ
การตั้งเกณฑ์ของการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ต้องดูองค์ประกอบหลายๆ เรื่องนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ฟังค์ชั่นการใช้งาน และส่วนเสริมต่างๆ

ด้านฟังค์ชั่นการใช้งาน ผมเคยเขียนเกณฑ์แบบคร่าวๆ ดังนี้
(เวอร์ชั่นนี้อาจจะต้องปรับปรุบเยอะหน่อยนะครับ เพราะว่าเป็นสเปคที่เขียนไว้เมื่อสามปีที่แล้ว)

library-automation

1. ระบบงานจัดหา (Acquisition)
1.1 สามารถจัดการด้านงบประมาณและการจัดซื้อ ทวงถามศูนย์หนังสือได้
1.2 จัดการ ควบคุมรายการและติดต่อสื่อสารผู้จำหน่ายร้านค้า
1.3 สามารถตรวจสอบรายการสั่งซื้อโดยการแก้ไขได้ก่อนการสั่งซื้อ
1.4 จัดการเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยนเงิน
1.5 สามารถสร้างระบบความปลอดภัยในโมดูลได้
1.6 กำหนดสิทธิ์และอนุญาตให้เฉพาะบุคคลได้


2. ระบบงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการ (Cataloging)

2.1 บันทึกรายการบรรณานุกรมได้ในรูป MARC และ Non- MARC
2.2 สามารถเพิ่ม ลด แก้ไข Tag, Subfield ใน MARC ได้
2.3 เชื่อมต่อกับระบบ Thesauri ได้จากหน้าจอ Catalog
2.4 สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบ MARC มาตรฐานได้
2.5 จัดเก็บรายละเอียดสารสนเทศฉบับสมบูรณ์ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ฯ
2.6 สามารถป้อนข้อมูลจากสื่อต่าง/สื่ออิเล็คทรอนิกส์มาอยู่ในรูปแบบ MARC
2.7 มีระบบ Authority Control ตรวจสอบรายการผู้แต่ง หัวเรื่องให้เป็นมาตรฐาน


3. ระบบงานบริการยืม-คืน (Circulation)

3.1 สามารถกำหนดระเบียบการยืม-คืนวัสดุห้องสมุดได้ตามประเภทสมาชิก
3.2 สามารถกำหนดเวลาการยืมวัสดุแต่ละประเภทได้
3.3 สามารถเก็บประวัติรายละเอียดการยืมของสมาชิกแต่ละคนได้
3.4 สามารถดูรายการยืมและรายการจองของตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต
3.5 สามารถกำหนดปฎิทิน เพื่อจัดการเรื่องกำหนดวันส่งได้
3.6 สามารถจัดการเกี่ยวกับค่าปรับ
3.7 สามารถจัดการเกี่ยวกับการยืมวัสดุห้องสมุดในช่วงเวลาสั้นได้
3.8 สามารถจัดการเกี่ยวกับการยืม-คืนวารสารในลักษณะ In-House-Use
3.9 สามารถพิมพ์รายงานและสถิติได้ตามความต้องการ
คุณลักษณะของระบบงานบริการยืม-คืน (Circulation)

1) กลุ่มผู้ใช้เป็นทั้งแบบ National และ Local
2) สามารถทำการยืม-คืน โดยใช้ระบบบาร์โค้ดหรือเลข ID ของสมาชิกห้องสมุด
3) สามารถแสดงข้อมูลรายละเอียดของผู้ใช้บริการได้
4) สามารถทำการคำนวณเงินค่าปรับได้โดยอัตโนมัติ

4. ระบบงานวารสารและเอกสาร (Serial Control)
4.1 สามารถใช้ข้อมูล Vendor ร่วมกัน
4.2 สามารถสร้างรายการ Holding วารสารและให้แสดงผลที่ OPAC
4.3 สามารถตรวจสอบสถานะของวารสารแต่ละรายชื่ออยู่ในสถานะใด
4.4 สามารถจัดระบบควบคุมและคำนวณค่าใช้จ่าย ค่าบอกรับวารสาร ทำบัญชีวารสาร
4.5 สามารถออกจดหมายทวงวารสาร ไปยังผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนได้

