11 ชั้นหนังสือน่าคิด ที่ทำจากของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

วันนี้เจอเรื่องขำๆ ขอแชร์ให้เพื่อนๆ ดูเป็นไอเดีย เผื่อที่บ้านใครมีของที่ไม่ได้ใช้แล้วอาจจะเอามาลองประดิษฐ์เป็นชั้นหนังสือเก๋ๆ กันบ้าง บางอย่างเราอาจจะนึกไม่ถึงเลยก็ได้ [ดูแล้วต้องบอกเลยว่าคิดได้ไงเนี้ย]

Presentation1

11 ชั้นหนังสือน่าคิด ที่ทำจากของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

1. เอารถจากัวร์มาทำเป็นชั้นหนังสือ

jaguar-bookshelf-motart

2. เอาเรือมาทำเป็นชั้นหนังสือ

boat-bookcase

3. เอาเปียโนมาทำเป็นชั้นหนังสือ

21-brillant-objects-made-from-recycled-materials-16

 

4. เอาตัวต่อ Lego มาทำเป็นชั้นหนังสือ

lego-bookshelf

 

ชมภาพทั้งหมดได้ที่นี่เลยครับ

[nggallery id=66]

หวังว่าเพื่อนๆ คงได้ไอเดียดีๆ ไปลองใช้ดูนะครับ

 

ที่มาของเรื่องนี้ : 11 Ingenious Bookshelves Made From Unusual Repurposed Items

ไอเดียห้องสมุดเคลื่อนที่สไตล์ “รถถังหนังสือ”

เพื่อนๆ คงเคยเห็นห้องสมุดเคลื่อนที่ในเมืองไทยในรูปแบบที่เป็นรถบัสมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กศน หรือ กทม ก็มีห้องสมุดเคลื่อนที่ที่ใช้รถบัสมาทำ วันนี้ผมมีแบบแปลกๆ มาให้ดูอีกแบบ นั่นคือ “รถถังหนังสือ”
จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่รถถังที่ทหารเข้าใช้กันหรอกนะครับ แต่เป็นเพียงรถที่ตกแต่งคล้ายๆ รถถังต่างหาก
รถถังหนังสือที่เพื่อนๆ ได้เห็นนี้ มีอยู่จริง ที่ประเทศอาร์เจนติน่า นะครับ

เจ้าของรถคันนี้คือ คุณ Raul Lemesoff ได้นำรถ Ford Falcon ปี 1979 มาตกแต่งให้เหมือนรถถัง
โดยถ้าสังเกตที่ตัวของรถจะพบว่าเกราะที่ใช้ตกแต่งพื้นผิวของรถถังเป็นหนังสือ ซึ่งมีจำนวน 900 เล่มทีเดียว

Concept ของรถถังคันนี้ คือ “Weapon of Mass Instruction” อาวุธของการสอนแบบมวลชน
“contribution to peace through literature”  นำเสนอความสันติสุขผ่านวรรณกรรม


ลองฟังบทสัมภาษณ์ของเจ้าของรถคันนี้กันครับ
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=yFi27PQ2bxo[/youtube]
นับว่าเป็นไอเดียที่ดีเลยใช้ปล่าวครับ อิอิ ผมชอบไอเดียเขาจริงๆ เลย
แต่เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเป็นห่วงหนังสือที่อยู่บนตัวรถแน่ๆ
เพราะว่าต้องเจอทั้งแดด ความชื้น และบางทีอาจจะเจอฝน
น่าสงสารหนังสือเหล่านั้นเหมือนกันนะครับ
แต่เอาเถอะครับ มองให้มันเป็นศิลปะ ก็คงช่วยให้หายเครียดบ้าง

ห้องสมุดจะเพิ่มการบริการให้กับผู้ใช้กลุ่ม “ซอมบี้” ในปี 2017

เพื่อนๆ รู้จัก “ซอมบี้ (Zombie)” กันมั้ยครับ ที่ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่ว่าผมอยากจะแนะนำเพลงโปรดของผมหรอกนะครับ แต่ “ซอมบี้” ที่ผมหมายถึง นั่นหมายความถึง “ศพเดินได้” นั่นเอง

