แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

ในปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้ห้องสมุดหลายแห่งฟังเกี่ยวกับแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยี ซึ่งบ่อยครั้งผมจะพูดถึง Gartner เป็นหลัก แต่วันนี้ที่ผมจะเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน ผมขอหยิบแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดมาเล่าบ้าง ซึ่งคนที่ผมชอบกล่าวถึงบ่อยๆ คงหนีไม่พ้น David Lee King (บรรณารักษ์ด้านไอที Idol ของผมเอง) ซึ่งเพื่อนๆ สามารถตามอ่านบล็อกของเขาได้ที่ https://www.davidleeking.com/

Read more

4 แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่บรรณารักษ์ควรรู้

4 แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่บรรณารักษ์ควรรู้

กาแฟยามเช้ากับเรื่องเล่าห้องสมุดและบรรณารักษ์วันนี้
ผมได้อ่านเรื่อง “4 technology trends every librarian needs know
จาก http://www.cilip.org.uk/

download

จึงขอนำมาสรุปให้เพื่อนๆ อ่านดังนี้ Read more

QR code กับงานห้องสมุดยุคใหม่

1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ

qr code in mobile technology for library

ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet

ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
– ตัวอักษร
– ตัวเลข

QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น

“1234567890123456789012345678901234567890”

Barcode

12345678901234567890_mv0nis

QR code

12345678901234567890_mv0njg

เป็นยังไงกันบ้างครับ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า

เอาหล่ะครับ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร

– ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
– จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
– แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
– login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
– ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
– Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ

ตัวอย่างมากมายอ่านต่อที่ http://www.libsuccess.org/index.php?title=QR_Codes

ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
– โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia

โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.

ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้องที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว

e-books-top-100-4x1-reverse-sort-791x1024

 

pbookshelf

 

จริงๆ ยังมีตัวอย่างอีกเพียบเลยนะครับ แล้วถ้าผมเจอไอเดียแจ่มๆ แบบนี้อีกจะนำมาแชร์ให้อ่านต่อนะครับ

เพื่อนๆ สามารถลองสร้าง barcode หรือ qr code ได้ที่ http://www.barcode-generator.org/

ลองเข้าไปทำดูนะครับ มีรูปแบบให้เลือกเยอะเลยแหละ

ทำไมห้องสมุดและบรรณารักษ์ต้องพัฒนา Mobile Technology

หลังจากวันก่อนที่ผมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology ก็มีเพื่อนหลายคนสงสัยและถามผมว่า Mobile Technology มันมีประโยชน์ยังไง และห้องสมุดสามารถนำ Mobile device มาให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างไร

วันนี้ผมจะมาตอบข้อสงสัยดังกล่าว พร้อมอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Mobile Technology เพิ่มเติม

ก่อนอื่นผมต้องขอยกข้อมูลเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาเขียนก่อน คือ

ข้อมูลการใช้ Mobile Device ในประเทศไทย

DM-Export-WSources

เห็นมั้ยครับว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก อีกไม่นานที่เขาว่ากันว่าจำนวน Mobile Device จะมีจำนวนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกับ notebook ซะอีก ก็คงต้องรอดูไปอ่ะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Mobile Technology ในห้องสมุด ปี 2011-2012

7_mobile

– มีเว็บไซต์ห้องสมุดที่พัฒนาให้รองรับการอ่านบน mobile device 14%
– ห้องสมุดนำ QR code มาใช้ในห้องสมุด 12%
– ห้องสมุดมีการพัฒนา application ในการให้บริการ 7%

นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้วจริงๆ มีการสำรวจถึงข้อมูลการใช้ Mobile Technology สำหรับห้องสมุดในรูปแบบของ Application อีกว่า มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ

ljx120201webThomas1

– ค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุด (Search Catalog)
– ต่ออายุการยืมหนังสือผ่าน Application
– จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์
– ค้นหาหนังสือใหม่ หรือ ชมการแนะนำหนังสือจากเหล่าบรรณารักษ์
– ค้นหาข้อมูลห้องสมุด เช่น ที่ตั้ง แผนที่ เวลาเปิดปิด
– อ่าน review หนังสือต่างๆ ในห้องสมุด
– ดูประวัติการยืมคืน หรือ การอ่านหนังสือย้อนหลังได้
– ยืมหนังสือเพียงแค่สแกนบาร์โค้ตลงใน application
– เข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุด
– ดาวน์โหลด Ebook ไปอ่าน

เห็นมั้ยครับว่ามีประโยชน์มากมาย ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงประโยชน์ของผู้ใช้บริการนะครับ
ประโยชน์ในมุมมองของบรรณารักษ์และผู้ให้บริการก็ยังมีอีกเพียบเลยเช่นกัน
ไว้ผมจะกล่าวในครั้งหน้านะครับ

เอาเป็นว่ายังไๆ ผมว่า Mobile Technology เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
ถ้าเพื่อนๆ รู้ก่อน และปรับตัวให้เข้ากับมันได้เร็ว ห้องสมุดของเพื่อนๆ ก็ได้เปรียบครับ….

งานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology

ต้องยอมรับจริงๆ ครับ ว่ากระแสทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แบบพกพา (Mobile Device) ไม่ว่าจะเป็น Tablet หรือ Smartphone กำลังมาแรงจริงๆ เกือบทุกวงการก็พยายามปรับตัวให้เข้าสู่โลกยุคสื่อสารไร้พรมแดน รวมไปถึงวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของเราด้วย

TLA-PosterOnweb

ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานประชุมสามัญและประชุมวิชาการ ประจำปี 2556 เรื่อง Library and Mobile Technology

ลองอ่านรายละเอียดกันต่อได้เลยครับ

รายละเอียดการประชุมวิชาการนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : Library and Mobile Technology
วันที่จัดงาน : 8 พฤศจิกายน 2556
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้จัดงาน : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า อัตราการเติบโตของอุปกรณ์แบบพกพาในประเทศไทยและทั่วโลกสูงขึ้นมาก ผู้ใช้บริการของเราสามารถเข้าถึงบริการห้องสมุดหรืออ่านหนังสือได้จากอุปกรณ์ดังกล่าว Mobile Technology มีประโยชน์ต่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย

หัวข้อที่เพื่อนๆ จะได้ฟังมีดังนี้
– Happy Library & Happy Mobile
– The 21 Century Library Website
– Library and Mobile Technology : Step by step
– Smart Phone Smart Library

แค่เห็นหัวข้อก็รู้สึกได้ว่า น่าสนุกจริงๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้น่าสนใจมากๆ

สำหรับการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
สมาชิกสมาคมห้องสมุด 600 บาท และบุคคลทั่วไป 800 บาท

รายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/downloader2/c81787f3c490e1cb86029fd87e0c4d36/

กิจกรรมแจกหนังสือ : เว็บไซต์ห้องสมุดควรมีอะไรเพิ่มเติม

เรื่องของเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นเรื่องที่ผมถูกถามบ่อยมากๆ ว่า “เว็บห้องสมุดควรจะมีอะไรนอกเหนือจากความสามารถในการสืบค้นหนังสือของห้องสมุด” ซึ่งผมเองเวลาไปบรรยายที่ไหนก็ตาม ผมก็จะยกเรื่องนี้มาพูดเช่นกัน …

ล่าสุดผมเลยจัดกิจกรรมนึงขึ้นมา คือ “กิจกรรมที่ให้เพื่อนๆ ในโลกออนไลน์ช่วยกันเสนอความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ห้องสมุด” โดยคำถามมีอยู่ว่า “ท่านคิดว่าเว็บไซต์ห้องสมุดควรมีอะไรอีก นอกจากการสืบค้นหนังสือในห้องสมุด” และใครที่ตอบได้ถูกใจผมมากที่สุด ผมจะมอบหนังสือให้เป็นรางวัล

