ห้องสมุดวัดพระธรรมกาย รับสมัครบรรณารักษ์ 1 อัตรา ด่วน

วันนี้นายห้องสมุดขอนำเสนองานห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจริงๆ เคยคิดเหมือนกันว่าในวัดหลายๆ แห่งก็มีห้องสมุดมีที่ไหนอยากรับสมัครบรรณารักษ์บ้างมั้ย วันนี้มีคนฝากข่าวมาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับสมัครบรรณารักษ์ในห้องสมุดวัด แถมวัดนี้มีความน่าสนใจอีกด้วย นั่นคือ ห้องสมุด วัดพระธรรมกาย

DMC_Librarian_job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ (สามารถเริ่มงานได้ทันที)
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : วัดพระธรรมกาย
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี

อย่างที่เขียนไว้ด้านบนว่าบรรณารักษ์ที่สามารถเริ่มงานได้ทันทีจะดีมากๆ ดังนั้นแบบว่างานด่วนมากๆ
น้องๆ ที่สนใจอ่านคุณสมบัติเบื้องต้นต่อได้เลย
– เพศหญิง
– อายุ 20 – 27 ปี
– นับถือพระพุทธศาสนา
– สามารถรักษาศีล 5 ได้
– วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้และทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลคอมพิวเตอร์
– สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานการทำงานได้ เช่น MS Office
– กำหนดเลขหมู่และแยกประเภทหัวเรื่องได้ตามระบบ Library of Congress (หนังสือภาษาอังกฤษ)

เอาเป็นว่าหากสนใจติดต่อสมัครได้ที่
น.ส.ศุภรัฎฐา วิวัฒนสราญรมย์ โทร. 08-5900-5246, e-mail: suparatha072@hotmail.com

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา กำลังรับสมัครเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ 2 อัตรา

บรรณารักษ์ช่วยหางานวันนี้ ขอนำเสนองานสำหรับบรรณารักษ์มือใหม่และหน้าใหม่ทุกท่าน (งานนี้ผมขอเฉพาะเด็กจบใหม่ หรือคนที่ต้องการเป็นบรรณารักษ์จริงๆ นะครับ) งานนี้เป็นงานบรรณารักษ์ในห้องสมุดโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา

librarian_jobs_urgent

ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา เป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนในระดับเตรียมอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ในลักษณะสองภาษา ไทย-อังกฤษ (BILINGUAL Thai-English) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ (ด่วนมาก/สามารถเริ่มงานได้ทันที)
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา

งานนี้อย่างที่ผมขอไว้ตั้งแต่แรกว่า ขอน้องๆ จบใหม่ หรือ คนที่ต้องการเป็นบรรณารักษ์จริงๆ เท่านั้นครับ คุณสมบัติก็ตรงตัวครับ จบปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็ดำเนินการได้ดังนี้
สมัครด้วยตนเองที่ฝ่ายบุคคล แผนกธุรการประถม โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา เลขที่ 336/7 ซอยสาธุประดิษฐ์ 20 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ หรือส่งประวัติย่อเข้ามายังอีเมล์ admin@ektra.ac.th (โดยเขียนหัวข้อ “สมัครเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์”) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

เว็บไซต์ของโรงเรียน http://www.ektra.ac.th/

ขอให้น้องๆ โชคดีครับ

ไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ผมใช้ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรครับ
คืออ่านหนังสืออะไรก็ได้แล้วเก็บเอาไอเดียที่น่าสนใจมาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟัง

roomtoread

หนังสือที่ผมอ่านก็คือ “ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก” รวมไปถึงการเปิดเว็บไซต์ http://www.roomtoread.org เพื่อเก็บข้อมูล
หัวข้อที่ผมนำมาเสนอเพื่อนร่วมงานในวันนั้น คือ “ข้อคิดและไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read”

ลองอ่านสิ่งที่ผมสรุปเกี่ยวกับโครงการนี้ได้เลยครับ

โครงการ Room for Read ก่อตั้งโดย John wood (ในปี 2000) (John wood อดีตผู้บริหารในไมโครซอฟต์)

โครงการ Room for Read โครงการนี้ทำอะไรบ้าง
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังเป็นฉากๆ แล้วกันนะครับ

โครงการ Room to Read ทำอะไรบ้าง
1. บริจาคหนังสือ ทุนทรัพย์ ให้ห้องสมุดและโรงเรียน
2. สร้างห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และโรงเรียน
3. ให้ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง

หลายๆ คนอาจจะงงว่าทำไมให้ทุนแค่เด็กผู้หญิง ผมขออธิบายง่ายๆ ว่า
เมื่อให้ทุนเด็กผู้ชายแล้ว เด็กผู้ชายก็มักจะเก็บความรู้ไว้กับตัวเองไม่สอนคนอื่น
แต่ถ้าให้เด็กผู้หญิงในอนาคตถ้าพวกเขามีลูกเขาก็จะสอนให้ลูกรักการเรียนได้ครับ