ในช่วงแรกๆ เราคงจะจินตนาการถึงความน่ากลัวของ “ซอมบี้” ได้มากมาย หลังจากที่ได้ดูถาพยนตร์ เรื่อง “ผีชีวะ (Resident Evil)” หรือเกมส์ Resident Evil ที่ให้เรายิงปืนฆ่า “ซอมบี้” กัน

ในช่วงสองถึงสามปีนี้เราพบว่า “ซอมบี้” ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดแล้ว เพราะ “ซอมบี้” เองออกมาปรากฎตัวในเกมส์ ชื่อ Plants vs. Zombies ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติความน่ากลัวของ “ซอมบี้อย่างแท้จริง” เพราะจากเกมส์เราจะเห็นว่าดอกไม้หรือต้นไม้สามารถเอาชนะ “ซอมบี้” ได้ โหน่ากลัวกว่าอีก

เอาหล่ะครับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าในวันนี้จริงๆ แล้วก็ คือ
เรื่อง “ห้องสมุดจะเพิ่มการบริการให้กับผู้ใช้กลุ่มใหม่ “ซอมบี้” ในปี 2017″
ซึ่งเป็นวีดีโอที่จัดทำขึ้นโดย Rapid City Public Library

ซึ่งในวีดีโอได้กล่าวถึงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดกับผู้ใช้บริการที่เป็น “ซอมบี้”
(ซอมบี้ หมายถึง ศพเดินได้ และพูดได้แค่คำเดียว คือ Brain–)

เราไปดูวีดีโอนี้กันดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5Md4ELD4tAA[/youtube]

จริงๆ แล้ว “ซอมบี้” มีความน่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ brainnnnn “ซอมบี้จะกินแต่สมอง” ซึ่งในการประชุม conference ของวงการห้องสมุดครั้งหนึ่งก็มีการพูดแบบติดตลกว่า ผู้ใช้บริการที่เข้ามาห้องสมุดก็เพื่อมาหาความรู้ เหมือนการกินสมองของ “ซอมบี้” นั่นแหละ และนี่เองเป็นที่มาของเรื่องในวันนี้

สมมุติฐานของการทำคลิปวีดีโอนี้
1. อาจจะต้องการโปรโมต pathfinder หรือ SubjectGuide หัวข้อเรื่องของ “ซอมบี้” ก็ได้ เพราะมีทิ้งท้ายเรื่องนี้ให้ด้วยที่ http://zombiespathfinder.weebly.com/

2. อาจจะเป็นการสังเกตเห็นพฤติกรรมของคนบางลักษณะที่วันๆ เล่นคอมหรือนอนดึกดื่น เวลามาเข้าใช้บริการก็จะมีหน้าตาหมองๆ คล่ำๆ และบางทีอาจจะพูดไม่รู้เรื่องเหมือน “ซอมบี้” ซึ่งในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการ เราก็ต้องให้บริการถึงที่สุดเช่นกัน


เอาเป็นว่าที่เขียนมานี้ก็ไม่ได้จะล้อเลียนหรอกนะครับว่าจะมีผีมาใช้ห้องสมุดจริงๆ
ที่เอามาลงให้อ่านเพราะอยากให้เห็นเทคนิคการนำเสนอของห้องสมุดในต่างประเทศ
ว่ามีไอเดียที่เฉียบขาด และนำเสนอได้น่าสนใจพอสมควร

เว็บไซต์ของ Rapid City Public Library คือ http://www.rcgov.org/Library/
และ Youtube Channel ของ Rapid City Public Library คือ http://www.youtube.com/user/rapidcitylibrary

ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี

วันนี้ผมเข้าไปที่ร้านหนังสือบีทูเอสแห่งหนึ่งใกล้ๆ บ้าน เพื่อหาหนังสือที่น่าสนใจมาแนะนำ
แต่เดินไปเดินมาในร้านสักแป๊บก็เจอมุมนึงที่น่าสนใจมาก เลยอยากนำมาเล่าให้ชาวห้องสมุดได้อ่าน

มุมที่ผมเห็นว่าน่าสนใจก็คือ “มุมหนังสือขายดี ละครออนแอร์”
ที่ร้านนี้จะมีชั้นหนังสือที่รวบรวมหนังสือบทละครที่กำลังฉายอยู่ในโทรทัศน์ช่องต่างๆ

ดูจากรูปได้เลยครับ

สังเกตจากในรูปนะครับ จะมีหนังสือละครกำลังฉาย เช่น ดอกส้มสีทอง, เคหาสน์สีแดง, ตลาดอารมณ์ ฯลฯ
นอกจากนี้ด้านหลังของชั้นหนังสือนี้จะมีหนังสือละครที่เคยฉายไปแล้ววางแสดงไว้ด้วย
เช่น รหัสทรชน, ธาราหิมาลัย, ดวงใจอัคนี, ปฐพีเล่ห์รัก, วายุภัคมนตรา ฯลฯ

ในร้านหนังสือเองก็ยังเรียกความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาชมหนังสือเหล่านี้ได้
ผมก็เลยคิดไปถึงห้องสมุดว่า หนังสือในห้องสมุดเองเราก็มีวรรณกรรมมากมาย
เราน่าจะหาวิธีนำเสนอหนังสือในรูปแบบนี้บ้าง
เอาเป็นว่าก็ลองคิดๆ เล่นกันดูนะ

สำหรับ หนังสือในกลุ่มละคร ผมว่าผู้ใช้บริการของห้องสมุดจำนวนหนึ่งก็อยากจะอ่านเช่นกัน
เพราะว่าอยากรู้ว่าหนังสือที่อ่าน กับละครที่ดูมันเหมือนหรือต่างกันแค่ไหน
แต่จากที่เคยๆ คุยกับผู้ใช้บริการหลายๆ คน ส่วนหนึ่งก็บอกว่า “หนังสือให้รายละเอียดที่ชัดกว่าในทีวี”

ถ้าห้องสมุดมีมุมนี้บ้าง ผมว่านะ “ผู้ใช้บริการ” ก็คงประทับใจกับห้องสมุดบ้างแหละ
และถ้าจะให้ดีนะอย่ามีแค่ 1 copy ห้องสมุดอาจจะต้องหามาไว้ 2-3 copy ได้เลย
เพราะผมเชื่อว่าคนต้องยืมไปอ่านมากๆ แน่ๆ แล้วก็อย่าลืมเหลือติดไว้ที่ชั้นสักเล่มบ้างหล่ะ

เอางี้ทำแบบให้น่าสนใจเพิ่มโดยการบอกด้วยว่า
“หนังสือเล่มนี้เป็นละครจากช่องไหนเวลาที่ฉายเมื่อไหร่”
ผู้ใช้จะได้รู้รายละเอียดและติดตามชมได้ด้วย

เอาเป็นว่าไอเดียนี้ก็ขอฝากให้คิดและลองนำไปทำดูกันบ้างหล่ะ
รอบๆ ตัวเรามีไอเดียในการพัฒนางานห้องสมุดมากมาย ขอแค่สังเกต คิด วางแผน และทำมัน

ปล. สุดท้ายนี้ขอบคุณ บีทูเอส นะที่ทำให้ผมพบกับไอเดียนี้

ไอเดียในการจัดกิจกรรมสำหรับห้องสมุดจากเว็บบอร์ดชื่อดัง (Pantip.com)