เอาหล่ะครับ เรามาดูคำตอบของเพื่อนๆ ในโลกออนไลน์กันดีกว่า

คำตอบจากเพื่อนๆ ในกลุ่ม Librarian in Thailand

สุวิมล แสงม่วง – มีการแนะนำหนังสือที่น่าอ่าน คะ
Itj Pally Punyoyai – มีแฟนเพจห้องสมุดดีมั๊ยค่ะ ประมาณ แฟนพันธ์แท้ห้องสมุดอ่ะค่ะ
Aobfie Thiyaphun –  มีชีวิตชีวา..แลดูน่าใช้ อยากรู้เรื่องใดถามได้ทุกครา..(มีบรรณารักษ์ออนไลน์..
คอยให้ความช่วยเหลือและตอบคำถามค่ะ)
MineMim BabyBee – ความรู้ทั่วไปค่ะ ^^
Maymon Unratana – มีข่าวสารกิจกรรมให้ผู้ใช้ได้ร่วมสนุก เช่น กิจกรรมตอบคำถามในการสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ มีแฟนเพจเฉพาะของห้องสมุด แนะนำหนังสือใหม่ บทความแนะนำการสืบค้น วิดีโอแนะนำการใช้ห้องสมุด เป็นต้นค่ะ
Prissana Sirikul – ประชาสัมพันธ์หนังสือ – กิจกรรมห้องสมุดค่ะ
Podjamand Boonchai – เว็บควรมีเกมส์ชิงรางวัลอย่างนี้เยอะๆค่ะ
เมย์ เมย์ – ข่าวสารที่ทันสมัย..และกิจกรรมต่างๆภายในห้องสมุดค่ะ.
Cybrarian Cyberworld – แนะนำหนังสือใหม่ แนะนำบริการและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องสมุด ที่สำคัญที่สุด แนะนำบุคลากรของหน่วยงานห้องสมุดด้วย
กุ้ยช่าย ยิ้มแป้นเล่น – มีข่าวสารแวดวงห้องสมุดอื่นๆ
นม ยัง อึน – นำเสนอข่าวที่อยู่ในกระแสปัจจุบันที่เป็นประโยชน์ค่ะ ลักษณะคล้ายๆข่าวกฤตภาคอะไรประมาณนี้
Wasabi Srisawat – แนะนำหนังสือที่ถูกยืมมากที่สุด20อันดับของแต่ละเดือน และหนังสือดีที่ไม่ค่อยมีคนยืม จะได้กระตุ้นการอ่านมากขึ้น
Yaowaluk Sangsawang Nontanakorn – เว็บไซต์ของห้องสมุด ตามความคิดนะคะ ควรมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับห้องสมุดในเรื่องระเบียบ กฎ นโยบาย ในการเข้าใช้ห้องสมุด บุคลากรห้องสมุด และเบอร์โทรติดต่อ หรือ e-Mail ที่ติดต่อห้องสมุดได้สะดวก รายการหนังสือใหม่ รายการฐานข้อมูลที่มีให้บริการ เพื่อเรียกความสนใจ ขั้นตอนการสมัครสมาชิกและ ขั้นตอนการใช้งานฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ห้องสมุดมีให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบในเบื้องต้น
Path Ch – ห้องสมุดสามารถเก็บทุกสิ่งทุกอย่างได้ เว็บไซต์น่าจะมีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่างๆที่สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ในกรณีที่ห้องสมุดไม่มีข้อมูลนั้นๆ
Pimolorn Tanhan – มีรูปบรรณารักษ์สวยๆ น่ารักๆ มาเป็น Pretty แนะนำการใช้ห้องสมุด การสืบค้นข้อมูลต่างๆ ก็ดีนะคะ
Kru-u Tata – อยากได้งานวิจัยที่เกี่ยวกับห้องสมุดด้วยค่ะ
Lutfee Himmamad – ทำเกมส์ออนไลน์ที่มีทั้งสาระและความบันเทิง ที่ทำให้คนเล่นเรียนรู้การใช้ห้องสมุดได้ด้วยตนเอง ครับ
Tipbha Pleehajinda – เป็นช่องทางเข้าสู่แหล่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
วราวรรณ วรรณ ส้ม – อยาก … มีประกาศหรือข้อมูลและบริการของห้องสมุดที่ใช้ภาษาเชิงโฆษณา ภาษาโฆษณาทั้งวจนภาษาและอวัจนะภาษาให้เกิด impact แก่ผู้อ่านให้มากกว่าการประกาศหรือป้ายธรรมดาๆ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการห้องสมุด เช่นโฆษณา งานหนังสือแห่งชาติ ขายหนังสือ ขายอุปกรณ์+ebook computer tablet ฯลฯ
วราวรรณ วรรณ ส้ม – อยาก … มีนักโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด และจะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
วราวรรณ วรรณ ส้ม – อยาก … มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้บริการด้วยกันเอง รวมถึงแลกเปลี่ยนกับห้องสมุดด้วย เช่น หนังสือที่อ่านจบแล้วก็นำมาแลกกันอ่าน หนังสือที่คิดว่าเราไม่ใช้แล้วก็นำมาแบ่งปันคนอื่น มีคนอีกมากมายที่ต้องการหนังสือของเรา หนังสือที่ห้องสมุดมีเกินต้องการ … นำมาแบ่งปันแก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงการแลกเปลี่ยน/พูดคุยแสดงความคิดเห็น มี Discussion Group ฯลฯ
บรรณารักษ์ เจน – น่าจะมีเว็บให้ผู้ใช้บริการโหวตห้องสมุดและบรรณารักษ์ จะได้กระตุ้นให้พวกเราออกตัวแรงกันขึ้นหน่อย
Wilaiwan Runra – เล่าเรื่องหนังสือ แนะนำหนังสือ เล่านิทาน หน้าเว็บ เลือกคลิปรักการอ่านแชร์ หรือไม่ก็คลิปความรู้ที่คนทั่วไปไม่รู้มาแชร์ เป็นบริการที่ควรให้แก่ผู้อ่านที่ไม่อยากค้นหา แค่เปิดเว็บก็เจอเรื่องที่ใช่ก็ โอนะค่ะ
Kanokwan Buangam – เว็บไซต์ห้องสมุดนอกจากให้สืบค้น แนะนำหนังสือ แนะนำแหล่งสืบค้นแล้ว อยากให้มีแนะนำ สุดยอดบรรณารักษ์บ้างค่ะ เช่น ถ้าจะปรึกษาค้นข้อมูลด้านนี้ก็ไปคุยพี่คนนั้น อะไรประมาณนี้