5. ระบบงานสืบค้นรายการทรัพยากร (Online Public Access Catalog)
5.1 สนับสนุนการทำงานแบบ Internet Web Clients
5.2 สามารถสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ โดยค้นจากชื่อผู้แต่ง นิติบุคคล ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขเรียกหนังสือและคำสำคัญ
5.3 สามารถสืบค้นแบบเทคนิคตรรกบูลีน
5.4 สามารถสืบค้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรียง ลำดับอักษรตามพจนานุกรม
5.5 สนับสนุนการสืบค้นผ่านมาตรฐานโปรโตคอล Z39.50

ที่กล่าวมานี่ก็เป็นเพียงการทำงานเบื้องต้นของระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ควรจะเป็นเท่านั้นนะครับ
ส่วนที่เป็นองค์ประกอบเสริมก็มีอีก เช่น การรองรับข้อมูลในอนาคต ฐานข้อมูลที่ใช้ ระบบเครือข่าย ฯลฯ

นอกจากนี้ผมได้ลองมานั่งคิดๆ ดู และลองจัดกลุ่มดู
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติควรจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรอีกบ้าง
– มาตรฐาน ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรจะรองรับเรื่องมาตรฐานอีกมากมาย
เช่น MARC21, ISO2709, Z39.50 ฯลฯ

– ออนไลน์ ระบบห้องสมุดอัตโนมัตที่ดีควรทำงานได้ในระบบออนไลน์ ทั้งในแง่ผู้ใช้บริการและบรรณารักษ์
เช่น สืบค้นออนไลน์ จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ต่ออายุการยืมออนไลน์

– บริหารจัดการระบบที่ดี ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรมีระบบที่สามารถบริหารจัดการข้อมูลภายในได้ที
ทั้งในเง่ของการนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้ เช่น สถิติการใช้งาน รายงานการใช้งาน และเก็บข้อมูลการเข้าใช้งาน

– การแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรมีฟังค์ชั่นที่รองรับในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับห้องสมุดอื่นๆ

– อนาคต ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรคำนึงถึงการเติบโตทางด้านเทคโนโลยีในอนาคตด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ขอเกริ่นเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
แล้ววันหลังผมจะลองนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่มีอยู่ในท้องตลาดมาวิจารณ์ให้อ่านแล้วกัน

ปล. หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติมากกว่านี้
สามารถเสนอความคิดเห็นได้ด้านล่างนี้เลยนะครับ

VuFind – Open Source for OPAC 2.0

คุณรู้สึกเบื่อกับหน้าจอแสดงผล OPAC แบบเก่าๆ กันมั้ยครับ
วันนี้ผมมีทางเลือกในการสร้างหน้าจอแสดงผล OPAC แบบใหม่ๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกัน
ที่สำคัญของโปรแกรมนี้ คือ เป็นโปรแกรม Open Source ด้วยนะครับ

vufind

โปรแกรมที่ผมจะแนะนำนั่นก็คือ VuFind

แนะนำข้อมูลเบื้องต้น

VuFind คือ โปรแกรม Open Source ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข และลิขสิทธิ์ของ GPL
โดยโปรแกรมนี้ทำหน้าที่เป็น โปรแกรม Browers เพื่อใช้สำหรับแสดงผลการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ
โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยแนวความคิดของห้องสมุดยุคใหม่ที่ต้องการสร้างความน่าสนใจในสารสนเทศ