วันนี้อยู่ว่างๆ 1 วันเลยขอเปิดเว็บไซต์ต่างๆ อ่านเพื่อเก็บไอเดียจากเว็บไซต์มาคิดกิจกรรมห้องสมุด
หลังจากที่เปิดเว็บนู้นนี้มาตั้งเยอะ สุดท้ายก็มาจบที่เว็บบอร์ดชื่อดังของประเทศ นั่นก็คือ Pantip.com นั่นเอง

idealibrary

ใน Pantip.com มีห้องอยู่ห้องหนึ่งที่น่าสนใจมากและชื่อก็เหมือนกับวงการของเรา นั่นก็คือ “ห้องสมุด”
ซึ่งภายในห้องนี้จะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ วรรณกรรม นักเขียน ปรัชญา และอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆสนใจก็ลองเข้าไปที่ http://pantip.com/ แล้วเลือก “ห้องสมุด” ดูนะครับ

ในห้องสมุดแห่งนี้ ผมได้พบกับกระทู้ถามตอบมากมาย
จนไอเดียเกี่ยวกับกิจกรรมรักการอ่านก็ผุดขึ้นมากมายเช่นกัน
ซึ่งเดี๋ยวผมจะขอสรุปกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

ไอเดียในการจัดกิจกรรมสำหรับห้องสมุด
เช่น
1. หนังสือทำมือ
หนังสือทำมือถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากโดยเน้นการส่งเสริมให้รักการอ่านและพัฒนาการเขียนอีกด้วย
การทำหนังสือทำมือสักเล่มหนึ่งไม่ได้ยากเกินไป ใครๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่
ดังนั้นห้องสมุดน่าจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมหนังสือทำมือบ้าง เช่น
– นิทรรศการและการแสดงผลงานหนังสือทำมือ
– การอบรมการทำหนังสือทำมือ
– ประกวดหนังสือทำมือประเภทรูปเล่มสวยงามและน่าสนใจ
– ประกวดหนังสือทำมือประเภทเนื้อหาโดดเด่นและมีสาระ


2. การเข้าเล่ม การเย็บเล่ม และการซ่อมแซมหนังสือ

งานเทคนิคต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์อยู่แล้ว
ดังนั้นห้องสมุดสามารถถ่ายทอดความรู้ในงานเทคนิคเหล่านี้ให้ผู้ใช้บริการได้เข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย
ดังนั้นห้องสมุดจึงควรจัดกิจกรรมเกี่ยวการซ่อมแซมหนังสือต่างๆ เช่น
– นิทรรศการการเข้าเล่มและการเย็บเล่มหนังสือแบบต่างๆ
– นิทรรศการเรื่องการอนุรักษ์และการใช้หนังสืออย่างถนุถนอม
– อบรมการซ่อมแซมหนังสือด้วยตัวเอง

3. นักเขียนกับห้องสมุด
ในชุมชนออนไลน์แห่งนี้เพื่อนๆ หลายๆ คนมักจะมีนักเขียนในดวงใจของตัวเอง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยให้เพื่อนๆ รักการอ่าน
เช่นเดียวกันผมว่าผู้ใช้ห้องสมุดหลายๆ คนเอง ก็คงมีนักเขียนในดวงใจของเขาเหมือนกัน
ดังนั้นห้องสมุดจึงควรจัดกิจกรรมร่วมกับนักเขียนหนังสือชื่อดัง หรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับนักเขียน เช่น
– นิทรรศการรู้จักนักเขียนรางวัลซีไรต์
– อบรมหลักสูตรการเป็นนักเขียน
– การตกแต่งห้องสมุดด้วย Quote เด็ดๆ จากนักเขียนชื่อดัง (จากไอเดีย กิจกรรมวาทะคนแถวหน้า @B2S)
– กิจกรรมเปิดตัวหนังสือใหม่และเสวนากับนักเขียน
– แนะนำหนังสือที่นักเขียนแนะนำ
– ร้อยคำเป็นเรื่องเป็นราว (กิจกรรมนำคำที่กำหนดมาแต่งเป็นเรื่องราว)