คำตอบจากเพื่อนๆ ในหน้าเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย

Chairach Plewma – Blog เรื่องดี ๆ ที่อยากเล่า และ สื่อ ict ให้ดาวน์โหลด
Nadcha Thanawas – แนะนำหนังสือประจำสัปดาห์ วิดีโอแนะนำห้องสมุด และก็แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับห้องสมุดคร้า
Aom P. Chan – ช่องทางที่สามารถให้ผู้ใช้บริการมีfeedback มาที่ห้องสมุด
Kornsawan Chonphak – มีข้อมูลดีดี เช่น กฤตภาคในรูปแบบ e-book
Saowapa Sarapimsakul – ถาม-ตอบ กับuser คะ
Loveless Taew – มีลิงค์เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องคะ
Aun Un – บล็อกลิงค์หัวข้อต่างๆเสมือนเป็นหนังสือแต่ละชนิด
Jira Ping – แนะนำหนังสือดีที่น่าอ่านหรือ หนังสือที่ได้รับรางวัลต่างๆ
Piw Piw Arsenal – 1.สามารถ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือ 2.ให้คะแนนหรือเรตติ้งของหนังสือ 3.มีการแชร์ผลการสืบค้นไปยัง Social Network คะ
อาร์ต วชิร ขจรจิตร์จรุง – มีการเช็คสถานะของสมาชิก
Piw Piw Arsenal – เว็บห้องสมุดควรนำ เทคโนโลยี Web2.0 และ Social Network มาใช้ สาหรับเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้ใช้บริการเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดคุณค่าของเนื้อหา เช่น สามารถวิจารณ์ (reviews) ให้คะแนนเพื่อจัดอันดับหนังสือ (ratings) การกำหนดกลุ่มข้อมูล (tagging) ที่น่าสนใจ ทำการบอกรับ (subscribe) RSS Feeds ซึ่งจะแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ เมื่อมีทรัพยากรใหม่เข้ามายังห้องสมุด ทำการแบ่งปันข้อมูลที่น่าสนใจ (sharing) ไปยังกลุ่มSocial Network พร้อมทั้งช่วยเหลือผู้ใช้ด้วยการแสดงผลแบบ Facet นอกจากนี้ผู้ใช้บริการสามารถจัดเก็บผลการสืบค้นด้วยการ Print, E-mail, Save หรือเรียกประวัติการสืบค้นคืนโดย อัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ได้เข้าสู่ ระบบอีกครั้ง รวมถึงการให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ผู้ใช้ Upload ภาพของ ตนเอง แก้ไขข้อมูลส่วนตัว หรือขอใช้บริการอื่น ๆ ผ่านทาง Mobile Chamo Smart Device Interface ค่ะ
ห้องสมุด บุญเลิศอนุสรณ์ – กิจกรรมตอบคำถามอาเซียนประจำสัปดาห์
Pearlita Kled – หาข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย มี Link แนะนำฐานข้อมูล หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มีช่องทางในการแนะนำหนังสือ หรือเสนอแนะความคิดเห็นต่าง ๆ
Jlo Home – บริการสารสนเทศท้องถิ่น
Sophit Sukkanta – 1. สถิติแสดงจำนวนหนังสือล่าสุดที่ตนเองยืมว่าได้จำนวนกี่เล่มแล้วตลอดอายุการเป็นสมาชิก แสดงถึงความภาคภูมิใจที่มีต่อนิสัยรักการอ่าน 2. สถิติแสดงรายชื่อหนังสือที่ถูกยืมมากที่สุด 10 อันดับ เพื่อแสดงถึงความต้องการและค่านิยมที่มีต่อหนังสือแต่ละเล่ม
Atchara Natürlich – บริการจองหนังสือใหม่ มีเดียใหม่ๆ ล่วงหน้าค่ะ (ไม่ทราบว่าที่เมืองไทยมีหรือยังนะคะ)
Titirat Chackaphan – ควรมีหน้าเว็ปที่สามารถตอบคำถามของผู้ที่สนใจ หรือไม่เข้าใจ เกี่ยวกับห้องสมุดค่ะ เพราะบางคนยังไม่เข้าใจว่าห้องสมุดมันคืออะไร หรือบางครั้งบรรณารักษ์เองยังไม่เข้าใจถ่องแท้เลยค่ะ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ ให้คนเก่งๆ มาช่วยตอบคำถามให้น่ะค่ะ
Khunjom Akk – ประโยค คำคม สาระสั้นๆ จากหนังสือ / นิตยสาร เล่มต่างๆค่ะ
Chaiyaboon Bonamy – แนะนำเกี่ยวกับห้องสมุด เช่นห้องสมุดในดวงใจ , ความประทับใจเกี่ยวกับห้องสมุด
Sukanya Leeprasert – กิจกรรมของห้องสมุด และการรับคำเสนอแนะคำติชม รวมทั้งการดำเนินงานแก้ไขเรื่องต่างๆ
หวาน เย็น – นิทรรศการออนไลน์ เพื่อช่วยตัดปัญหาด้านเวลา สถานที่จัดงานและงบประมาณ
Aom P. Chan – ข่าวสารความเคลื่อนไหวของห้องสมุดที่น่าสนใจ รวมถึงรายการหนังสือใหม่ วารสารใหม่ และอะไรใหม่ๆในห้องสมุด
Jirawan Tovirat – กิจกรรมส่งเสริมการอ่านค่ะ
Phuvanida Kongpaiboon – บรรณารักษ์หน้าตาสดใสเต็มใจให้บริการทุกเรื่องพร้อมจักกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่กระตุ้นให้เกิดนิสัยรักการอ่านคะ
Emorn Keawman – เกมส์ค้นหา หรือไม่ก็เกมส์จับผิดภาพ 555 แบบว่าชอบอะ
Jib Wanlaporn – การ์ตูน animation แนะนำการใช้ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด หรือ สร้างหนังสั้นเป็นเรื่องราว การแนะนำการสืบค้นหนังสือภายใน หส. การเข้าห้องสมุดแนวสร้างสรรค์ นำกราฟิกเข้ามาช่วยดึงดูดใจผู้ใช้ คะ
Agogo Dogclub – มันต้องแนะนำหนังสือซิเพราะบางทีเราชอบน่ะแต่นึกไม่ออกว่าเรื่องไหนมันสนุก
Niramon Leekatham – แสดง pop-up New Window ขึ้นมาปรากฎเป็นสิ่งแรก ตอบคำถามสั้น ๆ ก่อนว่า “เหตุใดจึงเข้า Web ห้องสมุดนี้” หรือ “คุณรู้จักห้องสมุดนี้จากใคร” เพราะคิดว่า เป็นการทราบช่องทางการตลาดสำหรับห้องสมุด สามารถตอบโจทย์อื่นในยุคเทคโนโลยีที่ท่วมท้นปัจจุบัน
Thip Toh – ทำเป็นแหล่งชอปปิ้ง หนังสือ สื่อต่างๆ สร้างบรรยากาศให้น่าเข้าใช้บริการ เจ้าหน้าที่มีจิตให้บริการ
Wiramol Chanpoo – เป็นแหล่งชอบปิ้งหนังสือและเน้นบรรยากาศแบบห้างมีทุกอย่างมีมุมต่างๆมีร้านจำหน่ายหนังสือที่ใหม่เน้นความหลากหลาย
Watcharee Jaithai – เป็นเหมือนบ้าน เหมือนคาเฟ่ที่ประเทศญี่ปุ่น เปิด 24 ชั่วโมง
JoyLis Isaya Punsiripat – อยากให้เว็บไซต์ห้องสมุดมีความน่าสนใจเหมือนเว็บไซต์ทั่วไปๆเล่น kapook, sanook เป็นเว็บที่ทุกคนเข้ามาเป็นประจำเมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ค่ะ แต่ในฐานะที่เป็นเว็บห้องสมุดก็อยากจะให้มีการแนะนำหนังสือ บอร์ดสำหรับพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือ รีวิวหนังสือ มีกิจกรรมตอบคำถาม มีสาระที่เป็นเกร็ดความรู้ต่างๆ นอกจากการเป็นแค่เว็บที่ทุกคนเข้ามาสำหรับสืบค้นหนังสือเพียงอย่างเดียว นอกจากมีข้อมูลพื้นฐานต่างๆที่เกี่ยวกับห้องสมุด เช่น ประวัติ ระเบียบห้องสมุดค่ะ เพราะเราเป็นห้องสมุด เว็บห้องสมุดก็ควรเป็นแหล่งความรู้ต่างๆที่ทุกคนสามารถหาความรู้ได้จากเว็บไซต์ด้วยค่ะ ^^