search

โปรแกรมนี้ทำอะไรได้บ้าง

1. Search with Faceted Results
มีระบบสืบค้นที่ยืดหยุ่น เช่น สามารถสืบค้นแบบจำกัดขอบเขตได้

2. Live Record Status and Location with Ajax Querying

แสดงผลทันที ด้วยเทคโนโลยี AJAX ทำให้การสืบค้นมีลูกเล่นน่าสืบค้น

3. ?More Like This? Resource Suggestions

สามารถแนะนำ และวิจารณ์หนังสือเล่นนั้นนั้นได้ด้วย

search-vufind

4. Save Resources to Organized Lists
สามารถบันทึกรายการที่ต้องการลงในรายการส่วนตัวได้ (คล้ายๆ save favorites)

5. Browse for Resources
สามารถสืบค้นตามหมวดของรายการสารสนเทศได้

6. Author Biographies
สามารถแสดงผลข้อมูลชีวประวัติของผู้แต่ง หรือ ผู้เขียนได้

7. Persistent URLs

บันทึก URL เพื่อใช้ในคราวต่อไป หรือส่งให้คนอื่นได้

8. Zotero Compatible

รองรับกับโปรแกรม Zotero เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่สืบค้นไปจัดทำรายการบรรณานุกรม

9. Internationalization
รองรับการแสดงผลหลายภาษา

10. Access Your Data: Open Search, OAI, Solr
สามารถใช้งานร่วมกับ Open Search, OAI, Solr ได้

เป็นยังไงบ้างครับกับฟีเจอร์ดังกล่าว
VuFind สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบกับผู้ใช้บริการมากขึ้น
หรือสามารถให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมต่อการจัดการรายการสารสนเทศได้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการสนใจ หรือจะเป็นการกำหนด tag เองได้

และนี่แหละครับ คำจำกัดความที่เรียกว่า OPAC 2.0

ระบบกับผู้ใช้สามารถตอบสนองความต้องการได้ซึ่งกันและกัน
เมื่อผู้ใช้สืบค้น ระบบก็แสดงผล ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายรูปแบบ
รวมถึงเขียนวิจารณ์รายการหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ด้วย

หากเพื่อนๆ อยากลองเล่น VuFind ลองเข้าไปดูที่
http://www.vufind.org/demo/

หรือถ้าอยากดาวน์โหลดไปใช้ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.vufind.org/downloads.php

และข้อมูลอื่นๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.vufind.org

สรุปงานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ Walai AutoLIB

วันนี้ผมจะมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจในงานสัมมนาที่ผมเข้าร่วมวันนี้ นั่นคือ
“งานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB”
ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมเอเซีย

walaiautolib

โดยงานสัมมนาเรื่องนี้ผมคงเข้าร่วมได้แค่วันเดียวนะครับ
แถมยังเข้าร่วมได้ไม่เต็มวันอีก แต่เอาเถอะครับ ผมจะสรุปประเด็นเท่าที่ผมได้ฟังก็แล้วกัน

ประเด็นที่ผมได้ฟัง
– ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
– แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
– สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib

แค่สามประเด็นนี้ผมก็รู้สึกว่าได้รู้อะไรมากมายแล้วครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านเป็นหัวๆ แล้วกัน

—————————————————

ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
Introduction to Library automation in academic library
บรรยายโดย ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ซึ่งเป็น ผอ.สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

– บทบาทของ UNINET ที่มีต่อวงการห้องสมุด คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้ในงานห้องสมุด

– ห้องสมุดอัตโนมัติ เริ่มมีบทบาทมากในปี 2530-2531

– สกอ. เกิดความคิดที่จะพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติของไทย
เนื่องจากการจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติมีค่าใช้จ่ายที่สูง นอกจากนี้ค่าดูแลรักษาก็แพงเช่นกัน

– สกอ. จึงสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบห้องสมุดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
โดยสกอ. ให้ 3 มหาวิทยาลัยดำเนินการในการพัฒนา และออกทุนสนับสนุนการพัฒนา มหาวิทยาลัยทั้ง 3 ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้ต้นแบบจาก VTLS
(2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ต้นแบบจาก Dynix และ Innopac
(3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยใช้ต้นแบบจาก Innopac