โครงการนี้ดำเนินการในประเทศเนปาล, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, อินเดีย, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้

ผลงานของโครงการ Room to read 2007
– โรงเรียน 155 แห่ง
– ห้องสมุด 1600 แห่ง
– ศูนย์คอมพิวเตอร์ 38 แห่ง
– ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง 4036 คน
– ตีพิมพ์หนังสือ 82 ชื่อเรื่อง


ปรัชญาที่ได้จากการศึกษาโครงการ Room to read

– ทำให้ผู้ที่อยู่ในชมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ แล้วพวกเขาก็จะรู้สึกรักและต้องดูแลมัน (ร่วมลงทุน)
– ถ้าเราไม่รู้จักองค์กรของเราอย่างถ่องแท้ เราก็จะไม่สามารถนำเสนอโครงการสู่สังคมได้
– พยายามนำเสนอความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอให้ทุกคนรับทราบ
– จงคิดการใหญ่ตั้งแต่วันแรกเริ่ม
– การเฝ้าติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เราเข้าใจ การทำงานขององค์กรได้อย่างถ่องแท้ (เป็นการตอกย้ำเจตนา)
– ?นั่นละคือสิ่งที่ผมอยากฟัง เราต้องการคนที่ไม่กลัวงานหนัก ในวงการคนทำงานเพื่อสังคม ผมว่ามีพวกที่ทำงานเช้าชามเย็นชามมากเกินไป?
– เด็กมักถูกชักจูงจากสิ่งที่ผิดได้ง่าย การให้ความรู้ที่ถูก มีคุณธรรม จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
– เงินทองสามารถซื้อความสุขได้เพียงร่างกาย แต่การให้สามารถสร้างความสุขได้ทั้งจิตใจ

นับว่าจากการศึกษาครั้งนี้ถือว่าผมได้ไอเดียที่สำคัญหลายอย่างเลย
บางทีถ้าเพื่อนๆ มีเวลาผมก็ขอแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเรื่อง ?ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก? ดูนะครับ

แนะนำห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี

ช่วงนี้ ชีวิตของผมก็วนเวียนอยู่แถวจังหวัดกรุงเทพ เชียงใหม่ แล้วก็อุบลราชธานี
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาวันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีบ้าง

ubon-school-library12

ข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี
ที่อยู่ : เลขที่ 150 ถนนราชบุตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045-245449, 045-245301
เว็บไซต์ : http://www.anubanubon.ac.th

ทำไมผมถึงเลือกที่จะแนะนำที่นี่รู้มั้ยครับ…
สาเหตุหลักๆ คือ ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งมีการปรับปรุงสถานที่ใหม่
ซึ่งต้องขอบอกว่าเป็นที่ฮือฮามากในจังหวัดอุบลราชธานี

การบริการในห้องสมุดแห่งนี้ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1. ห้องสมุดอ่าน (พื้นที่ให้บริการสำหรับอ่านหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆ)
2. ห้องสมุดส่วนนิทรรศการ (พื้นที่มุมศิลป์ มุมผลงานนักเรียน ฯลฯ)
3. ห้องสมุดส่วนเวที (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน)
4. ห้องสมุดอิเลคโทรนิกส์ (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสนอ การค้นคว้าด้วยระบบอินเทอร์เน็ต)
5. ห้องสมุดลานอ่านหนังสือ (พื้นที่ลานศาสลาเกียรติยศ)
6. ห้องสมุดของเล่น (พื้นที่เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน)

ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคาร 7 นะครับ
ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ครับ

พูดถึงเรื่องงบประมาณของห้องสมุด ผมต้องขอชื่นชมสักนิดนะครับ
เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนจำนวน 2 ล้านบาท

มาถึง hilight ที่ผมจะนำเสนอเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้แล้ว นั่นคือ
การตกแต่งด้านในห้องสมุดของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีทำให้ผมนึกถึง TKpark และห้องสมุดซอยพระนางเลย

ไม่เชื่อดูรูปรังผึ้งที่ให้เด็กๆ ปีนขึ้นไปอ่านหนังสือสิครับ มันดูคล้ายๆ TKpark เลย

ubon-school-library02

ส่วนการวางรูปแบบของชั้นหนังสือในห้องสมุดแห่งนี้มีลักษระการวางคล้ายๆ ห้องสมุดซอยพระนางเช่นเดียวกัน

ubon-school-library05

เอาเป็นว่าผมก็ขอชื่มชมบรรณารักษ์ ผู้บริหารโรงเรียน และสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนนี้นะครับ
ที่ช่วยกันร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป

รวมภาพบรรยากาศ “ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี”

[nggallery id=14]