คำตอบที่ถูกใจผมมากที่สุด มีอยู่ 2 คน คือ …..
1. “อยาก … มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้บริการด้วยกันเอง รวมถึงแลกเปลี่ยนกับห้องสมุดด้วย เช่น หนังสือที่อ่านจบแล้วก็นำมาแลกกันอ่าน หนังสือที่คิดว่าเราไม่ใช้แล้วก็นำมาแบ่งปันคนอื่น มีคนอีกมากมายที่ต้องการหนังสือของเรา หนังสือที่ห้องสมุดมีเกินต้องการ … นำมาแบ่งปันแก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงการแลกเปลี่ยน/พูดคุยแสดงความคิดเห็น มี Discussion Group ฯลฯ” ความคิดเห็นนี้โดย “วราวรรณ วรรณ ส้ม
2. “1.สามารถ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือ 2.ให้คะแนนหรือเรตติ้งของหนังสือ 3.มีการแชร์ผลการสืบค้นไปยัง Social Network คะ” ความคิดเห็นนี้โดย “Piw Piw Arsenal

หนังสือที่จะแจกในเดือนนี้ "ประสบการณ์แอปเปิล"

ผู้ที่โชคดีได้รับหนังสือจากผม คือ คุณ “วราวรรณ วรรณ ส้ม” และ “Piw Piw Arsenal
เอาเป็นว่าส่งชื่อ-นามสกุลจริง สังกัดใด ที่อยู่ มาที่ dcy_4430323@hotmail.com ด้วยครับ

ปล. ว่าจะแจกแค่เล่มเดียว แต่คิดอีกทีแจกกลุ่มละ 1 เล่มดีกว่า กลายเป็น 2 รางวัลในแต่ละเดือน

สำหรับกิจกรรมแบบนี้ผมคิดว่าจะจัดอีกและจะจัดทุกเดือน
กติกาและการตัดสินจะมีกฎที่มากขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็ฝากติดตามกันต่อด้วยนะครับ

บล็อกในวันนี้ผมยกความดีความชอบให้ทุกท่านที่ร่วมสนุกทุกคน
หวังว่าทุกท่านจะเข้ามาร่วมสนุกกันใหม่ในเดือนหน้าด้วยนะครับ