4. หนังสือ
กิจกรรมที่เกี่ยวกับหนังสือมีมากมายเลยครับในเว็บไซต์เห็นนี้
หากเพื่อนๆ จับประเด็นได้จะพบกับกิจกรรมที่สามารถนำมาใช้จัดในห้องสมุดได้ครับ เช่น
– นิทรรศการหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่า
– กิจกรรม Rainy Read Rally หรือ กิจกรรมเหมันต์ขยันอ่าน (Winter Wonder Read : WWR)
– อ่านหนังสือเดือนละเรื่อง (ไอเดียจาก TRB Challange โครงการทลายกองดอง 12 เล่มใน 12 เดือน)
– การวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
– แรงบันดาลใจในหนังสือเล่มโปรด
– การเล่านิทานในวันหยุดสุดสัปดาห์
– งานหนังสือมือสอง (ไอเดียจาก งานหนังสือมือสองที่ห้องสมุด Neilson Hayes)


5. เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด

– การรับบริจาคหนังสือและช่วยเหลือห้องสมุดที่ขาดแคลนสื่อ
(ไอเดียจาก โครงการ “เติมหนังสือสู่สมอง” http://www.books4brains.org/)
– การจัดมุมหนังสือเพื่อชุมชน (นำหนังสือมือสองของคนในชุมชนมาจัดเป็นมุมหนังสือ)
– พนักงานตำแหน่ง Book Specialists และ Book Consultants ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการในการเลือกหนังสือ
– เสวนาเพื่อสร้างกระแสนักอ่าน (ไอเดียจาก งานเสวนา วรรณกรรมเยาวชน..ในหัวใจคนรักอ่าน)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมที่ผมเก็บมาจากไอเดียต่างๆ ในเว็บไซต์ Pantip.com นะครับ
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็ลองแว๊บเข้าไปอ่านกันดูแล้วเอามาแชร์ไอเดียแลกเปลี่ยนกันนะครับ

สุดท้ายก็ขอขอบคุณทุกไอเดียที่เขียนใน Pantip.com นะครับ
ไอเดียมีอยู่ทุกที่เพียงแค่คุณจะรู้จักหยิบมันมาใช้หรือเปล่าก็เท่านั้น

เข้าท่าดี…เก้าอี้เดินได้ในห้องสมุด

วันนี้มีคลิปวีดีโอมานำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจในห้องสมุด
ถ้าคลิปนี้ทำได้จริงๆ คงจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับ (เอาใจเชียร์ให้มีจริงๆ)

takeaseat

เอาเป็นว่าลองไปชมกันก่อนดีกว่า เดี๋ยวค่อยวิจารณ์ให้อ่านนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2Dgaz6NIUFk[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับกับคลิปวีดีโอนี้

เทคโนโลยีที่เห็นในคลิปวีดีโอนี้เป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้นนะครับ ยังไม่มีที่ไหนทำมาก่อนจริงๆ
แต่เพียงแค่แนวความคิดมันก็แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในห้องสมุดนั่นเอง

ลองคิดดูสิครับว่า “ถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดแล้วมีที่นั่งเดินตามอยากอ่านตรงไหนก็ได้”
มันคงจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ผมจะขอวิจารณ์หน่อยแล้วกัน

การมีเก้าอี้แบบนี้จะส่งผลอะไรกับห้องสมุดบ้าง
– ต้องใช้เงินในการจัดหาอุปกรณ์ที่ค่อนข้างแพง
– การอ่านหนังสือโดยนั่งที่เก้าอี้นี้อาจจะไม่เหมาะต่อการอ่านหนังสือแบบนานๆ
– อาจจะเป็นการรบกวนผู้อื่นได้ (นั่งขวางทางคนอื่น) เนื่องจากอยากนั่งตรงไหนก็นั่ง
– ยากต่อการควบคุมและการดูแล

เอาเป็นว่าถ้าหากจะต้องมีเทคโนโลยีนี้จริงๆ ในห้องสมุด
บรรณารักษ์และฝ่ายไอทีคงต้องวางแผนกันให้รอบครอบมากๆ