Walai AutoLIB พัฒนามาแล้ว 2-3 ปี ปัจจุบันมีคนใช้ไปแล้ว 43 แห่ง
นับว่าเป็นระบบที่ใช้เวลาไม่นาน แต่คุณภาพไม่แพ้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของคนอื่น

– ประโยคที่ได้ใจวันนี้ “งานห้องสมุดเป็นงานที่ไม่ได้หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

—————————————————

แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Walai Autolib development concept
บรรยายโดย รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์

– เดิมห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS
แต่ระบบดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาแพง
รวมถึงยังตอบสนองความต้องการด้านการใช้งานไม่ครบถ้วน

– เริ่มการพัฒนา Walai autolib ในปี 2548

– ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ระยะเริ่มต้น
(1) ความซับซ้อนของระบบงานห้องสมุด
(2) ปัญหาด้านผู้ใช้ และการจัดการความเปลี่ยนแปลง
(3) ความน่าเชื่อถือของระบบที่พัฒนาโดยคนไทย
(4) Site reference

– มีคนกล่าวว่า “ถ้าใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ ก็จะสามารถพัฒนาระบบอื่นๆ ได้ง่าย”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าระบบห้องสมุดเป็นระบบที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากมากๆ

– เรื่องของการจัดการความเปลี่ยนแปลง เมื่อคนเราใช้อะไรจนชินแล้วจะให้เปลี่ยนคงต้องใช้เวลา

– คนไทยมีความสามารถในการพัฒนาระบบต่างๆ นะ น่าเชื่อถือด้วย แต่ขาดโอกาสในการพัฒนามากกว่า

-ผู้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาระบบห้องสมุด ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
(2) UNINET
(3) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(4) คณะทำงานโครงการ Walai Autolib

– เป้าหมายของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ยึดหลักดังนี้
(1) สร้างระบบบริหารจัดการห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ
(2) สร้างมาตรฐานของงานห้องสมุด Marc21, Z39.5, ISO2709
(3) ประหยัดงบประมาณในด้านต่างๆ

– ระยะของการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib แบ่งออกเป็น 6 ระยะ
(ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับแนวคิดห้องสมุด 2.0)

Library2.0 คือ แนวความคิดในการจัดการห้องสมุดยุคใหม่
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการได้สร้างกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน

– แผนงานในอนาคตของ Walai autolib เพื่อให้เป็น Library2.0
(1) Content Management System
(2) Dynamic Search System
(3) User Space
(4) Library Web Portal
(5) Helpdesk Online

– ก่อนจบ session นี้ ผมชอบประโยคนึงของการบรรยายครั้งนี้ นั่นคือ
“Libraries Changing the world” ห้องสมุดสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้

—————————————————

สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Demo Walai Autolib
บรรยายโดย อาจารย์ยุทธนา เจริญรื่น

เริ่มจากการสาธิตการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib เบื้องต้น ทั้ง 6 โมดูล ดังนี้
1) ระบบบริหารจัดการ (Policy management module)
2) ระบบการทำรายการ (Cataloging module)
3) ระบบการบริการยืม-คืน (Circulation module)
4) ระบบการสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC and utility module)
5) ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials control module)
6) ระบบการจัดซื้อจัดหา (Acquisition module)

—————————————————

ประเด็นที่ผมสรุปมาอาจจะขาดไปในบางช่วงบางตอน
แต่เอาเป็นว่าถ้ามีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมมากกว่านี้
ผมจะนำมาเล่าให้ฟังในบล็อกนี้อีกก็แล้วกัน

สำหรับคนที่พลาดงานนี้
ผมเชื่อว่าการแนะนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib อาจจะมีจัดอีก
ยังไงถ้ามีความคืบหน้าเรื่องการจัดงานแบบนี้อีก ผมจะนำมารายงานให้เพื่อนๆ รู้ทันที