เว็บไซต์ห้องสมุดจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าท่านคิดและจะปรับปรุงมันหรือไม่
อยู่ที่ตัวท่านแล้วหล่ะครับ…

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21

เรื่องที่จะเขียนให้อ่านในวันนี้ ตั้งใจว่าจะเขียนหลายทีแล้ว แต่ด้วยภาระงานที่มากมายจึงติดไว้นานมากๆ วันนี้พอดีอยู่ว่างๆ (จริงๆ ก็ไม่ได้ว่างมากหรอก) เลยขอเขียนเรื่องราวนี้ให้จบแล้วกัน

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21” เป็นเรื่องที่ผมอ่านมาจากบล็อกในต่างประเทศ ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าเรื่องนี้ถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี 2006 แล้ว แต่พออ่านแล้วเห็นทักษะต่างๆ แล้วก็จะรู้ว่ายังคงใช้ได้เลยทีเดียว

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. ประเด็นความสามารถหรือทักษะในระดับต้น (สายปฏิบัติ) แบ่งออกเป็น 5 ข้อย่อย คือ
– ความสามารถที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลง
– นำสื่อออนไลน์เข้ามาใช้เพื่อความสะดวกสบาย
– ความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีแบบเบื้องต้น
– ความสามารถในการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
– ความสามารถในการรวบรวมไอเดียด้านเทคโนโลยีกับเครือข่ายห้องสมุด

สำหรับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในระดับต้นส่วนใหญ่จะเน้นความสามารถในด้านการปฏิบัติเป็นหลัก ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเองก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังนั้นทักษะในเรื่องของการยอมรับความเปลี่ยนแปลงจึงสำคัญมาก อีกประเด็นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการทำงานตัวบรรณารักษ์เองก็จำเป็นต้องยึดหลักตามที่ผมเคยนำเสนอเรื่อง “รู้จัก – เข้าใจ – นำไปใช้” นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดึงไอเดียหรือการหาไอเดียเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ซึ่งที่มาของไอเดียก็มาจากหลากหลายทาง ในที่นี่ขอเน้นเกี่ยวกับการทำงานกันเป็นเครือข่าย ความช่วยเหลือระหว่างวงการวิชาชีพก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

2. ประเด็นความสามารถหรือทักษะในระดับสูง (สายการบริหาร) แบ่งออกเป็น 6 ข้อย่อย คือ
– ทักษะเรื่องการบริหารจัดการโครงการ
– ความสามารถในการตอบคำถามและการประเมินงานบริการห้องสมุด
– ความสามารถในการวิเคราะห์หาความต้องการของผู้ใช้บริการ
– วิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ห้องสมุดแบบเดิมๆ ไปสู่การเป็นห้องสมุดที่ใช้สื่อออนไลน์
– ความสามารถในการหาจุดเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและเปรียบเทียบเทคโนโลยีด้านต่างๆ
– ความสามารถในการขายไอเดียห้องสมุด (นำเสนอห้องสมุด)

จะสังเกตได้ว่าทักษะและความสามารถของบรรณารักษ์ที่อยู่ในระดับสูง หรือสายงานบริหารจะต้องมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเช่นกัน แต่คงไม่ต้องลงมาปฏิบัติเหมือนขั้นต้นแล้ว จุดสำคัญอยู่ที่การประเมินการใช้งานด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด การเปรียบเทียบระบบแบบต่างๆ รวมถึงงานวิเคราะห์หาความต้องการของผู้ใช้ พูดง่ายๆ ว่าจะมีทั้งงานบริหารและงานวิชาการเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังต้องมีความสามารถในเรื่องการนำเสนอหรือขายไอเดียห้องสมุดให้สาธารณชนได้รู้จักและเห็นคุณค่าของห้องสมุดด้วย

เป็นไงบ้างครับ นี่ก็เป็นประเด็นทักษะและความสามารถที่น่าสนใจสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่

บทสรุปที่ผมชอบของบทความนี้มีอีกอย่าง คือ

“Technologies will come and go. Change is inevitable. But if librarians can adapt to and embrace change, can easily learn technologies, can keep up with changes in the profession, can plan for new services and evaluate old services, can develop services that meet the needs of all stakeholders, can evaluate technologies, and can sell their ideas and market services they will be better able to meet the challenges of changing user populations and changing technologies.”

ต้นฉบับของเรื่องนี้ “Skills for the 21st Century Librarian” โดย Meredith Farkas

ปล. ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากกว่าการอ่านบล็อกของผมก็ตามไปอ่านบทความนี้เต็มๆ ได้ที่ต้นฉบับด้านบนที่ผมเกริ่นนะครับ

7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม

วันนี้ผมก็มีเวลานั่งไล่อ่านบล็อกของเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในต่างประเทศ แล้วพอดีไปสะดุดกับการบล็อกของ David Lee King เรื่อง “Seven Essential Elements to an Awesome Library Website” เลย ตามไปดูสไลด์และเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจดี ก็เลยอยากแชร์เรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยขอแปลเป็นชื่อเรื่องได้ว่า “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม

ไปชมสไลด์ที่มาของข้อมูลนี้กันก่อนนะครับ

มาดู “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม” ตามที่ผมถอดความและอธิบายเพิ่มเติมกัน

1. Customers want something to read, watch, & listen to when they visit the library
(ผู้ใช้บริการต้องการบางสิ่งบางอย่างเพื่ออ่าน ดู ฟัง เหมือนตอนมาที่ห้องสมุด)

การที่เว็บไซต์ห้องสมุดมีสื่อบางประเภทให้บริการบนเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ห้องสมุดมีสีสันมาก ไม่ว่าจะเป็นการดูหรือชมวีดีโอผ่านทางออนไลน์ ดาวน์โหลดไฟล์เพลง เสียงไว้ฟัง หรือจะเป็นการดาวน์โหลด E-Book ไว้อ่าน (กรณ๊ใน Slide ยกกรณีศึกษา Ebook ว่าเป็นเคสที่ประสบความสำเร็จมากๆ)

2. Customers have questions & ask at the library (ผู้ใช้บริการมีคำถามและต้องการถามที่เว็บไซต์ห้องสมุด)
เว็บไซต์ห้องสมุดควรมีบริการตอบคำถามออนไลน์เนื่องจาก เว็บไซต์ถือเป็นช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อมาที่ห้องสมุดได้ง่าย

3. Customers need to know the normal stuff too (ผู้ใช้บริการต้องการข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดด้วย)
ข้อมูลปกติของห้องสมุดสำคัญมากเพราะบางทีผู้ใช้บริการก็ต้องการรู้เช่นกัน เช่น เบอร์โทรศัพท์ของห้องสมุด เวลาเปิดปิดของห้องสมุด นโยบายต่างๆ เช่น นโยบายการยืมคืน การสมัครสมาชิก ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องมีบนเว็บไซต์ห้องสมุด

4. Websites need actual staff! (เว็บไซต์ต้องการผู้ให้บริการเช่นกัน)
บางห้องสมุดอาจจะมองว่าการทำเว็บไซต์เป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่เรื่องของการดูแลเขาก็ปล่อยปะละเลย ไม่อัพเดทเว็บไซต์เลย ดังนั้นเว็บไซต์ของห้องสมุดจำเป็นที่จะต้องมีคนดูแลและให้บริการเช่นกัน จงคิดซะว่าเว็บไซต์ของห้องสมุดก็เสมือนสาขาย่อยของห้องสมุดจริงๆ ด้วย

5. Have Goals! (มีเป้าหมาย)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดต้องมีเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่สักแต่ว่ามีเว็บไซต์และก็ปล่อยเว็บไซต์ให้เป็นไปตามยถากรรม การกำหนดตัวชี้วัดจะทำให้เกิดการพัฒนาและการตื่นตัวในการบริการต่างๆ เครื่องมือที่แนะนำ คือ การจัดเก็บสถิติคนเข้าออกของเว็บไซต์ห้องสมุด

6. Reach beyond your webbish boundaries (เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดของคุณให้มากขึ้น)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดแล้วไม่ประชาสัมพันธ์หรือไม่ทำให้คนนอกรู้จัก มันช่างน่าเสียดายนัก ปัจจุบันโลกของ Social Media เข้ามามีผลต่อการเข้าถึงเว็บไซต์มากมาย ดังนั้นคุณก็สามารถใช้ช่องทางเหล่านั้นได้ด้วย เช่น Facebook Twitter และที่กำลังมาแรงก็คือ Pinterst ด้วย

7. Mobile-Friendly (เป็นมิตรกับอุปกรณ์สื่อสาร)
อันนี้แปลไทยแล้วอาจจะงงเล็กน้อย ขออธิบายแล้วกันนะครับ องค์ประกอบที่ 7 พูดถึงเรื่องการแสดงผลเว็บไซต์ห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ก็ตาม เพราะปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากๆ และเร็วๆ นี้อาจจะมีจำนวนที่แซงคอมพิวเตอร์แบบพกพาก็ได้

นับว่าเป็นสไลด์ที่คอนข้างมีประโยชน์เลยทีเดียวใช่มั้ยครับ
เอาเป็นว่าก็ลองทำความรู้จักและเอาไปใช้กันดูนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอปิดบล็อกไว้แต่เพียงเท่านี้ อิอิ

ที่มาของความรู้นี้จาก http://www.slideshare.net/davidleeking/seven-essential-elements-to-an-awesome-library-website
ติดตามอ่านบล็อกของ David Lee King ได้ที่ www.davidleeking.com

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อก  socialnetworkinglibrarian แล้วเจอบล็อกเรื่องนึงที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องคำทำนายเกี่ยวกับ Social Media ที่จะเกิดในวงการห้องสมุดปี 2012

เรื่องของ Social Media ไม่ใช่เรื่องแฟชั่นอีกต่อไปแล้วนะครับ
เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะวงการไหนๆ ก็ให้ความสำคัญกับมัน และใช้กันอย่างแพร่หลาย
ไม่พ้นวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์เช่นกัน เราจะต้องทำความรู้จักกับมันและใช้มันให้เป็น