เพื่อนๆ ว่าเก้าอี้แบบนี้ดีหรือไม่ดีครับ…

ไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ผมใช้ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรครับ
คืออ่านหนังสืออะไรก็ได้แล้วเก็บเอาไอเดียที่น่าสนใจมาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟัง

roomtoread

หนังสือที่ผมอ่านก็คือ “ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก” รวมไปถึงการเปิดเว็บไซต์ http://www.roomtoread.org เพื่อเก็บข้อมูล
หัวข้อที่ผมนำมาเสนอเพื่อนร่วมงานในวันนั้น คือ “ข้อคิดและไอเดียที่ได้จากโครงการ Room to Read”

ลองอ่านสิ่งที่ผมสรุปเกี่ยวกับโครงการนี้ได้เลยครับ

โครงการ Room for Read ก่อตั้งโดย John wood (ในปี 2000) (John wood อดีตผู้บริหารในไมโครซอฟต์)

โครงการ Room for Read โครงการนี้ทำอะไรบ้าง
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังเป็นฉากๆ แล้วกันนะครับ

โครงการ Room to Read ทำอะไรบ้าง
1. บริจาคหนังสือ ทุนทรัพย์ ให้ห้องสมุดและโรงเรียน
2. สร้างห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และโรงเรียน
3. ให้ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง

หลายๆ คนอาจจะงงว่าทำไมให้ทุนแค่เด็กผู้หญิง ผมขออธิบายง่ายๆ ว่า
เมื่อให้ทุนเด็กผู้ชายแล้ว เด็กผู้ชายก็มักจะเก็บความรู้ไว้กับตัวเองไม่สอนคนอื่น
แต่ถ้าให้เด็กผู้หญิงในอนาคตถ้าพวกเขามีลูกเขาก็จะสอนให้ลูกรักการเรียนได้ครับ

โครงการนี้ดำเนินการในประเทศเนปาล, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, อินเดีย, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้

ผลงานของโครงการ Room to read 2007
– โรงเรียน 155 แห่ง
– ห้องสมุด 1600 แห่ง
– ศูนย์คอมพิวเตอร์ 38 แห่ง
– ทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง 4036 คน
– ตีพิมพ์หนังสือ 82 ชื่อเรื่อง


ปรัชญาที่ได้จากการศึกษาโครงการ Room to read

– ทำให้ผู้ที่อยู่ในชมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ แล้วพวกเขาก็จะรู้สึกรักและต้องดูแลมัน (ร่วมลงทุน)
– ถ้าเราไม่รู้จักองค์กรของเราอย่างถ่องแท้ เราก็จะไม่สามารถนำเสนอโครงการสู่สังคมได้
– พยายามนำเสนอความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอให้ทุกคนรับทราบ
– จงคิดการใหญ่ตั้งแต่วันแรกเริ่ม
– การเฝ้าติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เราเข้าใจ การทำงานขององค์กรได้อย่างถ่องแท้ (เป็นการตอกย้ำเจตนา)
– ?นั่นละคือสิ่งที่ผมอยากฟัง เราต้องการคนที่ไม่กลัวงานหนัก ในวงการคนทำงานเพื่อสังคม ผมว่ามีพวกที่ทำงานเช้าชามเย็นชามมากเกินไป?
– เด็กมักถูกชักจูงจากสิ่งที่ผิดได้ง่าย การให้ความรู้ที่ถูก มีคุณธรรม จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
– เงินทองสามารถซื้อความสุขได้เพียงร่างกาย แต่การให้สามารถสร้างความสุขได้ทั้งจิตใจ

นับว่าจากการศึกษาครั้งนี้ถือว่าผมได้ไอเดียที่สำคัญหลายอย่างเลย
บางทีถ้าเพื่อนๆ มีเวลาผมก็ขอแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเรื่อง ?ลาไมโครซอฟต์มาช่วยโลก? ดูนะครับ