ต้นฉบับเรื่องนี้ คือ Top 10 Social Media and Libraries Predictions for 2012

ผมขอแปลแบบสรุปๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกันนะครับ

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012
1. จำนวนของเว็บไซต์ห้องสมุดที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์สื่อสารไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ tablet ฯลฯ
2. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Youtube เพื่อใช้วีดีโอทำการตลาดให้ห้องสมุดและเพื่อการศึกษา
3. ห้องสมุดจะสื่อ Social media มากกว่าการเป็นแค่สื่อประชาสัมพันธ์
4. Google+ จะได้รับความนิยมมากขึ้นและห้องสมุดหลายๆ แห่งจะเข้าไปสร้าง page บน Google+ ด้วย นอกเหนือจากการสร้าง page บน facebook
5. ห้องสมุดจำนวนมากจะค้นหาวิธีเพื่อสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app)
6. ผู้ให้บริการด้านฐานข้อมูลจะสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app) และห้องสมุดก็นำ app เหล่านี้ไปให้ผู้ใช้บริการใช้ต่อไป
7. เว็บไซต์วิจารณ์หนังสือ (Review book) เช่น Goodreads และ librarything จะถูกใช้จากวงการห้องสมุดมากขึ้น
8. ห้องสมุดจะนำโปรแกรมจำพวก Opensource มาใช้มากขึ้น
9. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้เกมส์ออนไลน์เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและการศึกษา
10. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Google app มากกว่าแค่การใช้บริการอีเมล์

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับแนวโน้มในปีนี้

จากข้อมูลข้างต้นเพื่อนๆ จะสังเกตว่าเรื่องของ Facebook เริ่มไม่ค่อยมีการพูดถึงแล้ว เนื่องจากมันเข้ามาอยู่กับวงการห้องสมุดในต่างประเทศนานพอสมควรแล้ว ปีนี้เรื่อง google+ กำลังมาจึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษหน่อย และเรื่อง ebook เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าไม่นิยม แต่มันได้รับความนิยมจนคงที่แล้ว ตอนนี้เรื่อง Review book กำลังน่าสนใจเช่นกัน

เอาเป็นว่าปี 2012 จะเป็นอย่างไร เพื่อนๆ ต้องจับตาดูกันต่อไปนะ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ อยากอ่านเรื่องเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://socialnetworkinglibrarian.com/2011/12/29/top-10-social-media-and-libraries-predictions-for-2012/

12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012

วันนี้ในขณะที่กำลังอ่านเรื่องแนวโน้มของการศึกษาในอนาคตอยู่ก็พบหัวข้อนึงที่น่าอ่านมากๆ ซึ่งเป็นเรื่อง “12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012” จึงอยากนำมาให้เพื่อนๆ อ่าน (เพื่อนๆ ในวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดก็ลองอ่านได้นะ เผื่อเอามาประยุกต์กับวงการห้องสมุดของเราบ้าง)

ต้นฉบับของเรื่องนี้จริงๆ ชื่อว่า “12 Education Tech Trends to Watch in 2012” จากเว็บไซต์ http://mindshift.kqed.org

เรามาดู 12 หัวข้อการศึกษาที่น่าจับตามองในปี 2012 กันก่อนนะครับ
1. MOBILE PHONES – โทรศัพท์มือถือ
2. BYOD (BRING YOUR OWN DEVICE) – อุปกรณ์ที่พกพาไปไหนมาไหนได้ เช่น notebook, netbook, ipod, tablet
3. BANDWIDTH ISSUES – การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
4. NATURAL USER INTERFACES – การตอบสนองกับผู้ใช้แบบธรรมชาติ เช่น ระบบสั่งการด้วยเสียง
5. WEB APPS – การใช้โปรแกรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์
6. DATA – ข้อมูล
7. ADAPTIVE LEARNING – การเรียนการสอนที่เน้นการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
8. PRIVACY/SECURITY – ความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัย
9. OPEN LICENSING – สัญญาการอนุญาตแบบเปิด
10. PEER TO PEER – การเชื่อมต่อแบบ peer to peer
11. THE MAKER MOVEMENT – การเคลื่อนไหว
12. GAMING – เกมส์

รายละเอียดของแต่ละหัวข้อ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็เข้าไปอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ต่อได้ที่ http://mindshift.kqed.org/2012/01/12-education-tech-trends-to-watch-in-2012/

เหตุผลที่ผมแนะนำเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ คือ อยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นแนวโน้มของวงการศึกษา (ห้องสมุดและบรรณารักษ์เราก็อยู่ในวงการศึกษาเช่นกัน) เมื่อวงการศึกษาให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อนๆ บรรณารักษ์ก็ควรให้ความสนใจบ้าง บางประเด็นมันเริ่มเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตของเรามากขึ้น ทั้งเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอย่างเรา ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วก็จะได้เตรียมตัวและพยายามทำความเข้าใจมันได้

เอาเป็นว่าวันหยุดแบบนี้เอาเรื่องวิชาการมาอ่านบ้างนะครับ อิอิ

12 Education Tech Trends to Watch in 2012